สอบถามเรื่อง "การเจริญสมาธิ ช่วงเข้าสู่ อัปนาสมาธิ"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย aforyou, 13 มกราคม 2010.

  1. aforyou

    aforyou Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +72
    สวัสดีคับ..ผมได้ศึกษาเรื่อง กาีรนั่งสมาธิ และก็ได้บำเพ็ญภาวนานั่งสมาธิเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่พอยิ่งนั่ง จิตกลับเข้าสู่ภวังค์ยากขึ้่น แต่สงบเร็วขึ้น คือ พอนั่งแค่เวลาไม่นานก็รู้สึกสงบ แต่เข้าสู่ภวังค์ของสมาธิ ยากขึ้นกว่าก่อน ทั้งที่เมื่อก่อนจะตรงกันข้ามกับปัจจุบัน ต้องใช้เวลานานมากนับหลายชม. กว่าจะเข้าสุ่ภวังค์นั้น
    ผมเคยนั่งสมาธินานนับ 2 ชม. เคยรู้สึกถึงความว่างเปล่า ร่างกายหายไป ไม่มีตัวเรา มีเพียงความว่างเปล่า และความมืด เหมือนตัวเราลอยอยู่เป็นก้อนกลมๆ ในช่วงนี้นานมาก จนกระทั่งเวลาผ่านไปพอสมควร จึงเหมือนมีแสงสว่างจากจุดเล็ก สว่างนวลกระจาย และเหมือนกับวูบไปทั่วร่าง มันจะรู้สึกปีติ ซ่าบซ่า หากผมเพ่งมันมันจะหายไป แต่หากล่อยมัน ไม่สนใจ มันจะกลับมา แต่ผมมักไปต่อไม่ได้ คือหลุดจากสมาธิทุกครั้ง เมื่อถึงจุดนี้ ผมเป้นคนที่คิดมาก (แค่สะดุ้งตื่น ยังคิดนู่นนี่มากมาย) มีความคิดวิ่งวนตลอด บางครั้งมันเกิดเอง ยากที่จะคุม ซึ่งเหตุนี้ทำให้ต้องหลุดจากสมาธิทุกครั้ง เลยอยากถามผู้รู้ ว่าควรปฏิบัติเช่นรัย และเดี๋ยวนี้เข้าสมาธิยากขึ้น วานช่วยบอกทีคับ
     
  2. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,653
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,019
    ไม่ต้องไปกําหนดหรอกครับว่า อยากนั่งเท่านั้นเท่านี้ ตอนปฏิบัติจับอยู่ที่ลมหายใจพอครับ ไม่ต้องไปตามเขาว่า กว่าเราสงบต้องทําเวลาเท่านี้ๆ อันนี้ไม่ดีครับ เป็นได้อยากให้ จขกท เดินจงกรมก่อนนั่งสมาธิครับ จะทําให้สงบได้เร็วขึ้นครับ ก้าวซ้าย พุท ก้าวขวาโธครับ ลองนําไปปฏิบัติดูครับ เดินสักพักจนรู้สึกเริ่มนิ่งเเล้วก็ไปนั่งสมาธิต่อครับ เเต่อย่่าไปบังคัุบว่าต้องสงบครับ ยิ่งไปบังคับยิ่งจะทําให้ฟุ้งครับ เจริญในธรรมครับ
     
  3. KritZ_2530

    KritZ_2530 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +293
    ฌาน3 ก็ขึ้นฌาน4

    ทรงอารมณ์เดียว ถ้าไม่ทรงอารมณ์เดียวฌาน4 มันก็จะหลุด

    ฌาน3เข้าได้บ่อยๆก็ชำนาญแล้ว
    ต่อไปก็ทรงอารมณ์เดียว จับอารมณ์เดียวที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
    ฟุ้งซ่านไม่ได้เชียวหล่ะ

    ถ้าเกิดความฟุ้งซ่าน จากฌาน4 มันก็จะตกหล่นเหลือฌาน1
    พอจะขึ้นไปใหม่(ในรอบนั่งเดียวกันนั่นแหละ ยังไม่ได้ออกจากสมาธิไปไหน)
    ช่วงรอยต่อระหว่างฌาน3 ขึ้นฌาน4อีก
    มันจะขึ้นยาก แล้วก็เหนื่อย

    ลองเปลี่ยนไปเดินจงกรมหรือทำอย่างอื่นก่อนแล้วค่อยมานั่งใหม่อีกรอบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2010
  4. KritZ_2530

    KritZ_2530 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +293
    กสิณแต่ละกองมันก็มีคำภาวนาแตกต่างกันไป
    ตำรามันก็มีเขียน ว่าแต่ละกองมันภาวนาว่าอย่างไร
    อาโลกสิณังๆๆๆๆ เตโชกสิณังๆๆๆๆ
    ลองเล่นกับมันดูในแต่ละกองให้เป็นสมาธิ
    เผื่อมันจะช่วยอะไรได้บ้าง
    (อันนี้เอามะพร้าวมาขายสวนอีกที)


    ถ้าจะรวมจิตเป็นสมาธิให้แกร่งขึ้น ลองใช้ "สัมปจิตฉามิ"
    หายใจเข้า "สัมปจิต"
    หายใจออก "ฉามิ"

