พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,811
    ค่าพลัง:
    +84,005
    ขอบคุณครับ
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วันนี้ ผมมีพระพิมพ์มาให้ชมกันนะครับ ไม่มีให้บูชา เป็นพระปัญจศิริ ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีท่านเสกไว้ให้ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • paja1.jpg
      paja1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      25.3 KB
      เปิดดู:
      657
    • paja2.jpg
      paja2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      20.1 KB
      เปิดดู:
      651
    • paja3.jpg
      paja3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      20 KB
      เปิดดู:
      636
  3. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    ทำศัลยกรรมในที่นี้ ถึงขนาด อาบน้ำแร่ แช่น้ำเกลือ เจือน้ำกรด รดน้ำมนต์ ปนน้ำหมาก เลยหรือเปล่าครับ
     
  4. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    สำหรับผู้ชื่นชอบทำบุญกฐิน มีรายละเอียดของกฐินมาให้ร่วมทำบุญครับ

    1 กฐินพระราชทาน ปปง. ทอดถวายวัดเสาธงทอง อ.เมือง จ.ลพบุรี ธนาคารกรุงไทย สาขาปทุมวัน ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "เงินพระกฐินพระราชทาน สำนักงาน ปปง." 008 - 0 - 00214 - 5 ทอดกฐิน 29 ตค. 49 โอนปัจจัยภายใน 25 ตค. 49

    2 กฐินพระราชทาน สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ทอดถวายวัดลุ่มมหาชัย จ.ระยอง ธนาคารกรุงไทย (ไม่มีรายละเอียดสาขา) ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "กฐินกรมการศึกษานอกโรงเรียน" 059 - 1 - 24428 - 4 ทอดกฐิน 21 ตค. 49 โอนปัจจัยภายใน 16 ตค. 49

    3 กฐินพระราชทานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทอดถวายวัดธรรมบูชา อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ธนาคารกรุงไทย สาขาปทุมวัน ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "กฐินพระราชทาน สพฐ.ประจำปี 2549 " 059 - 0 - 05169 - 5 ทอดกฐิน 20 ตค. 49

    4 กฐินพระราชทาน การไฟฟ้านครหลวง ทอดถวายวัดราชบุรณราชวรวิหาร แขวงวังบูรพา พระนคร กทม ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยการไฟฟ้านครหลวง ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี " กฟน. (กฐินพระราชทาน กฟน. ปี 2549) " เลขที่บัญชี 092 - 0 - 03282 - 6 ทอดกฐิน 27 ตค. 49 โอนปัจจัยภายในวันที่ 6 ตค. 49

    5 กฐินพระราชทานกระทรวงยุติธรรม ทอดถวายวัดสุปัฏนารามวรวิหาร อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ธนาคารกรุงศรี สาขาถนนแจ้งวัฒนะ ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี " พระกฐินพระราชทาน กระทรวงยุติธรรม" 329 - 1 - 26966 - 8 ทอดกฐิน 4 พย. 49 โอนปัจจัยภายในวันที่ 16 ตค. 49

    6 กฐินพระราชทาน สำนักงานอัยการสูงสุด ทอดถวายวัดพระยาทำ ถ.อรุณอัมรินทร์ กทม. ธนาคารกรุงไทย สาขาท่าเตียน ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "เงินการกุศลของสำนักงานอัยการสูงสุด" 026 - 1 - 04352 - 8 ทอดกฐิน 1 พย. 49 โอนปัจจัยภายใน 15 ตค. 49

    7 กฐินสามัคคี ศูนย์สงครามพิเศษ ทอดถวายวัดเวฬุวัน (เขาจีนแล) ต.นิคมสร้างตนเอง อ.เมือง จ.ลพบุรี ธนาคารทหารไทย สาขาลพบุรี อ.เมือง จ.ลพบุรี ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "กฐิน ศสพ. 2549" 304 - 2 - 70847 - 3 ทอดกฐิน 14 ตค. 49
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2006
  5. Chayaporn

    Chayaporn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +4,641
    มาลงชื่อไปงานวันวิทยาศาตร์ทางจิตด้วยคนค่ะ
    พี่เม้าท์ตัวจริง คงหล่อพิลึกเลย หลังจากศัลยกรรม:)
     
  6. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,085
    โห.....สูตรศัลยกรรมนี้ เขาไม่ให้เปิดเผยนะครับ
    เป็นความลับสวรรค์ อิอิ
     
  7. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    รูปที่นำมาลงเนี่ย เพิ่งสำเร็จการศึกษาหรือครับ
     
  8. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    ปริญญาใจ ???
     
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    คุณหนุ่มครับ...

