การกลับมาของ "แถบเมฆ" บนดาวพฤหัสบดี

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย สังขารไม่เที่ยง, 29 พฤศจิกายน 2010.

  1. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center background=/images/linedot_vert.gif width=1 align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD height=1 vAlign=top width=1 align=right>
    [​IMG]
    </TD><TD height=1 vAlign=top background=/images/linedot_hori.gif align=middle>
    [​IMG]
    </TD><TD height=1 vAlign=top width=1 align=left>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>
    ภาพถ่ายในย่านอินฟราเรด แสดงให้เห็นการกลับมาของแถบเมฆบนดาวพฤหัส (บีบีซีนิวส์)​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>สดร.- นักดาราศาสตร์พบสัญญาณการกลับมาของ “แถบเมฆ” บนดาวพฤหัสบดี จากปกติใต้เส้นศูนย์สูตรเป็นแถบเมฆสีน้ำตาลแดง กลายเป็นจุดสว่างขาว และเป็นเหตุการณ์น่าตื่นเต้นเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี

    เป็นครั้งที่สองในรอบปีนี้ ที่มีเหตุการณ์อันน่าตื่นเต้นปรากฏขึ้นบนดาวพฤหัสบดี โดยล่าสุด คริสโตเฟอร์ โก (Christopher Go) นักถ่ายภาพดาวเคราะห์จากประเทศฟิลิปปินส์ ได้พบจุดสว่างขาวปรากฏขึ้นที่บริเวณสีอ่อนๆ (pale zone) ทางตอนใต้เส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดี ซึ่งปกติบริเวณนี้เป็นแถบเมฆสีน้ำตาลแดง (South Equatorial Belt)

    นักสังเกตการณ์ดาวเคราะห์เกือบทั้งหมดต่างมีความเข้าใจเป็นอย่างดี เกี่ยวกับแถบเมฆที่หายไปจากดาวพฤหัสในปี พ.ศ.2553 นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในศตวรรษที่ 21 แต่เหตุการณ์ก็คล้ายกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วทั้ง 12 ครั้งในศตวรรษที่ 20 การหายไปของแถบเมฆใต้เส้นศูนย์สูตรในปีนี้เป็นไปตามการทำนายของ เอลเมอร์ รีส (Elmer Reese) เมื่อราวครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา

    ดอน พาร์กเกอร์ (Don Parker) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสังเกตการณ์ดาวพฤหัสบดีจาก คอรัล กาเบิลส์ (Coral Gables) รัฐฟลอริดา ซึ่งได้รับแจ้งข้อมูลจากโก เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเมื่อรุ่งเช้า กล่าวว่าระหว่างที่เขากำลังปรับความคมชัดให้กับกล้องโทรทรรศน์ของเขาเองอยู่นั้น ผมก็ทราบทันทีว่า โกรายงานถูกต้อง เพราะได้ปรากฏจุดสว่างประมาณดวงจันทร์เคลื่อนผ่านหน้าดาวพฤหัสบดี แต่ดวงจันทร์ไอโอ ซึ่งอยู่ใกล้สุดได้เคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวเคราะห์ไปแล้วราวหนึ่งชั่วโมง”

    แอมี ไซมอน -มิลเลอร์ (Amy Simon-Miller) ผู้เชี่ยวชาญด้านชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีจากศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ด (Goddard Space Flight Center) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ให้ข้อสังเกตว่า สิ่งที่พบนี้คือสิ่งที่พวกเขาคาดหวังว่าจะได้เห็นแถบเมฆใต้เส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดีกลับมาอีกครั้ง

    “การรบกวนถูกสร้างขึ้นจากระดับที่ค่อนข้างลึกลงไปยังดาวพฤหัสบดี และมีความรุนแรงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบมีเทนที่ลอยสูงจากระดับพื้น จุดที่เกิดขึ้นในแถบมีเทนมีความสว่างมากและมองเห็นได้ผ่านกล้องโทรทรรศน์ โดยสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกิดขึ้นบนเมฆระดับสูง (สว่าง) หรือต่ำ (มืด) ในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี โดยมีเทนที่สว่างจะลอยอยู่ชั้นบนและอยู่สูงกว่า ส่วนแถบมีเทนจะปรากฏมืดกว่า” ไซมอน-มิลเลอร์กล่าว

