การบำเพ็ญซึ่ง " ปัญญาบารมี ปัญญาอุปบารมี ปัญญาปรมัตถบารมี " โดยอาจารย์กร

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย สมภาพธรรม, 19 มกราคม 2010.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ท่านอาจารย์อธิบายการพิจารณาธาตุขันธ์ ตามหลักธาตุวิภังคสูตร

    ".... ไม่ว่าจะบำเพ็ญบารมีเพื่อโพธิญาณก็ดี ปัจเจกภูมิก็ดี และสาวกภูมิก็ดี ล้วนต้องหยั่งลงที่กาย ที่จิตนี้ (มือท่านชี้ลงที่กายท่าน) กายเรา จิตเรานี่แหละ กายนี้ จิตนี้ เป็นที่ตั้งอยู่ของศาสนา ศาสนาไม่ได้ตั้งอยู่ที่วัดวาอาราม ไม่ได้อยู่พระสงฆ์องค์เจ้าที่เป็นนักบวช นุ่งห่มผ้ากัน ศาสนาตั้งอยู่ที่กายหนาหนึ่งคืบ ยาวหนึ่งวา และจิตอาศัยอยู่ในกายนี้

    ถ้าเรียนรู้จบในศาสนาพุทธเรา ต้องเรียนรู้จากที่นี่เท่านั้น ไม่ใช่เรียนจากตำรับตำรากัน ศาสนาไม่ได้ตั้งอยู่ที่นั่น อย่าพากันหลงผิด ของจริง มรรคสี่ผลสี่นิพพานหนึ่ง อนุตตรธรรม และธรรมทั้งปวงอยู่ที่กายนี้จิตนี้เท่านั้น

    เอาละวันนี้จะให้พิจารณาธาตุสี่ขันธ์ห้า ก่อนอื่น ต้องตั้งจิตอธิฐานถึงพระพุทธเจ้า ให้ว่าตาม

    ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปฏิบัติในพระธรรมวินัย เพื่ออุทิศแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป้นที่พึ่งของโลก ข้าพเจ้ายินดีและชอบใจในธรรมของพระองค์ ขอพระองค์ผู้เจริญโปรดเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์เพื่อประโยชน์และความสุขแก้ข้าพระองค์ตลอดกาลนานด้วยเถิดสาธุ

    พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ....


    เอาละ ให้รวบรวมจิต สติ ความตั้งมั้น ศรัทธา และปัญญาคือการปล่อยวางเรื่องทั้งปวง ทำใจให้เป็นกลาง ให้หยั่งลงที่จิต ที่กึ่งกลางระหว่างอก

    ปล่อยให้ลมหายใจเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องใส่ใจเรื่องความสงบ ความคิดที่ผ่านเข้ามาทางสมองและรู้ด้วยใจ ให้เอาธรรมเป็นใหญ่

    ให้บริกรรม ... ชาติปิ ทุกขา .... พระพุทธเจ้าทั้งปวง พระอรหันต์ทั้งหลายล้วนเข้าถึงอมตะธรรมคือพระนิพพาน แจ่มแจ้งในธรรมทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็น ธาตุสี่ขันธ์ห้า อายตนะ 12 มรรคสี่ผลสี่นิพพานหนึ่ง ด้วยการพิจารณาคำๆเดียวนี้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาด้วยการมีสติรู้ในลมหายใจเข้าออกนั้น เป็นไปเพื่อไม่ให้จิตคิดฟุ้งซ่านไปในภายนอก ให้จิตมีหลัก ไม่กวัดแกว่ง ตั้งอยู่ภายในกาย ละเครื่องกังวลทั้งปวง

    แต่ที่นี้ไม่ต้องใส่ใจลมหายใจ มันเป็นธาตุขันธ์ที่เราต้องละวางอยู่แล้ว อย่าไปทำเป็นภาระ เมื่อเข้าถึงจิตย่อม แจ่มแจ้งในธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวงต้องหยั่งลงที่จิตโดยฝ่ายเดียว เอาละให้ภาวนา

    ...ชาติปิทุกขา ....และฟังด้วยจิตไปด้วย

    คนเรานี้ มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีอารมณ์ความหน่วงนึกของจิต ๑๘ อย่าง มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในจิต ให้อยู่กับตนเองตลอดเวลา ๔ อย่าง ถ้าธรรม ๔ อย่างตั้งอยู่ในจิต เอาไว้ด้วยดี เป็นที่อยู่ของจิต เป็นที่ระลึกของจิตด้วยดีตลอดเวลา ธรรมที่ตั้งนั้นที่จิต ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตน และกิเลสเครื่องเศร้าหมองเป็นไป เมื่อไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตน และกิเลสเสร้าหมองเป็นไป จะเรียกว่าเป็นผู้มีจิตสงบโดยแท้จริง

    ธรรม ๔ อย่างนี้ก็คือ ไม่พึงประมาทปัญญา ๑ พึงตามรักษาสัจจะ ๑ พึงเพิ่มพูนจาคะ ๑ และพึงศึกษาสันติ ๑ ธรรม ๔อย่างนี้ควรทำให้เกิดขึ้น มีขึ้น ที่จิต ให้เป็นเครื่องระลึกรู้ ที่อาศัยของจิต ตลอดเวลา

    อะไรคือการไม่ประมาทในปัญญา การไม่ประมาทในปัญญาคือ เจริญปัญญาอย่างสม่ำเสมอ อะไรคือการเจริญปัญญา

    การเจริญปัญญาคือ การให้จิตเข้าไปพิจารณา ธาตุ ๖ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ อารมณ์ ๑๘ ให้เห็นชอบตามเป็นจริง ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา ไม่ใช่อัตตาตัวตนของเรา ครั้งเห็นชอบอย่างนั้นแล้ว ก็จะเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในธาตุ ๖ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ อารมณ์ ๑๘ ได้

    เอาละ ให้รวม สติ สมาธิคือ ความตั้งใจตั้งมั่น ศรัทธา ความเชื่อ ความเพียร ญาณ หยั่งรู้ต่างๆ ให้เป็น " หนึ่ง" ที่จิต แล้วน้อม จิต ที่เป็นหนึ่งที่มีธรรม เป็นใหญ่นั้น ไปพิจารณา กาย ด้วยความเป็นธาตุทั้งสี่ ที่รวมกัน ประชุม กันเป็นกายนี้

    ให้เห็นตามเป็นจริง ว่า กายนี้ ประกอบด้วย ปฐวีธาตุ อะไร คือ ปฐวีธาตุ สภาวะธรรมชาติใดๆ ก็ตาม ที่แค่นแข็ง กำหนดได้ รู้ได้ในกายนี้ อาศัยในกายนี้ คือ เกสา โลมา .... อุทะริยัง มัตถะลุงคัง หรือว่า อะไรๆ ก็ตาม ในกายนี้ที่แค่นแข็ง เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น และให้เห็นปฐวีธาตุ นั้น ตามเป็นจริง อย่างนี้ว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว จะเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ในปฐวีธาตุได้

    ให้ภาวนา ให้จิตเข้าไปรู้ เข้าไปพิจารณา ปฐวีธาตุ ในกายนี้ ตามเป็นว่า

    .... ปฐวี ธาตุ โหติ ....

    เมื่อ จิต เห็นปฐวีธาตุ ในกายนี้ตามเป็นจริงแล้ว สักแต่ว่าเป็นสภาวะธรรมชาติอย่างหนึ่งที่แค่นแข็ง ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา

    ให้สละความรู้สึกความสำคัญมั่นหมายว่า ปฐวีธาตุนั้น โดยการภาวนา ว่า

    .... ปฐวี ธาตุ วิราโค นิโรโธ ....

    ต่อไปให้ จิต พิจารณา อาโปธาตุ สภาวะธรรมชาติที่เอิบอาบ ซึมซาบ กำหนดได้ในกายนี้ โดยการภาวนาว่า

    .... อาโป ธาตุ โหติ ...

    เมื่อกำหนดรู้ เห็นชอบตามเป็นจริง ในสภาวะธรรมชาติแห่งอาโปธาตุแล้ว ให้เห็นชอบตามเป็นจริงว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา ด้วยการพิจารณาว่าที่จิตว่า

    ... อาโป ธาตุ วิราโค นิโรโธ ....

    ต่อไป ให้ จิต กำหนดรู้ กำหนดเห็น เตโชธาตุ สภาวะธรรมชาติที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ในกายนี้ จงกำหนดรู้เตโชธาตุในกายนี้ว่า

    .... เตโช ธาตุ โหติ ....

    เมื่อกำหนดรู้ชัดแจ้ง เตโชธาตุในกายนี้แล้ว ให้พึงเห็นชอบตามเป็นจริงว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเราว่า

    .... เตโช ธาตุ วิราโค นิโรโธ ....


    ต่อไป ให้กำหนดรู้ วาโย ธาตุ สภาวะธรรมชาติที่พัดผันไป ทำให้เคลื่อนไหวได้ในกายนี้ ให้กำหนดวาโยธาตุ ด้วยจิตว่า


    .... วาโย ธาตุ โหติ ....

    เมื่อกำหนดรู้แจ้งชัดซึ่งวาโยธาตุ ในกายนี้แล้ว พึงเห็นชอบตามเป็นจริงว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเราว่า

    ... วาโย ธาตุ วิราโค นิโรโธ ....


    ต่อไปให้กำหนดรู้ อากาสธาตุในกายนี้ คือสภาวะธรรมชาติที่ว่าง ปรุโปร่ง ด้วยการภาวนาว่า

    .... อากาสะ ธาตุ โหติ....

    เมื่อกำหนดรู้แจ้งชัดซึ่งอากาสธาตุในกายนี้แล้ว ให้พึงเห็นชอบตามเป็นจริงว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา ด้วยการภาวนาว่า

    .... อากาสะ ธาตุ วิราโค นิโรโธ ....


    ต่อไปให้พิจารณา วิญญาณธาตุ คนเราจะรู้สิ่งต่างๆด้วยวิญญาณ คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ด้วยวิญญาณ จงกำหนดรู้วิญญาณทั้งปวงอันเกิดตามอายตนะว่า

    .... วิญญาณัง ธาตุ โหติ ....

    เมื่อกำหนดรู้ชัดซึ่งวิญญาณทั้งปวงแล้ว สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยคือผัสสะ เพราะผัสสะมี เวทนา ความเสวยสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์จึงมี

    จงกำหนดรู้ด้วยการภาวนาว่า

    .... ผัสสะ ปัจจะยา เวทนานัง....

    เมื่อกำหนดรู้ชัด ซึ่ง ผัสสะ และเวทนาทั้งปวงแล้ว ก็จะจิตอันประกอบด้วยอุเบกขาธรรมอันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน บริบูรณ์ด้วยสติ

    ให้ท่านทั้งหลายน้อมจิต อันประกอบด้วยเอกัคตาธรรม และอุเบกขาธรรม ไปสู่อากาสานัญจายตนะฌาน ด้วยการภาวนาว่า

    ... อากาโส อนันโต ....

