ปิดรับบริจาค รวมบันทึกการเดินทางตามรอยพระอาจารย์ ณ บึงลับแล ๒๕๕๒/ร่วมบุญใหญ่หน้า ๑๐๘

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย ญ.ผู้หญิง, 18 ธันวาคม 2008.

  1. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ร่วมประมูลเสื้อคณะบึงลับแล หมายเลข ๑๘ เข้ากองทุน และชี้แจงถึงที่มาที่ไปของกองทุน

    .....มีเสื้อสีสัมของชาวคณะบึงลับแล ๑ ตัว เบอร์ M หมายเลข ๑๘ ซึ่งเจ้าของคือ คุณ mang12 (หนึ่ง) ได้ซื้อไว้จำนวน ๒ ตัว แต่เนื่องจากใส่เวลาออกทริปอยู่ตัวเดียวคือ หมายเลข ๑๗ เพราะฉะนั้นจึงขอนำเสื้อหมายเลข ๑๘ ออกร่วมประมูลเพื่อนำเงินเข้ากองทุนของชาวคณะ โดยวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อร่วมกันบูรณะปกป้องรอยพระพุทธบาทและจรรโลงงานพระพุทธศาสนา ซึ่งในปีหน้าชาวคณะได้วางแผนงานบุญใหญ่ไว้ ๒ บุญ ดังนี้คือ

    บุญที่ ๑ งานบูรณะทาสีโขดหินและทำป้ายคำสวดบูชา รอยพระพุทธบาทคลองนารายณ์ อ.เมือง จ.จันทบุรี (วาระ ๒)

    บุญที่ ๒ งานบูรณะถ้ำมหาศรีโพธิ์ทอง อุทยานแห่งชาติถ้ำเพชร-ถ้ำทอง (เขาชอนเดื่อ) อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์


    ซึ่งในส่วนของบุญที่ ๒ นี้ เมื่อทริปบุญ ๑ (ทริปธรรมทัศนาจร ๖ ปากน้ำโพวาระ ๒) ที่ผ่านมาชาวคณะได้เดินทางไปพบถ้ำที่มีขนาดใหญ่ถ้ำหนึ่งที่ตั้งอยู่ภายใน บริเวณอุทยานถ้ำเพชร-ถ้ำทอง (เขาชอนเดื่อ) ภายในมีโลงแก้วบรรจุสรีระสังขารของหลวงปู่ทอง ปริสุทโธ ซึ่งอยู่ในสภาพที่ขาดการบูรณะและชำรุดทรุดโทรม เมื่อได้มากราบเรียนเล่าเรื่องราวที่พบเห็นให้พระอาจารย์ฟัง ท่านบอกว่า พระรูปนี้ก็คือ พระอภิญญาหนุ่มที่หลวงปู่ปาน และหลวงพ่อฯ ได้ธุดงค์ไปเจอว่ากำลังหุงข้าวอยู่ในถ้ำ

    เมื่อชาวคณะได้ทราบดังนี้ ก็เกิดความคิดที่จะไปร่วมกันบูรณะและพัฒนาฟื้นฟูสภาพของถ้ำให้เหมาะสมกับการใช้เป็นสถานที่ตั้งสรีระของท่าน

    อนึ่ง! ในทริปุบุญ ๑ นี้มีเกร็ดเล็ก ๆ ที่อยากเล่าสู่กันฟังว่า ขณะที่ชาวคณะร่วมกันทาสีองค์พระที่ตั้งอยู่ในบริเวณถ้ำพระเขาชอนเดื่อ และร่วมกันก่อฐานวางอ่างน้ำมนต์หลวงปู่สี ในถ้ำวังไข่มุกที่อุทยานแห่งชาติถ้ำเพชร-ถ้ำทอง ได้ปรากฎพบเห็นพระภิกษุรูปหนึ่งมายืนมองการทำงานของชาวคณะอยู่ (เห็นด้วยตาในจากหลายคน) และวันที่กำลังจะเตรียมเดินทางกลับออกจากอุทยาน น้องธีร์ได้สอบถามพี่น้อย ซึ่งเ็ป็นเจ้าหน้าที่อุทยานว่า ในละแวกเขาชอนเดื่อมีวัดหรือไม่ ซึ่งพี่น้อยได้ตอบว่ามี และเอ่ยนามว่าชื่อหลวงปู่ทอง เมื่อชาวคณะได้ฟังก็ไม่รีรอที่จะขอไปกราบท่านก่อนที่จะเดินทางต่อ ซึ่งโดยส่วนตัวหญิงเิอง เมื่อได้เป็นตัวแทนชาวคณะลงไปกราบลาหลวงพ่อรุ่งที่ศาลหน้าอุทยานฯ ที่เ็ป็นที่ตั้งรูปเหมือนไว้แล้ว เมื่อกลับมาขึ้นรถก็ได้พูดกับทุกคนว่า พวกเราต้องได้กลับมาที่นี่อีกแน่นอนเป็นวาระที่ ๓ แต่เมื่อไรไม่รู้ รู้แต่ว่าต้องได้มา....

    แล้วเมื่อได้เดินทางต่อไปยังอีกฟากหนึ่งของเขาชอนเดื่อ สิ่งที่พบเห็นต่อหน้าสายตาทุกคน ก็คือถ้ำศรีมหาโพธิ์ทองที่มีโลงแก้วบรรจุสรีระของหลวงปู่ทองอยู่ภายใน และรูปภาพที่ตั้งไว้หน้าโลงแก้วก็ตรงกับภาพที่ชาวคณะหลายคนเห็นด้วยตาในนั้นเอง.....นั้นคือคำตอบที่ตอบแทนทุกคนได้ทันทีว่า....... ทำไม พวกเราถึงต้องกลับไปที่นั้นกันอีกครั้ง

    เมื่อเป็นเช่นนี้ ชาวคณะจึงต้องเตรียมการวางแผนกันแต่เนิ่น ๆ จึงบังเกิดที่มาของกองทุนบึงลับแล เพราะทราบดีว่างานบูรณะสถานที่เช่นนี้ต้องใช้ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ค่อนข้างสูง ซึ่งชาวคณะได้เปิดบุญใหญ่เป็นบุญแรกขึ้นมากับงานบูรณะปกป้องรอยพระพุทธบาทคลองนารายณ์ ซึ่งประสบความสำเร็จลงได้ด้วยดี ด้วยความเมตตาของครูบาอาจารย์หลายท่าน ได้แก่ พระอาจารย์ หลวงปู่เปลื้อง หลวงปู่นะ หลวงตาวัชรชัย หลวงพี่สมปอง หลวงพี่เอก ครูบาวิฑูรย์ และกัลยาณมิตรหลากหลายท่าน ที่ร่วมบุญและร่วมส่งกำลังใจกันเข้ามาจากทุกสารทิศ ทำให้ชาวคณะสามารถสานต่องานบุญได้ตามเจตนาที่ตั้งกันเอาไว้

    หญิงในนามตัวแทนของชาวคณะต้องกราบขอบพระคุณในความเมตตาของครูบาอาจารย์ทุก ท่านที่มีต่อชาวคณะ กราบขอบพระคุณกัลยาณมิตรทุกท่านที่ได้ร่วมบุญร่วมอนุโมทนากันในทุกทริปบุญ และขอบคุณชาวคณะทุกท่านในทุก ๆ งานบุญที่ผ่านมาด้วยดี โดยเฉพาะทริป ๕ บุญใหญ่ ที่กำลังจะเสร็จสิ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้..... ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่ีงมั่นตั้งใจของพวกเราได้เป็นอย่างดีว่า ถึงแม้จะมีงานบุญใหญ่และหนักขนาดไหน พวกเราก็สามารถที่จะทำงานบุญทั้งหลายควบคู่ไปกับการรักษาศีล ทาน ภาวนากันไม่ได้ขาด และในทุกทริปธรรมที่ผ่านมาหลายคนในคณะได้รับข้อคิด ธรรมะดี ๆ จากครูบาอาจารย์หลายท่านและได้นำเอาข้อคิดธรรมะเหล่านั้นมาปรับใช้ร่วมกับ การใช้ชีวิตทางโลกควบคู่ไปกับทางธรรมได้อย่างกลมกลืน ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็ด้วยความวิริยะ อุตสาหะของทุกคนนั้นเอง.....


     
  2. mang12

    mang12 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +67
    แวะเข้ามาทักค่า มารออ่านอีกน่ะ บึงลับแล2 รอ รอ รอ
     
  3. ฤาษีท้ายเรือ

    ฤาษีท้ายเรือ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +1,991
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ตุลาคม 2009
  4. DevilBitch

    DevilBitch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    9,776
    ค่าพลัง:
    +36,838
    อนุโมทนากับทุกคนที่ไปงานกฐินและไปเยือนบึงลับแลอีกครั้งนะคะ วันนั้นไม่ได้ไปงานกฐิน เพราะมีพี่น้องมาตั้งแต่ตีห้า บ้างมาก่อนล่วงหน้า

    แม้เราจะไม่ได้ไปบึงลับแลกัน แต่เรามีการไปเยือนเมืองลับแลเช่นกัน จนเด็กชายตัวจ้ำม่ำและเด็กๆ อายุไม่มากเลย ติดใจในความงดงามของเมืองลับแล ขนาดบอกพ่อแม่ว่า "สวยจนอยากไปอยู่ที่นั่น"
     
  5. Mr.tom

    Mr.tom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2005
    โพสต์:
    269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,185
    ทริปที่ต่อจากบึงลับแลเราน่าจะไปที่แม่สาร หรือนาสาร สุโขทัย เป็นที่ๆ หลวงพ่อฤาษี หลวงปู่ครูบาธรรมชัย ท่านหญิงภาวิดีฯและคณะเคยไปมา เพราะเคยคุยกับพระที่วัดท่าขนุนท่านว่า บึงลับแลง่ายที่สุดเท่าที่หลวงพ่อเล็กท่านเคยเดินป่ามา...
    ยังไงถ้าจัดไปผมขอลงชื่อไว้ล่วงหน้านะครับ...
     
  6. cabin

    cabin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    207
    ค่าพลัง:
    +828
    ทริปบุญ ๕ ทริปเล็กกับบุญใหญ่ (๔) งานพิธีพุทธาภิเษกพระนารายณ์ทรงฤทธิ์ วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) /งานกฐินวัดพระพุทธบาทถ้ำป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน วันที่ ๓๑ ต.ค.-๑ พ.ย.
    ๕๒

    ทริปนี้เป็นอะไรที่สุดยอดมากอีกเช่นกัน ไม่มีทริปบุญไหนจะยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพียงแต่ว่าทริปนี้ผมได้บำเพ็ญบารมีเพื่อพระนิพพานเพิ่มขึ้นโดยไม่คาดฝันมาก่อน

    เหตุการณ์ที่ ๑. เริ่มตั้งแต่วัดเขาวงถ้ำนารายณ์ เมื่อพิธีเทวาภิเษกพระนารายณ์ทรงฤทธิ์ เห็นรูปโฉมของท่านแล้วเกิดความรู้สึกอยากเก็บไว้บูชา แต่ก็ไม่รู้จะไปหาได้ที่ไหนเพราะไม่ได้จองล่วงหน้า ก็ได้แต่นั่งนึกไปหากมีวาระคงได้มาเอง ในที่สุดก็มีโอกาสกราบเรียนถามหลวงตาวัชรชัย ซึ่งท่านก็มองหน้าและท่านเมตตาบอกว่าถ้าอยากได้ก็ให้รออยู่แถว ๆ นี้ อยู่ใกล้ๆ นี่แหละ อีกสักพักใหญ่ในขณะที่สาธุชนกำลังถวายสังฆทานอยู่ ทางคณะผู้จัดสร้างได้นำเทวรูปพระนารายณ์ทรงฤทธิ์มาถวายพระอาจารย์ทั้ง ๓ องค์ และหนึ่งในนั้นซึ่งเป็นพระของหลวงตาท่านก็เมตตามอบให้ ซึ่งผมก็ขอร่วมบุญถวายกฐินไปจำนวนหนึ่ง แบบไม่คาดฝันมาก่อน แต่ถือว่าเป็นเงินทำบุญกฐินมากที่สุดในชีวิตที่เคยทำมา แต่ก็ปีติเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำบุญร่วมกับหลวงตาและพระอาจารย์เล็ก ในตอนแรกก็คิดว่าเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ที่ทางคณะจัดสร้าง แต่ว่าที่จริงแล้วเพิ่งมาทราบทีหลังว่าคือเนื้อนวโลหะ ซึ่งไม่มีในรายการจองซึ่งถือได้ว่าเป็นศิริมงคลกับผมเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งไปกว่านั้นได้ยินพระอาจารย์เล็กประกาศออกไมล์ว่า ตั้งแต่ท่านเคยพบมายังไม่เห็นพิธีไหนเลยในประเทศไทย ที่จะสร้างพระนารายณ์ทรงฤทธิ์ได้ขลังและทรงฤทธิ์ธานุภาพที่สุดเท่ากับที่วัดเขาวงถ้ำนารายณ์แห่งนี้ พร้อมกันนี้ท่านก็เมตตาให้คาถาบูชามาว่า อุทธัง ครุฑโธ เหฏโฐ เทโว พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง อิติ

