เทพที่เป็นสาวกของเดียรถีย์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย มีแปปเดียว, 22 สิงหาคม 2010.

  1. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    พระไตรปิฎก เล่มที่ 15
    เหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ณ กาลครั้งหนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงแล้ว
    พวกเทพบุตรผู้เป็นสาวกเดียรถีย์ต่างๆ เป็นอันมาก คือ อสมเทพบุตร สหลี-
    เทพบุตร นิกเทพบุตร กาโกฏกเทพบุตร เวฏัมพรีเทพบุตร มาณวคามิยเทพบุตร
    มีวรรณงามยิ่ง ยังพระวิหารเวฬุวันทั้งสิ้นสว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ครั้นแล้วจึงอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
    [๓๑๔] อสมเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ส่วนที่ควรข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าว
    คาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค ปรารภถึงท่านปูรณะกัสสปว่า
    ครูปูรณะกัสสป เพียงแต่มองไม่เห็นบาปหรือบุญของตน
    ในเพราะเหตุที่สัตว์ถูกฟัน ถูกฆ่า ถูกโบย ถูกข่มเหง ใน
    โลกนี้เท่านั้น ท่านบอกให้วางใจเสีย ท่านย่อมควรที่จะยก
    ย่องว่าเป็นศาสดา ฯ
    [๓๑๕] สหลีเทพบุตร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค ปรารภ
    ถึงท่านมักขลิโคศาล ต่อไปว่า
    ครูมักขลิโคศาล สำรวมตนดีแล้ว เพราะรังเกียจบาปด้วยตบะ
    ละวาจาที่ก่อให้เกิดความทะเลาะกับคนเสีย เป็นผู้สม่ำเสมอ
    งดเว้นจากสิ่งที่มีโทษ พูดจริง ท่านมักขลิโคศาล จัดว่าเป็นผู้
    คงที่ ไม่กระทำบาปโดยแท้ ฯ
    [๓๑๖] นิกเทพบุตร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค ปรารภถึง
    ท่านนิครนถ์ นาฏบุตรต่อไปว่า
    ครูนิครนถ์ นาฏบุตร เป็นผู้เกลียดบาป มีปัญญารักษาตัวรอด
    เห็นภัยในสงสาร เป็นผู้ระมัดระวังทั้ง ๔ ยาม เปิดเผยสิ่งที่
    ตนเห็นแล้วและฟังแล้ว น่าจะไม่ใช่ผู้หยาบช้าโดยแท้ ฯ
    [๓๑๗] อาโกฏกเทพบุตร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค
    ปรารภถึงพวกเดียรถีย์ต่างๆ ต่อไปอีกว่า
    ท่านปกุธะ กัจจายนะ ท่านนิครนถ์ นาฏบุตร และพวกท่าน
    มักขลิโคศาล ท่านปูรณะกัสสปเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นศาสดา
    ของหมู่ บรรลุถึงที่สุดในสมณธรรมแล้ว ท่านเหล่านั้นคง
    เป็นผู้ไม่ไกลไปจากสัตบุรุษแน่นอน ฯ
    [๓๑๘] เวฏัมพรีเทพบุตร ได้กล่าวตอบอาโกฏกเทพบุตรด้วยคาถาว่า
    สุนัขจิ้งจอกสัตว์เลวๆ ใคร่จะตีตนเสมอราชสีห์ แม้จะ
    ไม่ใช่สัตว์ขี้เรื้อน แต่ก็มีบางคราวที่ทำตนเทียมราชสีห์ ฯ
    ครูของหมู่บำเพ็ญตัวเป็นคนแนะหนทาง แต่พูดคำเท็จ มี
    มรรยาทน่ารังเกียจ จะเทียบกับสัตบุรุษไม่ได้ ฯ
    [๓๑๙] ลำดับนั้น มารผู้ลามกเข้าสิงเวฏัมพรีเทพบุตรแล้วได้กล่าวคาถานี้
    ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    สัตว์เหล่าใด ประกอบแล้ว ในความเกลียดบาปด้วยตบะ
    รักษาความสงบสงัดอยู่ ติดอยู่ในรูป ปรารถนาเทวโลก สัตว์
    เหล่านั้น ย่อมสั่งสอนชอบ เพื่อปรโลกโดยแท้ ฯ
    [๓๒๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี้เป็นมารตัวร้ายกาจ
    จึงได้ทรงภาษิตคาถาตอบมารผู้ลามกว่า
    รูปใดๆ จะอยู่ในโลกนี้หรือโลกหน้า และจะอยู่ในอากาศ
    มีรัศมีรุ่งเรืองก็ตามที รูปทั้งหมดเหล่านั้น อันมารสรรเสริญ
    แล้ว วางดักสัตว์ไว้แล้ว เหมือนเขาเอาเหยื่อล่อเพื่อฆ่าปลา
    ฉะนั้น ฯ
    [๓๒๑] ลำดับนั้น มาณวคามิยเทพบุตร ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในสำนัก
    พระผู้มีพระภาค ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคว่า
    ภูเขาวิปุละ เขากล่าวกันว่า เป็นสูงเยี่ยมกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ใน
    พระนครราชคฤห์ เสตบรรพตเป็นเลิศกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ในป่า
    หิมวันต์ พระอาทิตย์เป็นเลิศกว่าสิ่งที่ไปในอากาศ มหาสมุทร
    เป็นเลิศกว่าห้วงน้ำทั้งหลาย พระจันทร์เป็นเลิศกว่าดวงดาว
    ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าโลกกล่าวว่าเป็นเลิศกว่าประชุมชน
    ทั้งโลก พร้อมทั้งเทวโลก ฯ
    จบ นานาติตถิยวรรค ที่ ๓
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 สิงหาคม 2010
  2. สิงหนวัติ

    สิงหนวัติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    788
    ค่าพลัง:
    +2,107
    มนุษย์เรายังมีหลายศาสนาหลายความเชื่อ ภพภูมิอื่นก็เช่นเดียวกันครับ เคยได้ยินเหมือนกันว่า ทำไมพญานาคในน้ำโขงถึงพ่นบั้งไฟเพื่อนึกถึงการบูชาพระพุทธเจ้าในวันออกพรรษาเมื่อครั้งพุทธกาล คำตอบที่น่าสนใจคือ เพราะนาคในน้ำโขงนับถือพุทธ ในลำน้ำ ทะเล อื่นๆ ก็มีพญานาคแต่ท่านไม่พ่นบั้งไฟ เพราะท่านไม่ได้เป็นพุทธ จริงเท็จประการใดไม่ทราบ เพียงแต่เคยได้ยินมา จึงนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
     
  3. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ตายนสูตรที่ ๘
    [๒๓๘] ครั้งนั้น ตายนเทวบุตรผู้เป็นเจ้าลัทธิมาแต่ก่อน เมื่อราตรีปฐม
    ยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไป
    เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืน
    อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
    [๒๓๙] ตายนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ภาษิตคาถา
    เหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากามเสียเถิด
    พราหมณ์ ฯ
    มุนีไม่ละกาม ย่อมไม่เข้าถึงความที่จิตแน่วแน่ได้ ฯ
    ถ้าบุคคลจะพึงทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริงๆ พึง
    บากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติ
    ย่อหย่อน ยิ่งเรี่ยรายโทษดุจธุลี ฯ
    ความชั่วไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า ความชั่วย่อมเผาผลาญ
    ในภายหลัง ฯ
    ก็กรรมใดทำแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็น
    ความดี ทำแล้วประเสริฐกว่า หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี ย่อม
    บาดมือนั่นเองฉันใด ฯ
    ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปเพื่อ
    เกิดในนรก ฉันนั้น ฯ
    กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรอันใดที่เศร้าหมอง
    และพรหมจรรย์ที่น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก ฯ
    ตายนเทวบุตร ครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำ
    ประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
    [๒๔๐] ครั้งนั้น โดยล่วงราตรีนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ
    ทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทวบุตรนามว่าตายนะ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ
    เชตวันทั้งสิ้นให้สว่างเข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ก็อภิวาทเราแล้ว ได้ยืนอยู่
    ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ตายนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ภาษิต
    คาถาเหล่านี้ในสำนักของเราว่า
    ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากามเสียเถิด
    พราหมณ์
    มุนีไม่ละกาม ย่อมไม่เข้าถึงความที่จิตแน่วแน่ได้ ฯ
    ถ้าบุคคลจะพึงทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริงๆ พึง
    บากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติ
    ย่อหย่อน ยิ่งเรี่ยรายโทษดุจธุลี ฯ
    ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า ความชั่วย่อมเผาผลาญ
    ในภายหลัง ฯ
    ก็กรรมใดทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็น
    ความดี ทำแล้วประเสริฐกว่า หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี ย่อม
    บาดมือนั่นเอง ฉันใด ฯ
    ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปเพื่อ
    เกิดในนรก ฉันนั้น ฯ
    กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรอันใดที่เศร้าหมอง
    และพรหมจรรย์ที่น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตายนเทวบุตรครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็อภิวาทเรา
    ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จง
    ศึกษา จงเล่าเรียน จงทรงจำตายนคาถาไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตายนคาถาประกอบ
    ด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ฯ
    เทพที่เคยเป็นศาสดาในศาสนาอื่นก็มี เป็นเทพที่สอนให้คนประพฤติดีได้
    เทพที่เป็นสาวกของเดียรถีย์เป็นมิจฉาทิษฐิก็มี
    ดังปรากฏในพระไตรปิฎกที่ผมคัดลอกมา
    ขอท่านทั้งหลายได้โปรดพิจารณา
     