    หนังสือพุทธามหาเวทฉบับที่ 19 ตุลาคม 2549 นี้ได้เริ่มนำเรื่องพระสมเด็จฯเจ้าคุณกรมท่า มาลงฉบับนี้เป็นฉบับแรกแล้วนะครับ มีภาพสีของภาพพระปกในด้านหน้าด้วยครับ ลองติดตามดูว่า มีความแตกต่างกันหรือไม่นะครับ เผื่อจะมีผู้อ่านทั้ง 2 แหล่งอาจได้ข้อมูลที่แย้งกันครับ กว่าจะจบคงอีก 4-5 ฉบับครับ
     
  10. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,085
    รับทราบการลงชื่อครับ
    โอ๋ยโหย๋.......ขอหล่ออย่างเดียว ไม่เอาพิลึกนะครับ
     
  11. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,085
    ลงผิดที่ครับ
    เป็นรูปสมัยไปดูงานที่ญี่ปุ่นอะครับ
     
  12. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    <TABLE border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>การทอดกฐิน นับว่าเป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งมีช่วงเวลาจำกัดเพียงปีละ 1 เดือน คือระหว่าง แรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น จึงถือกันว่าการทอดกฐินได้บุญมาก ได้อานิสงส์มาก
    คำว่า "กฐิน" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้กว้างขวาง โดยรวมถึงกรรมวิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฐินตั้งแต่ต้นจนจบ ดังนี้

    "กฐิน น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ ไม้แบบสำหรับตัดจีวร, คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาล เรียกว่า กฐินกาล (กะถินนะกาน) คือ ระยะเวลาตั้งแต่แรมค่ำหนึ่ง เดือน 11 ถึง กลางเดือน 12 ระยะเวลานี้ เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน (เทดสะกานกะถิน) ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาล ผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใด จะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า "จองกฐิน" การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เ รียกว่า ผู้ครองกฐิน ผู้กรานกฐิน หรือองค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือบริวารกฐิน (บอริวานกะถิน) เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธี อนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ กรานกฐิน (กรานกะถิน) ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัย สิทธิพิเศษ 5 ประการ ซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน"

    ในหนังสือ "ศาสนาสากล" แบบเรียนศาสนาสากล ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ได้เขียนเล่าถึงประวัติความเป็นมาของการทอดกฐินไว้ดังนี้

    "คำว่า "กฐิน" หมายถึง กรอบสำหรับขึงผ้าเย็บจีวรซึ่งเรียกว่า สะดึง ฉะนั้นผ้ากฐินก็หมายถึงผ้าที่สำเร็จออกมาโดยการขึงตรึงด้วยไม้สะดึงแล้วเย็บ ความจริงไม้สะดึงนั้นเขาใช้เฉพาะผู้ที่ยังไม่สันทัดในการเย็บจีวรเท่านั้น สมัยนี้เราไม่จำเป็นที่จะต้องเอาผ้ามาขึงด้วยไม้สะดึงแล้วเย็บให้เป็นจีวรแล้ว อาจหาซื้อตามท้องตลาดทั่วไป เพราะมีผู้เย็บจีวรขายโดยเฉพาะมากมาย นับว่าเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระในด้านนี้ไปได้อย่างมากทีเดียว การทอดกฐิน ก็คือการเอาผ้าที่เป็นจีวรแล้วนั้นไปวางไว้ต่อหน้าสงฆ์ ซึ่งอย่างน้อยต้องมี 5 รูป แล้วออกปากถวายสงฆ์โดยไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่งแล้วแต่พระท่านจะมอบหมายกันเอง แม้สมัยนี้เราจะไม่ต้องใช้สะดึงมาขึงผ้าเย็บจีวรก็ตาม แต่ถึงกระนั้นเราก็ยังเรียกว่า ผ้ากฐิน อยู่นั่นเอง

    การทอดกฐินมีกำหนดระยะเวลาไว้ 1 เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จะทอดก่อนหรือหลังจากนี้ไม่ได้

    ประเพณีการทอดกฐินนี้ ประชาชนชาวไทยนิยมทำกันมาก ถือว่าได้อานิสงส์แรง เพราะทำในเวลาจำกัด ในปัจจุบันนี้มักทำกันเป็นพิธีรีตองมโหฬารทีเดียว บางทีก็มีการแห่แหนประดับตกแต่งองค์กฐินพร้อมทั้งไทยธรรมที่เป็นของบริวารซึ่งจัดทำกันไว้อยางประณีตบรรจง บางทีก็มีการฉลององค์กฐินกันก่อนที่จะแห่ไปวัด ในการแห่งแหนนั้น บางทีก็ทำกันอย่างสนุกสนาน ครึกครื้น มีทั้งทางบกและทางน้ำ ในสมัยนี้ก็มีการแห่ผ้ากฐินไปทางอากาศอีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่จะนำผ้ากฐินไปทอดจะสะดวกทางใด ก็ไปทางนั้น