    เหตุการณ์ที่ ๒. ในขณะที่ชาวคณะเดินทางออกจากวัดถ้ำเขาวง เพื่อเดินทางต่อไปยังวัดถ้ำป่าไผ่ ในระหว่างทางด้วยความสายตาดีของท่านนายพล (พี่กร) ก็เล็งเห็นว่าข้างทางมีพระธุดงค์เดินอยู่ริมถนน ท่านกลางแสงแดดที่แผดเผาบนพื้นผิวยางมะตอยอันร้อนระอุ จึงตัดสินใจลงไปกราบเรียนถามท่านว่าต้องการจะไปที่ใด ซึ่งท่านบอกว่าท่านต้องการจะเดินทางไปยังทิศตะวันตก จึงนิมนต์ท่านขึ้นรถไปเพื่อไปลงยังจุดหมายที่ใกล้ที่สุด ซึ่งท่านก็รับนิมนต์เพราะเห็นแก่ความศรัทธาของชาวคณะ จากนั้นพี่กรก็คุยอะไรต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งก็เรียนถามว่าท่านชื่ออะไร ได้ความว่าท่านชื่อพระหม่อง สุจิตโต นับจากออกพรรษาแล้วก็ต้องเดินธุดงค์ไปเรื่อย ๆ ไม่มีจุดหมาย เห็นท่านบอกว่าเป็นเรื่องแปลกเพราะว่าไม่ว่าท่านจะไปจำพรรษาที่ใดก็ตาม เมื่อพ้นกำหนดแล้วจะมีนิมิตหรือเทวดามาบอกท่านเสมอให้ท่านต้องออกจาริกธุดงค์ต่อไปเรื่อย ๆ เพราะว่าสถานที่แห่งนั้นยังไม่ใช่วาระและถึงเวลาของท่าน รวมถึงป่าเขาและถ้ำวัวแดงของหลวงปู่เทพโลกอุดรและถ้ำต่าง ๆ จึงเป็นเหตุให้ท่านเดินจาริกไปเรื่อย ๆ ไม่มีจุดหมายที่แน่นอน เป็นพระที่มีที่มาแต่ไม่มีที่ไปแน่นอน และท่านให้คาถาพี่กรมาบทหนึ่งเช่นกัน
    เมื่อถึงทางแยกจังหวัดนครสวรรค์ท่านจงขอลงรถที่จุดนั้น ซึ่งชาวคณะก็ซื้อน้ำและสิ่งของต่าง ๆ ถวายท่าน รวมถึงปัจจัยในซอง แต่ปรากฏว่าท่านไม่รับ ท่านพูดถึงสามครั้งว่า เอาไปก็ไม่ได้ใช้หรอกโยม ไม่รู้จะเอาไปทำไม ชาวคณะจึงนำเงินส่วนนั้นไปถวายในงานกฐินวัดถ้ำป่าไผ่แทน ผมเองตั้งใจแต่แรกแล้วว่าจะหาซื้อรองเท้าถวายเพราะท่านเดินเท้าเปล่าส้นเท้าแตกหมดแต่ก็ไม่มีขาย ในที่สุดจึงถอดรองเท้าแตะที่ตัวเองใส่อยู่ซึ่งเป็นรองเท้าหนังสีน้ำตาลแก่ ๆ และเหมาะแก่พระภิกษุสามารถใส่ได้ถวายแก่ท่าน พร้อมกับร่มสีดำซึ่งพกติดตัวเวลาเดินทางต่างจังหวัดเป็นประจำ ซึ่งท่านก็มองหน้าแล้วยิ้ม ๆ แต่ก็เมตตาใส่รองเท้านั้นทันที แล้วเดินจากไปอย่างรวดเร็ว สร้างความสุขใจเป็นอย่างยิ่ง เพื่อน ๆ ชาวคณะก็ร่วมอนุโมทนา ก็ขอให้ได้บุญโดยทั่วกัน เป็นการได้ทำบุญแบบไม่คาดฝันมาก่อนจริง ๆ ในที่สุดตั้งแต่ตอนนั้นก็เดินเท้าเปล่าโชคดีที่พี่คนขับรถให้ยืมรองเท้าใส่ชั่วคราว แต่ก็เท้าเปล่ากลับบ้านแบบมีความสุข แบบอิ่มบุญทั้งกายและใจ ด้วยบารมีนี้เพื่อบูชาพระโพธิญาณและพระนิพพานเป็นที่ไป<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2009
  7. สิงหนวัติ

    สิงหนวัติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    788
    ค่าพลัง:
    +2,107

    บุญใหญ่จริงๆ โมทนาด้วยครับ ชะรอยอาจจะเป็นมหาเถร มาทดสอบจิตใจของชาวคณะก็เป็นได้
     
  8. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    โมทนาค่ะ

    ทริปแม่สาน ที่ จ.สุโขทัย ได้กราบเรียนถามพระอาจารย์มาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมาว่าไปได้หรือเปล่า ท่านตอบว่าไปได้ แต่ท่านบอกให้ไปตอนช่วงฤดูแล้งจะได้เดินทางง่าย ก็ขอให้เป็นไปตามวาระธรรมะจัดสรร เพราะปีหน้างานบุญที่ชาวคณะวางแผนเตรียมการไว้ก็มีหลายงานบุญแล้ว ที่แน่ ๆ ก็มีคลองนารายณ์วาระ ๓ ,ลับแลวาระ ๓ และชอนเดื่อวาระ ๓ ที่นี้เวลาในช่วงฤดูแล้งมันค่อนข้างสั้น ไว้ได้กำหนดการแน่นอนแล้ว หญิงจะนำมาแจ้งให้ทุกท่านทราบโดยทั่วกันอีกครั้งหนึ่งค่ะ
     
  9. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    แจ้งราคาเสื้อบึงลับแลหมายเลข ๑๘ ที่เปิดประมูลเข้ากองทุน

    .... สืบเนื่องจากที่หญิงได้แจ้งไว้แล้วว่า เสื้อทีมบึงลับแลหมายเลข ๑๘ ไซส์ M คุณ mang12 ได้ขอนำออกมาประมูลเพื่อนำเงินที่ได้เข้าร่วมกองทุนบึงลับแล ณ วันนี้ หญิงขอแจ้งเงื่อนไขและราคาประมูลมาให้ได้รับทราบโดยทั่วกัน ดังนี้ค่ะ

    ราคาตั้ง ตัวละ ๓๕๐ บาท
    ราคาประมูลเพิ่มขึ้น ครั้งละ ๒๐ บาท
    ปิดรับการประมูล ๓๐ พ.ย.๕๒ เวลา ๑๘.๐๐ น.

    ผู้ประมูลคนที่ ๑ คุณคนบรรพต เสนอราคา ๓๕๐ บาท

    ผู้ประมูลคนที่ ๒ คุณพรหมประกาศิต เสนอราคา ๓๙๙ บาท

    ผู้ประมูลคนที่ ๓ คุณดาราพร เสนอราคา ๔๒๐ บาท

    ราคาสูงสุด ณ วันนี้อยู่ที่ ๔๒๐ บาท กัลยาณมิตรท่านใดจะให้ราคาเท่าไรกรุณาแจ้งเข้ามาได้ที่หน้าบอร์ดค่ะ
     
  10. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    สรุปรายนามผู้ร่วมบริจาคเงินในทริป ๕ บุญใหญ่ และ้เงินกองทุนล่าสุดของชาวคณะบึงลับแล

    ชุดที่ ๑ รายนามผู้บริจาคเงิน ทริปบุญ ๑ - บุญ ๕
    ๑. คุณ pat3112 จำนวน ๕,๕๐๐ บาท*
    ๒. คุณ "ลูกศิษย์หลวงพี่เล็กหาดใหญ่" จำนวน ๑,๕๘๐ บาท**
    ๓. สมาชิกทริปธรรมทัศนาจร (๖) ร่วมบริจาคเพิ่มหน้างาน จำนวน ๑,๔๒๐ บาท*
    ๔. คุณพรหมประกาศิต จำนวน ๑,๒๐๐ บาท*
    ๕. คุณ cabin และกองทุน จำนวน ๘๐๐ บาท*
    ๖. คุณ "ลูกศืิษย์หลวงพี่เล็กกำแพงแสน" จำนวน ๕๐๐ บาท*
    ๗. คุณศรีโรจน์ จำนวน ๓๐๐ บาท**
    ๘. หลาน ๆ สกุล "ศราภัยวานิช" จำนวน ๓๐๐ บาท**
    ๙. คุณวีรศักดิ์ จำนวน ๓๐๐ บาท**
    ๑๐. คุณ ปอ.โมทย์ จำนวน ๓๐๐ บาท*
    ๑๑. คุณ mang12 จำนวน ๓๐๐ บาท*
    ๑๒. คุณฤดูใบไม้ผลิ จำนวน ๒๕๐ บาท**
    ๑๓. คุณบุญญสิกขา จำนวน ๒๐๐ บาท**
    ๑๔. เจ้าของ "จม.ธรรมะ..." จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๕. คุณ tentyoung จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๖. คุณคนบรรพต จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๗. คุณ ug_buddha จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๘. คุณ nutbeauty จำนวน ๒๐๐ บาท**
    ๑๙. คุณลักษณาวลัย จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๒๐. คุณสาทิตา จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๒๑. คุณ i-Anne จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๒๒. คุณพีระสัณห์-คุณสมจิตร พิทักษ์ จำนวน ๑๐๐ บาท*

    รวมยอดเงินบริจาคร่วมทำบุญ ๕ ทริป ณ วันที่ ๕ ก.ย. รวม ๑๔,๔๕๐ บาท
    หัก บุญ ๑ ทริปธรรมทัศนาจร (๖) จำนวน ๕,๙๗๐ บาท
    คงเหลือเงินบริจาคยกไปทริปบุญ ๒-บุญ ๕ ณ วันที่ ๗ ก.ย. รวม ๘,๔๘๐ บาท

    -------------------------------------------------------------------------------------

