สันโดษ-เคล็ดลับของความสุข

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 27 ตุลาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>สันโดษ-เคล็ดลับของความสุข

    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย เกษม ศิริสัมพันธ์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>13 มิถุนายน 2548 20:41 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>เมื่อไม่นานมานี้ ได้รับหนังสือสองเล่ม เล่มหนึ่งชื่อ สันโดษ-เคล็ดลับของความสุข กับอีกเล่มหนึ่งคือเรื่อง สติ เป็นธรรมเอก

    ที่น่าทึ่งผู้เขียนหนังสือธรรมเป็นภาษาไทยผู้นี้ เป็นพระภิกษุชาวญี่ปุ่น ชื่อ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

    อ่านตามประวัติของท่านในปกหลังของหนังสือเล่มหนึ่ง ปรากฏว่าท่านเป็นชาวญี่ปุ่น เป็นสัทธิวิหาริกรุ่นแรกของหลวงพ่อชา หรือพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) ท่านอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2518

    พระมิตซูโอะ คเวสโกได้บำเพ็ญเพียรมาหลายรูปแบบ ได้ธุดงค์มาแล้วหลายแห่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งที่อุดมสมบูรณ์และที่ทุรกันดาร

    ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาส วัดสุนันทวนาราม บ้านท่าเตียน ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี วัดนี้เป็นวัดสาขาที่ 117 ของวัดหนองป่าพง อุบลราชธานี

    ในหนังสือที่ชื่อ สติ เป็นธรรมเอก มีภาพบริเวณวัดสุนันทวนาราม เป็นภาพพระอุโบสถ ภาพอาคารศูนย์เยาวชน และภาพภายในศาลาปฏิบัติธรรม

    เห็นจากภาพก็รู้ได้เลยว่า เป็นสถาปัตยกรรมที่มีอิทธิพลของวัฒนธรรมญี่ปุ่นซึ่งมีความเรียบง่าย เป็นลักษณะสำคัญ นอกจากนี้ที่เห็นจากภาพบริเวณวัดก็ดูร่มเย็น

    ได้คิดอยู่ในใจว่าจะหาโอกาสไปกราบมนัสการพระภิกษุญี่ปุ่นรูปนี้ และจะได้มีโอกาสชมบริเวณวัดของท่านด้วย

    หนังสือ 2 เล่มของ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ได้เลือกเอาเล่มเล็ก ที่ชื่อว่า
    สันโดษ-เคล็ดลับของความสุขมากล่าวในที่นี้

    ในหนังสือเล่มนี้ ท่านผู้เขียนได้ฝากข้อคิดต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องสันโดษไว้หลายประการ

    ขึ้นต้นท่าน ก็บอกง่ายๆ ว่า “ความสันโดษ อันเป็นบ่อเกิดของความพอใจสุขใจ มันก็ผุดขึ้นมาเอง โดยอัตโนมัติ ที่นี่ เดี๋ยวนี้”

    คิดดูแล้วก็เป็นความจริงอย่างที่ท่านกล่าว คนเรามีสันโดษเสียอย่าง ความพอใจและความสุขใจมันก็เกิดตามขึ้นมาเอง!

    ท่านอธิบายต่อไปว่า “สันโดษ มาจากภาษาบาลีว่า สันโตสะ สัน แปลว่า ตน โตสะ แปลว่า ยินดี สันโดษจึงแปลว่า ยินดี พอใจ อิ่มใจ สุขใจ กับของของตน”

    ท่านกล่าวด้วยว่า สันโดษคือการให้รู้จักพอ ให้รู้จักประมาณตน ลักษณะของสันโดษ มี 3 ประการ คือยินดีตามมี ยินดีตามได้ และยินดีตามควร ซึ่งได้แก่ควรแก่ฐานะ ควรแก่ความสามารถ และควรแก่ศีลธรรม

    เมื่อพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก พูดถึงสันโดษ คือความรู้จักพอ ทำให้อดคิดถึงคุณอากร ฮุนตระกูลไม่ได้ คุณอากรได้ล่วงลับไปหลายปีแล้ว

    คุณอากรเคยเป็นเจ้าของและผู้ประกอบการโรงแรมใหญ่ๆ กลางกรุงเทพฯ หลายแห่ง อย่างเช่น โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค โรงแรมธารา และโรงแรมอื่นๆ กลางเมืองอีกหลายแห่ง