    เหตุที่จะเกิดมีการทอดกฐินกันนั้น เรื่องมีอยู่ว่า ภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป (คือ พระภัททวัคคีย์ 30 นั่นเอง) ได้เดินทางจากเมืองปาฐา เพื่อมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่พอมาถึงเมืองสาเกต ก็เป็นฤดูฝน เลยต้องพักจำพรรษาอยู่ที่นั่น เมื่อออกพรรษาแล้ว ก็รีบเดินทางต่อไปยังเมืองสาวัตถี ต้องกรำฝนทนแดดไปตลอดทาง จีวรต่างชุ่มโชกไปด้วยน้ำฝนไปตาม ๆ กัน พระพุทธองค์ทรงเห็นความลำบากตรากตรำของพระภิกษุเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุได้รับกฐินเสียก่อน ทั้งนี้เพราะเหตุว่า แม้จะออกพรรษาแล้ว แต่ฝนก็ยังไม่ขาดเสียทีเดียว ถ้าหากจะรั้งรอไปอีกเดือนหนึ่ง พอฤดูฝนหายขาดแล้ว พื้นดินก็จะไม่เป็นเปือกตมอีก การเดินทางย่อมสะดวกสบาย ฉะนั้น พระองค์จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุจำพรรษาตลอดไตรมาสแล้ว ได้ยับยั้งอยู่เพื่อรับกฐินเสียก่อน จะได้ไม่ต้องได้รับความลำบากในการเดินทางอีกต่อไป ต่อมาเมื่อมีปัญหาว่า ผ้าที่ทายกนำมาถวายนั้น ไม่พอกับจำนวนภิกษุที่จำพรรษาอยู่ พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้พระภิกษุผู้มีจีวรเก่ากว่าเพื่อนและฉลาดในพระธรรมวินัยเป็นผู้รับกฐินและให้ภิกษุนอกนั้นเป็นผู้อนุโมทนา ก็จะได้อานิสงส์ในด้านพระวินัยเท่ากัน.

    ความเป็นมาของการทอดกฐิน

    การทอดกฐิน เป็นการบำเพ็ญบุญที่ได้กระทำสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งมีที่มาแตกต่างกว่าการถวายทานโดยทั่วไปอยู่ตรงที่การถวายทานอย่างอื่นมักเกิดขึ้น โดยมีผู้ทูลขอให้พระบรมศาสดาทรงอนุญาต ส่วนกฐินทานนี้เป็น พุทธานุญาตโดยตรง นับเป็นทานอันเกิดจากพุทธประสงค์โดยแท้

    ความหมายของคำว่า "กฐิน"
    คำว่า "กฐิน" มีความหมายโดยนัยต่างๆ ถึง 4 ประการ คือ
    1. เป็นชื่อของกรอบไม้ หรือ สะดึง อันเป็นแม่แบบสำหรับขึงผ้าเพื่อความสะดวกในการ ปะ - ตัด - เย็บ ทำจีวร เนื่องจากในสมัยพุทธกาล การทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนด กระทำได้ยากจึงต้องมีกรอบไม้สำเร็จรูป ไว้เป็นอุปกรณ์ในการทำ แม้ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องอาศัยไม้ สะดึง เช่นนี้อีกแล้ว แต่ก็ยังคงเรียกว่า ผ้ากฐิน อยู่อย่างเดิม

    2.เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่สงฆ์เพื่อทำจีวรตามแบบหรือกรอบไม้นั้นตามพระวินัยนิยมบรมพุทธานุญาตต้องมีขนาด กว้างและยาวเพียงพอสำหรับตัดเย็บทำเป็นผ้าสบง จีวร หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบัน มักนิยมนำผ้าไตร ที่ตัดเย็บและย้อมเป็นผ้าสบง จีวรและสังฆาฏิสำเร็จรูป แล้วไปถวายเป็นผ้ากฐินเพื่อมิให้พระสงฆ์ต้องลำบากในการ ที่จะต้องนำไปตัดเย็บและย้อมอีก

    3. เป็นชื่อของบุญกิริยา คือ การบำเพ็ญบุญในการถวายผ้ากฐินแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ครบไตรมาส เพื่อให้ท่านได้มีผ้านุ่งห่มใหม่ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่ขาดหรือชำรุดแล้วส่วนที่นิยมใช้คำว่า "ทอดกฐิน" แทนคำว่า "ถวายกฐิน" ก็เพราะเวลาที่ถวายนั้น ผู้ถวายจะกล่าว คำถวาย แล้วนำผ้ากฐินวางไว้เบื้องหน้าคณะสงฆ์ โดยมิได้ เจาะจงถวายจำเพาะรูปใดรูปหนึ่งซึ่งเป็นการทอดธุระหมดความกังวลหรือเสียดาย ไม่แสดงความเป็นเจ้าของในผ้า ผืนนั้นโดยยกให้เป็นธุระของพระสงฆ์สุดแต่ท่านจะพิจารณาผู้ที่เหมาะสม