    ชุดที่ ๒ รายนามผู้บริจาคเงิน ทริปบุญ ๒ - บุญ ๕
    ๒๓. คุณ kacher จำนวน ๕๐๐ บาท*
    ๒๔. คุณ Benjawan Wangkawing Chiba-ken Narita-shi จาก ประเทศญี่ปุ่น จำนวน ๒,๐๐๐ บาท*
    ๒๕. คุณโอลีฟ จำนวน ๖๐๐ บาท*
    ๒๖. คุณสุภัคนันท์ กาญจนทิพย์ขจร จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๒๗. คุณนงนุช จำนวน ๖๐ บาท*
    ๒๘. คุณจี๋ จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๒๙. คุณ boontar จำนวน ๕๐๐ บาท*
    ๓๐. คุณ cabin จำนวน ๒,๐๐๐ บาท*
    ๓๑. คุณพัฒนา จำนวน ๔,๐๐๐ บาท* (ร่วมบูชามีดหมอหลวงปู่จ้อย)
    ๓๒. คุณ "วัดเขาแร่" จำนวน ๑,๐๐๐ บาท*
    ๓๓. คุณ "ลูกศิษย์หลวงพี่เอกสุโขทัย" จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๓๔. คุณดุษฎี-คุณชำนาญ จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๓๕. คุณสไบเงิน จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๓๖. คุณมาลินี ๑๐๐ บาท*
    ๓๗. คุณประเสริฐ ๑๐๐ บาท*
    ๓๘. ครอบครัว ตั้งศรีอู่ยา ๑๐๐ บาท*
    ๓๙. คุณสุทธิเทพ จำนวน ๙๐๐ บาท*
    ๔๐. คุณคนไร้ชื่อ จำนวน ๓๐๐ บาท*
    ๔๑. คุณสมมุติ จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๔๒. คุณ chart2k (สุชาติ) จำนวน ๕๐๐ บาท*
    ๔๓. คุณ coolz จำนวน ๕๐๐ บาท*
    ๔๔. คุณนายเย็นชา จำนวน ๒๒๐ บาท*
    ๔๕. คุณนิลปัทม์ จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๔๖. คุณกาแฟ (ยุทธพงษ์) จำนวน ๓๐๐ บาท*
    ๔๗. คุณภัคพงษ์ จำนวน ๑,๐๐๑ บาท*
    ๔๘. คุณศรีโรจน์ จำนวน ๓๐๐ บาท*
    ๔๙. คุณคนบรรพต จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๕๐. คุณประพร ตัณหวังสี จำนวน ๑๒๐ บาท*
    ๕๑. คุณราชนาวินท์ แป้นทอง จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๕๒. คุณกิติศักดิ์ จำนวน ๓๐๐ บาท*
    ๕๓. คุณตาทิพย์ จำนวน ๑,๖๘๕ บาท*
    ๕๔. คุณสายพิรุณ ปิ่นกระโทก จำนวน ๑๕๐ บาท*
    ๕๕. คุณพัชรินทร์ ปิ่นกระโทก จำนวน ๑๕๐ บาท*
    ๕๖. คุณสวัสดิ์ ปิ่นกระโทก จำนวน ๑๕๐ บาท*
    ๕๗. คุณอาิทิตย์ ปิ่นกระโทก จำนวน ๑๕๐ บาท*
    ๕๘. คุณวาสนา ประทุมเหมือน จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๕๙. คุณกมลรัตน์ พิมพ์โสภา จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๖๐. คุณจารุมาศ ลิขิตถาวร จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๖๑. คุณป้าสาย แสงชา จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๖๒. คุณธนา อรุณภิญโญพล และครอบครัว จำนวน ๔๐๐ บาท*
    ๖๓. ครอบครัว "คุณนุ่น" จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๖๔. คุณโอทึ้ง จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๖๕. คุณนภัส จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๖๖. คุณ comkung จำนวน ๑๕๐ บาท*
    ๖๗. คุณป่าไผ่ จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๖๘. คุณสุวรรณชาติ จำนวน ๔๘๐ บาท*
    ๖๙. คุณธงชัย จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๗๐. คุณโอ จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๗๑. คุณณีรนุช ไชยนิวัตร์ จำนวน ๕๐๐ บาท*
    ๗๒. คุณ omio จำนวน ๙๐๐ บาท*
    ๗๓. คุณ ปอ.ปราโมทย์ จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๗๔. คุณ chimy (จิม) และครอบครัว จำนวน ๑,๐๐๐ บาท*
    ๗๕. คุณลุงชาลี จำนวน ๖๒ บาท*
    ๗๖. คุณ i-Anne จำนวน ๒๕๐ บาท*
    ๗๗. คุณอารีย์ ทรงอุดมพรรณ จำนวน ๒๕๐ บาท*
    ๗๘. คุณน้าณา คู่สร้าง จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๗๙. คุณจตุรงค์-บุญชู-อภิลาส-วรางคนา อิ่มจิตต์ จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๘๐. คุณนิมิต-วิเชียร-วิไลภรณ์-ศุภานันท์ แสงพลอย จำนวน ๔๐๐ บาท*
    ๘๑. คุณอมรรัตน์ ใจสมัคร จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๘๒. คุณประคอง-กร-ลุงชาญ จำนวน ๖๐ บาท*
    ๘๓. คุณประจวบ-สมใจ วงษา จำนวน ๔๐ บาท*
    ๘๔. คุณปรีชา สังวราวิจิตร จำนวน ๓๐๐ บาท*
    ๘๕. คุณณิชาภา สังวราวิจิตร จำนวน ๓๐๐บาท*
    ๘๖. คุณอิทธิพล มณีจอน จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๘๗. คุณเอ็งชุน (บักก้วง) แซ่ตั้ง จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๘๘. คุณเสี่ยมเจ็ง แซ่โคว้ จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๘๙. คุณขจรศักดิ์-วิมลรัตน์-นวัต-นัทธี ชีวะพฤกษ์ จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๙๐. คุณประยูร-วรัญญา-นุชสรางค์ อุดมแก้วกาญจนา/คุณนงลักษณ์ ตันกิติถนอมกุล จำนวน ๑๒๐ บาท*
    ๙๑. คุณวารุณี ตันกิติถนอมกุล จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๙๒. คุณอำนวย ตันกิติถนอมกุล จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๙๓. คุณสุนีย์ ตันกิติถนอมกุล จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๙๔. พนักงานบริษัทไทยสตาร์ชิบปิ้ง จำกัด จำนวน ๑๖๐ บาท*
    ๙๕. คุณ nutbeauty จำนวน ๒๑๐ บาท*
    ๙๖. คุณนุชธิดา จำนวน ๕๐๐ บาท*
    ๙๗. คุณพัลลภ และเพื่อน ๆ จำนวน ๑,๖๕๕ บาท*
    ๙๘. คุณทศพล อภิปรัชญาธร จำนวน ๒๐ บาท
    ๙๙. คุณแม่จินดา กล้ากสิกิจ จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๐๐. คุณสกลธร กิ่งทอง จำนวน ๑๘๐ บาท*
    ๑๐๑. กัลยาณมิตรร่วมบริจาคเพิ่มวันที่ ๒๕ ก.ย. จำนวน ๑,๖๑๓ บาท*
    ๑๐๒. เงินทริปเล็กกับบุญใหญ่ (๓) จำนวน ๒,๐๐๐ บาท*

    รวมยอดเงินบริจาคร่วมทำบุญ ณ วันที่ ๒๕ ก.ย. รวม ๔๑,๙๖๖ บาท
    หัก บุญ ๒ ทริปเล็กกับบุญใหญ่ (๓) จำนวน ๒๐,๑๑๐ บาท
    คงเหลือเงินบริจาคยกไปทริปบุญ ๓ - บุญ ๕ ณ วันที่ ๒๕ ก.ย. รวม ๒๑,๘๕๖ บาท

    -------------------------------------------------------------------------------------

    ชุดที่ ๓ รายนามผู้บริจาคเงินทริปบุญ ๓ - บุญ ๕
    ๑๐๓. คุณนิรัช (ร่วมบูชาสมเด็จองค์ปฐม) จำนวน ๑,๐๐๐ บาท*
    ๑๐๔. คุณสำราญใจ (แบงค์) (ร่วมบูชาสมเด็จองค์ปฐม) จำนวน ๑,๐๐๐ บาท*
    ๑๐๕. คุณเดวัด (ร่วมบูชาสมเด็จองค์ปฐม) จำนวน ๑,๘๐๐.๕๔ บาท*
    ๑๐๖. คุณนิรัช (ร่วมบูชาพระปิดตาหลวงปู่จ้อย) จำนวน ๕๐๐ บาท*
    ๑๐๗. สมาชิกทริปบุญ ๒ (ร่วมบูชาชานหมากหลวงปู่สุภา) จำนวน ๑,๑๐๐บาท*
    ๑๐๘. คุณธัญญาลักษณ์ (ร่วมบูชาชานหมากหลวงปู่สุภา) จำนวน ๕๐๐ บาท*
    ๑๐๙. คุณธัญญาลักษณ์ (ร่วมบูชาลูกแก้วหลวงปู่เปลื้อง) จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๑๐. คุณวนิดา (ร่วมบูชาลูกแก้วหลวงปู่เปลื้อง) จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๑๑. คุณยุทธพงษ์ (ร่วมบูชาลูกแก้วหลวงปู่เปลื้อง) จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๑๒. คุณกิติศักดิ์ (ร่วมบูชาตะกรุดหลวงตาวัชรชัย) จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๑๓. คุณนพรัตน์ (ร่วมบูชาตะกรุดหลวงตาวัชรชัย) จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๑๔. คุณนพรัตน์ (ร่วมบูชาพระเจ้า ๕ พระองค์) จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๑๕. คุณธัญญาลักษณ์ (ร่วมบูชาพระเจ้า ๕ พระองค์) จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๑๖. คุณเป้ (ร่วมบูชาพระเจ้า ๕ พระองค์) จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๑๗. คุณเจ้าจุก (ร่วมบูชาพระเจ้า ๕ พระองค์) จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๑๘. คุณนพรัตน์ (ร่วมบูชาลูกแก้วบรมจักร) จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๑๙. คุณจิ๊บ (ร่วมบูชาผ้ารองเท้าครูบาวิฑูรย์วันออกนิโรธฯ) จำนวน ๑๐๐
    ๑๒๐. คุณนพรัตน์ (ร่วมบูชาวัตถุมงคลหลวงปู่นะ) จำนวน ๙๐ บาท*
    ๑๒๑. คุณดาราพร (ร่วมบูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ฝั้น) จำนวน ๑,๗๕๐ บาท*
    ๑๒๒. คุณนู๋เจี๊ยบ (ร่วมบูชาวัดถุมงคลท่านพ่อลี) จำนวน ๑,๐๐๙ บาท*
    ๑๒๓. คุณจิ๊บ (ร่วมบูชาวัตถุมงคลท่านพ่อลี) จำนวน ๑,๐๐๐ บาท*
    ๑๒๔. คุณพรหมประกาศิต จำนวน ๓,๐๐๐ บาท*
    ๑๒๕. คุณ prisonbreak (เอ) จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๒๖. คุณพรรณี จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๒๗. คุณต้อย จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๒๘. คุณสวัสดิ์ จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๑๒๙. คุณนพรัตน์ จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๓๐. คุณสิทธิพงศ์ คงช่วย (บอล) จำนวน ๑,๐๐๐ บาท*
    ๑๓๑. คุณกฤดาภรณ์ เจริญวงศ์ จำนวน ๑,๐๐๐ บาท*
    ๑๓๒. คุณอักขรัญญ์ จำนวน ๔๐๐ บาท*
    ๑๓๓. คุณน๊อต จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๓๔. คุณเด็กสุโขทัย จำนวน ๑๕๐ บาท*
    ๑๓๕. คุณกิติศักดิ์ จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๓๖. คุณคนบรรพต จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๓๗. คุณ nutbeauty จำนวน ๔๖๐ บาท*
    ๑๓๘. คุณวรากร จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๓๙. คุณ chimy และครอบครัว จำนวน ๓๐๐ บาท*
    ๑๔๐. คุณจิราพร เขจรศาสตร์ จำนวน ๕๐๐ บาท*
    ๑๔๑. คุณนิรัช พลอยแหวน จำนวน ๒,๐๐๐ บาท*
    ๑๔๒. คุณ cabin และกองทุน จำนวน ๕๐๐ บาท*
    ๑๔๓. คุณกฤศ พลสุวรรณ จำนวน ๓๐๐ บาท*
    ๑๔๔. คุณดาวเหนือ จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๔๕. คุณ worrawat (ร่วมบูชาสมเด็จองค์ปฐม) จำนวน ๑,๐๐๐ บาท*
    ๑๔๖. คุณ Osz (ร่วมบูชาสมเด็จองค์ปฐม) จำนวน ๑,๐๐๐ บาท*
    ๑๔๗. คุณ mang12 จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๔๘. คุณสายพิรุณ และเพื่อน ๆ ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน ๓๐๐ บาท*
    ๑๔๙. คุณ i-Anne จำนวน ๙๐๐ บาท*
    ๑๕๐. คุณศิริพร นิลประยูร จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๕๑. คุณมัทนพาธา จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๕๒. คุณสายท่าขนุน จำนวน ๓๐๐ บาท*
    ๑๕๓. คุณนิรัชและเพื่อน (ร่วมบูชาสมเด็จองค์ปฐม ๒ องค์) จำนวน ๒,๐๐๐ บาท*
    ๑๕๔. คุณธิติและภรรยา จำนวน ๕๐๐ บาท*
    ๑๕๕. คุณวาง จำนวน ๓๐๐ บาท*
    ๑๕๖. คุณสัมฤทธิ์ จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๕๗. คุณเจ้าจุก และครอบครัว จำนวน ๑๗๐ บาท*
    ๑๕๘. คุณ cmhadtong จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๕๙. คุณรวิทัต จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๖๐. คุณชูชาติ (เป้) จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๖๑. คุณธงชัย เทศชาติ จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๖๒. คุณสุภานันท์ จึงนิจนิรันดร์ จำนวน ๔๔๕ บาท*
    ๑๖๓. คุณโอทึ้ง จำนวน ๑๐๐.๑๑ บาท*
    ๑๖๔. คุณวิโรจน์ ซิ้มสมบูรณ์ จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๖๕. คุณพี่โนรี จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๖๖. คุณเด็กแปดริ้ว จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๖๗. คุณสุเชษฐ์ จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๖๘. คุณลิขิต ไชยกิติวุฒิ จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๖๙. คุณพิมพา โครักษ์ จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๗๐. คุณตุ่ม บ้านประทานธรรม จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๗๑. ดร. ปทัต จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๗๒. คุณตัวแสบจำเป็น จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๗๓. คุณสมปอง (สมาชิกเว็บวัดท่าขนุน) จำนวน ๑๐๐ บาท*