    วันดีคืนดีคุณอากรลุกขึ้นประกาศขายโรงแรมเหล่านั้นทั้งหมด เว้นแต่โรงแรมที่เกาะสมุยและโรงแรมเล็กๆ อีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ

    ครั้งนั้นคุณอากรประกาศว่า “พอแล้ว!” และได้เปิดเผยด้วยว่าแพทย์ได้ตรวจพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งลำไส้ คุณอากรขยายความด้วยว่า คนเราต้องรู้จักพอ! รู้จักหยุดเสียบ้าง! ไม่ใช่ทุ่มเทกับการทำมาหากิน หาเงินหาทองตลอดไป ไม่มีวันหยุด!

    ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมคุณอากรครั้งหนึ่งที่สมุย ทั้งที่ร่างกายต้องต่อสู้กันโรคร้ายซึ่งรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ แต่คุณอากร ก็สามารถดำรงชีวิตอย่างเต็มไปด้วยความสุข กินข้าวกินปลาได้อย่างร่าเริง หลังอาหารเย็นแล้วยังร่วมร้องเพลง และพูดเล่นหยอกเอินกับแขกชาวต่างประเทศที่มาพักที่โรงแรม เป็นประจำ

    นี่เป็นตัวอย่างของความสุขที่เกิดจากความรู้จักพอ หรือความสันโดษ!

    ต่อมาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตก บรรดาผู้ประกอบการธุรกิจต่างต้องเผชิญกับมหัตภัยทางเศรษฐกิจครั้งนั้นกันเกือบถ้วนหน้า แต่คุณอากรรอดตัวไปได้! ไม่เดือดเนื้อร้อนใจเหมือนคนอื่นเขา!

    ผมมีโอกาสพูดโทรศัพท์กับคุณอากรครั้งหนึ่ง ผมบอกว่า ตัวแกเองรอดพ้นจากความพินาศทางเศรษฐกิจครั้งนี้ เพราะความ “รู้จักพอ” แท้ๆ ทีเดียว!

    คุณอากรหัวเราะพูดตอบมาทางโทรศัพท์ว่า “เออ! จริงๆ ด้วย! ผมรอดตัวมาได้ก็เพราะผมรู้จักพอนั่นเอง!”

    ครั้งนั้นเป็นครั้งสุดท้ายที่ได้พูดคุยกับคุณอากร เพราะหลังจากนั้นไม่นานแกก็เสียชีวิต!

    นี่เป็นตัวอย่างของชีวิตที่ประกอบด้วยความสันโดษ!

    กลับไปยังหนังสือเรื่อง สันโดษ-เคล็ดลับของความสุข ของพระอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก

    อันที่จริงในบ้านเรา เคยมีความเข้าใจผิด คิดว่า ความสันโดษเป็นศัตรูที่ขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง ไปคิดกันเสียว่าสันโดษเป็นหลักธรรมที่สอนให้เป็นคนที่ขาดความรู้สึกกระตือรือร้น ทำให้คนเฉื่อยชา

    สมัยหนึ่งในยุคพัฒนาของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงกับมีการห้ามมิให้พระเทศนาสั่งสอนเรื่องสันโดษ เพราะยุคนั้นเชื่อว่า “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” ครั้งนั้นเชื่อกันว่า การสอนหลักธรรมเรื่องสันโดษ จะทำให้คนไทยเป็นคนเฉื่อยชา ไม่มีแรงผลักดันในการพัฒนาประเทศ!

    ในเรื่องนี้พระอาจารย์มิตซูโอะ ได้ชี้ให้เห็นว่า “คำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่องสันโดษ ไม่ได้สอนให้คนเกียจคร้านท้อถอย ไม่ขยันหมั่นเพียรในการทำหน้าที่การงาน ซึ่งเป็นอุปสรรคขวางกั้นความเจริญอย่างที่มีการเข้าใจผิดกัน”

    ตรงกันข้ามพระพุทธศาสนามีหลักคำสอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเทเอาจริงเอาจังกับกิจการต่างๆ ของชีวิตทุกด้าน คือหลักอิทธิบาท 4