    ทำเหมือนอย่างที่เคยนั่งมานั่นแหละ ลองดู

    ถ้าเปลี่ยนอารมณ์กลางสมาธิ มันจะมีค่าเท่ากับ ตกลงมาสู่ฌาน1

    แต่จะตกลงมาสู่ฌาน1นี่ จิตก็จับไปด้วยว่าเราตกลงมาด้วยเหตุอะไร
    ฟุ้งซ่านกับภาพนิมิตวูบวาบในดวงตา
    หรือมีภาระอะไรคั่งค้างอยู่ภายนอกก่อนที่จะเข้ามานั่ง(จิตมันก็เลยไปจับ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2010
  5. s.orr

    s.orr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +327
    มันไม่ได้เข้ายากขึ้นหรอก แต่มันมีสติขึ้น ทำให้เหมือนจะไม่สงบ แต่จิงแล้วมันสงบโดยมสติรู้่พร้อม อาการที่คุนเรียกว่าภวังค์ มันอาจจะเป็นการวูบลงไปแช่นิ่งเฉยยู่ โดยไม่มีสติ แต่เมื่อทำไปๆนานเข้า สติพร้อม ก็จะไม่ตกภวังค์ คุนอย่าลืมนะว่า สมาธิที่แท้ ต้องมีสติรู้พร้อม ควรแก่งาน คำว่าภวังค์ มันคือความสงบที่สงบลึก จิตค่อยละเอียดลงๆไป สงบลงๆไป แต่ทั้งนี้ก็มีสติรู้พร้อมชัดเจน ถ้าอาการทีุ่คุนว่าสงบ แต่ไม่ตกภวังค์ แปลว่าสติคุนมีพร้อม จนทำให้ดึงรั้งไม่ให้ตกภวังค์ สมาธิที่ตกภวังค์จิต เป็นสมาธิที่ไม่มีสติ

    เรื่องการที่เห็นนิมิตร หรือสัมผัสถึงสิ่งต่างๆ ห้ามจิตใจหวั่นไหว คุนต้องคุมจิตให้คงที่ให้ได้ หรือไม่ก็ไม่ต้องใส่ใจมันซะเลย ปล่อยให้มาแล้วก็ปล่อยให้ผ่านไป มันจะเกิดให้เห็น หรือมันจะแวบหายไปก็ช่างมัน พอทำจิตช่างมันไม่ใส่ใจได้แล้ว ก็จะมีหนทางต่อไปเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2010
  6. ฅนล้านนา

    ฅนล้านนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    264
    ค่าพลัง:
    +1,000
    "...ได้ความรู้อีกเยอะเลยครับสำหรับผม"
     
  7. Deejang

    Deejang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +311
    เมื่อท่านมีสมาธิแล้ว ท่านควรต่อยอดจากสมาธินั้น ด้วยการพิจารณาให้เห็นหลักของ

    ความจริง
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คนนั่งสมาธิ ต้องฉลาด ไม่ใช่ เอาเกณฑ์แต่ว่า มันสงบขึ้่น ตัวหายไป เป็นเกณฑ์วัดว่ามันเจริญขึ้นของสมาธิ

    ต้อง ฉลาดทราบว่า
    1 สมาธิ มีผลอย่างไร ทำให้ใจเราเบิกบานหรือไม่ ถ้าทำแล้วจิตใจเบิกบาน ตั้งมั่น คล่องแคล่ว นั่นคือ สมาธิที่ถูกต้อง ไม่ใช่ว่าไปสังเกตุว่า มันนิ่งไป ตัวหายไป อย่างเดียว

    2 ต้องฉลาดว่า ทำสมาธินี่เพื่อ นำไปใช้ประโยชน์ในการครองชีพ เช่น ทำให้เป็นคนมีความอดทนมากขึ้น มีสมาธิมากขึ้น ไม่วอกแวก ทำให้เป็นคนมีความมานะพยายามมากขึ้น

    3 ต้องฉลาด รู้ตัวว่า สิ่งที่เรากำลังอยู่ เป็นไปเพื่ออะไร

    นี่ต้องรุ้จักสังเกตุ ไม่ใช่ ทำมันตระพรึดตระพือไป เพราะคิดว่า แบบนั้นดีแบบนี้ดี ตามความหลงคิดไปเอง
     
  9. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    จิตสงบ สบาย ไม่ไหลไปไหน นิ่ง นิ่งแปลว่าไม่สั่นไหว รู้จักไหมสิ่งที่ไม่สั่นไหว นาฬิกาที่หยุดเดิน เคยรู้สึกไหม ไม่มีเวลา ไม่รู้ไม่สนเวลา เพราะสงบ สบาย อิ่มแล้วในสถานะนี้ก็ออกมาเอง แต่จิตจะยังสงบ สบายอยู่อย่างนั้น
    สิ่งที่พบเห็นทั้งหลายนั้น เป็นความคล้อยไปของความคิด ไม่ใช่จิต มีปิติ บ้าง เห็นสิ่งใดแล้วเกิดความสงสัยบ้าง การสร้างสมาธิ จึงเป็นการทำสติให้สมบูรณ์พร้อม ระงับจากความคิดทั้งปวง มันผ่านมาแล้วมันก็ผ่านไป เมื่อยังมีนิวรณ์อยู่มันจะมาเรื่อยๆ แต่เมื่อ สติ กำหนดรู้แล้วว่าจิตอยู่ไหน และแน่วแน่ต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิตนั้น จะภาวนา หรือ จะทำนิมิต หรือ จะจับความรู้สึกทางกาย เหมือนกันเลย และผลคือ เบา แต่ไม่ใช่ล่องลอย สงบแต่ไม่ใช่หลับไหล
    อนุโมทนาครับ
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เห็นด้วยกับคุณ s.orr แต่จะเอาความเห็นด้วยอย่างเดียวก็ไม่เหมาะ มาดู
    ขอเท็จจริงบางประการกัน

    จากความที่ว่า โสดาบันมีสมาธิเล็กน้อย ....(ละไว้)....อรหันต์ชื่อว่ามีสมาธิ

    และจากความทีว่า อรหันต์นั้นไม่มีภวังค์

    ดังนั้น คำว่า การมีสมาธิ มันก็ต้องแปลว่า ไม่มีภวังค์
    ซึ่งตรงนี้ คุณจะเห็นว่า คุณน่าจะได้ยินได้ฟังคุณลักษณะของ ภวังค์ มาไม่
    ถูกต้อง ชอโทษนะ ภวังค์นี่คือความมืดมัว ซึ่งไม่ได้หมายถึงแสงสว่างไม่
    สว่างอย่างเดียวนะ และคำว่ามืดมัวนี้มีคำไทยโบราณใช้กันคือ สย ไสย สยาม
    เนี่ยะ มันเป็นคำแปลว่า ดำ

