@เปลือกไม้@สายกรรมฐานสรุปรายการหน้า93 มาใหม่เหรียญหลวงพ่อจาดปี89สวยๆหน้าท้ายครับ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย เปลือกไม้, 4 กันยายน 2010.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    พระพุทธชินราชวัดป่ากู่ทอง รุ่น 1 พิมพ์เล็ก

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    พระพุทธชินราชวัดป่ากู่ทอง รุ่น 1 หลวงตามหาบัวอธิฐานจิต
    พิมพ์เล็กเนื้อทองแดงรมดำครับ
    ขนาดฐานกว้าง 1.4 ซ.ม.สูง 2.2 ซ.ม. สภาพสวยมากครับ
    บูชา 890 บาทครับ
    พระพุทธชินราชวัดป่ากู่ทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม ปี 2541 รุ่นแรก สุดยอดอีกรุ่นหนึ่งเลยครับ มูลเหตุในการจัดสร้างพระพุทธชินราชรุ่นนี้ คือ โดยที่พระครูวิเวกวัฒนาทร(ลป.บุญเพ็ง กัปปโก) เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรม อ.เมือง จ.ขอนแก่น ได้รับเป็นองค์อุถัมถ์ในการก่อสร้างพระอุโบสถวัดป่ากู่ทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม ในการนี้ ลป.บุญเพ็ง ได้จัดสร้างพระพุทธชินราชจำลอง เพื่อเป็นพระประธาน พร้อมกับสร้างรูปเหมือนพระบูรพาจารย์ ได้แก่ ลป.เสาร์ , ลป.มั่น , ลป.สิงห์ , ลป.ตื้อ , ลป.สิม , ลป.หลุย , ลป.เทศก์ โดยพิธีเททองมี พระราชวิสุทธิญาณโสภณ(ลต.มหาบัว ญาณสัมปันโน) ได้เมตตามาเป็นประธาน และแผ่อธิฐานจิตในพิธีดังกล่าว โดยโลหะที่เหลือจากการหล่อพระพูทธชินราชจำลอง ทาง ลป.บุญเพ็ง ได้นำมาจัดสร้าง พระพุทธชินราชขนาดห้อยคอขึ้น โดยจัดให้มี พิธีพุทธาพิเษก ระหว่างวันที่ 9-10 พฤษภาคม 2541
    โดยมีครูบาอาจารย์เมตตามาร่วมพิธีพุทธาภิเษก ประกอบด้วย
    1.พระราชสังวรอุดม (ลป.ศรี มหาวีโร)
    2.พระราชสังวรญาณ (ลพ.พุธ ฐานิโย)
    3.พระราชธรรมสุธี (ลต.พวง สุขินทริโย)
    4.พระญาณทีปาจารย์ (ลป.ท่อน ญาณธโร)
    5.ลป.หลวง กตปุณโญ วัดป่าสำราญนิวาศ
    6.พระราชญาณเวที วัดประชานิยม จ.กาฬสินธุ์
    7.พระครูวิสุทธิธรรมสุนทร(ลพ.บุญเกิด) วัดป่าศรีคุณาราม จ.อุดร
    8.พระครูอุดมชัย(อ.ศรี) วัดป่าโนนทองอินทร์ จ.อุดร
    9.พระครูภาวนาวิโรจน จ.ปราจีนบุรี
    10.ลป.บูญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม
    รวมทั้งสิ้น 10 องค์ จึงเป็นพระเครื่องวัตถุมงคลที่ดีทั้งนอกและใน น่าสะสมมากทีเดียว ซึ่งราคาการเล่นหาก็ยังไม่สูงมาก เป็นของดีราคาถูกครับ ห้อยไว้ไม่หนักคอเปล่าๆแน่ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT1963.jpg
      PICT1963.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.7 KB
      เปิดดู:
      1,086
    • PICT1964.jpg
      PICT1964.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.6 KB
      เปิดดู:
      1,098
    • PICT1965.jpg
      PICT1965.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26.8 KB
      เปิดดู:
      996
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2010
  2. jimmyuro

    jimmyuro เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,500
    ค่าพลัง:
    +6,014
    ขอจององค์นี้ด้วยนะครับ
     
  3. KRITA

    KRITA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2007
    โพสต์:
    2,060
    ค่าพลัง:
    +7,264
    จอง พระพุทธชินราชวัดป่ากู่ทอง รุ่น 2 พิมพ์ใหญ่ (1)
     
  4. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    รับทราบการจองครับ ขอบคณครับ
     
  5. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    รับทราบการจองครับ ขอบคุณครับ
     
  6. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    พระกริ่งพระครูยาศักดิ์สิทธิ์ "เนื้อนวะโลหะ"
    หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระกริ่งพระครูยาศักดิ์สิทธิ์(พระไภสัชยาคุรุพุทธเจ้า)
    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกครบรอบ ๔๕ ปี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    จัดพิธีพุทธาภิเษกโดย พระวิปัสนาจารย์ชื่อดัง หลวงพ่อประสิทธิ บุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ (พระผู้มีกระดูกใสดั่งแก้ว)
    จัดสร้าง ๒ เนื้อ ดังนี้
    - เนื้อเงิน จัดสร้าง ๔๕ องค์ (มีโค๊ดและหมายเลขกำกับทุกองค์)
    - เนื้อนวะโลหะ จัดสร้าง 999 องค์ (มีโค๊ดและหมายเลขกำกับทุกองค์)

    องค์นี้เป็นเนื้อนวโลหะ หมายเลขสวย 393
    สภาพสวยหล่อเต็ม สมบูรณ์ครับ
    องค์พระมีขนาดฐานกว้าง 2.5 ซ.ม. สูง 3.5 ซ.ม.
    ปัจจุบันหายากครับ
    บูชา 1,250 บาทครับ
    ปิดรายการนี้ครับ



