พระพุทธเจ้าตรัสเล่าถึงนรกว่าดังนี้ !

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ธัชกร, 19 พฤศจิกายน 2009.

  1. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    <TABLE width="80%" align=center><CENTER>[​IMG]</CENTER>
    นรกภูมิ

    <TBODY></TBODY></TABLE>




    [๔๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
    [๔๖๘] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะ
    เครื่องหมาย เครื่องอ้าง ว่าเป็นพาลของคนพาลนี้มี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลในโลกนี้มักคิดความคิดที่ชั่ว มักพูดคำพูดที่ชั่ว มักทำ
    การทำที่ชั่ว ถ้าคนพาลจักไม่เป็นผู้คิดความคิดที่ชั่ว พูดคำพูดที่ชั่ว และทำการ
    ทำที่ชั่ว บัณฑิตพวกไหนจะพึงรู้จักเขาได้ว่า ผู้นี้เป็นคนพาล เป็นอสัตบุรุษ
    เพราะคนพาลมักคิดความคิดที่ชั่ว มักพูดคำพูดที่ชั่ว และมักทำการทำที่ชั่ว ฉะนั้น
    พวกบัณฑิตจึงรู้ได้ว่า นี่เป็นคนพาล เป็นอสัตบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล
    นั้นนั่นแล ย่อมเสวยทุกข์โทมนัส ๓ อย่างในปัจจุบัน ฯ
    [๔๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนพาลนั่งในสภาก็ดี ริมถนนรถก็ดี
    ริมทางสามแพร่งก็ดี ชนในที่นั้นๆ จะพูดถ้อยคำที่พอเหมาะพอสมแก่เขา ถ้าคน
    พาลมักเป็นผู้ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประ-
    *พฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มีปรกติตั้งอยู่ในความประมาทเพราะดื่มน้ำเมาคือสุรา
    และเมรัย ในเรื่องที่ชนพูดถ้อยคำที่พอเหมาะพอสมแก่เขานั้นแล คนพาลจะมี
    ความรู้สึกอย่างนี้ว่า ปรกติเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏในปรกติเหล่านั้น
    ด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกข์ โทมนัสข้อที่หนึ่งดังนี้ในปัจจุบัน ฯ
    [๔๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก คนพาลเห็นราชา
    ทั้งหลายจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิด คือ
    (๑) โบยด้วยแส้บ้าง
    (๒) โบยด้วยหวายบ้าง
    (๓) ตีด้วยตะบองสั้นบ้าง
    (๔) ตัดมือบ้าง[​IMG]
    (๕) ตัดเท้าบ้าง
    (๖) ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง
    (๗) ตัดหูบ้าง
    (๘) ตัดจมูกบ้าง
    (๙) ตัดทั้งหูทั้งจมูกบ้าง
    (๑๐) ลงกรรมกรณ์วิธี หม้อเคี่ยวน้ำส้ม บ้าง
    (๑๑) ลงกรรมกรณ์วิธี ขอดสังข์ บ้าง
    (๑๒) ลงกรรมกรณ์วิธี ปากราหู บ้าง
    (๑๓) ลงกรรมกรณ์วิธี มาลัยไฟ บ้าง
    (๑๔) ลงกรรมกรณ์วิธี คบมือ บ้าง
    (๑๕) ลงกรรมกรณ์วิธี ริ้วส่าย บ้าง
    (๑๖) ลงกรรมกรณ์วิธี นุ่งเปลือกไม้ บ้าง
    (๑๗) ลงกรรมกรณ์วิธี ยืนกวาง บ้าง
    (๑๘) ลงกรรมกรณ์วิธี เกี่ยวเหยื่อเบ็ด บ้าง
    (๑๙) ลงกรรมกรณ์วิธี เหรียญกษาปณ์ บ้าง
    (๒๐) ลงกรรมกรณ์วิธี แปรงแสบ บ้าง[​IMG]
    (๒๑) ลงกรรมกรณ์วิธี กางเวียน บ้าง
    (๒๒) ลงกรรมกรณ์วิธี ตั่งฟาง บ้าง
    (๒๓) ราดด้วยน้ำมันเดือดๆ บ้าง
    (๒๔) ให้สุนัขทึ้งบ้าง
    (๒๕) ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็นๆ บ้าง
    (๒๖) ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง <SUP>๑-</SUP>
    <SMALL>@๑. วิธีลงกรรมกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ มีอธิบายในหมายเหตุท้ายเล่ม.</SMALL>
    ในขณะที่เห็นนั้น คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เพราะเหตุแห่งกรรมชั่วปานใด
    แล ราชาทั้งหลายจึงจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิด คือ