    * * * * *

    ทีนี้ มาดูปัญหาหลักๆ ที่คุณพิจารณาออกมาได้อย่างดี ไม่ใช่ปฏิบัติมาไม่ดีนะ
    อย่าเข้าใจตัวเองผิด สิ่งที่คุณปฏิบัติมาแล้วสรุปออกมาได้นี่ เขาเรียกว่า
    ปฏิบัติมาได้อย่างดี

    มาดูที่คำว่า สะดุ้ง ตรงนี้บอกอะไรได้ มันก็เป็นการบอกว่าสภาวะก่อนหน้าที่
    เกิดขึ้นอยู่นั้น ไม่ใช่สภาวะของสมาธิ แต่เป็นสภาวะของภวังค์ ตรงนี้คุณ
    ลองสังเกตุ หากตอนไหนคุณมีสมาธิจิต คุณจะคิดงานอ่านเขียน ลุกยืนเดิน
    นั่งนอน ได้อย่างเนียนๆ เรียบๆ ลื่นๆ .....ผิดกลับการจมในสิ่งที่มัวๆมืดๆหม่นๆ
    จับต้นชนปลายไม่ถูก...ตรงนี้เวลารู้สึกตัวจะมีอารมณ์สะดุ้งปรากฏทุกครั้ง ไม่
    สะดุ้งที่จิต ก็จะสะดุ้งที่กาย

    การสะดุ้งนั้น นอกจากสะดุ้งกาย ก็มีสะดุ้งที่ใจ หากดูสะดุ้งที่ใจได้มันคืออะไร

    ท่านว่า คือการเห็น การสะดุ้งออกจากบาป(อกุศลที่ห้อมล้อมอยู่ขณะนั้น) ซึ่ง
    มีชื่อเพราะๆ ว่า หิริ โอตัปปะ ดังนั้น เห็นการสะดุ้งได้บ่อยๆ ก็ฝึกธรรมะได้
    เหมือนกัน อย่าไปดูถูกสิ่งเล็กๆน้อยๆที่ระลึกเห็นได้ เอามาฝึกให้เกิดสติได้หมดแหละ

    มาดูคำนี้ต่อ "ผมเป้นคนที่คิดมาก" นี่เป็นประโยคดบวแดงเลย ให้คะแนน
    เต็มร้อยตรงนี้ คุณเอาตรงนี้ตั้งเป็นหลักแทน ให้รู้จักตนไปเลยว่า มีอาสวะ
    กิเลสคือ เป็นคนคิดมาก ตรงนี้เป็นอาสวะใหญ่ เป็นภพใหญ่ และ อาสวะ
    ก็ดี ภวสวะ(ภพ) ก็ดี เราปฏิบัติธรรมเพื่อให้สิ่งเหล่านี้มันจางคลาย จางคลาย
    นะ ไม่ได้พูดว่าหายไป เดี๋ยวจะตกใจคิดว่าพูดให้หยุดคิด เราฝึกเพื่อให้มัน
    จางคลายไปจากพฤติจิตของเราพอ เพราะมันเป็นต้นทางปฏิบัติที่จะใช้แทง
    ตลอดไปเห็นสมาธิตัวแท้ๆ เห็นสิ่งที่สะอาดแท้ๆ อีกทีหนึ่ง

    ที่นี้ เป็นคนคิดมาก แล้วสังเกตอย่างไร คุณนั้นสังเกตทางเป็นอยู่เหมือนกัน
    ตรงที่คุณเห็นว่า อยู่ดีๆมันคิดเอง ตรงนั้นแหละ ให้ระลึกดูสภาวะอยู่ดีๆมัน
    คิดเอง พระท่านให้ปล่อยมันดำเนินไป อย่าไปแทรกแซง ปล่อยมันคิดเอง
    ไปสักพัก เมื่อมันอิ่มในอารมณ์คิดนั้นๆ มันจะหยุดของมันเอง ตอนที่มันหยุด
    คิดหากเราระลึกดูอยู่ตลอด ก็สังเกตความแตกต่างของสภาพจิตที่เกิดขึ้น
    ระหว่างที่มันคิดไปเอง กับ ตอนที่มันหยุด ....อารมณ์ตอนที่มันหยุดจะเป็น
    อารมณ์ที่ปราณีต หากจิตมันเห็นตรงนี้บ่อยๆ จิตมันจะรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่มัน
    ควรเห็นควรเป็น ทำบ่อยๆ มันจะได้รับการอบรมให้หยุดอยู่ที่รู้สึกตัว มีสติ
    มีสมาธิขึ้น ตามลำดับ ...แล้วจะเห็นว่า การเป็นคนคิดมากจะจางคลายลง
    ทั้งนี้เพราะมันไม่อร่อยเท่าอารมณ์สงบ และมันก็เป็นโทษมากกว่าอารมณ์
    สงบ ....ก็จะสอดคล้องกับหลักการปฏิบัติ เราพิจารณาให้เห็นความอร่อย
    ของอารมณ์ เห็นคุณ และโทษ เมื่อเห็นแจ้งซึ่งโทษมันก็จะละวางของมัน
    เราก็จะพ้นจาก ภวสวะ อาสวะ ภาวนาตัดภพชาติกรรมที่เราหลงทำอยู่ออก
    ไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นทางปฏิบัติได้โดยไม่ต้องถามใครอีก

    อ้อ อย่าลืมดูตรงข้อห้ามนะ แล้วก็ ดูตรงข้อศีลด้วย เพราะว่า การที่มันคิด
    ไปเองนี่หากมันคิดไปทางผิดศีลละก้อยุ่ง แต่หากมันคิดมาทางการงาน หน้าที่
    การทำดีนี่ ปล่อยมันแล้วดูมัน ถ้ามันคิดไปทางผิดศีลหรือฝุ้งซ่านไปก็ต้อง
    ระงับไว้ก่อน อุบายนั้นมีอธิบายแล้วในกระทู้ที่ชี้ให้เพิ่มเติมนี้

    http://palungjit.org/threads/การปฏิ...ปู่ดูลย์-อตุโล-วัดบูรพาราม-จ-สุรินทร์.222379/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2010
  11. KritZ_2530