    4. เป็นชื่อของสังฆกรรม คือ พิธีกรรมของสงฆ์ที่จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบในการมอบผ้า กฐินให้แก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไปครอง ซึ่งพระสงฆ์จะกระทำพิธีที่เรียกว่า "กรานกฐิน" หลังจากที่ได้รับผ้ากฐิน แล้วในวันเดียวกันนั้นการที่คณะสงฆ์พร้อมใจยกผ้ากฐินให้แก่พระภิกษุรูปใดก็เนื่องจากได้พิจารณาเห็นแล้วว่า ตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันนี้ พระภิกษุรูปนั้นมีคุณสมบัติอันสมควรจะได้รับผ้ากฐิน เช่น เป็นผู้บำเพ็ญสมณธรรมดีเยี่ยม เป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ หรือเป็นผู้มีจีวรเก่าคร่ำคร่าที่สุด เป็นต้น พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนี้เรียกว่า "ผู้กรานกฐิน" หรือ "ผู้ครองกฐิน"

    สำหรับพระภิกษุทั้งหลายที่อยู่ร่วมในพิธีได้อนุโมทนาต่อผู้กรานกฐินและเจ้าภาพผู้ทอดกฐินแล้วนั้น ก็ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้กรานกฐินและพลอยได้รับอานิสงส์กฐินด้วย การรับผ้ากฐินและกรานกฐินนี้นอกจาก จะเป็นการแสดงออกถึง การรู้สามัคคีในหมู่สงฆ์แล้ว ยังแสดงถึงความมีน้ำใจและยกย่องเชิดชูผู้กระทำความดีอีกด้วย

    ประเภทของกฐิน
    การทำบุญทอดกฐินในประเทศไทยเราได้แยกกฐินออกเป็น 2 ประเภท คือ กฐินหลวง และกฐินราษฎร์
    กฐินหลวง ได้แก่ กฐินที่ทำพิธีทอดถวายแด่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษา ณ พระอารามหลวงแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท คือ
    1) กฐินเสด็จพระราชดำเนิน เป็นกฐินหลวงที่พระแผ่นดินเสด็จไปพระราชทานถวายด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ไปทอดถวายแทน
    2) กฐินต้น เป็นกฐินส่วนพระองค์ที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระราชทานแก่วัดใด วัดหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ก็ได้
    3) กฐินพระราชทาน เป็นกฐินหลวงที่โปรดพระราชทานให้แก่หน่วยงานข้าราชการ คฤหบดี พ่อค้า และประชาชน ผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานผ้ากฐินนำไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวง แห่งใดแห่งหนึ่ง

    กฐินราษฎร์ ได้แก่ กฐินที่ราษฎรผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายจัดนำไปทอดถวาย ณ วัดราษฎร์ทั่วไป กฐินราษฎร์นี้นิยมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1) มหากฐิน เป็นกฐินที่นิยมจัดเครื่องบริวารกฐินต่างๆ มากมาย
    1) จุลกฐิน เป็นกฐินน้อยหรือกฐินรีบด่วนเพราะมีเวลาจัดเตรียมการน้อย นิยมทอดกันในวันเพ็ญ กลางเดือน 11 อันเป็นวัดสุดท้ายของระยะเวลาการทอดกฐิน


    อานิสงส์กฐิน
    กฐินทานนี้มีอานิสงส์มาก เพราะเป็นทานที่พิเศษยิ่งกว่าทานอื่นใด ด้วยเป็นทั้ง "กาลทาน" และ "สังฆทาน" นับเป็นทานชนิดเดียวที่ผู้ให้และผู้รับได้อานิสงส์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายผู้รับ (พระสงฆ์ ) และฝ่ายผู้ให้ (คฤหัสถ์)

    ฝ่ายผู้รับ (พระสงฆ์)ครั้นรับกฐินแล้วย่อมได้รับ อานิสงส์ตามพระวินัย 5 ประการ คือ
    o เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
    o ไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับ
    o ฉันโภชนะเป็นหมู่เป็นคณะได้ และฉันโภชนะที่รับถวายภายหลังได้ ไม่เป็นอาบัติ
    o เก็บอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา ตลอดกาล 4 เดือน
    o ขยายเขตจีวรกาลออกไปได้ถึงกลางเดือน 4