    หลักอิทธิบาท 4 มีองค์ประกอบ 4 ประการ ประการแรกเรียกว่า ฉันทะ คือมีความพอใจในสิ่งที่ทำ ประการที่สอง คือ วิริยะ คือความเพียรพยายามตั้งใจทำ ประการที่สาม คือ จิตตะ คือความเอาใจใส่กับสิ่งที่ทำอยู่ และประการสุดท้าย คือ วิมังสา คือการใช้ปัญญาใคร่ครวญหาช่องทางพัฒนาให้สิ่งที่ทำดียิ่งขึ้น

    พระอาจารย์มิตซูโอะ ถึงแม้จะเป็นชาวต่างประเทศ แต่ได้สรุปหลักธรรมเป็นภาษาไทย ได้อย่างสละสลวยและสอดคล้องเป็นอย่างยิ่ง ท่านบอกว่า “อิทธิบาท 4 เป็นการสร้างเหตุที่ดีของการกระทำ เพื่อให้ประสบความสำเร็จ สันโดษ เป็นความยินดีพอใจในผลที่ได้รับ”

    ท่านยังบอกด้วยว่า “เมื่อเราตั้งใจทำดีด้วยใจที่สงบ เราได้ทำเหตุที่ดีแล้ว ก็ต้องยอมรับผลด้วยใจที่สงบเหมือนกัน จึงจะเรียกว่าทำงานด้วยความปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น”

    ขอให้ระลึกว่า ผู้เขียนได้อธิบายหลักธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างกระจ่างชัดถึงเพียงนี้ เป็นพระภิกษุชาวญี่ปุ่น ซึ่งใช้ชีวิตของท่านในช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมา เป็นพระป่าอยู่ที่อุบลราชธานีและต่อมาก็ที่กาญจนบุรี

    นอกจากนี้พระอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก ยังเป็นผู้ที่นำเอาหลักธรรมสองประการ คือหลักอิทธิบาท 4 มาประกบกับหลักธรรมเรื่องสันโดษ ทำให้เราได้เห็นแนวทางการดำรงชีวิตที่สมบูรณ์ของพุทธศาสนิกชนนั้นควรเป็นอย่างไร

    เมื่อพิจารณาคำอธิบายหลักเรื่องสันโดษ กับหลักอิทธิบาท 4 ของท่านอาจารย์มิตซูโอะแล้ว ทำให้รำลึกถึงแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

    จะเห็นได้ว่าแนวพระราชดำริเรื่องนี้ ต้องมีพื้นฐานของหลักธรรมสันโดษ เพราะคนเราต้องรู้จักความ “พอ” เสียก่อน จึงจะเกิดความ “พอเพียง” ขึ้นได้

    นอกจากนี้ยังต้องมีหลักอิทธิบาท 4 อีกด้วย เพื่อให้ในระบบเศรษฐกิจดังกล่าว สามารถมีพลังขับเคลื่อนได้ด้วยความพอประมาณของผู้คนในระบบ เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง

    ฉะนั้น หลักธรรมเรื่อง สันโดษ และหลักธรรมเรื่อง อิทธิบาท 4 จะทำให้เราเกิดความเข้าใจซาบซึ้งในแนวพระราชดำริ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

    ในอีกตอนหนึ่งของหนังสือเล่มเล็กเล่มนี้ พระอาจารย์มิตซูโอะ ได้ชี้ให้เห็นถึงศัตรูของความสันโดษ มีอยู่ 4 ประการ

    ประการแรก คนเรามักไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักประมาณ ในอำนาจยศและตำแหน่ง ได้เท่าใดก็ไม่รู้จักพอ อย่างให้ได้เพิ่มในอำนาจในยศในตำแหน่งอีกไม่รู้จบ

    อย่างเช่นเป็นผู้นำประเทศด้วยรัฐบาลเสียงข้างมากมา 4 ปีแล้ว ก็ยังยากเป็นต่ออีก 4 ปี แถมเป็นรัฐบาลพรรคเดียวเสียด้วย ได้ 8 ปีแล้วก็คงไม่พอ อยากเป็นผู้นำประเทศยาวนานถึง 20 ปีทีเดียว อย่างนี้เรียกว่าไม่มีความสันโดษในการแสวงหาอำนาจยศศักดิ์และตำแหน่ง

    ประการที่สอง คนเราไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักประมาณในเรื่องทรัพย์สมบัติ ยิ่งมีมากเท่าใด ยิ่งต้องการให้ความมั่งคั่งได้เพิ่มพูนขึ้นมาอีกอย่างไม่รู้จบ!

