11111111111111* 11111111111111* แบ่งให้บูชาพระเครื่องหลวงพ่อพระราชพรหมยาน(ฤาษีลิงดำ)

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย พรแม่ศรี, 13 พฤษภาคม 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. พรแม่ศรี

    พรแม่ศรี ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    18,789
    ค่าพลัง:
    +55,474
    1111111111111111111111111111111111111111111111111111111

    อรุณ สวาท
     
  2. eakbordin

    eakbordin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    1,472
    ค่าพลัง:
    +3,405
    ทักทายยามเช้าคับพี่
     
  3. พรแม่ศรี

    พรแม่ศรี ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    18,789
    ค่าพลัง:
    +55,474
    ***รายการวัตถุมงคลของ คุณพรแม่ศรี ที่ยังไม่ปิดรายการ มีดังนี้***


    เหรียญพระเจ้าพรหม ทรงช้างประกายแก้ว(p.213#4244)
    บูชา 700 ค่าส่ง 50 บาท

    โทร 089-4035999
    [​IMG] [​IMG]
    พระกลีบบัวรูปเหมือนหลวงพ่อ (กลีบบัวเล็ก) สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2527 แจกเป็นที่ระลึกในงานฉลองสมณศักดิ์ พระสุธรรมยานเถระ เดือนมีนาคม 2528(หน้า384#7672)
    บูชา 4,500 ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    พระ บูชาท่านแม่ศรีระจิตร (แก้วใส) สมัยหลวงพ่อ สวย ๆ เดิม ๆ สีเหลืองทอง เงางาม (สีน้ำผึ้ง) พื้นใต้ฐานติดผ้ากำมะหยี่สีน้ำเงิน หลวงพ่อท่านบอกว่าให้บูชาท่านแม่ศรีด้วยดอกมะลิสด แล้วจะมีลาภมาก *องค์พระสูงประมาณ 15.5 นิ้ว

    pm. หรือ โทร 089-4035999 *ค่าจัดส่ง 150 บาท
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    พระรอดกริ่งผสมว่าน 108 (เนื้อแดง) เสก 27 ก.พ. 2525 การปลุกเสกพระรอดนี้ได้ทำพร้อมกับแก้วมณีรัตนะและแหนบทอง องค์พระมีเส้นขาว ๆ ขึ้นตามองค์พระมากมาย (p.585#11698)
    บูชา 750 บาท ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999
    [​IMG] [​IMG]
    ล็อคเก็ตดาว ที่ระลึกงานเป่ายันต์เกราะเพชร ครั้งที่ 5 องค์พระสวย ๆเดิม ๆ (p.597#11940)
    บูชา 1,300 บาท ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    <!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    เหรียญที่ระลึกผูกพัทธสีมา สร้าง 23 เม.ย.2520 ใช้กันโรคระบาดและอันตรายทุกอย่าง สวย ๆ เดิม ๆ (หน้า 675#13488)
    บูชา 750 บาท ค่าส่ง 50 บาท (เบา ๆ)
    โทร 089-4035999

    [​IMG] [​IMG]
    <!-- google_ad_section_end -->
    พระสีวลี วัดโขงขาว ที่ระลึกกฐินปี 2535 (ทันหลวงพ่อ) องค์พระสวย ๆ เดิม ๆ (หน้า 694#13875)
    บูชาองค์ละ 1,400 บาท ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    เหรียญที่ระลึกงานเป่ายันต์เกราะเพชร สร้างเป็นที่ระลึกงานเป่ายันต์เกราะเพชร 7 ม.ค.2527 องค์พระสวย ๆ เดิม ๆ (p.695#13890)
    บูชา 500 บาท ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999
    [​IMG] [​IMG]
    เหรียญพระยืน 30 ศอก (หลวงพ่อเงินไหลมาเทมา) สร้างเมื่อ พ.ศ.2533 องค์พระสวย ๆ เดิม ๆ (หน้า 709#14178)
    บูชา 1500 บาท ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999
    [​IMG] [​IMG]
    ยันต์กันไฟ ที่ระลึกงานทอดกฐิน 25 ต.ค.2530 วัดโขงขาว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (รุ่นนี้ทันหลวงพ่อฤาษ๊ลิงดำเสก)<!-- google_ad_section_end --> รุ่นนี้นิยมบูชาติดรถ ติดบ้าน สำหรับยันต์ชุดนี้ภายหลังทางวัดได้นำมาแจกอีกวาระหนึ่งในงานวางศิลาฤกษ์ 28 มี.ค.2536 (หน้า 710#14186)
    บูชาชุดละ 1,600 บาท ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->


    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    เหรียญรูปในหลวง ร.9 สร้างเป็นที่ระลึกโดยเสด็จพระราชกุศล งานผูกพัทธสีมา 24 เม.ย.2520 องค์พระสวย ๆ เดิม ๆ (หน้า 722#14425)
    บูชา 370 บาท ค่าส่ง 50 บาท ปรับลดราคา 260 บาท ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999
    [​IMG] [​IMG]
    พระเนื้อผง ฤาษีท่องสวรรค์ ด้านหน้าบรรจุเม็ดแร่ข้าวตอกพระร่วงด้านหลังเขียนว่า "สุขสันต์ มั่นคง" สร้างเมื่อ พ.ศ. 2531 องค์พระสวย ๆ เดิม ๆ
    (หน้า 732#14636)
    บูชา 2200 บาท ค่าส่ง 50 บาท ปรับลดราคา 1900 บาท ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999
    [​IMG][​IMG]

    พระวิสุทธิเทพด้านหลังมียันต์เกราะเพชร สุดยอดแห่งมวลสารที่สำคัญ ๆ ของหลวงพ่อ สร้างประมาณ ปี 253..กว่า ๆ ก่อนพระคำข้าว องค์พระสวย ๆ เดิม ๆ (หน้า 747#14932)
    บูชา 999 ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999
    [​IMG][​IMG]
    เหรียญทำน้ำมนต์ สร้าง 17 ต.ค. 2532 เหรียญนี้เลี่ยมกรอบพลาสติกเดิม ๆ จากวัด และเป็นเหรียญเดียวที่หลวงพ่อท่านบอกว่าสามารถตัดกรรมได้ (หน้า 765#15290)
    pm.หรือโทร 089-4035999

    [​IMG] [​IMG]
    ผ้ายันต์มหาพิชัยสงคราม,เหรียญสามัคคีมีสุข องค์พระเลี่ยมอัดกรอบพลาสติก เดิม ๆ จากวัด (หน้า 772#15427)
    บูชา 800บาท ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999
    นายทศพล ศรีสุข ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาบ้านฉาง ออมทรัพย์ 7762142467
    <!-- google_ad_section_end -->
    [​IMG] [​IMG]
    พระคำข้าว รุ่นพิเศษ (รูปเหมือนหลวงพ่อ)ด้านหลังบรรจุผงพระคำข้าว ปลุกเสกในงานเป่ายันต์เกราะเพชร 8 ก.พ.2535 องค์พระสวย ๆ เดิม ๆ พร้อมเลี่ยมพลาสติกกันน้ำ (หน้า 781#15613)
    บูชาองค์ละ 1,300 บาท ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999
    นายทศพล ศรีสุข ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาบ้านฉาง ออมทรัพย์ 7762142467<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    [​IMG] [​IMG]
    รูปหล่อลอยองค์หลวงพ่อพระราชพรหมยาน รุ่น 4 เนื้อทองเหลืองรมดำ (ทันหลวงพ่อ) สร้าง พ.ศ.2533 องค์พระสวย ๆ เดิม ๆ พร้อมเลี่ยมกรอบกันน้ำอย่างดี (p.787#15734)
    บูชา 3800 บาท ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999
    [​IMG] [​IMG]
    เหรียญดาวยันต์เกราะเพชรลงยา องค์พระสวย ๆ เดิม ๆ (หน้า 815#16299)
    บูชาองค์ละ 1,200 บาท ค่าส่ง 50 บาท
    ปรับลดราคา 1100 บาท ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999

    [​IMG] [​IMG]
    พระบูชาแก้วใส พิมพ์สุโขทัยหน้าตัก 5 นิ้ว องค์พระสวยสมบูรณ์ 100 % (หน้า#)
    pm.หรือโทร 089-4035999
    นายทศพล ศรีสุข ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาบ้านฉาง ออมทรัพย์ 7762142467<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    [​IMG] [​IMG]
    เหรียญรูปเหมือนใบโพธิ์ พุทธาภิเษกในงานเป่ายันต์เกราะเพชร วันที่ 8 ก.พ.2535 จำนวน 30000 องค์ พระองค์นี้สวย ๆ เดิม ๆ (หน้า 904#18068)
    บูชา 790บาท ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999
    นายทศพล ศรีสุข ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาบ้านฉาง ออมทรัพย์ 7762142467
    <!-- google_ad_section_end -->[​IMG] [​IMG]

    พระคำข้าว รุ่นปืนแตก พิมพ์ตัวหนังสือโค้ง ปลุกเสกเมื่อ 18 พ.ค. 2535 ในงานเป่ายันต์เกราะเพชร จำนวน 100000 องค์ องค์พระสวย ๆ เดิม ๆ (p. 946#18909)
    บูชา 950 บาท ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999
    นายทศพล ศรีสุข ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาบ้านฉาง ออมทรัพย์ 7762142467<!-- google_ad_section_end -->


    [​IMG] [​IMG]

    เหรียญของขวัญวันเกิด รุ่น 3 ติดโบว์ยันต์บารมี 30 ทัศองค์พระสวยกริ๊บ ๆ (หน้า 949#18966)
    หลวงพ่อพูดถึงอานุภาพใว้ดังนี้
    ๑.ป้องกันอันตราย
    ๒.ผู้ทำคุณไสยมาจะย้อนกลับไปหาเจ้าของ
    ๓.ศัตรูทำอันตรายยาก
    ๔.เมื่อปลุกเสกเสมอ อย่าแช่งคนอื่น เพราะจะเป็นไปตามนั้น
    ๕.ทำน้ำมนต์ กินคลอดบุตรง่าย และรักษาโรค
    ๖.ติดตัวไว้จะไม่มีอันตรายจากยาพิษ เมื่อบังเอิญกินยาพิษเข้าไป จะมีอาการมึนงงราว 1 ชั่วโมง แล้วจะหายไปเอง
    เมตตามหานิยม
    ๗.กันรังสีต่าง ๆ
    ๘.กันโรคระบาดถ้ามีโรคระบาดเกิดขึ้นให้ใส่บาตรอุทิศกุศลให้ท่านท้าวมหาชมภูแล้วจะพ้นภัย เหรียญนี้ ๑ องค์คุ้มกันได้ทั้งบ้าน

    <O>:p</O>:pวิธีทำน้ำมนต์ ให้เอาเหรียญวางไว้ใกล้ขันน้ำ แล้วอาราธนาบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอิรยสงฆ์ ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย สืบ ๆ กันมา มีหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เป็นที่สุด แล้วอธิษฐานตามต้องการ เสร็จแล้วเอาพระจุ่มน้ำแล้วเอาขึ้น
    บูชาองค์ละ 1700 บาท ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999
    นายทศพล ศรีสุข ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาบ้านฉาง ออมทรัพย์ 7762142467<!-- google_ad_section_end -->
    [​IMG] [​IMG]
    ล็อคเก็ตดาว ที่ระลึกงานเป่ายันต์เกราะเพชร ครั้งที่ 7 องค์พระสวย ๆ เดิม ๆ (960#19200)
    บูชา 650 บาท ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999
    นายทศพล ศรีสุข ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาบ้านฉาง ออมทรัพย์ 7762142467<!-- google_ad_section_end -->
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    มงกุฎเพชร รุ่นพระสุธรรม อานุภาพ ประการแรก ป้องกันโรคระบาด
    ประการที่สอง ถ้าต้องการความปลอดภัยท่านท้าวเวสสุวรรณอธิบายว่า อำนาจพุทธานุภาพ "พุทธโธ อัปปมาโณ " คุณของพระพุทธเจ้าหาประมาณมิได้ "ธัมโม อัปปมาโณ " คุณของพระธรรมหาประมาณมิได้ " สังโฆ อัปปมาโณ " คุณพระสงฆ์หาประมาณมิได้
    ถ้าหากว่าไม่การให้ของหาย ให้อธิฐานว่า "ขอผู้ร้ายจงอย่าเห็นบ้าน จงอย่าเห็นประตู หรือศัตรูอย่าเห็นตัว" และเรื่องต่อไปลาภสักการะอะไรต่าง ๆ ธรรมดา * อ้างอิงจากหนังสือสมบัติพ่อให้ (เล่มเก่า) (หน้า 961#19210)
    บูชา 590 บาท ค่าส่ง 50 บาท
    โทร 089-4035999
    นายทศพล ศรีสุข ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาบ้านฉาง ออมทรัพย์ 7762142467
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->[​IMG] [​IMG] [​IMG]
    พระคำข้าว รุ่น 2 ,พระหางหมาก ปิดทอง หลวงพ่อท่านปรารภว่าพระคำข้าวนั้น สมเด็จองค์ปฐมเสด็จมาเป็นประธานในพิธี และจะเน้นหนักไปในทางลาภ ส่วนพระหางหมากนั้น จะหนักไปในทางป้องกัน ท่านจึงแนะนำให้แขวนบูชาคู่กันเลย (เบาๆ) (หน้า 967#19331)
    บูชาคู่ละ 1,000บาท ค่าส่ง 50 บาท

    โทร 089-4035999
    นายทศพล ศรีสุข ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาบ้านฉาง ออมทรัพย์ 7762142467
    <!-- google_ad_section_end -->
    [​IMG] [​IMG]







    คุณ ทศพล ศรีสุข


    ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา บ้านฉาง


    หมายเลขบัญชี 7762142467<!-- google_ad_section_end -->


    โทร. 089-4035999




    ;aa51...;aa51...;aa51...;aa51...;aa51​
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  4. จารุ

    จารุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    23,747
    ค่าพลัง:
    +236,438
    โอนแล้วครับ พี่ทศ
     
  5. ลูกคนที่ 62

    ลูกคนที่ 62 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,533
    ค่าพลัง:
    +21,538
    สวัสดียามเช้าครับผม เมื่อคืนฝนตก นอนสบายมากมายครับ ...
     