    KritZ_2530 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +293
    นั่งต่อไปเรื่อยๆให้ได้ทุกวันนั่นแหละดีแล้ว คนอื่นเขายังไม่ได้เท่าเอ็งหรอก
    ที่นี่ไม่ต้องรีบไปว่าจะตัดสินใจว่าจะอะไรยังไง อย่างที่บอกไปนั่นแหละ

    ค่อยๆใจเย็นๆว่าให้เลือกไปที่พุทธภูมิหรือนิพพาน

    ถ้าเหนื่อยนักก็เลือกนิพพาน แต่ถ้ากำลังใจสูงนี่ก็ดิ่งเข้าพุทธภูมิไป

    เข้าพุทธภูมินี่ เขาไม่ได้เรียกว่า ทิ้งนิพพานนะ

    พุทธภูมิ = นิพพาน + จิตเมตตา

    ถ้าใจของเธอมีจิตเมตตาช่วยเหลือสรรพสัตว์โลกผู้ทุกข์ยากเป็นกำลังก็ดิ่งเข้าพุทธภูมิเลย!!!

    เรื่องที่ว่าทรงอารมณ์ยากนี่ต้องใช้ อุเบกขา+เอกัคคตา เข้าตัดพวกนิวรณ์5 ที่มันฟุ้งซ่านอยู่

    เออ ระวังพวกวิปัสสนูปกิเลสด้วยหล่ะ!

    สมาธินี่ถ้าทำแล้วมันก็ได้ทั้ง 4 อิริยาบถแหละ คือ เดิน นั่ง ยืน นอน(ตะแคงขวา)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2010
  12. KritZ_2530

    KritZ_2530 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +293
    คงต้องเสริมด้วยการไปเดินจงกรมกับทำกรรมฐานกลางดึก แล้วก็เพ่งไปในกองความมืด

    ตรงไหนคิดว่าน่ากลัวก็เพ่งจนกว่าจะหายกลัวไป จนจิตเป็นสมาธิ

    จิตมันจะคิดไปต่างๆนานาล่วงหน้าว่ามีอาการอย่างนั้นอย่างนี้ ความจริงมันอาจจะไม่มีอะไรเลย

    ไปทำกรรมฐานข้างเมรุเผาศพหรือในป่าช้า เดินจงกรมในความมืดก็ดี

    หาสถานที่ "สงัด สงบ วิเวก วังเวง" แล้วลองฝึกดู

    ฝึกบ่อยๆอุปาทานกับความฟุ้งซ่านจะค่อยๆลดลงไปเอง
     
  13. KritZ_2530

    KritZ_2530 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +293
    ผลของการปฏิบัติที่ทำมาทั้งหมดนี้ จะมีความหมายมากขึ้นเป็นทวีคูณ
    เมื่อมันเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขของผู้อื่นเป็นสำคัญ
     
  14. aforyou

    aforyou Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +72
    ขอบคุณสำหรับคำตอบของทุกๆ คนนะคับ. ตอนปฏิบัติสมาธิ เมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง ผมรู้สึกได้ว่ามีภาพความคิดต่างๆ ผุดเข้ามาเอง โดยที่ผมไม่ตั้งใจ มันเกิดเอง และดำเนินไปเอง และในขณะที่ผมไม่รู้สึกตัว พอผ่านไปสักระยะ พอรุ้สึกตัว ผมก็จะบังคับมันให้กลับมาทำสมาธิเหมือนเดิม ทำให้การนั่งสมาธิหยุดชะงักบ่อยครั้ง ขอบคุณมากคับ ผมได้ความรู้มากมายในการปฏิบัติต่อไป..ขอบคุณคับ
     
  15. aforyou

    aforyou Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +72
    บางครั้งที่ผมตื่นมาจากการนั่งสมาธิในช่วงกลางคืน วันนั้นผมไม่อยากคุยกับใคร มันอาจบรรยายมาไม่ตรงนะคับ แต่มันมีความสงบ นิ่ง เหมือนมีน้ำไหลผ่านอยางช้าๆ ในร่างกาย ทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความสงบ และความคิด การมองก็แปลกไป ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ จนกระทั่งเย็น ถึงมืด ถึงกลับมาคิดแบบเดิม ทั่วไป..ขอบคุณคับ
     
  16. KritZ_2530

    KritZ_2530 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +293

    ใช่วิปัสสนูปกิเลสตัวที่เรียกว่า ปัสสัทธิ หรือเปล่า?

    สงัดจากอารมณ์ข้างในแล้ว
    หลังถอดจากการนั่งสมาธิมาอยู่กับโลกภายนอก
    จิตก็ยังทรงอารมณ์นั้นอยู่จนมีผลต่อการทำงาน
    จนไม่เป็นอันกินอันนอน

    เอาอุเบกขาเข้าข่ม แ้ล้วพยายามทรงอารมณ์อื่นให้เป็น เอกัคคตา,ฌานสี่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2010
  17. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846


    สวัสดีคับ..ผมได้ศึกษาเรื่อง กาีรนั่งสมาธิ และก็ได้บำเพ็ญภาวนานั่งสมาธิเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
    ..อนุโมทนาด้วยครับ


    แต่พอยิ่งนั่ง จิตกลับเข้าสู่ภวังค์ยากขึ้่น แต่สงบเร็วขึ้น คือ พอนั่งแค่เวลาไม่นานก็รู้สึกสงบ แต่เข้าสู่ภวังค์ของสมาธิ ยากขึ้นกว่าก่อน ทั้งที่เมื่อก่อนจะตรงกันข้ามกับปัจจุบัน ต้องใช้เวลานานมากนับหลายชม. กว่าจะเข้าสุ่ภวังค์นั้น

    คำว่าภวังค์ ... เราฝึกใหม่ ๆ อย่าเพิ่งไปสนใจครับ วางๆไปผ่านๆๆ ให้คอยสังเกตุ อยู่ที่กรรมฐานที่เราใช้เป็นหลัก หาก บริกรรม ก็ให้อยู่กับคำบริกรรม