    คนเป็นมหาเศรษฐีแล้ว แต่ก็ยังตั้งหน้าตั้งตากอบโกยความร่ำรวยมั่งคั่งไม่รู้จบรู้สิ้น! เรียกว่าไม่รู้จักพอ ตั้งหน้าตั้งตากอบโกยความมั่งคั่งอย่างไม่หยุดยั้ง

    ประการที่สาม คนเรามักไม่มีความพอประมาณ ไม่รู้จักพอ ในการเสพกามคุณ มักแสวงหาความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสทางกาย ไม่รู้จบไม่รู้สิ้น

    ประการที่สี่ คนเรามักไม่รู้พอ ไม่รู้จักการพอประมาณในการบริโภคอาหาร

    อันที่จริงเรื่องความสันโดษในการบริโภค สามารถเป็นการลดความอ้วนได้ดีที่สุด ซึ่งจะทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอีกด้วย

    ยุคปัจจุบันเป็นยุคของลัทธิบริโภคนิยม เป็นยุคที่มีการกระตุ้นให้มีการกำเริบในการบริโภคด้วยวิธีการการตลาด

    หลักธรรมเรื่องความสันโดษ เป็นพลังที่ต่อต้านลัทธิบริโภคนิยม แต่จะต่อต้านได้เพียงไหน ก็ต้องดูกันต่อไป!

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    Ref.
    http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000078934
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2006
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    อิทธิบาท ๔ คู่กับสันโดษ (ต่อจาก สันโดษ...เคล็ดลับแห่งความสุข)

    โดยพระอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก

    คนจำนวนมาก เข้าใจความหมายของสันโดษผิดไป คิดว่าสันโดษคือการพอใจอยู่คนเดียว หรือการไม่ทำอะไร หากนำหลักของสันโดษไปใช้แล้ว จะทำให้ประเทศชาติไม่เจริญ ประชาชนจะไม่รู้จักพัฒนาตน เพราะพอใจในสภาพตามมีตามเกิดตามธรรมชาติ เป็นอยู่อย่างไรก็พอใจแค่นั้น มีน้อยแค่ไหน ก็ไม่ต้องขวนขวายไปหามาเพิ่มเติม

    ความจริงแล้ว การพอใจอยู่คนเดียว ภาษาบาลี เรียกว่า ปวิวิตตะ ไม่เรียกสันโดษ ส่วนการไม่ทำอะไรนั้น ภาษาบาลีเรียกว่า โกสัชชะ คือ ความเกียจคร้าน

    คำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่องสันโดษ ไม่ได้สอนให้คนเกียจคร้านท้อถอย ไม่ขยันหมั่นเพียรในการทำหน้าที่การงาน ซึ่งเป็นอุปสรรคขวางกั้นความเจริญ อย่างที่มีการเข้าใจผิดกัน

    พระพุทธเจ้าสอนเรื่องสันโดษ เพื่อให้เรารู้จักพอใจ กับสิ่งที่ตนมีอยู่ สิ่งที่ตนได้มา และสิ่งที่สมควรแก่ฐานะของตน

    เมื่อเรามีความสันโดษ เป็นคุณธรรมประจำใจแล้ว ก็จะขจัดเสียซึ่งความโลภ ไม่มีการเบียดเบียน แก่งแย่งชิงดี อิจฉาริษยา ทุจริตฉ้อโกง มุ่งร้ายทำลายกัน

    พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตว่าด้วย หลักอิทธิบาท ๔ ซึ่งหมายถึง ทางแห่งความสำเร็จในกิจอันเป็นกุศล

    ไม่ว่าจะเป็นทางโลก หรือทางธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างจะสำเร็จตามที่ตั้งใจ ถ้าเราปฏิบัติตามหลักอิทธิบาท ๔ มีองค์ประกอบ ๔ ประการคือ ฉันทะ มีความพอใจในสิ่งที่ทำ โดยเราควรตั้งเป้าหมายไว้ ตามความเหมาะสมกับฐานะ และกำลังความสามารถของเรา วิริยะ ความเพียรพยายามและตั้งใจทำสิ่งนั้น จิตตะ ความเอาใจใส่ จิตใจจดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่ วิมังสา ปัญญาที่พิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผลเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