    รวมยอดเงินบริจาคร่วมทำบุญ ณ วันที่ ๑๐ ต.ค. รวม ๕๓,๙๓๐.๖๕ บาท
    หัก บุญ ๓ ทริปธรรมทัศนาจร (๗) จำนวน ๓๔,๗๔๐ บาท
    คงเหลือเงินบริจาคยกไปทริปบุญ ๓ (วาระ ๒) - บุญ ๕ ณ วันที่ ๑๒ ต.ค. รวม ๑๙,๑๙๐.๖๕ บาท

    -------------------------------------------------------------------------------------

    ชุดที่ ๔ รายนามผู้บริจาคเงิน ทริปบุญ ๓ (เพิ่มเติม) - บุญ ๕
    ๑๗๔. เงินคงเหลือทริปธรรมทัศนาจร (๗)/ปัดเพิ่ม จำนวน ๗๕๐.๓๕ บาท*
    ๑๗๕. คุณ Teetab จำนวน ๕๕ บาท*
    ๑๗๖. คุณนภัส จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๗๗. คุณ "ลูกศิษย์ลูกพี่เล็กตรัง" จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๑๗๘. ครอบครัว "โชติบริบูรณ์" /คุณวิบูลย์ นุชนิยม จำนวน ๕๐๐ บาท*
    ๑๗๙. คุณ cabin ๑,๐๕๐ บาท ต้นบุญกองกฐิน
    (ผู้ประมูลเสื้อบึงลับแลหมายเลข ๙ ของพระอาจารย์) จำนวน ๑,๐๕๐ บาท*
    ๑๘๐. เงินคงเหลือทริปธรรมทัศนาจร (๔) จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๑๘๑. เงินคงเหลือทริปเล็กกับบุญใหญ่ (๓) จำนวน ๕๐ บาท*
    ๑๘๒. คุณ cinderella2517 จำนวน ๒๙๙ บาท*
    ๑๘๓. คุณคนบรรพต จำนวน ๒๐๐ บาท
    ๑๘๔. คุณมเหสี จำนวน ๑๕๐ บาท
    ๑๘๕. คุณบุญญสิกขา จำนวน ๑๕๐ บาท
    ๑๘๖. คุณกาลกตา จำนวน ๑๕๐ บาท
    ๑๘๗. คุณเบญจขันธ์ จำนวน ๑๕๐ บาท
    ๑๘๘. คุณ LittleNon จำนวน ๑๕๐ บาท
    ๑๘๙. คุณ กระบือน้อย จำนวน ๑๕๐ บาท
    ๑๙๐. คุณ i-Anne จำนวน ๑๕๐ บาท
    ๑๙๑. คุณ ขันติธรรม จำนวน ๑๕๐ บาท
    ๑๙๒. คุณ ug_buddha จำนวน ๑๕๐ บาท
    ๑๙๓. คุณ Teetab จำนวน ๑๓๐ บาท
    ๑๙๔. คุณวรุณบุตร จำนวน ๑๐๘ บาท
    ๑๙๕. คุณกร จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๑๙๖. คุณ ญ.ผู้หญิง จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๑๙๗. หลาน ๆ สกุล "ศราภัยวานิช" จำนวน ๖๓ บาท
    ๑๙๘. คุณกรรมลิขิต (cabin) และกองทุน จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๑๙๙. คุณลักษณาวลัย (nutbeauty) จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๒๐๐. คุณพิมพ์พา จำนวน ๑๕๐ บาท
    ๒๐๑. คุณลิขิต จำนวน ๑๕๐ บาท
    ๒๐๒. คุณยุภาภรณ์ ยุซังกูล จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๒๐๓. ครอบครัว "คุณนุ่น" จำนวน ๑๐๐ บาท*
    (ใส่บาตร)
    ๒๐๔. คุณยุภาภรณ์ ยุซังกูล จำนวน ๑๐๐ บาท*
    (ใส่บาตร)
    ๒๐๕. คุณ i-Anne จำนวน ๑๐๐ บาท*
    (ใส่บาตร)
    ๒๐๖. คุณวัฒนาภรณ์ จำนวน ๒๐ บาท
    ๒๐๗. คุณมณฑา จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๒๐๘. คุณสุธิรักษ์-สุนิษา ไขยกิติวุฒิ จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๒๐๙. คุณ chimy จำนวน ๔๐ บาท
    ๒๑๐. คุณกาลกตา จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๒๑๑. คุณนภัทร จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๒๑๒. คุณ prisonbreak และเพื่อน จำนวน ๓๐๐ บาท
    ๒๑๓. คุณสิงหนวัติ จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๒๑๔. คุณรัตนภูมินทร์ จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๒๑๕. คุณกาแฟ (ตุ๊ก) จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๒๑๖. คุณกาแฟ (อุ๊) จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๒๑๗. คุณเจ้าของ "จม.ธรรมะ" จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๒๑๘. คุณพี่ใหญ่ จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๒๑๙. คุณวรากร และเพื่อน จำนวน ๑,๒๐๐ บาท
    ๒๒๐. คุณนพรัตน์ จำนวน ๑๕๐ บาท
    ๒๒๑. คุณโอ๋ จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๒๒๒. คุณตั๊ก จำนวน ๒๗๓.๗๕ บาท
    ๒๒๓. คุณคิ้มจู แซ่เฮง จำนวน ๑,๐๐๐ บาท
    ๒๒๔. คุณหลีจือ เฮ่งประยูร จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๒๒๕. สมาชิกร่วมกันปิดยอดหน้างาน จำนวน ๓๘๔.๒๕ บาท
    ๒๒๖. เงินทริปบุญ ๔ รวมสมทบจำนวน ๘๒๑ บาท

    รวมยอดเงินบริจาคร่วมทำบุญ ณ วันที่ ๒๓ ต.ค. รวม ๓๑,๔๓๕ บาท
    หัก บุญ ๔ ทริปธรรมทัศนาจร (๘) จำนวน ๑๓,๐๐๙ บาท
    คงเหลือเงินบริจาคยกไปกองทุน - บุญ ๕ ณ วันที่ ๒๗ ต.ค. รวม ๑๘,๔๒๖ บาท

    -------------------------------------------------------------------------------------

    ชุดที่ ๕ รายนามผู้บริจาคเงิน ทริปบุญ ๕ - กองทุนบึงลับแล
    ๒๒๗. เงินคงเหลือทริปบุญ ๔ (ทริปธรรมทัศนาจร ๘) /ปัดเพิ่ม จำนวน ๓๐๐ บาท*
    ๒๒๘. คุณ cabin และกองทุน (ร่วมบูชาสมเด็จพระปัจเจก) จำนวน ๕๐๐ บาท*
    ๒๒๙. คุณธัญญาลักษณ์ จำนวน ๓๐๐ บาท*
    ๒๓๐. คุณ nutbeauty (ลักษณาวลัย) จำนวน ๔๐๐ บาท*
    ๒๓๑. คุณ cmhadtong จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๒๓๒. คุณ นภัทร จำนวน ๑๐๐ บาท* (ฝากไว้ที่ศาล)
    ๒๓๓. คุณพี่พล จำนวน ๒๐๐ บาท* (ฝากไว้ที่ศาล)
    ๒๓๔. คุณคิ้มจู แซ่เฮง จำนวน ๒,๐๐๐ บาท* (ฝากไว้ที่น้องจิม)
    ๒๓๕. คุณ cmhadtong จำนวน ๘๐๐ บาท* (บริจาคเพิ่ม)
    ๒๓๖. คุณศิริพร นิลประยูร และครอบครัว จำนวน ๒๔๐ บาท*
    ๒๓๗. คุณธวัช-บัว แซ่งุ้ย จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๒๓๘. คุณมารวย-นงนภัส ทัพศิริ จำนวน ๑๖๐ บาท*
    ๒๓๙. คุณวิชาญ-สุมน-วิรมณ บุญเลิศ จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๒๔๐. คุณภาภรณ์ สุระวัง และครอบครัว จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๒๔๑. คุณมัทนา พาครอบ และครอบครัว จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๒๔๒. ด.ช.ศตพร-ด.ญ.สรสวรรค์ สัจจานุวงศ์ จำนวน ๔๐ บาท*
    ๒๔๓. ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๔๐ บาท*
    ๒๔๔. คุณ chimy จำนวน ๔๐๐ บาท*
    ๒๔๕. คุณวีรนุช สถิตวิทยา จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๒๔๖. คุณสายฝน ชัยสงค์ จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๒๔๗. คุณอัญพร ไวสู้ศึก จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๒๔๘. คุณอัมพล ชมพูนิช และครอบครัว จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๒๔๙. คุณจงลักษ์ วงเคน และครอบครัว จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๒๕๐. คุณ prisonbreak จำนวน ๒๐๐ บาท*
    ๒๕๑. คุณกาแฟ และเพื่อน จำนวน ๕,๙๐๐ บาท*
    ๒๕๒. สมาชิกทริป (ร่วมบูชาแหนบหลวงพ่อฯ) จำนวน ๑,๒๐๐ บาท*
    ๒๕๓. สมาชิกทริปร่วมกันปิดยอดหน้างาน (๒ งานบุญ) จำนวน ๒,๐๔๙ บาท*
    ๒๕๔. เงินทริปบุญ ๕ ร่วมสมทบ จำนวน ๙๐๐ บาท

    รวมยอดเงินบริจาคร่วมทำบุญ ณ วันที่ ๑ พ.ย. รวม ๓๕,๓๕๕ บาท
    หัก บุญ ๕ ทริปเล็กในบุญใหญ่ (๔) จำนวน ๒๒,๒๐๐ บาท
    คงเหลือเงินบริจาคยกไปกองทุนบึงลับแล ณ วันที่ ๒ พ.ย. รวม ๑๓,๑๕๕ บาท

    -------------------------------------------------------------------------------------

    รายนามผู้บริจาคเงินเข้ากองทุนบึงลับแล
    ๑. เงินคงเหลือยกมาจากทริป ๕ บุญใหญ่ จำนวน ๑๓,๑๕๕ บาท
    ๒. เงินคงเหลือจากทริปบุญ ๕ (ทริปเล็กกับบุญใหญ่ ๔) จำนวน ๒๐๐ บาท
    ๓. คุณนิรัช (ร่วมบูชาพระ ลป.นะ) จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๔. คุณ Teetab (ร่วมบูชาพระผงงานกฐิน) จำนวน ๒๐๐ บาท
    ๕. สมาิชิกทริปบุญ ๕ (ไม่ประสงค์ขอรับเงินทอนค่าผอบ) จำนวน ๘๐ บาท

    รวมยอดเงินกองทุนบึงลับแล ณ วันที่ ๖ พ.ย. รวม ๑๓,๗๓๕ บาท




    ขออนุโมทนากับชาวคณะและกัลยาณมิตรทุกผู้ทุกนามที่ได้ร่วมบุญทั้งด้านกำลังกาย กำลังทรัพย์ ตลอดจนกำลังใจจนทำให้ทริป ๕ บุญใหญ่ของชาวคณะสำเร็จลุล่วงสมตามเจตนาและความตั้งใจด้วยดี ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ด้วยความเมตตาของพระอาจารย์ และครูบาอาจารย์ทุกท่านที่ได้ให้ทั้งความเมตตา ให้กำลังใจ ให้ธรรมะ ให้สติ ให้ข้อคิดดี ๆ กับชาวคณะด้วยดีตลอดมา ขออานิสงส์ผลบุญที่ชาวคณะได้ร่วมสร้างร่วมทำตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและต่อเนื่องไปในอนาคตจงเป็นพลังให้ชาวคณะและกัลยาณมิตรทุกท่านประสบแด่ความสุขความเจริญทั้งในทางโลกและทางธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนกว่าตราบท้าวเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ สาธุ


     
  11. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ทริปธรรมทัศนาจร ๙ งานบวงสรวงพระธาตุจอมกิิตติ พระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย ๒๐-๒๒ พ.ย.