    โบยด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ก็ปรกติเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเรา
    ก็ปรากฏในปรกติเหล่านั้นด้วย ถ้าแม้ราชาทั้งหลายรู้จักเรา ก็จะจับเราแล้วสั่งลง
    กรรมกรณ์ต่างชนิด คือ โบยด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็นๆ
    บ้าง ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกข์โทมนัสข้อ
    ที่สองแม้ดังนี้ในปัจจุบัน ฯ
    [๔๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก กรรมลามกที่คนพาลทำ
    ไว้ในก่อน คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงำคนพาล
    ผู้อยู่บนตั่ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น เปรียบเหมือนเงายอด
    ภูเขาใหญ่ ย่อมปกคลุม ครอบงำแผ่นดินในสมัยเวลาเย็น ฉันใด ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล กรรมลามกที่คนพาลทำไว้ในก่อน คือ กายทุจริต
    วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงำคนพาลผู้อยู่บนตั่ง หรือบนเตียง
    หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น คนพาลจะมี
    ความรู้สึกอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ทำความดี ไม่ได้ทำกุศล ไม่ได้ทำเครื่องป้องกัน
    ความหวาดกลัวไว้ ทำแต่ความชั่ว ทำแต่ความร้าย ทำแต่ความเลว ละโลกนี้
    ไปแล้ว จะไปสู่คติของคนที่ไม่ได้ทำความดี ไม่ได้ทำกุศล ไม่ได้ทำเครื่องป้อง
    กันความหวาดกลัวไว้ ซึ่งทำแต่ความชั่ว ความร้าย และความเลว เป็นกำหนด
    คนพาลนั้นย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ คร่ำครวญ ร่ำไห้ ทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกข์โทมนัสข้อที่สามดังนี้แลในปัจจุบัน ฯ
    [๔๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแลประพฤติทุจริต ทางกาย
    ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงอบาย ซึ่งเขาพูดหมายถึงนรกนั่นแลโดย
    ชอบ พึงกล่าวได้ว่าเป็นสถานที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจส่วนเดียว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมาจนถึงนรกเป็นทุกข์ ก็ไม่ใช่
    ง่ายนัก ฯ
    [๔๗๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล
    พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาจเปรียบอุปมาได้หรือไม่ พระผู้มี
    พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ อาจเปรียบได้ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เปรียบเหมือนพวกราชบุรุษจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแสดงแด่พระราชาว่า ขอเดชะ
    ผู้นี้เป็นโจรประพฤติผิดต่อพระองค์ ขอพระองค์โปรดลงอาชญาที่ทรงพระราชประ-
    *สงค์แก่มันเถิด พระราชาทรงสั่งการนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถิด พวกท่าน
    จงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนี้ในเวลาเช้า พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษ
    นั้นในเวลาเช้า ครั้นเวลากลางวัน พระราชาตรัสถามอย่างนี้ว่า พ่อมหาจำเริญ
    บุรุษนั้นเป็นอย่างไร พวกราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ ยังเป็นอยู่อย่างเดิม
    พระเจ้าข้า พระราชาทรงสั่งการนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถิด พวกท่านจง
    เอาหอกร้อยเล่มแทงมันในเวลากลางวัน พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษ
    นั้นในเวลากลางวัน ครั้นเวลาเย็น พระราชาตรัสถามอย่างนี้ว่า พ่อมหาจำเริญ