    เมื่อเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานคือ อากาสานัญจายตนะฌานนั้น ก็จะเป็นอุเบกขาจิต โดยอาศัยอากาสานัญจายตนะฌานะ

    แล้วให้ท่านทั้งน้อมจิตนั้น เข้าไปสู่วิญญานัญจายตนะฌาน ด้วยการภาวนาว่า

    ... วิญญาณัง อนันตัง ....


    เมื่อเจริญจิตสมควรแก่ธรรมคือวิญญานัญจายตนะฌานแล้ว ให้น้อมจิตนั้นไปสู่ อากิญญจัญญายตนะฌาน ด้วยการภาวนาว่า

    ... นัตถิ กิญจิ ....

    เมื่อเจริญจิตสมควรแก่ธรรมแล้ว จิตก็จะตั้งอยู่ในอากิญจัญยาตนะฌาน แล้วน้อมจิตนั้น ไปสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน ด้วยการภาวนาว่า

    ... เอตัง สันตัง เอตัง ปณีตัง ....

    เมื่อเจริญจิตสมควรแก่ธรรมแล่วจิตก็ตั้งอยู่ในอุเบกขาธรรมอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน

    จากนั้นแล้ว ให้ท่านทั้งหลายน้อมจิตให้พึงเห็นชอบตามเป็นจริงในอากาสานัญจายตนะฌานก็ดี วิญญานัญจายตนะฌานก็ดี อากิญจัญญายตนะฌานก็ดี และเนวสัญญานาสัญญายตนะฌานก็ดี ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยปรุงแต่งเป็นสังขตธรรม

    จึงกำหนดรู้ฌานทั้งปวงนี้ว่าเป็นสังขตะธรรมว่า

    ... ฌานัง สังขะตัง เหตุปัจจะโย ...

    เมื่อกำหนดรู้แจ้งชัดในฌานทั้งปวงที่กล่าวมาแล้วนั้นว่า เป็นสังขตธรรม เกิดแต่เหตุปัจจัยปรุงแต่ง ท่านทั้งหลายจะไม่คิด ไม่คำนึงถึงความเจริญ และความเสื่อมเลย เมื่อไม่คิด ไม่คำนึง ท่านทั้งหลายย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งใดๆในโลกนี้ ว่าเป็นเรา เป็นของๆเรา

    เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวั่นไหว ย่อมไม่หวาดกลัว ย่อมไม่กังวลสิ่งต่างๆ ย่อมเข้าไปดับความทุกข์ทั้งปวงเฉพาะตน ย่อมทราบชัดว่าสิ่งอื่นที่ทำไม่มีอีกแล้วนอกจาก สิ่งนี้ ไม่มีอะไรต้องทำอีก เป็นอิสระจากสิ่งทั้งปวง ไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ในสิ่งทั้งปวง ในสุขก็ดี ในทุกข์ก็ดี ในไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี ก็จะเห็นสิ่งนี้เป็นของไม่น่ายินดี ยินร้าย

    เมื่อไม่ยินดี ยินร้าย ในอารมณ์ทั้งปวง จิตย่อมสงบ ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ เรียกว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่ควรตั้งไว้ในจิตในใจเป็นอย่างยิ่ง


    ปัญญาอันนี้เป็นความรู้ในความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นปัญญาอันประเสริฐ ผู้มีปัญญาอันประเสริฐตั้งอยู่ในจิตตลอดเวลา ทุกกาล ทุกสถานที่จึงเรียกว่า เป็นผู้ประเสริฐ หรือ อริยะบุคคล

    ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณที่ไม่แปรเปลี่ยน เข้าถึงซึ่งอมตะธรรม ผู้ถึงพร้อมอมตะธรรม คือสัจจะอันนี้ สัจจะเป็นธรรมที่ควรตั้งไว้ในจิตเป็นอย่างยิ่ง

    แต่ก่อนที่เราจะเป็นผู้มีปัญญาความรู้ในความสิ้นทุกข์ และไม่ได้สมาทานซึ่งสัจจะนี้ที่จิต จะเป็นผู้ที่มีกิเลสตัณหาในจิตตลอดเวลา กิเลสตัณหานั้นได้ทำลายสิ่งแล้ว หมดแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งและสัจจะที่ตั้งไว้แล้วด้วยดีในจิตนั้น เป็นผู้สละแล้วซึ่งกิเลสตัณหาทั้งปวง

    ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละสิ้งไปหมดไปในกิเลสตัณหาทั้งปวงว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะคือการสละ

    ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันยิ่ง สัจจะอันอันประเสริฐที่จิต และสละคืนซึ่งกิเลสตัณหาทั้งปวงโดยไม่เชื้อเหลือ ก็จะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสงบ คือสงบในราคะ สงบในโทสะ สงบในโมหะ ซึ่งเป็นความสงบอันประสเริฐ เป็นความสงบที่แท้จริง

    ธรรมทั้ง ๔ อย่างที่ได้พาปฏิบัติ และให้น้อมเข้าสู่จิตคือ ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะและพึงศึกษาสันติ ขอให้ท่านทั้งหลาย ตั้งธรรมทั้ง ๔ นี้ด้วยดีที่จิต เมื่อธรรมทั้ง ๔ นี้ตั้งแล้วด้วยดีที่จิต จิตก็จะไม่มี กิเลสเครื่องสำคัญตนไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมอง จึงจะเรียกว่า เป็นผู้สงบอย่างแท้จริง

    อะไรคือความสำคัญตน คือ เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักมีชีวิตอยู่ด้วยกายนี้ เราจักไม่มีชีวิตอยู่ด้วยกายนี้ ความสำคัญตนนั้นขอให้ท่านทั้งหลายว่า จัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศรที่คอยทิ่มแทงจิตตลอดเวลา

    ให้ภาวนารู้กิเลสสำคัญตนว่า ... มานะ โหติ ....

    และละเสียซึ่งมานะ กิเลสสำคัญตนด้วยการภาวนาว่า


    .... มานะ นิโรโธ ....

    เมื่อท่านทั้งหลายเป็นผู้สงบแล้วด้วยธรรมทั้ง ๔ ที่ตั้งแล้วที่จิตเอาไว้ด้วยดี

    จิตย่อมไม่กำเริบ จักไม่ทะเยอทะยาน เป็นผู้ความสงบ เข้าไปตั้งอยู่ ไม่ข้องกับการเกิด ก็พ้นการจากการเกิด ไม่ข้องกับการตาย ก็พ้นจากการตาย สิ่งที่ต้องทำไม่มีอีกแล้ว นอกจากสิ่งนี้ตราบจนกว่าที่ธาตุขันธ์ทั้งปวงแตกดับไปตามเหตุตามปัจจัย

    ขอให้ท่านทั้งหลายนำธรรมทั้งสี่ให้น้อมไปตั้งไว้ที่จิต ตามที่ได้พาปฏิบัติมา ทำให้เกิดขึ้น ทำให้มีขึ้น ท่านทั้งหลายก็จะดำเนินขีวิตในอัตภาพนี้อย่างมีความสุข เป็นผู้มีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งจริงๆ ....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      260
  2. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ท่านอาจารย์อธิบายโพธิปักขิยธรรม อันเป็นเป็นธรรมนำไปสู่การตรัสรู้ จะนำมาลงในเร็วๆนี้ครับ
     
  3. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ท่านอาจารย์พูดถึง กำลังใจ กำลังปัญญา กำลังสติ กำลังของอิทธิบาททั้งสี่ ของผู้บำเพ็ญบารมียังไม่สมบูรณ์ว่า

    ".....หลายคนที่ปรารถนาโพธิญาณกัน ยังไม่ทราบว่าตนเองปรารถนากันจริงๆหรือเปล่า เราเห็นหลายคนมาให้เราบอกว่า แต่ละคนจะได้เป็นพุทธเจ้ามั้ย แต่คนที่ถามไม่เคยถามตนเองเลยว่า อะไรคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงกระทำต่อสรรพสัตว์ บางคนเมตตาธรรมไม่มีเลย จากก้นบึ้งของจิตใจเขาเหล่านั้นเลยนะ ไม่มีเลย แต่บอกตนเองว่าได้รับพยากรณ์แล้ว


    ผู้ที่ได้รับพยากรณ์จากพะพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง เมตตาธรรมจะแก่กล้ามาก กรุณาจะแก่กล้ามาก อยู่นิ่งเฉยไม่ได้ ช่วยเหลือสรรพสัตว์ทันที พระ เณร หลายรูปที่บอกว่าตนเองปรารถนาช่วยสรรพสัตว์ แต่ยังกลัวอุปสรรคต่างๆนานา กลัวคนไม่เชื่อฟัง กลัวคนลบหลู่ สรรพสัตว์สั่งสอนยาก แสดงว่าบุคคลเหล่านั้น ยังไม่ตระหนักชัดอย่างแท้จริง ในธรรมทั้งปวง


    ผู้ทีตระหนักชัดและรู้แจ้งในสัจธรรมจริงๆ แล้วกำลังอิทธิบาท กำลังใจ กำลังสติจะไม่ถดถอย กำลังสมาธิจะไม่ถดถอย

    ถ้าจิตเข้าถึงความเป็นอัปปมัญญาจิตในบารมีธรรมเพื่อเป็นปัจจัยแห่งโพธิญาณแล้ว จะไม่ถดถอยเป็นเด็ดขาด ถ้าเข้าถึงแล้วจะไม่ถอยหลังเด็ดขาด ถ้าถอยหลังได้แสดงว่ายังไม่จริง

    มีคนมาบอกเรา ได้เห็นนั่น เห็นนี่ หยั่งรู้ในธรรมทั้งปวงแล้ว แต่ภูมิจิต ภูมิธรรมจริงๆไม่มี มีแต่ความรู้เอาไปเล่าให้ฟังกันต่อ พอเราบอกว่ายังไม่ใช่ ก็โกรธหายหน้าไปเลย แล้วมาบอกเราว่า พระอรหันต์ทั้งหลายรับรองแล้ว เราได้ส่ายหน้า เพราะขาดกำลังปัญญา

    ผุ้บำเพ็ญบารมี อย่างมงาย โดยไม่พิสูจน์ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆก็แล้วแต่ โดยเฉพาะเรื่องอนาคตวงศ์ ที่พระพุทะเจ้าทั้งหลายจะมาตรัสรู้ในอนาคตอันใกล้นี้ การทำนายต่างๆของอาจารย์ในสมัยโบราณ ใครๆก็อ้างโบราณจารย์ แต่ไม่รู้ว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหน

    เราบอกได้เลยว่า ไม่ใช่พระศรีอาริย์แน่นอน องค์นี้ยังอีกไกล ไกลมากๆ ไกลโขด้วย ยิ่งตอนนี้ด้วยซ้ำ ห่างจากสมณโคดมมาก

    กำลังปัญญา ต้องแจ้งชัด ตระหนักชัดในสัจธรรมทั้งปวงด้วยตนเองจริงๆ จึงจะไม่งมงายเหลวใหลไร้สาระ

