ความงดงามเปล่งปลั่งของผู้หญิง (คุณและโทษของรูปทั้งหลาย)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย aprin, 22 พฤศจิกายน 2009.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ความงดงามเปล่งปลั่งของผู้หญิง (คุณและโทษของรูปทั้งหลาย)
    <O:p</O:p
    [๒๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นคุณของรูปทั้งหลาย?

    ดูกรภิกษุทั้งหลายเหมือนอย่างว่า นางสาวเผ่ากษัตริย์ เผ่าพราหมณ์ หรือเผ่าคฤหบดีมีอายุระบุได้ว่า ๑๕ ปี หรือ ๑๖ ปี ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ไม่ผอมเกินไป ไม่อ้วนเกินไป ไม่ดำเกินไป ไม่ขาวเกินไป

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้นนางคนนั้น งดงามเปล่งปลั่งเป็นอย่างยิ่ง ใช่หรือไม่เล่า?

    พวกภิกษุพากันกราบทูลว่าเป็นเช่นนั้นพระเจ้าข้า

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสุข ความโสมนัสอันใดแล ที่บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความงามเปล่งปลั่ง นี้เป็นคุณของรูปทั้งหลาย.

    [๒๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นโทษของรูปทั้งหลาย?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละในโลกนี้ โดยสมัยอื่น มีอายุ ๘๐-๙๐ หรือ ๑๐๐ ปี โดยกำเนิด เป็นยายแก่ มีซี่โครงคดดังกลอนเรือนร่างขดงอ ถือไม้เท้ากระงกกระเงิ่น เดินสั่นระทวย กระสับกระส่าย ผ่านวัยเยาว์ไปแล้วมีฟันหลุด ผมหงอก ผมโกร๋น ศีรษะล้าน เนื้อเหี่ยว มีตัวตกกระ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในครั้งก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

    ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละมีอาพาธ มีทุกข์เจ็บหนัก นอนจมมูตรคูถของตน ต้องให้คนอื่นพยุงลุก ต้องให้คนอื่นคอยประคอง

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

    ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละเป็นซากศพถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ตายได้ ๑ วันก็ดี ตายได้ ๒ วันก็ดี ตายได้ ๓ วันก็ดี เป็นซากศพขึ้นพองก็ดี มีสีเขียวก็ดี เกิดหนอนชอนไชก็ดี

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

    ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละเป็นซากศพถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ฝูงการุมกันจิกกินบ้าง ฝูงแร้งรุมกันจิกกินบ้าง ฝูงนกเค้ารุมกันจิกกินบ้าง ฝูงสุนัขรุมกันกัดกินบ้าง ฝูงสุนัขจิ้งจอกรุมกันกัดกินบ้าง ฝูงปาณกชาติต่างๆ รุมกันกัดกินบ้าง

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

    ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละเป็นซากศพถูกทิ้งไว้ในป่าช้า มีแต่โครงกระดูก มีเนื้อและเลือดติดอยู่ มีเอ็นยึดอยู่ ฯลฯ มีแต่โครงกระดูก ปราศจากเนื้อเปื้อนเลือด มีเอ็นยึดอยู่ ฯลฯ มีแต่โครงกระดูกปราศจากเนื้อและเลือด มีเอ็นยึดอยู่ ฯลฯ เป็นแต่กระดูก ปราศจากเอ็นยึด กระจัดกระจายไปในทิศน้อยทิศใหญ่ คือ กระดูกมือทางหนึ่ง กระดูกเท้าทางหนึ่ง กระดูกแข้งทางหนึ่ง กระดูกขาทางหนึ่ง กระดูกสะเอวทางหนึ่ง กระดูกสันหลังทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกทางหนึ่ง กระดูกแขนทางหนึ่ง กระดูกไหล่ทางหนึ่ง กระดูกคอทางหนึ่ง กระดูกคางทางหนึ่ง กระดูกฟันทางหนึ่ง หัวกระโหลกทางหนึ่ง

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่งที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

    ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวนั้นแหละ เป็นซากศพถูกทิ้งไว้ในป่าช้า เหลือแต่กระดูกสีขาว เปรียบเทียบได้กับสีสังข์ ฯลฯ เหลือแต่กระดูกตกค้างแรมปี เรียงรายเป็นหย่อมๆ ฯลฯ เหลือแต่กระดูกผุแหลกยุ่ย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

    ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2009
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    กามคืออะไร คฤหัสผู้ครองเรือน คือผู้บริโภคกาม นักบวช(ที่แท้จริง) คือผู้เว้นจากกาม

    จะเป็นนักบวชได้พร้อมทั้งกายและใจ คือทั้งภายนอกภายใน ก็เพราะหน่ายจากกาม ดังพระองค์ตรัสไว้ว่า "มุนีที่ยังไม่ละกาม คือคนลวงโลก." เพราะฉะนั้นผู้ปรารถนาจะตามรอยพระอรหันต์ ควรมีความรู้เรื่องกาม

    สิ่งที่คนเราผู้ปุถุชนพอใจอยากได้กันนักนั้น เรียกว่ากาม ทุกๆ อย่าง จะเป็นรูปเสียงกลิ่นรส สัมผัสชนิดไหนก็ตาม แม้ที่สุดแต่วัตถุเครื่องนุ่งห่มใช้สอยบริโภค เมื่อเป็นที่ตั้งแห่งความอยาก ถึงกับก่อให้เกิดความปรารถนาทะเยอทะยานแล้ว ก็เรียกว่า ทะเยอทะยานในกามทั้งสิ้น ทั้งทางทุจริต และสุจริต พระองค์ทรงห้ามไม่ให้แสวงหากามโดยวิธีทุจริต ทรงอนุญาตให้ แสวงหาได้โดยสุจริตสำหรับฆราวาส ส่วนบรรพชิต ทรงห้ามขาดทั้งทางสุจริตและทุจริต เป็นการชอบและถูกต้องแล้วที่ฆราวาสบริโภคกามโดยสุจริต แต่เป็นการเลวทรามอย่างต่ำช้า ถ้าบรรพชิตจะทำเช่นนั้นบ้าง ทางที่รู้จักกามดีต้องรู้ตามที่ตรัสไว้ในมหาทุกขักขันธสูตร. ในสูตรนั้นทรงตรัสหลักว่า ควรรู้จักกามโดย3ส่วน คือรู้จักรสที่น่าเพลินใจแห่งกาม
    โทษคือความเลวทรามของกาม และอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้นจากกาม ดังต่อไปนี้

    รสชาติที่น่าเพลินใจแห่งกาม ตรัสไว้ในตอนหนึ่งว่า "ภิกษุทั้งหลาย ความสุขหรือโสมนัสที่ อาศัยกามคุณห้าเกิดขึ้น นี้เป็นรสที่น่ายินดีแห่งกาม." ผู้เคยเพลิดเพลินมาแล้วย่อมทราบไว้เพราะเป็นสิ่งที่เคยเพลิดเพลิน จนลืมความผิดชอบชั่วดีมาแล้วโดยมาก
    โทษคือความเลวทรามของกาม ตรัสไว้มากมายเหลือที่จะประมวลมาใส่ไว้ ณ ที่นี้โดยละเอียด จะยกมาเฉพาะหัวข้อ ตั้งแต่ต้นอย่างไม่ร้ายแรงขึนไปตามลำดับคือ การอดอยากตรากตรำ กายและใจประกอบการงาน การโทมนัสคร่ำครวญเพราะการงานนั้นไม่ได้ผลสมหวัง การเป็น ห่วงหมกมุ่นอาลัยรักษากามที่ได้มาแล้ว การวิวาทรบพุ่งด้วยการแย่งชิงหรือหึงหวง กาม ระหว่างคนต่างชั้น แม้ที่สุดระหว่างบิดามารดากับบุตร ญาติกับญาติ การสงคราม มหาสงคราม การต่อต้านและอารักขา การเสียชีวิตมนุษย์ การต้องรับราชอาญา ตลอดจน ถึงทุกข์อันร้ายกาจที่จะต้องได้ผลในอบายภูมิ ณ ปรโลก เหล่านี้ล้วนเกิดมาแต่กามเป็นต้นเหตุทั้งนั้น นี้ทรงเรียกว่า ความเลวของกาม

    อุบายเครื่องหลุดพ้นไปจากกาม ตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย การนำออกเสียซึ่งความกำหนัด ด้วยความเพลินในกาม และการสละสำรอกออกซึ่งความกำหนัดอำนาจความเพลินในกามอันนี้ เป็นอุบายเครื่องออกไปพ้นจากกามทั้งหลาย..." โดยความก็คือ การพิจารณาเห็นโทษแล้วเกิดความหน่าย ละความหลงรักหลงพอใจเสียได้.