    บุรุษนั้นเป็นอย่างไร พวกราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ ยังเป็นอยู่อย่างเดิม
    พระเจ้าข้า พระราชาทรงสั่งการนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถิด พวกท่านจง
    เอาหอกร้อยเล่มแทงมันในเวลาเย็น พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้น
    ในเวลาเย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้น
    ถูกแทงด้วยหอกสามร้อยเล่ม พึงเสวยทุกข์โทมนัสเหตุที่ถูกแทงนั้นบ้างหรือหนอ ฯ
    ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นถูกแทงด้วย
    หอกแม้เล่มเดียว ก็เสวยทุกข์โทมนัสเหตุที่ถูกแทงนั้นได้ ป่วยการกล่าวถึงหอก
    ตั้งสามร้อยเล่ม ฯ
    [๔๗๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหยิบแผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่า
    ฝ่ามือ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความ
    ข้อนั้นเป็นไฉน แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่เราถือนี้กับภูเขาหลวงหิมพานต์
    อย่างไหนหนอแลใหญ่กว่ากัน ฯ
    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่ทรงถือนี้
    มีประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ
    ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ทุกข์โทมนัสที่บุรุษถูกแทง
    ด้วยหอกสามร้อยเล่มเป็นเหตุ กำลังเสวยอยู่นั้น เปรียบเทียบทุกข์ของนรกยังไม่
    ถึงแม้ความนับ ยังไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ยังไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ ฯ
    [๔๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะให้คนพาลนั้นกระทำ
    เหตุชื่อการจำ ๕ ประการคือ ตรึงตะปูเหล็กแดงที่มือข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒ ที่เท้า
    ข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒ และที่ทรวงอกตรงกลาง คนพาลนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็น
    ทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในนรกนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะจับคนพาลนั้นขึงพืดแล้วเอาผึ่ง
    ถาก คนพาลนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ในนรกนั้น และยัง
    ไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะจับคนพาลนั้นเอาเท้าขึ้นข้างบน
    เอาหัวลงข้างล่างแล้วถากด้วยพร้า คนพาลนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บ
    แสบ อยู่ในนรกนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะเอาคนพาลนั้นเทียมรถแล้ว ให้
    วิ่งกลับไปกลับมาบนแผ่นดินที่มีไฟติดทั่ว ลุกโพลงโชติช่วง คนพาลนั้นจะเสวย
    เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในนรกนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาป-
    *กรรมยังไม่สิ้นสุด ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะให้คนพาลนั้นปีนขึ้นปีนลงซึ่ง
    ภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ที่มีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง คนพาลนั้นจะเสวย
    เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในนรกนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาป-
    *กรรมยังไม่สิ้นสุด ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะจับคนพาลนั้นเอาเท้าขึ้นข้างบน
    เอาหัวลงข้างล่าง แล้วพุ่งลงไปในหม้อทองแดงที่ร้อนมีไฟติดทั่ว ลุกโพลง
    โชติช่วง คนพาลนั้นจะเดือดเป็นฟองอยู่ในหม้อทองแดงนั้น เขาเมื่อเดือดเป็น