    หาก รู้ลมหายใจ ก็ให้คอยรู้สึกตัวที่ลมหายใจเข้าหายใจออก

    หาก ถนัด รูปนิมิตร ก็ให้ รู้อยู่ที่รูป นิมิตร ให้ชัดเจน กำหนดให้ชัดเรื่อยๆ

    มันจะเข้าภวังค์ หรือ ไม่เข้า มันจะโยกจะเยก อะไร เหว๋อๆอะไร ก็อย่าไปสนใจ หัวจะทิ้ม ยังไง ก็ให้รู้อยู่ที่กรรมฐานที่เราใช้ๆ

    หากแม้ไม่เข้าภวังค์ ก็ให้ รู้อยู่แต่กรรมฐานที่เราใช้ ... การจะเข้าหรือไม่เข้าภวังค์ ตรงนี้ไม่ใช่ สารระ สาระในขั้นต้น อยู่ที่ องค์กรรมฐาน ที่เราใช้


    ผมเคยนั่งสมาธินานนับ 2 ชม. เคยรู้สึกถึงความว่างเปล่า ร่างกายหายไป ไม่มีตัวเรา มีเพียงความว่างเปล่า และความมืด เหมือนตัวเราลอยอยู่เป็นก้อนกลมๆ ในช่วงนี้นานมาก จนกระทั่งเวลาผ่านไปพอสมควร จึงเหมือนมีแสงสว่างจากจุดเล็ก สว่างนวลกระจาย และเหมือนกับวูบไปทั่วร่าง มันจะรู้สึกปีติ ซ่าบซ่า
    .. ตรงนี้ ถือว่าดีครับ หาก ทำให้ได้แบบนี้บ่อยๆ ก็ให้คอยสังเกตุ สังเกตุรู้อยู่ที่ใจเราเนืองๆ หากรู้สึกว่า อยาก หรือ ยินดีที่ได้แบบนี้ อยากเข้าไปแบบนี้อีก มันก็จะเข้ายาก ... เพราะฉั้น มันจะได้หรือไม่ได้ ก็วางๆไปก่อน เอาอยู่แค่องค์กรรมฐาน เราเป็นพอ

    สังเกตุดูว่าหากเราอยู่แค่องค์กรรมฐานเรา มันจะเข้าแบบเดิมข้างต้นนี้อีกได้ง่าย
    สังเกตุดู

    เมื่อเราเข้านั่งสมาธิแล้วเกิดแบบนี้อีกบ่อยๆ ก็ทำให้ได้แบบนี้บ่อยๆ แล้วสังเกตุไว้ที่ใจเรื่อยๆ


    หากผมเพ่งมันมันจะหายไป... ตรงนี้ก็จะเห็นว่า มันเกิดยินดี พอยินดีก็ชอบใจในสิ่งนั้น มันก็จะหลุด จากตรงนั้นทันที ต้องตั่งใหม่ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ให้สังเกตุ ใจที่มันยินดี ยินร้าย บ่อยๆ หากเกิดขึ้นก็สังเกตุที่ใจไว้เนืองๆ
    หายไปหรือไม่หายก็ไม่ใช่ สาระ สาระคือ สังเกตุ ยินดี ยินร้ายที่ใจเรา


    แต่หากล่อยมัน ไม่สนใจ มันจะกลับมา..ก็จะเห็น ว่าหากเราแค่รู้ อยู่ที่สิ่งนั้น มันก็จะมีอะไรใหม่ๆมาให้รู้ มาให้คอยเอ๊ะ ใจบ่อยๆ ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร ก็ให้คอยสังเกตุ ใจเราเช่นเดิม มีอะไรปรากฎก็ให้รู้อยู่ที่ ใจ

    ตรงนี้ จะอธิบายเป็น 2 กรณี ในเบื้องต้น

    กรณี ที่ 1 หากอยู่ในช่วงเริ่มใหม่ หาก มีอะไรปรากฎ ก็ให้รู้อยู่ ที่องค์ภาวนา หรือองค์กรรมฐาน ที่เราฝึกมานั้น ให้ชำนาญ

    กรณีที่ 2 หาก มีความชำนาญ ในกรณีที่1แล้ว ก็ให้สังเกตุ ลงมาที่ใจ สังเกตุ ยินดี ยินร้าย เฉยๆที่ปรากฎ กับใจ ในแต่ละ ขณะ สังเกตุเมื่อ รู้สึกที่ใจ เพียง รู้อยู่เฉยๆ ที่ใจ แม้อะไรจะปรากฎ
    ลักษณะการรู้ นี้ ให้เพียงใช้เหมือนหางตา ชำเรืองเอา อย่าไปตั้งท่าคอยรู้ที่ใจ ให้คอยแบบชำเรือง รู้ลงไปเบาๆแทน แต่ สิ่ง ที่ต้องจด จ่อ คือ กรรมฐาน หรือองค์ภาวนาที่เราใช้ มันจะสลับไปสลับมา ระหว่างองค์กรรมฐานที่เราใช้ และการชำเรืองรู้ ลงที่ใจ สลับไปสลับมา



    แต่ผมมักไปต่อไม่ได้ คือหลุดจากสมาธิทุกครั้ง เมื่อถึงจุดนี้
    ..ก็เป็นธรรมดาครับ เมื่อ ยิ่ง อยาก ยิ่งไม่ได้ ก็วางๆ ลง ทำเริ่มตั้น ที่ ศูนย์เสมอ



    ผมเป้นคนที่คิดมาก (แค่สะดุ้งตื่น ยังคิดนู่นนี่มากมาย) มีความคิดวิ่งวนตลอด บางครั้งมันเกิดเอง ยากที่จะคุม ซึ่งเหตุนี้ทำให้ต้องหลุดจากสมาธิทุกครั้ง เลยอยากถามผู้รู้ ว่าควรปฏิบัติเช่นรัย และเดี๋ยวนี้เข้าสมาธิยากขึ้น วานช่วยบอกทีคับ
    ... ตรงนี้ต้องดูด้วยครับ ว่า แต่ก่อนที่เรายังไม่ฝึกกรรมฐาน เราคิดมากแบบนี้หรือเปล่า คราวนี้ มาดูว่า เสต็ปจากการคิดนี้เป็นยังไง