    คำว่า "กาม" นอกจากจะเป็นชื่อของรูปรสกลิ่นเสียรสสัมผัสที่ยั่วยวนใจแล้ว ยังเป็นชื่อของความรู้สึกที่ชั่วร้ายภายในใจ เช่น ความอยากความกำหนัด ความรุ่มร้อน ที่เรียกว่าตัณหาบ้าง ราคะบ้าง อรติบ้าง เป็นต้น อีก ในบาลีทั้งหลาย เรียกกามว่า ปังกะ คือปลักหนองแห่งเปลือกตมอันสัตว์จะพึงเกลือกกลั้วหมกจมอยู่ ตกแล้วยากที่จะขึ้น และเป็นตาข่ายอันแผ่ ไปครอบงำใจสัตว์โลกทั้งหมดไว้ ซ่านไปได้ไนสิ่งต่างๆ โดยไม่มีอะไรมากีดกันได้ เป็นรส ในเบื้องต้น กลายเป็นพิษในเบื้องปลาย ทั้งที่เจ้าตัวไม่รู้สึกว่าเป็นเช่นนั้น เพราะเป็นทาส ของมันด้วยน้ำใจ และจะกลับหัวเราะเมื่อมีใครมาบอกว่าเป็นเช่นนั้นๆ สัตว์เหล่านี้ทรงเรียกว่า "ยังเป็นทาสแห่งกามตัณหา."

    ตัวอย่างผู้เคยรู้สึกเช่นนี้ในปวัตติกาล คนมีจำนวนเหลือทีจะรับในครั้งโน้น เกิดความรู้สึกหน่ายต่อชีวิตอันยุ่งเหยิง แล้วแสวงหาทางรอดคือ ความเป็นพระอรหันต์ จะยกมาพอเป็นตัวอย่างว่า ท่านรู้สึกอย่างไรบ้าง

    ในรัฐปาลสูตร (ราชวรรค ม.มไตร.ล.13 น.411บ.451) มีสาวกภาษิตของพระรัฐปาล กล่าวตอบแก่พระเจ้าเการพ เป็นใจความน่าใส่ใจ ดังจะได้ยกมาตามต้นฉบับซึ่งเป็นคำของพระรัฐปาลผู้เป็นอรหันต์องค์หนึ่ง กล่าวออกมาตามความรู้สึกภายในใจแท้จริง ผูกเป็นคาถา ความว่า
    "เราเห็นแต่มนุษย์ผู้รวยทรัพย์ ได้ทรัพย์แล้วเมาทรัพย์ไม่เผื่อแผ่ เพราะโลภจัด จึงได้ทำการสั่งสม ซ้ำยังปรารถนากามยิ่งขึ้นไป ราชาที่ชนะแว่นแคว้นครอบครองอาณาเขตจดฝั่งสมุทรข้างนี้แล้ว มิยักเบื่อ ยังปรารถนาจะแผ่ไปให้จดฝั่งสมุทรข้างโน้นอีกพระราชาหรือราษฎรเป็นอันมากก็ดี ยังมีตัณหา จนกระทั่งตาย ตัณหานั้นยังพร่องอยู่ ความเบื่อกามในโลกนี้มิได้มี

    "ประการหนึ่ง ศพที่ญาติทิ้งผมรำพันอยู่ว่า ญาติของข้า อย่าตายเลย ดังนี้ ก็ยังถูกคลุมด้วยผ้า นำไปสู่เชิงตะกอนแล้วชวนกันเผา ถูกแทงด้วยไม้สำหรับเขี่ยศพ เวลาละสมบัติตายไป มีแต่ผ้าพันกาย ญาติมิตรสหายก็ดี ผู้จะช่วยต้านทานได้ มิได้มี คนที่รับมรดกก็ชักชวนกันขนทรัพย์ของศพนั้นไป ส่วนสัตว์นั้นไปตามกรรมที่ทำไว้ ทรัพย์อันใดจะติดตามเจ้าของก็หาไม่ ลูกก็ดี เมียก็ดี ทรัพย์ก็ดี แว่นแคว้นก็ดี ย่อมเป็นอย่างเดียวกัน คนเราจะอายุยืนเพราะทรัพย์ที่รอบริบไว้ก็มิใช่ ด้วยทรัพย์ที่เราพอใจกันนักก็มิใช่ ทั้งเจ้าของทรัพย์ และทรัพย์นั้น ย่อมรวมเข้าหาความทรุดโทรมด้วยกัน"

    "นักปราชญ์ได้กล่าวชีวิตนี้ว่า เป็นของนิดหน่อย ไม่คงที่ มีความเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา คนรวยหรือคนยากก็ตาม นักปราชญ์หรือคนพาลก็ตาม ย่อมกระทบกับผัสสะในโลก แต่คนพาลถูกกระทบแล้วเป็นผู้หวั่นไหว เสือกสน ไปตามประสาคนพาล ส่วนนักปราชญ์หาสะทกสะท้านหวั่นไหวไม่เพราะเหตุนี้เอง ปัญญาจึงประเสริฐกว่าทรัพย์ และเป็นปัญญาที่จะทำสัตว์ให้ถึงที่สุดแห่งโลกคือทุกข์ฯ

    "สัตว์ที่หลงทำบาปในภพน้อยใหญ่ ก็เพราะไม่มีปัญญาอันให้ถึงที่สุดนี้ เมื่อยังหลงทำบาปอยู่ ทุกตัวสัตว์จักต้องเที่ยวไปเที่ยวมา เกิดในครรภ์บ้าง ไปสู่ปรโลกบ้าง นอกจากผู้มีปัญญาแล้ว แน่นอนว่าจะต้องเกิดในครรภ์หรือ ไปสู่ปรโลกเสมอไป สัตว์ที่มีบาป ละโลกนี้แล้วไปเดือดร้อนอยู่ในปรโลก เพราะกรรมของตนเหมือนโจร ทำโจรกรรม เขาจับได้ ย่อมเดือดร้อน เพราะกรรมของตนฉะนั้น.ฯ

    "ดูก่อนมหาราช อาตาภาพมองเห็นโทษในกามคุณ เพราะกามที่งดงาม มีรสอร่อยรมย์ใจ ได้รบกวนจิตโดยวิธีต่างๆ กัน เหตุนั้น อาตมาภาพจึงบวชเป็นบรรพชิตเสีย ดูก่อนมหาราชผลไม้จะหล่นต่อเมื่อสุกแล้วเป็นส่วนใหญ่ ส่วนมนุษย์นี้ หนุ่มก็ตาม แก่ก็ตามย่อมตายได้สิ้น อาตมาภาพเห็นเหตุนี้แล้วจึงได้บวชเป็นบรรพชิตเสีย.ฯ