  4. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    นันโทปนันทนาคราช
    นอกจากนั้น ในนันโทปนันทสูตร ยังได้แสดงภพอันเป็นทิยพย์ของนันโทปนันทนาคราชไว้ว่า
    คราวหนึ่ง ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจึงทูลนิมนต์พระพุทธองค์พร้อมทั้งภิกษุ ๕๐๐ รูปฉันภัตตาหาร ใกล้รุ่งวันนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูสัตว์โลก พญานาคนันโทปนันทะปรากฏในพระญาณ พระพุทธองค์ได้ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งสรณคมน์ของพญานาคราชผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ พระพุทธองค์เรียกพระอานนท์มาตรัสบอกว่า พระองค์จะเสด็จจาริกไปยังเทวโลกให้ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปตามเสด็จด้วย
    ในวันนั้นเอง เหล่านาคบริษัททั้งหลายได้ตระเตรียมสถานที่สำหรับดื่มสุราเพื่อนันโทปนันทนาคราช กางกั้นด้วยเศวตฉัตรทิพย์ นพรัตนบัลลังก์ทิพย์ ห้อมล้อมด้วยนักฟ้อน ๓ พวกและเหล่านาคบริษัทมากมาย พญานันโทปนันทนาคราชนั่งมองดูอาหารที่เขาจัดวางไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำให้นาคราชเห็นว่าพระองค์เสด็จข้ามวิมานของนาคราชบ่ายพระพักตร์ไปยังดาวดึงส์เทวโลก โดยมีหมู่ภิกษุ ๕๐๐ ตามเสด็จ
    นันโทปนันทนาคราชเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ก็พาลโกรธว่าพวกสมณะหัวโล้นเหล่านี้ ข้ามหัวตนไปมาโปรยขี้ตีนลงบนหัวของตนไม่เกรงอกเกรงใจ จึงขึ้นไปยังเชิงเขาสิเนรุ เอาขนดวงรอบเขาสิเนรุ ๗ รอบแผ่พังพานปิดภพดาวดึงส์ไว้
    ท่านพระรัฏฐปาลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เมื่อก่อน ยืนอยู่ก็สามารถมองเห็นภพดาวดึงส์ ตลอดจนธงบนยอดเวชยันตปราสาท เหตุไรบัดนี้จึงไม่เห็น
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกว่านาคราชชื่อว่านันโทปนันทะโกรธพวกเธอจึงเอาขนดหางวงรอบเขาสิเนรุ ๗ รอบ แผ่พังพานปิดบังภพดาวดึงส์ ไว้ แม้ท่านรัฏฐปาละ ท่านพระภัททิยะ ท่านพระราหุล และภิกษุแม้ทั้งหมดขอทรมานนาคราช พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงอนุญาต ในที่สุดพระมหาโมคคัลลานะเถระ กราบทูลขอทรมานนาคราชนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาต
    พระเถระนิรมิตกายเป็นรูปพญานาคราชใหญ่ เอาขนดหาง
    วงรอบนันโทปนันทนาคราช ๑๔ รอบ วางพังพานของตนลงบนยอดพังพานของนันโทปนันทนาคราชแล้วกดเข้ากับเขาสิเนรุ นาคราชบังหวนควันขึ้น
    พระเถระกล่าวว่า มิใช่จะมีแต่ควันในร่างกายของท่านเท่านั้น แม้เราเองก็มีควันเช่นกัน จึงบังหวนควันขึ้นบ้าง ควันของนาคราชไม่สามารถทำอันตรายแก่พระเถระได้ แต่ควันของพระเถระกลับทำอันตรายแก่พญานาคราช นาคราชจึงพ่นไฟออกไปด้วยความกราดเกรี้ยว พระเถระกล่าวว่า ไม่ใช่จะมีแต่ไฟในร่างกายของท่านเท่านั้น แม้เราก็มีไฟเช่นกัน จึงพ่นไฟออกไปบ้าง
    ไฟของนาคราชไม่สามารถทำอันตรายแก่พระเถระได้ แต่ไฟของพระเถระกลับทำอันตรายแก่นาคราช นาคราชคิดว่า พระองค์นี้กดหัวเราเข้ากับเขา จึงบังหวนควันและพ่นไฟพร้อมกับถามว่า ท่านเป็นใคร พระเถระตอบว่า เราโมคคัลลานะ นาคราชจึงตระโกนออกไปด้วยความโกรธว่า เป็นพระทำไมไม่อยู่ส่วนพระ
    พระเถระจึงเปลี่ยนร่างเข้าไปทางช่องหูขวาออกทางช่องหูซ้าย แล้วเข้าทางช่องหูซ้ายออกทางช่องหูขวา เข้าทางช่องจมูกขวา ออกทางช่องจมูกซ้าย เข้าทางช่องจมูกซ้ายแล้วออกทางช่องจมูกขวาของนาคราช พอนาคราชอ้าปากเท่านั้นพระเถระก็พุ่งเข้าไปทางปากแล้วเดินจงกรมอยู่ภายในท้อง
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระเถระว่า โมคคัลลานะเธอจงตั้งสติให้ดี อย่าได้ประมาท นาคราชมีฤทธิ์มาก พระเถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญอิทธิบาท ๔ ดีแล้ว กระทำให้มากแล้ว สามารถทำให้เป็นเหมือนยานได้ กระทำให้เป็นดุจวัตถุที่ตั้ง ตั้งมั่น สั่งสมและปรารภไว้ดีแล้ว อย่าว่าแต่นันโทปนันทะเลย ต่อให้พญานาคราชเช่นกับนันโทปนันทะสักร้อย สักพัน สักแสน ข้าพระองค์ก็สามารถทรมานได้
    ส่วนพญานาคราชคิดว่า ตอนพระเถระเข้าไปเราไม่ทันเห็น ในเวลาออกมาจักใส่เขี้ยวเคี้ยวกินเสียเลย เมื่อคิดแล้วจึงแสร้งกล่าวว่า ขอท่านจงกลับออกมาเถิด อย่าเดินไป ๆ มา ๆ ในท้องทำข้าพเจ้าให้ลำบากเลย พระเถระได้ออกจากท้องไปยืนข้างนอก นาคราชเห็นว่านี้คือเขาละ จึงพ่นลมทางจมูก พระเถระเข้าจตุตถฌาน ลมนาคราชไม่สามารถทำให้ไหวได้แม้แต่ขุมขนของพระเถระ
    ที่จริง ภิกษุทั้งหลายสามารถทำปาฏิหาริย์ได้ตามที่พระโมคคัลลานะทำมาตั้งแต่ต้น แต่พอถึงตรงนี้ ไม่มีใครสามารถตั้งตัวและเข้าสมาบัติได้ทัน เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะแพ้แก่นาคราช เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุอื่นทรมานนาคราช แต่อนุญาตพระโมคคัลลานะ เพราะฤทธิ์ของพระโมคคัลลานะเท่านั้นจะสามารถกำหนดได้
    นาคราชคิดว่า ลมจมูกของเราไม่สามารถทำแม้ขุมขนของพระองค์นี้ให้ไหวได้ พระองค์นี้มีฤทธิ์มาก แล้วจึงรีบหนีไป พระเถระได้แปลงกายนิรมิตเป็นพญาครุฑไล่ติดตามพญานาคราชไป นาคราชจึงละอัตภาพนาคกลายเป็นมาณพน้อยกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ กระผมขอถึงท่านเป็นสรณะ แล้วกราบลงที่เท้าพระเถระ พระเถระกล่าวว่า นันทะ พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ท่านจงมา พวกเราจะไป พระเถระทรมานนาคราชจนสิ้นพยศแล้วจึงกลับไปเฝ้าพระพุทธองค์ นาคราชถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระองค์เป็นสรณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่านจงเป็นสุขเถิดนาคราช หมู่ภิกษุห้อมล้อม ได้เสด็จไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุไรพระองค์จึงเสด็จมาสาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โมคคัลลานะและนันโทปนันทะได้ทำสงครามกัน ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลว่า ก็ใครแพ้ ใครชนะ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โมคคัลลานะชนะ ส่วนนันทะเป็นผู้แพ้
    อนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับภัตตาหารของข้าพระองค์ตามลำดับแห่งเดียวตลอด ๗ วัน ข้าพระองค์จักกระทำสักการะแก่พระเถระ ๗ วันแล้วได้กระทำมหาสักการะแก่ภิกษุ ๕๐๐ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน
    แม้แต่พญานาคผู้มีฤทธิ์ก็ไม่เว้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 สิงหาคม 2010
  5. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ลัทธิของครูทั้ง 6 ในสามัญผลสูตร <SUP></SUP>


    ลัทธิของครูทั้ง 6 ในสามัญผลสูตร
    <!--MsgIDBody=0-->ลัทธิของครูทั้ง 6 จัดว่าเป็นลัทธิร่วมพุทธกาล มีหลักฐานปรากฏในสามัญผลสูตรที่กล่าวถึงครูทั้ง 6 ว่า...



    เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูได้ครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าพิมพิสารผู้ราชบิดาอยู่มาวันหนึ่งทรงมีความประสงค์จะสนทนากับสมณพราหมณ์ ในปัญหาเรื่องการบวชมีผลเป็นที่ประจักษ์อย่างไร ได้เสด็จถามปัญหาดังกล่าวกับครูทั้ง 6 และได้รับคำตอบไม่เป็นที่พอพระทัย เพราะเป็นการถามปัญหาอย่างหนึ่งและตอบเสียอีกอย่างหนึ่ง ทรงนำคำตอบในลัทธิของครูทั้ง 6 มาตรัสเล่าถวายพระพุทธเจ้า ข้อความพิสดารมีปรากฏในสามัญญผลสูตร ครูทั้ง 6 นั้นมีนามปรากฏ ดังนี้ คือ



    1. ปูรณกัสสปะ

    2. มักขลิโคศาล

    3. อชิตเกสกัมพล

    4. ปกุธกัจจายนะ

    5. สญชัยเวลัฏฐบุตร

    6. นิครนถนาฏบุตร




    --->> 1. ทรรศนะของปูรณกัสสปะ


    ปูรณกัสสปะ เป็นเจ้าลัทธิเก่าแก่ผู้หนึ่ง มีความเห็นว่า วิญญาณเป็นสิ่งไร้กัมมันตภาพเป็นสิ่งเที่ยงแท้ถาวร ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ร่างกายนี้เองเป็นเจ้าของพฤติกรรม วิญญาณไม่เกี่ยวข้องกับกรรมดีกรรมชั่วที่ร่างกายทำ แต่ร่างกายก็เป็นสิ่งที่ไร้เจตนา ดังนั้น เมื่อร่างกายทำสิ่งใด ๆ ลงไป จึงไม่จัดเป็นบุญบาปแต่อย่างใด บุคคลไม่จัดว่าได้ทำบุญเมื่อให้ทาน เป็นต้น และไม่จัดว่าได้ทำบาป เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ประพฤติผิดในกาม หรือพูดปด



    พระพุทธศาสนาเรียกทรรศนะของปูรณกัสสปะว่า “อกิริยวาท ” แปลว่า “กล่าวการทำว่าไม่เป็นอันทำ”


    เป็นทรรศนะที่ปฏิเสธพลังงาน ปฏิเสธกรรมไปด้วยพร้อมกัน ผู้มีทรรศนะดังกล่าวนี้เรียกว่า “อกิริยวาที” แปลว่า “ผู้กล่าวการทำว่าไม่เป็นอันทำ” ขัดแย้งกับหลักกรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง เพระพระพุทธศาสนาสอนหลักกรรมว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรม ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว และถือว่าเป็นหลักเหตุผลที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง


    **************************************************************************


    --->> 2. ทรรศนะของมักขลิโคศาล


    กล่าวกันว่า มักขลิโคศาลเป็นเจ้าลัทธิฝ่าย อาชีวก วันหนึ่งเห็นต้นข้าวที่คนเหยียบย่ำแล้วกลับงอกงามขึ้นมาอีก จึงเกิดความคิดว่า
    “สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะต้องกลับมีวิญญาณขึ้นมาอีก ไม่ตายไม่สลาย” และถือว่า “สัตว์ทั้งหลายขึ้นอยู่กับกระบวนการที่ได้กำหนดไว้แล้ว” กระบวนการดังกล่าว เริ่มต้นจากระดับต่ำสุดไปหาจุดหมายที่สูงสุด เป็นกระบวนการที่แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับความร้อนมีระดับต่ำเป็นน้ำแข็ง และมีระดับสูงเป็นไฟ



    มักขลิโคศาลปฏิเสธกรรมและพลังความเพียรว่าเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย สัตว์ทั้งหลายไม่ต้องทำความเพียร และไม่ต้องทำความดีเพื่ออะไร เพราะการบรรลุโมกษะไม่ได้สำเร็จด้วยความเพียรหรือด้วยกรรมใด ๆ สัตว์จะต้องเวียนว่ายตายเกิดจากภพสู่ภพไปโดยลำดับ เมื่อถึงภพสุดท้ายก็จะเข้าถึงความบริสุทธิ์ได้เอง ความบริสุทธิ์ประเภทนี้เรียกว่า “สังสารสุทธิ”
    คือความบริสุทธิ์ที่ได้จากการเวียนว่ายตายเกิด กระบวนการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ เช่นเดียวกับการคลี่เส้นด้ายออกจากกลุ่ม เมื่อจับปลายเส้นด้ายด้านนอกแล้วปากกลุ่มด้ายไป กลุ่มด้ายจะคลี่ออกจนถึงปลายด้านใน ปลายสุดด้านในของเส้นด้ายนั่นเอง เปรียบเหมือนความบริสุทธิ์ของสัตว์ หรือที่เรียกว่าโมกษะ



    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นเรื่องของการโชคดีและเคราะห์ร้าย ไม่เกี่ยวกับกรรมดีและกรรมชั่วแต่อย่างใด สัตว์ประเภทอื่น ๆ จะเข้าถึงโมกษะได้ จำต้องมาเกิดเป็นมนุษย์ก่อนจึงจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ได้



    พระพุทธศาสนาเรียกทรรศนะของมักขลิโคศาลว่า “อเหตุกวาทะ” คือกล่าวว่า “ความเศร้าหมองและความบริสุทธิ์ของสัตว์ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย ” ทรรศนะของมักขลิโคศาลจัดเป็น
    อกิริยาวาทด้วย เพราะเป็นการปฏิเสธกรรมและผลของกรรมอยู่แล้วด้วย ทั้งยังเป็นอวิริยวาทด้วย เพราะปฏิเสธพลังความเพียรว่าเป็นสิ่งไร้ผลด้วย



    **************************************************************************


    --->> 3. ทรรศนะของอชิตเกสกัมพล


    ทรรศนะของอชิตเกสัมพล ตรงกับปรัชญาในยุคหลังคือวัตถุนิยม เป็นทรรศนะที่ปฏิเสธว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่มีชาติหน้า ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ปฏิเสธกรรมดีกรรมชั่ว ปฏิเสธพิธีกรรมทางศาสนาว่าไร้ผล ปฏิเสธความสมบูรณ์ทางจิต ไม่มีใครทำดีไม่มีใครทำชั่ว เพราะสัตว์ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ จึงไม่มีสัตว์ใด ๆ คงมีแต่กลุ่มธาตุ ชาตินี้ของสัตว์สิ้นสุดลงที่การตาย ไม่มีอะไรเหลืออีกหลังจากตาย



    ธาตุทั้งหลายเหล่านั้นทำหน้าที่ผลิตวิญญาณขึ้นมา เมื่อธาตุเหล่านั้นแยกจากกันสัตว์ก็สิ้นสุดกันแค่นั้น ไม่มีความดีความชั่ว ไม่มีโลกหน้าชาติหน้าต่อไปอีก ไมมีสวรรค์หรือโลกทิพย์ที่ไหนอีก ไม่มีพระเจ้า โลกนี้ดำรงอยู่โดยตัวเอง วิญญาณและเจตนาของสัตว์เกิดจากธาตุ เช่นเดียวกับสุราที่เกิดจากการหมักดองเครื่องปรุง เมื่อทุกอย่างสิ้นสุดลงที่ความตายจึงไม่จำเป็นต้องทำบุญเพื่อเป็นเสบียงไปชาติหน้า ทรรศนะนี้ปฏิเสธคัมภีร์พระเวทอย่างรุนแรง เป็นทรรศนะที่ชี้แนะว่า สัตว์จะแสวงหาความสุขแก่ตนด้วยวิธีใด ๆ ก็ได้ ไม่ต้องทำสิ่งที่เคยเชื่อกันมาว่าจะอำนวยความสุขในชาติหน้า เพราะวิญญาณคือร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง



    พระพุทธศาสนาเรียกทรรศนะนี้ว่า “นัตถิกวาท” แปลว่า “กล่าวว่าไม่มีสัตว์บุคคล”


    ทรรศนะของอชิตเกสกัมพล ตรงกับปรัชญาจารวากหรือวัตถุนิยม ยอมรับค่านิยมทางกามสูขเท่านั้น ไม่มีค่านิยมใด ๆ อีกที่เหมาะสมของมนุษย์ จึงเป็นทรรศนะที่ถูกตำหนิจากปรัชญาอื่นอย่างมาก


    **************************************************************************


    คำอธิบายสามัญญผลสูตรกล่าวว่า เจ้าลัทธิทั้ง 3 ดังกล่าวแล้วนั้น


    --> ปูรณกัสปะกล่าวว่า เมื่อบุคคลทำบาป ไม่ชื่อว่าเป็นทำบาป จัดว่าเป็นการปฏิเสธกรรม


    --> เจ้าลัทธิอชิตเกสกัมพลกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายตายแล้วหมดสิ้นกัน ไม่มีอะไรไปเกิดอีก จัดว่าเป็นการปฏิเสธผลของกรรม


    --> เจ้าของลัทธิมักขลิโคศาลกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เศร้าหมองเองมีความบริสุทธิ์ได้เอง จัดว่าเป็นการปฏิเสธทั้งกรรมและผลของกรรม




    เจ้าลัทธิปูรณกัสสะปะแม้ปฏิเสธแต่กรรม ก็จัดว่าปฏิเสธผลของกรรมไปด้วย


    เจ้าลัทธิอชิตเกสกัมพลเมื่อปฏิเสธผลของกรรมก็เป็นการปฏิเสธกรรมไปด้วยแล้ว


    เพราะฉะนั้น โดยความหมายแล้ว เจ้าลัทธิทั้ง 3 จัดว่าเป็นทั้ง อกิริยาวาทอเหตุ และนัตถิกวาท เหมือน ๆ กัน เพราะปฏิเสธทั้งกรรมและผลกรรม



    -->> ฏีกาสามัญญผลสูตรกล่าวว่า...