    พูดถึง กำลังใจ กับ กำลังอิทธิบาททั้งสี่ ในหมู่ผู้ปรารถนาโพธิญาณ ยังขาดอีกมาก แม้ผู้ที่คิดว่าตนเองเข้าถึงอนุตตรธรรมแล้วก็มี ยังขาดมาก กลัวโน่น กลัวนี่ กลัวไปหมด ถ้ายังกลัวอยู่ ยังเข้าไม่ถึงอนุตตรธรรมจริง

    กำลังอิทธิบาทไม่มีกันเลย ทำกันไปวันๆ คุยกัยเล่นเพลินๆ ฉันปรารถนาโพธิญาณนะ พุทธเจ้าแบบนั้น แบบนี้ ยกยอปอปั้นกันไป อรหันต์รูปนี้รับรองแล้ว รูปนั้นก็ว่าใช่ แต่ตัวมันเองผู้ถูกรับรอง กิเลสยังเต็มจิตมันอยู่เลยเลย อรหันต์ไหนก็ไม่รู้ รับรองคนมีกิเลสตัณหาเป็นนายหัวใจมันอยู่

    อรหันต์โดยอะไร โดยมโนมยิทธิ อรหันต์โดยคิดเอาเองว่าเป็นอรหันต์ เราไปมาหมดแล้วที่บอกว่าเป็นอรหันต์ทั้งหลาย เก๊ทั้งนั้น

    อย่าขาดกำลังปัญญา กำลังสติ ระลึกรู้ในสิ่งที่เราทำ ที่เราจะไปตลอดเวลา

    ขอเตือนท่านทั้งหลายที่ปรารถนาโพธิญาณแต่ปาก และบอกว่าตนเองบริบูรณ์ด้วยอนุตตรธรรมแล้ว ถ้าไม่จริงอย่างที่พูด ตกต่ำเลยนะ ตกต่ำทันที เอาของประเสริฐที่สุดในสามโลกมาพูดกันเล่น กันสนุกปาก พูดโอ้อวด กันไปวันๆ

    ฉะนั้น กำลังใจต้องตั้งมั่น และไปถูกทาง กำลังสติต้องอยู่ในทางธรรมตลอดเวลา กำลังปัญญาต้องแจ้งชัด ตระหนักชัด ในสัจธรรมจริงๆด้วยตนเอง และกำลังอิทธิบาทในจิต ต้องสมบูรณ์ ถ้าไม่สมบูรณ์อย่าหวังการตรัสรู้ในอนาคตเลย ถ้าอิทธิบาทสี่ไม่สมบูรณ์ ความเพียร สัมมัปปธานสี่ก็ไม่บริบูรณ์ อินทรีย์ ๕ บกพร่อง พละห้า ไม่สมบูรณ์ โพชฌงค์ไม่สามารถกระทำได้

    ถ้าอิทธบาทสี่สมบูรณ์แล้ว จิตจะมีพลังมาก เป็นอัปปนาจิต ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งปวง คนไหนใช่ ไม่ใช่ จริงไม่จริงในธรรม เราดูแค่อิทธิบาทสี่เท่านั้นก็พอ ถ้าไม่สมบูรณ์ด้วยสิ่งนี้ อนุตตรธรรมยังเข้าไม่ถึงแน่นอน

    ให้พากันพิจารณา และไปปรับปรุงแก้ไขตนเอง ......"<!-- google_ad_section_end -->
     
  4. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ท่านอาจารย์กล่าวถึง กำลังแห่งความเพียร กำลังแห่งปัญญา กำลังแห่งสติ กำลังแห่งขันติ กำลังแห่งธรรมอันเป็นใหญ่ในการเจริญกรรมฐานให้สำเร็จ

    "..... ในหมู่ผู้ปฏิบัติสมัยนี้ ขาดกำลังแห่งความเพียร ไม่เข้าใจคำว่า ความเพียร หรือ วิริยะ ที่สำคัญ ไม่เข้าใจ และไม่ใส่ใจ ในเรื่อง วิริยะ ความเพียรกัน วิริยะ ไม่ได้หมายถึงแค่ขยันปฏิบัติธรรม ขยันสวดมนต์ ขยันทำบุญ ถ้าเข้าใจแค่นี้ เป็นการเข้าใจที่แคบ ไม่นำไปสู่การปฏิบัติที่แท้จริงได้

    ความเพียร คือ การประคองจิตไว้ ในการ ในงานที่จะกระทำให้สำเร็จ แล้ว ความเพียรในการเจริญภาวนาละคืออะไร หลักใหญ่ๆคือการประคองจิตให้ตั้งมั่นกับอารมณ์ของการปฏิบัติตลอดเวลา ทุกๆวินาที พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้เป็นปราชญ์ ท่านก็แบ่งแยกย่อยความเพียรให้ละเอียดขึ้นไปอีก เป็นสี่อย่าง

    แบ่งละเอียดขึ้นไปอีก เพื่อให้เหล่าผู้ปรารถนาความหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร เป็นไปด้วยดี คือ ประคองจิตและพยายามเจริญสิ่งที่เป็นกุศลที่มีอยู่แล้วในตนให้บริบูรณ์ ถ้ากุศลอันใดไม่มีก็พยายามทำให้เกิดขึ้น ประคองจิตและพยายามละสิ่งที่เป็นอกุศล ที่นำความเศร้าหมองมาให้ ที่มีอยู่ในตนให้หมดไป สิ้นไป และประคองจิต เฝ้าระวัง ไม่ให้เกิดขึ้นอีก รวมเป็น ๔ อย่างพอดี

    นี่ คือ ความเพียร และวิริยะ ที่แท้จริง และต้องทำให้ต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย เหมือนกับแสงอาทิตย์ที่ส่องแสงตลอดเวลา

    ท่านทั้งหลาย จะกระทำความเพียรให้สำเร็จ สมบูรณ์ได้ต้องอาศัย ขันติ อดทน ตบะ หรือ สามธิความตั้งมั่นในสิ่งที่ทำอย่างแรงกล้า แค่นี้ไม่พอ ต้องมี ปัญญา สอดส่อง พิจารณาสิ่งต่างๆว่า สิ่งไหน อารมณ์ไหน การกระทำใดเป็นกุศล หรือ อกุศล

    และต้องตามระลึกรู้ในการงานที่ทำตลอดเวลา อันนี้เป็นกำลังของสติ ธรรม ทุกอย่างต้องเกื้อกุลซึ่งกันและกันอย่างนี้ อย่างสมดุลย์ ไม่มากน้อยจนเกินไป แต่สมดุลกันตลอดเวลา จึงจะสำเร็จได้ในเจริญภาวนาเพื่อวิมุตติหลุดพ้น

    ฉะนั้นแล้ว ที่หลายคนเข้าใจว่า ผมปรารถนาโพธิญาณประเภทหนักวิริยะ ประเภทหนักปัญญา ประเภทหนักศรัทธา พวกนี้ พวกสุดโต่ง วิริยะมาก ก็ฟุ้งซ่าน ขาดสติ ปัญญามาก ก็มีมานะ ศรัทธามาก ก็พากันหลงงมงาย หาดีไม่ได้ซักอย่าง

    พิจารณานะ พิจารณาตามหลักธรรม และให้น้อมไปปฏิบัติ

    เมื่อเจริญภาวนาด้วยกำลังแห่งวิริยะตามที่กล่าวแล้วเท่านั้นจึงจะเป็น ความเพียรแท้ ความเพียรที่ถูกต้อง นำไปสู่ความสำเร็จในธรรม ต้องประกอบด้วยตาที่ดี คือ ปัญญา ในสิ่งเป็นสาระ และ ไม่ใช่สาระ

    สติ ตามระลึกรู้ เตือนตนเองตลอดเวลาในปัจจุบัน ไม่มีปฏิบัติธรรมลงที่อดีตได้ ลงในอนาคตได้ เฉพาะปัจจุบันเท่านั้น เมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ ประคองจิตแบบนี้ ตั้งสติอย่างนี้ ตั้งมั่นในงานภาวนาอย่างนี้ มีตาดีอย่างนี้ ความเบากาย เบาจิต หลุดพ้นจากทาสแห่งกิเลสตัณหา ตามลำดับ จนถึงที่สุด จิตก็จะเกิดความเชื่อมั่นในงานที่ทำ ใน ธรรม ที่เจริญ กลายเป็น กำลัง ศรัทธา ความเชื่อ ในเหตุที่ทำ ใน ผลที่ทำได้สำเร็จ

    ถ้าท่านทั้งหลายมี จิตประกอบด้วยกำลังศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา อย่างสมดุลและสมบูรณ์แล้ว จิตจะไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้ง ๘ ไม่ฟุ้งซ่านในอารมณ์ภายนอก ไม่ปรุงแต่งต่างๆนานา หมดความสงสัยในธรรมของพระพุทะเจ้าทั้งหลาย ไม่กลัว ไม่หวั่น เป็นกำลังที่แรง ทะลุ แจ้งไปในธรรมทั้งปวง จะเรียกว่า เป็นอำนาจแห่งตบะธรรมก้ว่าได้

    ตบะธรรม ที่หลายคนสงสัย กันก็คือ อำนาจของกำลังทั้ง ๕ นี่เอง เมื่อกำลังของศัรทธา สติ วิริยะ สมาธิและปัญญา สมบูรณ์แล้วในใครก็ตาม เรียกว่าเป็นผู้มี ตบะธรรม เป็นผู้อำนาจในแผดเผากิเลส ให้เร่าร้อน ให้แห้งเหือดหายไป ไม่เฉื่อยชา

    ถ้าเจริญพรหมวิหาร ๔ ด้วย อิทธบาท ๔ เป็นบาท เป็นพรหมวิหารอิทธิบาท ถ้าเจริญด้วยอินทรีย์ ๕ เป็นบาท ก็เป็น พรหมวิหารอินทรีย์ ถ้าเจริญพรหมวิหารด้วยพละ ๕ ก็เป็น พรหมวิหารพละ

    เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา จะสำเร็จเป้นอัปปมัญญาจิต แผ่ไปไม่มีประมาณ จะต้องสำเร็จด้วยอิทธิบาท ๔ อินทรี ๕ และกำลัง หรือ พละ ๕ นี้ เท่านั้น จะสำเร็จด้วยสิ่งอื่นไม่มี

    ให้พากันนำไปปฏิบัติ การเจริญพรหมวิหาร ๔ ก็ได้บอกไปแล้ว เจริญอิทธิบาท ๔ ก็ได้บอกไปแล้ว ให้นำไปปฏิบัติให้เกิดขึ้น ด้วยตนเอง

    การเจริญพรหมวิหาร ให้เริ่มที่เมตตาก่อน เมื่อเมตตาจิตเป็นอัปปมัญญา จึงจะเป็นกรุณาจิตได้

    การเจริญโพธิปักขิยธรรม ให้เริ่มที่ อิทธิบาท ๔ ให้สมบูรณ์ก่อน แล้วตามด้วย สัมมัปปธาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ สติปัฏฐานสี่ โพชฌงค์ ๘ ให้เป็นลูกโซ่ไปตามลำดับอย่างนี้ จะปฏิบัติข้ามกันไม่ได้ จะผสม มั่วกันไม่ได้ ต้องเป็นไปอย่างนี้ ต้องให้สมบูรณ์ทุกอย่าง จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้