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT1967.jpg
      PICT1967.jpg
      ขนาดไฟล์:
      73 KB
      เปิดดู:
      1,030
    • PICT1968.jpg
      PICT1968.jpg
      ขนาดไฟล์:
      82.3 KB
      เปิดดู:
      41
    • PICT1969.jpg
      PICT1969.jpg
      ขนาดไฟล์:
      70.6 KB
      เปิดดู:
      1,010
    • PICT1970.jpg
      PICT1970.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.3 KB
      เปิดดู:
      47
    • PICT1971.jpg
      PICT1971.jpg
      ขนาดไฟล์:
      35.5 KB
      เปิดดู:
      990
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2010
  7. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    พระปิดตาจัมโบ้ 2 รุ่นแรก อ.เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก
    เนื้อเกสรผสมเกศา ฝังตะกรุตเงิน ปี 41

    [​IMG]

    [​IMG]

    ยุคปัจจุบัน ชื่อ พระอาจารย์เปลี่ยน ไม่มีใครไม่รู้จัก ท่านเป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบในสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระเครื่องวัตถุมงคล ของพระสายกรรมฐาน พลังจิตที่อธิฐานวัดถุมงคล เป็นสุดยอดวัดถุมงคลเพราะ พระคณาจารย์สายนี้ ฝึกกรรมฐาน พลังจิตโดยเฉพาะ ด้านพุทธคุณ ถือว่าสมบูรณ์ เพราะได้พลังจิตจากพระคณาจารย์สายปฏิบัติล้วนๆ บวกกับมวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่รวบรวมมานาน เพื่อสร้างพระปิดตารุ่นนี้โดยเฉพาะ มวลสารประกอบไปด้วย ผงเกสร ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงพุทธคุณ ผงกรรมฐานพระเกจิสายพระอาจารย์มั่น ผงศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ และ เกศาพระอาจารย์เปลี่ยน
    องค์พระขนาดพอๆ กับ จัมโบ้ 2 ของหลวงปู่โต๊ะ สภาพสวย ฝังตะกรุตเงิน 1 ดอก ด้านหลัง ตอกโค๊ด และหมายเลข กันปลอมแปลง พระอาจารย์เปลี่ยนเคยบอกกับศิษย์ท่านหนึ่งว่า " ต่อไปจะหายากกว่าของหลวงปู่โต๊ะ ซะอีก "


    บูชา 490 บาทครับ
    ปิดรายการนี้ครับ

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2010
  8. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่บุญมี สิริธโร จ.อุดรธานี

    [​IMG]

    [​IMG]

    หลวงปู่มหาบุญมีท่านเป็นบุตรของกองทัพธรรม พระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น สานุศิษย์คาดว่าหลวงปู่บุญมี ไม่ได้พบหรือได้ฟังธรรมจากพระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต โดยตรง…หลวงปู่ท่านอยู่จำพรรษาในยุคห้วยทรายคำชะอี ที่มีท่านหลวงตามหาบัวเป็นผู้นำ หลวงปู่มหาบุญมีท่านเป็นผู้ที่เยือกเย็น เบิกบาน เมตตาหาที่ประมาณมิได้ สันโดษ เรียบง่าย และเป็นแบบอย่างแห่งมรรควิธี ไปสู่ความหลุดพ้น...ปัจจุบันอัฐิธาตุท่านแปรสภาพเป็นพระธาตุวรรณะใสน้ำนม (น้อมบูชาคุณพ่อแม่ครูอาจารย์)
    [​IMG]


    ภาพ พระธาตุของท่านนับร้อยนับพันที่พิพิธภัณฑ์ของท่าน

    เหรียญหลวงปู่พระมหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง จ.มหาสารคาม ปี 2536…เหรียญฉลองอุโบสถ ออกที่วัดป่าภูทอง จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นวัดที่ท่านจำพรรษาช่วงปี 2520-2530 สภาพสวยเดิม
    บูชา 390 บาทครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT1907.jpg
      PICT1907.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.8 KB
      เปิดดู:
      1,158
    • PICT1908.jpg
      PICT1908.jpg
      ขนาดไฟล์:
      57.9 KB
      เปิดดู:
      941
    • DSC03174.jpg
      DSC03174.jpg
      ขนาดไฟล์:
      41.3 KB
      เปิดดู:
      1,324
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2010
  9. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่สุภาพ ธัมมปัญโญ
    วัดทุ่งสว่าง อ.สว่างแดนดิน สกลนคร

    [​IMG]

    [​IMG]

    สุดยอดพระสายกรรมฐานศิษย์พระอาจารย์มั่น ท่านเป็นพระอาจารย์ผู้สอนกรรมฐานให้กับหลวงปู่เนย หลวงปู่ผ่าน เป็นพระสงฆ์ที่เก็บตัวเงียบ ออกเหรียญเพียงรุ่นเดียว โดยท่านเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด เหรียญรุ่นนี้หายากน่าเก็บ เพราะตอนนี้ลูกศิษย์ลูกหาท่านหลายรูปกำลังเป็นเดอะสตาร์ของวงการครับ</FO < td>
    เหรียญนี้สภาพสวยมาก บูชา 890 บาทครับ
    คุณ Nattawut8899 จองแล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT1909.jpg
      PICT1909.jpg
      ขนาดไฟล์:
      54.8 KB
      เปิดดู:
      1,841
    • PICT1910.jpg
      PICT1910.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.8 KB
      เปิดดู:
      1,774
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2010
  10. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    หลวงปู่สุภาพ ธัมมปัญโญ ผู้มุ่งมั่นในธรรม

    หลวงปู่สุภาพ ธัมมปัญโญ ผู้มุ่งมั่นในธรรม
    เดือน ก.พ. 2534 ภาพถ่ายในงานถวายเพลิงศพ หลวงปู่สุภาพ ธัมมปัญโญ วัดทุ่งสว่าง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ทำให้นามของท่านดังก้องไปทั่วภาคอีสาน