    ฝ่ายผู้ให้ (ทายกผู้ถวายกฐินทานและผู้มีส่วนร่วมในงานบุญนี้ด้วยการบริจาคทรัพย์ก็ดี ด้วยการบริจาควัตถุ สิ่งของก็ดี หรือด้วยการขวนขวายช่วยงานก็ดี ) ย่อมได้อานิสงส์อันไพบูลย์ทั้งในภพนี้และภพชาติต่อๆ ไป อาทิ
    - ทำให้เป็นผู้มีความมั่งคั่ง
    - มั่นคงในโภคทรัพย์สมบัติและหน้าที่การงาน
    - เป็นคนรูปงาม ผิวพรรณงาม เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป
    - เป็นผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส ตั้งมั่นในสมาธิและเข้าถึงธรรมได้ง่าย แม้ละโลก แล้วย่อมได้บังเกิดในสุคติโลกสวรรค์


    คำถวายกฐิน

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
    อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
    สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง ปะฏิคคันหาตุ
    ปะฏิคคเหตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ


    คำแปล

    ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับบริวารนี้ ครั้นรับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญฯ


    หมายเหตุ
    ในการทอดกฐินนี้ ยังมีกฐินและข้อพิเศษที่ควรนำมากล่าวไว้ด้วย คือ 1. จุลกฐิน 2.ธงจระเข้

    1. จุลกฐิน มีกฐินพิเศษอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่าจุลกฐินเป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันว่ามาแต่โบราณว่า มีอานิสงส์มากยิ่งนัก วิธีทำนั้น คือเก็บผ้ายมากรอเป็นด้วย และทอให้แล้วเสร็จเป็นผืนผ้าในวันเดียวกัน และนำไปทอดในวันนั้น กฐินชนิดนี้ ต้องทำแข่งกับเวลา มีผู้ทำหลายคน แบ่งกันเป็นหน้าที่ ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันแล้ว

    "วิธีทอดจุลกฐินนี้ มีปรากฏในหนังสือเรื่องคำให้การชาวกรุงเก่าว่า บางทีเป็นของหลวงทำในวันกลางเดือน 12 คือ ถ้าสืบรู้ว่าวัดไหนยังไม่ได้รับกฐิน ถึงวันกลางเดือน 12 อันเป็นที่สุดของพระบรมพุทธานุญาตซึ่งพระสงฆ์จะรับกฐินได้ในปีนั้น จึงทำผ้าจุลกฐินไปทอด มูลเหตุของจุลกฐินคงเกิดแต่จะทอดในวันที่สุดเช่นนี้ จึงต้องรีบร้อนขวนขวายทำให้ทัน เห็นจะเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ เพราะถ้าเป็นชั้นหลังก็จะเที่ยวหาซื้อผ้าไปทอดได้หาพักต้องทอใหม่ไม่" (จากวิธีทำบุญ ฉบับหอสมุด หน้า 119)

    2. ธงจระเข้ ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฎหลักฐาน และข้อวิจารณ์ อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี 2 มติ คือ

    1. ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอดกฐิน มีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลี่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงานทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัด คงหวังจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว

    2. อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้

    คัดจาก http://www.navy22.com
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ khomeraya
    รูปที่นำมาลงเนี่ย เพิ่งสำเร็จการศึกษาหรือครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    รูปปัจจุบัน ผมรับรองว่ามองแล้วมีเสน่ห์แน่นอน ดูดีกว่าเดิมเยอะ สำหรับปู่ฤาษีเม้าของพวกคณะเบิกบานบันเทิงบุญครับ

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left colSpan=2>ขอนำมาเก็บไว้ ผมไม่มีส่วนในเว็บของ อ.ระฆังแต่อย่างหนึ่งอย่างใด
    28 กันยายน 2550

    *******************************************

    มีคำถามจากหนังสือของอาจารย์ระฆัง เล่ม ๗
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.somdejto.com/somdejto/viewtopic.php?t=19&start=0&postdays=0&postorder=asc&highlight=

    <TABLE class=forumline cellSpacing=1 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR><TH class=thLeft noWrap width=150 height=26>ผู้ตั้ง</TH><TH class=thRight noWrap>ข้อความ</TH></TR><TR><TD class=row1 vAlign=top align=left width=150>MuZaChi



    เข้าร่วม: 26 Sep 2007
    ตอบ: 1


    </TD><TD class=row1 vAlign=top width="100%" height=28><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">[​IMG]ตอบเมื่อ: Wed Sep 26, 2007 12:11 pm เรื่อง: มีคำถามจากหนังสือของอาจารย์ระฆัง เล่ม ๗</TD><TD vAlign=top noWrap>[​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=2><HR></TD></TR><TR><TD colSpan=2>จากหนังสือ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ที่ข้าพเจ้ารู้จัก

    " รวยแล้วปฏิบัติ "

    อาจารย์ระฆัง อริยทันโตศรี เล่ม ๗

    จากหน้า ๖๓

    1. คาถาของสมเด็จโตที่ประทานให้นั้น ท่านให้ไว้ตั้งแต่เมื่อไร และใช้กับพระจตุคามทุกรุ่นได้หรือเปล่าครับ
    อยากทราบที่มาของคาถาบทนี้ กรุณาตอบให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