    [​IMG]
    พระธาตุจอมกิตติ


    [​IMG] ทริปธรรมทัศนาจร (๙) แอ่วเมืองเหนือ กราบครูบาอาจารย์ ร่วมพิธีบวงสรวงพระธาตุจอมกิตติ อ.เชียงแสน ร่วมพิธีบวงสรวงพระธาตุดอยตุง ชมความงดงามของพระอาทิตย์ตกดิน ณ ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย สักการะรอยพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ วันที่ ๒๐-๒๓ พ.ย.๕๒ (รวม ๔ วัน ๓ คืน)



    :z8 กำหนดการเดินทาง โดยรถตู้ปรับอากาศ TOYOTA COMMUTER VIP จำนวน ๓ คัน (๓๐ ที่นั่ง)


    วันศุกร์ ที่ ๒๐ พ.ย. ๕๒ (วัดเขาวง ,สวนสมุนไพรหลวงปู่ละมัย ,วัดเขาแร่)
    ๐๔.๓๐ น. จุดนัดพบปั๊มน้ำมัน ปตท.สนามเป้า
    ๐๕.๐๐ น. ล้อหมุน (บริการอาหารว่าง ๑ )
    ๐๗.๐๐ น. เดินทางถึงวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)
    - ร่วมทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารเช้า
    - กราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในบริเวณวัด
    - ร่วมกราบและรับฟังธรรมจากหลวงตาวัชรชัย

    เดินทางต่อไปยังสวนสมุนไพร จ.เพชรบูรณ์
    - ร่วมกราบและรับฟังธรรมจากหลวงปู่ละมัย
    - พักรับประทานอาหารกลางวัน (ตามอัธยาศัย)

    เดินทางต่อไปวัดธรรมยาน จ.เพชรบูรณ์
    - ร่วมกราบหลวงพี่วิรัช

    - เดินทางต่อไปวัดเขาแร่ อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย
    - ร่วมกราบและรับฟังธรรมจากหลวงพี่เอก
    - รับประทานอาหารเย็นและพักผ่อนตามอัธยาศัย


    วันเสาร์ ที่ ๒๑ พ.ย. ๕๒
    (วัดไชยมงคล , วัดพระธาตุผาเงา ,วัดพระธาตุจอมกิตติ ,สามเหลี่ยมทองคำ)
    ๐๔.๐๐ น. ตื่นทำธุระส่วนตัว ,รับประทานอาหารเช้า
    ๐๕.๑๕ น. ร่วมกราบลาหลวงพี่เอก และถวายเงินชำระหนี้สงฆ์ร่วมกัน
    - ออกเดินทางต่อไปวัดไชยมงคล (วังมุย) อ.เมือง จ.ลำพูน เพื่อรับครูบาวิฑูรย์
    - ออกเดินทางต่อไป อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
    - พักถวายภัตตาหารเพล และร่วมรับประทานอาหารกลางวันระหว่างทาง (ตามอัธยาศัย)
    - ร่วมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์วัดพระธาตุผาเงา

    ๑๔.๐๐ น. เดินทางถึงวัดพระธาตุจอมกิตติ
    - ร่วมกราบพระอาจารย์ หลวงพี่สมปอง

    ๑๕.๐๐ น. ร่วมพิธีบวงสรวงพระธาตุจอมกิิิิตติ
    - เดินทางต่อไปชมตลาดแม่สายและความงดงามของดินแิดนสามเหลี่ยมทองคำ
    - พักรับประทานอาหารเย็น (ตามอัธยาศัย)
    - เดินทางต่อไปวัดน้อยดอยตุง
    - พักผ่อนตามอัธยาศัย


    วันอาทิตย์ ที่ ๒๒ พ.ย. ๕๒ (วัดน้อยดอยตุง , วัดพระพุทธบาทสี่รอย ,วัดพระธาตุลำปางหลวง )
    ๐๔.๐๐ น. ตื่นทำธุระส่วนตัว
    ๐๕.๐๐ น. ร่วมพิธีบวงสรวงพระธาตุดอยตุง
    - กราบลาหลวงพี่สมปอง พร้อมถวายเงินชำระหนี้สงฆ์
    - พักถวายภัตตาหารเช้า และร่วมรับประทานอาหารเช้าระหว่างทาง (ตามอัธยาศัย)
    - ร่วมกราบสักการะรอยพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
    - ถวายภัตตาหารเพล และร่วมรับประทานอาหารกลางวัน (ตามอัธยาศัย)
    - ออกเดินทางต่อไปวัดพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง และชาวคณะกราบลาครูบาวิฑูรย์ที่นี่
    ๐๓.๐๐ น. เดินทางถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ


    ประมาณการค่าใช้จ่ายอยู่ที่คนละ ๓,๐๐๐ บาท
    (ไม่พอเก็บเพิ่ม เงินเหลือทำบุญ) โดยมีรายละเอียดของค่าใช้จ่าย ดังนี้
    - ค่าใช้จ่ายหลัก ได้แก่ ค่าเช่ารถ ,ค่าน้ำมัน ,ค่าทางด่วน ,ค่าอาหารและน้ำดื่มของชาวคณะ ๑ ชุด

    - ค่าใช้จ่ายงานบุญ ได้แก่ ค่าบายศรีธรรมจักร ,
    ค่าภัตตาหาร , ค่าสังฆทานและชำระหนี้สงฆ์วัดเขาวง ,สวนสมุนไพรหลวงปู่ละมัย ,วัดธรรมยาน ,วัดเขาแร่ ,วัดพระธาตุผาเงา , วัดพระธาตุจอมกิตติ , วัดน้อยดอยตุง , วัดพระบาทสี่รอย ,วัดพระธาตุลำปางหลวง , ร่วมทำบุญปล่อยปลา ฯลฯ



    ท่านที่ประสงค์จะร่วมเดินทางกรุณาโอนเงินค่าพาหนะเดินทางตามจำนวนที่กำหนดข้างต้นเข้าบัญชีตามข้างล่างนี้ และมาโพสต์แจ้งชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้และจำนวนเงินที่โอนให้ทราบด้วยค่ะ

    ชื่อบัญชี ณญาดา ศราภัยวานิช
    ธนาคาร
    กรุงไทย ประเภทออมทรัพย์
    เลขที่บัญชี
    ๑๒๑-๐-๑๐๕๔๕-๔
    โทรศัพท์ ๐๘๑-๗๓๕-๙๒๖๑



    :cool: ทริปธรรมทัศนาจร (๙) ปิดรับจองที่นั่งรถและโอนเงินในวันอาทิตย์ที่ ๑๕ พ.ย. ๕๒ เวลา ๒๓.๐๐ น. หรือจนกว่าที่นั่งเต็ม

    ท่านที่โอนเงินแล้วต่อมาประสงค์จะยกเลิกการเดินทาง ขอให้แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย ๕ วัน ก่อนวันที่เดินทาง หากไม่แจ้งภายในกำหนดดังกล่าว ผู้จัดขอสงวนสิทธิที่จะไม่คืนเงินค่าเดินทางให้หากปรากฏว่าการยกเลิกล่าช้าของท่านทำให้ตัดสิทธิของบุคคลอื่นและก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้จัด

    ในการโอนเงินคืนจะมีค่าธรรมเนียมการโอน ๒๕ บาท ซึ่งจะหักจากยอดเงินค่าเดินทางของท่าน หากมีเงินเหลือหลังจากชำระค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้ว ผู้จัดขออนุญาตนำเงินที่เหลือทั้งหมดเข้าร่วมบุญต่าง ๆ ของชาวคณะบึงลับแลต่อไป


    หมายเหตุ
    - ทริปนี้การเดินทางของชาวคณะ เป็นการเดินทางไกลและเส้นทางขึ้นเขา เพราะฉะนั้นรถที่จัดไปเพื่อความคล่องตัว สะดวกและปลอดภัยในการเดินทางจึงต้องจัดเป็นรถตู้ VIP ๑๐ ที่นั่ง/คัน เพราะฉะนั้นหญิงจะห้สิทธิ์สำหรับสมาชิกที่แจ้งรายชื่อและชำระเงินค่าเดินทางเข้ามาก่อน ถ้ามีกัลยาณมิตรแจ้งความประสงค์ร่วมเดินทางเข้ามาเกินจำนวน ๒๐ คน หญิงจะรอจนถึงวันปิดยอดการเดินทาง เพื่อขอตรวจสอบจำนวนผู้ร่วมเดินทางที่แน่นอนอีกครั้ง ถ้ายังแจ้งความประสงค์เกิน ขอดูความเหมาะสมในการจัดรถเพิ่มอีกครั้งหนึ่งค่ะ

    - อุปกรณ์ที่ต้องนำติดตัวไปคือ ไฟฉาย ,ถุงนอน ,อุปกรณ์กันความหนาว อาทิ เสื้อกันหนาว ,หมวกไหมพรม ,ถุงเท้า่ ฯลฯ



    [​IMG] รายชื่อกัลยาณมิตรที่แจ้งความประสงค์ร่วมเดินทาง

    ครูบาวิฑูรย์ ชิณวโร เจ้าอาวาสวัดไชยมงคล (วังมุย)

    ๑. คุณ ญ.ผู้หญิง จ่ายแล้ว ลว.๑๓/๑๑/๕๒
    ๒. คุณกร ขอถอนตัว ลว.๑๖/๑๑/๕๒ เนื่องจากงานเข้า
    ๓.
    คุณ Teetab จ่ายแล้ว ลว.๑๐/๑๑/๕๒
    ๔. คุณกาลกตา จ่ายแล้ว ลว.๑๐/๑๑/๕๒
    ๕. คุณ nutbeauty จ่ายแล้ว ลว.๑๕/๑๑/๕๒
    ๖. คุณน้องไอช์
    จ่ายแล้ว ลว.๑๕/๑๑/๕๒
    ๗. คุณวรุณบุตร ขอถอนตัว ลว.๑๓/๑๑/๕๒ เนื่องจากงานเข้า
    ๘.
    คุณ cabin จ่ายแล้ว ลว.๑๗/๑๑/๕๒
    ๙. คุณดาราพร จ่ายแล้ว ลว.๑๕/๑๑/๕๒
    ๑๐. คุณ Akitkung
    ยืนยันการเดินทาง ขอชำระเงิน ๒๐/๑๑/๕๑*
    ๑๑. คุณกาแฟ (ตุ๊ก)
    จ่ายแล้ว ลว.๑๕/๑๑/๕๒
    ๑๒. คุณกาแฟ (อุ๊)
    จ่ายแล้ว ลว.๑๕/๑๑/๕๒
    ๑๓. คุณนู๋เจี๊ยบ
    ยืนยันการเดินทาง ขอชำระเงิน ๒๐/๑๑/๕๒*
    ๑๔. คุณพิชญ์ จ่ายแล้ว ลว.๑๑/๑๑/๕๒
    ๑๕. คุณพุทธธิดา จ่ายแล้ว ลว.๑๑/๑๑/๕๒
    ๑๖. คุณอัญชุลี ยืนยันการเดินทาง ลว. ๑๗/๑๑/๕๒
    ๑๗. คุณน้องมนต์
    ยืนยันการเดินทาง ลว. ๑๗/๑๑/๕๒
    ๑๘. คุณวนิดา จ่ายแล้ว ลว.๑๕/๑๑/๕๒
    ๑๙. คุณธัญญา ๙๙
    จ่ายแล้ว ลว.๑๕/๑๑/๕๒
    ๒๐. คุณ chimy จ่ายแล้ว ลว.๑๖/๑๑/๕๒
    ๒๑. คุณพุทธบุตร (เอก)
    จ่ายแล้ว ลว.๑๓/๑๑/๕๒
    ๒๒. คุณคนบรรพต จ่ายแล้ว ลว.๑๓/๑๑/๕๒*
    ๒๓. คุณพุทธบุตร (ติช)
    จ่ายแล้ว ลว.๑๖/๑๑/๕๒
    ๒๔. คุณสำราญใจ
    จ่ายแล้ว ลว.๑๓/๑๑/๕๒*
    ๒๕. คุณเจ้าจุก จ่ายแล้ว ลว.๑๓/๑๑/๕๒
    ๒๖. คุณบัวเหรียญ จ่ายแล้ว ลว.๑๖/๑๑/๕๒
    ๒๗. คุณพุทธบุตร (ไก่) จ่ายแล้ว ลว.๑๖/๑๑/๕๒
    ๒๘. คุณอรวรรณ ยืนยันการเดินทาง ขอชำระเงิน ๒๐/๑๑/๕๒*
    ๒๙. คุณอรทัย ยืนยันการเดินทาง ขอชำระเงิน ๒๐/๑๑/๕๒*
    ๓๐. คุณมุกดา ยืนยันการเดินทาง ขอชำระเงิน ๒๐/๑๑/๕๒*
    ๓๑. คุณบอย ยืนยันการเดินทาง ลว. ๑๗/๑๑/๕๒
    ๓๒. คุณนิภาพร ยืนยันการเดินทาง ลว. ๑๗/๑๑/๕๒