    ภาพใบนั้นถูกถ่ายโดยชาวแคนาดาชื่อ เคริก โคปแปลน ที่ถ่ายภาพเปลวไฟกำลังลุกไหม้ระหว่างการถวายเพลิงศพ แต่เมื่อล้างภาพออกมาแล้ว กลับปรากฏเป็นภาพหลวงปู่นั่งอยู่กลางกองเพลิง
    หลวงปู่สุภาพเป็นศิษย์สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และเป็นหนึ่งในยอดคนเร้นกายด้วยอุปนิสัยที่ชอบเก็บตัวเงียบ พูดน้อย สันโดษ และปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งยศศักดิ์ต่างๆ จึงที่มิค่อยมีประวัติบันทึกเอาไว้มากนัก
    เมื่อมีผู้ถามเรื่องนี้กับท่านจึงได้รับคำตอบว่า “หลวงปู่ชอบสงบ ไม่ประสงค์อื่น เสียเวลามามากแล้ว เวลานี้อายุก็มาก จะมัวรีรออย่างอื่นไม่ได้หรอก”
    [​IMG]หลวงปู่สุภาพ
    หลวงปู่สุภาพมีนามเดิมว่า สุภาพ จรรยา เกิดเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2465 ที่บ้านโคกคอน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เป็นบุตรชายคนโตของครอบครัวชาวนา ชีวิตวัยเยาว์ของ ด.ช.สุภาพ ต้องช่วยครอบครัวทำนาหาเลี้ยงชีพมาตั้งแต่เล็ก ด้วยนิสัยที่ชอบเรื่องบุญเรื่องกุศลจึงได้ขอบิดามารดาบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุครบ 17 ปี โดยได้เข้า|บรรพชาที่วัดธาตุมีชัย ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร อันเป็นวัดประจำหมู่บ้าน
    บรรพชาแล้วสามเณรสุภาพ ก็ได้มีโอกาสศึกษาเท่าที่ครูบาอาจารย์จะเมตตาให้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการหาเรียนหาอ่านเองเสียมากกว่า เนื่องจากไม่มีครูบาอาจารย์มาอบรมใกล้ชิด ผู้ที่บวชในยุคนั้นเมื่อบวชเข้ามาแล้วก็มักจะอยู่เฉยๆ ไม่มีโอกาสศึกษาการประพฤติ ปฏิบัติอันเนื่องมาจากไม่มีผู้สอน
    บวชอยู่ได้ 2 ปีจึงสึกออกมาช่วยครอบครัวทำมาหาเลี้ยงชีพต่อด้วยรู้สึกสงสารที่บิดามารดาต้องทำงานหนักเพื่อหาเลี้ยงน้องร่วมสายเลือดอีกหลายชีวิต แต่ใจก็ยังคงคิดถึงการบวชเป็นพระอยู่เสมอ และคิดไว้ว่าหากทำงานหาเงินให้ครอบครัวพอหมุนเวียนได้เมื่อไหร่ก็จะไปบวชเป็นพระอีกครั้ง
    หลังก้มหน้าทำงานอย่างหนักเพื่อหาเลี้ยงครอบครัวอยู่หลายปีจนบิดามารดาและน้องๆ ไม่ได้รับความลำบากอีกแล้ว หลวงปู่สุภาพจึงสละทางโลกหันหน้าเข้าสู่ทางธรรม โดยอุปสมบทเป็นพระภิกษุในฝ่ายมหานิกาย ที่วัดธาตุมีชัย ซึ่งเป็นวัดเดียวกับที่ท่านเคยบวชเณรนั่นเอง
    ครั้นบวชแล้ว แต่ก็ยังไม่มีโอกาสได้ศึกษาการปฏิบัติภาวนาเสียที ท่านจึงเริ่มมองหาครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเพื่อที่จะไปขอโอกาสอยู่ฝึกปฏิบัติด้วย
    5 ปีต่อมา หลวงปู่สุภาพจึงญัตติใหม่ในฝ่ายธรรมยุตเมื่อปี 2491 ที่วัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อ.บ้านดง จ.อุดรธานี ญัตติเรียบร้อยแล้วท่านก็มาจำพรรษาที่วัดทุ่งสว่าง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร จากนั้นจึงมุ่งไปพบหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ หนึ่งในศิษย์องค์สำคัญของพระอาจารย์มั่น ที่บ้านดงเย็น จ.อุดรธานี เพื่อที่จะกราบขอโอกาสในการอยู่ฝึกปฏิบัติภาวนาด้วย
    เมื่อพบกัน หลวงปู่พรหม ก็ถามขึ้นก่อนว่า “เอาจริงหรือ” หลวงปู่สุภาพจึงตอบไปว่า “กระผมตั้งใจจะมาขอรับการปฏิบัติจากท่าน ขอเมตตาสั่งสอนผู้น้อยด้วยเถิดครับ”
    ได้ฟังคำยืนยันดังนั้น หลวงปู่พรหมจึงเมตตาให้อุบายธรรมในการปฏิบัติ ท่านว่า “ทำภาวนานั้น พุทโธ เรื่อยๆ ไป ทำความเพียรมากๆ ทำติดต่อกันไป หนึ่งปีไม่ได้อะไร ก็สองปีสามปี ต้องดีสักวันหนึ่ง”
    สิ่งอื่นไม่ต้องระวังจนเกินไปจงทำภาวนาพุทโธอย่างเดียว สิ่งที่ไม่รู้ ก็จะรู้ สิ่งที่ไม่เข้าใจก็จะเข้าใจ สิ่งที่ไม่เคยเห็น ก็จะเห็น ไม่ต้องถามใคร มันรู้มันก็จะหายสงสัยเอง ขอให้ใจสงบอย่างเดียวเท่านั้น มันจะไม่มีคำถาม นอกจากคำตอบอย่างเดียว
    ล่วงเข้าพรรษาที่ 2 หลวงปู่สุภาพจึงมีโอกาสไปกราบถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น
    หลวงปู่สุภาพเมตตาเล่าเรื่องราวในช่วงนี้เอาไว้ว่า “เราคิดว่ายังอ่อนแออยู่ ไม่อยากให้ครูบาอาจารย์ท่านต้องพะวงกับเรา เวลานั้นกิตติศัพท์ของท่านหอมฟุ้งไปหมด จิตใจฝักใฝ่อยากไปพบ อยากไปกราบท่าน แต่ยังไม่ตัดสินใจจะเข้าไปบ้านหนองผือ เพราะคิดว่ายังภาวนาไม่เป็นก็ไม่อยากเป็นภาระกับครูบาอาจารย์ จนก่อนเข้าพรรษาจึงตัดสินใจไปกราบท่าน
    แรกๆ คิดว่าเข้าพบท่านพระอาจารย์มั่นยากและท่านคงดุ แต่เมื่อพบจริงๆ หลวงปู่เสียดายเวลากับลังเลใจมากนานแสนนาน เพราะคิดว่าเรายังไม่พร้อม เวลานั้นท่านชรามาก อาการอาพาธของท่านมีบ้างแล้ว แต่จิตใจของท่านกล้าหาญไม่เคยเสียทีแก่กิเลส ไม่วุ่นวายเหมือนคนแก่ใจฝ่อทั้งหลาย
    ท่านพระอาจารย์มั่นเมตตาแนะนำธรรมะทำให้เกิดกำลังใจมาก ได้พบหมู่คณะพระป่าด้วยกันอย่างเต็มที่ ได้กราบครูบาอาจารย์จำนวนมากที่มาชุมนุมกัน”
    หลวงปู่สุภาพอยู่กับพระอาจารย์มั่นจนกระทั่งออกพรรษา ท่านก็ละสังขารไป หลวงปู่สุภาพจึงกลับมาจำพรรษาที่วัดทุ่งสว่าง กระทั่งพรรษาที่ 3 จึงตัดสินใจออกเดินธุดงค์เข้าป่าเพื่อฝึกปฏิบัติภาวนา โดยเดินธุดงค์ไปในหลายจังหวัดทางภาคอีสาน ภาคเหนือ รวมทั้งเคยไปจำพรรษาที่เขาพระวิหารประเทศกัมพูชา