    เมื่อเราอยากมี อยากได้ อยากเป็นอะไรก็ตาม ก่อนอื่นให้เข้าใจตัวเอง รู้จักฐานะ ความรู้ ความสามารถของตน แล้วตั้งเป้าหมายไว้ ลงมือทำตามเป้าหมายนั้นด้วยความพอใจ เพียรพยายามเต็มกำลังความสามารถ เอาใจใส่เพื่อให้สำเร็จตามที่ตั้งใจ เมื่อได้ผลออกมาอย่างไร ก็ให้ยินดีพอใจตามที่ได้ ตามที่เป็น ถึงแม้ว่าไม่บรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ก็ตาม ก็ให้สันโดษ

    ความพ่ายแพ้ ไม่ได้ทำให้ท้อถอย แต่ให้มีความหวังในอนาคต ตั้งใจทำความดีในปัจจุบันด้วยสุขภาพใจดี ตั้งใจทำความดีด้วยหลักอิทธิบาท ยอมรับผลด้วยความสันโดษ

    สิ่งที่คนเรามักจะไม่สันโดษ สิ่งที่คนเรามักจะแสวงหา อย่างไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักประมาณ ได้แก่ อำนาจ ยศ ตำแหน่ง ทรัพย์สมบัติ กามคุณ ๕ อาหาร

    อำนาจ ยศ ตำแหน่ง ... หลวงพ่อชาท่านเทศน์ให้พระเณรฟังว่า ผ้าขาว (คนที่เตรียมบวช) เณร พระบวชใหม่ อาจจะคิดว่าเป็นหลวงพ่อนี้สบาย นั่งหัวแถวลำดับแรก นั่งพิงหมอนสามเหลี่ยม ใคร ๆ ก็กราบไหว้ ตักอาหารเป็นองค์แรก เลือกอาหารได้ตามใจชอบ จริง ๆ แล้วพระที่บวชนาน ๆ พรรษามาก ความรับผิดชอบก็มากมาย ไม่สบายหรอก ใครได้เป็นแล้วก็อยากจะอยู่อย่างพระบวชใหม่ ๆ ยิ่งเป็นเจ้าอาวาส บางทีเปรียบเหมือนเป็นถังขยะ รับปัญหาสารพัด ปัญหาก่อสร้าง ดูแลความเรียบร้อยศาลา เสนาสนะ ปัญหาคนงาน ปัญหาของพระเณร เรื่องยุ่ง ๆ ต่าง ๆ นา ๆ มันก็ท่วมหัวเจ้าอาวาสกันทั้งนั้น

    หลวงพ่อชาท่านเคยพูดกับลูกศิษย์ซึ่งเป็นพระฝรั่งองค์แรกที่ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส เพื่อเตือนสติให้เตรียมใจไว้รับสถานการณ์ เพราะถ้าหากไม่มีกำลังใจ ก็คงเครียด กลุ้มใจ ทนเหม็นไม่ไหวเหมือนกัน

    "ทุกข์ของผู้น้อยมี ทุกข์ของผู้ใหญ่มันก็มี เราจึงควรรู้จักฐานะ หน้าที่ของตัวเอง แล้วก็มีความสุข ความพอใจในปัจจุบัน ที่นี่ เดี๋ยวนี้จะดีกว่า เมื่อเราได้เป็นผู้ใหญ่ ก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่ดี พอใจ สุขใจได้"

    ทรัพย์สมบัติ ... ความรู้สึกว่าเรายังมีทรัพย์สมบัติไม่พอ มักเกิดจากการเปรียบเทียบกับคนอื่น เมื่อเราเปรียบเทียบแล้วอาจจะเกิดโลภ อยากจะมีเหมือนเขา เลยกลายเป็นยากจนเพราะว่ามีไม่พอ ไม่ใช่ว่าเพราะไม่มี

    ถึงรวยแค่ไหน เป็นมหาเศรษฐี ถ้าไม่รู้จักพอ ก็กระวนกระวายใจเป็นทุกข์อยู่นั่นแหละ จนอาจรู้สึกมีปมด้อย อิจฉาเพื่อนในวงสังคมของมหาเศรษฐีด้วยกัน เพราะรู้สึกว่าเขามีมากกว่า