    กรณี ที่1 ก่อนฝึกกรรมฐาน เป็นคนชอบคิดมาก จริตการฝึกของเรานี้ เราจะฝึกแบบ ใช้ อารมณ์ความคิด เป็น อารมณ์ กรรมญานไปเลยก็ฝึกได้

    การฝึกแบบนี้ จะใช้การ ตามรู้ ความคิด ไปเลย เช่น ว่า คอยระลึกรู้ตามความคิด มันคิดอะไรก็ ตามรู้ทันไป รู้ไปเรื่อยๆ เราฝึกได้ ตลอดทั้งวั้น


    กรณี ที่2 กรณี ที่เราฝึกกรรมฐานมาบ้างแล้ว คอยสังเกตุ ตรงนี้นะ

    หากเรา ฝึกกรรมฐาน หากกรรมฐานเรามีความชำนาญขึ้น สังเกตุ ว่า กรณี ที่เราใช้องค์กรรมฐาน จากการบริกรรม ให้สังเกตุ ว่าพอคำบริกรรมมันหายไป แล้วอยู่ๆมันกลับมีความคิด ฟุ้งๆ ออกมาเรื่อยๆ ซึ่งความคิดนี้ มันเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจให้คิด แต่มันกับคิดไปเอง การ คิดนี้ไม่ว่า มันจะคิดในเรื่องกุศล หรือ อกุศล หรือ กลางๆ แต่มันเป็นความคิดที่เราไม่ได้ตั้งใจ ตรงนี้จะเรียกว่า วิตก เมื่อ มีวิตก วิจารก็จะตามมา เมื่อมีทั้งสอง ปีติก็จะตามมา เมื่อมีปีติ สุขก็จะตามมา มันจะเป็นอารมณ์วนไปเรื่อยๆ ในอารมณ์ องค์ 5 ของ ปฐม ฌาน ความคิด ที่เกิด ขึ้นมาในขณะ ที่ไม่ได้ตั้งใจ นี้ มันไม่ได้เป็นความฟุ้ง ซ่าน แต่เป็นการพัฒนาในความก้าวหน้าของ สมาธิ จะเป็นรอยเชื่อม ต่อ ของการเข้าสู่ภูมิ วิปัสนา

    ... สังเกตุ ว่าเมื่อ มีความคิดแบบนี้ขึ้นมาโดยไม่ตั้ง ก็ให้ คอยตามรู้ทันความคิดนั้นอยู่ มันจะคิดอะไรก็ รู้อยู่ เฉยอยู่ รู้เฉยๆ มันคิดไรมาก็ตามรู้ทันไป

    คิดดีก็รู้เฉยๆอยู่ คิดชั่วก็รู้เฉยอยู่ คิดกลางก็รู้เฉยอยู่

    สังเกตุ ต่อไปว่า หากเรารู้อย่างนี้ ไปเรื่อยๆ มันจะเริ่ม วาง ความคิด คือ วิตก วิจาร ลงไปทีละอย่าง
    เมื่อมันวางลงอย่างนี้แล้ว มันจะก้าวขั้นฌานที่ 2 จะมีแต่ปีติ ที่ซ่าน อยู่ได้ ตลอด เป็นชั่วโมง ซาบซ่าน ยังกะไฟช๊อต เมื่อเข้า ปีติอย่างแรงกล้า ก็สังเกตุ ที่ใจเหมือนเดิม มันจะมีไรมาก็รู้เฉยๆอยู่ รู้เฉยๆ ระลึกรู้เฉยๆ รู้อยู่ที่ใจ เหมือนเดิมเหมือนที่ รู้ ในช่วง วิตก วิจาร เมือ ความรู้สึกซ่าน ซ่าที่มันเรง หากเรารู้อยู่เฉยๆที่ใจ มันก็จะมีความเบา ความโล่งๆ เย็น ที่กลางอกจะเบาๆซ้อฟ ตรงนี้หากเรามีความชำนาญ จะสัมผัสได้ถึงความเย็น ซอฟๆ ที่กลางอก เมื่อ ความซ่านๆ ซ่าๆเบา ลง จะรู้สึกถึง สุข สะบายๆ สงบ โล่ง ก็เหมือนเดิม สุขสบายจะมาก็รู้อยู่ ที่ ใจ รู้ อยู่เฉยๆที่ใจ เมื่อไปเรื่อยๆอีก มันจะเร่ม วาง สุขลง เหลือแต่รู้เฉยๆ มีแต่รู้เฉยๆที่ ใจ รู้อยู่อย่างนั้น สภาพเหมือนกับไม่มีกายอยู่ มีแต่รู้
    รู้อย่างเดียว สภาพ ตรงนี้เรียกว่า อยู่ในอัปนาสมาธิ หรือก้างลงสู่ฌาน ที่4
    มีแต่ตัวรู้ ความรู้ไม่มี มันเป็นความแนบแน่น

    แต่ในลักษณะ เราฝึกใหม่ๆ เพราะไปเอ๊ะ ใจ มันก็จะ หลุดจากความแนบแน่นทันที

    สภาพ นิมิตรที่ปรากฎ แต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน แต่องค์ประตูอัปนาจะเหมือนกันคือแสงสว่างจ้า มันจะสว่างยังกับอยู่ในดวงอาทิตย์ ก็เมื่อ เข้าองค์แห่งฌาน4 ที่แท้จริง ซึ่งตรงนี้ต้องอาศัยการทำ บ่อยๆ เนือง ๆ ขนชำนาญ

    หากเมื่อทำได้แบบนี้ ก็ให้ สังเกตุ ที่ ใจ บ่อย ๆ ทุกครั้ง ที่ก่อนออกจากสมาธิ ก็สังเกตุใจเราทุกครั้ง

    ตรงนี้ มีข้อควรระวังนิดนึง หากเมื่อ เข้าสู่ความเป็นอุเบกขาได้ หาก อยู่ๆก็นึกลืมตาแล้วลุกออกโดยทันที ตรงนี้อย่ากระทำ หากบ่อยขึ้น มันจะทำให้ ปวดหัว จากท้ายทอยขึ้นมา เรื่อยๆ จนสะสมเป็นการเหม่อๆเฉยฉา จะมีอาการไม่เอางานเอาการ จะมองอย่างเฉยๆ ซึ่งตั้งนี้ มันเป็นการไปติด อาการอุเบกขาของอารมณ์ฌาน ไม่ได้สลัดให้หลุดสนิท ในการออก