    ระหว่างการเดินธุดงค์นั้นท่านร่วมปฏิบัติกับพ่อแม่ครูอาจารย์สายพระอาจารย์มั่นหลายองค์ อาทิ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ท่านพ่อลี ธัมมธโร พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ และพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย
    [​IMG]ภาพถ่ายขณะถวายเพลิงศพ หลวงปู่สุภาพ ซึ่งปรากฎเป็นภาพหลวงปู่นั่งอยู่กลางกองเพลิง
    ระหว่างเส้นทางธุดงค์นั้นหลายครั้งหลายคราที่สังขารถูกรุมเร้าด้วยเวทนาอย่างหนักจนเกือบจะเอาชีวิตไม่รอด แต่หลวงปู่สุภาพก็ยึดเอาธรรมเป็นที่ตั้งจนผ่านมาได้ทุกครั้ง
    ท่านเมตตาเล่าความตอนนี้เอาไว้ว่า เมื่อคราวที่ธุดงค์ไปจำพรรษาที่เขาพระวิหารนั้น ได้อาพาธเป็นโรคมาลาเรียอย่างหนัก ท่านว่าความเจ็บป่วยด้วยโรคมาลาเรียครั้งนั้นบั่นทอนจิตใจตลอดถึงการภาวนามาก พอเป็นไข้ก็ลุกไม่ไหว เดินไม่ไหว
    “เวลาเจ็บปวดเหมือนใครเอาเชือกมารัดศีรษะ แล้วขมวดเกลียวเข้ามาๆ ปวดเหลือทน เลยขออธิษฐานจิตว่า แม้จะตายด้วยโรคภัยไข้เจ็บก็ไม่ว่าละ ที่อาตมาสละบ้านเรือนมาอยู่ป่าดงพงไพรไกลญาติพี่น้อง ก็เพื่อธรรมะของพระพุทธเจ้า แม้ไม่พบธรรมะตายเสียก่อน ขอให้เป็นไปชาติหน้ากลับมาทำความเพียรต่อไปอีก”
    เมื่อยาที่จะรักษาก็ไม่มี หลวงปู่สุภาพจึงใช้ธรรมโอสถ เอาชนะโรคภัยที่รุมเร้า “เราฝึกฝนเอาความดี เอาธรรมเข้าสู่จิตใจมากๆ ที่สุด แล้วตั้งจิตให้มั่นคงต่อคุณความดีนั้น
    ส่วนความเจ็บป่วย ปวดรวดร้าวแค่ไหนก็ตาม อย่าให้มันไหลเข้าสู่จิตใจ ปิดจิตใจเสีย อย่าเปิดรับความเจ็บปวด ถ้าระงับได้ ธรรมโอสถก็สามารถรักษาโรคร้ายได้”
    “จิตใจมันไม่เคยทุกข์เลยนะ จิตมันสบาย อาการเจ็บไข้ได้ป่วยมันไหลเข้าสู่จิตใจไม่ได้ มันก็ดีแต่อยู่ภายนอก จิตใจมันสบายดีทุกอย่างไม่คลอนแคลน เวลานั้นมันเฉยๆ สบายแม้ตายเมื่อไรก็ไม่เป็นห่วง จิตใจมันมีที่พึ่งแล้ว มันก็สบาย
    “ส่วนโรคภายนอกก็พิจารณาธรรมะ เอาเวทนาตั้งไว้ แล้วเพ่งมองอยู่ด้วยจิตใจมั่นคง ในที่สุดธรรมโอสถก็สามารถระงับดับโรคร้ายนี้ได้จริงๆ”
    แม้ในช่วงหนึ่งอาการป่วยจะรุนแรงจนสังขารแทบจะทนไม่ไหว ท่านก็พยายามรวบรวมสติกำหนดรู้อยู่ตลอด หลวงปู่สุภาพเล่าช่วงเวลานั้นเอาไว้ว่า “เวลานั้นลมหายใจของเราค่อยๆ มันจะดับ กำลังวังชาหมดนะทำอะไรไม่ได้เลยเวลานั้น มันนอนอยู่เฉยๆ ลมหายใจเข้าไม่ถึงปอดนะ พอหายใจเข้ามันเหมือนกับมีอะไรมาดันลมเอาไว้ ก็กำหนดรู้ โอ...นี่เราใกล้จะตายแล้วนะ
    “ลมเฮือกที่ 2 หายใจเข้าสิ่งภายในไม่ยอมรับ มันดันลมมาถึงลิ้นปี่ ลมหายใจที่ 3 หายใจเข้าไปถึงกลางอกก็หยุดอีก เพราะมันเหมือนมีอะไรดันอุดตันไว้ ลมหายใจที่ 4 หายใจเข้าไปถึงแค่กระเดือก ก็หยุดแค่นั้น ดันลมไว้ไม่ให้เข้า เกือบจะหมดลมแล้วนะ ลมหายใจที่ 5 หายใจเข้าอีก คราวนี้ลมวิ่งไปได้นิดเดียวแล้วหยุด
    “ลมหายใจสุดท้าย หายใจเข้า มีลมนิด พอสัมผัสปลายจมูกก็เงียบไป ไม่ทราบว่าลมอะไรจึงว่างอย่างนี้ คิดนะ พอมันมีช่องว่าง ลมข้างนอกก็ดันเข้ามาทางจมูก นี่เป็นความรู้สึกในขณะนั้นนะ ลมหายใจก็ค่อยๆ ลึกลงๆ ลึกเข้าปอด จากนั้นก็หายใจเข้า-ออกสบายขึ้นเรื่อยๆ จนที่สุดก็เป็นปกติ”
    หลวงปู่จึงพูดกับหมู่คณะว่า “โอ...นี่เราตายไปแล้วนี่นะ กำหนดรู้ทุกขณะจิต เรารู้แล้วว่าคนตายมันเป็นอย่างนี้นี่เอง” หลังจากวันนั้นอาการก็ค่อยๆ ทุเลาและหายในที่สุด
    ด้วยอุปนิสัยพูดน้อยและเก็บตัว จึงทำให้ไม่มีเทศธรรมของหลวงปู่สุภาพ ถูกบันทึกไว้มากนัก แต่เทศนาธรรมสั้นๆ บางตอนที่มีผู้บันทึกไว้ ก็กินความในทางธรรมอย่างลึกซึ้ง
    “คนเราเกิดมาเหมือนคนตาบอด เพราะมีอวิชชาติดตามปกปิดตาเราเรื่อยมา มันไม่อยากจะเปิดตาให้เราเห็นความดีหรอก ก็เหมือนละครในจอกระจก มันเล่น มันร้อง มันตลก มันหัวร่ออยู่ในนั้น มันหลอกลวงตาเราตลอดเวลา เราก็ไม่ยอมละวางเที่ยวเพ่งมองมายาของมันนั้น
    “ต่อเมื่อพ่อแม่ครูอาจารย์ ท่านได้มาฉีกตาให้ดู ชี้ให้เห็นว่า นี่เป็นธรรมะแท้ๆ ของพระพุทธเจ้า นี่เป็นของดีมีประโยชน์ ดังนั้นพวกเราจึงประพฤติปฏิบัติตาม การศึกษาธรรมวินัยให้ถือเป็นสิ่งสำคัญ ให้มีการฝึกฝนขยันหมั่นเพียร การทำความพากเพียรมากๆ นั้น จะเกิดอิสระทางจิตใจมาก ขออย่าได้เกียจคร้านเลย
    “ธรรมะมิใช่มายา มิใช่ของเล่น ใครก็ตามเมื่อรู้ธรรมะ ก็จงรีบเร่งปฏิบัติได้แล้ว”
    ท่านดำรงขันธ์เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้แก่ศิษยานุศิษย์มาจนกระทั่งช่วงปี 2533 ท่านก็มีดำริให้ลูกศิษย์สร้างเหรียญบูชาขึ้นมา 1 รุ่น ในคืนที่ทำพิธีปลุกเสก ท่านก็เรียกช่างที่ดำเนินการทำเหรียญมาเพื่อชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดพร้อมกับมอบหมายงานต่างๆ ให้รองเจ้าอาวาสเป็นที่เรียบร้อย แล้วท่านก็เข้ากุฏิจำวัดในท่านั่ง รุ่งเช้าศิษย์ที่คอยอุปัฏฐากจึงพบว่าท่านละสังขารไปในท่านั่งในคืนที่ผ่านมานั่นเอง