    ฟองอยู่ จะพล่านขึ้นข้างบนครั้งหนึ่งบ้าง พล่านลงข้างล่างครั้งหนึ่งบ้าง พล่านไป
    ด้านขวาครั้งหนึ่งบ้าง จะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในหม้อ
    ทองแดงนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะโยนคนพาลนั้นเข้าไปในมหานรก
    ก็มหานรกนั้นแล
    มีสี่มุมสี่ประตูแบ่งไว้โดยส่วนเท่ากันมีกำแพงเหล็กล้อมรอบ
    ครอบไว้ด้วยแผ่นเหล็ก พื้นของนรกใหญ่นั้นล้วนแล้วด้วยเหล็ก
    ลุกโพลงประกอบด้วยไฟ แผ่ไปตลอดร้อยโยชน์รอบด้าน
    ประดิษฐานอยู่ทุกเมื่อ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเรื่องนรกแม้โดยอเนกปริยายแล เพียงเท่านี้
    จะกล่าวให้ถึงกระทั่งนรกเป็นทุกข์ไม่ใช่ทำได้ง่าย ฯ
    [๔๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกมีหญ้าเป็น
    ภักษา สัตว์เดียรัจฉานเหล่านั้นย่อมใช้ฟันและเล็มกินหญ้าสด ก็เหล่าสัตว์
    เดียรัจฉานจำพวกมีหญ้าเป็นภักษา คืออะไร คือ ม้า โค ลา แพะ เนื้อ หรือ
    แม้จำพวกอื่นๆ ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่มีหญ้าเป็นภักษา ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล
    นั้นนั่นแลผู้กินอาหารด้วยความติดใจรสเบื้องต้นในโลกนี้ ทำกรรมลามกไว้ในโลก
    นี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์จำพวกที่มีหญ้าเป็นภักษา
    เหล่านั้น ฯ
    [๔๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกมีคูถเป็นภักษา
    สัตว์เดียรัจฉานเหล่านั้นได้กลิ่นคูถแต่ไกลๆ แล้วย่อมวิ่งไปด้วยหวังว่า จักกิน
    ตรงนี้ เปรียบเหมือนพวกพราหมณ์เดินไปตามกลิ่นเครื่องบูชาด้วยตั้งใจว่า จักกิน
    ตรงนี้ จักกินตรงนี้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล มีเหล่าสัตว์
    เดียรัจฉานจำพวกมีคูถเป็นภักษา สัตว์เดียรัจฉานเหล่านั้นได้กลิ่นคูถแต่ไกลๆ
    แล้ว ย่อมวิ่งไปด้วยหวังว่า จักกินตรงนี้ จักกินตรงนี้ ก็เหล่าสัตว์เดียรัจฉาน
    จำพวกมีคูถเป็นภักษา คืออะไร คือ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขป่า หรือแม้
    จำพวกอื่นๆ ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่มีคูถเป็นภักษา ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้น
    นั่นแลผู้กินอาหารด้วยความติดใจรสเบื้องต้นในโลกนี้ ทำกรรมลามกไว้ในโลกนี้
    เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์จำพวกมีคูถเป็นภักษาเหล่านั้น ฯ
    [๔๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิดแก่ตายใน
    ที่มืด ก็เหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิดแก่ตายในที่มืด คืออะไร คือ ตั๊กแตน
    มอด ไส้เดือน หรือแม้จำพวกอื่นๆ ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เกิดแก่ตายในที่มืด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแลผู้กินอาหารด้วยความติดใจรสเบื้องต้นในโลก
    นี้ ทำกรรมลามกไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์
    จำพวกเกิดแก่ตายในที่มืด ฯ
    [๔๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉาน จำพวกเกิดแก่ตาย
    ในน้ำ ก็เหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิดแก่ตายในน้ำ คืออะไร คือ ปลา เต่า
    จระเข้ หรือแม้จำพวกอื่นๆ ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เกิดแก่ตายในน้ำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    คนพาลนั้นนั่นแลผู้กินอาหารด้วยความติดใจรสเบื้องต้นในโลกนี้ ทำกรรมลามกไว้
    ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์จำพวกเกิดแก่ตาย[​IMG]