    จากหน้า ๑๗๐ - ๑๗๑

    2. อยากทราบว่า พระรุ่นนี้ เปิดกรุ เมื่อพ.ศ. ใด
    เพราะก่อนหน้าหนังสือเล่มนี้ออกมา มีคนพบเห็นพระรุ่นนี้บ้าง

    ขอบคุณครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE class=forumline cellSpacing=1 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=row2 vAlign=top align=left width=150>อาจารย์ระฆัง อริยทันโตศรี



    เข้าร่วม: 21 Sep 2007
    ตอบ: 11
    ที่อยู่: 29 หมู่ 1 ต.โคกตะบอง อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120

    </TD><TD class=row2 vAlign=top width="100%" height=28><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">[​IMG]ตอบเมื่อ: Thu Sep 27, 2007 9:59 pm เรื่อง: พระคาถาบูชาองค์จตุคามรามเทพ</TD><TD vAlign=top noWrap>[​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=2><HR></TD></TR><TR><TD colSpan=2>เรียน คุณMuZaChi

    พระคาถาบูชาองค์จตุคามรามเทพ สมเด็จพระพ่อเจ้าฯ ทรงประทานให้ เมื่อเร็วๆนี้ ก่อนที่จะปิดต้นฉบับเล่ม ๗ และใช้กับองค์จตุคามรามเทพ ได้ทุกรุ่น ขอให้ตั้งจิต ให้มั่น จะได้ผลจริง ทันตาเห็น

    ที่มาของพระคาถาบทนี้[color]
    ผมเป็นคนสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิทุกวัน เป็นเวลาติดต่อกันยาวนาน ถึง ๓๔ ปี และกินมังสวิรัติมาโดยตลอด และอธิษฐานไว้ตลอดชีวิตด้วย...เมื่อผมจะทำสิ่งใด จะกราบทูลขอพระบรมเทวราชานุญาต จากสมเด็จพระพ่อเจ้าฯ ทุกครั้ง ทุกเรื่อง รวมทั้งการเขียนหนังสือ การตอบปัญหา ในทางเว็บนี้ ตั้งชื่อ เว็บนี้ สมเด็จพระพ่อเจ้าฯ ก็ทรงอนุญาตให้จัดทำได้ ผมจึงได้จัดทำหนังสือขึ้นเป็นเล่มที่ ๗ แล้ว


    ในช่วงระยะเวลานี้ พระจตุคามรามเทพ โด่งดังมาก ฮือ ฮา กันทั่วประเทศ เกิดเป็นห่วง ว่าจะตกเป็นเครื่องมือของผู้สร้าง (ที่ทำแบบสุกเอาเผากิน) จึงขออนุญาตนำเรื่อง พระจตุคามรามเทพ มาลงไว้ในหนังสือเล่ม ๗ พร้อมทั้ง ขอพระราชประวัติสั้นๆ และพระคาถาบูชา ของพระจตุคามรามเทพ ด้วย พระองค์ทรงเมตตามากและพระราชทานให้...จึงได้นำมาเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทาง สำหรับผู้ที่เชื่อถือ และเคารพศรัทธา นำไปปฏิบัติ และสมเด็จพระพ่อเจ้าฯ ได้ฝากข้อคิดไว้ ความว่า...

    "...ต้องการให้ปวงชนระลึกถึงคุณงามความดีของพระสงฆ์ ให้คนที่ดียึดเหนี่ยว คำตรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงละทิ้งความสุข (ทางโลก) มาค้นหาความสุข (ทางธรรม) คนที่มุ่งมั่นในพระศาสนาก็ต้องมั่นใจในการเคารพบูชาไม่วอกแวกออกจากเส้นทางของพระธรรม ไม่ใช่การค้าพาณิชย์เท่านั้น ต้องการให้คนแขวนพระจตุคามรามเทพ มุ่งมั่นในการทำมาหากิน และควบคู่กับมุ่งมั่น กับการทำความดี จะช่วยให้เจริญรุ่งเรืองทุกด้าน ไม่ใช่เอาแต่ รำรวยเพียงอย่างเดียว ความร่ำรวยเป็นอัตตา ไม่จีรังยั่งยืน มีโอกาสพลาดพลั้ง[/b][color] ชีวิตนี้มันสั้น ไม่แบ่งเอาเวลาไปศึกษาธรรมะ เมื่อสิ้นชีวิตลง ก็จะไปไม่ไกล และจะวนเวียนพบทุกข์ อยู่อย่างนี้

    การกราบไหว้องค์เทพ ทำมาหากิน เราขยัน ก็จะร่ำรวย และภูมิใจในอาชีพ ยิ่งกว่านั้น จะเป็นแบบอย่างที่ดี ทุกคนเห็น จะได้ภูมิใจ..."