    posttoday 22สค.53<!-- google_ad_section_end -->


    ขอบคุณที่มา http://palungjit.org/threads/หลวงปู่สุภาพ-ธัมมปัญโญ-ผู้มุ่งมั่นในธรรม.253973/
     
  11. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม
    วัดเหวลึก ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    (พระผู้หมดแล้วชึ่งกิเลส อัฐิได้แปรเป็นพระธาตุสีใส )
    [​IMG]

    ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และหลวงปู่พรหม จิรปุณโญ ท่านเป็นพระป่าสายกรรมฐานที่น่าศรัทธาอีกองค์ หลวงปู่ลีฯ ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2542 ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ สิริอายุรวม 78 ปี 8 เดือน 8 วัน พรรษา 56 ภายหลังจากการถวายเพลิงศพได้ไม่นาน เถ้าถ่านอัฐิของท่านก็ได้กลายเป็นพระธาตุ เป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญสมณธรรมขององค์ท่าน ว่าบำเพ็ญจนบรรลุมรรคผลสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา

    อ่านประวัติเต็มๆของท่านครับ


    [​IMG]

    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height="100%" vAlign=top width="85%">พระธาตุของหลวงปู่ลีครับ
    นำภาพมาจาก ::
    http://www.santidham.com/
    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2><HR class=hrcolor SIZE=1 width="100%">[​IMG]
    [​IMG] paragraph__175.jpg (25.18 KB, 400x285 - ดู 279 ครั้ง.)
    [​IMG]
    [​IMG] _1_448.jpg (33.83 KB, 400x285 - ดู 279 ครั้ง.)