    เจ้าลัทธิปูรณกัสสปะจัดว่าปฏิเสธกรรม เพราะกล่าวการทำว่าไม่เป็นอันทำ


    เจ้าลัทธิอชิตเกสกัมพลจัดว่าปฏิเสธผลกรรม เพราะถือว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นอีกต่อไป


    เจ้าลัทธิมักขลิโคศาลจัดว่าปฏิเสธทั้งกรรมและผลกรรม เพราะเมื่อทำการปฏิเสธเหตุก็เท่ากับปฏิเสธผลไปด้วยกัน เมื่อปฏิเสธเหตุของความเศร้าหมองและความบริสุทธิ์ ก็เป็นการปฏิเสธผลกรรมเสียแล้วด้วย เมื่อกรรมไม่มีผลกรรมก็ต้องไม่มีด้วย หรือเมื่อผลกรรมไม่มี ก็ต้องสืบเนื่องมาจากกรรมไม่มี



    -->> คำอธิบายคัมภีร์ เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย กล่าวว่า...



    มิจฉาทิฐิบางอย่างห้ามทั้งสวรรค์และมรรค

    บางอย่าง ห้ามแต่มรรคอย่างเดียว ไม่ห้ามสวรรค์

    บางอย่างไม่ห้ามทั้งมรรค และสวรรค์



    มิจฉาทิฐิ 3 อย่างคือ


    อกิริยทิฐิ และนัตถิกทิฐิ ห้ามทั้งสวรรค์และมรรค


    มิจฉาทิฐิถึงที่สุด 10 อย่าง คือการยึดถือว่า โลกเที่ยง เป็นต้น จัดว่าห้ามแต่มรรคอย่างเดียว เป็นความเห็นที่วิปริตจากทางของมรรค แต่ไม่ห้ามสวรรค์เพราะไม่เป็นอกุศลกรรมบถ


    ส่วนสักกายทิฐิ 20 มีเห็นรูปว่าเป็นตน เห็นตนว่าเป็นรูป เห็นตนในรูป เป็นต้น เป็นการเห็นลักษณะ 4 อย่างในขันธ์ 5 รวมเป็น 20 ไม่ห้ามทั้งสวรรค์และมรรคเพราะไม่เป็น
    อกุศลกรรมบถ และเมื่อเกิดความรู้จัดแจ้งตามเป็นจริง ก็บรรลุมรรคผลได้


    หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา คำสำคัญ: ชมรมพัฒนาใจให้สว่างใส ทิฏฐิ ปราชญ์ขยะ มิจฉาทิฏฐิ ลัทธิ
    สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ [​IMG]

    สร้าง: ส. 11 ต.ค. 2551 @ 17:38 แก้ไข: ส. 11 ต.ค. 2551 @ 17:38 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]
    ขยายความลัทธิเดียรถีย์
     
  6. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    สำนักปรัชญาทั้ง ๖ (6 Theories)พราหม์


    --------------------------------------------------------------------------------

    ๑. ลัทธิเวทานตะ (Vedanta) ลัทธินี้แปลว่า ตอนสุดท้ายแห่งพระเวท โดยแสดงว่าความจริงอย่างแท้จริงมีอยู่สิ่งเดียวคือปรมาตมัน ๆ แตกตัวจากอาตมันคือวิญญาณของบุคคล มันสิงอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน เพียงแต่เขาอาจจะไม่ทราบเท่านั้น หลักการนี้พุทธศาสนามหายานก็นำไปใช้ โดยกล่าวว่ามนุษย์ทุกคนมีธาตุแห่งความเป็นพุทธะอยู่แล้วในตัวทุกคน ลัทธินี้เป็นระบบปรัชญาที่เกิดจากอุปนิษัท โดยอุปนิษัทเรียกร้องศรัทธา เวทานตะเรียกร้องเหตุผลจากมนุษย์ ปรัชญาหลักของเวทานตะคือ ความไม่รู้เท่าทันความจริงที่ว่า จิตของเราแต่ละคนเป็นอาตมัน เป็นอย่างเดียวกับจิตของพรหมคือ ปรมาตมัน คนเราจึงกระทำกรรมถือกรรมต่าง ๆ เป็นตัวตนของเขา ดังนั้นจึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกนี้ เมื่อใดกำจัดอวิชชา ความไม่รู้ไห้หมดไปแล้วอาตมันจะเข้าร่วมกับปรมาตมัน คนที่สำเร็จจะกลายเป็นพรหม ลัทธินี้รวบรวมโดยอวยาส



    ๒. ลัทธินยายะ (Nyaya) แปลว่าเข้าไปในธรรม เป็นหลักการค้นคว้าหาความจริงอย่างอนุมานและพิจารณาเรื่องทุกข์ ชาติ พฤติกรรมโทษพร้อมทั้งอวิชชา ซึ่งนยายะสอนให้เปลื้อง ตั้งแต่ปลายไปหาต้น แล้วจะบรรลุความหลุดพ้น วาตสยายนะ อาจารย์สอนชื่อดังของลัทธินี้กล่าวว่า "อวิชชา คือ ความไม่รู้นำมาซึ่งความเกาะเกี่ยว ความแห้งแล้ง ความริษยา ความเห็นผิดความประมาท อหังการและความโลภตามลำดับ บุคคลผู้มีอวิชชา ย่อมประกอบประทุษกรรมต่าง ๆ มีการลักขโมย ประพฤติผิดในกาม เป็นต้นนี้เป็นอกุศลทั้งสิ้น บุคคลใดมีความประพฤติดีรู้จักให้ทาน มีความเมตตากรุณา มีความสัตย์ บำเพ็ญประโยชน์ พูดจามีสาระย่อมได้ชื่อว่าประกอบกุศลกรรม การเกาะเกี่ยวชีวิต ทำให้มีการเกิดและนำมาซึ่งความทุกข์ อุปมาว่าอาหารที่คลุกเคล้าด้วยน้ำผึ้งและยาพิษก็ควรทิ้งไปให้หมดเพราะเป็นสุขที่เจือด้วยทุกข์" ลัทธินี้รวบรวมโดยท่านฤๅษีโคตมะ ซึ่งมีชื่อพ้องกับพระพุทธเจ้าและหลักคำสอนก็คล้ายคลึงอย่างมาก



    ๓. ลัทธิไวเศษิกะ (Vaisesika) ลัทธินี้สอนว่าโลกเกิดจากพลังอันมองไม่เห็นที่สืบมาจากกรรมในภพก่อน แต่ก็มีจิตอันยิ่งใหญ่ที่สุดคือปรมาตมันเป็นใหญ่อยู่ในสากลโลก จิตอันยิ่งใหญ่นี้แยกเป็นวิญญาณ ส่วนบุคคลเรียกว่าชีวาตมัน ปรมาตมันเป็นอมตะ ไม่มีต้นไม่มีปลาย ไม่มีการทำลายแตกดับแผ่ซ่านทั่วไปโดยปราศจากรูปร่างและเป็นผู้สร้างสากลโลกขึ้นก่อตั้งโดยกณาทะ



    ๔. ลัทธิสางขยะ (Sankhya) มาจากคำว่าสังขยา แปลว่าการนับก่อตั้งโดยกบิลมุนี เป็นลัทธิที่มีอิทธิพลมากพอสมควรในยุคก่อนพุทธกาล แนวปรัชญาของลัทธินี้อยู่ในประเภททวินิยม คือสองส่วนโดยชี้ให้เห็นว่าปุรุษะถูกขังอยู่ในประกฤติ จึงได้ประกอบกรรมอันนำมาซึ่งความทุกข์ เมื่อทราบดังนี้แล้วจึงต้องพยายามหาทางถอนวิญญาณของตนออกจากวัตถุธาตุทั้งมวล เพื่อเข้าร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับวิญญาณสากล หรือปรมาตมันต่อไป



    ๕. ลัทธิโยคะ (Yoga) ก่อตั้งโดย ฤๅษีตัญชลี ในยุคต้นฝึกบำเพ็ญตบะ โดยหวังไปทางโลกิตสุข ต่อมาฝึกเน้นหนักไปในทางทำจิตให้สะอาดเพื่อจะได้รวมกับพระพรหมในโอกาสต่อไป คำว่าโยคะแปลว่าการดับพฤติของจิต หรือสกัดกั้นความเคลื่อนไหวของจิต ลัทธินี้ให้หลักการไว้ว่า จิตมักจะแสดงอาการให้เห็น ๔ ลักษณะ คือ ๑. พุทธะ ความเข้าใจหรือแน่วแน่ ๒. จิตความตริตรอง ๓. สมฤติ ความระลึกทรงจำ ๔. อหังการ ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ จิตมีฤติ ๔ ประการ คือ ๑.ประมาณความวิปลาส ๒.ความสมมติผิด ๓.ความหลับ ๔.และความระลึกความทรงจำ