    พระหน้า ๑๗๐-๑๗๑ และพระพิมพ์อื่นๆ เกี่ยวกับพระจตุคามรามเทพ เท่าที่ผมจำได้ เปิดกรุ ตอนซ่อมวัดพระแก้วช่วงฉลอง รัตนโกสินทร์ศก ครบรอบ ๒๐๐ ปี โดยประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๕

    และนอกจากนี้ สมเด็จพระพ่อเจ้าฯ ยังนำไปบรรจุไว้ที่วัดพระธาตุพนม จ. สกลนคร ด้วย

    ขอให้สมาชิกที่ถามก็ดี ที่อ่านเว็บนี้ก็ดี อย่าติดอยู่กับวัตถุมากนัก และการสร้างก่อนหลังพร้อมทั้งสถานที่บรรจุ เปิดกรุเมื่อใด เป็นข้อกังวล หรือโต้แย้งกันเลยครับ เพราะหากเราศรัทธาเชื่อมั่น ในอานุภาพ ขององค์พระจตุคามรามเทพ จะได้ผลทั้งนั้น ถ้าไม่เป็นพุทธพาณิชย์...

    ขอบคุณครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2007
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ขอบคุณครับ

    ผมจะตามไปดูนะครับ


    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่านั้น บางท่านอาจจะมีอยู่ เพียงแต่ไม่ทราบว่าเป็นพระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่าก็ได้ พระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่าเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2412 ซึ่งเป็นปีที่ท่านเจ้า(กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) ท่านมีพระบัณฑูรย์ให้เจ้าคุณกรมท่า ออกเดินเรือไปค้าขายกับประเทศจีน สิ้นสุดพระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า ประมาณปี พ.ศ.2428 อันเป็นปีที่ท่านเจ้า(กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) ถึงทิวงคต หากพระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่าที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2415-พ.ศ.2415 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ท่านจะถูกนิมนต์ให้ไปเสกพระพิมพ์ให้ที่วัดบวรสถานสุทธาวาส วังหน้าและหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรท่านก็จะมาเสกให้ในบางครั้ง แต่หากพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นหลังจากปี พ.ศ.2415 แล้ว หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ท่านเป็นผู้เสก การเสกนั้นจะเสกในพระราชพิธีหลวงของวังหน้าครับ


    .
     
  17. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,085
    อ้าวคุณหนุ่ม ถ้างั้นผมก็ไม่ต้องไปทำศัลยากรรมแล้วซิ
    ขอบคุณๆๆๆ คืนนี้สงสัยจะหลับยากซะแล้ว อิอิ
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับพระวังหน้า แต่เป็นเกร็ดความรู้ครับ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>เกร็ดตำนานวันไหว้พระจันทร์</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>5 ตุลาคม 2549 18:17 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พูดถึงเทศกาลที่มีความสำคัญสำหรับคนจีนมากเป็นอันดับสองรองจากเทศกาลตรุษจีน คงหนีไม่พ้น เทศกาลแห่งความกลมเกลียวหรือที่รู้จักกันดีว่า “เทศกาลวันไหว้พระจันทร์” ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ของทุกปีตามปฏิทินจันทรคติ ซึ่งปีนี้ก็เวียนมาบรรจบอีกคราในวันพรุ่งนี้ (6) นี่เอง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ฉางเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เทศกาลไหว้พระจันทร์มีตำนานและเรื่องเล่าที่เกี่ยวพันไม่น้อย แต่ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายเห็นจะเป็นตำนาน “เทพธิดาฉางเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์” (嫦娥奔月)

    ตำนานดังกล่าวปรากฏครั้งแรกในยุคต้นของสมัยจั้นกว๋อ ( ยุคสงคราม 475 – 221 ก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นเรื่องราวของฉางเอ๋อ สาวงามผู้กินยาอายุวัฒนะของเจ้าแม่ซีหวังหมู่ แล้วกลายเป็นเทพธิดาอมตะแห่งดวงจันทร์ ตำนานเกี่ยวกับฉางเอ๋อผู้นี้ได้ถูกแต่งเติมรายละเอียดออกไปอีกในราชวงศ์ต่อมา

    เล่ากันว่า เมื่อครั้งโบราณกาล โลกเรามีดวงอาทิตย์อยู่ถึงสิบดวง นำมาซึ่งภัยพิบัติแก่โลกมนุษย์ ทุกหย่อมหญ้าร้อนระอุเป็นแผ่นดินเพลิง ส่วนที่เป็นน้ำก็เหือดแห้ง ส่วนที่เป็นภูเขาก็ถล่มแผ่นดินแยก ต้นไม้ใบหญ้าแห้งกรอบ ผู้คนไม่มีที่หลบซ่อนอาศัย