  6. ณ แปดริ้ว

    ณ แปดริ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,701
    ค่าพลัง:
    +54,174

    ดีคร้าบ.บ.บ.. วันนี้น๊อตไปทำงานอีกแล้วเด้อ...อ้าย....หุหุ
     
  7. panchita

    panchita เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    15,692
    ค่าพลัง:
    +49,188
    [​IMG]


    พระธรรมคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม


    อย่าลืมว่า..จักเพียรละกิเลสจุดไหน กิเลสจุดนั้น..

    จักเข้ามาทดสอบจิตอย่างหนัก



    กาม-กิน-นอน เป็นเหตุให้เกิดขันธ์ 5



    งานทางโลกมีหน้าที่เท่าไร ก็ทำไป ตามหน้าที่ในทางสายกลาง

    งานทางธรรมที่จักต้องละอุปาทานขันธ์ 5 ให้ได้ในชาตินี้ จักต้องทำด้วยกำลังใจเต็ม



    ดูอารมณ์จิตที่มีสภาพแปรปรวนไปกับอาการของร่างกายด้วย

    งานใดที่ทำอยู่ ก็พึงคิดว่างานนั้นเป็นกรรมฐาน



    ให้สังเกตอายตนะสัมผัสกระทบให้มาก แล้วดูอารมณ์จิตที่ไหวไปตามอายตนะด้วยปัญญา



    การเจ็บป่วยเป็นของดี จักได้ไม่ประมาทในชีวิต



    อย่าหวั่นไหวกับคำนินทาและสรรเสริญ



    ให้สังเกตความเย็น ความร้อน ของจิตที่ถูกกระทบ ให้รักษาความเย็นของจิตไว้เป็นสำคัญ

    การปฏิบัติธรรมจักได้ผล ก็ต่อเมื่อจิตเย็นสนิท

    จิตที่เย็นสนิท คือจิตที่พิจารณากฏของกรรม แล้วยอมรับความเป็นจริง



    การมีขันธ์ 5 อย่างผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ทุกอย่างทำเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปเท่านั้น

    หมั่นซ้อมตายและพร้อมที่จะตายตลอดเวลา




    ค่าของเงิน ย่อมมีค่าน้อยกว่า อารมณ์ผ่องใสของจิต






    วันนี้วันพระ ขอให้ทุกท่านเจริญในพระธรรม _/\_
     
  8. kiarati

    kiarati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +313

    สาธุ.........
     
  9. ณ แปดริ้ว

    ณ แปดริ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,701
    ค่าพลัง:
    +54,174

    สาธุๆโมทนาด้วยจ้า..พี่พัณ...ไปและ แว๊บ..........
     
  10. lektantan

    lektantan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,624
    ค่าพลัง:
    +22,640
    น๊อตจ้า ส่ง Air Card กับ พระฤาษีท่องสวรรค์ไปให้แล้วน่ะจ่ะ
     
  11. baimin

    baimin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,933
    ค่าพลัง:
    +14,580
    ขออนุญาติแทรกธรรมะของหลวงพ่อฤาษีลิงดำครับ พี่ทศพล
    ขออนุโมทนากับทุกท่านที่อ่านธรรมะครับ
    (ขออภัยหากเป็นการรบกวน)
    ขอบพระคุณครับ...baimin

    [​IMG]