    บางคนไม่ว่ารวยมากขนาดไหนก็ยังขี้เหนียว เป็นใจเปรต คอยแต่จะโลภอยากได้อย่างเดียว บางครั้งความทุกข์ก็เกิดจากการมีมาก ดังเช่นตัวอย่างในข่าวหนังสือพิมพ์ เรื่องชาวบ้านคนหนึ่งถูกสลากกินแบ่งของรัฐบาล ได้เงินรางวัลหลายล้านบาท แทนที่จะมีความสุข กลับทะเลาะกันในหมู่ญาติพี่น้อง จนเกิดเรื่องวุ่นวาย เจ้าตัวถึงกับฆ่าตัวตายเลยก็มี

    แต่ถ้าเรารู้จักสันโดษ พอใจในสิ่งที่มี ไม่ว่าจะมีมาก มีน้อย เราก็มีความสุขได้เสมอตามอัตภาพของเรา

    กามคุณ ๕ ... หมายถึง สิ่งที่น่าปรารถนา น่าพอใจ มี ๕ อย่างคือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสทางกาย

    ความติดใจในกามคุณเป็นเหตุให้จิตฟุ้งซ่าน ทำให้คนเราต้องดิ้นรนแสวงหาเงินทอง เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขจากกามคุณ

    ความไม่รู้จักพอ ในกามคุณมักก่อให้เกิดปัญหาในชีวิตครอบครัวและสังคม เช่น เมื่อไม่สันโดษในทรัพย์สินที่ตนมี ก็ทำให้เกิดความโลภไปลักขโมยเขา

    เมื่อไม่สันโดษในความเป็นคู่ครองกันแล้ว ก็นอกใจกัน แย่งแฟนกัน ความพอใจในกามคุณสำหรับมนุษย์เรา จึงต้องอยู่ในกรอบของศีลธรรม ไม่เบียดเบียนตนเอง และไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เช่นนั้นกามคุณก็จะกลายเป็นโทษ

    อาหาร ... คนเราเมื่อมีอาหารรับประทานอยู่แล้ว ส่วนมากก็มักจะยังไม่พอใจ
    ยังอยากจะไปรับประทานอาหารแพง ๆ ตามภัตตาคารหรู ๆ หรือบางครั้งแม้ว่าจะสั่งอาหารแพง ๆ ตามภัตตาคารมากินแล้ว ก็ยังรู้สึกไม่อร่อย ไม่พอใจอีก

    คนมาอยู่ในวัดในป่า รับประทานอาหารวันละมื้อเดียวหรือบางทีเป็นคนงาน ทำงานหนัก ๆ เมื่อหิวแล้วรับประทานอะไรมันก็อร่อยทั้งนั้น เป็นความสุขแบบเรียบง่าย

    อาจารย์เดินทางออกจาญี่ปุ่นมาอยู่ต่างประเทศตั้งแต่อายุ ๒๐ ปี
    กลับไปเยี่ยมบ้านครั้งแรก หลักจากที่จากมาประมาณ ๑๕ ปี ประเทศญี่ปุ่นเปลี่ยนไปมาก สถานีรถไฟใหญ่ที่สุดในกรุงโตเกียวสมัยก่อนที่เป็นอาคารชั้นเดียว เปลี่ยนเป็นชานชาลาที่ขุดลงไปใต้ดิน ๓ ชั้นบนตึกสูง เมื่อก่อนเคยเดินทางด้วยรถไฟใช้เวลา ๙ ชั่วโมง เดี๋ยวนี้เหลือ ๓ ชั่วโมง ถึงที่หมาย

    อาหารการกินสมบูรณ์ อาหารบางอย่างที่เคยเป็นเมนูพิเศษ เดี๋ยวนี้ก็กลายเป็นอาหารธรรมดา แต่พี่สาวอาจารย์บอกว่ายังคิดถึงสมัยเด็ก ๆ อยู่เสมอ ในฤดูร้อน เอาแตงกวามาแช่ในน้ำพุธรรมชาติที่เย็นจัด ซึ่งอยู่ใกล้บ้านแล้วเอามาจิ้มกินกับมิโสะ มันก็อร่อยดี มีความสุขกันแล้ว ทุกวันนี้ถึงจะกินอาหารอุดมสมบูรณ์มากกว่า แต่เมื่อนึกถึงความสุขในการกินทีไร ก็นึกถึงสมัยเด็ก ๆ ทุกครั้ง