    เอาละพากันปฏิบัติ ...."
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2010
  5. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ท่านอาจารย์กร กล่าวถึงนิมิตในขณะนั่งภาวนา

    "... ในขณะนั่งภาวนา บางคนบริกรรมไปๆ จะเป็น พุทโธ ก็ดี ธัมโมก็ดี อิทธิปาทังก็ดี หรือ แม้กระทั่ง อะเวรา แล้วมีนิมิตเกิดขึ้น คือ มี ภาพปรากฎขึ้นในมโนทวารวิถี อันนี้ ต้องใช้ปัญญา พิจารณาให้มากๆ เพราะอะไร เพราะมันมีทั้งนิมิตที่เกิดขึ้นด้วยสภาวะจิตที่เข้าถึงภูมิธรรมนั้นๆจริง ก็มี และมีนิมิตที่เกิดจากการปรุงแต่งของจิตเองก็มี ปรุงแต่งจากสัญญาความจำ ที่ได้จากการอ่าน การฟัง การวาดฝันจินตาการก็มี

    ผู้ปฏิบัติคนใด ก็ตาม ถ้ามีนิมิตเกิดขึ้นในขณะภาวนา ให้ใช้จิตเพ่งพิจารณา ไปก่อน อย่าไปคิดถาม ในขณะที่ภาวนาว่าเป็นอะไร ให้ตั้งสติ ต่อคำบริกรรม ต่อไป จนกว่าเราจะเลิกนั่งเจริญภาวนา ไม่ต้องไปถามว่า เอะ! มันคืออะไร ไม่ต้องไปคิด ไปสงสัย

    หน้าที่เราให้ภาวนา ต่อไป บริกรรมต่อไป ไม่ต้องไปยินดี ยินร้ายกับนิมิตที่เกิดขึ้น ให้ทำใจให้เป็นกลาง ถ้าบริกรรมต่อไป นิมิตยังคงปรากฏอยู่ และเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ก็ให้วางใจเป็นกลาง ภาวนาต่อไปอย่างเดียว

    เมื่อภาวนาเสร็จแล้ว ให้ไปถามครูผู้สอนกรรมฐาน เกี่ยวกับนิมิตที่เกิดขึ้น อย่าไปถามกันเอง ให้ไปถามครูบอกกรรมฐานเท่านั้น อย่าถามกันเอง เพราะครูที่บอกกรรมฐานเท่านั้น ที่จะชี้ทางที่ถูกต้องได้

    นิมิตที่อันตรายคือ การเห็นพระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วยจิต บางคนได้สนทนาแม้กระทั่งกับพระพุทธเจ้าองค์ปฐม พระพุทธเจ้าองค์นั้น องค์นี้ นิมิตนี้อันตรายมาก หลงทางได้ง่าย

    ใครก็ตามที่ มีนิมิตเช่นนี้เกิดขึ้น ให้พิจารณาตามหลักธรรมที่ว่า .... ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต....

    ท่านทั้งหลายต้อง แจ้งชัดในคำว่า เห็นธรรม เป็นอย่างไร ผู้เห็นธรรมแล้ว มีภูมิจิต ภูมิธรรมเป็นอย่างไร ธรรมที่เห็นเป็นอย่างไร คืออะไร แล้ว ตถาคต ละคืออะไร ใช่พระพุธเจ้าจึงหรือเปล่า หรือว่าเป็นสภาวะธรรมอย่างหนึ่ง ต้องแจ้งชัดในธรรมทั้งปวงจริงๆนะ จึงจะเห็นพระตถคตเจ้าได้จริง นอกนั้นหลงทางหมด

    ถ้าเห็นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย โดยปราศจากการเห็นธรรมอย่างแจ้งชัด ปราศจากการตระหนักชัดแล้ว ขึ้นชื่อว่าหลงทั้งนั้น จะเห็นด้วยกำลังสมาธิ กำลังมโนมยิทธิก็ตาม ถือว่าผิดทั้งนั้น

    ต้องเห็นธรรมจริงๆ จึงจะสามารถเห็นพระตถาคตได้เท่านั้น ประโยคนี้ เป็นหนึ่ง ไม่มีสอง

    รู้มั้ย ทำไมสมณโคมถึงได้กล่าวเช่นนี้ เพราะอะไร เพราะเห็นว่าในกาลข้างหน้า ย่อมมีคนพูดแน่นอนว่า ตนเองเห็นพระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จมาโปรดบ้าง มาให้พรบ้าง มาประสิทธิ์ประศาสตร์วิชา เหมือนหนังจีนก็มี เพื่อไม่ให้คนหลง

    ทำไมหลายๆคนในหมู่ผู้ปฏิบัติสมัยนี้ พบเห็นพระพุทธเจ้าง่ายกันมากๆ ไปกราบเท้าท่านก็มีนะ บางคน ไปนั่งสนทนากับท่านก็มี แต่ใจผู้สนทนา ผู้กราบเท้าท่าน ใจมันยังไม่แจ้งชัดในธรรม ไม่เห็นธรรม กิเลสยังเต็มหัวใจอยู่ จะเห็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไรกัน ของสกปรก กับของสะอาด จะไปอยู่ด้วยกันได้อย่างไร

    นิมิตเกิดขึ้นแล้ว อย่าหลง อย่าติด ให้พิจารณา และรีบเข้าหาครูอาจารย์ โดยเฉพาะพวกที่สามารถพูดคุยกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ ถ้าใจยังไม่แจ้งในธรรมทั้งปวง

    เอาละ ให้พากันปฏิบัติให้มาก ให้เที่ยงต่อใจตนเอง ให้มั่นต่อใจตนเอง เรื่องทางโลก และทางธรรมอย่ามาสับสนกัน ปฏิบัติธรรมให้นำไปใช้ในโลกได้เช่นกัน อย่าตำหนิโลก อย่าตำหนิมนุษย์ด้วยกัน เพราะตนเองปฏิบัติธรรม

    ให้ตำหนิตนเองให้มากๆ เพ่งโทษตนเองให้มากๆ แก้ไขตนเอง อย่าคิดไปแก้ไขคนอื่น แก้ตนเองให้ได้ก่อนแล้วค่อยสอนคนอื่น

    ให้ตั้งใจกันปฏิบัติลงที่จิต อย่ากลัวอุปสรรค ...."
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2010
  6. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ท่านอาจารย์อธิบายการเจริญ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

    ".... ผู้ที่ต้องการแจ้งชัดในธรรมทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นสาวกภูมิ ปัจเจกภูมิ และพุทธภูมิ ล้วนต้องเดินทางเดียวกัน คือ ต้องทำให้ โพธิปักขิยธรรม ธรรมอันเกื้อกูลให้แจ้งชัดในธรรมทั้งปวง สภาวะธรรมนี้ต้องทำให้สมบูรณ์ที่จิต

    เพราะเป็นทางเดินของจิต ที่ต้องเป็นไป การทำให้ โพธิปักขิยธรรม บริบูรณ์ ได้ ต้อง รู้หลัก การปฏิบัติ

    ก่อนที่จะศรัทธาในการปฏิบัติในธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เราทุกคนต้องรู้ชัดด้วยใจตนเองว่า เราปฏิบัติเพื่ออะไรกันจริงๆ ก่อน เพราะถ้าทิศทางที่จะไปไม่ชัดเจน การปฏิบัติก็ ไม่ชัดเจน เหมือนกับการทำธุรกิจ ถ้าบริษัท ไม่มีเป้าหมายทิศทางที่แน่นอน ชัดเจน ตลอดการทำงาน ย่อมไม่ประสบผลสำเร็จ

    อะไร เรียกว่า การปฏิบัติ ปฏิบัติกันทีไหน ธรรม คือ อะไร อะไรคือธรรม ใครเป็นผู้ปฏิบัติ อะไรคือแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ต้องชัดเจนนะ

    ฉันใด ก็ ฉันนั้น การปฏิบัติธรรม ก็เช่นเดียวกัน เรา ทุกคนต้องปฏิบัติธรรม ด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริง ว่า เราทำไปเพื่ออะไร ทำอย่างไร ทำอย่างถูกต้องแล้ว ได้ผลเป็นอย่างไร

    อย่าทำเป็นคนที่ปฏิบัติ โดยไม่รู้ว่า ทำไปเพื่ออะไร ทุกคนทราบว่า ทำไมต้องปฏิบัติธรรม

    เพราะอะไร เพราะต้องการพ้นทุกข์ คำว่า ต้องการพ้นทุกข์ ทุกข์ที่ว่า คืออะไร อาจารย์เชื่อว่า เกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ที่มาปฏิบัติธรรมนั้น หวังผลทางโลกเพียงอย่างเดียว หวังอะไร หวังความสุขทางโลก ชีวิตทางโลกไม่ให้มีอุปสรรค เพราะกระแส ปฏิบัติธรรมแก้กรรมมาแรง และทุกคนก็ปฏิบัติเพื่อเช่นนั้นจริงๆ

    ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อธรรม เป็นไปเพื่อธรรม มีธรรมเป้นหลัก มีธรรมเป็นประธานในการดำเนินชีวิต

    ปฏิบัติธรรมแล้วหน้าที่การงานจะดีขึ้น ที่ตกงาน ก็จะได้งาน ครอบครัวจะอบอุ่น ลูกจะไม่เกเร สามีไม่มีชู้ ไม่มีหนีเที่ยว สุขภาพแข็งแรง มีแต่คนสรรเสริญ ยศเจริญขึ้นเรื่อยๆ เป็นใหญ่เป็นโต

    ให้เราทุกคนที่มาปฏิบัติธรรม กับ เรา ให้ถามตนเอง อย่างซื่อสัตย์ ซื่อตรงต่อความรู้สึกของตนเอง จากก้นบึ้งของหัวใจแต่ละคนจริงๆ ถ้าต้องการเช่นนั้น ให้กลับบ้านไปซะ อย่ามาปฏิบัติเลย เสียเวลา! เพราะอะไร เพราะทำไป ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ

    ต้องปฏิบัติ เพื่อธรรม บูชาธรรมจริงๆ การหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสารมันเป็นผลพลอยได้ เรา ว่ามันเป็นผลพลอยได้เทานั้น ถ้าเราปฏิบัติเพื่อธรรม บูชาธรรม มีธรรมเป็นหลักของใจจริงๆ ต้องจริงๆ จากภายในนะ ไม่ใช่จากสมอง คิดเอา คะเนเอา ทุกๆอย่างที่เราต้องการ ธรรม จะให้เราเอง

    ขอให้ทุกคนเชื่อ ศรัทธา ในธรรม และต้องเชื่อ ศรัทธาในธรรม ให้ได้ตลอดเวลา ทำได้มั้ย ทำให้ได้ตลอดเวลา แม้จะมีอุปสรรคใหญ่ขนาดไหนก็ตาม ก็ไม่ทิ้งธรรม