    "ผลของการบวชเป็นสมณะ เป็นการกระทำที่ไม่ผิดโดยส่วนทั้งสอง มีแต่จะนำผู้นั้นให้ออกจากทุกข์โดยส่วนเดียว เป็นคุณอันประเสริฐ เพราะฉะนั้น การที่มหาบพิตรได้กล่าวถามรูปว่า 'บวชเพราะได้เห็น หรือได้ฟังอะไร ดังนี้นั้น มหาบพิตรจงทรงจำอาตมาภาพไว้ว่า เพราะได้ฟังเนื้อความดังกล่าวนี้แล จึงบวชแล้ว."ฯ
    <O:p
    สำหรับพระองค์เอง ทรงรู้สึกอย่างไรจึงออกบวช เราจะรู้ได้โดยพระดำรัสตอนหนึ่ง ที่ตรัสแต่ภารทวาชพราหมณ์ (บาลีสคารวสูตร<O:p</O:p
    พราหมณวรร ม.ม.ไตร.ล.13 น.669 บ.738) ว่า "ภารทวาชะ! ในโลกนี้เมื่อก่อนแต่เราได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความคิดได้เกิดแก่เราอย่างนี้ว่า 'ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นที่ไหลมาแห่งธุลีบรรพชาเป็นโอกาสว่าง การที่คนอยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่เขาขัดดีแล้วนั้น ไม่ได้ ถ้ากระไรเราพึงปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเรือนเถิด' ดังนี้." นี่เป็นความรู้สึกของพระองค์ผู้ให้กำเนิดการบวชในพระพุทธศาสนา. บัดนี้โลกรู้สึกอย่างไรบ้างในเรื่องนี้ ในโลกแห่งชนผู้มีสมองเพียงพอแก่การค้นหาเหตุผล ได้เกิดความรู้สึกเบื่อและจืดชืดต่ออาการอ้อนวอนบวงสรวงพระผู้เป็นเจ้า ณ เบื้องบน เพราะผลหลังสุดที่สุดแห่งการอ้อนวอนก็คือชีวิตและโลกที่ยังเต็มไปด้วยความยุ่งยาก นอนตาไม่หลับอยู่อย่างเดิมนั่นเอง นักปราชญ์ในโลกที่ได้ละจากการเมืองหรือการโลกอันรุมร้อน พยายามหาวิธีที่จะทำชีวิตให้เป็นสุขเยือกเย็นแท้จริง ได้เสาะหาด้วยการศึกษาหลักสาสนาต่างๆ บรรดามีอยู่ในโลก ทั้งฝ่ายตะวันตกและตะวันออกทั้งยุคเก่าและใหม่ ในที่สุดได้พบวิธีอันสอนให้รบกับความยุ่งยากภายในใจ ให้ตัดต้นเหตุแห่งความยุ่งยาก ให้เกิดดวงตาชนิดที่อาจเห็นโลกตามเป็นจริง แล้วจึงหมุนชีวิตของตนเอง ให้คล้อยตามธรรมชาติอันนั้น ได้แก่การกระทำใจให้เป็นสุข ข้ามขึ้นพ้นจากอำนาจของโลก

    การศึกษาหรือแบบฝึกหัดอันนี้ เรียกว่า "การบรรพชา" ที่จริงการบรรพชาเป็นจิตศึกษาล้วนๆ แต่มีเครื่องแบบแห่งการนุ่งห่มกินอยู่ภายนอก แสดงเพศแห่งบุคคลชนิดนั้น เป็นเครื่องประกอบเข้าด้วย อันเป็นผิวภายนอกหรือเครื่องหุ้มของการบรรพชาตัวจริง ซึ่งอยู่ลึกภายในห้วงแห่งใจอันละเอียด มันมักจะหลอนตาคนมีจำนวนไม่น้อย ให้หลงสำคัญผิด ผิวๆ ที่ดูเห็นไปจากภายนอก เป็นตัวบรรพชาแท้ไปก็มี

    มนุษย์ในโลกครั้งพุทธกาล คงไม่มีเรื่องยุ่งเหยิงซับซ้อนหนักอกชนิดที่ทำให้แก่ และตายเร็วเหมือนในสมัยนี้ เช่นเรื่องการเมือง การเศรษฐกิจ การปราบปราม การสงคราม ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มนุษย์เป็นผู้ก่อกันขึ้นเอง แล้วก็ประชุมกัน แก้ไขไม่หยุดหย่อน แม้ท่านนักการเมืองเหล่านั้นจะยอมรับแบ่งภาระอันนี้จนดับจิตไปปรโลกทุกๆ คน ก็หาทำให้ภาระชนิดนี้ในโลกเบาบางลงไปไม่ หาช่วยให้โลกดีขึ้นไม่แม้แต่น้อย กลับจะหนาแน่นแก้ไขยากยิ่งขึ้นอีก ไม่มีเวลาจบ เพราะโลกยังไม่รู้จักโลกเอง จึงต้องทนรับภาระอันนี้ นักปราชญ์ ที่เบื่อต่อเรื่องยุ่งของโลกเหล่านั้น บางคนหวนมามองดูธรรมของพระพุทธเจ้า ที่ล่วงมาถึง 25 ศัตพรรษเข้านี่แล้ว และเป็นธรรมะที่ทรงวางไว้สำหรับดับทุกข์ ของโลกจริงๆ พวกที่มองเห็นก็รีบรับเอา แต่ยังมีอีกมากนักที่ยังมองไม่เห็น และรู้สึกเบื่อ โลกจะสงบสุขก็ต่อเมื่อได้รับเอาวิชชาดับทุกข์ ของพระองค์เข้าไว้อย่างเต็มที่แล้ว นักปราชญ์ที่มองเห็นเฉพาะตน จึงได้รับเอาเป็นหลักสำหรับดำเนินชีวิตเฉพาะตนไปแล้วก็มาก

    ขอให้คิดดูว่า ครั้งพุทธกาลไม่มีการเมืองการโลกที่ยุ่งๆ เหมือนบัดนี้ จะสงบเยือกเย็นกว่าบัดนี้สักเพียงไร แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีผู้เบื่อต่อความเป็นอยู่เช่นนั้น ถึงกับสละทุกๆ อย่างเพื่อแสวงหาทางที่สงบ และประณีตยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ถึงกับได้พบและใช้ได้ผลดีมาแล้ว ผู้พบคือพระพุทธเจ้าเมื่อครั้ง 2500 ปีมาแล้ว ซึ่งบัดนี้ชื่อของพระองค์ยังก้องอยู่ในสมองแห่งเราทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ค้นพบวิชชาอย่างเดียว ที่สามารถสะสางความยุ่งเหยิงของโลกได้ นักปราชญ์ทั่วโลกหรือใครๆ ก็ตามในบัดนี้ย่อมเชื่อความจริงข้อนี้โดยไม่มีเสียงค้าน และส่วนมากเต็มใจที่จะหมุนไปแล้วคราวหนึ่ง เพียงซีกหนึ่ง หรือส่วนหนึ่งของโลก ครั้งพุทธกาลโน้น

    โลกฝ่ายตะวันตก บัดนี้พากันเชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีตัวจริงหาใช่เป็นบุคคลสมมุติ ดังที่เคยเข้าใจกันมาก่อน แต่ได้ศึกษามากขึ้นไม่ เขาทุกคนอยากอยู่อย่างสงบเป็นสุข จึงได้ค้นหาวิธีในลัทธิศาสนาต่างๆ อยู่เป็นประจำ ในที่สุดก็ได้พบวิธี ดับทุกข์ในพุทธสาสนา เขาเลื่อมใสวิธีอบรมจิตในภายในด้วยการปลูกธรรมจักษุ ขึ้นเป็นเครื่องควบคุมชีวิต และได้พยายามทำตามนั้นได้ผลดีสมัครเข้าเป็นพุทธบริษัทก็มี แม้ยังไม่พร้อมบริบูรณ์มาถึงเพศภายนอกคือการครองผ้ากาสาวะ เพราะยังใหม่ต่อวิชชานี้ ก็ยังได้รู้รสแห่งพระธรรมเป็นอย่างดี เท่าหรือมากกว่าผู้ทรางเพศบรรพชาปรากฏอยู่บางคนก็มี ความรู้สึกของชาวต่างประเทศคนหนึ่งซึ่งเขาผูกขึ้นเป็นโคลงตามหลักธรรม มีความว่า

    "ซ่องแห่งความคับแค้นยุ่งเหยิง คือชีวิตของผู้ครองเรือน มันเต็มไปด้วยความตรากตรำ และทะเยอทะยาน ส่วนสิ่งที่เป็นอิสระ และสูงเหมือนท้องฟ้าในกลางหาว ก็คือชีวิตของผู้ปราศจากเหย้าเรือน นั่น."