    ในครั้งนั้น ได้ปรากฏวีรบุรุษนามว่า “โฮ่วอี้” เป็นผู้ที่มีฝีมือในการยิงธนูได้แม่นยำอย่างอัศจรรย์ เขายิงธนูขึ้นสู่ฟ้าเพียงดอกเดียวก็ยิงถูกดวงอาทิตย์ถึงเก้าดวง ทำให้เหลืออยู่เพียงดวงเดียว ถือเป็นการขจัดทุกเข็ญให้กับบรรดาประชาราษฎร์ ผู้คนจึงพากันยกย่องให้เขาเป็นกษัตริย์

    ทว่า เมื่อโฮ่วอี้ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ก็ลุ่มหลงในสุราและนารี ฆ่าฟันผู้คนตามอำเภอใจ กลายเป็นทรราช ราษฎรล้วนแต่โกรธแค้นและชิงชังเขาเป็นที่สุด โฮ่วอี้รู้ตัวว่าคงจะอยู่เป็นสุขเช่นนี้ไปได้อีกไม่นาน จึงเดินทางไปที่ภูเขาคุนหลุน (คุนลุ้น) เพื่อขอยาอายุวัฒนะจากเจ้าแม่หวังหมู่มากิน แต่ฉางเอ๋อ ภรรยาของเขากลัวว่า ถ้าสามีของนางมีอายุยืนนาน ไม่มีวันตายเช่นนี้ อาจจะนำความเดือดร้อนมาสู่ราษฎรเป็นแน่ คิดได้ดังนี้ นางจึงตัดสินใจแอบขโมยยาอายุวัฒนะนั้นมากินเสียเอง เมื่อกินเข้าไปแล้ว ร่างของฉางเอ๋อก็เบาหวิว และลอยขึ้นไปสู่ดวงจันทร์ นับแต่นั้นมา บนดวงจันทร์ก็ปรากฏภาพเทพธิดา ที่เชื่อกันว่าเป็นฉางเอ๋อนี้เอง

    ส่วนที่มาของพิธีเซ่นไหว้พระจันทร์นั้น ตามบันทึกโบราณ โจวหลี่ ระบุว่า จีนเริ่มเซ่นไหว้พระจันทร์เมื่อสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งที่มาของพิธีในเทศกาลนี้มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับตำนานความฝันของกษัตริย์ถังหมิงหวง เสด็จประพาสพระราชวังบนดวงจันทร์ เรื่องเล่ามีอยู่ว่า ในกลางดึกของคืนเดือนเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 กษัตริย์ถังหมิงหวงบรรทมหลับไปแล้วทรงพระสุบินว่า พระองค์ลอยขึ้นไปเที่ยวชมพระราชวังบนดวงจันทร์ และได้พบเทพธิดาบนดวงจันทร์กำลังร่ายรำอยู่อย่างงดงาม ในฝันนั้น พระองค์ทรงเพลิดเพลินและเกษมสำราญเป็นอย่างยิ่ง กระทั่งเมื่อตื่นพระบรรทมและทรงโปรดให้ฝันนั้นเป็นความจริง จึงมีรับสั่งให้นางสนมแต่งตัวและร่ายรำเลียนแบบเทพธิดาในฝัน

    ตั้งแต่นั้นมาทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 พระองค์ก็รับสั่งให้จัดเครื่องเซ่นไหว้พระจันทร์ และทอดพระเนตรความงามของพระจันทร์ไปพร้อมกับการร่ายรำของนางสนม

    ประเพณีปฏิบัติเช่นนี้ ภายหลังได้แพร่หลายไปทั่วประเทศ และเป็นเทศกาลที่มีความสำคัญเทียบเท่ากับ เทศกาลตรุษจีน และเทศกาลไหว้ขนมจ้าง (ขนมบ๊ะจ่าง)

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    จากกระทู้ ประชาสัมพันธ์งานบุญ"งานบุญคุณแผ่นดิน"จัดขึ้นวันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2549 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชื่อบัญชี "บุญคุณแผ่นดิน" สาขาตลาดเจ้าพรหม บมจ.ธ.กรุงศรีอยุธยา สาขาอยุธยา บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 059-1-88984-9 http://www.boonkunpandin.com

    แผนที่สถานที่จัดงานครับ

    [​IMG]
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    จากกระทู้ ประชาสัมพันธ์งานบุญ"งานบุญคุณแผ่นดิน"จัดขึ้นวันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2549 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาชื่อบัญชี "บุญคุณแผ่นดิน" สาขาตลาดเจ้าพรหม บมจ.ธ.กรุงศรีอยุธยา สาขาอยุธยา บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 059-1-88984-9 http://www.boonkunpandin.com


    สถานที่การจัดงานครับ

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...