    นิวรณ์ ๕

    สำหรับวันนี้เราจะเรียนกันในด้าน เรียกว่าธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน สำหรับธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน มีด้วยกันหลายบรรพ เรียกว่าหลายตอน คำว่าบรรพแปลว่าตอนนะ สำหรับธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐานนี่ พระพุทธเจ้าท่านแนะนำให้ใช้จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐานควบคุมตลอดเวลา มาตอนนี้ท่านไม่ได้ใช้ สติสัมปชัญญะแล้วเพราะว่าเป็นตอนที่ร่วมด้วยทั้งสมถะและวิปัสสนา ใช้กำลังสูงมาก การเรียนมหาสติปัฏฐานสูตร หรือว่าการเจริญมหาสติปัฏฐานสูตร อันนี้เราจะทำเฉพาะบทหนึ่งบทใดไม่ได้ก็ขอเตือนไว้เพื่อทราบ อันดับแรกสุดก่อนที่เราจะพิจารณาในมหาสติปัฏฐานสูตร ในด้านกายานุปัสสนาก็ดี ในด้านเวทนานุปัสสนาก็ดี หรือว่าธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐานก็ดี บทต้นที่สุดที่พระพุทธเจ้าทรงสอนคืออานาปานุสสติกรรมฐาน เราทิ้งไม่ได้เด็ดขาดถ้าหากว่าใครทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐานเสียแล้ว อารมณ์จิตไม่เป็นสมาธิถือว่าอารมณ์จิตไม่เป็นฌาน ถ้าอารมณ์จิตเข้าไม่ถึงปฐมฌานเป็นอย่างต่ำกำลังจิตที่เราใช้พิจารณาพระกรรมฐานทุกกอง เพราะว่าพระกรรมฐานทุกกองในด้านมหาสติปัฏฐานสูตร แม้แต่อาปานุสสติกรรมฐานก็ดี พระพุทธเจ้าสอนควบกันไว้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ถ้าหากว่าจิตเราเข้าไม่ถึงปฐมฌานเป็นอย่างต่ำ การใช้วิปัสสนาญาณเป็นเครื่องควบคุมจิต หรือพิจารณาจิต จะไม่มีกำลังตัดกิเลส
    ฉะนั้นสำหรับท่านที่เจริญพระกรรมฐาน ในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้งหมด อย่าคิดว่าจะเลือกเฉพาะบทใด บทหนึ่ง ตอนหนึ่งนี่ไม่ได้ อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับอารมณ์ ส่วนที่สำคัญที่สุดที่เราจะใช้อันแรกที่สุดก็คืออานาปานุสสติกรรมฐาน คำว่าอานาปานุสสติกรรมฐาน การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกนี่ต้องว่ากันตลอดทั้งวัน ผมไม่ได้บอกนะว่าทำเฉพาะเวลาไหน คือว่าท่านบอกแล้วนี่ว่า เราจะต้องใช้สติสัมปชัญญะให้สมบูรณ์แบบเราจะเป็นคนทรงไว้ซึ่งสติและสัมปชัญญะ สติแปลว่าการนึกได้ สัมปชัญญะแปลว่ารู้ตัว ถ้านึกไว้เสมอ รู้ตัวเสมอ ว่าเราเกิดแล้วต้องตาย ขณะที่ทรงอยู่เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าเราเกิดใหม่ก็จะมีสภาพแบบนี้ ก็จะเกิดมาทำเกลือทำไม ทำเกลือก็ทำไม่ได้ เวลาตายเขาต้องเอาเกลือมาใส่ถึงจะไม่เน่า ถ้ามันเป็นเกลือได้ก็ยังขายได้ ความจริงไอ้คนนี่มันจัญไรกว่าสัตว์เดรัจฉานนะ หรือไง ควายตายเขาขายหนังก็ได้ ขายเขาก็ได้ ขายเนื้อก็ได้ใช่ไหม ควายตายได้สตางค์ หมูตายได้สตางค์ เอ็ะหมาได้ไม่ได้อะไรเลย ได้ถ้าฝังไว้ใกล้ ๆ ต้นมะม่วง เป็นปุ๋ย คนจัญไร ถ้าตายเราขายคนเป็น ตายเมื่อไรชาวบ้านแหลกเมื่อนั้น เดี๋ยวก็แจกการ์ดดำรอบบ้าน ชาวบ้านเสียสตางค์หมด
    เป็นอันว่าถ้าเราเกิดมาแล้วก็ต้องตาย ก่อนที่จะตายเต็มไปด้วยความทุกข์ นี่เราก็จะมาเกิดกันเพื่อประโยชน์อะไร ความเกิดไม่มีความหมาย คนที่จะเกิดใหม่ได้ต้องเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ คนที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์จริง ๆ ก็คือ คนที่ทรงฌาน คำว่า ฌาน เป็นภาษาบาลี ถ้าไม่แปลออกมามันยุ่ง ไม่รู้ว่าฌานรูปร่างหน้าตามันอย่างไร ถ้าหากว่าเราแปลออกมาแล้วก็จะเห็นว่าเป็นของไม่ยาก ฌานัง แปลว่าการเพ่ง ก็ได้แก่การทรงอารมณ์สติสัมปชัญญะนั่นเอง แต่หากว่า เราทรงอารมณ์สติสัมปชัญญะได้ดีมาก ก็ชื่อว่าเป็นฌาน ๔ คือทำใจของเราแยกจากกาย จากประสาทของกายเสีย เราทรงสติสัมปชัญญะ รู้อยู่ มีความรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าทางประสาทของร่างกายสัมผัสอะไรก็ตามจิตไม่ยอมรับนับถือ จิตไม่ยอมรับรู้ด้วย แสดงว่าจิตมันแยกออกจากกาย เป็นการฝึกกายเมื่อเวลาจะตาย ฝึกจิตเมื่อเวลาตาย ถึงบอกว่าเวลาจะตายเขาเข้าฌานตายกัน คนที่เข้าฌานตายมันไม่ตายเหมือนชาวบ้านเขา อาการตายเหมือนกัน แต่ความหนักใจของบุคคลผู้ทรงฌานไม่มี ทั้งนี้เพราะจิตทรงฌาน อารมณ์ก็เป็ฯทิพย์แล้วก็จะสามารถเห็นในสิ่งที่เป็นทิพย์ได้ เห็นรูปเป็นทิพย์ ได้ยินเสียงที่เป็นทิพย์ได้ ในเมื่อเราเห็นรูปที่เป็นทิพย์ได้ ได้ยินเสียงที่เป็นทิพย์ได้ เราก็รู้สภาวะความเป็นทิพย์ของเราได้ นี่คนที่เขาเข้าฌานตายนี่เขาเลือกไปเอาตามอัธยาศัย ว่าเขาจะไปจากร่างกายอันนี้แล้วเขาจะไปอยู่ที่ใหม่ เขาจะไปอยู่ที่ไหนเขาก็รู้ก่อน คนที่ทรงฌานจริง ๆ สถานที่ที่จะพึงอยู่ได้ คือพรหมโลก ถ้าหากว่าเราจะไม่อยากอยู่พรหม อยากจะอยู่สวรรค์ ชั้นใดชั้นหนึ่งที่ต่ำลงมาก็เลือกได้ แต่ว่าเลือกสูงขึ้นไปไม่ได้ นี่ว่าถึงความสำคัญของการทรงอานาปานุสสติกรรมฐาน เพราะในมหาสติปัฏฐานสูตร มีกรรมฐานกองเดียวที่สามารถจะทรงฌานได้ คือ อานาปานุสสติกรรมฐาน
    นับตั้งแต่จิตตานุปัสสนา หรือเวทนานุปัสสนา ก็ดี หรือว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐานก็ดี ที่พระพุทธเจ้าสอนด้วยสมถะนี่ก็จบลงด้วยวิปัสสนา ก็หมายความว่าเราเจริญในมหาสติปัฏฐานสูตร จะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งในความรู้ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนก็ตาม ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้พิจารณาครบถ้วนทุกกอง แต่เราก็สามารถเป็นพระอริยเจ้าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเรามีความชำนาญในอานาปานุสสติกรรมฐานให้ยกอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นวิปัสสนาญาณ อานาปาจริง ๆ เป็นสมถะ เอาอานาปานเป็นวิปัสสนาญาณ จิตก็สามารถตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน เป็นพระอริยเจ้าได้
    นี่เป็นอันว่า ถ้าใครเขาถามว่า เราเจริญพระกรรมฐานกองไหน ถ้าเราบอกตามความต้องการของใจของเราที่เราพอใจ แต่เขาว่าไอ้นี่ไม่ดี สู้อย่างนั้นไม่ได้เราต้องไม่เชื่อ เชื่อพระพุทธเจ้าดีกว่า เพราะพระพุทธเจ้าท่านเป็นพระอรหันต์องค์แรก และก็สามารถสอนคนอื่นให้เป็นพระอรหันต์ได้ คนที่บอกว่าธรรมะอย่างนั้นดี อย่างนี้สู้อย่างนั้นไม่ได้ แสดงว่าคนนั้นยังไม่ได้อะไรเลย นี่เรารับฟังไม่ได้
    วันนี้ก็มาพูดกันถึงธรรมานุปัสสนาปัฏฐาน พูดตามพระบาลีท่านกล่าวว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ เป็นต้น ความก็มีอยู่ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรภิกษุย่อมพิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่เนือง ๆ คำว่า ธรรมในธรรมในที่นี้ เบื้องต้นพระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายเอานิวรณ์ ๕ ประการ การพิจารณานิวรณ์ของพระพุทธเจ้าในบทพระบาลีนี้ สนฺตํ วา อชฺฌตฺตํ กามฉนฺทํ เมื่อกามฉันทะ คือความพอใจในกามารมณ์ มีอยู่ในจิต เราก็รู้ชัดว่าเวลานี้เรามีความพอใจ ในกามารมณ์อยู่ในจิตของเรา นี่เราใช้สติสัมปชัญญะคุมตลอดเวลา หรือว่ากามฉันทะไม่มีภายในจิต เราก็รู้ว่ากามฉันทะไม่มีในจิตของเรา อนึ่ง กามฉันทะอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใดเราก็รู้ด้วยประการนั้น หรือว่ากามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ก็ย่อมรู้ด้วยประการนั้น ถ้ามันยังไม่เกิดเราก็รู้ว่ามันยังไม่เกิด ถ้ามันเกิดด้วยเหตุใด ก็รู้ว่าเกิดด้วยเหตุนั้น ความที่กามฉันทะอันตนละเสียแล้วไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ด้วยประการนั้น ว่าย่อ ๆ นะ
    อันนี้เรามาพูดถึงกามก่อน คำว่ากามคือความใคร่ ไอ้กามนี่มันจะไปโทษกันไม่ได้ ถ้ามีชาวบ้านเขาบอก ไอ้เจ้านี่บ้ากาม บางทีเราโกรธ ความจริงคำว่ากามนี่ก็แปลว่า ความใคร่ ได้แก่ความชอบใจนั่นเอง ถ้าอยากจะได้อย่าโน้น อยากจะได้อย่างนี้ จะถือว่ากามเป็นสิ่งสกปรก เป็นที่รังเกียจของชาวโลกอย่างนั้นหรือ อันนี้ก็ถือว่าเป็นการเข้าใจผิด คำว่ากามจริง ๆ เป็นคำกลางเหมือนกับคำว่า ทิฏฐิ คำว่าทิฏฐิเฉย ๆ ก็แปลว่าความเห็น ยังไม่ได้แยกลงไปว่า ความเห็นนี่ดี หรือชั่ว ถ้ามิจฉาทิฏฐิ ก็เป็นความเห็นทางด้านชั่ว ไม่เป็นไปตามความเป็นจริง ถ้าสัมมาทิฏฐิก็เป็นความเห็นด้านดี คำว่ากามก็เหมือนกัน กามจริง ๆ เฉย ๆ ก็แปลว่าความใคร่ จะถามว่าคนที่มีกามารมณ์ ใคร่อยู่อย่างนี้เป็นอารมณ์ชั่วหรือว่าเป็นอารมณ์ดี หรือว่าชั่วได้ฝ่ายเดียว จะมีความดีบ้างไหม เราก็ต้องตอบว่า ถ้าอารมณ์ที่ประกอบไปด้วยความใคร่ มันก็มีได้ทั้งชั่ว ถ้าหากว่าเรามีความใคร่ในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส อันเป็นอารมณ์ของชาวโลกอย่างนี้ชื่อว่ามีอารมณ์ชั่ว เพราะว่าจะต้องเป็นทาสของกิเลสตัณหา อุปทาน อกุศลกรรม ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะ มีความทุกข์ หาความสุขจริง ๆ ไม่ได้ ถ้าจะถามว่า คำว่ากามเป็นความดีบ้างหรือเปล่า ต้องดูพระบาลีบทหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเป็นพุทธภาษิตว่า ธมฺมกาโม ภวํ โหติ ซึ่งแปลเป็นไทยว่า ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ ฉะนั้นจึงกล่าวว่า คำว่า กามนี่อย่าพึ่งไปโทษเขาเข้านะ ว่าเจ้าคนนี้มีกาม เราจะหาว่าเขาเลวยังไม่ได้ เป็นคำกลาง ๆ ว่าเป็นความใคร่ ถ้าบังเอิญเขาใคร่ในธรรมขึ้นมาล่ะ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่าดี แต่ใคร่ในโลกีย์อันนี้ พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงติ แต่แนะให้ละ ที่ไม่ติดก็เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงรู้ว่าพวกเราเกิดมาทุกคน ไม่ใช่คนดีแท้ ถ้ามันดีแท้จริง ๆ ก็ไม่มีใครเขาเกิดกันหรอก เขาไปนิพพานกันหมด ที่เราเกิดมาก็เพราะว่า เรามีกิเลส ตัณหา อุปทาน อกุศลกรรม เป็นเจ้านายบังคับขู่เข็นเราอยู่ มันต้องเกิด เพราะการเกิดมันเกิดมาเพื่อแสวงหาความทุกข์ ถ้าจะกล่าวไปในอีกทีตามพระอริยะสมัยปัจจุบัน ที่พบหน้ากัน ท่านพูดวันนั้น มาที่นี่พูดไปพูดมาถึงเรื่องการเกิด การเกิดไม่ดีอย่างนั้น การเกิดไม่ดีอย่างนี้ เลยถามว่าแล้วก็เสือกเกิดมาทำไมล่ะ ท่านตอบว่ายังไงรู้ไหม ก็มันโง่นะซีมันถึงได้เกิด ไม่โง่มันจะเกิดรึ ตอนนี้ท่านเลิกโง่เสียแล้ว ท่านไม่อยากเกิดต่อไป เป็นอันว่าท่านไม่เกิด ในเมื่อเราเกิดขึ้นมา มันเต็มไปด้วยความทุกข์ ความแน่นอนของชีวิตไม่มี ก็เพราะว่าอารมณ์ของเราไม่คงที่เดี๋ยวก็มีอารมณ์เป็นสุข เดี๋ยวก็มีอารมณ์เป็นทุกข์ อย่างที่เราเรียนกันมาแล้วในเวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน นี่เพียงแค่อารมณ์มันก็เอาดีไม่ได้