    โลกแห่งคนมีปัญญาทั้งหมด ล้วนรู้สึกตรงกันตามแนวนี้ เมื่อมรรคผลในพุทธศาสนา ไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะผู้ถือเพศเป็นภิกษุเท่านั้นแล้ว คนเราจะบรรพชาแต่ภายในใจ หรือจะบวชมาถึงภายนอกกายด้วยก็อาจมีความรู้สึกตรงเป็อย่างเดียวกันได้ ขอแต่ให้การบรรพชาของเขาและของเราทั้งหลาย เป็นผลของการบังคับออกมากจากภายในใจเถิด อย่าให้เป็นการบังคับแวดล้อมเข้าไปจากภายนอกเช่น เห็นแก่อาชีพลาภยศหรือประเพณีเป็นต้น อันจะก่อให้เกิดการบวชที่ปลอมเทียมขึ้นในภายหลัง

    คำว่า "เรือน,เรือน," ไม่ใช่หมาเอาฆราวาสพวกเดียว, ในบาลีก็มีที่ตรัสไว้ว่า "เวทนาหรือการตรึกอาศัยเรือน" (เคหสิตเวทนา, เคหสิตวิตก) ก็อาจเกิดได้แก่ภิกษุทั่วไป เพราะฉะนั้น การที่จะเป็นผู้มีเรือนหรือไม่มีเรือนหมายเอาใจเป็นใหญ่ นักปราชญ์ในโลกเขาบวชแต่หัวใจกันมากแล้ว จะดีมากขึ้นอีก ในเมื่อเขาแก่กล้าถึงกับบวชได้พร้อมทั้งกายด้วย

    ข้าพเจ้าขอจบบทนี้ด้วยพระพุทธอุทาน ที่ทรงเปล่งที่ควงไม้โพธิ์เมื่อทรงเสวยวิมุตติสุขว่า"สัตว์โลกติดอยู่ในภพ ถูกภพบีบคั้นแล้ว กลับเป็นอย่างอื่นไปจึงได้เพลินในภพนัก เขาเพลินต่อภพใดภพนั้นกลับเป็นภัย เขากลัวต่อสิ่งใด อันนั้นย่อมเป็นทุกข์, เราประพฤติ
    พรหมจรรย์นี้เพื่อละภพนั้นเสีย ทุกข์นี้ เกิดขึ้นเพราะเขาไปยึดถือความเกิดแห่งทุกข์ จะไม่มีต่อเมื่อไม่ยึดถือในสิ่งทั้งปวง สูจงมาดูโลกนี้สิ! อวิชชาหนาแน่นครอบงำแล้ว ยังมัวปฏิพัทธ์ในสัตว์ที่เป็นอย่างเดียวกันอีก จึงไม่หลุดพ้นไปได้. ภพมีทุกแห่งเพราะ มันแผ่ไปทั่วแล้ว ภพทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวน เมื่อเห็นข้อนี้ตามจริง ด้วยปัญญาแล้ว จะละตัณหาในภพเสียได้และไม่ยินดีในวิภวตัณหา การดับหมดด้วย ความคลายคืนเพราะสิ้นตัณหาแล้ว ชื่อว่านิพพาน เพราะไม่ยึดมั่น การเกิดอีก จึงไม่มี แก่ภิกษุผู้ดับแล้ว เธอปราบมารได้, ชนะสงครามแล้ว ล่วงพ้นภพทั้งหลาย เป็นผู้คงที่(ไม่มีการแปรปรวนอีกต่อไป) ดังนี้.ฯ"

    จบบทที่ 1 ของตามรอยพระอรหันต์ ของ"พุทธทาสภิกขุ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2009
  3. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    อิอิ อุอุ...สาธุ ล้วนแล้วแต่อสุภะ แต่จักษุของผมยังมองว่าสุภะ T_T
     
  4. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    มารู้จัก "กายตัวจริง" ของตัวเองกัน

    ชื่อว่า "ร่างกาย" นี้ โดยปกติเป็นที่สุมของกระดูก 300 กว่าชิ้น อยู่ติดกันด้วย "ข้อต่อ" 180 ข้อ รัดรึงไว้ด้วย "เส้นเอ็น " 900 เส้น ฉาบไว้ด้วย "เนื้อ" 900 ชิ้น หุ้มด้วย "หนังสด" บาง ๆ ปิดไว้ด้วย "ผิว" มี "ช่องน้อยช่องใหญ่" มี "มัน" หลั่งไหล ทั้งเบื้องบนและเบื้องล่างตลอดเวลา เหมือน "โถใส่มันข้น" มี "หมู่หนอน" เข้าไปเสพอยู่ เป็นบ่อเกิดแห่งโรคทั้งหลาย เป็นที่ตั้งอาศัยแห่ง "ทุกขธรรม" มีสิ่งหลั่งไหลจากบาดแผลทั้ง 9 เป็นประจำ เหมือน "ฝีสุกที่แตก"

    คือ เป็นร่างกายที่มี "ขี้ตา" หลั่งออกจากตาทั้งสอง

    มี "ขี้หู" ไหลออกจากหูทั้งสอง

    มี "น้ำมูก" หลั่งออกทางช่องจมูก

    มี อาหาร ดี เสมหะ และเลือด หลั่งออก
    <O:p</O:p
    จากปาก

    มี "อุจจาระปัสสาวะ" หลั่งออกจากทวารทั้งสองเบื้องต่ำ

    มี "หยาดเหงื่อ" สกปรก หลั่งออกจากขุมขน 9 หมื่น 9 พันขุมขน

    มีแมลงวันหัวเขียวเป็นต้น บินตอมห้อมล้อมไป เป็นร่างกายที่บุคคลไม่ปรนนิบัติด้วยกิจมี ล้างหน้า แปรงฟัน สระผม อาบน้ำ นุ่งห่ม เป็นต้น ปล่อยผมยุ่งหยาบตามมีตามเกิดแล้วเที่ยวไปสู่บ้านโน้นบ้านนี้เมื่อไหร่ ไม่ว่าเป็นพระราชา คนเทขยะ เป็นต้น คนใดคนหนึ่ง ก็ไม่แปลกกัน เพราะความที่มีร่างกาย "เป็นปฏิกูล" เสมอกัน

    เพราะความที่ร่างกายเป็นของสกปรก มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียดและเป็นปฏิกูลอย่างนี้ ในร่างกายของคนทุกชนชั้นวรรณะ จึงชื่อว่า ไม่มีความต่างกัน

    ก็ร่างกายนี้ บุคคลขัดถูกมูลฟัน (ขี้ฟัน) ด้วยกิจมีการล้างหน้าสีฟันเป็นต้น ใช้ผ้าต่าง ๆ ปกปิดอวัยวะ อันจะยังความละอายให้กำเริบเอาไว้ ลูบไล้ด้วยเครื่องลูบไล้กลิ่นหอมมีสีต่าง ๆ ประดับด้วยเครื่องประดับประดาต่าง ๆ ก็ย่อมกระทำให้ถึงซึ่งอาการอันจะพึงถือเอาได้ว่า "เรา" ว่า "ของเรา"

    จากนั้นไป เพราะอาศัยเครื่องแต่งตัว อันเป็นของจรมานี้ปกปิดเอาไว้ เมื่อไม่รู้อยู่ ซึ่งลักษณะแห่ง "อสุภะ" อันมีรสของตนตามความเป็นจริงอย่างนั้นของร่างกาย

    ชายย่อมทำความยินดีในหญิง

    หญิงย่อมทำความยินดีในชาย

    แต่ว่าโดยปรมัตถ์แล้ว ชื่อว่า ฐานะที่ควรแก่ความเป็นสิ่งน่ายินดีในร่างกายนี้ แม้เพียงอณูก็หามีไม่.

