กฎการปฏิบัติกรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 28 กรกฎาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <CENTER>[​IMG]

    กฎการปฏิบัติกรรมฐาน</BIG>
    </CENTER>

    การปฏิบัติพระกรรมฐานในพระพุทธศาสนา มีกฎของการปฏิบัติเพื่อผลของการบรรลุเป็นระดับไป ดังจะยกมาโดยย่อดังนี้


    อธิศีลสิกขา
    อธิ แปลว่า ยิ่ง เกิน หรือล่วง ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกัน คำว่า ยิ่ง หมายถึง การปฏิบัติยิ่งกว่า หมายถึง การปฏิบัติเคร่งครัดกว่าปกติ หรือรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิตนั่นเอง เกิน ก็หมายถึงปฏิบัติกเกินกว่าที่ปฏิบัติกันตามปกติ ล่วง ก็หมายถึงการปฏิบัติล่วง คือ เกินที่กระทำกันตามปกติ การปฏิบัติตามนี้จัดเป็นอธิศีล การปฏิบัติเป็นอธิศีล ท่านได้แนะนำไว้ดังนี้ จะรักษาศีลไว้ด้วยดี มิให้ขาด มิให้ทำลาย แม้แต่ศีลจะมัวหมอง ก็มิยอมให้เป็น คือ ไม่แนะนำให้คนอื่นทำลายศีล และไม่ยินดีต่อเมื่อเห็นผู้อื่นทำลายศีล การปฏิบัติพระกรรมฐาน ก่อนที่จะหวังให้ฌาณสมาบัติอุบัติแก่จิตใจนั้น ต้องมีศีลบริสุทธิ์เสียก่อน เมื่อรักษาศีลได้แล้ว จนถึงขั้นไม่ต้องระวัง หมายความว่า ละเสียได้จนชินไม่มีการพลั้งเผลอแล้ว ขั้นต่อไปปฏิบัติดังนี้

    ระงับนิวรณ์ 5
    1. เห็นโทษของกามฉันทะ
    2. เห็นโทษของการจองล้างจองผลาญ
    3. คอยกำจัดความง่วงเหงาหาวนอน
    4. คอยควบคุมอารมณ์ไม่ให้ฟุ้งซ่าน
    5. ตัดความสงสัยในมรรคผลเสีย
    เจริญพรหมวิหาร 4
    1. แผ่เมตตา แผ่ไปทั่วทุกทิศโดยคิดไว้ด้วยความบริสุทธิ์ใจว่าเราจะเป็นมิตรแก่คนและสัตว์ทั่วโลก
    2. กรุณา จะสงสารหวังสงเคราะห์สัตว์และมนุษย์ทั้งปวง
    3. มุทิตา จะไม่อิจฉาริษยาคนและสัตว์ทั้งหลาย จะส่งเสริมและรู้สึกเมื่อผู้อื่นได้ดีมีโชค
    4. อุเบกขา วางเฉยเมื่อผู้อื่นพลาดพลั้ง ไม่ซ้ำเติม และตั้งใจหวังสงเคราะห์เมื่อมีโอกาส
    การรักษาศีลบริสุทธิ์ ด้วยการไม่ล่วงเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นล่วง และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นล่วง และตัดความพอใจในนิวรณ์ 5 โดยระงับนิวรณ์ได้ เมื่อขณะปฏิบัติ และทรงพรหมวิหาร 4 ได้อย่างครบถ้วนอย่างนี้ อารมณ์จิตเป็นฌาน และฌานจะไม่รู้จักเสื่อมเพราะพรหมวิหาร 4 อุ้มชู สมาธิตั้งมั่น วิปัสสนาผ่องใส เรียกว่า พรหมวิหาร 4 เป็นกำลังใหญ่ในการปฏิบัติสมณธรรมทุกระดับ
    การรักษาศีลบริสุทธิ์ เป็นอธิศีลสิกขา การกำจัดนิวรณ์ และทรงพรหมวิหาร เป็นอธิจิตตสิกขา คือทรงฌานสมาบัติไว้ได้ เรียกว่า มีความดีในระดับเปลือกของความดีในพระพุทธศาสนาเท่านั้น

    ความดีระดับกระพี้
    ท่านมีศีลบริสุทธิ์ กำจัดนิวรณ์ 5 ได้ ทรงพรหมวิหาร 4 แล้ว สร้างฌานพิเศษ มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติที่ล่วงมาแล้วได้โดยไม่จำกัดชาติ ทำได้อย่างนี้ท่านเรียกว่า มีความดีระดับกระพี้ของความดีในพระพุทธศาสนา