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2010
  12. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม วัดเหวลึก (วัดฐิติธรรมาราม)

    [​IMG]

    [​IMG]

    เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม วัดเหวลึก
    (วัดฐิติธรรมาราม) ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน
    จ.สกลนคร ครบรอบ 62 ปี สร้างปี2525
    สภาพสวยเดิมบูชาเหรียญละ 590 บาท
    คุณ j999 จองแล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT1911.jpg
      PICT1911.jpg
      ขนาดไฟล์:
      61.8 KB
      เปิดดู:
      995
    • PICT1912.jpg
      PICT1912.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.3 KB
      เปิดดู:
      966
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2010
  13. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,971
    ค่าพลัง:
    +5,385
    เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม วัดเหวลึก
    (วัดฐิติธรรมาราม) ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน

    จ.สกลนคร ครบรอบ 62 ปี สร้างปี2525
    สภาพสวยเดิมบูชาเหรียญละ 590 บาท<!-- google_ad_section_end -->
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
    ขอจองครับ
     
  14. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    @พระผงรูปเหมือนรุ่นแรกหลวงปู่เพียร วิริโย
    วัดป่าหนองกอง จ.อุดรธานี@

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระผงรูปเหมือนรุ่นแรกหลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง จ.อุดรธานี ปี 2548 อายุครบ 80 ปี มวลสารผงพุทธคุณต่างๆ ผสมข้ามก้นบาตร กดมือ พระอรหันต์อีกองค์ที่เส้นเกศา ฟัน เล็บ อัฐิ แปรเป็นพระธาตุ สภาพสวยเดิมๆครับ
    บูชา 490 บาท

    "ศพท่านเพยรก็เป็นมงคลอยู่นะ เวลาท่านตายไปแล้วเรื่องถึงเปิดขึ้นทหลัง ส่วนต่างๆเช่นอย่างตัดเล็บอะไรๆของท่านเอาไปไว้กลายเป็นพระธาตุหมด ดีอยู่ ส่วนย่อยของอวัยวะเช่นผม เล็บมือของท่านพระเอาไปเก็บไว้แล้วกลายเป็นพระธาตุทั้งหมดแล้วของท่านเพียรเป็นพระธาตุหมด ท่านเงียบๆท่านไม่บอกเรามีแต่ท่านสิงห์บอก(หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมวโร วัดป่าแก้วชุมพล)ท่านเพียรไม่ได้บอก เงียบๆ ถ้าลงกลายเป็นพระธาตุหมดแล้วตีตราไว้เลย ไม่ต้องถามใครก็ทราบว่าถึงที่สุดแล้ว ถึงที่สุดของธรรมแล้ว ถึงที่สุดของกิเลสแล้วนั้นละต่างกัน ท่านเพียรเพียงแค่นี้ก่อนนะ จะเป็นเต็มยศนั้นแหละ"(เทศของหลวงตามหาบัว ขณะเผาศพ หลวงปู่เพียร ในวันพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่)

    [​IMG]

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT1913.jpg
      PICT1913.jpg
      ขนาดไฟล์:
      56.7 KB
      เปิดดู:
      1,094
    • PICT1914.jpg
      PICT1914.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.9 KB
      เปิดดู:
      1,106
  15. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">เส้นเกศา ฟัน และเล็บของ หลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง กลายเป็นพระธาตุ </TD><TD class=buttonheading width="100%" align=right>[​IMG] </TD><TD class=buttonheading width="100%" align=right>[​IMG] </TD><TD class=buttonheading width="100%" align=right>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top>เส้นเกศา ฟัน และเล็บของ หลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง กลายเป็นพระธาตุ
    [​IMG]คณะศิษย์ตะลึง! เส้นผม ฟัน และเล็บของ หลวงปู่เพียร วิริโย” เจ้าอาวาสวัดป่าหนองกอง อุดรฯ ที่ละสังขาร แปรสภาพกลายเป็นพระธาตุ ขณะที่ “หลวงตามหาบัว” เผยเป็นศิษย์ก้นกุฏิ..?
    วันนี้ (2 ก.ค.) นายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานประชุมเตรียมพิธีประชุมเพลิงของหลวงปู่เพียร วิริโย เจ้าอาวาสวัดป่าหนองกอง ต.บ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ซึ่งมีกำหนดประชุมเพลิงในวันที่ 4 ก.ค.นี้? โดยมี หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นประธานตามกำหนดการที่ออกมา

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมาได้มีพระอาจารย์รูปหนึ่งซึ่งเป็นพระเลขาของหลวงปู่เพียร? ได้นำ เกศา (ผม) ฟัน และเล็บของหลวงปู่เพียร ที่พระรูปนั้นได้เก็บไว้เอามาให้คณะกรรมการดู ปรากฏว่า เส้นเกศา ได้รวมตัวกันเข้าเป็นก้อนกลมๆ ส่วนฟันและเล็บได้ตกผลึกมีสีคล้ายเมล็ดข้าวโพด? ซึ่งบรรดาพระปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า ลักษณะเช่นนี้ คือ “พระธาตุ
    จาก นั้นคณะกรรมการวัดจึงได้นำความเข้ากราบเรียน หลวงตามหาบัว ซึ่งหลวงตามหาบัว ได้พูดขึ้นมาว่า “ท่านเพียร เป็นศิษย์ก้นกุฏิของเรา และเราได้สั่งให้เขาพิมพ์หนังสืออัตโนประวัติ หลวงปู่เพียร โดยมีคำพูดของเราเขียนไว้ที่หน้าปกว่า “ท่านเพียร เป็นศิษย์ก้นกุฏิของเรา” เพื่อนำไปแจกในวันประชุมเพลิงของท่านด้วย”
    นายอำนาจ กล่าวว่า สำหรับ เกศา เล็บ และฟัน ซึ่งพระเลขาของหลวงปู่เพียรได้เก็บไว้จนแปรสภาพเป็นพระธาตุนั้น พระเลขาได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อฟันหลุดออกจากปากหลวงปู่เพียร ท่านก็ได้ให้พระเลขาเป็นผู้เก็บรักษา ส่วนเล็บนั้นตนเป็นคนตัดให้และนำไปเก็บไว้จนแปรสภาพ
    ที่มาจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    รับทราบการจองครับ ขอบคุณครับ
     