    ทีนี้มาทางด้านของกาย มีแต่ความทุกข์ตลอดเวลา แต่ความจริงกายมันไม่ได้ทุกข์มันเป็นไปตามปกติของมัน เราซีทุกข์เอง คำว่าทุกข์ของกาย มันไม่เกี่ยวกับใจ ใจมันวิ่งเข้าไปหากายเอง ไปเกาะกายเอง ถ้ากายมันป่วยไข้ ไม่สบายเราก็เป็ฯทุกข์ เราคือจิต หรือที่เรียกกันว่า อาทิสมานกายที่สิงอยู่ในกายเนื้อ ทำไมมันจึงทุกข์ เพราะเข้าไปยึดถือว่านี่เป็นเราเป็นของเรา ไม่ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาตามความเป็นจริง เพราะว่ากฎธรรมดานี่มีอยู่ว่า กายนี่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วมันก็วิ่งเข้าไปหาความเสื่อมทุกวินาทีที่เคลื่อนไป ไม่มีร่างกายของบุคคลใดจะทรงตัวอยู่เป็นปกติ หรือว่าใครจะว่าร่างกายมันทรง บอกมาซิ มีไหม มันจะทรงได้อย่างไร เรื่องของกายนี่มันไม่แน่คือขาน่ะ เคยยันหน้ายันหลังได้โดยสะดวก ไอ้บันไดนี่ขึ้นมาไม่รู้เท่าไหร่ แต่ตอนนั้นทำไมร่างกายขามันไม่อยู่ แสดงว่าตอนนั้นร่างกายขามันไม่มีการทรงตัว ขาเราเคยใช้ให้เป็นประโยชน์ แต่เกิดขาแพลงขึ้นมาเสีย แสดงว่ามันเป็นอนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ นี่ร่างกายของเราไม่ดี มันเป็นทุกข์ ตัวทุกข์จริง ๆ น่ะกายมันไม่ได้ทุกข์ จิตมันทุกข์ ถือว่าร่างกายมันจะต้องทรงอยู่แบบนั้นแบบนี้ไม่ยอมรับนับถือตามความเป็นจริง
    สำหรับพระอรหันต์ทั้งหลายที่ท่านไม่มีความทุกข์ เพราะอะไร เพราะท่านรู้ว่าร่างกายนี่มันไม่ทรงตัว เกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเสื่อมไปในระยะกลาง ประกอบด้วยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ คือมันเสื่อมมันโทรมลง และก็สลายตัวในที่สุด นี่ท่านรู้แล้วท่านไม่ลืมตัว ไม่ลืมก็คือตัวที่มีสติสัมปชัญญะ รู้ว่าร่างกายนี่มันพังแน่ มันจะพังเมื่อไหร่นี่ ไม่แน่นอนนักบอกวันบอกเวลาไม่ได้ แต่ความพังมันมีแน่นอน ในเมื่อท่านรู้ว่ามันจะพัง มันเกิดพังขึ้นมา มันเกิดทรุดโทรมขึ้นมา ท่านก็นอนยิ้มสบาย พังก็พังซินายพังเมื่อไหร่ฉันก็สบายเมื่อนั้น ฉันจะไปนิพพาน คำว่านิพพานในที่นี้ ความจริงเขาพูดว่า นิพพานสูญ แต่ไม่เคยเห็นพระอรหันต์องค์ไหนท่านบอกว่าสูญ ไอ้คำว่าสูญนี่มันเรื่องของคนที่ติดในกามสุข และโลกีย์วิสัย แม้แต่ศีล ๕ ยังไม่ครบถ้วนบริบูรณ์เท่านั้นที่จะเห็นพระนิพพานสูญ อารมณ์ของท่านใดเข้าถึงตั้งแต่โคตรภูญาณ หรือว่าโสดาบันเข้าไปแล้ว ไม่มีใครเห็นว่าพระนิพพานสูญ ถ้าว่าจะสูญก็ได้อยู่ส่วนหนึ่ง คือสูญจากวัฏฏะ อำนาจกิเลส ตัณหา อุปทาน และอกุศลกรรม ไม่สามารถจะบีบบังคับจิตของท่านที่เข้าถึงพระนิพพานให้มาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในอำนาจของเขาได้ นี่สูญจริง ๆ สูญจากวัฏฏะ แต่ว่าอยู่ที่นิพพาน คำว่านิพพานแปลว่า ดับ ไม่ใช่ว่าดับอะไรทั้งหมด ท่านบอกว่ากิเลสดับ กิเลสไม่เหลือ ก็ไปนิพพานนี่ว่ากันส่งเดชไปแล้ว
    ทีนี้มาธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน ผมพูดถึงนิพพานทำไม เพราะว่าจากนิวรณ์ไปแล้ว พระพุทธเจ้าพูดถึงสังโยชน์ นี่เราก็เรียนความเป็นพุทธเจ้ากัน มาถึงนิวรณ์ ๕ ประการที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ๕ อย่าง รู้รึไม่รู้ก็ช่าง เพราะเป็นภาษาบาลี มาว่ากันเป็นภาษาไทย
    ตัวแรก ท่านบอกว่า จิตของเราข้องอยู่ในกามารมณ์ คือกามฉันทะ ความพอใจในกามแต่กามตัวนี้ไม่ใช่กามตัวกลางเสียแล้ว มันเป็นกามตัวริม คือริม ส่วนตา ถ้าจิตของเรามีความพอใจในกามารมณ์ หมายความว่าอารมณ์เข้าไปข้องอยู่ในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย หรือสัมผัสตามอารมณ์ของ ๕ อย่างนี้เห็นว่า รูปสวย จะเป็นรูปคน รูปสัตว์ รูปวัตถุก็ช่าง ไม่เลือกว่ารูปประเภทไหน เห็นว่ารูปสวยว่ารูปนี่เป็นที่พอใจของเรา เราชอบรูปนี้ ยึดถือความสวยเป็นกำลังอย่างหนึ่ง เสียงเพราะ พอใจในเสียงอย่างหนึ่ง กลิ่นหอม ติดในกลิ่น กลิ่นประเภทนี้เราชอบ แต่กลิ่นประเภทอื่นเราไม่ชอบ รสอร่อย ติดในรส การสัมผัสที่เราพึงประสงค์ กระทบเข้าชอบใจ แหมการสัมผัสนี่ดีจริง แล้วแถมอารมณ์หมกมุ่นอยู่ในเขตของกามอยู่ตลอดเวลา ของวัตถุกามนะ นี่มันก็เป็นทั้งวัตถุกาม และกิเลสกามรวมกัน ไอ้วัตถุเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสกับจิต ความจริงวัตถุมันไม่ได้มาบังคับบัญชาเรา ไอ้ใจเรามันเสือกไปติดกับมันเอง นี่ที่ผมพูดอย่างนี้เพราะอะไร ภาษามันจะเลวไปหน่อยแล้วมั๊ง แต่อย่าลืมนะว่าพวกเราเป็นคนไทย นี่เราใช้ภาษาไทยกัน ไอ้บทภาษาทฤษฎีน่ะไม่ใช้ ภาษาที่ฟังยากไม่ใช้ คำว่าใจมันเสือก ก็หมายความว่าใจมันวิ่งเข้าไปหาวัตถุ กามเข้าไปติด ไม่ได้ใช้จิตพิจารณาหาความเป็นจริง ในกรรมฐานบทต้นพระพุทธเจ้าท่านบอกว่า เวลานี้จิตของเราใคร่อยู่ในกามารมณ์ เราก็รู้อยู่ว่าจิตของเราใคร่อยู่ในกามารมณ์ คือว่าพยายามพิจารณาจิตของเราควบคุมจิตของเราว่าเวลานี้ไอ้จิตของเรานี่มันพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส หรือสัมผัส หรือเปล่า อารมณ์หมกมุ่นครุ่นคิดในความพอใจอยู่หรือเปล่า ความจริงอารมณ์แบบนี้มันมีกับเราตลอดวัน แต่ว่าเราลืม ลืมคิด ลืมเพราะอะไร เพราะว่าสติสัมปชัญญะของเราไม่สมบูรณ์ เราไม่ควบคุมอารมณ์จิตให้อยู่ในขอบเขต แต่นี่เป็นธรรมมหาสติปัฏฐาน ก็ว่าถึงระดับนิพพาน หรือว่าความเป็นพระอริยะละ ผมก็เห็นจะก้าวไปไม่เร็ว ต่อจากนี้ไปการสอนจะไปแบบช้า ๆ
    เรามาพูดกันถึง โทษของกามฉันทะ คือว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ที่พอใจในกามก่อน ที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า รูปเป็นโทษ ถ้าเราพอใจในรูปจะเป็นรูปประเภทไหนก็ช่าง ที่มีชีวิตหรือไม่มีก็ช่าง จะเป็นรูปคนหรือว่ารูปสัตว์ก็ช่าง เป็นรูปเหมือนกัน นี่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ถ้าเราเอาจิตเข้าไปติดในรูป มันเป็นความมัวหมองของจิต คือเป็นอารมณ์ของกิเลส ทำจิตให้เศร้าหมอง เป็นอารมณ์ของตัณหา สร้างความทุกข์ให้เกิดขึ้น เพราะว่าตัณหานี่เป็นปัจจัยของความทุกข์ ทำไมพระพุทธเจ้าจึงกล่าวอย่างนั้น ก็เพราะว่ารูปถ้าเราพอใจขึ้นมาแล้วความปรารถนาอยากได้มันปรากฏขึ้น ความดิ้นรน ความต้องการในรูป ปรารถนาในรูปมันก็มีขึ้น ความดิ้นรนของใจมันก็บังคับกายให้ดิ้นรนไปด้วย ความลำบากยากแค้นมันก็เกิด ความจริงคนเกิดมามีรูป ถ้าเราต้องการสิ่งที่มีรูป พระพุทธเจ้าไม่น่าจะตำหนิ ถ้าจะว่าไปตามพระบาลีแล้ว พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ตำหนิ เป็นแต่เพียงแนะนำว่ามันไม่เป็นปัจจัยของความสุข เพราะความปรารถนาในรูปมันเป็นปัจจัยของความทุกข์ นี่ว่าแต่รูปอย่างเดียวให้มันชัดเสียก่อน เพราะว่ารูปที่เราต้องการมันมีสภาพคล้ายผี เพราะรูปทุกอย่าง รูปคน รูปสัตว์ รูปวัตถุ มันมีสภาพคล้ายผี ผีนี่เรียกว่าผีหลอกมันหลอกเราอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราไปเห็นรูป สมมติว่าวัตถุเขาทาด้วยสีสวยเราพอใจในสีก็ดี หรือพอใจในทรวดทรงของรูปก็ดี ว่าทรวดทรงของรูปส่วนไหนสวยดี มีลักษณะส่วนสัดดีมาก เราพอใจ และเราก็ฉาบทาด้วยสี เป็นที่พอใจของเรา เราพอใจในรูปนั้น ถ้าลองเราเอารูปนั้นมาตั้งวาง เอามาเก็บไว้ มาไว้ในปกครอง ถ่ายภาพเอาไว้ให้ชัด ภาพฟิล์มสีน่ะดีมาก จะได้ลอกสีเอาไว้ให้หมด เอาเก็บไว้สัก ๓ ปี แล้วลองเอารูปนั้นมาดูใหม่ ความเปลี่ยนแปลงมันจะปรากฏ แสดงว่าสภาวะของรูปไม่คงที่ ถ้าเป็นคนจากเล็กก็ค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นมา ถ้ามีร่างกายสมบูรณ์แบบจริง ๆ ถึงความเป็นหนุ่มเป็นสาว ความเปล่งปลั่งเต็มที่แล้วมันก็โรยลงอีคราวนี้ก็เริ่มเหลาเหย่ลงมาล่ะซี หาความดีไม่ค่อยจะได้ สิ่งใดที่เราเห็นว่าสวยสดงดงามสง่าผ่าเผยมันก็ค่อย ๆ หายไป มันเสื่อมไปทีละน้อย ๆ ในที่สุดรูปนี้ก็พัง ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า รูปเป็นอนิจจัง มีความไม่เที่ยง มีการสลายตัวไปในที่สุด เฉพาะรูปอย่างเดียว มันมีสภาพหลอกแต่ความจริงมันไม่หลอก เราหลอกตัวเอง รูปนี้มันเป็นธรรมดาของมัน อย่างหนึ่ง เมื่อมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น ก็มีความเปลี่ยนแปลงตามปกติ เรียกว่าปกติของรูปเป็นอย่างนั้น แล้วในที่สุดมันก็พัง แล้วอารมณ์ที่ยึดถือเข้าใจว่ารูปสวย รูปมั่นคง รูปดีเป็นที่น่าปรารถนา นั่นมันใคร รูปมันแน่นำเราหรือเปล่า เราเอง อารมณ์ใจที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของตัณหา หรือความทะยานอยาก ตัณหามันสอนให้เราโง่ ตัณหามันบอกรูปนี่สวย รูปนี่ดี ควรจะเอามาไว้เก็บไว้ปกครอง เพราะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ นี่เราผู้มีกิเลสกำลังมันต่ำ จิตมันมัวหมองเศร้าอยู่แล้ว ไอ้คำว่ากิเลส ก็คือว่า ถ้าพูดถึงตาก็ตาบอด ถ้าพูดถึงใจก็ใจบอด เพราะไม่ได้ใช้ปัญญา พิจารณาหาความเป็นจริง ในเมื่อเราโง่แล้วเมื่อเป็นคนตาบอด หรือคนใจบอด เมื่อถูกจูงไปทางไหนมันก็ไปทางนั้น เมื่อกิเลสมันจูงไปเห็นว่ารูปดี จิตพอใจในรูป เราก็ตามใจกิเลส เมื่อเราตามใจกิเลสเราก็ถึงความทุกข์เพราะถูกรูปมันหลอกเอา ความจริงไม่ได้หลอก เพราะใจของเรามันหลอก ใจของเรามันเลวเอง
    อันนี้เรามาว่ากันถึงรูป ที่พระพุทธเจ้าเรียกว่านิวรณ์ ถ้าเราไปเกิดมีความพอใจในรูป แสดงว่าจิตของเราทราม ตกอยู่ในอำนาจของตัณหา ก็ต้องเอาใจไปเตือน คอยควบคุมอารมณ์ของใจไว้ ว่าจิตใจของเรานี่สนใจในรูปบ้างหรือเปล่า มีความผูกพันในรูป จนลืมพิจารณาหาความจริงบ้างรึเปล่า เรื่องสิ่งที่เป็นรูปนี่เราต้องใช้ เราต้องหา อย่างเครื่องขยายเสียงที่เราใช้นี่มันก็เป็นรูป เครื่องบันทึกเสียงที่เรากำลังใช้อยู่เวลานี้ บันทึกเสียงเอาไว้มันก็เป็นรูป แต่ว่าขณะเมื่อมันยังดีอยู่ มันมีประโยชน์ มันก็มีความพอใจ แต่ต้องจำไว้ว่า เครื่องจักรเหล่านี้ มันสึกหรอได้ มันชำรุดทรุดโทรมได้ แล้วเมื่อเวลาสึกหรอทรุดโทรม เราอาจจะซ่อมแซมมันได้ ในที่สุดจนเกินวิสัยของช่าง พัง ต้องเข้าใจไว้ด้วยว่า เวลาข้างหน้ามันจะเป็นอย่างนี้ ถ้าอาการอย่างนี้ปรากฏขึ้นกับเรา เราต้องวางอารมณ์เสียท่านบอกว่าจิตใจเราพอใจในกามฉันทะไหม ถ้าจิตใจพอใจในกามฉันทะ ในกามารมณ์ก็รู้อยู่ว่าจิตใจเราพอใจในกามฉันทะไหม ถ้าจิตใจพอใจในกามฉันทะ ในกามารมณ์ก็รู้อยู่ว่าจิตใจเราพอใจในกามฉันทะ ในกามารมณ์ หรือว่าจิตใจของเราไม่พอใจในกามฉันทะ เราก็รู้อยู่ว่าจิตใจของเราไม่พอใจในกามฉันทะ จิตใจของเราพอใจใน กามฉันทะเพราะอะไรเป็นเหตุ เราก็รู้อยู่ว่าความพอใจในกามฉันทะ เพราะอะไรเป็นเหตุ เราก็รู้อยู่ว่าความพอใจในกามฉันทะ เพราะอะไรเป็นต้นเหตุ ถ้าเราไม่มีความพอใจในกามฉันทะเพราะอะไรเป็นเหตุ เราก็รู้อยู่ว่าการไม่พอใจในกามฉันทะมีอะไรเป็นเหตุ อันนี้องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ตรัสอย่างนี้ ท่านตรัสให้เราเอาสติเข้าไปควบคุมเพื่อความรู้ไว้