    ความดีระดับแก่น
    เมื่อท่านรักษาศีลบริสุทธิ์ กำจัดนิวรณ์ 5 ได้ ทรงพรหมวิหาร 4 ได้ปุพเพนิวาสสานุสสติญาณ และบรรลุทิพยจักษุญาณ สามารถรู้ว่าสัตว์ตายแล้วไปเกิดที่ไหน สัตว์ที่มาเกิดนี้มาจากไหน อาศัยกรรมอะไรเป็นเหตุ นี้พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นความดีที่ทรงความเป็นสาระแก่นสาร ความดีระดับนี้เป็นความดีระดับวิชชาสาม ผู้ใดทรงความดีตามที่กล่าวมาแล้วนั้นได้ครบถ้วนแล้ว ถ้าจะปฏิบัติเพื่อธรรมเบื้องสูงเพื่อพรหมจรรย์แล้ว อย่างช้าไม่เกิน 7 ปี อย่างกลางไม่เกิน 7 เดือน อย่างเร็วไม่เกิน 7 วัน ก็จะเข้าถึงอรหัตตผล เป็นพระอริยบุคคลระดับยอด ถ้าจะปฏิบัติเพื่อมรรคผลและพระนิพพาน มีการปฏิบัติดังต่อไปนี้

    บารมี 10
    บารมี แปลว่า ทำให้เต็มไม่บกพร่อง ไม่ละเลยเหินห่่างและบกพร่อง ประคับประคองไว้เป็นปกติ
    1. ทาน ทาน แปลว่า การให้ ต้องมีจิตใจจดจ่อเพื่อการให้ด้วยจิตใจที่หวังการสงเคราะห์อยู่เป็นปกติ การมีให้ด้วยการสงเคราะห์มีแก่เราเมื่อใด เมื่อความความสบายสุขใจ การให้นี้ต้องไม่พิจารณาบุคคลถึงสุขภาพและฐานะ ถือเอาเพียงว่าเขาต้องการความช่วยเหลือจากเรา ก็ช่วยตามต้องการ และไม่หวังการตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น
    2. ศีล ศีลแปลว่า ปกติ การรักษาอาการตามความพอใจของปกติชนที่มีความปรารถนาอยู่เป็นสุข เราก็ไม่ทำลายปกติความปรารถนาความพอใจของชาวโลก ฉะนั้น ศีลท่านจึงแปลว่า ปกติ คือรักษาอารมณ์ปกติของจิตใจของคนและสัตว์ไม่ต้องการให้ได้รับความเดือดร้อน ไม่ทำให้ศีลขาด ไม่แนะนำให้คนอื่นทำ และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นทำผิด รักษาได้ระดับนี้จึงจะเป็นศีลเพื่อมรรคผล
    3. สัจจะ สัจจะแปลว่า ความตั้งใจจริง เราจะไม่ยอมเลิกละความตั้งใจเดิม แม้แต่จะต้องตายก็ตาม
    4. วิริยะ วิริยะแปลว่า ความเพียร ถ้ามรรคผลนิพพานที่เราปรารถนานี้ยังไม่ปรากฎเพียงใด เราจะไม่ละความพยายามประพฤติปฏิบัติไป โดยไม่คำนึงถึงอุปสรรค
    5. เนกขัมมะ เนกขัมมะแปลว่า การถือบวช หมายถึงการอดในกามารมณ์ โดยตัดใจไม่ไยดีในอารมณ์ยั่วเย้าด้วยอำนาจกามฉันทะ คือความพอใจในกามารมณ์
    6. ปัญญา ปัญญาแปลว่า ความรู้ ที่เกิดขึ้นจากการพินิจพิจารณา แปลว่า ความเฉลียวฉลาดก็ได้ ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นโทษของ ความเกิด แก่ เจ็บ พลัดพราก ว่าเป็นทุกข์ จนเกิดนิพพิทา ความเบื่อหน่ายต่อการเกิดในชาติภพ จนกระทั่งได้สังขารุเปกขาญาณ คือไม่มีความหวั่นไหวในเมื่อความทุกข์ใด ๆ เกิดขึ้นแก่สังขาร
    7. ขันติ ขันติแปลว่า ความอดทนหรืออดกลั้น ไม่ยอมให้อารมณ์ฝ่ายชั่วเข้ามาล้างอารมณ์วิปัสสนาญาณได้
    8. เมตตา เมตตาแปลว่า ความรักที่ปราศจากความใคร่ด้วยอำนาจกิเลส หมายถึง รักด้วยความปรานี ไม่มีอารมณ์ในส่วนของกิเลสเจือปน
    9. อธิษฐาน อธิษฐานแปลว่า ความตั้งใจมั่น ทั้งนี้หมายถึงตั้งใจไว้ถูกต้อง
    10. อุเบกขา อุเบกขาแปลว่า ความวางเฉย มายถึงเฉยต่ออารมณ์ที่เป็นทุกข์และสุขอันเป็นวิสัยของโลกีย์
