ร้อนขึ้น เร็วขึ้น แย่ลง...

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย คีตราชันย์, 7 พฤศจิกายน 2009.

  1. คีตราชันย์

    คีตราชันย์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +10
    [​IMG]

    หลายเดือนที่ผ่านมา เสียงจากสายวิทยาศาสตร์ ซึ่งปกติแล้ว จะเป็นแนวอนุรักษ์นิยม ได้แสดงความแตกตื่นที่ต่างกันไปเมื่อมาถึงเรื่องภาวะโลกร้อน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เราเปลี่ยนจากการถกเถียงเรื่อง “ความไม่แน่นอน” ที่อยู่เบื้องหลังวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศ ไปสู่การเตือนที่เกือบถึงระดับหวาดผวาได้อย่างไร จากเหล่านักวิทยาศาสตร์ที่ปกติแล้วเป็นคนเคร่งขรึมในเรื่องผลกระทบระดับหายนะที่แก้ไขไม่ได้ มีสองเหตุผล<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ประการแรก ยังไม่มีความไม่แน่นอนอย่างแท้จริงในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์มามากกว่าหนึ่งทศวรรษ พันธมิตรที่ชั่วร้ายระหว่างบริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิล และนักการเมืองอนุรักษ์นิยม ได้รณรงค์อ้างเหตุผลที่ผิดๆ และได้รับงบประมาณอย่างดี แต่ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเพื่อสร้างความสงสัยและข้อโต้แย้ง ในมติที่เกือบเป็นเอกฉันท์จากเหล่านักวิทยาศาสตร์ ในเรื่องนี้พวกเขาได้รับการช่วยเหลือ และช่วยให้รอดพ้นโดยสื่อ ซึ่งชอบเรื่องโต้เถียงมากกว่าความจริง และโดยคณะบริหารของบุช ซึ่งได้พยายามบิดเบือนวิทยาศาสตร์ และสั่งให้นักวิทยาศาสตร์ผู้ที่พยายามพูดถึงเรื่องภาวะโลกร้อนเก็บเงียบ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p[​IMG]</O:p
    <O:p</O:p
    ในบทบรรณาธิการหนึ่งของหนังสือพิมพ์ บัลติมอร์ ซัน ฉบับวันที่15 ธันวาคม 2547 ผู้เขียนได้กล่าวถึง จุดเปลี่ยนหนึ่งวงจรสะท้อนกลับที่เพิ่มกำลังด้วยตนเอง ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้เกิดมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่กักเก็บความร้อนอันทรงพลัง ให้หลุดจากโครงสร้างที่คล้ายกับน้ำแข็ง ที่เรียกว่า คลาเทรท ซึ่งยกอุณหภูมิ และทำให้เกิดมีเทนถูกปลดปล่อยมากขึ้น แม้ว่าจะมีหลักฐานที่ชัดเจนว่า กระบวนการนี้ ได้ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขั้นรุนแรงสองครั้งในอดีต ชุมชนวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้พุ่งประเด็นไปที่ น้ำแข็งมีเทน ในปี 2547 แม้แต่ในกลุ่มของผู้ที่มองโลกในแง่ร้ายบางคน ผู้ที่เราเคยเชื่อถือ คาดว่า เราเหลือเวลาอีกประมาณหนึ่งทศวรรษ ก่อนที่อะไรเช่นนี้ จะเกิดขึ้นอีกครั้ง เราคิดผิด<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ในเดือนสิงหาคม 2548 ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด และมหาวิทยาลัยทอมส์ที่รัสเซีย ได้ประกาศว่า ถ่านหินเลนไซบีเรียขนาดใหญ่ ซึ่งมีขนาดเท่ากับประเทศเยอรมันและฝรั่งเศสรวมกันกำลังละลาย และปล่อยก๊าซมีเทนนับพันล้านตัน อย่างที่มันเคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ครั้งล่าสุดที่มันอุ่นเพียงพอที่จะทำให้เกิดวงจรสะท้อนกลับนี้ คือเมื่อ 55ล้านปีที่แล้ว ในช่วงพาลีโอซีน-อีโอซีน เทอร์มอลแม็กซิมัม หรือ พีอีทีเอ็ม ตอนที่ภูเขาไฟปะทุได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงพอที่จะกระตุ้นการผุดมีเทนขึ้นมาเองอย่างเป็นอนุกรม ความร้อนที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการสูญเสียมากมาย และมันใช้เวลานานกว่า 100,000ปีที่โลกจะฟื้นกลับมา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มันดูเหมือนว่า เรากำลังปริ่มอยู่ที่จุดกระตุ้นเหตุการณ์ที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้นมาก ในการประชุมที่อเมริกัน อคาเดมี่ เพื่อการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ ที่เมืองเซนต์หลุยส์ เมื่อไม่นานมานี้ คุณเจมส์ ซาโชส ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้านพีอีทีเอ็ม รายงานว่า ก๊าซเรือนกระจกกำลังสะสมในชั้นบรรยากาศ ในอัตราเร็วสามสิบเท่าที่เคยเป็นในช่วง พีอีทีเอ็ม<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เราอาจจะเพิ่งได้เห็นการจู่โจมครั้งแรกในสิ่งที่อาจเป็นการเดินทางสู่นรกบนโลก ที่ไม่อาจหวนกลับคืนมาได้<O:p</O:p
    มีวงจรสะท้อนกลับอื่นๆที่เราไม่ได้คาดคิดไว้ ตัวอย่างเช่น คลื่นความร้อนที่ยุโรป ที่ทำให้ประชาชน 35,000คนที่เสียชีวิตในปี 2546 และยังทำลายพื้นที่ป่าในยุโรป ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ มากกว่าที่พวกเขาประเมิณไว้ ซึ่งตรงข้ามกับสมมุติฐานที่เรากำหนดไว้ในโมเดล ที่ใช้ป่าไม้เป็นฟองดูดซับคาร์บอนส่วนเกิน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p[​IMG]</O:p
    <O:p</O:p