    ทีนี้เราก็ว่ากันถึงรูปตัวเดียวก่อน ถ้าได้รูปเสียตัวอย่างอื่นมันก็เจ๊ง พอพังรูปได้อย่างเดียว เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณพังหมด หรือเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรืออะไรก็พังหมด การพิจารณากิเลส ทำลายกิเลสเขาตัดตัวใหญ่ตัวเดียวเท่านั้น ตัวรูปตัวนี้เป็นปัจจัยให้เกิดสักกายทิฏฐิที่เราถือว่าเป็นเรา เป็นของเรา เราเป็นเจ้าของ เราเป็นของของเรา อะไรพวกนี้ นี่รูปนี่เป็นตัวสำคัญ นี่เรามานั่งพิจารณาในรูป ว่าอารมณ์ของเราที่พอใจในรูปนี่อะไรมันเป็นเหตุ ทำไมเป็นเหตุให้เราพอใจในรูป เรามานั่งนึกกันดู ที่เราเกิดมาพอใจในรูปขึ้นมาก็เห็นว่ารูปสวย รูปนี่สวยดี จะเป็นรูปคน รูปสัตว์ หรือว่ารูปวัตถุก็ตาม เอากันแค่รูป ไม่เลือกรูป รูปมันสวยดี ทีนี้เรามานั่งนึกต่อไปว่ารูปนี่มันสวยตลอดกาลตลอดสมัยไหม เราก็ใช้ปัญญาเข้ามาพิจารณาหากฎของความเป็นจริง สมมติว่าเราชอบใจคน เอางี้ดีกว่ามันเห็นง่าย และก็รู้สึกว่าจะเป็นเรื่องใหญ่เสียด้วย เรื่องพอใจในรูปคนนี่เป็นเรื่องใหญ่ ฆ่ากันตายก็เรื่องพอใจในรูปนี่แหละ เราพอใจในรูปทรงคนสักคนหนึ่ง พอใจมาก รูปนี้ดีมาก สวยสดงดงามมีทรวดทรงดี เราก็ใช้ปัญญาพิจารณาไปหาภาพเก่า ๆ ไปดูคนเก่า ๆ คนแก่ ๆ ที่เขากำลังถ่ายภาพเมื่อเขากำลังหนุ่มกำลังสาว ว่าสมัยที่กำลังหนุ่ม กำลังสาวท่านพวกนี้มีรูปร่าง หน้าตา ทรวดทรงเป็นอย่างไร มีลักษณะสีสันวรรณะเป็นอย่างไร แล้วเราก็มานั่งพิจารณากันว่า ทรวดทรงของท่านก็สวยดี สวยงามดีมาก แล้วเอามาเทียบกับเมื่อตอนอายุ ๗๐ - ๘๐ ใครมันจะสวยกว่ากัน ถ้าหากว่าชาวบ้านธรรมดา ๆ เขาบอกว่านี่ตอนอายุ ๑๗ ๑๘ ๑๙ ๒๐ เศษ ๆ สวยกว่า ๖๐ หรือ ๘๐ แน่ ทั้งนี้เพราะเราเห็นว่ารูปดี เพราะจิตมีกิเลส กิเลสมันบัง ลืมใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่า นี่จิตใจของเราพอใจในรูป รึเปล่า กามฉันทะ ไอ้พอใจนี่หมายใจเห็นว่าสวย แต่นี่มันจะไม่เปลี่ยนแปลง สวยตลอดเวลา ถ้ามั่นคงอยู่แค่นี้มันจะต้องมั่นคงอยู่ตลอดเวลา ทั้งคน ทั้งสัตว์ และวัตถุ ไม่คิดว่ามันจะเก่า ไม่คิดว่าจะแก่ ไม่คิดว่าจะพัง ไม่คิดว่าจะทรุดโทรม ถ้าอย่างอารมณ์จิตของเราคิดอย่างนี้ พระพุทธเจ้าบอกว่า รู้ว่าจิตของเราตกอยู่ในกามฉันทะ คือรูปเป็นต้น
    เมื่อจิตตกอยู่ ในกามฉันทะแล้ว ก็ต้องหาทางลัดทันที ไม่ต้องไปนั่งไล่แบบ ไปมัวนั่งไล่แบบรู้ว่าจิตพอใจในกามฉันทะ ก็รู้อยู่ว่าจิตพอใจในกามฉันทะ จิตไม่พอใจในกามฉันทะก็รู้ว่าจิตไม่พอใจในกามฉันทะ จิตพอใจในกามฉันทะ เพราะอะไรเป็นเหตุ ก็รู้อยู่ว่าจิตพอใจในกามฉันทะเพราะอะไรเป็นเหตุ ถ้านั่งท่องอย่างนี้อีกหลายแสนอสงไขยกัป ก็ยังไม่ได้ขึ้นสวรรค์ อย่าว่าแต่นิพพานเลย นี่เราใช้ปัญญา พบจุดไหนตีจุดนั้นเลย คือว่าทันกันนะ เอาสติสัมปชัญญะควบคุมจิต เรารู้ นี่จิตเราไปติดในรูป เสียแล้วนี่ แล้วก็พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องรูปว่าอย่างไร คำว่ารูปนี่เป็นอนิจจัง มันไม่เที่ยง เพราะว่ามีการเปลี่ยนแปลงเป็นปกติ เคลื่อนไปอยู่ตลอดเวลา รูปคนหรือว่ารูปสัตว์นี่จะเห็นว่า เกิดแล้วมันใหญ่ขึ้นหรือแก่ลง เห็นว่ามันเคลื่อนง่าย ทีนี้รูปของวัตถุเราคิดว่ารูปของวัตถุมันจะไม่เคลื่อน ก็ไม่จริง มันเก่าลงไปทุกวัน มีความเศร้าหมองลงไปทุกวัน มีความทรุดโทรมลงไปทุกวันไม่มีคงที่ เราชอบใจไปดูในตลาด แหมของอย่างนี้ชอบใจมาก เสื้อตัวนี้ดีมาก กางเกงตัวนี้ดีมาก สร้อยหรือแหวนอันนี้ดีมาก ชอบใจ พอใจมาก ขนาดไม่มีสตางค์ซื้อ ไปกู้เขามาซื้อก็มีเพราะถือว่าพอใจที่สุด แต่ว่าเอามาทิ้งไว้ไม่นานเท่าไรอารมณ์ใจมันก็เริ่มเบื่อ อยากจะได้ชุดใหม่เพราะอะไร เพราะชุดเก่ามันเริ่มทรุดโทรม จืดตาลงไป อาการที่จิตเกิดพอใจในรูปกามฉันทะตัวนี้นะ ก็ใช้ปัญญาพิจารณา ว่านี่ทำไมเราพอใจในรูป ถ้าเป็นรูปวัตถุ เราก็มานั่งขัดสีฉวีวรรณให้ดี ทาสีสัน น้ำมันให้สวย ถ้าเราคิดว่ารูปนี่สวย มันสวยจริงหรือไม่จริง ถ้ามันสวยจริง ๆ มันต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลง มันต้องทรงสภาพเป็นนิจจัง นี่ลองมาตั้งไว้กลางแจ้ง ฝุ่นละอองปลิวเข้ามาไม่ต้องไปปัดมัน ฝนตกแดดออกเท่าไร ไม่ต้องระวังรักษาเอาทิ้งไว้สัก ๔ - ๕ วัน แล้วมาดูใหม่ รูปนั้นมันจะสวยสดงดงามเหมือนเดิมไหม นี่ว่ากันถึงวัตถุระยะสั้น เราก็จะเห็นได้ทันทีว่ารูปนี้ไม่ทรงสภาพเดิม มันเริ่มเปลี่ยนแปลงลงไป มีความมัวหมองลงไป อันนี้ว่ากันถึงรูปคนและสัตว์ จะเป็นคนผู้หญิง หรือผู้ชาย สัตว์ตัวผู้หรือตัวเมียมีสภาพเหมือนกัน นี่เป็นรูปที่สามารถดึงดูดกำลังใจให้เกิดอันตรายกับบุคคลมาก
    ความรักในรูป พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ปิยโต ชายเต ภยํ ปิโต ชายเต โสโก ความเศร้าโศกเสียใจ เกิดจากความรัก ภัยอันตรายเกิดจากความรัก นี่ถ้าเราไม่รักไม่พอใจเสียอย่างเดียวความเศร้าโศกเสียใจสำหรับรูปนั้นมันไม่มีสำหรับเรา ตัวอย่างที่จะเห็นได้ง่าย ๆ ชาวบ้านชาวเมืองเขาตายให้พระบังสุกุลมานับไม่ถ้วนแล้ว อยากจะถามพระทุกองค์ที่ไปบังสุกุลนั้น มีความสลดใจ เสียใจว่าตาคนนี้แกตายบ้างไหม ถ้าหากว่าคนที่เรารักเป็นสามี ภรรยา บุตร ธิดา ญาติพี่น้อง บิดา มารดา เกิดตายขึ้นมานี่ความรู้สึกมันเป็นอย่างไร ศพคนอื่นที่เราไม่เคยสัมพันธ์กันตาย กับศพของเราตายลงไปเป็นยังไง มีความรู้สึกเหมือนกันไหม ของที่เรามีอยู่ถ้าไม่ใช่คนที่เหมือนกัน เป็นวัตถุ แก้วแหวนเงินทอง ของมีค่าที่เราพอใจมาก ของของชาวบ้านเขาสูญหายเท่าไรเราไม่หนักใจ ของของเราหายบ้างใจไม่สบายเดือดร้อน มีอารมณ์กลับ มีอารมณ์ไม่สบาย เสียดาย นี่ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ปิยโต ชายเต โสโก ความเศร้าโศกเสียใจเกิดจากความรัก นี่ถ้าเรามีความรักในรูปจะเป็นรูปของใครก็ช่าง ไอ้รูปตัวนี้มันไม่มีอาการทรงตัวนี่ มันมีการเสื่อมไปในที่สุด เสื่อมไปตามกฎธรรมดา มันเสื่อมไปเสื่อมมาก็เกิดพัง มันไม่มีที่จะเสื่อม หมดอายุแห่งการเสื่อม หาที่เสื่อมไม่ได้พอพังลงแล้ว ถ้าเป็นวัตถุเครื่องใช้เราก็ต้องเสียสตางค์ไปซื้อใหม่ บางทีก็นึกเสียดาย ไอ้เครื่องนี่ถ้ามันไม่เสียมันดีจริง ๆ มันดีใช้ดี ดันมาเสียได้ ไม่ชอบใจเสียสตางค์ ความเร่าร้อนมันเกิด ภัยมันเกิดในจิตแล้ว ความเสียใจในคนมีกำลังใจอ่อน พอวัตถุเครื่องใช้ที่เราหามาได้ ต้องใช้ราคาแพง กว่าจะหามาได้แต่ละใบก็แสนยาก แต่ว่าวัตถุเครื่องใช้อย่างนี้มันพังลงไปแล้วแหมไม่น่าเลย หาสตางค์ใหม่ มาซื้อใหม่ง่ายเมื่อไหร่ นี่ความไม่สบายใจมันก็ปรากฏจัดเป็นภัยในจิต จิตมีความต้องการอยู่อย่างเดียว คือ ความเยือกเย็น นี่ว่ากันถึงวัตถุนะ
    ทีนี้มาว่ากันถึงสิ่งมีชีวิต ที่จิตของเราเข้าไปรักในสิ่งมีชีวิต รูปในสิ่งที่มีชีวิตที่เราเห็นว่าสวยสดงดงามน่ะ เรามีความฉลาดดีแล้วรึ ถามใจมัน ถามซิว่าไอ้แกต้องการรูปแบบนี้ ที่เห็นว่าสวยสดงดงาม รูปมันสวยจริง ๆ หรือไง ดีจริง ๆ รึยังไง ถามมันดู แต่ว่าอย่าไปถามเวลามันเมานะ ตอบว่าดีแน่ ใครว่าไม่ดีโกรธเสียด้วย เวลาที่จะถามก็ถามเวลาที่จิตสบาย จิตทรงอุเบกขารมณ์ คือจิตไม่แตะซ้าย และไม่แตะขวา จิตสบาย ใช้ปัญญาพิจารณาหาทางดูรูป ว่ารูปที่เราว่าสวยมั่นคง ที่เรามีความพอใจ ว่าดีจริง ๆ ไหม สวยจริง ๆ ไหม เอามาว่ากันถึงรูปคนและสัตว์ คนเราที่เขาว่าสวยสดที่สุดในโลก สิ่งที่เราเห็นว่าสวยน่ะ จิตมันหลอกจิตเอง รูปคนและสัตว์ที่เราเห็นว่าสวยแค่ผิวหนัง ที่เราเรียกกันผิวกำพร้า หนังกำพร้า บาง ๆ นิดเดียว ความจริงบางไม่ถึงครึ่งเซ็นต์ มันบางมากอยู่นิดเดียวที่เราเห็นว่าสวย เป็นส่วนปกปิดความสกปรกภายในเข้าไว้ อาการสวยของผิวหนังนี่มันก็ไม่คงที่ ต้องเจ้าของเขาพยายามอาบน้ำขัดสีฉวีวรรณอยู่เสมอ ป้องกันเหงื่อไคลที่มันไหลออกมา ซึมมาจากภายใน ก่อนที่จะมาเปื้อนภายนอก มันจึงจะเกลี้ยงเกลา ถ้าจะเอากันจริง ๆ ปล่อยไว้เฉย ๆ ๓ - ๔ วันเท่านั้น ก็คลายความสวยเพราะสิ่งสกปรกที่ปรากฏอยู่ข้างในก็หลั่งไหลออกมา เมื่อมันซึมออกมา อาการที่ปรากฏเกลี้ยงเกลาอีกไม่มีแล้ว ในผมเผ้าที่หวีอย่างสลวย ๆ นี่ ไม่ไปปรุงไปแต่งสัก ๔ - ๕ วัน ไม่สระไม่สาง ไม่ล้าง ไม่ฟอก หรือไม่หวีไม่ปรับปรุงใหม่ก็ดูอะไรไม่ได้ นี่เป็นอันว่าที่เราหลงใหลใฝ่ฝันในรูปก็ความโง่ เราไม่หาความจริง เพราะรูปทุกรูปเต็มไปด้วยความสกปรก หาความสะอาดไม่ได้ ไอ้ความสวย ความทรงสภาพของรูป มันก็ไม่ทรงอยู่ตลอดกาล ตลอดสมัย มันก็หาทางทรุดโทรมต่อไป นี่เอากันเฉพาะสภาพภายนอก
    การพิจารณารูปของพระเราต้องวิ่งกลับไปหากายคตานุสสติกรรมฐาน เพราะว่าการเจริญพระกรรมฐานครั้งหนึ่ง จะทำกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง โดยเฉพาะท่านที่เป็นพระอริยเจ้าทั้งหมด ไม่มีพระอริยเจ้าองค์ใดเจริญพระกรรมฐานครั้งเดียว กองเดียวครั้งหนึ่งที่เราเจริญพระกรรมฐานต้องใช้กรรมฐานหลาย ๆ อย่างเข้าควบคุมกัน สมมติว่าเราเห็นว่ารูปสวย เราต้องการในรูป ความต้องการสิ่งที่สะอาดสะอ้าน สวยสดงดงาม เราก็วิ่งเข้าไปหากายคตานุสสติกรรมฐาน นี่ว่ากันในวิสุทธิมรรคนะ ถ้าในมหาสติปัฏฐานสูตรนี่เรียกว่า ปฏิกูลบรรพ ที่ให้พิจารณาอาการ ๓๒ ที่เรียนมาแล้ว การพิจารณาพระกรรมฐาน จะดำน้ำส่งไปเฉพาะกองเดียวนี่ไม่ได้ เมื่อเวลาความรักในรูป รักในรูปสวยเกิดขึ้นมา ดูกายคตานุสสติกรรมฐาน ปฏิกูลบรรพ อันเดียวกัน แต่เรียกคนละอย่าง ในวิสุทธิมรรคเรียกว่า กายคตานุสสติกรรมฐาน ในมหาสติปัฏฐาน เรียกว่า ปฏิกูลบรรพ แต่การศึกษาเหมือนกันหมดทุกอย่าง พระพุทธเจ้าไม่เทศน์อะไรคัดค้านกัน เราดูอาการ ๓๒ ของคน เล็บ ฟัน ตับ ไต หนัง ไส้ ปอด อาหารใหม่ อาหารเก่า อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเลือด น้ำหนอง น้ำเหลือง นี่มันสวยไหม นี่มาดูกันอย่างนี้ ว่าอะไรมันสวยแน่ นี่พอลอกหนังเท้าไปแล้วหมดราคาเลย ไอ้สิ่งที่เราจะสวยก็คือหนังกำพร้านิดเดียวของร่างกาย เมื่อไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ไม่ถึงหนึ่งในแสนของน้ำหนักร่างกาย หนังกำพร้ามันบางจริง ๆ นี่ที่เราเห็นว่าสวย เมื่อไม่ลอกหนังกำพร้าเราดูไปไม่ช้าก็พบกับความทรุดโทรม ไอ้ผมดำ ๆ ไม่ช้าก็เริ่มขาว สายตายาวก็เริ่มสั้น ฟันที่ดี ๆ ก็เริ่มโยก ผิวพรรณที่ดี ๆ ที่เปล่งปลั่ง ก็เริ่มย่น ๆ ยู่ ๆ ยู่ ๆ ยี่ ๆ ทรวดทรงที่เคยดีก็เปลี่ยนแปลงเข้าไปหาความทรุดโทรม นี่เราดูข้างนอกก็เห็นชัด แต่ทว่ามันอาศัยความผูกพัน ที่มีอยู่ในใจ เราไม่พยายามมอง