    *******************

    หากเราได้พิจารณาเห็นร่างกายของเราตามความเป็นจริงแล้ว ความ "หลง" ในกายคงจะลดน้อยถอยลง แล้วเริ่มแสวงหาสิ่งที่เป็นความงามที่แท้จริงใน "ใจ" กันเพิ่มขึ้น

    จากส่วนหนึ่งของ "หนังสือวิสุทธิมรรค" ว่าด้วยเรื่อง อสุภกรรมฐาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2009
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD bgColor=#000000>[SIZE=-1][SIZE=+1]ผู้ที่มีโทสะ และราคะจริต ควรเพ่งกสิณไฟ[/SIZE][/SIZE][SIZE=-1]
    [SIZE=-1]และพิจารณาอสุภะ[/SIZE]
    [/SIZE]

    </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#000000><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#000000><TD width="34%" height=25>[SIZE=-1]ในร่างกายนี้มี เกสา-ผมทั้งหลาย โลมา-ขนทั้งหลาย นะขา-เล็บทั้งหลาย ทันตา-ฟันทั้งหลาย ตะโจ-หนัง มังสัง-เนื้อ นะหารู-เอ็นทั้งหลาย อัฏฐี-กระดูกทั้งหลาย อัฏฐิมิญชัง-เยื่อในกระดูก วักกัง-ไต หะทะยัง-หัวใจ ยะกะนัง-ตับ กิโลมะกัง-พังผืด ปิหะกัง-ม้าม ปัพผาสัง-ปอด อันตัง-ลำใส้ อันตะคุณัง-ลำใส้สุด อุทะริยัง-อาหารในกระเพาะ กะรีสัง-อุจจาระ ปิตตัง-น้ำดี เสมหะ-เสลด ปุพโพ-หนอง โลหิตัง-โลหิต เสโท-เหงื่อ เมโท-มัน อัสสุ-น้ำตา วะสะ-น้ำเหลือง เขโฬ-น้ำลาย สิงฆานิกา-น้ำเมือก ละสิกา-น้ำลื่นหล่อข้อ มุตตัง-น้ำมูตร มัตถะเกมัตถะลุงกะ-เยื่อมันสมองในกระโหลกศรีษะ ดังนี้แล[/SIZE]

    </TD><TD width="66%" height=25>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#000000><TD width="34%" height=25>[SIZE=-1]พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ [/SIZE]
    [SIZE=-1]สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค[/SIZE]

    [SIZE=-1][๑๕๘] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น[/SIZE]
    [SIZE=-1]ก็ย่อมตามระลึกถึงอุปาทานขันธ์ ๕ หรือกองใดกองหนึ่ง. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมตามระลึกถึงรูปดังนี้ว่า ในอดีตกาลเราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมตามระลึกถึงเวทนาดังนี้ว่า ในอดีตกาลเราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมตามระลึกถึงสัญญาดังนี้ว่า ในอดีตกาลเราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมตามระลึกถึงสังขารดังนี้ว่า ในอดีตกาลเราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมตามระลึกถึงวิญญาณดังนี้ว่า ในอดีตกาลเราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้[/SIZE]
    </TD><TD width="66%" height=25>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#000000><TD width="34%" height=25>[SIZE=-1]พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ [/SIZE]
    [SIZE=-1]สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค[/SIZE]

    [SIZE=-1][๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่ารูป เพราะสลายไป จึงเรียกว่า รูปสลายไปเพราะอะไร [/SIZE]
    [SIZE=-1]สลายไปเพราะหนาวบ้าง [/SIZE]
    [SIZE=-1]เพราะร้อนบ้าง [/SIZE]
    [SIZE=-1]เพราะหิวบ้าง [/SIZE]
    [SIZE=-1]เพราะกระหายบ้างเพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด [/SIZE]
    [SIZE=-1]และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไร จึงเรียกว่า เวทนา เพราะเสวย จึงเรียกว่า เวทนา เสวยอะไร เสวยอารมณ์สุขบ้าง เสวยอารมณ์ทุกข์บ้าง เสวยอารมณ์ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไร จึงเรียกว่า สัญญา เพราะจำได้หมายรู้ จึงเรียกว่า สัญญา จำได้หมายรู้อะไร จำได้หมายรู้สีเขียวบ้างสีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า สังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม จึงเรียกว่า สังขาร [/SIZE]

    [SIZE=-1]ปรุงแต่งสังขตธรรมอะไร ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ รูปโดยความเป็นรูป [/SIZE]

    [SIZE=-1]ปรุงแต่ง สังขตธรรม คือ เวทนา โดยความเป็นเวทนา [/SIZE]

    [SIZE=-1]ปรุงแต่งสังขตธรรมคือ สัญญา โดยความเป็นสัญญา [/SIZE]

    [SIZE=-1]ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ สังขาร โดยความเป็นสังขาร[/SIZE]

    [SIZE=-1]ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ วิญญาณ โดยความเป็นวิญญาณ. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า วิญญาณ เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า วิญญาณ รู้แจ้งอะไร รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง รสไม่ขื่นบ้าง รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง.[/SIZE]
    </TD><TD width="66%" height=25>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#000000><TD width="34%" height=25>[SIZE=-1]พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ [/SIZE]
    [SIZE=-1]สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค[/SIZE]

    [SIZE=-1][๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า[/SIZE]
    [SIZE=-1]บัดนี้เราถูกรูปกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกรูปกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกรูปปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้ก็เรานี้แล พึงชื่นชมรูปอนาคต [/SIZE]

    [SIZE=-1]แม้ในอนาคตกาลเราก็พึงถูกรูปกินเหมือนกับที่ถูกรูปปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้. [/SIZE]

    [SIZE=-1]เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมไม่มีความอาลัยในรูปอดีต ย่อมไม่ชื่นชมรูปอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูปในปัจจุบัน. [/SIZE]

    [SIZE=-1]อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราถูกเวทนากินอยู่ ... บัดนี้เราถูกสัญญากินอยู่ ... บัดนี้เราถูกสังขารกินอยู่ ... บัดนี้เราถูกวิญญาณกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกวิญญาณกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกวิญญาณปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ก็เรานี้แล พึงชื่นชมวิญญาณอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึง ถูกวิญญาณกินอยู่เหมือนกับที่ถูกวิญญาณปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้. [/SIZE]

    [SIZE=-1]เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมไม่มีความอาลัยในวิญญาณ แม้ที่เป็นอดีต ย่อมไม่ชื่นชมวิญญาณอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความ เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณปัจจุบัน.[/SIZE]
    </TD><TD width="66%" height=25>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#000000><TD width="34%" height=25>[SIZE=-1]พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ [/SIZE]
    [SIZE=-1]สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค[/SIZE]

    [SIZE=-1][๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? [/SIZE]

    [SIZE=-1]ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.[/SIZE]
    [SIZE=-1]พระพุทธเจ้า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?[/SIZE]
    [SIZE=-1]ภิกษุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.[/SIZE]

    [SIZE=-1][SIZE=-1]ระพุทธเจ้า[/SIZE]. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม
    เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
    [SIZE=-1]ภิกษุ[/SIZE]. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

    [SIZE=-1]ระพุทธเจ้า[/SIZE]. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    [SIZE=-1]ภิกษุ[/SIZE]. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

    [SIZE=-1]ระพุทธเจ้า[/SIZE]. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    [SIZE=-1]ภิกษุ[/SIZE]. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

    [SIZE=-1]ระพุทธเจ้า[/SIZE]. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม
    เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
    [SIZE=-1]ภิกษุ[/SIZE]. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.[/SIZE]
    </TD><TD width="66%" height=25>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#000000><TD width="34%" height=25>[SIZE=-1]พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ [/SIZE]
    [SIZE=-1]สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค[/SIZE]