  17. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    เข็มกลัดที่ระลึกโครงการช่วยชาติหลวงตามหาบัว ญานสัมปันโน

    [​IMG]

    [​IMG]

    แจกประมาณปี 2546 ครับ มีขนาดใหญ่
    เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 ซ.ม. สวยสมบูรณ์ครับ
    มี 2 อันบูชา อันละ 180 บาทครับ
    ปิดรายการนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT1923.jpg
      PICT1923.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30.8 KB
      เปิดดู:
      865
    • PICT1924.jpg
      PICT1924.jpg
      ขนาดไฟล์:
      36.8 KB
      เปิดดู:
      935
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2010
  18. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ)

    [​IMG]

    ประวัติหลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ

    <TABLE width="52%" align=center><TBODY><TR><TD>
    พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ)



    วัดป่าสำราญนิวาส จังหวัดลำปาง


    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ ท่านเป็นญาติกับ


    หลวงปู่สิม พุทธจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

    และหลวงปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย อ.แม่ทะ จ.ลำปาง หลวงปู่หลวงเป็นพระนักปฏิบัติท่านออกธุดงค์กรรมฐานไปหลาย จังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศไทย ท่านได้ถวายตัวเป็นศิษย์ ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงปู่เทสก์ เทสรังษี หลวงปู่หลวงท่านเป็นผู้ทรงศีลตามรอยพระพุทธบาท ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ควรค่ายิ่งแห่งความเคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนชาวพุทธทั้งหลาย





    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD colSpan=8>
    พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ)​

    (๒๔๖๔ – ๒๕๔๖)
    วัดป่าสำราญนิวาส อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง


    </TD><TD bgColor=#ffd013>
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013></TD><TD colSpan=8></TD><TD bgColor=#ffd013></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013></TD><TD width=210>
    นามเดิม

    </TD><TD width=23></TD><TD colSpan=6>
    หลวง สอนวงศ์ษา ​

    </TD><TD bgColor=#ffd013>
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013></TD><TD>
    เกิด

    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๔​

    </TD><TD bgColor=#ffd013></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013></TD><TD>
    บ้านเกิด

    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    บ้านบัว ต.สว่าง อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร​

    </TD><TD bgColor=#ffd013></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013></TD><TD>
    บิดามารดา

    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    นายสนธิ์ และนางสียา สอนวงศ์ษา ​

    </TD><TD bgColor=#ffd013>
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013 rowSpan=2></TD><TD>
    พี่น้อง

    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    รวม ๖ คน ท่านเป็นพี่ชายคนโต ​

    </TD><TD bgColor=#ffd013 rowSpan=2></TD></TR><TR><TD>
    อุปสมบท

    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    อายุ ๒๒ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕(มหานิกาย) ณ พัทธสีมา วัดศรีรัตนาราม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ได้รับฉายาว่า ​

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013></TD><TD>
    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    ขนฺติพโล ญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ วัดเชตวัน อ.เมือง จ.ลำปาง โดยมีพระครูธรรมาภิวงค์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่แว่น ธนปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาใหม่ว่า กตปุญฺโญ​

    </TD><TD bgColor=#ffd013>
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013></TD><TD>
    เรื่องราวในชีวิต

    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    เมื่ออายุได้ ๗-๘ ขวบ ได้ไปปรนนิบัติหลวงลุง ซึ่งเป็นพระมหานิกายอยู่วัดใกล้บ้าน ​

    </TD><TD bgColor=#ffd013>
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013></TD><TD>
    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    พร้ามกับเรียนหนังสือไปด้วย จึงมีจิตใจโน้มเอียงมาทางพระพุทธศาสนา จนได้อ่านหนังสือ พระไตรสรณคมน์ ของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จึงมีความเลื่อมใสมากขึ้น


    เมื่ออุปสมบทแล้วท่านมีความขยันอดทน ทั้งปริยัติและปฏิบัติ จนสอบได้ นักธรรมชั้นโท ระยะนั้นหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร กลับไปเยี่ยมบ้านเกิดพระหลวงจึงได้ไปกราบศึกษาข้อวัตร ปฏิปทา และอุปัฏฐากรับใช้อยู่หลายเดือน ครั้งหนึ่งท่านได้ไปกราบพระธาตุพนม และได้แวะกราบนมัสการหลวงปู่แว่น ธนปาโล ที่อำเภอเมืองสกลนคร จึงได้มีโอกาสพบหลวงปู่มั่น จนซาบซึ้งในรสพระธรรม จึงเดินทางแสวงหาครูบาอาจารย์ทางภาคเหนือ

    ท่านได้ติดตามครูบาอาจารย์หลายองค์ เช่น หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร หลวงปู่แว่น ธนปาโล ไปในหลายจังหวัดในเขตภาคเหนือ เพื่อฝึกปฏิบัติอบรมกัมมัฏฐานภาวนา จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสำราญนิวาส ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ และในปีเดียวกันก็ได้เป็นเจ้าคณะตำบลอำเภอเกาะคา แม่ทะ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๙ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูการุณยธรรมนิวาส และปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่หลวงได้ดูแลรักษา พัฒนาวัดป่าสำราญนิวาส ทั้งทางด้านศาสนสถานและศาสนวัตถุ เทศนาสั่งสอนญาติโยม หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มีปฏิปทาอันงดงามเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม เป็นที่เคารพเลื่อมใส ศรัทธาของสาธุชน


    </TD><TD bgColor=#ffd013>
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013 rowSpan=10></TD><TD>
    มรณภาพ

    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    วันจันทร์ที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เวลา ๐๑.๑๐ น.ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพ สิริอายุได้ ๘๒ ปี ​


    </TD><TD bgColor=#ffd013 rowSpan=10>
    </TD></TR><TR><TD>
    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    ๕๓ พรรษา (เฉพาะญัตติธรรมยุติกนิกาย)​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]
    พระธาตุหลวงปู่หลวง กตปุญฺโญแปรสภาพจากเถ้าอังคาร
    [​IMG]
    อัฐิธาตุของหลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ
    [​IMG]