    ที่เราไม่พยายามพิจารณาเพราะอะไร เพราะเราฉลาดเกินไป ไอ้ความจริงคำว่าเกินไป หรือไม่ถึงเขาไม่ใช้ มันต้องให้พอดี ที่เราฉลาดเกินไปเพราะกิเลส ความเศร้าหมองของจิตทำให้ใจบอด ตัณหาความทะยานอยากมันสั่งสอนใจว่าดีแน่ ๆ แกอย่าปล่อยอุปาทานบอกต้องดึงเอาไว้ อย่าปล่อยเชียวนะมันของดี ไอ้อกุศลกรรม ก็สนับสนุนเอาทำเลย ลงมือ ไอ้ ๔ คนนี่มันเป็นเจ้านายของเรา นี่เราเกิดมาเพราะเจ้านาย ๔ คนมันบังคับให้เกิดกิเลส ความเศร้าหมองของใจคือมีอารมณ์ชั่ว ตัณหาความทะยานอยากไม่ใช้ปัญญาพิจารณา อุปาทานยึดถือว่าการเกิดเป็นของดี ไอ้โน่นก็ของกู ไอ้นี่ก็ของกู ของกูมันส่งเดช ทั้ง ๆ ที่รู้มันจะพังก็ของกูอยู่นั่นแหละ อกุศลกรรมเมื่อจิตมันชั่วอย่างนี้ มันโง่แบบนี้ ก็ทำในสิ่งที่โง่ ๆ อกุศลแปลว่าโง่ กุศลเขาแปลว่าฉลาด คนโง่ทำไปก็สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตัวเอง คนฉลาดทำเขาไม่สร้างความเดือดร้อนให้ สร้างความสบายใจให้ เจ้านายมันบังคับเรา เราจึงมีใจบอด ไม่เรียกว่าตาบอด ตาเห็นแล้ว ถ้าใจฉลาดเสียอย่างเดียว ตาไม่มีอำนาจบังคับใจ นี่เราตาบอดก็เพราะอาศัยกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม มันทำให้บอด สร้างความยึดถือให้เกิดขึ้น เราจึงไม่เห็นตามความเป็นจริง แต่ความจริงทั้งหลายเหล่านี้มันปรากฏอยู่ทุกวัน ความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ความสกปรกของร่างกาย ไม่ใช่แค่สิ่งภายนอกแค่ผมนะ ไม่สระ ไม่สาง ไม่ชำระมัน ไม่หวี ไม่ทำอะไร ๒ - ๓ วัน ร่างกายทนไม่ไหวดูไม่ได้ ไอ้คนที่เราเห็นว่าสวยมันก็หายไป ทีนี้เรามาว่ากันถึงกายคตานุสสติ หรือปฏิกูลบรรพ ก็ต้องนับว่าเดินเข้าไปถึงภายในกาย ว่าชิ้นส่วนของกายมีอะไรบ้าง ตับ ไต ไส้ ปอด อาหารใหม่ อาหารเก่า อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง อย่างนี้เป็นต้น มันสะอาดหรือว่ามันสกปรก
    มาว่ากันถึง กายคตานุสสติหรือปฏิกูลบรรพแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วหันเข้าไปว่ากันถึงพิจารณานวสี ๙ นวสีแปลว่า ป่าช้า ป่าช้า ๙ อย่าง คือพิจารณาคนเกิดมาแล้วตาย ๑ วัน ตาย ๒ วัน ๓ วัน ๔ วัน ๕ วัน ๖ วัน เน่าอืดขึ้นมาแล้วก็โทรมลงไปเหลือแต่กระดูกเหียวแห้ง ร่างกายหมดไปมีแต่กระดูก ต่อมาก็กระดูกเรี่ยราย มานั่งพิจารณาดูว่ารูปกาย ที่เราเห็นว่าสวยนี่มันสวยจริงไหม เอารูปกายของคนที่ยังไม่ตายมาวัดกันกับคนตายว่า ไอ้รูปกายของคนที่มันตายแล้วนี่ พอตายไปวันเดียวรักกันเกือบตายยังไม่กล้าเข้าใกล้ เห็นไหม อีตอนอยู่ด้วยกันจากกันไม่ได้ กลับบ้านผิดเวลาหน้างอ แต่พอตายไปวันเดียวพวกไม่กล้าเข้าใกล้ ถอยห่าง วันเดียวนะ นี่เพราะตายแล้ว ความสวยไม่มีแล้ว ความทรงสภาพไม่มี
    เมื่อเห็นว่ารูปสวยนะ เราก็พิจารณาว่าเราหลงในรูปเพราะอะไร เราก็สร้างความเข้าใจว่า เราหลงในรูปเพราะความโง่ คือกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม ๔ อย่าง องค์สมเด็จพระชินวรซึ่งเป็นสัพพัญญูวิสัย เป็นอรหันต์ เข้าถึงนิพพาน มีความสุข ท่านสอนว่าอย่างไง เราก็ล้วงหาความจริงมาว่า พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ถ้าเห็นรูปที่ไหนสวยละก้อให้พิจารณาปฏิกูลบรรพ เฉพาะในมหาสติปัฏฐานสูตร ถ้าหากเป็นกรรมฐาน ๔๐ ก็เรียกว่า กายคตานุสสติกรรมฐาเหมือนกัน พิจารณาอาการ ๓๒ ของรูป ว่าส่วนไหนสะอาดบ้าง น้ำลายที่เรากลืนอยู่ในปาก อมได้ กลืนได้ พอบ้วนออกมาแล้วไม่กล้าแตะต้อง เพราะเห็นว่ามันสกปรก เพราะฉะนั้น ส่วนของร่างกายทั้งหมดมีอะไรสะอาด ไม่มีอะไรน่ารัก พอไปพิจารณาป่าช้า ๙ เข้า การพิจารณาคนตาย ตั้งแต่เริ่มตายใหม่ ๆ จนค่อยไปถึงขึ้นอืด น้ำเหลืองไหล แล้วก็โทรมลง จนกระทั่งแห้งหนังหุ้มกระดูก เหลือแต่กระดูกและกระดูกเรี่ยรายไป เราก็จะมองไม่เห็นความสวยของร่างกายแม้แต่สักนิดเดียว ไม่เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา ถ้าเราพิจารณากายคตานุสสติกรรมฐานก็ตาม หรือป่าช้า ๙ ก็ตาม มันเป็นการตัดความพอใจในรูป อย่างนี้ชื่อว่าเป็นปัจจัยให้เราระงับ เราว่ากันในนิวรณ์ ๕ ประการ ความจริงแค่อย่างเดียว นิวรณ์ ๕ นี่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ข้อเดียว ๖ อย่าง หมายความว่า ในข้อต้นมี ๖ จุด ถึงแค่จุดแรก เราก็ไม่อยากจบเสียแล้ว
    เป็นอันว่า วันนี้ก็ฝากท่านทั้งหลายให้ไว้มาพิจารณาเฉพาะรูปข้อเดียว เอาจิตใจพิจารณาหาความเป็นจริง ถ้าไปเจอรูปผู้ชาย รูปผู้หญิง สัตว์ตัวผู้ สัตว์ตัวเมีย หรือว่าวัตถุก็ตาม ที่เราเห็นว่าสวย เห็นว่าพอใจ ก็ตั้งใจพิจารณาหาความจริง ด้วยอำนาจของปัญญา ว่ารูปที่เราเห็นนี่สวยจริงไหม สวยตรงไหน ความสวยทรงอยู่ไหม ที่เราเห็นว่าความสวยภายนอก ข้างในมันสกปรกหรือสะอาด แล้วก็พิจารณากระแสพระสัจจธรรมขององค์สมเด็จพระบรมโลกนาถในด้านกายคตานุสสติ หรือปฏิกูลบรรพ คือนวสี ๙ เท่านี้ก็จะทำให้ใจของทุกท่านคลายต่อความพอใจในรูป ถ้าพยายามทำมาก ๆ ก็เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอารมณ์ของฌาน แล้วก็สามารถใช้อำนาจของวิปัสสนาญาณว่ามันทรงแบบนี้เป็นธรรมดา เราจะไม่ควรยึดถือมันเพียงแค่นี้ จิตใจของท่านก็เข้าถึงพระอนาคามีได้อย่างสบาย นี่เป็นปัจจัยของพระอนาคามีนะ ก็จบมันเพียงแค่นี้ อย่าลืมว่าเรื่องของรูปนี่น่ะพิจารณากายคตานุสสติกรรมฐานนี่เป็นปัจจัยของพระอรหันต์ ถ้าพิจารณาด้านอสุภกรรมฐาน คือป่าช้า ๙ เป็นปัจจัยของพระอนาคามี นี่การสำเร็จมรรคผลไม่จำเป็นว่าจะต้องไปนั่งไล่เบี้ยโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ บางคนจิตเข้าสู่โคตรภูญาณของพระโสดาบันมันก็วิ่งปรี๊ดไปกระทบพระโสดา สกิทาคา อนาคา เมื่อไหร่ไม่รู้ตัว รู้ตัวเอาทีเดียวเป็นพระอรหันต์ชั่วชั่วขณะจิตเดียว อันนี้ไม่แน่นัก
    สำหรับวันนี้ก็จะพูดเรื่องนิวรณ์ ๕ ต่อจากวานนี้ นิวรณ์ ๕ นี่มีความสำคัญ ถ้าหากว่าเราไม่พยายามระงับนิวรณ์ ๕ ประการแล้ว อารมณ์จิตของเราก็เข้าถึงฌานไม่ได้ ที่การพูดวันนี้ก็เป็นเรื่อง ธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน เราจะสังเกตด้วยว่า มหาสติปัฏฐานสูตรพระพุทธเจ้าจะค่อย ๆ สอนขึ้นมาตามลำดับ ตั้งแต่เบาถึงหนักที่สุด คือว่า หนักที่สุดก็เข้าถึงนิพพานนั่นเอง เป็นอารมณ์ของพระนิพพาน มาตอนนี้แล้วเข้าถึงจุดหนัก เราต้องรักษาอารมณ์หนัก ในตอนต้นเราจะเห็นว่า พระองค์สอนเบา ๆ อันดับแรกก็ได้แก่ การพิจารณาอานาปานุสสติกรรมฐาน กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก แบบนี้ถ้าเราพิจารณากันจริง ๆ ก็รู่สึกว่า เป็นเรื่องธรรมดา แต่พระองค์ต้องการให้ทรงสติสัมปชัญญะให้มากจนเป็นฌาน ต่อมาอีกทีก็เป็นอิริยาบทการเดินไปเดินมา สติสัมปชัญญะการรู้ตัว นี่ก็เริ่มสูงขึ้นทีละหน่อย ต่อมาจากนั้นก็ปฏิกูลสัญญา พิจารณาเห็นร่างกาย ว่าเป็นของสกปรกในอาการ ๓๒ มาจากจตุธาตุฐาน ๔ พิจารณาร่างกาย มีแต่เพียงธาตุ ๔ ประชุมกัน ต่อมาก็นวสี ๙ พวกนี้รู้สึกทำแบบเบา ๆ ไม่หนักนัก ต่อมาก็เริ่มหนักตอนพิจารณาเวทนา นี่เริ่มดูเวทนาในเวทนา ก็คือดูอารมณ์ของจิตนั่นเอง ต่อมาก็ดูจิตในจิต ว่าจิตมีกิเลสหรือไม่มีกิเลส แต่ว่าในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้งหมดเป็นสมถะและวิปัสสนาทุกข้อ
    นี่หากว่าท่านทั้งหลายเป็นผู้ฉลาดในการเจริญมหาสติปัฏฐานสูตร ก็จะมีผลพิเศษคืออริยมรรค อริยผล ไม่ยากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นี่หลวงพ่อปานท่านพูด ท่านบอกว่าท่านผู้ใดที่มีการคล่องในมหาสติปัฏฐานสูตร คำว่าคล่องในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเราดูหนังสือคล่อง คล่องในการปฏิบัติทุกบรรพ ทุกบท ท่านผู้นี้รู้กำหนดเวลาตาย ว่าจะตายเมื่อไหร่ ไอ้การที่เราจะตายจะตายแบบไหน เมื่อรู้เสียแล้วก็สบาย เพราะเรารู้ว่ามันจะตาย เราก็เตรียมตัวไว้ก่อน ยิ่งไปกว่านั้นคนที่คล่องในมหาสติปัฏฐานสูตร คือปฏิบัติคล่องจิตก็ถึงทุกระดับ ตายแล้วไม่เหม็น นี่คนอื่นผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าใครคล่องหรือไม่คล่อง แต่หลวงพ่อปานน่ะผมรู้ว่าคล่องเพราะว่าทั้งหมดในกรรมฐาน ๔๐ ก็ดี ในมหาสติปัฏฐานก็ดีไปถามท่าน ท่านไม่เคยนั่งนึกเลย คือไม่เคยหยุดคิด เรียกว่าพอถามจบคำ ท่านก็ติอบทันที นี่แสดงว่าท่านคล่อง ทีนี้เวลาตายท่านตายแล้วเอาศพไปไว้ เพื่อรอลูกศิษย์จนเขาเข้าไปครบจนถึง ๘ วัน ๘ หรือ ๙ วัน นับกันดูนะ ท่านตาย ๖ โมงเย็น แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ แล้วเขาก็เข้าไปเอาศพกันวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๙ เลย ๘ ไปนิด ๆ รู้สึกว่าตัวท่านเองมีสภาพเหมือนคนนอนหลับกลิ่นสาปแม้สักนิดก็ไม่มี มีคนไปรดน้ำศพทุกวัน ให้รดแต่ที่เท้า มีสภาพเหมือนคนที่นอนหลับ นี่อำนาจของมหาสติปัฏฐานสูตร นี่สำหรับต่อไปนี้
    เมื่อวานนี้เราพูดถึงนิวรณ์ ๕ เรื่องรูป เฉพาะนิวรณ์ที่หนึ่งนะ ท่านบอกว่าอย่าหลงใหลใฝ่ฝันในกามฉันทะ เมื่อจิตเรามีกามฉันทะเราก็รู้อยู่ว่าจิตตกอยู่ในกามฉันทะ หรือว่าเมื่อจิตไม่มีกามฉันทะก็รู้อยู่ว่าจิตไม่มีกามฉันทะ เมื่อกามฉันทะมันเกิดขึ้นกับจิตของเรา มีอะไรเป็นปัจจัย เราก็รู้และมันดับไปจากจิตเราเพราะมีอะไรเป็นปัจจัยเราก็รู้ หรือว่า จิตของเราไม่มีฉันทะ ความพอใจใด ๆ ทั้งหมด เพราะอะไรเป็นปัจจัย เราก็รู้นี่เรียกว่าเรารู้ เมื่อรู้แล้วท่านบอกว่าให้เป็นเพียงสักแต่ว่ารู้ เพียงสักแต่ว่ากำหนดไว้ เธอทั้งหลายจงเห็นว่าการเกิดขึ้น แล้วก็การเสื่อมไป เป็นของธรรมดา พวกเธอทั้งหลายจงอย่ายึดถืออะไรทั้งหมดในโลก ในเมื่อเรารู้ตัวเราจะตายเสียอย่างเดียว เราจะไปยึดถืออะไรทั้งหมดในโลก มันเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าเราไม่มีโอกาสจะทรงอยู่ในโลกได้ตลอดกาลตลอดสมัย นี่เราท้าวเรื่องจากวานมาอย่างนี้ เมื่อวานเห็นว่าพูดถึงรูปอย่างเดียว ในนิวรณ์ตัวแรกก็เห็นจะพอสมควร
    ต่อไปเรามาพูดถึงเรื่องเสียง เสียงนี้ก็เป็นนิวรณ์เหมือนกัน กามฉันทะ เรามีความพอใจและใคร่ในเสียงเพราะ เสียงที่เพราะนี่ไม่ใช่เสียง เสียงเป็นระฆังเงินเสมอไป มันอาจเป็นประเภทเสียงระฆังแตกก็ได้ แต่ทว่าคนพูดพูดให้เราชอบใจในวาทะที่เขากล่าวถ้าเรามีความพอใจในเสียง ถ้าเสียงนั้นเป็นเสียงธรรมะมันก็มีคุณ ถ้าเสียงธรรมะนี่พระพุทธเจ้าท่านไม่เรียกว่ากามฉันทะ ท่านเรียกว่า ธรรมฉันทะว่ามีความพอใจในธรรม ถ้าหากว่าเขาถามว่า คนเรามุ่งพระนิพพานนี่เป็นตัณหาไหม ก็มีนักเทศน์หลายองค์เคยมาถาม เทศน์ด้วยกันอยากได้ไอ้นั่นก็ตัณหา อยากได้ไอ้นี่ก็ตัณหา อยากมีผัวก็ตัณหา อยากมีเมียก็ตัณหา อยากมีลูกเต้า อยากรวย อยากสวย เป็นอาการของตัณหาทั้งหมด คำว่า ตัณหานี่แปลว่าความทะยานอยากลงเบื้องต่ำ เกาะโลก มีอุปาทานเป็นเชื้อนำหรือเป็นผู้บังคับบัญชาการ และมีอวิชชาความโง่เป็นผู้สนับสนุน นี่ถ้าถามว่า ถ้าคนเราอยากไปนิพพานเป็นตัณหาไหม ก็เห็นจะ ๙๙ % ที่ตอบว่า คำว่าอยากแปลว่าตัณหา ในเมื่ออยากไปนิพพานก็แสดงว่าเป็นตัณหาเหมือนกัน ก็เลยตอบว่า นี่แกเทศน์แล้วแกก็เดินลงนรกไปเลยนะ แกเทศน์แบบนี้แกเลิกเทศน์แล้วก็เดินย่องไปนรกเลยสบาย ไปเสียคนเดียวก่อนดีกว่า มาขวนขาวบ้านเขาไปอีก ถามเป็นอย่างไร บอกว่าต้องการไปนิพพานเขาเรียกว่าธรรมฉันทะ ไม่ใช่กามฉันทะ เรียกว่ามีความพอใจในธรรม เป็นอาการซึ่งทรงไว้ซึ่งความดี นี่พวกเราฟังแล้วก็จำไว้ด้วยนะ ถ้าใครเขามาถามจะได้ตอบถูก