    [SIZE=-1][๑๖๒] [/SIZE]
    [SIZE=-1]พระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่[/SIZE]
    [SIZE=-1]ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ[/SIZE]
    [SIZE=-1]ปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.[/SIZE]

    [SIZE=-1]ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ย่อมทำให้พินาศ ย่อมไม่ก่อ ย่อมละทิ้ง ย่อมไม่ถือมั่น ย่อมเรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมเข้าไว้ ย่อมทำให้มอด ไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น.[/SIZE]
    </TD><TD width="66%" height=25>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#000000><TD width="34%" height=25>[SIZE=-1]พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ [/SIZE]
    [SIZE=-1]สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค[/SIZE]

    [SIZE=-1][๑๖๓] อริยสาวก ย่อมทำอะไรให้พินาศ ย่อมไม่ก่ออะไร? [/SIZE]
    [SIZE=-1]ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้พินาศ ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมละทิ้งอะไรย่อมไม่ถือมั่นอะไร? [/SIZE]
    [SIZE=-1]ย่อมละทิ้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่ถือมั่นรูป เวทนา [/SIZE]

    [SIZE=-1]สัญญา สังขาร วิญญาณ. ย่อมเรี่ยรายอะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้? ย่อมเรี่ยรายรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่รวบรวมรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมทำอะไร ให้มอด ย่อมไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น? [/SIZE]
    [SIZE=-1]ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้มอด[/SIZE]
    [SIZE=-1]ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ลุกโพลงขึ้น. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร[/SIZE]
    [SIZE=-1]ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น. [/SIZE]

    [SIZE=-1]เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. [/SIZE]
    [SIZE=-1]รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้[/SIZE]
    [SIZE=-1]เราเรียกว่า ย่อมไม่ก่อ ย่อมไม่ทำให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ละ ย่อม[/SIZE]
    [SIZE=-1]ไม่ถือมั่น แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่เรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ทำให้มอด ย่อมไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่.[/SIZE]
    </TD><TD width="66%" height=25>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#000000><TD width="34%" height=25>[SIZE=-1]พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ [/SIZE]
    [SIZE=-1]สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค[/SIZE]

    [SIZE=-1][๑๖๓] อริยสาวก ย่อมทำอะไรให้พินาศ ย่อมไม่ก่ออะไร? [/SIZE]
    [SIZE=-1]ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้พินาศ ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมละทิ้งอะไรย่อมไม่ถือมั่นอะไร? [/SIZE]
    [SIZE=-1]ย่อมละทิ้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่ถือมั่นรูป เวทนา [/SIZE]

    [SIZE=-1]สัญญา สังขาร วิญญาณ. ย่อมเรี่ยรายอะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้? ย่อมเรี่ยรายรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่รวบรวมรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมทำอะไร ให้มอด ย่อมไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น? [/SIZE]
    [SIZE=-1]ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้มอด[/SIZE]
    [SIZE=-1]ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ลุกโพลงขึ้น. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร[/SIZE]
    [SIZE=-1]ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น. [/SIZE]

    [SIZE=-1]เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. [/SIZE]
    [SIZE=-1]รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้[/SIZE]
    [SIZE=-1]เราเรียกว่า ย่อมไม่ก่อ ย่อมไม่ทำให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ละ ย่อม[/SIZE]
    [SIZE=-1]ไม่ถือมั่น แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่เรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ทำให้มอด ย่อมไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่.[/SIZE]
    </TD><TD width="66%" height=25>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#000000><TD width="34%" height=25>[SIZE=-1]พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ [/SIZE]
    [SIZE=-1]สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค[/SIZE]

    [SIZE=-1][๑๖๔] อริยสาวก ย่อมไม่ก่ออะไร ย่อมไม่ทำอะไรให้พินาศ แต่ทำให้พินาศแล้วตั้งอยู่. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้วตั้งอยู่. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมไม่ละอะไร ย่อมไม่ถือมั่นอะไร แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ละรูป[/SIZE]
    [SIZE=-1]เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมไม่เรี่ยรายอะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้ว[/SIZE]
    [SIZE=-1]ตั้งอยู่. ย่อมไม่เรี่ยรายรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่รวบรวมรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมไม่ทำอะไรให้มอด ย่อมไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่. ย่อมไม่ทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร[/SIZE]
    [SIZE=-1]วิญญาณ ให้มอด ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาพร้อมด้วยอินทร์ พรหม และท้าวปชาบดี[/SIZE]
    [SIZE=-1]ย่อมนมัสการ ภิกษุผู้มีจิตพ้นแล้ว อย่างนี้แล แต่ที่ไกลทีเดียวว่า[/SIZE]
    [SIZE=-1]ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อม[/SIZE]
    [SIZE=-1]ต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นอุดมบุรุษ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อม[/SIZE]
    [SIZE=-1]ต่อท่าน ผู้ซึ่งข้าพเจ้าทั้งหลายมิได้รู้จักโดยเฉพาะ และผู้ซึ่งได้[/SIZE]
    [SIZE=-1]อาศัยเพ่งท่านพินิจอยู่ ดังนี้.[/SIZE]
    </TD><TD width="66%" height=25></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#000000><TD width="34%" height=459>[SIZE=-1]พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ [/SIZE]
    [SIZE=-1]สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค[/SIZE]

    [SIZE=-1][๑๖๔] อริยสาวก ย่อมไม่ก่ออะไร ย่อมไม่ทำอะไรให้พินาศ แต่ทำให้พินาศแล้วตั้งอยู่. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้วตั้งอยู่. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมไม่ละอะไร ย่อมไม่ถือมั่นอะไร แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ละรูป[/SIZE]
    [SIZE=-1]เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมไม่เรี่ยรายอะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้ว[/SIZE]
    [SIZE=-1]ตั้งอยู่. ย่อมไม่เรี่ยรายรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่รวบรวมรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมไม่ทำอะไรให้มอด ย่อมไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่. ย่อมไม่ทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร[/SIZE]
    [SIZE=-1]วิญญาณ ให้มอด ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาพร้อมด้วยอินทร์ พรหม และท้าวปชาบดี[/SIZE]
    [SIZE=-1]ย่อมนมัสการ ภิกษุผู้มีจิตพ้นแล้ว อย่างนี้แล แต่ที่ไกลทีเดียวว่า[/SIZE]
    [SIZE=-1]ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อม[/SIZE]
    [SIZE=-1]ต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นอุดมบุรุษ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อม[/SIZE]
    [SIZE=-1]ต่อท่าน ผู้ซึ่งข้าพเจ้าทั้งหลายมิได้รู้จักโดยเฉพาะ และผู้ซึ่งได้[/SIZE]
    [SIZE=-1]อาศัยเพ่งท่านพินิจอยู่ ดังนี้.[/SIZE]
    </TD><TD width="66%" height=459>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#000000><TD width="34%" height=459>[SIZE=-1]พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ [/SIZE]
    [SIZE=-1]สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค[/SIZE]

    [SIZE=-1][๑๕๒] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นควรเห็นตามความเป็นจริง[/SIZE]
    [SIZE=-1]ด้วยปัญญาอันชอบ อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนาทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย[/SIZE]
    [SIZE=-1]กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก กว่าสัตตาวาสและภวัคคภพ.[/SIZE]

    </TD><TD width="66%" height=459>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#000000><TD width="34%" height=459>[SIZE=-1]พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ [/SIZE]
    [SIZE=-1]สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปว่า[/SIZE]