    บ้านไฟไหม้ คนรักตายจาก พ่อแม่ตายไป ทำได้มั้ย จิตไม่ทิ้งธรรม ถ้าทำได้ ธรรมจึงจะให้ทุกสิ่งทุกอย่าง แม้การไม่เวียนกลับมาเกิดอีก ก็ เป็นสิ่งที่ ธรรม มอบให้ทั้งนั้น

    เอาละ ให้ทุกคนถามตนเอง จากภายในของตนเองจริงๆว่า ปฏิบัติธรรม เพื่ออะไร เพื่อธรรม เพื่ออิทธิฤทธิ์ ปาฏิหารย์ แก้กรรม แก้วิบากกรรม หวังลาภสักการะ ถูกหวยถูกเบอร์

    ต้องให้ชัดเจน ถ้าไม่ปฏิบัติเพื่อธรรม ก็ให้ลุกขึ้นกลับบ้านไป ไปแล้วก็ไม่ต้องมาอีก ให้ไปที่ๆ คนอื่นแนะนำอย่างนั้น

    ถ้าไม่จริงใจต่อตนเอง อย่าหวังเลยจะได้พบของจริง

    อีกอย่างหนึ่ง ขอให้ผู้ปฏิบัติในธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อย่าเอ่ย อย่ากล่าว อย่าพูด อย่าคิด คำว่า อุปสรรค ให้ได้ยิน มันแสลงหู มันเป็นคำ อัปมงคล เป็นเชื้อร้าย เป็นมะเร็งของจิต อย่าเอาเชื้อโรคเข้าไปใส่ตนเอง

    ใครจะปฏิบัติกรรมฐานกับ เรา อย่าได้พูด คำๆนี้กับเรา หรือให้เราได้ยิน ธรรมะ ไม่เหมาะสำหรับคนอ่อนแอ คนไม่สู้ คนใจเสาะ ให้กลับไปอยู่กับลูกเมียสามีที่บ้านโน้น อย่ามาเลย

    เราต้องการคนเข้มแข็ง แต่นุ่มนวล อ่อนโยน จำไว้นะ อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอทางจิต

    การทำให้โพธิปักขิยะธรรมบริบูรณ์ ต้องมีพื้นฐานจิตที่เข้มแข็ง ไม่หวั่นต่ออุปสรรคใดๆ แม้มารมาผจญก็ตาม เรานะ ชอบมารมาก เพราะจะได้ทดสอบสภาวะจิต สมาธิ ปัญญา ญาณ ตนเอง มันจะได้แกร่ง ได้รู้ข้อบกพร่องตนเอง ได้แก้ไข ได้ปรับปรุง ได้พัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นๆไป จนสมบูรณืในทุกๆสิ่ง

    ให้เริ่มที่ อิทธิบาท ๔ ก่อน แล้วตามด้วย อินทรีย์ ๕ พละ ๕ พอพละสมบูรณ์ ให้หยั่งลงที่ สติปัฏฐานทั้ง ๔ ตามด้วยโพชฌงค์ ๗ มรรค ๘ และ วิมุตติญาณทัสสนะ

    ค่อยทำไปตามลำดับ ให้ช่ำชอง เชี่ยวชาญ เป็นวสี เป็นหนึ่งเดียวที่จิต นั่นแหละจึงจะสำเร็จในสิ่งเราปรารถนาในทางธรรม

    การเจริญธรรมทุกอย่างให้ตั้งลง ที่ จิต เท่านั้น ไม่ใช่ตั้งลงที่ สัญญาขันธ์ ความจำจากการอ่าน การฟัง ไม่ตั้งลงที่ สังขารขันธ์ การปรุงแต่งธรรมด้วยการคิด การนึก การคาดคะเน การเดา จินตนาการ ต้องให้จิตเท่านั้นเป็นผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นเพียงเครื่องมือ tool ในการปฏิบัติเท่านั้น รู้จักคำว่าเป็นเครื่องมือมั้ย

    แม้การพิจารณาขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น ผู้พิจารณาคือ จิต เท่านั้น

    จำไว้นะ ให้ใช้ จิต ปฏิบัติ อย่าใช้ขันธ์ ๕ ปฏิบัติ เข้าใจมั้ย อะไร คือ จิต อะไรคือ ขันธ์

    พระพุทธเจ้าท่านกล่าวไว้ชัดเจนแล้ว อะไรคือ จิต อะไรคือ ขันธ์ ที่ท้านทั้งหลายไม่เข้าใจเพราะไม่เคยสำเหนียกในคำสอนของท่าน ได้แค่อ่านเป็นนิยายเพลินๆ และนำไปถกเถียงกัน ตามอักขระโวหาร แปลตามอักษร แต่ไม่ได้พูดกันตามสภาวะธรรมที่รู้แจ้งด้วยจิตจริงๆ


    คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายต้องหยั่งลงที่จิต เท่านั้น จึงจะสัมฤทธิ์ผล การทำให้เกิดขึ้นที่จิตนั้น จะไม่เหมือนการทำให้เข้าใจด้วยสมอง และปัญญาที่คิดกันทางโลกนะ ต่างกันมาก ทำให้เกิดที่จิต มันก็จะเป็นคุณสมบัติ เป็นภูมิจิต ภูมิธรรมจริงๆที่จิต ถ้าใช้สมอง ใช้ขันธ์ มันไม่ใช่ ภูมิจิต ภูมิธรรม มันเป็นการปรุงแต่ง คิดเอา เดาเอา ตามสัญญาความจำ

    เอาละให้พากันเจริญอิทธิบาท ๔ ให้สมบูรณ์ ด้วยการบริกรรมว่า

    .... อิทธิปาทัง ....

    มีใครแจ้งชัดในสภาวะธรรมของ อิทธิบาท ทั้ง ๔ มั้ย ไม่มี! รู้แค่ตามตำราท่านว่า แล้วก็นำมาสอนกัน อิทธิบาท ๔ คือ ทางสู่ความสำเร็จ เป็นนกแก้วนกขุนทอง กัน แต่ไม่เข้าถึง ธรรมแห่งอิทธิบาท ๔ กันด้วยจิต

    วันนี้จะพาเจริญ อิทธิบาท ๔ ให้บริกรรมตั้งลงที่จิต ด้วย คำว่า ... อิทธิปาทัง ....

    ..."
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2010
  7. คือคนบาป

    คือคนบาป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +130
    อนุโมทนาสาธุครับ ผมขอน้อมรับความรู้นี้ไว้ในจิตวันใดได้ปฎิบัติจนรู้แจ้งเห็นจริงในความรู้นี้ขอท่านจงมอบความรู้อื่นเพื่อการปฎิบัติอันยิ่งขึ้นไป
     
  8. หายสงสัย

    หายสงสัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +621
    ผมได้อ่านข้อความของ อ. กร แล้วรู้สึกว่าท่านเด็ดเดี่ยวมาก แนวการสอนก็ไม่ค่อยเหมือนใคร ที่สำคัญท่านยึดมั่นในธรรมมาก ขออนุโมทนาสาธุ
     
  9. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    อาจารย์กรกล่าวถึงการปฏิบัติให้ตระหนักชัดว่า ...จิต คือ พุทธะ ....

    "... เมื่อใดที่ใจเราเปิดกว้าง สรรพสิ่งจะปรากฏแก่เราตามที่มันเป็นจริงๆ ให้เราได้สัมผัสตามธรรมชาติที่เป็นไปจริง ตามเหตุตามปัจจัยของมัน เราจะพบว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งแห่งประสบการณ์ดังกล่าว

    ตื่น รู้ ในธรรมชาติ ไร้กังวล คนเรากังวลเพราะไม่ได้เปิดใจตนเองจริงๆ เมื่อเราเปิดใจตนเองให้กว้างใหญ่ไพศาล ไร้ขอบเขต ไร้ตัวตนแห่งตน ไร้สิ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยตน ไร้มา ไร้ไป ไร้หยุดนิ่ง ไร้เคลื่อนไหว ไร้สงบ ไร้ฟุ้งซ่าน ไร้เกิด ไร้ตาย ไร้ได้ ไร้เสีย เราจะได้รับรู้สภาวะที่ตื่น รู้เบิกบาน เป็นอิสระ เหนือโลก เหนือธรรม..."
     
  10. nrongrit

    nrongrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +546
    เสียดายจัง...ที่กระทู้ แนวทางการปฏิบัติของอาจารย์กร ล็อคซะแล้ว....

    เช้านี้ ผมมีโอกาสได้ปฏิบัติธรรมกับอาจารย์กับเพื่อนอีก 2 คน บุคคลิกลักษะ อาจารย์กรเป็นคนที่สุขุม ลุ่มลึก คัมภีรภาพ เสียงดังกังวานมาก เสียงแจ่มใสไม่พร่าเครือ ดัง ฟังชัด สมกับเป็นนายทหาร และจะเป็นมหาบุรุษในอนาคต

    อาจารย์กรเป็นคนที่ยิ้มแย้ม แจ่มใส ดูอ่อนน้อม ถ่อมตนมาก หนักแน่นในธรรมมากๆ (ผมบรรยาย ลักษณะของอาจารย์ตามที่ได้สัมผัส)

    ผมได้แอบกระทบสภาวะจิตของอาจารย์หลายๆครั้ง อาจารย์กรบอกว่า จะถามอะไรก็พูดออกมา ไม่ต้องคิดถามในใจหรอก คนอื่นจะได้ฟังด้วย ทำเอาผมอึ้งไปเลยครับ

    แต่ก็ยังทดสอบว่า อาจารย์มีญาณหยั่งวาระจิต สมที่สอนหรือเปล่า กระแสจิตท่าน เป็นกระแสแห่งเมตตากรุณาจิตที่สูงและหนักแน่นมากๆ ทำเอาใจผมและเพื่อนอีกสองคนเย็นที่ใจมากๆเลยครับ ผมรู้สึกว่า อาจารย์กรจะแผ่เมตตากรุณาจิตไม่มีประมาณตลอดเวลา

    ผมก็กราบขอขมาอาจารย์ ถ้าได้เคยล่วงเกินตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อาจารย์ก็ อโหสิให้ครับ

    ผมได้คุยกับอาจารย์กร หลายๆเรื่อง ที่ฮิตๆ ชอบถาม ก็มีว่า

    บ้านเมืองเป้นอย่างไร ท่านตอบแต่ว่า ...ขึ้นอยู่ที่อำนาจกิเลส ถ้ากิเลสแสดงมาก บ้ามเมืองก็วุ่นวาย แก้ไขได้มั้ย ต้องแก้ไขที่ตนเองของแต่ละคน...

    เรื่องภัยพิบัติละครับ ที่พยากรณ์กันมากมาย

    อาจารย์ตอบว่า .... โลกมันไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ธรรมชาติย่อมเปลี่ยนแปลง จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทางเป็นภัย หรือไม่เป็นภัย ก็ย่อมเปลี่ยนแปลง ทำไมไม่มองปัจจุบันในกิจของตนเองละ ทำสมบูรณ์หรือยัง สังขารย่อมเปลี่ยนแปลง ใจของคุณรองฤทธิ์ที่มาละ เป็นอย่างไร ทำไมไม่สนใจ....