    ทีนี้มาว่ากันถึงเสียง ว่าใจเราเข้าไปพบเสียงเรารักหรือพอใจในเสียงนั้น จะเป็นเสียงร้องส่งร้องเพลง เสียงพูด เสียงประจบสอพลอก็ตาม เราก็มานั่งพิจารณา ถ้าหากว่าเราติดในเสียง อารมณ์มันติดอยู่ เวลาที่เรานั่งทำสมาธิหรือภาวนาวิปัสสนาญาณ อันนี้ถ้าจิตเราเข้าไปข้องในเสียง ว่าเอยายคนนั้น พูดเพราะจริง คนนี้พูดสนุกจริง จิตมันก็กระสับกระส่ายตกอยู่ในอุทธัจจกุกกุจจะจิตไม่เข้าถึงสมาธิ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงบอกให้วางเสียงเสียอย่าไปยุ่งกับเสียงใด ๆ ทั้งหมด นอกจากเสียงพระธรรมวินัย เสียงพระธรรมวินัยเป็นเสียงแบบไหน ก็เสียงที่เราได้ยินได้ฟังอยู่นี่แหละ นี่แหละเป็นเสียงธรรม คือเสียงที่ปรารภในธรรม ถ้าหากว่าเราพอใจในเสียง ที่ปรารภในธรรม แทนที่จะเป็นโทษ กลับเป็นประโยชน์ใหญ่ ฟังธรรมะด้วยความเลื่อมใส แต่ไม่เข้าใจ เวลาที่อยู่ในยามว่าง ยามปกติเป็นพระก็ดี สึกออกไปก็ดี ก็ยังนึกอยู่เสมอว่าครั้งหนึ่งในชีวิตที่เราได้นั่งฟังเสียงธรรมะกันอยู่หลายวันตลอดเวลาเกือบจะครบ ๓ เดือน หรือยิ่งกว่านั้น เสียงนั้นเป็นเสียงพอใจของเรา นี่แสดงว่าจิตน้อมไปอยู่ในส่วนของกุศล
    ในเมื่อจิตน้อมไปอยู่ในส่วนของกุศลแล้ว พระพุทธเจ้ากล่าวว่า จิตฺเต ปริสุทฺเธ สุคติ ปาฏิ กงฺขา เมื่อจิตพอใจในกุศล เวลาตายมันก็ไม่เกิดเป็นคนแล้ว เป็นเทวดาเป็นแน่ งูเหลือมก็เป็นเทวดา ค้างคาวฟังเสียงพระเจริญอภิธรรมก็เป็นเทวดา เราจะต้องคิดว่านั่น เขาฟังอภิธรรม นั่นไม่สำคัญ ฟังเสียงธรรมส่วนหนึ่งส่วนใดก็ได้ แต่ว่าสัตว์เดรัจฉานไม่รู้ภาษามนุษย์ เป็นแต่เพียงว่าเสียงนี้ชอบใจเท่านั้น แล้วก็ตายเกิดเป็นเทวดา ค้างคาว ๕๐๐ ตัวมาเกิดในสำนักของชาวประมง ไปเป็นเทวดา แล้วมาเกิดในสำนักของชาวประมง พบพระสารีบุตรเข้าเลื่อมใสในพระสารีบุตร เพราะปัจจัยเดิมมีอยู่ บวชพร้อมกันทั้ง ๕๐๐ องค์ อยู่ประมาณไม่ถึงพรรษา ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงทราบอุปนิสัย เวลาที่ทรงเทศน์โปรด องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ในตอนวันนั้นที่มาบิณฑบาต พบพระสารีบุตรที่สระโบกขรณี จึงได้เรียกพระสารีบุตรว่า สารีปุตตะ จงมานี่เธอจงเรียน ปกรณ์ ๗ ประการไป เสร็จแล้วพระพุทธเจ้าบอกว่าเวลาฉันข้าวเสร็จเธอจงเรียกบริษัท ลูกศิษย์ทั้ง ๕๐๐ องค์มา แล้วก็เทศน์ปกรณ์ ๗ ประการให้เขาฟัง เขาจะได้บรรลุอรหันต์ทั้งหมด เพราะอุปนิสัยปัจจัยเดิมมีมาตามที่กล่าวมาแล้ว ครั้นเมื่อองค์สมเด็จพระประทีปแก้วหลีกไปพระสารีบุตรก็กลับวัด เมื่อกลับแล้วฉันข้าวเสร็จก็เรียกบริษัทของท่านมา ท่านก็เทศน์ อภิธรรมทั้ง ๗ ทันที มันไม่ยาวเหมือนที่เขาสอนกันหรอกนะ เพราะหัวข้อปกรณ์ ๗ ประการนี่มีนิดเดียว อภิธรรมที่เขาสอนกันนี่มันหลายร้อยหน้า แล้วก็ ๘ หน้ายก ผมว่ามันเลอะเทอะเกินไป แต่ก็ไม่ได้ตำหนิคนศึกษาเพราะสนใจในธรรม ก็เป็นเรื่องน่าโมทนา แต่ว่าทำกันมากเกินไปมันก็สร้างความยาก การบรรลุเข้าถึงก็ได้ช้า เพราะในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ตุริต ตุริตํ สีฆ สีฆํ เร็ว ๆ ไว ๆ ว่าธรรมของพระพุทธเจ้าไม่มีการเนิ่นช้า จำไว้ให้ดีนะ อย่าประมาทในชีวิต นั่นค้างคาว
    ส่วนงูเหลือมนั้น กลับมาเกิดใหม่ เกิดเป็นเทวดา กลับมาเกิดใหม่เป็นอเจลกได้วิชชาสาม ได้วิชชาสอง ยังไม่ได้อาสวักขยญาณ ต่อมาพระราชาเลื่อมใสต้องการจะเชิญมาเป็นครู อาจารย์ใหญ่ ให้การถาม ๆ ไป แกก็เบ่งว่าแกเป็นอเจลก พระอรหันต์แก้ผ้าอย่างพวกเช่นเดี๋ยวนี้ พอเจอหน้าวัดของพระสงฆ์เข้า ก็บอกพวกคานหาม บอกนี่วางก่อน เดี๋ยวเราจะไปเยี่ยมสมณะด้วยกันก่อน อาการที่แสดงอย่างนี้แสดงว่า อีตาเจลกนี่แกเบ่งว่า เราเป็นพระของพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อวางคานหามแล้วแกก็ลงไป เข้าไปในวัด เผอิญวัดนั้นเป็นวัดของพระอรหันต์ เป็นประธานอยู่ พอเข้าไปสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครูก็ทราบอัธยาศัยเดิม ก็เลยถามว่า ท่านงูเหลือมมาแล้วรึ ลืมอายตนะเสียแล้วรึ เพราะสมัยที่แกเป็นงูเหลือมน่ะ แกชอบขด เฉพาะอย่างยิ่งคืออายตนะที่เคยพูดให้ฟังแล้ว ทีนี้เรามาว่ากันถึงเสียง เสียงธรรมะมีคุณประโยชน์อย่างนี้ ฉะนั้นพวกคุณฟังแล้วก็จำไว้ให้ขึ้นใจ สนใจในธรรมะเรามีคุณค่าดีกว่าสัตว์เดรัจฉานพวกนั้น ทั้ง ๒ พวกนี่กล่าวว่าท่านฟัง แล้วไม่รู้เรื่อง ตายไปเป็นเทวดา เมื่อออกจากเทวดามาเป็นคน ก็เป็นพระอรหันต์ได้ ถึงท่านอเจลกองค์นั้นก็เหมือนกัน พอพระท่านทักว่า พ่องูเหลือมมาแล้วรึ เวลานี้ลืมอายตนะเสียแล้วหรือ เท่านั้นเอง บุญเก่าเข้าถึงใจ เป็นเหตุให้เกิดความละอาย นั่งพับเพียบกระมิดกระเมี้ยน พระรู้ท่าว่า หิริโอตตัปปะเกิดขึ้นแล้ว ก็โยนผ้านุ่ง ผ้าห่มให้ ทีนี้นุ่งผ้าห่ม พระก็ปรารภพูดเรื่องอายตนะ ทริยํ ทริยํจกฺขนฺทริยํ แปลว่า ตาเป็นใหญ่ จักขุ โสตินฺทริยํ แปลว่าหูเป็นใหญ่ ฆานินทริยํ แปลว่าจมูกเป็นใหญ่ นี่ก็ว่ากันด้านอายตนะ เขาก็ชอบใจต่อมาพระเทศน์จบก็เป็นพระโสดาบัน พอเทศน์อีกจบเดียวก็ปรากฏงว่าเป็นพระอรหัตผลนี่มันง่ายนะ
    เราก็ดีกว่าสัตว์เดรัจฉานทั้งสองพวก เพราะอะไร เพราะเราเป็นคน แล้วก็มาบวชเป็นพระบุญหนัก เวลาฟังเราก็รู้เรื่อง ถ้าคุณคิดว่าชาตินี้คุณไม่มีอะไร จะดีไปกว่านั้น แล้วก็พอใจในเสียงธรรมะที่เราสดับ จำได้ไม่ได้ไม่สำคัญ คิดว่า วันหนึ่ง สมัยหนึ่ง เราเคยนั่งฟังธรรมะกันมาในเวลากลางวัน กลางคืนเราก็ปฏิบัติในด้านสมถภาวนา และก็วิปัสสนาภาวนา มีคุณค่าสูงมาก การตายของท่านถ้าหากว่าไม่ได้เป็นเทวดานี่ก็แย่เต็มที นี้ถ้าเป็นเทวดาแล้ว บางทีจะไม่ทันกลับจากเทวดาพบพระอรหันต์ หรือพระพุทธเจ้าตรัสขึ้นมาแล้ว ท่านก็เทศน์ทวนของเดิม เราก็จะเป็นอรหัตผลทันที อันนี้จะไม่ใช่เป็นพระโสดาแล้ว แค่สะเก็ดนิดเดียวเป็นพระอรหันต์ ฉะนั้นการฟังธรรมจงคิดว่านี่ธรรมะของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ธรรมะของหลวงตาที่มานั่งพูดให้ฟัง ว่าหลวงตานี่จำพระพุทธเจ้ามาแล้วก็บอกต่อไป ตั้งใจไว้อย่างนี้ก็น่าจะภูมิใจว่าความดีที่เราได้ไว้แล้ว เราได้ไว้จากกระแสพระธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงสอนไว้ ฉะนั้น ถ้าสัตว์ทั้งสองเป็นพระอริยเจ้าฉันใด เราก็ไม่แพ้ท่าน เพราะเราได้เปรียบท่าน นี่ยกตัวอย่างเรื่องการได้ยินเสียง ได้เห็นรูป มีความสำคัญ
    เมื่อวานนี้พูดกันถึงรูป แล้วมาว่ากันถึงเสียง เสียง ๆ ธรรมะเราควรจะจับเข้าไว้ ถ้าเสียงปกติชอบเสียงร้องเพลง ชอบเสียงพรรณนา ชอบเสียงประจบประแจง อันนี้มันทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน เวลาที่เราจะทำสมาธิ วางอารมณ์ทิ้งไป คิดเสียว่าเสียงเหล่านี้ไม่มีความหมาย มันเป็นอนิจจังและอนัตตา อนิจจังคือการเกิด เราได้ยินแล้วเราจำมา แต่ทว่าการจำบางทีก็เลอะเลือนไปบ้าง บางทีก็ลืมไปหมด นี่เรียกว่าเป็นอนิจจัง หาความไม่ได้ หาความจริงไม่ได้ โดยเฉพาะเสียงนี่เป็นอนัตตา ชัด หมายความว่า เสียงที่ผ่านไปแล้ว มันไม่กลับมาก้องใหม่ อย่างเสียงที่ผมพูดไปนี่ ผมพูดไปแล้ว ไอ้เสียงนั่นวันหลังคุณจะดึงให้ฟังเสียงก้อง ๆ ถ้าเราไม่บันทึกวิทยุไว้ เทปไว้ เสียงมันจะไม่ปรากฏ นี่แสดงว่าเสียงเป็นอนัตตา พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า จงอย่าหลงใหลใฝ่ฝันเสียง จงอย่ายึดถือเสียงเป็นสรณะ จงยึดความพอใจ ความเข้าใจ ความฉลาด ตามธรรมะที่ออกมาจากเสียงเป็นสำคัญ เมื่อเวลาเราได้ฟังเสียงแล้ว เขาร้องเพลงก็จงคิดว่าเสียงเพลง ถ้าร้องผ่านไปแล้วก็หายไปไม่มีอะไรที่เป็นเยื่อใย คือเสียงไม่สามารถจะทำให้เราหนุ่มขึ้น ไม่สามารถจะทำให้เราร่ำรวยขึ้น ไม่สามารถจะทำให้เราสบายขึ้น ถ้ายิ่งเราพอใจในเสียงที่ป้อยสรรเสริญ นั่นแทนที่เราจะดีขึ้นเรากลับเลวลง ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะโรคอุปาทานมันเกิด ความยึดมั่นเกิด เราก็อยากจะฟังเสียงนั้นอีก อันนั้นเป็นตัณหาใช่ไหม ที่เราพอใจในเสียงทั้ง ๆ ที่เสียงไม่ได้สร้างความอิ่มให้เกิดแก่เรา เสียงของทางโลกนะไม่ได้สร้างความหนุ่มขึ้น ดีขึ้นเจริญขึ้น และก็ไม่ได้สร้างให้เรามีพลังกายมากขึ้น ตามความจริง เพราะร่างกายของเราทรุดโทรมเป็นปกติ หากว่าเราไปพอใจเข้า ก็ชื่อว่าจิตเราก้าวล่วงความดีเกินไป ฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา จึงบอกว่าไอ้เรื่องเสียงเพราะ ๆ น่ะ มันไม่เพราะจริงหรอก คนที่พูดให้เราฟังเพราะ ๆ วันนี้ วันพรุ่งนี้อาจจะด่าเราเสียก็ได้ เราจะไปยึดถือไว้ทำไมในเสียงโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ใช่แต่เฉพาะเสียงอย่างเดียว เสียงที่กล่าวว่าไม่ดีมันเป็นเสียงของชาวโลก ท่านก็เลยบอกต่อว่า ขึ้นชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลก จะเป็นเสียงก็ดี จะเป็นรูปก็ดี เลิกคบ เรามีไว้ก็สักแต่เพียงว่ามี คิดว่าไม่ช้านานเท่าไรมันก็พัง มันก็สลายไป สำหรับรูปก็เหมือนกัน มันก็สลายตัวไป เรารู้มันจะสลายจริง ๆ เราจะยึดถือมันเพื่อประโยชน์อะไร เสียงที่เราต้องการมีอย่างเดียวก็คือ เสียงของธรรมะ เพราะมีคุณมีประโยชน์ นี่ว่ากันถึงเสียง รูป เสียง แล้วก็กลิ่น
    มากลิ่นนี่ก็เหมือนกัน เราจะถือกลิ่นเป็นสรณะไม่ได้ เวลานี้เราพบกลิ่นหอมเราชอบใจ และเราจะให้ความหอมมันทรงอยู่ในจมูกของเราตลอดกาลตลอดสมัยมันก็ไม่ได้ ต้องไปหาเอามาดม ดมแล้ว เลิกกันแล้ว ของนั้นก็หมดไป ของนั้นก็สูญไป กลิ่นมันก็ไม่มี กลิ่นนี้ก็จัดเป็นอนัตตาเหมือนกันมีการสลายตัว เราต้องเปรียบเทียบกับชีวิต รูปก็ดี เสียงก็ดี เมื่อมันปรากฏขึ้นมาแล้วก็สลายตัวไปได้ ร่างกายของเรานี่ก็เหมือนกัน มันก็พังได้เหมือนกัน เมื่อพังแล้วทรัพย์สินส่วนใดในโลกนี่ที่เรายึดถือว่ามันเป็นเราเป็นของเรา จะเป็นได้อย่างไร
    มาเรื่องรส เป็นรสที่เรากินจากอาหาร อะไรก็ตามถ้าเป็นรสขึ้นมา มาจากวัตถุอันนี้เป็นอาหาร ความจริงรสนี่มันทำให้อารมณ์จิตเราซาบซ่าน เมื่อมันมากระทบปลายลิ้น คือประสาทลิ้น และกลางลิ้นเท่านั้น ถึงโคนลิ้นแล้วมันก็หายไป ความจริงรสนี่ไม่ได้ทำให้เราหนุ่มขึ้น ไม่ได้ทำให้เราอิ่มขึ้น ไม่ได้ทำให้เรามีร่างกายดีขึ้น ไม่ได้ทำความผ่องใสให้มีขึ้น ว่าแต่รสอย่างเดียวนะ อันนี้ร่างกายเราจะทรงอยู่ได้ อย่างนี้มันก็คือวัตถุที่มีรส ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้กำหนดว่าเวลาที่เราจะบริโภคอาหารจงอย่าติดในรส ให้ถือว่าเราต้องการอาหารเป็นคุณประโยชน์ ในเวลาที่เราจะสร้างความดี เราจะกินอาหารเพื่อยังอัตตภาพให้เป็นไป เรื่องรสอย่าไปติดมัน มันจะเป็นรสเปรี้ยว รสหวาน รสเค็ม อะไรก็ช่าง ถ้าเป็นที่ชอบใจในสมัยที่เรากำลังบริโภค อันนี้เราก็กินให้มันอร่อย พอเลิกแล้วไม่ติดในรสนั้น ว่ารสนั้นมันจะมีหรือไม่มีอีกก็ช่างมัน นี่เราต้องการมันเฉพาะเวลาเท่านั้น ถ้าวันหลังหรือเวลาหลัง ที่เราจะบริโภคอาหารใหม่ เราก็ไม่สนใจว่าแม่ครัวเขาจะทำรสอะไรมาให้ รสเก่าที่เราชอบมีหรือไม่มี มีก็ดีไม่มีก็แล้วไป เราต้องการอย่างเดียวกินอาหารเพื่อยังอัตตภาพให้เป็นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเจริญสมถวิปัสสนา ทั้งสองพวกนี้สมถะก็ดี วิปัสสนาก็ดี เวลาเขาบริโภคอาหารให้พิจารณาเป็นอาหารปฏิกูลสัญญาเห็นว่าอาหารนี่มาจากพื้นฐานของความสกปรกมารวมกันเข้าก็สกปรก กินเข้าไปแล้วก็สกปรกเพราะอะไร เพราะจากอาหารออกมาเป็นอุจจาระ จะหาคุณใหญ่สำหรับอาหาร