    ขอบคุณที่มา เวปวัดสันติธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.7 KB
      เปิดดู:
      846
    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      61.5 KB
      เปิดดู:
      976
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.9 KB
      เปิดดู:
      789
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.1 KB
      เปิดดู:
      780
  19. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    สมเด็จหลวงปู่หลวง รุ่นแรก ปี 2541

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ)
    วัดป่าสำราญนิวาส จังหวัดลำปาง ท่านสร้างพระสมเด็จ รุ่นแรกเมื่อปี 2541 ครับ เนื้อผงสภาพสวย สมบูรณ์ด้านหลังมีโค๊ดกันการปลอมแปลง
    บูชา 350 บาทครับ
    คุณ เทวานิน จองแล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT1925.jpg
      PICT1925.jpg
      ขนาดไฟล์:
      24.9 KB
      เปิดดู:
      111
    • PICT1926.jpg
      PICT1926.jpg
      ขนาดไฟล์:
      25.3 KB
      เปิดดู:
      112
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2010
  20. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    [​IMG]

    หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร (พระเทพเจติยาจารย์) วัดธรรมมงคล สุขุมวิท 101 จ.กรุงเทพฯ

    ลูกศิษย์ยุคสุดท้ายที่ติดตามพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ปัจจุบัน ท่านอายุ 90 ปี ท่านบวชตั้งแต่เป็นเณร ติดตามพระอาจารย์กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์

    สำหรับหลวงพ่อวิริยังค์ ท่านเป็นพระปฏิบัติกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น สำหรับหลวงพ่อวิริยังค์ ท่านมีลูกศิษย์นับถือเยอะ ท่านไม่ค่อยจะสร้างวัตถุมงคลมากนัก ถ้าจะสร้างก็เฉพาะที่จำเป็นจริงๆ เมื่อท่านสร้างวัตถุมงคล นอกจากท่านจะปลุกเสกเดี่ยวแล้ว ยังมีการเชิญพระเกจิสายกรรมฐานมาร่วมปลุกเสกอีกมากมายในแต่ละครั้ง หลวงพ่อวิริยังค์ ท่านเป็นพระที่มีบารมีสูงมากๆ สามารถสร้างถาวรวัตถุต่างๆที่มีมูลค่านับร้อยนับพันล้านได้ภายในไม่กี่ปี

    หลวงพ่อวิริยังค์ได้อยู่ปฏิบัติสมาธิ และเดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์กงมาไปใน ที่ต่างๆ เป็นเวลา 8 ปีเต็ม จึงมีความรู้เรื่องสมาธิสามารถสอนผู้อื่นได้ เมื่อปี พ.ศ.2484 ขณะนั้นมีอายุ 22 ปี วันหนึ่งพระอาจารย์กงมาก็พาท่านเดินธุดงค์จากจังหวัดจันทบุรีไปจังหวัด สกลนคร เพื่อไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์กงมาได้บอกหลวงพ่อวิริยังค์ว่าหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ เป็นปรมาจารย์และเป็นอาจารย์ของเรา สมาธิทุกๆ ขั้นตอนเราได้สอนเธอไปหมดแล้ว ต่อไปนี้เธอจะได้เรียนสมาธิกับท่านปรมาจารย์ เธอจงอย่าประมาท จงปฏิบัติหลวงปู่มั่นแบบถวายชีวิต เธอจะได้ความรู้อย่างกว้างขวาง ยิ่งกว่าที่เราสอนอีกมากนัก

    หลวง พ่อวิริยังค์รับคำตักเตือน จากพระอาจารย์กงมาด้วยความตื้นตันใจ ดังนั้น ในปี พ.ศ.2484 จึงเป็นปีเริ่มศักราชใหม่ของท่าน โดยที่ท่านได้รับเลือกให้เป็นพระผู้อุปัฎฐากของพระอาจารย์มั่น แบบใกล้ชิดที่เรียกว่า ท.ส. อยู่เป็นเวลา 4 ปี และอยู่นอกพรรษาหมายถึงเดือนตุลาคมไปถึงเดือนมิถุนายน เป็นเวลาอีก 5 ปี รวมทั้งหมด 9 ปี จึงเป็นอันว่าปัญหาของสมาธิได้ถูกชี้แจงอย่างหมดเปลือกจริงๆ ซึ่งบางครั้งปัญหาเข้าขั้นสำคัญ พระอาจารย์มั่นก็ให้หลวงพ่อวิริยังค์อยู่ด้วยกับท่านสองต่อสองตลอดเวลา และแก้ไขปัญหานั้นให้

    ซึ่งมีครั้งหนึ่งต้องใช้เวลาอยู่กับท่านสอง ต่อสองนานถึง 3 เดือน ตลอดจน ได้เดินธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์มั่น พร้อมทั้งเรียนธรรมะอันลึกซึ้ง ผลงานชิ้นแรกที่หลวงพ่อวิริยังค์ได้ทำขึ้นมา คือ เมื่ออยู่กับพระอาจารย์มั่นในปีที่ 2 โดยได้บันทึกพระธรรมเทศนาของท่านตลอดพรรษา (ปกติท่านห้ามผู้ใดจดเด็ดขาด) เมื่อได้บันทึกไว้แล้ว ก็ได้อ่านถวายให้ท่านฟังและให้ท่านตรวจดู ท่านพอใจ รับรองว่าใช้ได้ และให้ความไว้ใจตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จากการบันทึกในครั้งนั้นได้มีการนำมาพิมพ์เผยแผ่คำสอนนี้แก่สาธารณชน ในหนังสือที่ชื่อว่า มุตโตทัย ที่โด่งดังอยู่ในเวลานี้ เพราะได้ถูกพิมพ์เผยแผ่จำนวนกว่าล้านเล่มแล้ว



    ศึกษาประวัตฺหลวงพ่อวิริยังค์เพิ่มเติมได้ที่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT1927.jpg
      PICT1927.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.4 KB
      เปิดดู:
      778
    • PICT1928.jpg
      PICT1928.jpg
      ขนาดไฟล์:
      52.5 KB
      เปิดดู:
      772
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...