    แล้วเรื่องยุคสามร่มโพธิ์ศรีละครับ พระศรีอาริย์ท่านจะมาจริงมั้ย

    อาจารย์กรตอบว่า... ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ถ้าฝึกตนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่ดีที่สุด ทำไมต้องทำตนเองไปยึดติดกับสิ่งภายนอกนี้ละ พึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ในใจเราดีกว่า จิต เรานั่นแหละคือพุทธะ สมบูรณ์ในตัวมันเอง ทำไมต้องกล่างถึงแต่สิ่งภายนอกละ
    พระศรีอาริย์ท่านจะมา หรือ ไม่มา เราก็ต้องพึ่งตนเองอยู่ดี อบรมตนเองให้ดี ถ้าท่านมาจริง เราก็ดชคดี ถ้าท่านไม่มา เราก็ดำรงอยู่ในความไม่ประมาท
    คำสอนพระพุทธเจ้า ปรากฏต่อตนเอง แต่กลับไม่เห็น พระพุทธเจ้าอยู่กับเรา สอนเราตลอดเวลา ต้องรอทำไมพระศรีฯ ท่านละ ...

    อาจารย์ผมอยากทราบแนวการปฏิบัติที่ตรงต่อโพธิญาณครับ

    ...อาจารย์กร ไม่ตอบครับ ได้แต่เงียบ นานพอสมควรเกือบๆชั่วโมง แล้วก็พูดว่า ให้ไปแล้ว ...

    ผม ก็ เห็น งูวิ่งมาเป็นคู่ๆทันทีครับ งง ครับ

    อาจารย์บอกอีกว่า ... ให้หลักปฏิบัติไปแล้ว ถ้าหามันอยู่ แสวงหาอยู่ บำเพ็ญอยู่ ก็ไม่สำเร็จ ไม่เต็ม ถ้าหยุดแสวงหา จึงจะเต็ม และสำเร็จ ...

    จากนั้นผมก็ลากลับครับ อาจารย์ก็ให้พรครับ ช่วงที่อาจารย์ให้พร และแสดงธรรม ผมสัมผัสได้ว่า เหล่าเทพเทวา นาค พรหม ยักษ์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดในโลกธาตุทั้งปวง จะอนุโทนาสาธุการด้วย (ใช้กำลังมโนมยิทธิที่ฝึกมาตรวจสอบดูครับ)

    ผมและเพื่อนก็ปวารณาตนเอง สนับสนุนอาจารย์เรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการสอนของท่านและครอบครัวทุกๆเดือนครับ เพราะท่านไม่ได้ทำงาน

    ตามความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ ที่สัมผัสได้(และคิดว่า ผู้ที่ได้เคยปฏิบัติกับอาจารย์และมีจิตสัมผัสระบบภายในได้ คงจะสัมผัสได้เช่นเดียวกันกับผม) อาจารย์กร น่าจะ (น่าจะ นะครับ) ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป เพราะมีสัญลักษณ์ทั้งภายนอกภายในของอาจารย์กรเด่นชัดมากครับ

    อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะครับ จะขัดแย้งก็ได้นะครับ เพราะเป็นความเชื่อส่วนตัวครับ เพราะผมไปหลายที่หลายสำนักแล้ว ธรรมภายในของอาจารย์จะเด่นชัดมากครับ

    ศิษย์คนอื่นๆว่างัยบ้างครับ แชร์ประสบการณ์กันบ้างครับ
     
  11. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    อาจารย์กร กล่าวว่า

    ".... พุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งการรู้แจ้งตามเป็นจริงของสรรพสิ่ง ด้วยเหตุและผล แล้วนำไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เราทุกคนที่ปรารถนาความพ้นทุกข์ ต้องรู้จักดูตนเอง พิจารณาตนเองนั้น ไม่ได้หมายความว่า แค่ พิจารณากายเป็นอาการ 32 ธาตุ 4 ขันธ์ 5 ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เท่านั้น นะ

    คำว่า ดู ตนเองนะ มันยังหมายถึง ดู อุปนิสัยตนเอง ดูว่า ตนเองนั้นมีอุปนิสัย อย่างไร เป็นคนโลภมั้ย มักโกรธมั้ย หลงมั้ย ชอบคิดอคติกับคนอื่นบ้างมั้ย

    โดยเฉพาะ การมีอคติกับคนอื่น จะมากหรือน้อยก็ตาม จะเป็นทางแห่งความเสื่อมของตนเอง เพราะการอคติคนอื่น ไม่ว่าคนนั้นๆจะ ดี จะชั่ว มากน้อยก้ตาม เป็นทางสู่ความเสื่อมทั้งสิ้น เป็นทางแห่งกิเลส มานะทิฏฐะ

    ถ้ามีอคติ คิดว่า ตนเองดีกว่า ตนเองเสมอคนอื่น ตนเองด้อยกว่าคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ภูมิความรู้ ก็ตาม ภูมิธรรม ก็ตาม ชาติกำเนิดก็ตาม ฐานะครอบครัวก็ตาม สิ่งต่างๆนี้ จะน้อยมากๆๆ บางมากๆๆ ก็เป็นเหตุแห่งความเสื่อมได้เหมือนกัน โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติที่หวังความเจริญในทางธรรม ให้ระวังสิ่งนี้ให้มากๆ เราให้ความสำคัญกับสิ่งนี้มากๆ

    ให้ทุกคนดูอุปนิสัยตนเอง เอาคุณธรรมต่างๆในบารมี 30 ทัศน์มาวัดตนเอง ที่กาย วาจา ใจ ทุกๆวัน ก่อนนอน ชำระจิตตนเองให้บริสุทธิ์ด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ให้ได้ทุกๆวัน ทุกๆเวลายิ่งดี จนไม่มีอะไรที่จะต้องทำอีก

    เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ให้ดูตนเอง ตรวจตนเอง ถามตนเองว่าตนเองมีคุณธรรมเหล่านี้สมบูรณ์ บริบูรณ์หรือยัง ถ้ายัง ก็ทำให้มีขึ้น เจริญขึ้น

    กิเลสใด ตัณหาใดยังละไม่ได้ ก็ละให้มันได้ อย่าไปเสียเวลากับเรื่องไร้สาระต่างๆ ไม่มีแก่นสาร อย่าไปเสียเวลาเรื่อง อดีต อนาคตของตนเองและคนอื่นๆ อย่าไปเสียเวลากับคุณธรรมของครูอาจารย์ต่างๆ ท่าน ดี ก็ ดีของท่าน แต่เราไม่ได้ดีตาม

    เราเห็นหลายๆคน มัวแต่ชื่นชมยินดีกับคุณงามความดีของคนอื่น แต่ไม่ได้ใส่ใจตนเอง ฝึกตนเอง ทำอย่างนี้ได้กุศลมั้ย ได้ แต่ ก็ต้องดูตนเอง ฝึกตนเอง ทำให้พอเหมาะพอควร


    ผู้มุ่งหวังความหลุดพ้นนั้น ให้เหตุแห่งทุกข์ให้ได้ สมุทัยต้องละอย่างเด็ดขาด กิเลสตัณหานั้นต้องละ ต้องวางให้ได้ อย่าไปเป็นทาสมัน เมื่อละได้เด็ดขาดนั่นแหละ ธรรมแท้จึงจะปรากฏที่กลางใจเรา

    การละกิเลสตัณหา ต้องทำควบคู่กับการพิจารณา ด้วยกำลังแห่งความตั้งมั่นคือ กำลังแห่งสมาธินั่นเอง พิจารณาสังขารตามเป็นจริงของมันที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ด้วยกำลังแห่งสมาธิ เมื่อแจ่มแจ้ง หมดสงสัยในสังขารทั้งปวงแล้ว ก็ละเสียซึ่งสมุทัย คือ ละความยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นตน ของๆตน ไม่ใข่สัตว์บุคคลตัวตนราเขา สักแต่ว่าธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน

    แล้วปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ ตามสมควรแก่ธรรมของมัน ...."
     
  12. nrongrit

    nrongrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +546
    ผมได้มีโอกาสร่วมปฏิบัติธรรมครั้งที่ 2 กับอาจารย์กรที่ อ. สังขละบุรี กาญจนบุรี ช่วงเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมาครับ

    แนวการปฏิบัติของอาจารย์จะเน้นให้บริกรรมคำต่างๆที่เป็นบาลี เหมือนๆกับที่คุณสมภาพธรรมได้ลงให้ได้ศึกษากัน อาจารย์จะเปลี่ยนคำบริกรรมไปเรื่อยๆ ตามสภาวะจิตของผู้ปฏิบัติ (รู้สึกว่า อาจารย์กรจะทราบอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติ คือ ปฏิบัติอย่างไรจึงจะก้าวล่วงความสงสัยได้ และทำให้หยั่งจิตแต่ละคนที่ปฏิบัติด้วยลงสู่สภาวะธรรมได้ง่ายและเร็วมากๆครับ)

    อาจารย์กรจะให้บริกรรมไปเรื่อย เปลี่ยนคำบริกรรมบ่อยมากๆ ต้องตามให้ทัน คิดเรื่องอื่นไม่ได้เลย (ผมคิดว่า มันเป็นข้อดี เพราะมันทำให้เรา ไม่คิดไปเรื่องภาวนอก ยกเว้นบางคนที่สงสัยต่างๆนานา ไม่ตามคำบริกรรม)

    การเรียนกรรมฐานกับอาจารย์กร จะเน้นการนั่งที่นานมากๆครับ 2-3 ชั่วโมงค่อยได้พัก พักแค่ 15 นาที ก็นั่งต่ออีก 2 ชั่วโมง ถ้าเรากำหนดคำบริกรรมตาม ทำใจให้สบายๆ ไม่กังวลเวทนาที่เกิดขึ้น มันก็ผ่านไปเร็วมากๆครับ

    ผมเกิดมาไม่เคยนั่งสมาธิได้นานขนาดนี้เลย พอเลิกนั่งตอนเย็นนะ โอ๊ย...มันเหนื่อยมากๆ กว่าจะเลิกไดก็ เกือบๆเที่ยงคืนครับ หลังจากนั้น อาจารย์ก็สอนตัวต่อตัว กับคนที่ต้องการอะไรพิเศษๆครับ ผมก้นั่งต่ออีกถึง ตีสามครับ

    (ผมสังเกตนะ อาจารย์กรไม่แสดงความเหน็ดเหนื่อยให้เห็นเลย ท่านสอนจริงๆ อยากให้คนที่ปฏิบัติรู้ธรรมจริงๆ ท่านมุ่งมั่นมาก และแววตาแห่งมหากรุณาฉายออกมาจากดวงตามากครับ นั่งภาวนากับอาจารย์ จิตตั้งมั่นได้เร็วมาก ไม่ได้เป็นอุปาทานครับ รู้สึกว่า ท่านมีพลังที่ควบคุมจิตของทุกๆคนที่มาปฏิบัติให้แน่วแน่ต่อการปฏิบัติได้สูงมากๆๆๆครับ อันนี้ไม่ได้กล่าวเกินจริงครับ แต่เป้นจริง เพราะผมก็สอบถามหลายๆคนที่ปฏิบัติด้วยกันว่า รู้สึกอย่างไรบ้าง)