    สิ่งเดียวกันเกิดขึ้นกับระบบนิเวศอื่นๆ อีกมากมาย ที่โมเดลของเราและนักวิทยาศาสตร์ ใช้เป็นตัวดูดซับคาร์บอน ป่าอเมซอน ป่าบอรีล (หนึ่งในป่าที่ดูดซับคาร์บอนได้มากที่สุด) และดินในที่ที่มีอุณหภูมิปานกลางกำลังปล่อยคาร์บอนมากกว่าที่มันดูดซับ เนื่องจากความแห้งแล้ง โรคภัย แมลงรบกวน และการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับกระบวนการสันดาปที่เกิดจากภาวะโลกร้อน โดยสรุปแล้ว สิ่งต่างๆมากมาย ที่เราได้คิดว่าเป็นตัวดูดซับคาร์บอนในโมเดลของเรา ไม่ได้ดูดซับคาร์บอนส่วนเกิน แต่มันกำลังถูกคั้นออกมาและปล่อยคาร์บอนส่วนเกินแทน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    น้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลายอย่างรวดเร็วกว่าที่โมเดลทำนายไว้ ทำให้เกิดวงจรสะท้อนกลับอีกวงจร การมีน้ำแข็งน้อยลงหมายถึง พื้นที่ที่เป็นน้ำมากขึ้น ซึ่งจะดูดซับความร้อนมากขึ้น ซึ่งหมายถึงน้ำแข็งที่น้อยลง เช่นนี้เรื่อยๆ ที่แย่ไปกว่านั้น เราได้คาดการณ์ต่ำเกินไปอย่างยิ่ง ในเรื่องของอัตราความเร็วซึ่งน้ำแข็งบนภูเขากำลังละลาย โมเดลอากาศเปลี่ยนแปลงได้ทำนายว่ามันใช้เวลานานกว่า1,000ปี ที่แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์จะละลาย แต่ในที่ประชุมเอเอเอเอส ที่เซนต์หลุยส์ นายอีริค ริกนอท ของนาซ่าได้นำเสนอผลการศึกษาที่แสดงว่า แผ่นน้ำแข็งกรีนด์แลนด์กำลังแยกเป็นส่วนๆและไหลสู่ทะเล ในอัตราเร็วเกินกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คนใดได้ทำนายไว้ และมันกำลังเร่งขึ้นทุกปี ถ้าแผ่นน้ำแข็งกรีนด์แลนด์ละลาย มันจะยกระดับน้ำทะเล ให้สูงขึ้น 21ฟุต เพียงพอที่จะทำให้เกิดน้ำท่วมทุกท่าเรือที่อเมริกา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ที่ทะเลแอนตาร์กติกมีวงแหวนสะท้อนกลับอันตรายอีกวงจรที่อาจเป็นไปได้ ประชากรของตัวเคยได้ลดดิ่งลง80% ในเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการสูญเสียแนวปะการัง เนื่องจากสูยเสียทะเลน้ำแข็ง ตัวเคยเป็นสิ่งมีชีวิตที่สำคัญที่สุดในห่วงโซ่อาหารทางทะเล และมันยังแยกคาร์บอนจำนวนมากออกจากชั้นบรรยากาศ ไม่มีใครคาดการณ์การลดจำนวนลงของพวกเขา แต่ผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนและความเป็นอยู่ของระบบนิเวศทางทะเลนั้นรุนแรง สิ่งนี้จะเป็นวงจรสะท้อนกลับด้วยเช่นกัน การมีตัวเคยน้อยลง หมายถึงการมีคาร์บอนอยู่ในบรรยากาศมากขึ้น ซึ่งหมายถึงทะเลที่อุ่นขึ้น ซึ่งหมายถึงน้ำแข็งน้อยลง ซึ่งหมายถึงปริมาณตัวเคยที่น้อยลงในวัฐจักรทางลบขนาดใหญ่นี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p[​IMG]</O:p
    <O:p</O:p
    เจมส์ เลิฟลอค นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญระดับโลกคนหนึ่งเชื่อว่า อีกไม่นานนัก ในอนาคตของมนุษย์จะเหลือเพียงคนไม่กี่คู่ในแอนตาร์กติก มันจะเป็นเรื่องง่ายๆที่จะเพิกเฉยศาสตราจารย์เลิฟลอคว่า เป็นคนบ้าคลั่ง แต่อย่างนั้นจะเป็นการกระทำที่ผิดพลาด เมื่อปีที่แล้ว ในการสัมนาภาวะโลกร้อนที่เมือง เอ็กซีเดอร์ ประเทศอังกฤษ เรื่องหลีกเลี่ยงสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง นักวิทยาศาสตร์ได้เตือนว่า ถ้าเราให้ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกเกิน400ppm เราอาจกระตุ้นให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงและหวนคืนกลับไม่ได้ เราได้ผ่านจุดสำคัญในปี2548 มาแล้ว แต่ได้รับความสนใจเล็กน้อยและไม่มีการกล่าวถึง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ความไม่แน่นอนทางวิทยาศาสตร์ ในเรื่องภาวะโลกร้อนไม่ใช่ว่า มันกำลังเกิด หรือว่า มันเกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ หรือแม้แต่ว่ามันจะทำให้เราสูญเสีย “เงิน” มากเกินไปที่จะจัดการกับมันในตอนนี้หรือไม่ เรื่องนั้นเป็นที่เข้าใจแล้ว และในตอนนี้ นักวิทยาสาสตร์กำลังถกเถียงกันว่า มันสายเกินไปหรือยัง ที่จะปกป้องหายนะระดับโลก หรือว่า เรายังมีโอกาสเล็กๆ ที่จะป้องกันผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดของภาวะโลกร้อน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ลูกๆของเราอาจให้อภัยเรา หนี้ที่เรามอบให้กับพวกเขา พวกเขาอาจให้อภัยเรา ถ้าการก่อการร้ายยังคงอยู่ พวกเขาอาจให้อภัยเรา ที่ได้สร้างสงคราม แทนที่จะสร้างสันติสุข พวกเขาอาจให้อภัยเรา ที่ทำลายโอกาศในการหยุดยั้งเรื่องนิวเคลียร์ แต่พวกเขาอาจถ่มน้ำลายรดกระดูกของเรา และสบถสาบานชื่อของเรา ถ้าเรามอบโลกที่แทบจะอยู่อาศัยไม่ได้ให้พวกเขา ตอนที่เรามีอำนาจในการรักษามันไว้ ตอนที่เรามีอำนาจรักษามันไว้ และพวกเขามีสิทธิ์ที่จะทำเช่นนั้น
    <O:p</O:p
    <O:p[​IMG]</O:p
    <O:p</O:p
    แหล่งที่มา: www.commondreams.org <O:p</O:p
    งานเขียนของ จอร์น แอทเชสัน ปรากฏใน the Washington Post, the Baltimore Sun, the San Jose Mercury News, the Memphis Commercial Appeal, และวารสารราชการอีกมากมาย<O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2009
  2. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,667
    ค่าพลัง:
    +9,239
    [​IMG]
    น่ากลัวนะคะ...
    ช่วยกัน..ลดการทำลายธรรมชาติ
     