    [SIZE=-1][๑๕๓] พระอรหันต์ทั้งหลาย มีความสุขหนอ เพราะท่านไม่มีตัณหา[/SIZE]
    [SIZE=-1]ตัดอัสมิมานะได้เด็ดขาด ทำลายข่ายคือโมหะได้แล้ว. พระอรหันต์[/SIZE]
    [SIZE=-1]เหล่านั้น ถึงซึ่งความไม่หวั่นไหว มีจิตไม่ขุ่นมัว ท่านเหล่านั้นไม่แปด[/SIZE]
    [SIZE=-1]เปื้อนแล้ว ด้วยเครื่องแปดเปื้อนคือตัณหาและทิฏฐิในโลก เป็นผู้[/SIZE]
    [SIZE=-1]ประเสริฐ ไม่มีอาสวะ. [/SIZE]

    [SIZE=-1]เป็นสัตบุรุษ เป็นพุทธบุตร เป็นพุทธโอรสกำหนดรู้เบญจขันธ์มีสัทธรรม ๗ เป็นโคจร ควรสรรเสริญ. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ท่านมหาวีรบุรุษ ผู้สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ ศึกษาแล้วในไตรสิกขา[/SIZE]
    [SIZE=-1]ละความกลัวและความขลาดได้เด็ดขาดแล้ว ย่อมท่องเที่ยวไป โดย[/SIZE]
    [SIZE=-1]ลำดับ. ท่านมหานาคผู้สมบูรณ์ด้วยองค์ ๑๐ ประการ มีจิตตั้งมั่น[/SIZE]
    [SIZE=-1]ประเสริฐสุดในโลก ท่านเหล่านั้นไม่มีตัณหา. [/SIZE]

    [SIZE=-1]มีอเสขญาณเกิดขึ้นแล้วมีร่างกายนี้เป็นครั้งสุดท้าย ไม่ต้องอาศัยผู้อื่น ในคุณที่เป็นแก่นสารแห่งพรหมจรรย์. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ท่านเหล่านั้นไม่หวั่นไหวเพราะมานะ หลุดพ้นจากภพใหม่ถึงอรหัตภูมิแล้ว ชนะเด็ดขาดแล้วในโลก. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ท่านเหล่านั้นไม่มีความเพลิดเพลินอยู่ในส่วนเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องล่าง เป็นพุทธผู้ยอดเยี่ยมในโลก ย่อมบันลือสีหนาท.[/SIZE]

    </TD><TD width="66%" height=459>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#000000><TD width="34%" height=286>[SIZE=-1]พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ [/SIZE]
    [SIZE=-1]สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค[/SIZE]

    [SIZE=-1][๑๕๑] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ฯลฯ แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ.[/SIZE]

    </TD><TD width="66%" height=286>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#000000><TD width="34%" height=286>[SIZE=-1]พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ [/SIZE]
    [SIZE=-1]สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค[/SIZE]

    [SIZE=-1][๑๕๐] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ฯลฯ แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ฯลฯ แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1]แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ.[/SIZE]

    </TD><TD width="66%" height=286>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [SIZE=-1][SIZE=+1]อันสังสารน่ากลัวแท้.. ช่างแน่ชัด...[/SIZE][/SIZE][SIZE=-1]
    [SIZE=-1]จงขจัดความทุกข์โศก วิโยกเข็ญ...[/SIZE]
    [SIZE=-1]นำความสุข.. สงบเลิศ ประเสริฐเย็น..[/SIZE]
    [SIZE=-1]พระธรรมเป็น แกนหลัก ประจักษ์จริง !![/SIZE]
    [/SIZE]
    [SIZE=-1]ส.กฤษณ์แก้ว 23.27 น. (26 ธันวาคม 2550)[/SIZE]​


    [SIZE=-1]... ชีวิตที่... ซ้ำวน.. ต้องทนเกิด... [/SIZE]
    [SIZE=-1]เพราะจิตเพลิด เพลินไป.. ในสังสาร...[/SIZE]
    [SIZE=-1]จิตก่อเกิด ร่างกาย.. หลายภพกาล ... [/SIZE]
    [SIZE=-1]วนสังสาร.. ต่อภพ ไม่จบลง...[/SIZE]
    [SIZE=-1]จะมัวหลง.. อยู่ทำไม ให้เสียชาติ...[/SIZE]
    [SIZE=-1]ร่วมประกาศ... พุทธศาสนา .. อานิสงฆ์..[/SIZE]
    [SIZE=-1]หยุดตัวหลง... ตรงเข้าหา.. พุทธองค์...[/SIZE]
    [SIZE=-1]จิตตั้งตรง... องค์พระมั่น... อย่าหวั่นคลอน... [/SIZE]​

    ส.กฤษณ์แก้ว
    25 สิงหาคม 2550 เวลา 21.59 น.

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    ขอขอบคุณที่มาคะ : http://images.google.co.th/imgres?i...A9%E0%B8%B8&gbv=2&ndsp=21&hl=th&sa=N&start=21
     
  6. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ชราวรรคที่ ๑๑
    ๕. เรื่องพระนางรูปนันทาเถรี [๑๒๒]

    ...(ข้อความบางส่วน)

    พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระนาง

    พระศาสดาทรงดำริว่า "วันนี้ รูปนันทาจักมาที่บำรุงของเรา ธรรมเทศนาเช่นไรหนอแล จักเป็นที่สบายของเธอ" ทรงทำความตกลงพระหฤทัยว่า "รูปนันทานั่น หนักในรูป มีความเยื่อใยในอัตภาพอย่างรุนแรง การบรรเทาความเมาในรูปด้วยรูปนั่นแล เป็นที่สบายของเธอ ดุจการบ่งหนามด้วยหนามฉะนั้น"


    ในเวลาที่พระนางเข้าไปสู่วิหาร ทรงนิรมิตหญิงมีรูปสวยพริ้งผู้หนึ่ง อายุราว ๑๖ปี นุ่งผ้าแดง ประดับแล้วด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง ถือพัด ยืนถวายงานพัดอยู่ในที่ใกล้พระองค์ ด้วยกำลังพระฤทธิ์, ก็แล พระศาสดาและพระนางรูปนันทาเท่านั้น ทรงเห็นรูปหญิงนั้น.

    พระนางเสด็จเข้าไปวิหารพร้อมกับภิกษุณีทั้งหลาย ทรงยืนข้างหลังพวกภิกษุณี ถวายบังคมพระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นั่งในระหว่างพวกภิกษุณี ทรงแลดูพระศาสดาตั้งแต่พระบาท ทรงเห็นพระสรีระของพระศาสดาวิจิตรแล้วด้วยพระลักษณะ รุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ อันพระรัศมีวาหนึ่งแวดล้อมแล้ว ทรงแลดูพระพักตร์อันมีสิริดุจพระจันทร์เพ็ญ ได้ทรงเห็นรูปหญิงยืนอยู่ในที่ใกล้แล้ว.


    พระนางทรงแลดูหญิงนั้นแล้ว ทรงแลดูอัตภาพ (ของตน) รู้สึกว่าตนเหมือนนางกา (ซึ่งอยู่) ข้างหน้านางพระยาหงส์ทอง. ก็จำเดิมแต่เวลาที่ (พระนาง) ทรงเห็นรูปอันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์ทีเดียว พระเนตรทั้งสองของพระนางก็วิงเวียน. พระนางมีจิตอันสิริโฉมแห่งสรีรประเทศทั้งหมดดึงดูดไปแล้วว่า "โอ ผมของหญิงนี้ก็งาม, โอ หน้าผากก็งาม" ดังนี้ ได้มีสิเนหาในรูปนั้นอย่างรุนแรง.


    พระศาสดาทรงทราบความยินดีอย่างสุดซึ้งในรูปนั้นของพระนาง พอเมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงทรงแสดงรูปนั้นให้ล่วงภาวะของผู้มีอายุ ๑๖ ปี มีอายุราว ๒๐ ปี. พระนางรูปนันทาได้ทอดพระเนตร มีจิตเบื่อหน่ายหน่อยหนึ่งว่า "รูปนี้ไม่เหมือนรูปก่อนหนอ."