    สมัยที่อาจารย์ยังเด็ก แม่พูดอยู่เสมอว่า ชีวิตในชนบทดีที่สุด มีข้าวปลาอาหารพออยู่พอกินไม่ต้องเครียดอะไร แม่ไม่เคยบอกให้อาจารย์ต้องเรียนหนังสือสูง ๆ ต้องรวย ต้องมียศ มีตำแหน่งสูงถึงจะมีความสุข

    อาจารย์รู้สึกว่าน่าจะจริงตามที่แม่พูด คำพูดของแม่ทำให้รู้จักสันโดษ พอใจกับชีวิตแบบเรียบง่าย พออยู่พอกิน รักกันสามามัคคีกันในครอบครัวก็มีความสุขแล้ว

    เรื่อง เสือก็รู้จัก สันโดษ

    สมมติว่าเพื่อนของเรา ๓ คนไปธุดงค์ ปฏิบัติธรรมในป่าที่มีสัตว์ป่านานาชนิด
    เสือ ช้างป่า กระทิง หมี หมูป่า หมาป่า อีเก้ง กวาง ฯลฯ

    เสือซึ่งเป็นสัตว์ป่าที่กินเนื้อเป็นอาหาร ก็อาศัยอยู่ประจำในบริเวณนั้น ซึ่งตามปกติ ในพื้นที่ประมาณ ๑๐๐ ตารางกิโลเมตร ของป่าก็จะมีเสือหากินอยู่หนึ่งตัว

    ทีนี้อาจารย์ก็ตั้งคำถามขึ้นมาว่า ถ้าเพื่อนทั้ง ๓ คนนี้ปักกลดอยู่ห่าง ๆ กันพอสมควร เมื่อเสือออกหากินแล้ว เสือจะกินใคร

    ถ้าตอบว่าแล้วแต่โชค ก็มีโอกาสคนละประมาณ ๓๓ เปอร์เซนต์เท่า ๆ กัน
    แต่ตามหลักพระพุทธศาสนา ก็ไม่มีโชคดี โชคร้าย อะไรจะเกิดก็ต้องมีเหตุ
    ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นเพราะเหตุ ถ้ามีใครมีเวรมีกรรมกับเสือ คนนั้นก็โดนก่อน แต่ถ้าไม่มีเวรมีกรรมต่อกันมาก่อน ก็ยังมีเหตุอีกเหมือนกัน

    บางทีเราอาจคิดว่า เสือจะไล่กัด ๆ ๆ ทั้ง ๓ คนให้ตายก่อน แล้วค่อย ๆ กิน แต่ธรรมชาติของเสือ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น เสือจะกัดเฉพาะคนเดียว สมมติว่าถ้าเสือมีกิเลสชอบแสวงหาอาหารรสชาติอร่อย เหมือนมนุษย์ ตอนเช้าก็ล่ากวางกินสักตัว เลือกกินเนื้อเฉพาะส่วนที่อร่อย ๆ ตอนกลางวันก็ออกหากวางอีกสักตัว ตอนเย็นก็ออกหาอาหารอีก ก่อนนอนสักมื้อ เท่ากับวันหนึ่ง ๆ เสือออกล่าสัตว์มาเป็นอาหาร ๔ ตัว ปีหนึ่งมี ๓๖๕ วัน ก็เท่ากับเสือตัวหนึ่งกินสัตว์อื่นเป็นอาหารปีละ ๑,๔๖๐ ตัว

    ถ้าเสือมีแฟนก็ต้องคิดเป็นสองเท่า เท่ากับว่าการดำรงชีวิตของเสือคู่หนึ่ง ต้องใช้สัตว์อื่นเป็นอาหารปีละเกือบ ๓,๐๐๐ ตัว ๑๐ ปี ก็จะเท่ากับเกือบ ๓๐,๐๐๐ ตัว

    ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้จริง ๆ เสือก็จะต้องสูญพันธุ์แน่นอน เพราะอาหารทั้งป่าก็ไม่พอเลี้ยงเสือ แต่เสือมันก็มีปัญญา รู้จักฆ่าสัตว์เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เมื่อได้อาหารแล้ว มันก็กินหมดทุกส่วนแทะจนถึงกระดูก กินอิ่มแล้วก็อยู่ไปอีกหลายวันจนกว่าจะหิวจึงออกหากินใหม่