    วิธีการของโยคะคือบังคับการระบายและตั้งลมหายใจเข้าออก เพ่งบางส่วนของร่างกายให้เกิดสมาธิ ต้องมีความข่มการดิ้นรนให้หมดไป โดยตั้งใจเพ่งพระอิศวรเป็นใหญ่ ซึ่งเป็นบุรุษหรืออาตมัน อันพ้นแล้วจากกรรมหรือความเสื่อมเสียทั้งปวง มีทางเข้าถึงโยคะ ๘ สาย การปฏิบัติโยคะนี้ต้องปฏิบัติเป็นขั้น ๆ ไป และจะเกิดความสำเร็จเป็นขั้น ๆ เช่นกัน บางครั้งอาจเกิดมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ขึ้นมา ซึ่งเป็นผลพลอยได้ แต่เป้าหมายที่แท้จริงก็เพื่อการดับพฤติของจิต ปัจจุบันลัทธินี้ยังคงแพร่หลาย แม้ในเมืองไทยเราเอง ก็มีการเปิดหลักสูตรโยคะอยู่ทั่วไป



    ๖. ลัทธิมิมางสา (Mimamsa) ลัทธินี้มีหลักคล้ายโยคะมาก ผิดกันเฉพาะตอนที่สอนให้ทำพิธีต่าง ๆ ไม่ได้สอนให้ใช้การเพ่งด้วยการคิดอันเป็นหลักของโยคะ ก่อตั้งโดยไชมินิ จึงไม่มีความสำคัญมากนัก






    ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 สิงหาคม 2010
  7. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ครูทั้ง ๖ (6 Gurus)
    --------------------------------------------------------------------------------
    ลัทธิครูทั้ง ๖ เป็นลัทธิที่มีมาก่อนยุคพุทธกาลเล็กน้อยและบางท่านร่วมสมัยกับพระพุทธองค์มีประวัติไม่
    ชัดเจนมากนัก หลักฐานที่ได้มาจากพระไตรปิฎิกเป็นหลักโดยทั้ง ๖ ท่านต่างเป็นคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงพอสมควร แต่ที่ดังมากที่สุดจนถึงปัจจุบันคือ นิครนถ์นาฏบุตร หรือมหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชน ซึ่งจะได้กล่าวย่อ ๆ แต่ละลัทธิดังนี้


    2. [​IMG]
    ปราชญ์ขยะ
    เมื่อ ส. 11 ต.ค. 2551 @ 17:32
    #872441 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]



    ๑. ลัทธิปูรณะกัสสปะ (Purana Kassapa)
    ท่านนี้เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งในบรรดาครูทั้ง ๖ ในหนังสือสุมัคลวิลาสินีของพระพุทธโฆษาจารย์ปราชญ์ผู้เรืองนามราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ กล่าว่า ท่านผู้นี้เกิดในตระกูลวรรณะพราหมณ์ โตขึ้นออกบวชแบบลัทธินิยมการนุ่งลมห่มฟ้า หรือเปลือย ในวัยเด็กเป็นคนรับใช้ในตระกูลที่มีคนรับใช้ ๙๙ คน รวมบูรณะอีกคนหนึ่งเป็น ๑๐๐ พอดี แต่มีบางมติแย้งว่า คำว่าปูรณะมาจากการบรรลุโพธิญาณมากกว่า เป็นเรื่องยากที่คนวรรณะพราหมณ์จะลดตัวมาเป็นเด็กรับใช้ ท่านผู้นี้มีคำสอนที่ว่า "วิญญาณนิ่งอยู่เฉยๆ ไม่ทำงานอะไร แต่ร่างกายต่างหากทำงาน วิญญาณจึงไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลบุญและบาปที่ร่างกายทำไว้และกล่าวว่า บุญไม่มี บาปไม่มี ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว ทำเองก็ดีให้ผู้อื่นทำก็ดี ย่อมไม่มีผล สิ่งใดก็ตามที่ได้ทำลงไปแล้วดีก็ตาม ชั่วก็ตามเท่ากับว่าไม่ได้ทำไม่มีบุญหรือบาปเกิดขึ้น ทฤษฎีนี้เรียกว่า อกริยทิฏฐิ คือการกระทำที่ไม่มีผล หรือไม่เชื่อไม่เชื่อในผลของกรรม" ซึ่งค้านกับคำสอนของพระพุทธองค์ที่กล่าวว่า กายกับจิตเป็นสิ่งที่เนื่องถึงกัน แยกกันไม่ได้ ทำกรรมเช่นใดย่อมได้รับผลกรรมเช่นนั้น



    3. [​IMG]
    ปราชญ์ขยะ
    เมื่อ ส. 11 ต.ค. 2551 @ 17:33
    #872443 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]



    ๒. ลัทธิมักขลิโคสาล (Magghalikosala)
    ท่านผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์มักขลิ มารดาชื่อภัททา ณ หมู่บ้านสาลวัน ใกล้เมืองสาวัตถี พระพุทธโฆษาจารย์ กล่าวว่า คำว่าโคสาละ แปลว่าผู้เกิดในคอกวัว สมัยเป็นเด็กเป็นคนรับใช้ วันหนึ่งเดินอุ้มหม้อน้ำมันไปตามถนน ด้วยความประมาทจึงลื่นล้ม เจ้านายจึงกล่าวเตือนว่า มา ขลิ แปลว่า อย่าลื่น จึงได้ชื่อว่ามักขลิ ตั้งแต่นั้นมา แต่ทฤษฎีนี้ก็มีผู้แย้งว่าเป็นไปได้ยากที่ที่คนวรรณะพราหมณ์จะลดตัวเป็นคนใช้ ยิ่งในสมัยก่อนพุทธกาล วรรณะยังเข้มข้นอยู่
    ลัทธินี้มีความเกี่ยวเนื่องกับศาสดา คือปารศวนาถต้นกำเนิดศาสนาเชน และเคยเป็นอาจารย์ของนิครนถ์นาฏบุตรมาก่อน ลัทธินี้มีชีวิตอย่างสกปรก ไม่ยอมรับอาหารที่เขาเจาะจงถวาย ไม่รับอาหารขณะมีสุนัขอยู่ข้าง ๆ หรือแมลงวันตอมอยู่เพราะถือว่าเป็นการแย่งความสุขของผู้อื่นไม่รับประทานปลา เนื้อ ไม่ดื่มสุราและของมึนเมา ไม่สะสมข้าวปลาอาหาร ยามข้าวยากหมากแพง
    ลัทธิมีคำสอนว่า "สัตว์ทั้งหลาย ต้องฟื้นคืนชีพมาอีกไม่สูญหายไปจากโลกนี้และมีภพที่ไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงไม่ว่าภพชั้นต่ำหรือสูง สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย การกระทำไม่มี ผลของการกระทำไม่มีการกระทำที่เป็นเหตุเศร้าหมองไม่มี ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับความ บังเอิญและโชควาสนาและอำนาจของดวงดาว การกระทำทุกอย่างอยู่ภายใต้ชะตากรรม อำนาจของดวงดาวมีอำนาจเหนือสิ่งใดในพิภพ แม้แต่พระเจ้ายังตกอยู่ในอำนาจของโชคชะตา ด้วยคำสอนแบบนี้มักขลิโทศาลจึงจัดเข้าในเจ้าลัทธิอเหตุกทิฏฐิ คือมีความเห็นว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สิ่งทั้งหลายเป็นมาของมันเอง โดยมันเองและเพื่อมันเองไม่มีใครสร้างและปรุงแต่ง"
    แนวคำสอนนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่าไร้ประโยชน์ที่สุดในบรรดาลัทธิทั้งหลาย ลัทธินี้สืบต่อกันมาไม่นานก็ขาดหายไป



    4. [​IMG]
    ปราชญ์ขยะ
    เมื่อ ส. 11 ต.ค. 2551 @ 17:33
    #872445 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]



    ๓. ลัทธิอชิตเกสกัมพล (Ajita kesakambala)
    ลัทธินี้ก่อตั้งโดยท่านอชิตเกสกัมพลเป็นผู้มีชือเสียงก่อนพุทธกาลเล็กน้อย คำว่า เกสกัมพล แปลว่า ผู้มีผ้านุ่งผ้าห่มที่ทำด้วยผม เป็นผ้าที่หยาบและน่าเกลียด มีแนวความคิดที่รุนแรงคัดค้านทุกลัทธิรวมทั้งพุทธศาสนา
    ลัทธินี้สอนว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างขาดสูญ ไม่มีคนไม่มีสัตว์ ไม่มีมารดา บิดา ทำอะไรก็สักว่าแต่ทำเท่านั้นการบูชาบวงสรวงก็ไร้ผล การเคารพนับถือผู้ควรเคารพก็ไร้ผล โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี สัตว์ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด เมื่อตายแล้วก็จบที่ป่าช้า ไม่มีอะไรเกิดอีก บาปบุญคุณโทษไม่มี การทำบุญคือคนโง่ การแสวงหาความสุขจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ความสุขที่ได้มาจาก การปล้นสะดมภ์ ย่องเบา เผาบ้านสังหารชีวิตก็ควรทำ"
    ลัทธินี้ หนักไปในทางวัตถุนิยมยิ่งกว่าลัทธิใด เป็นลักษณะอุจเฉททิฏฐิ ที่เชื่อว่า ตายแล้วขาดสูญ



    5. [​IMG]
    ปราชญ์ขยะ
    เมื่อ ส. 11 ต.ค. 2551 @ 17:33
    #872446 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]