    จาก หนังสือ ธรรมะปกิณกะ ๒
     
  12. ณ แปดริ้ว

    ณ แปดริ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,701
    ค่าพลัง:
    +54,174
    เด็กแปดริ้วมาจ๊ะ.............หุหุ
     
  13. ณ แปดริ้ว

    ณ แปดริ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,701
    ค่าพลัง:
    +54,174

    ขอบพระคุณคร้าบ.บ.บ.. พี่เล็ก....จู๊ฟ.ฟ.ฟ.ฟ......ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ จ้า ....แฮร่ๆๆๆๆๆ
     
  14. ณ แปดริ้ว

    ณ แปดริ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,701
    ค่าพลัง:
    +54,174
    เด๋ว.....เย็นๆมาเล่นใหม่น๊า.........หุหุไปทำงานต่อแล้ว........หุหุ
     
  15. พรแม่ศรี

    พรแม่ศรี ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    18,789
    ค่าพลัง:
    +55,474
    สวัสดียามเย็นนนน ครับเสี่ย...:cool:
     
  16. พรแม่ศรี

    พรแม่ศรี ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    18,789
    ค่าพลัง:
    +55,474
    ขอบพระคุณท่านเจ้าสัวมาก ๆ นะครับ
     
  17. พรแม่ศรี

    พรแม่ศรี ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    18,789
    ค่าพลัง:
    +55,474
    สวัสดียามเย็น...ระยองก็ตกตอนเช้ามืดดดดด
     
  18. พรแม่ศรี

    พรแม่ศรี ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    18,789
    ค่าพลัง:
    +55,474
    อ่านธรรมะที่คุณพัณณ์นำมาเผยแพร่ ดีจัง ขออนุโมทนาด้วยนะครับ
     
  19. พรแม่ศรี

    พรแม่ศรี ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    18,789
    ค่าพลัง:
    +55,474
    อ่านแล้วเบาใจขึ้นเยอะเลยนะครับ ขออนุโมทนาด้วยนะครับ
     
  20. พรแม่ศรี

    พรแม่ศรี ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    18,789
    ค่าพลัง:
    +55,474
    อ๋อ....มาให้กิ๊กชัยหอมแก้ม กอด กอด กอด ซะดี ๆ ก้ากๆๆๆ ๆ ๆ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...