    บารมีทั้ง 10 อย่างนี้ นักวิปัสสนาญาณต้องมีครบถ้วน แล้วต้องปฏิบัติได้เป็นปกติ ตามความพอใจเป็นปกติ
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <TABLE cellSpacing=1 width="80%" align=center>(ต่อ) <TBODY><TR><TD>
    อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ 10
    อารมณ์กิเลสที่คอยกีดกันอารมณ์วิปัสสนา ก็คืออารมณ์สมถะที่มีอารมณ์ละเอียดคล้ายคลึงวิปััสสนาญาณ ท่านเรียกว่า อุปกิเลสของวิปัสสนา 10 อย่าง คือ
    1. โอภาส โอภาส แปลว่า แสงสว่าง ขณะพิจารณาวิปัสสนาญาณนั้น จิตย่อมทรงอยู่ในระดับอุปจารสมาธิ เป็นสมาธิเพื่อสร้างทิพยจักษุญาณ ย่อมเกิดแสงสว่างขึ้นคล้ายใครเอาประทีปมาตั้งไว้ นี้เป็นผลของสมถะ ที่เป็นกำลังสนับสนุนวิปัสสนาเท่านั้น
    2. ปีติิิ ปีติแปลว่า ความอิ่มใจ ความปลาบปลื้มเบิกบาน ขนพอง น้ำตาไหล กายโยกโคลง กายลอยขึ้น กายโปร่ง กายเบา บางคราวก็คล้ายมีกายสูงใหญ่กว่าธรรมดา มีอารมณ์ไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ อาการอย่างนี้ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา เป็นผลของสมถะ
    3. ปัสสัทธิ ปัสสัทธิแปลว่า ความสงบระงับด้วยอำนาจฌาน มีอารมณ์สงัดคล้ายจิตไม่มีอารมณ์อื่น อาการอย่างนี้เป็นอารมณ์ของอุเบกขาในจตุตถฌาน เป็นอาการของสมถะ
    4. อธิโมกข์ อธิโมกข์แปลว่า อารมณ์ที่น้อมใจเชื่อโดยปราศจากเหตุผล ด้วยพอได้ฟังว่าเราได้มรรคได้ผล ไม่ได้พิจารณาก็เชื่อแน่เสียแล้ว เป็นอาการของศรัทธาตามปกติ
    5. ปัคคหะ ปัคคหะแปลว่า มีความเพียรกล้า คนที่มีความเพียรบากบั่นไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคเป็นเหตุให้บรรลุมรรคผล แต่ถ้าเข้าใจผิดว่าตนได้บรรลุเสียตอนที่มีความเพียรก็น่าเสียดายยิ่ง ความพากเพียรด้วยความมุมานะนี้เป็นการหลงผิดได้
    6. สุข สุขแปลว่า ความสบายกายสบายใจ เป็นอารมณ์ของสมถะที่เข้าถึงอุปจารฌานระดับสูง เป็นความสุขที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน เป็นอารมณ์ของสมถะภาวนา อย่าเข้าใจผิดว่าได้มรรคผล
    7. ญาณ ญาณแปลว่า ความรู้ อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่จิตมีสมาธิจากผลของสมถภาวนา เป็นผลของสมถะแท้ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา ถ้าพอใจเพียงนั้นก็ยังต้องเป็นโลกียชน
    8. อุเบกขา อุเบกขาแปลว่า ความวางเฉย เป็นอารมณ์ในสมถะ คือ ฌาน 4
    9. อุปปัฎฐาน อุปปัฏฐาน แปลว่า เข้าไปตั้งมั่น หมายถึงอารมณ์ที่เป็นสมาธิ มีอารมณ์สงัดเยือกเย็น ดังท่านที่เข้าฌาน 4 มีอารมณ์สงัด แม้แต่เสียงก็กำจัดตัดขาด อารมณ์ใด ๆ ก็ไม่มี เป็นฌาน 4 ในสมถะแท้ ๆ
    10. นิกกันติ นิกกันติแปลว่า ความใคร่ เป็นความใคร่น้อย ๆ ถ้าไม่กำหนดรู้อาจไม่มีความรู้สึก เพราะเป็นอารมณ์ของตัณหาสงบ ไม่ใช่ขาดไป เป็นเพียงสงบชั่วคราวด้วยอำนาจฌาน มีปฐมฌานเป็นต้น
    วิปัสสนาญาณที่พิจารณาต้องมีสังโยชน์เป็นเครื่องวัด และพิจารณาไปตามแนวของสังโยชน์เพื่อการละ ละเป็นขั้นเป็นระดับไป อย่าให้หลงใหลในอารมณ์อุปกิเลส 10 ประการ สังโยชน์ 10
    สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฎฎะ มี 10 อย่าง
    1. สักกายทิฏฐิ เห็นว่า ร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา (คำว่าร่างกายนี้หมายถึง ขันธ์ 5)
    2. วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย
    3. สีลัพพตปรามาส รักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง
    4. กามฉันทะ มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์
    5. พยาบาท มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
    6. รูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน
    7. อรูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน คิดว่าเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฏฏะ
    8. มานะ มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี
    9. อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล
    10. อวิชชา มีความคิดเห็นว่า โลกามิสเป็นสมบัติที่ทรงสภาพ
    กิเลสทั้ง 10 นี้ เรียกว่า สังโยชน์ นักเจริญวิปัสนาญาณต้องรู้ไว้ และพยายามกำจัดกิเลสทั้ง 10 นี้ให้เด็ดขาดเป็นขั้น ๆ ตามกำลังของสมาธิ และวิปัสสนาญาณ ผู้ใดกำจัดได้ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 3 ท่านว่าผู้นั้นได้บรรลุพระโสดา และพระสกิทาคา ถ้าตัดได้ตั้งแต่ ข้อ 1 ถึง ข้อ 5 ท่านว่าผู้นั้นได้บรรลุพระอนาคามี ถ้าตัดขาดได้เด็ดขาดทั้ง 10 ข้อ ท่านผู้นั้นได้บรรลุพระอรหัตตผล เมื่อได้เจริญวิปัสสนาญาณ ศึกษาบารมี 10 และมีจิตใจทรงบารมี 10 ได้อย่างปกติ ศึกษาอุปกิเลส 10 ประการให้เข้าใจ ต่อไปก็เริ่มเจริญวิปัสสนาญาณ โดยในระยะแรก ท่านให้ชำระศีลให้บริสุทธิ์ แล้วเข้าสมาธิดำรงฌาน ถ้าเข้าถึงฌาน 4 ได้ก็เข้าฌาน 4 ถ้าไม่ถึงฌาน 4 ก็เข้าสมาธิตามกำลัง จนอารมณ์สงบดีแล้ว ก็ถอยสมาธิมาหยุดอยู่ที่ อุปจารสมาธิ แล้วพิจารณาขันธ์ 5 ด้วยวิปัสสนาญาณ ตามลำดับที่ 1 ก่อน จนมีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ จากนั้นค่อย ๆ เลื่อนอารมณ์มาพิจารณาในญาณที่ 2, 3, 4 , 5, 6, 7, 8 และถอยหลังเป็นอนุโลมปฏิโลม ที่เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ ขณะที่พิจารณานั้น ถ้าอารมณ์จะฟุ้งซ่าน ท่านให้หยุดพิจารณาเสียก่อน เข้าฌานตามกำลังสมาธิใหม่ พอให้จิตตั้งอยู่ในสมาธิเป็นอุเบกขารมณ์แล้ว จึงคลายมาที่อุปจารณฌาน จากนั้นพิจารณาวิปัสสนาญาณใหม่ ถ้าพิจารณาข้อใดจิตใจยังปลงข้อนั้นไม่ตกจนเป็นเอกัคคตารมณ์ คือเกิดความเห็นเป็นเช่นนั้นจริง จนเกิดความเบื่อหน่ายในขันธ์ 5 แล้ว ก็อย่าย้ายไปพิจารณาข้อต่อไป ถ้าได้ข้อเดียวข้อต่อไปก็ไม่มีอะไรเสียเวลา พอพิจารณาก็จะรู้แจ้งเห็นจริงทันที ก็จะเข้าถึงโคตรภูญาณ แล้้วได้มรรคผลตามที่ตนตั้งใจปรารถนาไว้
    การพิจารณาวิปัสสนาควรมุ่งตัดกิเลสเป็นตอน ๆ ไป ถ้าคิดว่าจะละให้เด็ดขาดก็ยังละไม่ได้ ก็ไม่ย้ายข้อที่ตั้งใจละต่อไปข้ออื่น ทำซ้ำ ๆ ซาก ๆ อยู่ในข้อนั้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    www.larnbuddhism.com/
     

แชร์หน้านี้

Loading...