    ๔. ลัทธิปกุธกัจจายนะ (Pakudha Kacchayana)
    ลัทธินี้ก่อตั้งโดยปกุธกัจจายนะ หนึ่งในคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง เล่ากันว่าเกิดในตระกูลพราหมณ์ สมัยเด็กมีความสนใจทางศาสนาเป็นอย่างยิ่ง โตขึ้นจึงออกบวชแสวงหาโมกขธรรม จนบรรลุธรรมที่มุ่งหวัง แล้วสั่งสอนจนกลายเป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียง
    ลัทธินี้สอนว่า "สภาวะที่แยก หรือทำให้แปรเปลี่ยนไปไม่ได้อีก มี ๗ อย่างคือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สุข ทุกข์ วิญญาณ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการกระทำหรือใครเนรมิตร เป็นสภาพที่ยั่งยืนั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่อาจให้สุข ทุกข์ ผู้ฆ่า ผู้ถูกฆ่า บาปกรรมจากการฆ่าจึงไม่มี เป็นแต่เพียงสภาวะที่แทรกเข้าไปวัตถุทั้ง ๗ เท่านั้น" ความเห็นของปกุธกัจจายนะจึงจัดเป็นสัสสตทิฏฐิ คือเห็นว่าโลกเที่ยง ซึ่งเป็นแนวคำสอนที่ตรงกันข้ามกับพุทธศาสนา



    6. [​IMG]
    ปราชญ์ขยะ
    เมื่อ ส. 11 ต.ค. 2551 @ 17:34
    #872448 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]



    ๕. สัญชัยเวลัฏฐบุตร (Sanjaya Velatthaputra)
    ท่านสัญชัย เป็นคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระอัครสาวกคือ พระโมคคัลลานะและพระสารีบุต รก็เคยอยู่กับท่าน เป็นเจ้าลัทธิของพวกปริพพาชก ตั้งสำนักเผยแพร่ที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ชาวมคธเป็นจำนวนมากต่างนับถือในเจ้าลัทธินี้
    แต่เมื่อพระอัครสาวกทั้งสองผละหนีไปพร้อมลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก จึงกระอักเลือดจนถึงมรณกรรม ท่านสัญชัยมีแนวคำสอนกลับกลอก เอาแน่นอนไม่ได้ ไม่สามารถบัญญัติอะไรตายตัวอะไรออกไปได้ เพราะกลัวผิดบ้าง ไม่รู้บ้าง โดยคำสอนว่า "ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี จะว่าไม่มีก็ไม่ใช่ มีก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ทั้งสองอย่าง โลกนี้โลกหน้าไม่มีจะว่าไม่มีก็ไม่ใช่ จะว่ามีก็ไม่ใช่ ไม่มีทั้งสองอย่าง วิญญาณไม่มี จะว่าไม่มีก็ไม่ใช่ มีก็ไม่ใช่ ไม่ใช้ทั้งสองอย่าง"
    ทฤษฎีของท่านสัญชัยจึงฟังยากจะเอาแน่ เอานอนไม่ได้ พูดซัดส่ายเหมือนปลาไหล ในกรตังคสูตร จึงกล่าวประณามว่า เป็นลัทธิคนตาบอด ไม่สามารถนำตนและผู้อื่นให้เข้าถึงความจริงได้ มีปัญญาทราม โง่เขลาไม่กล้าตัดสินใจใด ๆ ได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากไม่รู้จริงอย่างถ่องแท้



    7. [​IMG]
    ปราชญ์ขยะ
    เมื่อ ส. 11 ต.ค. 2551 @ 17:35
    #872450 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]



    ๖. นิครนถ์นาฏบุตรหรือศาสดามหาวีระ (Mahavira)
    รูปปั้นศาสดามหาวีระ เบลโกล่า อินเดียภาคใต้
    ก่อนพุทธกาลราว ๔๓ ปี นิครนถ์นาฏบุตร หรือมหาวีระ (Mahavira) ก็ได้ก่อตั้งลัทธิศาสนาหนึ่งขึ้น ซึ่ง ปัจจุบันเรียกว่า ศาสนาเชน ท่านนิครนถ์นาฏบุตร นับเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในบรรดาครูทั้ง ๖ ตำนานกล่าวว่าเกิดที่กุณฑคาม เมืองไวสาลี แคว้นวัชชีของพวกเจ้าลิจฉวี บิดานามว่าสิทธัตถะหรือสิทธารถะ เป็นกษัตริย์ลิจฉวีพระองค์หนึ่ง มารดาชื่อว่าตฤศลา เนื่องจากเป็นคนกล้าหาญ จึงได้ชื่อว่า มหาวีระ แปลว่า มีความแกล้วกล้าอาจหาญ
    ครั้งออกบวชแสวงหาโมกขธรรม ๑๒ ปี จึงบรรลุโมกษะ เมื่อได้บรรลุแล้วจึงได้นามใหม่ว่า ชินะ อันหมายถึงผู้ชนะแล้ว ท่านเป็นศิษย์ท่านปาร์ศวา (Parsva) ซึ่งถือว่าเป็นศาสดาองค์ที่ ๒๓ ผู้มีอายุห่างจากท่านมหาวีระเพียง ๒๕๐ ปีเท่านั้น คำว่า ศาสดาในศาสนาเชนเรียกว่า ตัรถังกร แปลว่า ผู้ถึงท่าคือนิพพาน
    โดยมหาวีระเป็นองค์ที่ ๒๔ ได้สั่งสอน อยู่ ๓๐ ปี จึงนิพพานหรือ นิรวาน (Nirvan) ก่อนพระบรมศาสดา อย่างไรก็ตาม มีสาวกของมหาวีระหรือนิครนถ์นาฏบุตรเป็นจำนวนมากที่เปลี่ยนกลับมาเป็นพุทธสาวก
    เชนนับเป็นศาสนาที่ถือหลักการไม่เบียดเบียน หรืออหิงสาอย่างเอกอุ และที่มีแนวคิดใกล้คียงกันกับพุทธศาสนา แม้แต่การสร้างพระพุทธรูป ถ้าดูอย่างผิวเผินก็ไม่เห็นความแตกต่างจากพระพุทธรูปเท่าใด ยกเว้นจะเปลือยกายและมีดอกจันทน์ที่หน้าอกเท่านั้น
    ปัจจุบันมีเชนศาสนิกชนประมาณ ๖ ล้านคน ทั่วอินเดีย โดยมากมีฐานะดี เพราะเป็นพ่อค้าเสียส่วนใหญ่ จุดประสงค์ของลัทธินี้ก็เพื่อจะหลุดพ้นจากสังสารวัฏ โดยเรียกว่าโมกษะ คือต้องสำเร็จเกวลัชญาณก่อน โดยสอนว่า "การที่จะนำไปสู่โมกษะได้นั้นคือแก้ว ๓ ดวงคือมีความเห็นชอบ มีความรู้ชอบ มีความประพฤติชอบ เท่านั้น พระเจ้าเป็นเรื่องเหลวไหล พระเจ้าไม่สามารถบันดาลทุกข์สุขให้ใครได้ ทุกข์สุขเป็นผลที่สืบเนืองมาจากกรรม การอ้อนวอนก็เป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ไม่มีสาระ"
    ลัทธินี้ถือว่าการบำเพ็ญตนให้ลำบากคืออัตตกิลมถานุโยค ถือเป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรมที่เรียกว่า โมกษะ ผู้ที่ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดทางกาย วาจา ใจ
    กล่าวกันว่า ท่านมหาวีระบำเพ็ญขันติธรรมนานจนไม่ขยับเขยื้อนไปไหน จนเถาวัลย์ขึ้นพันรอบกายท่าน
    นอกจากนี้นักบวชเชนยังต้องรักษาศีล ๕ ข้อย่างเคร่งครัด คือ
    ๑. เว้นจาการฆ่าสิ่งที่มีชีวิตรวมทั้งพืชด้วย
    ๒.เว้นจาการพูดเท็จ
    ๓. เว้นจาการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
    ๔. เว้นจาการประพฤติผิดในกาม
    ๕. ไม่ยินดีในกามวัตถุ
    และศาสนิกชนเชนต้องรักษาศีล ๑๒ ข้ออย่างเคร่งครัดเช่นกัน คือ
    ๑. เว้นจากการทำลายสิ่งที่มีชีวิต
    ๒. เว้นจาการประพฤติผิดในกาม
    ๓. เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ไห้
    ๔. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
    ๕. มีความพอใจในความปรารถนาคือพอใจในสิ่งที่ตนมี
    ๖. เว้นจากอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความชั่ว เช่นการเที่ยวเตร่
    ๗. รู้จักประมาณในการใช้สอยเครื่องอุปโภคบริโภค
    ๘. เว้นจากการทางที่ก่อให้เกิดอาชญาให้ร้าย
    ๙. ไม่ออกพ้นเขตไม่ว่าทิศใดทิศหนึ่งยามบำเพ็ญพรต
    ๑๐. บำเพ็ญพรตทุกเทศกาล
    ๑๑. อยู่จำอุโบสถศีล
    ๑๒. ให้ทานแก่พระและต้อนรับแขกผู้มาเยือน
    ต่อมาหลังพุทธปรินิพพาน ๒๔๐ ปีก็แตกออกเป็น ๒ นิกายคือ
    ๑. นิกายทิฆัมพร ยังถือเคร่งครัดเหมือนเดิม โดยไม่นุ่งผ้า เปลือยกายเหมือนเดิม
    ๒. นิกายเสวตัมพร นุ่งขาวห่มขาว ไว้ผมยาว แต่งตัวสะอาดสะอ้าน และคบหากับผู้คนมากกว่านิกายเดิม ที่เน้นการปลีกตัวอยู่ต่างหาก

    ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ
     
  8. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาอเทวนิยม และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ พระพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเองด้วยผลแห่งการกระทำของตน มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกาย<SUP id=cite_ref-.E0.B8.84.E0.B8.B2.E0.B8.96.E0.B8.B2.E0.B8.98.E0.B8.A3.E0.B8.A3.E0.B8.A1.E0.B8.9A.E0.B8.97_.E0.B8.AD.E0.B8.B1.E0.B8.95.E0.B8.95.E0.B8.A7.E0.B8.A3.E0.B8.A3.E0.B8.84.E0.B8.97.E0.B8.B5.E0.B9.88_.E0.B9.91.E0.B9.92_0-0 class=reference>[1]</SUP> คือ ให้พึ่งตนเอง<SUP id=cite_ref-1 class=reference>[2]</SUP> เพื่อพาตัวเองออกจากกองทุกข์<SUP id=cite_ref-2 class=reference>[3]</SUP> มีจุดมุ่งหมายคือการสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในโลกด้วยวิธีการสร้าง "ปัญญา" ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริง วัตถุประสงค์สูงสุดของศาสนา คือ การหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง เช่นเดียวกับที่พระศาสดาทรงหลุดพ้นได้ด้วยกำลังสติปัญญาและความเพียรของพระองค์เอง ในฐานะที่พระองค์ก็ทรงเป็นมนุษย์ มิใช่เทพเจ้าหรือทูตของพระเจ้าองค์ใด<SUP id=cite_ref-3 class=reference>[4]</SUP>
    พระศาสดาของพระพุทธศาสนา คือ พระโคตมพุทธเจ้า หรือพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงเริ่มออกเผยแผ่คำสอนในชมพูทวีป ตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่หลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงสั่งสอน ได้ถูกรวบรวมเป็นหมวดหมู่ด้วยการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก<SUP id=cite_ref-4 class=reference>[5]</SUP> จนมีการรวบรวมขึ้นเป็นพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดของ นิกายเถรวาท ที่ยึดหลักไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แต่ในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สอง ได้เกิดแนวคิดที่เห็นต่างออกไป<SUP id=cite_ref-5 class=reference>[6]</SUP> ว่าธรรมวินัยสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาและสถานการณ์เพื่อความอยู่รอดของพุทธศาสนา<SUP id=cite_ref-6 class=reference>[7]</SUP> แนวคิดดังกล่าวจึงได้เริ่มก่อตัวและแตกสายออกเป็นนิกายใหม่ในชื่อของ นิกายมหายาน ทั้งสองนิกายได้แตกนิกายย่อยไปอีกและเผยแพร่ออกไปทั่วดินแดนเอเชียและใกล้เคียง
     
  9. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    หลักธรรมสำคัญของพุทธศาสนา
    พระพุทธศาสนาสอนว่า การเกิด แก่ เจ็บ และตาย ล้วนเป็นทุกข์ ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า และเชื่อว่าโลกนี้เกิดขึ้นจากกฎแห่งธรรมชาติ 5 ประการ อันมี กฎแห่งสภาวะ (อุตุนิยาม) มีธาตุทั้ง 5 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ ที่เปลี่ยนสถานะเป็นธาตุต่าง ๆ กลับไปกลับมา กฎแห่งชีวิต (พีชนิยาม) คือกฎสมตา(ปรับสมดุล) กฎวัฏฏตา(หมุนวนเวียน)และกฎชีวิตา(มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน) ที่ทำให้เกิดชีวิตินทรีย์ รวมทั้งกฎแห่งวิญญาน (จิตนิยาม) คือนามธาตุที่กลายเป็น ธรรมธาตุ7 ที่เป็นไปตาม กฎแห่งเหตุผล (กรรมนิยาม) และ กฎไตรลักษณ์ (ธรรมนิยาม) กฎไตรลักษณ์เป็นสิ่งที่ทำให้มีการสร้าง ดำรงรักษาอยู่ และทำลายไปของทุกสรรพสิ่ง เมื่อย่อกฎทั้ง 3 แล้ว จะเหลือเพียง ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป<SUP id=cite_ref-19 class=reference>[20]</SUP>
    อริยสัจ<DL><DD>ดูบทความหลักที่ อริยสัจ ๔
    </DD></DL>อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ ๔ เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    ทุกข์ ในทางพระพุทธศาสนาคือ ไตรลักษณ์ เป็นลักษณะสภาพพื้นฐานธรรมชาติอย่างหนึ่ง จากทั้งหมด 3 ลักษณะ ที่พุทธศาสนาได้สอนให้เข้าใจถึงเหตุลักษณะแห่งสรรพสิ่งที่เป็นไปภายใต้กฎไตรลักษณ์ อันได้แก่
    1. อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้)
    2. ทุกขัง (ความทนอยู่อย่างเดิมได้ยาก)
    3. อนัตตา (ความไม่มีแก่นสาระ)

    [​IMG] [​IMG]
    รูปภวจักร หรือสังสารจักรของทิเบต แสดงถึงอวิชชา ได้แก่ผลของการขาดปัญญาในการรู้ทันเหตุเกิดแห่งทุกข์ (สมุทัย) ทำให้ต้องจมเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกองทุกข์ทั้งปวงไม่จบสิ้น


    เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท (หลักศรัทธาของพุทธศาสนา) พุทธศาสนา สอนว่า ความทุกข์ ไม่ได้เกิดจากสิ่งใดดลบันดาล หากเกิดแต่เหตุและปัจจัยต่างๆ มาประชุมพร้อมกัน โดยมีรากเหง้ามาจากความไม่รู้หรือ อวิชชา ทำให้กระบวนการต่างๆ ไม่ขาดตอน เพราะนามธาตุที่เป็นไปตามกฎนิยาม ตามกระบวนการที่เรียกว่ามหาปัฏฐาน ทำให้เกิดสังขารเจตสิกกฎเกณฑ์การปรุงแต่งซึ่งเป็นข้อมูลอันเป็นดุจพันธุ์กรรมของจิต วิวัฒนาการเป็นธรรมธาตุอันเป็นระบบการทำงานของนามขันธ์ที่ประกอบกันเป็นจิต( อันเป็นสภาวะที่รับรู้และเป็นไปตามเจตสิกของนามธาตุ) และเป็นวิญญาณขันธ์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นธาตุแสง (รังสิโยธาตุ) อันเกิดจากการทำงานของนามธาตุอย่างเป็นระบบ จนสามารถประสานหรือกำหนดกฎเกณฑ์รูปขันธ์ ของชีวิตินทรีย์(เช่นไวรัส แบคทีเรีย ต้นไม้ เซลล์ ที่มีชีวิตขึ้นมาเพราะกฎพีชนิยาม) ทำให้เหตุผลของรูปขันธ์เป็นไปตามเหตุผลของนามขันธ์ด้วย (จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว) ทำให้รูปขันธ์ที่เป็นชีวิตินทรีย์พัฒนามีร่างกายที่สลับซับซ้อนมีระบบการทำงานจนเกิดมีปสาทรูป 5 รวมการรับรู้ทางมโนทวารอีก 1 เป็นอายตนะทั้ง 6 และเกิดเป็นปัจจยาการ9 คือ
    1. เมื่ออายตนะกระทบกับสรรพสิ่งที่มากระทบจนเกิดผัสสะ
    2. จนเกิดเวทนา คือ ความสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง
    3. เมื่อได้สุขมาเสพก็ติดใจ
    4. อยากเสพอีก ทำให้เกิดความทะยานอยาก (ตัณหา)
    5. จึงเกิดการแสวงหาความสุขมาเสพ
    6. จนเกิดการสะสม
    7. นำมาซึ่งความตระหนี่
    8. หวงแหน
    9. จนในที่สุดก็ออกมา ปกป้องแย่งชิงจนเกิดการสร้างกรรม และยึดว่าสิ่งนั้นๆเป็นตัวกู (อหังการ) ของกู (มมังการ)
    ทำให้มีอุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น)และจิตเมื่อประสบทุกข์ ก็สร้างสัญญาอันเป็นภูมิคุ้มกันทางจิตขึ้นมาเพื่อให้พ้นทุกข์(สมตา) เพราะมีสัญญาการสมมุติว่าเป็นสิ่งนั้นเป็นสิ่งนี้จึงมี เช่น คนตาบอดแต่เกิด เมื่อมองเห็นภาพตอนโตย่อมต้องอาศัยสมมุติว่าภาพที่เห็นเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่เกิดการสำคัญผิดในมายาการของสัญญาเพราะจิตมีอวิชชา จึงมีความคิดเห็นเปรียบเทียบแบ่งสรรพสิ่งออกเป็นคู่ว่าแป็นโลกและบัญญัติว่าตนเองเป็นนั้นเป็นนี้ จึงเกิดจิตใต้สำนึก(ภพ)และสร้างกรรมขึ้นมา เพราะจิตต้องการพ้นทุกข์พบสุข ตามสติปัญญาที่มีของตน นั่นเอง
    สู่การเวียนว่ายตายเกิดของจิตวิญญาณทั้งหลายนับชาติไม่ถ้วน ผ่านไประหว่าง ภพภูมิทั้ง 31 ภูมิ (มิติต่างๆ ตั้งแต่เลวร้ายที่สุด(นรก)ไปจนถึงสุขสบายที่สุด(สวรรค์)) ในโลกธาตุที่เหมาะสมในเวลานั้นที่สมควรแก่กรรม นี้เรียกว่า สังสารวัฏ
    สำหรับการเวียนว่ายของจิตวิญญาณมีเหตุมาจาก "อวิชชา" คือความที่จิตไม่รู้ถึงความเป็นจริง ไปหลงผิดในสิ่งสมมุติต่างๆซึ่งเป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งหลาย เมื่อจิตยังมีอวิชชาสัตว์โลกย่อมเวียนว่ายตายเกิด และประสบพบเจอพระไตรลักษณ์อันเป็นเหตุให้ประสพทุกข์มีความแก่และความตาย เป็นต้น ไม่สิ้นสุด จนกว่าจะทำลายที่ต้นเหตุคืออวิชชาลงได้
    [​IMG] [​IMG]
    พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งอิสระเสรีภาพ ด้วยการสร้าง "ปัญญา" ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทัน เพื่อบรรลุ วัตถุประสงค์ อันสูงสุดคือ นิพพาน คือการไม่มีความทุกข์ อย่างที่สุด หรือ การอยู่ในโลกอย่างไม่มีทุกข์ คือกล่าวว่า ทุกข์ทั้งปวงล้วนเกิดจากการยึดถือ ต่อเมื่อ "หมดการยึดถือ" จึงไม่มีอะไรจะให้ทุกข์ (แก้ที่ต้นเหตุของทุกข์ทั้งหมด)