    รวมสมาชิกแจ้งความประสงค์ร่วมเดินทาง แยกรายละเอียดออกเป็น
    - ยืนยันการเดินทาง ณ วันที่ ๑๗ พ.ย.๕๒ จำนวน ๓๐ คน (เต็ม ปิดรับสมาชิก)

    - ถอนตัวเนื่องจากงานเข้า จำนวน ๒ คน





    ภาพประกอบ
    ๑. ห
    ลวงตาวัชรชัย วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)
    ๒. หลวงปู่ละมัย ฐิตมโม สวนป่าสมุนไพร
    ๓. หลวงพี่เอก วัดเขาแร่
    ๔. พระอาจารย์ และหลวงพี่สมปอง
    ๕. ครูบาวิฑูรย์ ชิณวโร
    ๖. พระธาตุจอมกิตติ
    ๗. พระธาตุผาเงา
    ๘. ตลาดแม่สายยามเย็น
    ๙. พระธาตุดอยตุง
    ๑๐. วัดพระพุทธบาทสี่รอย
    ๑๑. รอยพระพุทธบาทสี่รอย
    ๑๒. วัดพระธาตุลำปางหลวง


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2009
  12. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ประวัติพระธาตุจอมกิตติ

    [​IMG]
    พระธาตุจอมกิตติ

    .....พระธาตุเจดีย์ หรือบรมธาตุเจดีย์ มีลักษณะฐานล่างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ถัดขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ย่อมุมเป็นเรือนธาตุ (ย่อมุมรองรับ) ซึ่งมีซุ้มทิศประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนปูนปั้นทั้ง ๔ ด้าน ส่วนยอดเป็นองค์ระฆังกลม ตำนานการสร้างพระธาตุจอมกิตติค่อนข้างจะสับสนพอ ๆ กับตำนานเมืองเชียงแสน
    ศิลาจารึกวัดพระธาตุจอมกิตติได้กล่าวไว้ว่า เมื่อตอนที่พระพุทธองค์ได้เสด็จมา ณ ที่นี้ พระองค์ได้ทรงดึงพระเกศาและประดิษฐานไว้ที่พระธาตุจอมกิตติ แล้วพระองค์จึงทรงพยากรณ์ว่า แว้นแคว้นแห่งนี้จะคงสืบพระพุทธศาสนาดำรงได้ครบ ๕,๐๐๐ ปี

    บางตำนานบอกว่า เมืองเชียงแสนนั้น เกิดมาตั้งแต่สมัยพระพุทธองค์ยังดำรงพระชนม์ชีพ และเคยเสด็จมายังเชียงแสน ประทานเส้นพระเกศาให้ไว้ จึงสร้างพระธาตุขึ้นมาเพื่อประดิษฐาน

    ตำนานต่อมาที่ค่อนข้างจะแน่นอนกว่าคือการสร้างพระธาตุจอมกิตติโดยพระเจ้าพังคราช เมื่อปี พ.ศ. ๑๔๘๑ เมื่อสร้างแล้วเสร็จจึงได้พระบรมธาตุมา โดยมีพระพุทธโฆษาจารย์ ชาวมอญ ซึ่งหลังจากเดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาจากประเทศลังกาแล้ว จึงกลับมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในมอญ พม่า ตามลำดับจนเข้ามาในโยนกนคร (เชียงแสน) ตรงกับสมัยของพระเจ้าพังคราช ซึ่งยุคนี้พระเจ้าพรหมได้ทรงขับไล่ขอมไปสิ้นจากโยนกหมดแล้ว และพระเจ้าพรหมได้อัญเชิญพระเจ้าพังคราช ราชบิดากลับมาขึ้นครองเมืองเชียงแสน ส่วนพระเจ้าพรหมมหาราช ซึ่งเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ไปสร้างเมืองใหม่คือเมือง "ชัยปราการ" ที่ริมแม่น้ำกก เพื่อเป็นเมืองหน้าด่าน ป้องกันการรุกรานของข้าศึก ซึ่งชัยปราการนี้จะเป็นเมืองหน้าด่านให้เชียงแสน จะสกัดการรุกรานของข้าศึกที่จะยกมาทางด้านทิศตะวันตกไว้ก่อน และได้ครองเมืองชัยปราการ

    ดังนั้นเมื่อพระพุทธโฆษาจารย์ได้นำพระพุทธศาสนามาเผยแพร่ในเชียงแสน พร้อมกับได้อัญเชิญพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้ามาด้วยจำนวนถึง ๑๖ พระองค์ เป็นพระบรมอัฐิธาตุส่วนพระนลาต (หน้าผาก) มีหลายขนาด พระเจ้าพังคราชจึงได้แบ่งพระบรมธาตุขนาดใหญ่ ๑ องค์ ขนาดกลาง ๒ องค์ และขนาดเล็กอีก ๒ องค์ ให้กับพระยาเรือนแก้ว (เจ้าเมืองเชียงราย) ซึ่งได้นำไปประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์ในเมืองเชียงราย ขอให้คำว่าหากจำไม่ผิดคือวัดจอมทอง

    พระเจ้าพังคราช นำพระโกศเงิน พระโกศทอง และพระโกศแก้ว รองรับพระบรมธาตุแล้วจึงประทานแก่พระเจ้าพรหมมหาราช นำไปประดิษฐานไว้บนดอยน้อยหรือจอมกิตติ ซึ่งตามตำนานดั้งเดิมบอกว่าเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาในสมัยพุทธกาลนั้นได้ประทานพระเกศธาตุ ประดิษฐานไว้แล้ว

    พระเจ้าพรหมมหาราช ทรงใช้ช่างก่อพระเจดีย์ขึ้น กว้าง ๓ วา สูง ๖ วา ๒ ศอก บนดอยจอมกิตติ พระเจดีย์แล้วเสร็จในเดือน 6 เพ็ญ วันจันทร์ พ.ศ. ๑๔๘๓ และเรียกพระเจดีย์องค์นี้ว่า พระธาตุจอมกิตติแต่ยังไม่มีวัดพระธาตุจอมกิตติ วัดนี้มาเริ่มเกิดใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นี่เอง

    เมืองเชียงแสนนั้นเกิดเจริญรุ่งเรือง แล้วก็ร้าง หลายยุคหลายสมัย ตำนานการสร้างเมืองถึงเอาแน่กันไม่ค่อยจะได้ หากไม่ล้วงลึกแล้วก็จะบอกว่าพระธาตุจอมกิตติสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๐ โดยเจ้าเมืองเชียงแสนนามว่า เจ้าสุวรรณคำล้าน ซึ่งน่าจะหมายถึงมาบูรณะองค์พระธาตุจอมกิตติและสร้าง วัดพระธาตุจอมแจ้ง ผมเข้าใจตามนี้ แม้แต่เมืองเชียงแสน ตำนานที่สร้างหลังสุดคือสร้างโดยพระเจ้าแสนภู กษัตริย์ราชวงศ์เชียงราย สร้างเมืองเชียงแสนเมื่อ พ.ศ. ๑๘๗๑ แต่หากมองย้อนกลับไปถึงสมัยพระเจ้าพรหมมหาราชเมืองเชียงแสนก็มีอยู่แล้ว และเมื่อพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้ยกทัพขึ้นไปตีเชียงแสน เมื่อตีได้แล้วถอยทัพไทยกลับก็ให้เผาเมืองเชียงแสนเสีย เพราะพม่าเข้ามายึดเป็นที่มั่นอยู่เป็นการประจำจึงเผาเสีย เชียงแสนมาฟื้นคืนชีพเป็นเมืองที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ นี่เอง
    สรุปว่า วัดพระธาตุจอมแจ้งบนดอยน้อยนี้มีจริง และเกิดในสมัยที่เจ้าสุวรรณคำล้าน มาบูรณะพระธาตุจอมกิตติแล้วก็สร้างวัดพระธาตุจอมแจ้งขึ้นมาในปี พ.ศ. ๒๐๓๐ ส่วนวัดพระธาตุจอมกิตตินั้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ พระครูสังวรสมาธิวัตร แห่งสำนักวิปัสสนา เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชาวเชียงแสนได้จัดตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นมาที่เชิงดอยพระธาตุจอมกิตติ และได้ย้ายขึ้นไปสร้างวัดอยู่บนเชิงพระธาตุ ในภายหลังจึงได้มีการสร้างบันไดขึ้น สร้างอุโบสถที่หันหน้าสู่แม่น้ำโขง สร้างซุ้มประตูโขงโยนก ๔ ซุ้มประตูประจำ ๔ ทิศ

    ส่วนที่เชิงดอยพระธาตุก็ยังมีพระพุทธรูปสำคัญองค์ใหญ่คือ พระพุทธรูปองค์หลวง หรือหลวงพ่อพุทธองค์โยนกมิ่งมงคลเชียงแสน ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในบริเวณบ่อน้ำทิพย์ สร้างขึ้นแทนพระเจ้าล้านตื้อที่จมอยู่ในแม่น้ำโขง แต่เศียรงมขึ้นมาได้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์เชียงแสน รวมทั้งปราสาทหลังเก่าที่เป็นสำนักสงฆ์ก็ยังคงอยู่ที่เชิงดอย ส่วนวัดพระธาตุจอมกิตตินั้นได้รับการบูรณะเป็นอย่างดี รวมทั้งการบูรณะองค์พระธาตุด้วย

    เมื่อวันพุธที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๕.๕๗ น. เกิดแผ่นดินไหววัดความแรงได้ 5.8 ริกเตอร์ ศูนย์กลางชายแดนไทย-ลาว ห่างจากจังหวัดเชียงราย ๕๗ กิโลเมตร ส่งผลให้ยอดฉัตรพระธาตุจอมกิตติ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย หักโค่นลงมาได้รับความเสียหาย ทางวัดได้นำไปเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์เชียงแสน สิ่งของที่บรรจุในยอดปลีองค์พระธาตุ ซึ่งมีอัญมณี ๙ ชนิด ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานบรรจุในยอดฉัตรเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (พระเกศาธาตุ) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพบแล้ว ๗ อย่าง สูญหายไป ๒ อย่าง ต่อมาสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมฉัตรจากของเดิมให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรงมากขึ้น รวมทั้งได้เปลี่ยนก้านและแกนฉัตรเป็นสแตนเลสจากเดิมที่เป็นเหล็ก ซึ่งผุกร่อนเป็นสนิม ส่วนตัวฉัตรนั้น ช่างได้ทำให้เข้ารูปเดิม และเปลี่ยนวิธีห่อหุ้มทองคำ ๙๙ เปอร์เซ็นต์ จากวิธีเปียกทองโบราณ มาใช้เทคโนโลยีใหม่วิธีฟอร์มทอง โดยใช้ไฟฟ้าเป็นตัวหล่อและหุ้ม ซึ่งทำให้ทองคำอยู่ติดคงทน และสีไม่หมอง ส่วนยอดฉัตรที่ประดับด้วยอัญมณีนพเก้า และมีอัญมณีหลุดหายไป ๒ ชนิดนั้น ได้มีประชาชนบริจาคโกเมนและนิล ซึ่งช่างได้นำขึ้นไปประดับไว้ครบทั้ง ๙ ชนิดแล้ว ส่วนองค์พระธาตุ กรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งในส่วนโครงสร้างและฐานราก เสริมอิฐซ่อมแซมส่วนที่เสียหายและเสริมความมั่นคงรอยแตกร้าวด้วยกาววิทยาศาสตร์ (Epoxy) และอัดฉีดน้ำปูนเข้าไป

    ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เวลา ๐๙.๐๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระธาตุจอมกิตติ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ทรงประกอบพิธียกฉัตรประดับยอดพระธาตุกลับคืนดังเดิม


