ความแตกต่างระหว่างความศรัทธากับความงมงาย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย LeoTiger, 28 ธันวาคม 2009.

  1. LeoTiger

    LeoTiger เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +520
    catt25ความแตกต่างระหว่างความศรัทธากับความงมงาย


    ศรัทธากับความงมงายแตกต่างกันอย่างไร แล้วเราจะแยกแยะออกจากกันอย่างไร

    ศรัทธาที่ปราศจากการพิจารณาประกอบ จะโน้มเอียงเป็นความงมงาย ส่วนศรัทธาที่มีการพิจารณาแล้ว(หรือให้ดีกว่านั้นคือเห็นตามจริงจาก ประสบการณ์แล้ว) ว่าสิ่งที่ศรัทธามีคุณอย่างไร มีโทษอย่างไร

    เมื่อใดพิจารณาแล้วว่าสิ่งที่ศรัทธา เช่นพระพุทธเจ้าและคำสอนของท่าน มีแต่คุณ คือเอี้อให้ดำรงตนอย่างเป็นสุข มีชีวิตโดยไม่ต้องหวาดกลัวกับทั้งไม่มีโทษ คือไม่ต้องเอาความเชื่อทางศาสนาไปเป็นข้ออ้างเบียดเบียนใคร มีชีวิตโดยไม่ต้องเป็นที่หวาดผวาของใคร ๆ พอตรึกตรองรอบคอบแล้วจึงยึดพระพุทธเจ้ากับคำสอนของท่านเป็นสรณะ อย่างนั้น เรียกว่าศรัทธาอันประกอบด้วยปัญญา

    ความเชื่อในช่วงเริ่มต้นเพียงน้อยนิดนั้น คือศรัทธาที่เปรียบเหมือนเปลวไฟดวงน้อยบนหัวไม้ขีด แต่ก็อาจกลายเป็นชนวนความสว่างที่ยั่งยืน ขอเพียงนำเปลวไฟน้อยไปประดิษฐานให้ถูกที่เช่น ไส้เทียนใหญ่คือปัญญาอันตั้งลำมั่นคง สติ

    ปัญญา ความมีเหตุผล และประสบการณ์ประจักษ์แจ่มแจ้งเท่านั้น จะรักษาศรัทธาไว้ได้ตลอดรอดฝั่งกระทั่งตัวตายไปพร้อมกับศรัทธา เปรียบเหมือนคนตาบอดที่ผ่า

    ตัดได้ดวงตาแล้ว ลืมตาขึ้นเห็นสีสันและความจริงทั้งหลายแล้ว ก็ย่อมไม่มีคนตาบอดและคนตาดีที่ไหนมาหลอกได้ว่า โลกและสีสันความจริงเป็นอย่างอื่น ไม่ใช่อย่างที่กำลังเห็น

    อย่างไรก็ตาม ในแง่ของศรัทธาในศาสนาแล้ว เมื่อยังไปไม่ถึงจุดที่ ได้ดวงตาเห็นความจริง ก็อาจมีหลายสิ่งที่คลุมเครือก้ำกึ่งกันอยู่ บางครั้งแม้ศรัทธาอย่างมีปัญญาประกอบแล้ว ก็เหมือนจำต้องงมงายเชื่อไว้ก่อน ยกตัวอย่างเช่นศาสนาพุทธบอกว่ากรรมวิบากมีจริง ทุกสิ่งมีเหตุผลที่มาที่ไปเสมอ เราส่งใจพิจารณาตามแล้วก็คล้อยตามได้ โดยไม่รู้สึกว่าตัวเองเหมือนคนโง่ที่ใครพูดมาก็เชื่อหมด แต่กรรมวิบากก็เป็นเรื่องอจินไตย ถ้าขาดสมาธิผ่องแผ้ว ขาดตาทิพย์ทะลุมิติกรรมวิบาก เราก็ไม่อาจพิสูจน์จะแจ้งด้วยจิตตนเองอยู่ดี

    ตรงนี้แหละ ตรงที่ตระหนักว่ายังต้องฟังผู้อื่นพูด ก็ต้องอาศัยศิลปะ อาศัยหลักการแยกแยะว่าเรารับฟังอย่างงมงายหรือรับฟังด้วยศรัทธาที่ประกอบ ปัญญา พูดง่าย ๆ ว่า หากศรัทธาแล้วเราถูกปล้นปัญญา ปล้นเหตุผล ปล้นความเป็นตัวเราไปหมด เขาใช้วิธีบีบคอ บอกอะไรเราต้องเชื่อหมด ขู่อะไรเราต้องหงอหมด อย่างนั้นเขาวางตัวเป็นผู้ทำเราให้เชื่ออย่างงมงายแล้ว

    แต่หากศรัทธาแล้วเรายิ่งมีปัญญาคิดอ่านอะไรทะลุปรุโปร่ง อ่านปัญหาขาด แก้ข้อติดขัดได้หมด กับทั้งยังคงเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องตกอยู่ในภาวะพึ่งพา เป็นผู้ได้เหตุผลที่ทำให้ชีวิตเป็นสุขขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งทางใจและทางกาย อย่างนี้เขาส่ง