    ความดับทุกข์ (นิโรธ) คือ นิพพาน ( เป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา ) อันเป็น แก่นของพระพุทธศาสนา เป็นความสุขสูงสุด หรือเรียกอีกอย่างว่า
    เนื่องจากธรรมดาของสัตว์โลกมีปกติทำความชั่วมากโดยบริสุทธิ์ใจในความเห็นแก่ตัว ทำดีน้อยซึ่งไม่บริสุทธิ์ใจ ซ้ำหวังผลตอบแทน จึงมีปกติรับทุกข์มากกว่าสุข ดังนั้น ถ้าเป็นผู้มีปัญญาหรือเป็นพ่อค้าที่ฉลาดยอมรู้ว่าขาดทุนมากกว่าได้กำไร และ สุขที่ได้เป็นเพียงมายา ย่อมปรารถนาในพระนิพพาน เมื่อ ขันธ์5 แตกสลาย เจตสิกที่ประกอบกันให้เกิดเป็นจิตนั้นก็แตกสลายตามเช่นเดียวกัน เพราะไม่มีเหตุปัจจัยจะประกอบกันให้เกิดเป็นจิตนั้น กรรมย่อมไม่อาจให้ผลได้อีก (อโหสิกรรม) เหลือเพียงแต่พระคุณความดีเมื่อมีผู้บูชาย่อมส่งผลกรรมดีให้แก่ผู้บูชาเหมือนคนตีกลอง กลองไม่รับรู้เสียง แต่ผู้ตีได้รับอานิสงส์เสียงจากกลอง
    วิถีทางดับทุกข์ (มรรค) คือ มัชฌิมาปฏิปทา (หลักการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนา) ทางออกไปจากสังสารวัฏมีทางเดียว โดยยึดหลักทางสายกลาง อันเป็นอริยมรรค คือ การฝึกสติ (การทำหน้าที่ของจิตคือตัวรู้ให้สมบูรณ์) เป็นวิธีฝึกฝนจิตเพื่อให้ถึงซึ่งความดับทุกข์หรือมหาสติปัฏฐาน โดยการปฏิบัติหน้าที่ทุกชนิดอย่างมีสติด้วยจิตว่างตามครรลองแห่งธรรมชาติ มีสติอยู่กับตัวเองในเวลาปัจจุบัน สิ่งที่กำลังกระทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญกว่าทุกสรรพสิ่ง ทำสติอย่างมีศิลปะคือรู้ว่าเวลาและสถานการณ์เช่นนี้ ควรทำสติกำหนดรู้กิจใดเช่นไรจึงเหมาะสม จนบรรลุญานตลอดจน มรรคผล เมื่อจำแนกตามลำดับขั้นตอนของการบำเพ็ญเพียรฝึกฝนทางจิต คือ
    1. ศีล (ฝึกกายและวาจาให้ละเว้นจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมถึงการควบคุมจิตใจไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจฝ่ายต่ำด้วยการเลี้ยงชีวิตอย่างพอเพียง)
    2. สมาธิ (ฝึกความตั้งใจมั่นจนเกิดความสงบ (สมถะ) และทำสติให้รับรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง) (วิปัสสนา) ด้วยความพยายาม
    3. ปัญญา (ให้จิตพิจารณาธรรมชาติจนรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา) และตื่นจากมายาที่หลอกลวงจิตเดิมแท้ (ฐิติภูตัง))
    <H3>[แก้] ปฏิจสมุปบาท


    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ ปฏิจสมุปบาท
    </DD></DL>[แก้] ไตรลักษณ์

    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ ไตรลักษณ์
    </DD></DL>[แก้] อิทัปปัจจยตา

    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ อิทัปปัจจยตา
    </DD></DL>[แก้] เป็นเช่นนั้นเอง

    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ ตถตา
    </DD></DL>[แก้] ความว่าง

    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ สุญญตา
    </DD></DL>[แก้] ความหลุดพ้น

    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ นิพพาน
    </DD></DL>[แก้] หลักปฏิบัติ

    พระพุทธศาสนามุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติ อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวงคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง รวมทั้งเน้นการศึกษาทำความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง เห็นเหตุผลว่าสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี จนเห็นตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งในธรรมชาติเป็นไปตามกฎพระไตรลักษณ์ และสัตว์โลกที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม แล้วเลือกใช้หลักธรรมในพุทธศาสนาที่เหมาะกับผลที่จะได้สิ่งที่ปรารถนาอย่างถูกต้อง ด้วยความไม่ประมาทในชีวิตให้มีความสุขในทั้งชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไป ตลอดจนปรารถนาในพระนิพพานของผู้มีปัญญา
    </H3>
     
  10. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,682
    ค่าพลัง:
    +51,931
    *** เรื่องสัจจะธรรม ****

    ถ้า สิ่งที่ทำไปแล้ว มันสูญสลาย...ก็จะไม่มีกรรม
    แต่โลกนี้ มีกรรม....เพราะ ตัวกระทำไม่ตาย
    สังขารมันตาย...แต่ตัวกระทำไม่ตาย
    ติดตัวเราไปตลอด....เหมือนเงาตามตัว

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  11. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ตัวกระทำไม่ตายก็ช่างหัวมัน
    เหมือนแผ่นดีวีดีที่บันทึกไว้
    ไม่มีเครื่องเล่น ภาพก็ไม่ปรากฎ
    เอาเครื่องเล่นมาพิจารณาแยกส่วนดู
    อะไรเรียกว่าเครื่องเล่น
    หัวอ่านหรือ มอเตอร์หรือ เคสหรือ
    พอแยกมันออกมาเป็นชิ้นๆ
    เครื่องเล่นมีอยู่จริงเสียที่ไหน
    พอรู้ว่าเครื่องไม่มีอยู่จริง เพราะโดนรื้อออกดูด้วยปัญญาแล้ว
    แผ่นดีวีดีจะมีความหมายอะไร
     
  12. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,682
    ค่าพลัง:
    +51,931
    *** การกระทำเป็นสิ่งยิ่งใหญ่ ****

    ตัวเราเอง เป็นทั้งเครื่องบันทึก เป็นทั้งเครื่องเล่น
    ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ตัวกระทำจะปรากฏสว่างเป็นภาพการกระทำของตนเองขึ้นมา
    เป็นภาพการกระทำที่ได้ทำไปแล้วทั้งหมด ตั้งแต่ต้น
    เราจึงควรพิจารณา ค้นคว้าหาตัวกระทำของตนเอง

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2010
  13. itchy&scratchy

    itchy&scratchy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +712
    ขอบคุณ คุณอัคนิวาต ครับ
    ชอบในหัวข้อธรรมที่ท่านนำมาเสนอมาก
    ได้พิจารณาแล้ว พบว่า คำสอนในลัทธิทั้ง 6 นั้น อ่านแล้วตกใจมาก
    หลายข้อตรงกับที่ตัวเองคิดหรือรู้สึก โดยหารู้ไม่ว่านั่นเป็นมิจฉาทิฎฐิ
    จนกระทั่งได้พิจารณาอย่างละเอียด จึงค่อยตระหนักได้ว่า

    ชอบด้วยเหตุ ผิดด้วยมรรค ย่อมผิดด้วยผล
    ชอบด้วยเหตุ ชอบด้วยมรรค แต่กำหนดผลที่ผิดย่อมพลาดจากผลนั้นเป็นธรรมดา

    ธรรมที่พระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวไว้ ดีแล้ว ชอบแล้ว

    ย่อมชอบด้วยเหตุ คือ พระองค์ทรงเป็นกัมมวาที เป็นผู้เห็นภัยในวัฎสงสาร เป็นผู้เห็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

    ชอบด้วยมรรค คือ มรรคมีองค์ 8, พละ 5, โพชฌงค์ 7, อิทธิบาท 4, ญาณ 16

    ย่อมชอบด้วยผล คือ นิพพานเท่านั้น

    อนุโมทนา ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...