    เพราะฉนั้นการ จะออกจากสมาธิทุกครั้ง หากเข้าถึงอุเบกขาได้ ก็ต้องสลัดให้หลุดทุกครั้ง จน ชำนาญ ก่อนออกสมาธิ
    การจะสลัดนั้น ก็ต้องถอย มาอยู่ที่องค์กรรมฐาน แล้ว ค่อยๆ หายใจ ลึกๆ ให้เต็มปอด ยาวๆ หายใจออก ยาวๆ ซัก 5-6 รอบ จึงค่อยๆ ลืม ตา แล้วก็สังเกตุใจตัวเองแป๊ปนึง จึงค่อยลุกออกจากการนั่งสมาธิ

    การจะเข้าอัปนาโดยชำนาญนั้น ต้อง ฝึกบ่อยๆ ต้องที่สถานที่เอื้ออำนวย จึงจะทำได้ ดี และ แม่นยำ ก็ต้องเพียร ต่อไปครับ

    มันถึงจะมีความคล่องตัว จิตจะควรแก่การงานมาก ทำอะไรก็จะคล่องแคล่ว ....
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มาให้คะแนนกันต่อ ตรงที่คุณกล่าวอธิบายเพิ่มมาว่า ความคิดที่มันเกิดเอง
    นั้น เกิดภายใต้ความไม่รู้เนื้อรู้ตัว แล้วพอรู้สึกตัว ก็จะบังคับมากลับมาทำ
    สมาธิ ...ตรงนี้ต้องให้คะแนน เพราะสามารถกล่าวสิ่งที่เกิดได้อย่างตรงไป
    ตรงมา ตรงนี้เป็น จิตอุชุกตา การซื่อตรงต่อการระลึกเห็น สิ่งที่เป็นปัจจัตตัง
    แถม ไม่เผลออวดปัจจัตตังว่าเป็นสิ่งที่คนอื่นแตะต้องไม่ได้เหมือนนักสมาธิ
    ที่อัตตามากทั่วๆไป ชมไปแล้ว...อย่าดีใจนะครับ ให้รีบวางไปเลย

    มาดูกันต่อ ว่า จังหวะนี้แหละ ที่หลวงตาดูลย์สอนให้ดู จะเห็นว่า แม้จะ
    ไม่รู้เนื้อรู้ตัวก็จริง แต่เมื่อมันอิ่มของมันขึ้นมา ขณะจิตแว็บเดียว ชั่วฟ้าแล๊บ
    นั้นสติจะเกิด และทันทีที่สติเกิด จังหวะขณะจิตนั้นเข้าสู่สัมมาสมาธิไปแล้ว
    แต่ด้วยเพราะความไม่รู้ว่า ขณะจิตที่สติเกิดนั้นมีสัมมาสมาธิแล้ว เกิดการตื่น
    เบิกบานขึ้นแล้ว เราก็หลงไปจากฐานจิต เกิดอุปทานขึ้นมาด้วยความฉันท
    ราคะในรูปสมาธิ จิตก็วิ่งไปคว้า ไปควานสมาธิขึ้นมาทำ ตรงนี้คุณจะรู้สึก
    เลยว่าต้องออกแรง ต้องบังคับ การปฏิบัติของเราจึงแฉลบออกจากฐานจิต
    ที่เป็นสัมมาสมาธิไปท้างซ้ายที(ข้างหลง ข้างกิเลส) ไปทางขวาที(ข้างภพ
    ภูมิที่ดี)

    ตรงนี้ก็จะเห็นว่า มันไม่ง่ายที่จะอยู่ตรงกลาง แต่ไม่ยากหรอกนะที่จะทำการ
    เห็น และทำความเข้าใจ หากเข้าใจแล้วว่าพระท่านสื่อถึงอะไร จุดไหนที่ควร
    อยู่ให้มากๆ เพียรให้เกิดมากๆ การภาวนาจะรวดเร็ว และ ไม่ต้องถามใครอีกเลย
    ในเรื่องวิธีปฏิบัติ (คนละอันกับการเสวนาธรรมตามกาลนะ การสนทนาธรรม
    ตามกาลยังต้องทำอยู่ ทั้งนี้เพื่อให้เราได้มีโอกาสก้าวหน้าได้เร็วยิ่งๆไปอีก)

    สรุปนะ สติเกิดตอนที่ระลึกได้ว่าหลงไป หลงไปคิด จิตไปเห็นภวสวะว่าจิต
    กับหลงอยู่ในภูมิหลงการคิด แล้วชั่วฟ้าแลบ งูแลบลิ้น สติ นั้นก็หายไป เกิด
    การหลงภพภูมิสวะที่ดีเข้ามาแทนที่ หากมีสติก็รู้อีกว่าหลงไปในภพภูมิที่ดี
    แล้ว แต่อย่างเดิมนะ อย่าแทรกแซง อย่าห้าม ปล่อยมันไป มันจะหลงไป
    เดี๋ยวมันอิ่มมันก็เกิดสติขึ้นมาอีกครั้ง ไม่ว่ามันจะหลงไปทางไหนก็ตาม เราก็
    ดูสภาวะคู่นี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าสติจะระลึกสภาวะตรงกลางได้ มันก็จะเห็นฐานจิต
    จนจำสภาวะฐานจิตได้ ก็จะรู้ว่า จิตตั้งมั่น สัมมาสมาธินั้นอยู่ตรงไหน จิตตั้ง
    มั่นแบบไม่ยึดมั่นในฐานที่ตั้ง อัปปณิหิตสมาธิ(มาจากคำว่าอัปปนา+หิตะ+สมาธิ)
    ที่ว่าเลิศมีประโยชน์(หิตะ) ที่ว่าเป็นที่พักอันยอดเยี่ยมนั้นอยู่ตรงไหนกัน
    แน่