    การปฏิบัติกรรมฐานหลังเที่ยงคืน ค่อนข้างจะเข้มข้นมาก จะมีคนที่อยู่ร่วมปฏิบัติด้วย ประมาณ 6 คน อาจารย์จะให้ทุกคน นั่งรอบๆตัว แล้วให้นั่งสมาธิ และให้คำบริกรรมที่แตกต่างกัน

    มีคนนึง ท่านให้ผมกำหนดดู้สภาวะภูมิจิต ภูมิธรรม ผมก็ตอบไป แล้วอาจารย์บอกว่า คอยดูนะ คนนี้ไม่เคยนั่งภาวนาเลย ครั้งนี้ครั้งแรก อีก 30 นาทีจะหยั่งรู้ภาษาต่างๆได้ในจักรวาลนี้ (ผมก็ถามพี่คนนั้นว่า เคยนั่งภาวนาบ้างมั้ยในชีวิตนี้ พี่เค้าก้ตอบว่า ไม่เคยเลย เพิ่งนั่งครั้งแรก ผมก็อดสงสัยอาจารย์กรไม่ได้เลยว่า จะสอนอย่างไรให้รู้ภาษาสรรพสัตว์ได้ในเวลา 30 นาที ยิ่งอาจารย์บอกว่า คอยดูนะจะพูดภาษาอังกฤษ เยอรมัน จีนได้โดยไม่ต้องเรียนที่ศูนย์ภาษาเลย ผมมันก็ประเภทอยากลองครับ)

    อาจารย์ก็ให้พี่คนนั้น ภาวนา อิทธิปาทัง ก่อนครับ 5 ครั้ง แล้วตามด้วย วิตก วิจาร

    ตามด้วย ปิติ
    ตามด้วย สุข (ผมจดคำบริกรรมตาม ครับ จะได้เอาไปฝึกเองบ้าง แฮะๆๆๆ จะได้รู้ภาษาโดยไม่ต้องเสียตังค์ อิอิอิ)
    ตามด้วย เอกัคตาอุเบกขา ย้อนกลับไปมา ประมาณ 5 รอบ และจบลงที่ สุข ประมาณ 30 ครั้ง

    แล้วภาวนาคำว่า จิตตัง พุทโธ 30 ครั้ง
    แล้วภาวนาว่า อักขะรัง พุทธัง ธัมมัง (อาจารย์กรอธิบายว่า อันนี้เป็น translator machine สำหรับแปลภาษาสพพสัตว์ในทุกภพทุกภูมิให้เข้าใจเป็นภาษามนุษย์ได้)

    ภาวนาคำนี้ประมาณ 5 นาที อาจารย์กรก็ถามว่า เห็นอะไรมั้ย พี่คนนั้นก็ตอบว่า เห็นครับ รป็นอักขระ ยึกยือๆ อาจารย์กรก็ถามว่าจำได้มั้ยว่ามีลักษณะอย่างไร

    พี่เค้าก็เขียนให้ดูครับมีทั้งหมด 65 ตัวครับ และให้อ่านออกเสียง อาจารย์กรก้บอกว่า ...เอ้าที่สวรรค์ชั้นดุสิตจะมีคาถาบทหนึ่งชื่อว่า พระคาถาชินปะโร ลองอ่านให้ฟังหน่อย
    (พี่คนนี้ยังไม่รู้จักพระคาถาชินะปโร ก็ทำหน้างงๆครับป


    อาจารย์กรบอกว่า ให้เชื่อมั่นในตนเอง อย่าไปสงสัย


    พี่เค้าก้อนั่งหลับตาซัก 3 นาทีได้ ก็พูดออกมาเป็นบทพระคาถาชินปโรครับ ผมก็ตรวจทานไปด้วยครับ อัศจรรย์ครับ ไม่น่าเชื่อ เหมือนที่ผมสวดทุกๆวันเลยครับ ไม่ผิดเพี้ยนซักประโยค


    ตอนนี้บรรยากาศตื่นเต้นกันมากครับ ทุกๆคนที่เหนื่อยๆกัน หายเหนื่อยครับ อยากได้กันบ้างครับ


    อาจารย์ก็บอกว่า เอาละจะให้พูดภาษาเยอรมัน อาจารย์ก็พูกภาษาเยอรมันออกไป ประโยคนึง อาจารย์ก็บอกว่า ให้ใช้จิตฟัง อย่าใช้หูฟัง และภาวนา อักขะรัง พุทธัง ธัมมัง 5 ครั้ง และให้จิตพูดออกมา


    แปลกประหลาดมากๆครับ พี่คนนั้น พูดภาษาเยอรมันได้ครับ สำเนียงเจ้าภาษาชัดเจนครับ


    ผมงี้...อึ้งไปเลยครับ เป็นไปได้งัย ไม่อยากเชื่อเลย อาจารย์ก็ให้ฟังภาษาสัตว์ครับ พอดีมีแมวตัวนึงที่นั้นครับ อาจารย์ก้ให้สื่อสารกับแมวครับ ให้แมวทำสิ่งต่างๆ แมวมันก็ทำตามครับ


    โอย...เขียนมากเมื่อยนิ้ว ผมเล่าจากประสบการณ์จริงครับ อยากให้ทุกๆลองไปศึกษาการปฏิบัติกับอาจารย์กร กับท่านโดยตรงจะดีที่สุดครับ จะทำให้การบำเพ็ญบารมีเร็วขึ้นครับ


    อาจารย์เป็นศิษย์สำนักเดียวกันกับสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ได้เรียนกรรมฐานกับครูอาจารย์หลายท่านในสายโลกอุดรครับ อันนี้ผมพิสูจน์หลายๆอย่างแล้ว


    อาจารย์กรเชี่ยวชาญ แตกฉาน ลึกซึ้งในพุทธคุณ 56ข้อมากๆครับ เชี่ยวชาญเรื่องการเจริญธาตุ ตั้งธาตุ รวมธาตุต่างๆ


    โดยเฉพาะกรรมฐาน 40 อาจารย์กรจะแตกฉานมากทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยเฉพาะสภาวะธรรมของแต่ละกรรมฐานทั้ง 40 กอง

    อธิบายข้อธรรมทุกข้อธรรม สามารถนำไปปฏิบัติได้เลยครับ หมดสงสัย

    ความเห็นสวนตัวนะครับ ไม่ยกยออาจารย์กรเกินจริง หรือเข้าข้างนะครับ

    อาจารย์กรรู้แจ้งในธรรมทั้งปวงจริงๆ และสภาวะธรรมของอาจารย์ พอสัมผัสแล้วมันยิ่งใหญ่ ไพศาลไม่มีประมาณจริงๆครับ เป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง พรหมวิหารทั้ง 4 ไพบูลย์เป็นอัปปมัญญา ไม่มีประมาณ สมกับที่อาจารย์พูดถึง คำว่า จิตคือพุทธะ ตลอดเวลาครับ พูดจากภายในที่รู้ในธรรมจริงๆครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2010
  13. nrongrit

    nrongrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +546
    จากที่ผมได้ปฏิบัติกรรมฐานกับอาจารย์กร อาจารย์จะให้การบ้านมาทำด้วยที่บ้านด้วยครับ คือให้ข้อปฏิบัติ ทำคุณธรรมให้เกิดขึ้นในตนเอง อาจารย์ก้จะโทรติดตามผลการปฏิบัติ

    ในส่วนของผลการปฏิบัติ อาจารย์จะไม่บอกล่วงหน้าว่า บริกรรมคำนี้ จะเห็นอะไร เป็นอะไร หรือมีอะไรเกิดขึ้น ให้ทำเอง แล้วแจ้งอารมณ์การปฏิบัติกับอาจารย์ ท่านก็จะบอกว่า ใช่ ไม่ใช่ ถูกต้องตามสัจธรรรมมั้ย ถ้าไม่ใช่ ท่านก็ให้ภาวนาต่อ

    อาจารย์กรจะบอกข้ออุปสรรคในการปฏิบัติให้

    ผมคิดว่า อาจารย์กร ติดตามผลการปฏิบัติของผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานกับท่านทุกๆคนนะครับ เหมือนๆว่า อาจารย์จะติดตามดูลูกศิษย์ทุกๆคน ตลอดเวลา คอยให้กำลังใจ กำลังสติ กำลังปัญญา ตลอดเวลา มีเมตตากรุณาต่อทุกคนมากๆครับ

    ใครที่ยังไม่เคยปฏิบัติกับอาจารย์ ควรที่จะไปปฏิบัตินะครับ เพราะอาจจะได้พบอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถทำให้สร้างบารมีได้เร็วขึ้น เวลาสั้นลงได้เป็นอย่างมากครับ
     
  14. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 นี้เป็นต้นไป ท่านอาจารย์กร งดและหยุดการแนะนำกรรมฐานตามสถานที่ต่างๆครับ


    ปัจฉิมโอวาทของท่านอาจารย์กร ที่มอบให้กับทุกๆท่านที่ไปปฏิบัติกรรมฐานกับท่านครับ

    "... ชีวิตของคนเราสั้นมาก เริ่มต้นขึ้นที่หายใจเข้า สิ้นสุดที่หายใจออก จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต แม้อาจารย์เองวาระนั้น ก็ปรากฏชัดตลอดเวลา

    เรามีพึ่งแล้วในอัตภาพนี้ เราได้กระทำสมบูรณ์แล้วในสิ่งทั้งปวง ในสิ่งที่ควรทำ บุญ บารมีและกุศลทั้งปวง เราได้กระทำให้สมบูรณ์แล้ว เรามีที่พึ่งในตนของตนอันดีแล้ว

    ท่านทั้งหลายจงอย่าประมาทในชีวิต อย่าประมาทในความคิดอันเล็กน้อย อย่าประมาทในสัตว์ทั้งปวง แม้จะคิดเล่นๆก็ตาม

    อย่าไปคิดทดลองดี ทดลองชั่วกับคนอื่น เพราะเป็นทางแห่งความเสื่อม อย่าไปกล่าวขัดขวางการสร้างบารมีของคนอื่น แม้คนนั้นๆจะปฏิบัติด้วยมิจฉาทิฏฐิก็ตาม

    จงเป็นผู้มองโลกด้วยความเที่ยงตรงตามที่มันเป็น อย่าไปปรุงแต่งโลกให้เป็นไปตามอำนาจกิเลสตน

    จงปฏิบัติต่อตนเองและผู้ให้เสมอกัน

    จงอย่านำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย ไปป่าวประกาศให้คนอื่นทราบ ถ้าตนเองยังไม่แจ้งในธรรมทั้งปวง เพราะเป็นทางแห่งการสร้างอัตตา มานะทิฏฐิ ที่ไม่มีวันหมดสิ้น