  3. โอมศิวะ

    โอมศิวะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +133
    ร้อนเร็วกว่าที่คิดจริงๆค่ะ เข้าฤดหนาวโดยสมบูรณ์แบบ

    แต่ทำไมวันนี้ระยองร้อนมากๆ
     
  4. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,572
    ค่าพลัง:
    +4,560
    การพัฒนา คือ กรรม
    พัฒนาไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า แต่กลายเป็นการสร้างกรรมร้ายอย่างคาดไม่ถึง
    วิทยาศาสตร์ที่ถูกนำมาใช้โดยอ้างการพัฒนา คือ หายนะ
    เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมองทะลุมิตินี้แล้วสำหรับโลก
    ถ้าขืนเร่งการพัฒนา ความเจริญเติบโตมากเท่าใดของแต่ละประเทศ ก็คือการเร่งอายุขัยของโลกให้สั้นลงเท่านั้น
    หากใช้เศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละประเทศ ก็จะเป็นการช่วยยืดอายุโลกเช่นกัน
    แต่ผมยังเชื่อว่าพุทธศาสนาเรามีอายุ5000ปี นี่แค่ครึ่งเดียว ยังอยู่อีกไกล น่าเชื่อว่า ถึงจุดๆหนึ่ง ทั้งโลกก็จะหยุดการพัฒนา หันมาใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยืดอายุขัยของโลกให้ยาวขึ้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...