    ขอบคุณที่มา http://th.wikipedia.org/wiki<cite></cite>
     
  13. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ประวัติพระธาตุดอยตุง

    [​IMG]
    วัดพระธาตุดอยตุง

    วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง)
    หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ซึ่งดอยตุงมีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ ๔๖ กม. และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่บนยอดดอย สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเนื่องจากพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร

    ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์(ปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน) พระมหากัสสปะเถระได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้าย(กระดูกไหปลาร้า) แล้วมอบให้แก่ พระเจ้าอชุตราช ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ แล้วจึงได้ให้ทำตุง มีความยาว ๑,๐๐๐ วาปักบนยอดเขาหากทุงปลิวไปถึงที่ใดก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ ๕๐๐ ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยพญามังรายแห่งราชวงค์มังราย พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย ๕๐ องค์ พญามังรายจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้

    พระธาตุดอยตุงแต่เดิมมีองค์เดียว รูปแบบการก่อสร้างก่อเป็นศิลปะเชียงแสนย่อมุมไม้สิบสองคล้ายกับพระธาตุดอยสุเทพ เมืองเชียงรายสมัยก่อนเป็นเมืองร้างอยู่หลายครา พระธาตุดอยตุงจึงขาดการบูรณะปฏิสังขรณ์ ตัวพระธาตุทรุดโทรมและพังทลายลง นับตั้งแต่พญามังรายได้สร้างเจดีย์อีกองค์ใกล้กัน อีกองค์หนึ่งจึงทำให้พระธาตุดอยตุงมีสององค์ ปัจจุบันพระธาตุเป็นสีทองขนาดเล็กสององค์ สูงประมาณ ๕ เมตร บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก พระธาตุดอยตุง อยู่บนดอยสูงแวดล้อมด้วยป่ารกครึ้ม เรียกว่า สวนเทพารักษ์ เชื่อกันว่า เป็นที่สถิตของเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์


    ขอบคุณที่มา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
     
  14. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ประวัติวัดพระธาตุผาเงา

    <center>[​IMG]
    วัดพระธาตุผาเงา

    วัดพระธาตุผาเงา ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงทางด้านทิศตะวันตก ตรงกันข้ามกับประเทศลาว อยู่ในหมู่บ้านสบคำ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน อยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอเชียงแสนประมาณ ๓ กม. เป็นวัดในช่วงสมัยของอาณาจักรโยนก วัดร้างแห่งนี้กำลังอยู่ในช่วงที่เจริญรุ่งเรืองสุดขีด สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นวัดที่สำคัญและประจำกรุงเก่าแห่งนี้ก็เป็นได้ จะเห็นได้ว่าพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงาที่ขุดค้นพบแห่งนี้ถูกสร้างและฝังอยู่ใต้พระพุทธรูปองค์ใหญ่ (พระประธาน) จะปิดบังซ่อนเร้นกลัวถูกโจรกรรมจากพวกนิยมสะสมของเก่า

    ตอนแรกได้สันนิษฐานว่าบริเวณเนินเขาเล็ก ๆ ลูกนี้ที่กำลังแผ้วถางอยู่นี้จะต้องเป็นวัดเก่าแน่ เพราะได้พบเห็นซากโบราณวัตถุุกลาดเกลื่อนไปทั่วบริเวณในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ จึงได้ลงมือแผ้วถางป่า แต่เดิมที่แห่งนี้เคยเป็นถ้ำ เรียกว่า ถ้ำผาเงา ปากถ้ำถูกปิดไว้นาน ทำให้บริเวณแห่งนี้เป็นป่ารก เต็มไปด้วยซากโบราณวัตถุกระจัดกระจายอยู่กลาดเกลื่อน การค้นพบพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงา เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๑๙ เวลา ๑๔.๐๐ น. เมื่อคณะศรัทธาได้ปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกคนต่างตื่นเต้นและปีติยินดีเมื่อ ได้พบว่าใต้ตอไม้นั้น (หน้าฐานพระประธาน) มีอิฐโบราณก่อเรียงไว้ เมื่อยกอิฐออกก็พบหน้ากาก จึงได้พบพระพุทธรูป มีลักษณะสวยงามมาก ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณวัตถุได้วิเคราะห์ว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีอายุระหว่าง ๗๐๐-๑,๓๐๐ ปี คณะทั้งหมดจึงได้พร้อมกันตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อผาเงา” และเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น “วัดพระธาตุผาเงา” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    ขอบคุณที่มา : หนังสือประวัติวัดพระธาตุผาเงา
    </center>​
     
  15. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ประวัติวัดพระพุทธบาทสี่รอย

    <table id="lightbox22" style="position: absolute; left: 337px; top: 16433px; z-index: 11; display: none;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td>
    <input class="button" value="X" id="lightboxbutton22" style="border: 1px solid white; padding: 4px; background-color: black; color: white; width: 30px; position: relative; top: 12px; left: -12px; font-weight: bold; cursor: pointer;" type="button"> ​
    <table style="border: 1px solid white; background-color: black;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr valign="middle"> <td colspan="2" style="text-align: center;" id="lightboxholder" align="center" valign="middle"> [​IMG] </td> </tr> <tr class="lightboxtextrow"> <td class="smallfont" style="padding: 4px; background-color: black; color: white;">พระพุทธบาทสี่รอย ๒.jpg (11 of 12)</td> <td class="smallfont" style="padding: 4px; background-color: black; color: white; text-align: right;">10-11-2009 07:31 PM</td> </tr> <tr> <td style="background-color: black; color: white;" colspan="2" align="center"> <input class="button" value="Previous" id="lightboxprevbutton22" style="border: 1px solid white; padding: 4px; background-color: black; color: white; position: relative; top: 12px; font-weight: bold; cursor: pointer;" type="button"> <input class="button" value="ถัดไป" id="lightboxnextbutton22" style="border: 1px solid white; padding: 4px; background-color: black; color: white; position: relative; top: 12px; font-weight: bold; cursor: pointer;" type="button"> </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table>
    <input class="button" value="X" id="lightboxbutton10" style="border: 1px solid white; padding: 4px; background-color: black; color: white; width: 30px; position: relative; top: 12px; left: -12px; font-weight: bold; cursor: pointer;" type="button"> ​
    [​IMG]
    พระพุทธบาทสี่รอย


    คำบูชาพระพุทธบาทสี่รอย
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)
    สาธุ สาธุ โกสัมพิยัง อะวิทูเร เวภาระ ปัพพะเต
    กกุสันโธ โกนาคะมะโน กัสสะโป โคตะโม
    ปาทะ เจติยัง ชินะธาตุ จะฐะ เปตวา อะหัง วันทามิ ทูระโต


    คำแปลสาธุ สาธุ ข้าพเจ้าขอวันทานมัสการเจดีย์ คือรอยพระพุทธบาท และพระชินธาตุเจ้าทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า พระกกุสันโธ โกนาคะมะโน กัสสะโป และพระสิทธัตถะ โคตะโม ที่ประดิษฐานตั้งไว้ ณ. ภูเขาเวภารบรรพตนี้ ตลอดกาลนานเทอญ


    ตำนานพระพุทธบาท ๔ รอย
    เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในศาสนาปัจจุบันนี้ได้เสด็จจารึกประกาศธรรม และโปรดเวไนยสัตว์มายังปัจจัยตะประเทศ (ประเทศไทยในปัจจุบัน) จนกระทั่งมาถึงเทือกเขาทางตอนเหนือของประเทศ ชื่อเขาเวภารบรรพต

    ซึ่งขณะนั้นได้เสด็จพร้อมกับพุทธสาวก ๕๐๐ องค์ และได้แวะฉันจังหันอยู่บนเขาเวภารบรรพตแห่งนี้ เมื่อพระพุทธองค์ฉันจังหันเสร็จ ขณะประทับอยู่ที่นั้น ก็ได้ทราบด้วยญาณสมาบัติว่าบนเทือกเขาแห่งนี้ ได้มีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ามาประทับอยู่บนก้อนหินก้อนใหญ่คือ พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ภัทรกัลป์นี้ แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงเล็งดูรอยพระพุทธบาทแห่งพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ คือ พระพุทธเจ้ากกุสันธะ , พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ , พระพุทธเจ้ากัสสปะ

    อันมีในที่นี้พุทธสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตรเป็นประธานเมื่อเห็นเช่นนี้จึงทูลถามว่า พระพุทธองค์ทรงเล็งดูด้วยเหตุใด

    พระพุทธองค์จึงตรัสตอบว่า ดูก่อนท่านทั้งหลายสถานที่แห่งนี้แม้นว่าพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ ที่ล่วงมาแล้วในอดีตกาล ก็มาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี่ทุกๆ พระองค์ และ แม้นว่าพระศรีอริยเมตไตร ก็จักเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี่ และจักประทับรอยพระบาท ๔ รอยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว ( คือประทับลบรอยทั้ง ๔ ให้เหลือรอยเดียว )

    เมื่อพุทธองค์ตรัสแก่สาวกทั้งหลายเสร็จแล้ว พระองค์ก็เสด็จไปประทับรอยพระบาทซ้อนรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ จึงมีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ จึงเกิดเป็นพระพุทธบาท ๔ รอย

    เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราประทับรอยพระบาทซ้อนรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์นั้นแล้วก็ทรงอธิษฐานว่า

    ในเมื่อ (เรา) ตถาคตนิพพานไปแล้ว เทวดาทั้งหลายก็จักนำเอาพระธาตุของตถาคต มาบรรจุไว้ที่รอยพระพุทธบาทที่นี่ ในเมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว ๒,๐๐๐ ปี พระพุทธบาท ๔ รอยนี้ก็จักปรากฏแก่ปวงชนและเทวดาทั้งหลาย ก็จักได้มาไหว้และบูชา

    เมื่อทรงอธิษฐานและทำนายไว้ดังนี้แล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จไปเชตุวันอารามอัน มีในเมืองสาวัตถีนั้นแล เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้วเทวดาทั้งหลายก็นำเอาพระธาตุของพระพุทธองค์มาบรรจุไว้ที่พระพุทธบาท ๔ รอยเมื่อพระพุทธองค์นิพพานล่วงมาแล้วประมาณ ๒,๐๐๐ วัสสา

    เทวดาทั้งหลายต้องการอยากให้พระพุทธบาท ๔ รอย ปรากฏแก่คนทั้งหลายตามที่พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานไว้ ก็จึงเนรมิตเป็นรุ้งตัวใหญ่ (เหยี่ยว) ก็บินลงจากภูเขาเวภารบรรพต อันเป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธบาทสี่รอยในปัจจุบันนี้เพื่อบินลงไปเอาลูกไก่ของชาวบ้าน ( คนป่า ) ที่อยู่ตีนเขาเวภารบรรพต แล้วก็บินกลับขึ้นไปสู่ยอดเขา มันก็โกรธมากจึงตามขึ้นไปคิดว่าจะยิงเสียให้ตาย มันก็คิดตามไปค้นหาดู แต่ก็ไม่เห็นรุ้งตัวนั้น แต่เห็นรอยพระพุทธบาท ๔ รอยอันอยู่พื้นต้นไม้และเถาวัลย์

    พรานป่าผู้นั้นก็ทำการสักการะบูชา เสร็จแล้วก็ลงจากภูเขา พอมาถึงหมู่บ้านก้เล่าบอกแก่ชาวบ้านทั้งหลายฟัง ข้อความอันนั้นก็ปรากฏสืบ ๆ กันไปแรกแต่นั้น คนทั้งหลายที่ทราบก็พากันไปสักการะบูชามาก แต่นั้นมาจึงได้ชื่อว่าพระบาทรังรุ้ง (รังเหยี่ยว)

    ในสมัยนั้นมีพระยาคนหนึ่งชื่อว่า พระยาเม็งราย เสวยราชสมบัติในเมืองเชียงใหม่ ได้ทราบข่าวจึงมีพระราชศรัทธาอยากเสด็จขึ้นไปกราบบูชาพระพุทธบาท ๔ รอย ก็นำเอาราชเทวีและเสนาพร้อมกับบริวารทั้งหลาย เมื่อพระยาเม็งรายกราบนมัสการเสร็จแล้ว ก็นำเอาบริวารของตนกลับสู่งเมืองเชียงใหม่ ก็ตั้งอยู่เสวยราชสมบัติตราบเมี้ยนอายุขัย แล้วลูกหลายที่สืบราชสมบัติก็เจริญรอยตามและได้ขึ้นมากราบพระพุทธบาท ๔ รอย ทุกๆ พระองค์