    จงอย่าบำเพ็ญบารมีด้วยการอ่าน การฟัง การคิด การนึก การใช้โวหารที่สวยหรู แม้กระทั่งการบอกกับคนอื่นว่า ตนเองลึกซึ้งในการปฏิบัติ ในกฏแห่งกรรม ในการบำเพ็ญบารมีทั้งปวง
    ให้บำเพ็ญบารมีด้วยการปฏิบัติที่สมควรแก่เหตุ

    จงศึกษาพระธรรมคำสอนด้วยตนเอง ให้แจ้งชัดด้วยตนเอง แล้วค่อยประกาศธรรม

    จงอย่ากระหายเป็นผู้ในการแสดงธรรม การอธิบายธรรม การแนะแนวทางการปฏิบัติ ถ้ายังไม่ตระหนักชัดซึ่งธรรมชาติแห่งจิต

    จงอย่ากล่าวหรือพูดด้วยถ้อยคำใดๆ ที่บอกว่า ตนเองสามารถอธิบายปฏิจจสมุปปบาทได้ลึกซึ้ง และจงอย่าอธิบายปฏิจจสมุปบาทให้คนอื่นฟัง เพราะปฏิจจสมุปบาทต้องแจ้งที่จิตของแต่ละคนด้วยตนเองเท่านั้น

    จงอย่าไปอธิบายอริยสัจ ๔ ให้คนอื่นฟัง ถ้ายังไม่ตระหนักซึ่งจิตจากภายใน เพราะนั่นแหละคือความหลงแท้

    จงอย่าไปพูดเรื่องกำเนิดโลก กำเนิดจักรวาล กำเนิดสรรพสิ่ง ถ้ายังไม่แจ้งเรื่องสุญญตาจากภายใน

    จงอย่าไปอธิบายกฏแห่งกรรม สังสารวัฏฏ์ทั้งปวง นั่นคือทางแห่งความหลง

    จงตระหนักชัดในคำว่า ผู้จดจำธรรม ผู้รู้ธรรมโดยการศึกษา ผู้รู้ธรรมโดยการปฏิบัติ ผู้ตระหนักชัดในธรรม และผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ให้ได้ตลอดเวลา

    จงอย่าไปพูดและคิดว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นด้วยกาย ด้วยรูปนาม

    จงตรวจตราอุปนิสัยตนเองตลอดเวลา

    จงละเสียซึ่ง ตน ของๆตน เกี่ยวเนื่องด้วยตน

    วิมุตติ และ วัฏฏะ ปรากฏอยู่ที่เดียวกัน จงเห็นมันจากภายใน

    ที่พึ่งอันประเสริฐคือพุทธะ ธัมมะ สังฆะ ท่านทั้งหลายจะพบที่พึ่งนี้จากภายในของตนเองแต่ละคนเท่านั้น ไม่สามารถพบจากภายนอกได้เลย และการพบนี้ ก็ไม่ใช่การคิด ไม่ใช่การพิจารณาโดยแยบคาย ไม่ใช่การใช้สติปัญญาสมาธิใดๆเลย มันเป็นเพียงการพบอย่างธรรมดาๆ ตามธรรมชาติที่มันเป็นไป

    จงนิ่งเงียบ แล้วโพธิญาณจะปรากฏ ..."
     
  15. nrongrit

    nrongrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +546
    เมื่อวานผมมีโอกาสได้คุยกับอาจารย์กรทางโทรศัพท์ เพื่อสอบถามอารมณ์การปฏิบัติ อาจารย์กรได้ให้คำแนะนำการบำเพ็ญจิตเพื่อความหลุดพ้นจากวัฏฏะ

    ".... การอบรมจิตต้องทำให้ต่อเนื่องทุกขณะเวลา คือไม่ต้องคิดเรื่องเวลาเลยว่า จะทำตอนเช้า ตอนบ่าย ตอนเย็น ต้องภาวนาให้ต่อเนื่องเหมือนแม่น้ำที่ไหลไม่เคยหยุด

    เพราะกิเลสตัณหา ไหลไม่เคยหยุดเช่นกัน เราต้องรู้ให้เท่าทันกิเลสที่มาให้ทันตลอดเวลา มันถึงจะละได้ วางได้

    คำว่า วาง นั้น หมายถึง วางกิเลส ตัณหา วางที่ไหน จิตเป็นผู้รู้กิเลส กิเลสเกิดขึ้นที่จิต แต่กิเลสไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่กิเลส เกิดขึ้นพร้อมกัน จิตในที่นี้หมายถึง สภาวะที่รู้ว่ามีกิเลสเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป กิเลสตัณหาก็เป็นอารมณ์อย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์ที่เป็นเหตุแห่งทุกข์

    อย่าไปเข้าใจว่า จิตมีเกิด มีดับ จิตเป็นดวงๆ ปราชญ์ท่านหมายถึง สภาวะรู้ของจิตมีเกิดมีดับเมื่อมีอารมณ์มากระทบ ที่เครื่องมือของจิตที่รับรู้อารมณ์จากภายนอก อะไรคือเครื่องมือของจิต ก็คือ อายะตนะทั้ง 6 นั่นเองคือเครื่องมือของจิต

    เราผู้ปฏิบัติที่ต้องการรู้ตามเป็นจริงในธรรมทั้งปวง คำว่า ธรรม ก็คือ จิต อารมณ์ต่างๆ จะเป็นกุศล อกุศล อายตนะที่เป็นเครื่องมือของจิต และขันธ์ 5 ต้องชัดเจนในสภาวะธรรมนี้ให้แจ้งตามอาการของมันจริง ๆ

    เราจะวางกิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นพร้อมกับสภาวะรู้ได้อย่างไร ในเมื่อเราไม่สามารถแยกจิต และกิเลสออกจากกันได้ เราก็วางทั้งจิตและกิเลสเลยว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่เรา ของๆเรา มันเป็นของมันอย่างนั้น ตามเหตุตามปัจจัย วางหมดแล้วจะเป็นอย่างไร ให้ไปทำกัน

    เราบอกได้แต่เหตุการปฏิบัติ จะไม่บอกผลการปฏิบัติล่วงหน้า อยากรู้ อยากสัมผัส อยากเห็นธรรมที่วางกิเลสตัณหาจนหมดสิ้นแล้วเป็นอย่างไร ให้ทำกันเอง

    เราได้แต่บอกทาง ชี้ทางให้ เท่านั้น จุดหมายที่จะไปมันมีอยู่แล่ว ไม่ต้องสงสัยอะไรเลย ถ้าศรัทธาในพระพุทธศาสนาจริงๆ

    อาจารย์ขอเตือนอย่างหนึ่ง จงฝึกตนเองให้ดี ให้แจ้งธรรมจากภายในตนเองให้สมบูรณ์ แล้วค่อยพูดคุยธรรมะกับคนอื่น จงพูดให้น้อย ปฏิบัติให้มาก ตระหนักชัดจิตให้แจ้ง แล้วค่อยแนะนำการปฏิบัติคนอื่น ...."
     
  16. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    ผม คือ ใคร ใครคือผม สูญญตา ดูอยู่อย่างนั้น
    บารมีอย่างไร ทำๆไป มันขึ้นไปตามลำดับ เป็นการเห็นโลกธาตุชัดเจน ไม่มีปิดได้ถ้าผู้ได้จริง ใครสนใจสนทนาแลกเปลี่ยน เชิญ 0847528441 ผมรู้จักแนวมามากใคร่บอกแลกเปลี่ยน
     
  17. j46

    j46 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +238
    ท่าน อ.กร ได้ฝากคาถามาให้เผยแพร่ด้วยครับ
    เป็น อนุตรธรรม โพธิญาณ คาถา หรือ โพธิสัตวธรรม เป็น ตัวปัญญาแท้ รวมธรรมทั้งหมด (บารมี ๓๐ ทัศ อาการวัฏฏะสูตร) นำไปสู่อนุตรธรรม(อานุภาพเหมือนคาถาแม่บทข้างต้นขึ้นกับผู้ภาวนาจะใช้) เป็นวัชรคาถา ตัดเข้าสู่ อนุตรธรรม เป็นคาถาที่สมเด็จองค์ปฐม ได้ถ่ายทอดให้ท่าน อ.กร มานานแล้วและตอนนี้ถึงเวลาที่นำมาเผยแพร่ได้แล้ว เป็นคาถาหรือกุญแจเข้าสู่ธรรมของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ

    ก่อนภาวนาให้กล่าว
    " นะโม เม สัพพะพุทธานัง
    นะโม เม สัพพะธัมเมนัง
    นะโมเมสัพพะสังขานัง
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า จะขอภาวนา อนุตรธรรมโพธิญาณคาถา(โพธิสัตวธรรม)เพื่อเข้าสู่ธรรมของพระพุทธเจ้า

    หลังจากนั้นให้ภาวนา "โพธิญาณคาถา "

    " ปิ โส คะ มา ทู โต ริ มา มิ พุทธ คะ ติ เม กะ มะ อุ "

    ให้ภาวนาจนเกิดองค์ความรู้ ข้อปฏิบัติ เป็นแก่นธรรมทั้ง ๑๖ ตัวอักษร สวัสดีครับ<!-- google_ad_section_end --> <!-- / message --><!-- edit note -->

    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>
     
  18. คนนะ

    คนนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +221


    ฉะนั้น...ทุกๆท่าน...จงนิ่งๆไว้นะรู้มั้ย เข้ามาอ่านอย่างเดียว ไม่งั้นปิดกระทู้ อีกกระทู้เสียดายแย่
     
  19. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    อนูโมทนากับการบำเพ็ญบารมีกับทุกๆท่านครับ

    ผมขออนุญาตปิดกระทู้ครับ

    ใครที่ต้องการปฏิบัติธรรมกับท่านอาจารย์กร หรือต้องการทราบข้อปฏิบัติต่างๆให้ติดต่อกับท่านอาจารย์โยตรงครับ

    ผมได้ทำหน้าที่เผยแพร่คำสอนของท่านอาจารย์กรเสร็จสมบูรณ์แล้วครับ

    ในส่วนตัวของผมที่ได้ติดตาม ท่านอาจารย์กร มานับสิบปี ผมได้เห็นสิ่งอัศจรรย์ต่างๆที่ท่านอาจารย์แสดงให้ดู หรือกล่าวเอาไว้ เป็นจริงตลอดเสมอมา

    ท่านอาจารย์ให้พรคนที่มาพบท่านด้วยศรัทธาบริสุทธิ์จริงๆ คนเหล่านั้นจะประสบความสำเร็จในทางโลกและทางธรรมกันทุกคน แม้ผมเองดำเนินธรุกิจหลายอย่าง ด้วยเพราะความช่วยเหลือจากท่านอาจารย์ ธุรกิจต่างๆรอดพ้นจากวิกฤตทางเศรษฐกิจของผมมาตลอด และการบำเพ็ญบารมีก็เป็นไปได้ด้วยดี แม้ท่านจะเป็นเพียงฆราวาสธรรมดาๆ แต่บุญบารมีนั้นมากมายนัก ไม่มีประมาณ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...