    ดูดีๆนะ คำว่า อัปปนาสมาธิ ที่ถามถึงหนะ ผมพาเข้าประเด็นแล้ว หาก
    เข้าใจทางนะ คำที่พระท่านทั้งหลายว่า สัมมาสมาธิ ไม่ใช่ฌาณ เราก็จะ
    เข้าใจไปด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2010
  19. Jantaras

    Jantaras เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    145
    ค่าพลัง:
    +301
    อนุโมทนาบุญ กับทุกท่านที่ได้ตอบคำถาม ค่ะ
    ที่ได้ให้ความรู้มากมายกับผู้อื่นด้วย
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ตรงนี้มีข้อปลีกย่อย ที่ละเอียดมากๆ ต้องซื่อตรงต่อการเห็น(อุชุกตา)เพิ่ม
    ขึ้นอีกให้มากๆ เพื่อทำทิฏฐิชุกรรม ทำความเห็นให้ตรง

    จุดที่ควรสังเกตุ ก็จะเหมือนที่คุณวิษณุเน้นให้ดู

    "วันนั้นผมไม่อยากคุยกับใคร" ในประโยคนี้มองเห็นไหม มันมี อยาก มี
    ความพอใจ ไม่พอใจปรากฏ ตรงนี้หากเห็นแบบเป็นกลาง หรือ เกิดความ
    รู้สึกหรือปรารภว่า "วันนั้นผมไม่อยากคุยกับใคร" มากๆเข้า จะเกิดอารมรณ์
    เบื่อ คนไม่รู้กรรมฐานจะพูดว่า "คุณได้นิพพิททาญาณ" แต่คนที่วิปัสสนาเป็น
    เขาจะพูดว่า "เฉยโง่" เพราะอารมณ์เบื่อแบบนี้จะเป็นการเลือกข้าง มีมโน
    สัญญเจตนาหารปรากฏ มีทิฏฐิปรากฏ หากจับหมายมั่นเข้าก็จะเพิ่มปฏิฆานุสัย
    นานๆ เข้าคิ้วจะขมวด เดินไปไหนจะอยากกอดอก สร้างพื้นที่แวดล้อมตัวให้
    คับแคบเท่าที่ตนจะสร้างได้ เกิดการอยู่ การการวิเวกแต่หนีโลก ธรรมะของ
    พระพุทธองค์นั้นสลัดจากโลกก็จริงแต่ต้องไม่ทำร้ายโลก และปฏิเสธโลกซึ่ง
    เป็นสัจจชนิดหนึ่ง เป็นความจริงตามสมมติ(สมมติสัจจะ)

    แต่ทีนี้คุณมีแนวโน้ม "เฉยโง่" หรือเปล่า อันนี้ปรากฏว่า คุณปรารภว่าเห็น

    "แต่มันมีความสงบ นิ่ง เหมือนมีน้ำไหลผ่านอยางช้าๆ ในร่างกาย" ตรงนี้
    แหละเยี่ยมยอด ไม่ใช่การเฉยแล้วเอาแต่นิ่ง แต่เอาเฉยนั้นมาเป็นพลังงาน
    ในการออกรู้ การที่เราระลึกลงไปในกาย ลงไปในใจ แล้วแลอยู่ ใคร่ครวญ
    ระลึกดูอยู่(ธรรมวิจัยยะ) เขาเรียกว่า เดินงานวิปัสสนา(ตามรู้กายรู้ใจในตน)

    สิ่งที่ปรากฏไหลๆในกาย จะเห็นว่า เป็นสภาวะธรรมที่พ้นบัญญัติ สภาวะธรรม
    ที่พ้นบัญญัตินั้นเรียกอีกว่าว่า ปรมัตถ์ เรียกอีกแบบว่า ดูรูป อย่าไปเติมบัญญัติ
    ลงไปนะ หากเติมลงไปจะตกจากภูมิวัปัสสนา อาการที่รู้ด้วยความรู้สึกว่ามัน
    ไหลๆ ตรงนั้นเป็นความสืบเนื่องในการระลึกเห็น มันยังไม่ขาดจากกัน เลยเห็น
    มันต่อเนื่องเป็นกระแส ไหลๆ มีศัพท์เพราะๆว่า วิญญาณ วิญญติรูป เรียกแบบ
    ขันธ์5 คือ เห็นวิญญาณขันธ์ มันมีความพอใจในการเห็นจึงจับยึดเห็นเป็นกระ
    แส เราก็ระลึกดูไป หากเห็นอะไรได้ ก็ระลึกรู้สภาวะนั้น ดูไปเรื่อยๆ ในความ
    ไม่เที่ยง แปรปรวน เอามาฝึกการระลึก สร้างสติ เพื่อหาฐานจิตได้อีก แล้วเรียก
    การตามรู้ตามดูนี้ว่า เห็นกายในกาย กายานุปัสสนา หากกำจัดความพอใจไม่
    พอใจที่เป็นเหตุได้ มันก็จะขาดจากกัน ไม่เห็นเป็นสาย ก็จะเห็นไตรลักษณ์ขึ้น
    ได้ วิปัสสนาภูมิก็จะยกขึ้น ไปเวทนานปัสสนา ไปจิตตานุปัสสนา
    ไปธรรมานุปัสสนาไปเรื่อยๆ .....เฉยไม่โง่ เฉยแบบกำรี้กำไรมหาศาล

    ดังนั้น อย่าไปสนใจอยู่แค่ ภวังค์เป็นอย่างไร ฌาณสมาธิเป็นอย่างไร แต่
    ให้หมั่นระลึก ภาวนาเจริญสติในการเห็น สภาวะธรรมใดๆให้มากๆ เห็น
    อภิชญาโสมนัส โทมนัสดับไปเพราะความไม่เที่ยงไปเรื่อยๆ ก็จะมีจิตตั้งมั่น
    แบบมีประโยชน์แนบแน่นพอที่จะทำให้เข้าถึงธรรมได้ (จิตตั้งมั่นแบบมี
    ประโยชน์แนบแน่น ก็คือ อัปปณิหิตสมาธิ )
     

แชร์หน้านี้

Loading...