    หลังจากนั้นมาพระบาทรังรุ้งหรือรังเหยี่ยวนี้ก็ได้ เปลี่ยนชื่อเป็น พระพุทธบาทสี่รอย เพราะมีรอยพระพุทธบาทประทับซ้อนกันถึง ๔ รอย มาในสมัยยุคหลังคนทั้งหลายจึงเรียกขานกันว่าพระพุทธบาทสี่รอย คือมี

    รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ ที่ล่วงมาแล้วในภัทรกัลป์นี้ คือ

    ๑. รอยพระบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ รอยแรก เป็นรอยใหญ่ยาว ๑๒ ศอก

    ๒. รอยพระบาทของพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ เป็นรอยที่ ๒ ยาว ๙ ศอก

    ๓. รอยพระบาทของพระพุทธเจ้ากัสสปะ เป็นรอยที่ ๓ ยาว ๙ ศอก

    ๔. รอยพระบาทของพระพุทธเจ้าโคตะมะ (ศาสนาปัจจุบันนี้) เป็นรอยที่ ๔ รอยเล็กสุดยาว ๔ ศอก

    เมื่อ มาถึงสมัยพระยาธรรมช้างเผือก ผู้ครองนครเชียงใหม่ พร้อมด้วยบริวาร ๕๐๐ คน ก็ขึ้นไปกราบสักการะบูชาพระพุทธบาท ๔ รอย และได้สร้างพระวิหารครอบพระพุทธบาทสี่รอยไว้ชั่วคราวโดยแต่เดิมถ้าใครจะดูรอยพระพุทธบาทบนยอดหินก้อนใหญ่ต้องใช้บันไดพาดขึ้นไป หรือปืนขึ้นไปดูซึ่งก็คงจะขึ้นได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น

    ดังนั้นพระยาธรรมช้างเผือกจึงตรัสสร้างแท่นยืนคล้าย ๆ นั่งร้านรอบ ๆ ก้อนหินที่มีพระพุทธบาท ๔ รอย เพื่อที่ผู้หญิงจะได้เห็นรอยพระพุทธบาทด้วย และได้สร้างหลังคาชั่วคราวมุงไว้ ต่อมาในสมัยพระชายาเจ้าดารารัศมีก็ได้ขึ้นไปกราบนมัสการพระพุทธบาท ๔ รอย และได้มีพระราชศรัทธาก่อสร้างวิหารเป็นการกราบบูชารอยพระพุทธบาทไว้ ๑ หลัง (หลักเล็ก) ปัจจุบันได้บูรณะปฏิสังขรณ์แล้วทั้งหลังจะเหลือไว้แค่ผนังวิหาร พื้นวิหารและแท่นพระซื่งยังเป็นของเดิมอยู่

    พอมาสมัยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยก็ได้ขึ้นไปกราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย และได้รื้อพระวิหารที่เจ้าพระยาธรรมช้างเผือกสร้างไว้ชั่วคราว และได้สร้างพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทไว้ใหม่และได้ลาบปูนครอบรอยพระพุทธบาทไว้เพื่อรักษาให้อยู่ค้ำชูพุทธศาสนาไปตลอดกาลนาน


    ขอบคุณที่มา : ตำนานประวัติรอยพระพุทธบาทสี่รอย

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2009
  16. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ประวัติวัดพระธาตุลำปางหลวง

    [​IMG]
    วัดพระธาตุลำปางหลวง


    ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียร ได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้นบรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวายแก้วแหวนเงินทองเป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด (ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

    ในทางประวัติศาสตร์นครลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๒๗๕ นครลำปางว่างจากผู้ครองนคร และเกิดความวุ่นวายขึ้น สมัยนั้นพม่าเรืองอำนาจได้แผ่อิทธิพลปกครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า ท้าวมหายศเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ยกกำลังมายึดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้นหนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้วทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระยาสละวะลือไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ น่าน


    ขอบคุณที่มา : http://th.wikipedia.org
     
  17. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    เก็บตกมาฝากสำหรับชาวคณะ... กับเจดีย์พระธาตุ ๑๒ นักษัตร ครั้งหนึ่งในชีวิตควรไปสักการะบูชา

    [​IMG]

    ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันชาวล้านนามีความเชื่อในเรื่องของพระธาตุประจำปีเกิดกันมาก ซึ่งความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ แต่พบว่ามีบันทึกอยู่ในตำราพื้นเมืองโบราณสรุปได้ว่า ก่อนที่วิญญาณจะมาปฏิสนธิในครรภ์ของผู้เป็นมารดานั้นจะลงมาชุธาตุ ซึ่งหมายถึงการมาพักอยู่ที่เจดีย์แห่งใดแห่งหนึ่งโดยมีตั๋วเปิ้ง (สัตว์ประจำนักษัตร) พามาพักไว้

    เมื่อได้เวลาดวงวิญญาณก็จะเคลื่อนจากพระเจดีย์ไปสถิตอยู่บนกระหม่อมของผู้เป็นบิดาเป็นเวลา ๗ วันก่อนจะเคลื่อนเข้าสู่ครรภ์มารดา และเมื่อเสียชีวิตแล้วดวงวิญญาณก็จะกลับไปอยู่ที่เจดีย์นั้น ๆ ตามเดิม

    ดังนั้นบุคคลซึ่งเกิดในปีนักษัตรใดก็ตามควรที่จะหาโอกาสไปกราบไว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนให้ได้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต ซึ่งเชื่อกันว่าจะเป็นมงคลแก่ชีวิต มีอานิสงส์สูงและทำให้อายุยืนนานและความเชื่อนี้ได้แพร่กระจายไปสู่พื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ในบันทึกระบุนักษัตรต่างๆ ไว้ด้วยว่า

    [​IMG]คนเกิดปีชวด
    ชาติกำเนิดเป็นเทวดา
    เป็นคนธาตุน้ำ
    มีพระธาตุจอมทอง จ.เชียงใหม่ ประจำปีเกิด
    วันพุธ, เสาร์เป็นวันฤกษ์ดี
    เลขมงคล ๓, ๖, ๘ และ ๙
    ทำทานด้วยการสร้างศาลาและบ่อน้ำจะเป็นกุศลยิ่ง

    [​IMG]คนเกิดปีฉลู
    ชาติกำเนิดเป็นบุรุษธาตุดิน
    มีพระธาตุลำปางหลวง อ.เมือง จ.ลำปาง ประจำปีเกิด
    วันอาทิตย์, พฤหัสบดีเป็นวันมงคล
    เลขมงคล ๓, ๖, ๙, ๑๒
    ทำทานด้วยการสร้างไฟฟ้าและโรงไฟ

    [​IMG]คนเกิดปีขาล
    ชาติกำเนิดเป็นยักขิณีธาตุไม้
    มีพระธาตุช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ ประจำปีเกิด
    วันพุธ, เสาร์เป็นวันมงคล
    เลขมงคลคือ ๔, ๑๔ และ ๒๘
    ทำทานด้วยการสร้างศาลาหรืออารามได้ก็จะเป็นการดี

    [​IMG]คนเกิดปีเถาะ
    ชาติกำเนิดเป็นนารีธาตุไม้
    มีพระธาตุแช่แห้ง อ.เมือง จ.น่าน ประจำปีเกิด
    วันพุธ ศุกร์ เสาร์เป็นวันมงคล
    เลขมงคล ๕, ๑๕, ๒๕, ๓๘
    ทำบุญสร้างปราสาทถูกโฉลก

    [​IMG]คนเกิดปีมะโรง
    ชาติกำเนิดเป็นเทพบุตรธาตุทอง
    มีพระธาตุเจดีย์พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ประจำปีเกิด
    วันพุธ ศุกร์ เสาร์เป็นวันมงคล
    เลขมงคล ๓, ๖, ๙, ๑๑, ๑๒
    การทำบุญสร้างเจดีย์ถูกโฉลก

    [​IMG]คนเกิดปีมะเส็ง
    ชาติกำเนิดเป็นผู้ชายธาตุไฟ
    มีพระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ประจำปีเกิด
    วันอาทิตย์ พฤหัสเป็นวันมงคล
    เลขมงคล ๕, ๑๕, ๒๑, ๓๐
    การให้ดอกไม้เป็นทานดีที่สุด

    [​IMG]คนเกิดปีมะเมีย
    ชาติกำเนิดเป็นเทพธิดาธาตุไฟ
    มีพระธาตุเจดีย์ชเวดากอง ประเทศพม่า ประจำปีเกิด
    วันอาทิตย์ พฤหัสบดีมหาฤกษ์
    เลข ๕, ๗, ๑๗, ๒๗ เป็นมงคล
    การสร้างอาสนสงฆ์เป็นบุญดีที่สุด

    [​IMG]คนเกิดปีมะแม
    ชาติกำเนิดเป็นเทพธิดาธาตุทอง
    มีพระธาตุดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ประจำปีเกิด
    วันจันทร์ พุธ เสาร์ เป็นสิริมงคล
    เลข 2, 8, 15, 25, 35 เป็นมงคล

    [​IMG]คนเกิดปีวอก
    ชาติกำเนิดเป็นพระยายักษ์ธาตุเหล็ก
    มีพระธาตุพนม อ.เมือง จ.นครพนม ประจำปีเกิด
    วันโชคชัยคือวันพุธและเสาร์
    เลข ๒, ๗, ๑๕, ๒๕ เป็นมงคล
    ทำบุญสร้างกำแพงเพื่อศาสนสมบัติดีที่สุด

    [​IMG]คนเกิดปีระกา
    ชาติกำเนิดเป็นพระยายักษ์ธาตุเหล็ก
    มีพระธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน ประจำปีเกิด
    วันอุดมฤกษ์อังคารและศุกร์
    เลขมงคล ๓, ๖, ๙, ๑๑, ๒๑
    การสร้างเวจกุฎีทำบุญถูกโฉลก

    [​IMG]คนเกิดปีจอ
    ชาติกำเนิดเป็นนางยักษิณีธาตุดิน
    มีพระธาตุวัดเกตุการาม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ประจำปีเกิด
    วันมหามงคล อาทิตย์ พฤหัสบดีและเสาร์
    เลขมงคล ๘, ๑๘, ๒๔, ๓๔, ๔๔
    ทำบุญสร้างธรรมาสน์ดียิ่งนัก

    [​IMG]คนเกิดปีกุน
    ชาติกำเนิดนารีธาตุน้ำ
    มีพระธาตุดอยตุง อ.เมือง จ.เชียงราย ประจำปีเกิด
    วันจันทร์และพฤหัสบดีอุดมฤกษ์
    เลข ๓, ๘, ๙, ๑๓ เป็นมงคล
    ทำบุญด้วยการสร้างห้องน้ำจะเป็นกุศลทวีคูณ


    ข้อมูลจาก
    [​IMG]
    ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต
     
  18. พิชญ์

    พิชญ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    760
    ค่าพลัง:
    +3,392
    สมาชิกท่านใดมี ว.แดง ขอให้นำติดตัวไปด้วยนะคะ เพื่อง่ายต่อการสื่อสาร ซึ่งใช้คนละคลื่นความถี่กับโทรศัพท์ที่เราใช้กันอยู่ทั่วไป

    จริง ๆ แล้วคุณ ญ จัดทริปบ่อย น่าจะซื้อเปนคู่กับคุณกร ได้แล้ว....เพราะดีกว่าใช้มือถือโทรตามกว่ากันเปนไหน ๆ เข้าป่าเข้าพง ดำดิน ก็สะดวกจ่ะ...
     
  19. mang12

    mang12 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +67
    โมทนาบุญด้วยนะคะ บทความที่กอล์ฟ เขียน อ่านทีไร ขนลุกตามทุกที แต่คราวนี้รู้สึกปิติ บางทีก็มีน้ำตาไหลด้วย ไม่รู้ว่าทำไม ยิ่งตอนบอกว่าถอดรองเท้าถวายท่านยิ่งรู้สึกว่าอยากร้องไห้มาก ๆ ไม่รู้ว่าทำไม แต่นึกภาพออกเลยนะ ขอบคุณที่นำมาเล่าสู่กันฟัง รู้สึกปิติมากจริง ๆ
     
  20. mang12

    mang12 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +67
    อันนี้เห็นด้วยค่ะ เพราะออกทริปทีไร คุณหญิงเทอแบตหมดทุกที แบตสำรองก็หาไม่เจอทุกทริปไป อิ อิ ล้อกันเล่นนิดนึง แต่มันเป็นความจริงอย่างยิ่งทุกประการ
     

แชร์หน้านี้

Loading...