    ในน้ำ ฯ
    [๔๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิดแก่ตายใน
    ของโสโครก ก็เหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิดแก่ตายในของโสโครกคืออะไร คือ
    เหล่าสัตว์จำพวกที่เกิดแก่ตายในปลาเน่าก็มี ในศพเน่าก็มี ในขนมกุมมาสเก่าก็มี
    ในน้ำครำก็มี ในหลุมโสโครกก็มี หรือแม้จำพวกอื่นๆ ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เกิด
    แก่ตายในของโสโครก ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแลผู้กินอาหารด้วยความ
    ติดใจรสเบื้องต้นในโลกนี้ ทำกรรมลามกไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้า
    ถึงความเป็นสหายของสัตว์จำพวกเกิดแก่ตายในของโสโครก ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเรื่องกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานแม้โดยอเนกปริยาย
    แล เพียงเท่านี้ จะกล่าวให้ถึงกระทั่งกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานเป็นทุกข์ ไม่ใช่ทำ
    ได้ง่าย ฯ
    [๔๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนทุ่นมีบ่วงตาเดียวไป
    ในมหาสมุทร ทุ่นนั้นถูกลมตะวันออกพัดไปทางทิศตะวันตก ถูกลมตะวันตกพัด
    ไปทางทิศตะวันออก ถูกลมเหนือพัดไปทางทิศใต้ ถูกลมใต้พัดไปทางทิศเหนือ
    มีเต่าตาบอดอยู่ในมหาสมุทรนั้น ล่วงไปร้อยปีจึงจะผุดขึ้นครั้งหนึ่ง ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เต่าตาบอดตัวนั้นจะพึงเอาคอ
    สวมเข้าที่ทุ่นมีบ่วงตาเดียวโน้นได้บ้างไหมหนอ ฯ
    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ ถ้าจะเป็นไปได้บ้างในบางครั้งบางคราว ก็โดยล่วงระยะกาลนาน
    แน่นอน ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอดตัวนั้นจะพึงเอาคอสวมเข้าที่ทุ่นมีบ่วง
    ตาเดียวโน้นได้ ยังจะเร็วกว่า เรากล่าวความเป็นมนุษย์ที่คนพาลผู้ไปสู่วินิบาต
    คราวหนึ่งแล้วจะพึงได้ ยังยากกว่านี้ นั่นเพราะเหตุไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ
    ในตัวคนพาลนี้ไม่มีความประพฤติธรรม ความประพฤติสงบ การทำกุศล การ
    ทำบุญ มีแต่การกินกันเอง การเบียดเบียนคนอ่อนแอ ฯ
    [๔๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแล ถ้าจะมาสู่ความเป็น
    มนุษย์ในบางครั้งบางคราว ไม่ว่ากาลไหนๆ โดยล่วงระยะกาลนาน ก็ย่อมเกิด
    ในสกุลต่ำ คือ สกุลคนจัณฑาล หรือสกุลพรานล่าเนื้อ หรือสกุลคนจักสาน
    หรือสกุลช่างรถ หรือสกุลคนเทขยะ เห็นปานนั้น ในบั้นปลาย อันเป็นสกุลคน
    จน มีข้าวน้ำและโภชนาหารน้อย มีชีวิตเป็นไปลำบาก ซึ่งเป็นสกุลที่จะได้ของ
    กิน และเครื่องนุ่งห่มโดยฝืดเคือง และเขาจะมีผิวพรรณทราม น่าเกลียดชัง ร่าง
    ม่อต้อ มีโรคมาก เป็นคนตาบอดบ้าง เป็นคนง่อยบ้าง เป็นคนกะจอกบ้าง เป็น
    คนเปลี้ยบ้าง ไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่
    นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตามประทีป เขาจะประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต
    มโนทุจริต ครั้นแล้วเมื่อตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
    [๔๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนนักเลงการพนัน เพราะเคราะห์ร้าย
    ประการแรกเท่านั้น จึงต้องเสียลูกบ้าง เสียเมียบ้าง เสียสมบัติทุกอย่างบ้าง
    ยิ่งขึ้นไปอีก ต้องถึงถูกจองจำ เคราะห์ร้ายของนักเลงการพนันที่ต้องเสียไปดังนั้น
    เพียงเล็กน้อย ที่แท้แลเคราะห์ร้ายอันใหญ่หลวงกว่านั้น คือ เคราะห์ที่คนพาล
    นั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว ตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ
    วินิบาต นรก นั่นเอง ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ภูมิของคนพาลครบถ้วนบริบูรณ์ ฯ

    [​IMG]

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    ๙. พาลบัณฑิตสูตร (๑๒๙)
     
  2. datchanee

    datchanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,947
    ค่าพลัง:
    +1,276
    satu satu satu
     

แชร์หน้านี้

Loading...