    พระศาสดา(ทรงแสดงความแปรเปลี่ยนเพศ) ของหญิงนั้นโดยลำดับเทียว คือ เพศหญิงคลอดบุตรครั้งเดียว เพศหญิงกลางคน เพศหญิงแก่ เพศหญิงแก่คร่ำคร่าแล้วเพราะชรา.

    แม้พระนางก็ทรงเบื่อหน่ายรูปนั้น ในเวลาที่ทรุดโทรมเพราะชราโดยลำดับเหมือนกัน ว่า "โอ รูปนี้หายไปแล้วๆ" (ครั้น) ทรงเห็นรูปนั้นมีฟันหัก ผมหงอก หลังโกง มีซี่โครงขึ้นดุจกลอน มีไม้เท้ายันข้างหน้า งกงันอยู่ ก็ทรงเบื่อหน่ายเหลือเกิน.


    ลำดับนั้น พระศาสดาทรงแสดงรูปหญิงนั้นให้เป็นรูปอันพยาธิครอบงำ ในขณะนั้นเอง หญิงนั้นทิ้งไม้เท้าและพัดใบตาล ร้องเสียงขรม ล้มลงที่ภาคพื้น จมลงในมูตรและกรีสของตน กลิ้งเกลือกไปมา. พระนางรูปนันทาทรงเห็นหญิงนั้นแล้ว ทรงเบื่อหน่ายเต็มที.

    พระศาสดาทรงแสดงมรณะของหญิงนั้นแล้ว. หญิงนั้นถึงความเป็นศพพองขึ้นในขณะนั้นเอง สายแห่งหนองและหมู่หนอนไหลออกจากปากแผล๑- ทั้ง ๙. ฝูงสัตว์มีกาเป็นต้นรุมแย่งกันกินแล้ว.

    ____________________________
    ๑- แผล ๙ คือ ตา หู จมูก อย่างละ ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑



    พระนางรูปนันทาทรงพิจารณาซากศพนั้นแล้ว ทรงเห็นอัตภาพโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงว่า "หญิงนี้ถึงความแก่ ถึงความเจ็บ ถึงความตาย ในที่นี้เอง, ความแก่ ความเจ็บและความตาย จักมาถึงแก่อัตภาพแม้นี้อย่างนั้นเหมือนกัน." และเพราะความที่อัตภาพเป็นสภาพอันพระนางทรงเห็นแล้วโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงนั่นเอง อัตภาพนั้นจึงเป็นอันทรงเห็นแล้วโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตาทีเดียว.


    ลำดับนั้น ภพทั้งสามปรากฏแก่พระนางดุจถูกไฟเผาลนแล้ว และดุจซากศพอันเขาผูกไว้ที่พระศอ จิตมุ่งตรงต่อกรรมฐานแล้ว.


    พระศาสดาทรงทราบว่า พระนางทรงคิดเห็นอัตภาพโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงแล้ว จึงทรงพิจารณาดูว่า "พระนางจักสามารถทำที่พึ่งแก่ตนได้เองทีเดียวหรือไม่หนอแล" ทรงเห็นว่า "จักไม่อาจ การที่พระนางได้ปัจจัยภายนอก (เสียก่อน) จึงจะเหมาะ" ดังนี้แล้ว

    เมื่อจะทรงแสดงธรรม ด้วยอำนาจธรรมเป็นที่สบายแห่งพระนาง ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า


    นันทา เธอจงดูกายอันกรรมยกขึ้น อันอาดูร ไม่สะอาด
    เปื่อยเน่า ไหลออกอยู่ข้างบน ไหลออกอยู่ข้างล่าง ที่พาลชน
    ทั้งหลายปรารถนากันนัก;

    สรีระของเธอนี้ ฉันใด สรีระของหญิงนั่น ก็ฉันนั้น,
    สรีระของหญิงนั่น ฉันใด สรีระของเธอนี้ ก็ฉันนั้น

    เธอจงเห็นธาตุทั้งหลายโดยความเป็นของสูญ, อย่า
    กลับมาสู่โลกนี้อีก, เธอคลี่คลายความพอใจในภพเสียแล้ว
    จักเป็นบุคคลผู้สงบเที่ยวไป.


    พระนางนันทาสำเร็จโสดาปัตติผล

    ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภพระนางนันทาภิกษุณี ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล. พระนางนันทาทรงส่งญาณไปตามกระแสเทศนา บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว.



    พระศาสดาทรงแสดงวิปัสสนา

    ลำดับนั้น พระศาสดา เพื่อจะตรัสสุญญตกรรมฐาน เพื่อต้องการอบรมวิปัสสนา เพื่อมรรคผลทั้งสามยิ่งขึ้นไปแก่พระนาง จึงตรัสว่า "นันทา เธออย่าทำความเข้าใจว่าสาระในสรีระนี้ มีอยู่เพราะสาระในสรีระนี้แม้เพียงเล็กน้อย ก็ไม่มี, สรีระนี้ อันกรรมยกกระดูก ๓๐๐ ท่อนขึ้น สร้างให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้งหลาย" ดังนี้

    แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

    ๕. อฏฺฐีนํ นครํ กตํ มํสโลหิตเลปนํ
    ยตฺถ ชรา จ มจฺจุ จ มาโน มกฺโข จ โอหิโต.

    สรีระอันกรรมทำให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้งหลาย ฉาบด้วย
    เนื้อและโลหิต เป็นที่ตั้งลงแห่งชรา มรณะ มานะและมักขะ.


    แก้อรรถ

    เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า "เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายให้ยกไม้ทั้งหลายขึ้น (เป็นโครง) เอาเถาวัลย์ผูกแล้ว ฉาบด้วยดินเหนียว ทำให้เป็นเรือนภายนอกกล่าวคือนคร เพื่อประโยชน์แก่การตั้งปุพพัณชาติและอปรัณชาติเป็นต้นลง ฉันใด;

    แม้สรีระนี้ที่เป็นไปในภายใน ก็ฉันนั้น อันกรรมยังกระดูก ๓๐๐ ท่อนให้ยกขึ้นแล้ว ทำให้เป็นนคร อันเส้นเอ็นรึงรัดไว้ ฉาบทาด้วยเนื้อและโลหิต หุ้มห่อด้วยหนัง เพื่อประโยชน์แก่การตั้งลงแห่งชรา ซึ่งมีความทรุดโทรมเป็นลักษณะ

    แห่งมัจจุซึ่งมีความตายเป็นลักษณะ
    แห่งมานะ(ถือตัว)ซึ่งมีความเมา เพราะอาศัยความถึงพร้อมด้วยความระหง๑- เป็นต้นเป็นลักษณะ
    และแห่งมักขะมีการทำกรรมที่เขาทำดีแล้วให้ฉิบหายเป็นลักษณะ.

    เพราะอาพาธอันเป็นไปทางกายและทางใจ เห็นปานนี้นั่นแล ตั้งลงแล้วในสรีระนี้.
    นอกจากนี้ก็ไม่มีอะไรๆ ที่เข้าถึงความเป็นของจะพึงถือเอาได้.
    ในกาลจบเทศนา พระนางรูปนันทาเถรีได้บรรลุพระอรหัตผล.

    พระธรรมเทศนาได้เป็นกถามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.
    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?...mp;i=21&p=5

    (ความหมายของคำว่า "มักขะ http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10732 )

    * สาระในกายนี้ แม้นิดหน่อย มิได้มี อย่ากังวลใจกับรูปร่างหน้าตาของตัวเอง หรือดีใจที่รูปร่างหน้าตาของตัวเองดูดี

    ร่างกายของทั้งเรา และของคนอื่น ล้วนแต่เน่าเปื่อย ไม่มีแก่นสาร ผู้เห็นความจริงข้อนี้ จะสิ้นความกังวล มีจิตใจที่ไม่เศร้าหมอง เป็นคนบริสุทธิ์อยู่ เพราะไม่คิดถึงกาม<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...