    เสริม ให้เรามีศรัทธาในแบบที่เป็นขาตั้งให้ปัญญาแข็งแรงยั่งยืน ยิ่งฐานศรัทธากว้าง

    ขวางมั่นคงเพียงใดปัญญาก็ยิ่งต่อยอดขึ้นสูงได้มากขึ้นเพียงนั้น

    ทั้งหมดที่กล่าวก็กล่าวตามเนื้อผ้านะครับ ไม่ใช่ข้อตัดสินแบบจำ

    เพาะเจาะจงลงไปที่ศาสนาไหนหรือคนกลุ่มใด พระพุทธองค์เคยให้หลัก

    การไว้ ว่าจะเชื่อนั้นอย่าเชื่อเพราะเหตุผลอื่นใด ขอให้คำนึงเพียงประการเดียวว่าเชื่อแล้วเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ มีเหตุผลเป็นสุขหรือเป็นทุกข์กับตนเองและผู้อื่น นี่แหละครับจึงจะกล่าวได้เต็มปากว่าศรัทธาแบบพุทธ



    * บทความจาก เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว เล่ม 5 ผู้เขียน ดังตฤณ
     
  2. seablue

    seablue Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +77
    บางครั้งแยกไม่ออก อาจจะเพราะยังด้อยทางปัญญา ถามผู้รู้ก็ไม่ตอบมาให้ชัดเจน แล้วจะทำอย่างไร
     
  3. s.orr

    s.orr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +327
    ศรัทธา คือเชื่อ แต่เชื่อได้เพราะ เห็นแล้วโดยเหตุผลประการทั้งปวง ว่าถูกต้องน่าเชื่อถือ งมงาย คือเชื่อ แค่เชื่อได้เพราะ ตัวเองเชื่อ อาจจะเห็นอะไรนิดหน่อย แล้วก็เกิดเ้ชื่อ โดยไม่ได้ใช้เหตุผลมากพอ
     
  4. meephoo

    meephoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    ค่าพลัง:
    +2,133
    ความศรัทธา เกิดจากใจใฝ่ดี และปฏิบัติจนบรรลุในแต่ละขั้น ง่าย ๆ คือสุขใจ สบายใจ (สุข สมุทัย นิโรท มรรค) ความงมงายเกิดจากเขาเล่าว่าจนเห็นภาพและจินตนาการตามถึงกับเป็นอุปทาน (ความคิดของผมเองครับ)
     
  5. fcaon

    fcaon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +72
    ผมอธิบายไม่เป็น แต่ขอยกตัวอย่างละกัน

    ผมยกตัวอย่าง ดาวดวงนึง

    มีต้นไม้ศักสิทธิ์ต้นใหญ่ ที่ทุกคน นับถือ (เหมือนหนังซักเรื่องแฮะ)

    ทุกๆคนบนดาวนั้น เคารพและเชิดชู ต้นไม้ต้นนั้น เนื่องจากเข้าใจว่า ต้นไม้นี้จะช่วยปกปักรักษา คนบนดาวดวงนั้น

    มนุษย์ 2 คน จากดาวโลก ไปยังดาวนั้น และเห็นคนบนดาว เอาแต่เคารพและเทิดทูน ต้นไม้ต้นนี้
    คนแรกบอกว่า ไอ้คนบนดาวนี้ แทนที่จะเอาเวลาไปพัฒนา ทำอะไรอย่างอื่น กลับมาหลงเชื่อและเสียเวลากับต้นไม้ต้นนี้เพียงต้นเดียว ต้นไม้ต้นเดียวจะไปดูแลอะไรได้ ช่างงมงายเสียจริง
    คนที่สองพูดว่า คนบอกดาวดวงนี้ น่าชื่นชมยิ่งนัก การที่เขาดูแลและปกป้องต้นไม้ต้นนี้ นั่นแสดงว่า เขาเห็นถึงคุณค่าของประโยชน์ของต้นไม้ต้นนี้ว่า จะช่วยให้ คนบนดาว อยู่อย่างมีความสุข ช่างเป็นศรัทธาที่แรงกล้านัก

    จาก 2 คน ข้างต้น ก็น่าผมเข้าใจของผมได้ว่า
    1.หากพื้นฐานทางความคิดของคน 2 คน ไม่เหมือนกัน ก็จะมองเรื่องเดียวกัน ได้ทั้ง ความศรัทธา และ ความงมงาย
    2.ความศรัทธา จะก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ เพื่อทำในสิ่งที่ดี หรือเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
    แต่ความงมงายนั้น จะก่อให้เกิด การหลงติด และจะทำให้มัวแต่หวังพึ่งในสิ่งที่งมงาย โดยไม่พึ่งตนเอง

    แต่ ทั้ง 2 ข้อนั้น ต้อง เกิดบนพื้นฐานของควาจริง ที่เป็นความจริงแท้ ไม่ใช่ความจริงจากการบอกเล่าหรือคิดเอง ซึ่งตรงนี้น่าจะเป็นจุดแบ่งแยกที่สำคัญของความศรัทธาและความงมงาย
     
  6. ฮุโต๋

    ฮุโต๋ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +44,568
    โมทนา สาธุ กับ คุณ MEEPHOO
    เห็นด้วยค่ะ เป็นความคิดส่วนตัวเช่นกัน ปฏิบัติก่อน รู้ผลทีละขั้นตอนด้วยตนเอง แล้วจึงเกิดศรัทธา ส่วนงมงาย ว่าตามเขา เขาไหนไม่รู้ โดยที่ตนเองไม่พิจารณาก่อน ก็เลยเหลวไหล การรู้ด้วยตนเองและรู้จริงดีที่สุด
     

แชร์หน้านี้

Loading...