    เรียกว่าเสือมันก็รู้จักสันโดษ กินเพื่ออยู่ มิใช่เพื่อความเอร็ดอร่อยติดในใจรสชาติ

    เมื่อเสืออิ่มแล้ว แม้มีสัตว์ที่ดูแล้วน่าอร่อย มันก็ไม่ทำลายสัตว์ป่าที่อยู่ร่วมกันในบริเวณนั้น จึงไม่ใช่ว่าต้องระแวดระวังกลัวเสืออยู่ตลอดเวลา

    ดังนั้น สำหรับ ๓ คน ที่ปักกลดอยู่ ถ้าเสือจับเพื่อนคนหนึ่งกินเป็นอาหารแล้ว อีก ๒ คนก็โล่งใจได้ว่าปลอดภัย ใจเย็น ๆ ค่อย ๆ ถอยออกไปได้

    ทีนี้อาจารย์ก็ตั้งคำถามขึ้นมาว่า "ปัญหาอยู่ที่ว่า ใครจะเป็นเหยื่อของเสือ?"
    คำตอบคือ คนที่ไม่มีศีลนั่นแหละ

    ใครศีลดีศีลไม่ดี เพื่อนกัน ๓ คนนี้ ต่างก็รู้กันอยู่ใช่ไหม แต่ศีลในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า คนที่เข้าวัดประจำศีลดี คนที่ชอบเที่ยว ร้องเพลงคาราโอเกะศีลไม่ดีก็ไม่ใช่

    ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๒๒๗ เป็นอาการของศีล ตัวศีลอยู่ที่เจตนา ศีลคือ หนักแน่น เป็นปกติ ไม่ยินดียินร้าย สำหรับในสถานการณ์นี้ก็คือ ไม่ยินร้าย

    ถ้ากลัวเสือจะกิน คือ เกิดอาการยินร้าย ศีลก็บกพร่อง คนที่กลัวมากที่สุด ไม่อยากตายมากที่สุด ก็จะตายก่อนเพื่อน เพราะความกลัวทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนชนิดหนึ่งขึ้นมา เสือก็จะมีสัญชาตญาณตามกลิ่นของฮอร์โมนนี้ ปกติของสัตว์ป่าก็แสวงหาคู่และหาอาหารโดยใช้จมูก คือ อาศัยการได้กลิ่น ไม่ใช่จากการเห็นรูป แล้วทำให้เกิดกิเลสเหมือนมนุษย์

    ทีนี้เมื่อเสือออกหากินแล้วได้กลิ่นมนุษย์ คนที่ใจเสีย กลัวมากที่สุดจึงตกเป็นเหยื่อของเสือ

    ดังนั้นคนที่ใจหนักแน่นไม่ยินร้าย ใจเป็นปกติก็ปลอดภัย เรียกว่าใจเป็นศีล ศีลถึงใจ เมื่อใจเป็นศีล ศีลหนักแน่นในจิตใจแล้ว ใจก็สงบระงับความกลัวได้ ศีลจึงจะรักษาเรา

    ตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระอริยเจ้าอยู่ในป่า ปกติก็ไม่โดนสัตว์ป่าทำร้าย เพราะท่านก็รักษาศีล ถ้าศีลที่ใจบริสุทธิ์ อย่างน้อยไม่เกิดอาการกลัว ก็ปลอดภัยในระดับหนึ่ง

    ถ้าดีกว่านี้อีก คือเจริญเมตตาภาวนา ก็ยิ่งปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และหากว่าเจริญวิปัสสนา

    พิจารณาร่างกายจนเกิดปัญญา มองเห็นว่าร่างกายนี้ เป็นสักว่า ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา ก็จะไม่มีใครตาย ไม่มีใครฆ่า เมื่อศีลสมบูรณ์ในใจแล้ว ศีลก็จะรักษาเราให้ปลอดภัย

    มนุษย์เราน่าจะเรียนรู้จากสัตว์ป่าบ้าง เอาเสือเป็นแบบอย่าง คือ กินเพื่ออยู่ ไม่ใช่เห็นแก่กิน ละโมบโลภมาก แล้วไปทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่ตนเองอาศัยอยู่จนเสียสมดุลและไม่สามารถดำรงชีวิตได้

    ปัญญาของสัตว์ป่ามันก็มีเหมือนกัน รู้จักสันโดษ มีชีวิตแบบพออยู่พอกิน.
     

แชร์หน้านี้

Loading...