    จุดที่เกิดขึ้นใหม่อยู่ที่ลองจิจูด 290 องศา ใน System II (หรือ 150 องศา System III) และมองเห็นได้อีกครั้ง เมื่อวันที่ 11 พ.ย ที่ผ่านมา เวลา 12.28 น. ตามเวลาประเทศไทย นักดาราศาสตร์เฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นในช่วง 1-2 วัน โดยอาศัยข้อมูลจากการสังเกตครั้งก่อน โดยจุดสว่างขาวอาจจะกลับมืดกว่าบริเวณโดยรอบ แล้วกระจายออกไปตามแนวของแถบเมฆทางใต้เส้นศูนย์สูตร ส่วนจุดอื่นๆ ก็จะกระจายไปยังตำแหน่งต่างๆ ในที่สุดสสารที่มืดกว่าก็จะก่อตัวกลายเป็นเข็มขัดกลับมาดังเดิม

    การสำรวจอีกครั้งเมื่อวันที่ 12 พ.ย.53 พบว่าจุดขาวนั้นมีการขยายตัวขึ้นปรากฏเป็นแถบสีน้ำเงินแผ่ขยายในแนวนอนตามทิศทางลมของแถบเมฆทางตอนใต้ นักสำรวจต่างร่วมลุ้นให้แถบเมฆดังกล่าวกลับมาอีกครั้ง จุดขาวอื่นๆ อาจมีการก่อตัวขึ้นในวันข้างหน้า ส่วนจุดขาวที่กล่าวถึงในปัจจุบัน จะผ่านเมอริเดียนตรงกลางดาวพฤหัส หลังจุดแดงใหญ่ผ่านจุดนั้นไปแล้วประมาณ 3 ชั่วโมง 40 นาที



    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ภาพเปรียบเทียบดาวพฤหัสเมื่อปี 2009 (ซ้าย) และ ปี 2010 (ขวา) ซึ่งมีความแตกต่างอย่างชัดเจน (บีบีซีนิวส์)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ภาพถ่ายจุดสว่างขาวที่เกิดขึ้นใหม่บริเวณแถบเข็มขัดใต้เส้นศูนย์สูตรดาวพฤหัสบดี โดยคริสโตเฟอร์ โก เมื่อวันที่ 9 พ.ย.53</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ภาพถ่ายจุดสว่างขาวที่เกิดขึ้นใหม่บริเวณแถบเข็มขัดใต้เส้นศูนย์สูตรดาวพฤหัสบดี โดยคริสโตเฟอร์ โก เมื่อวันที่ 12 พ.ย.53</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ภาพถ่ายล่าสุดวันที่ 16 พ.ย.53 เวลา 20.26น.ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 35 ซ.ม.โดย ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>29 พฤศจิกายน 2553 09:51 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. singhol

    singhol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,376
    ค่าพลัง:
    +1,940
    เผื่อจะได้มีดาวสำรองให้มนุษย์โลกไปอยู่กันบ้าง...ใกล้จะล้นโลกกันอยู่แล้ว
     
  3. original01

    original01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +79
    ผมคิดว่า แทนที่จะหาดาวดวงใหม่เป็นที่อยู่ เราหันมาดูแลโลกใบนี้ของเรากันดีกว่าครับ
    ยังไม่สายที่จะช่วยกัน ถ้าโลกสวยๆใบนี้ยังอยู่กันไม่ได้ คงไม่มีที่ไหนที่มนุษย์จะอยู่ได้แล้วล่ะครับ อิอิ (ไม่ได้มีเจตนาจะว่าใครโดยเฉพาะนะครับ แค่อยากจะถ่ายทอดความรู้สึกเล็กๆ
    ไว้สกิดใจ ให้รักโลกใบนี้กันมากๆครับ) ขอบคุณครับ
     
  4. เซี่ยมหล่อนั๊ง

    เซี่ยมหล่อนั๊ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +665

    เห็นด้วยอย่างยิ่ง เราเกิดที่นี่ ก็คือบ้านเกิดของเรา เราตักตวงทุกสิ่ง เมื่อฝาบ้านหลังคาบ้าน ห้องน้ำบ้าน กำลังชำรุด แทนที่เราจะดูแลซ่อมแซมให้ดีขึ้น มีมนุษย์กลุ่มหนึ่งเลือกที่จะอพยพหนี้ไป ทำเยี่ยงแมลงทำลาย เข้าที่ไหนวายวอดที่นั่น แล้วก็ไปต่อ ล่าต่อไปเรื่อย ๆ ไม่จบสิ้น เพราะทะยานอยาก มากตัณหา มากกิเลส ก็ดีหากจะย้ายแล้วไม่ต้องกลับมา ที่เหลือคึอคนของโลก แท้ ๆ จะได้ช่วยกันเยียวยา รักษา และฟื้นฟู เมื่อมนุษย์ไม่คิดจะรักแผ่นดินเกิด มันก็เสียชาติที่เกิดเป็นคนของโลก ชาติหน้าคงหวังไม่ได้ว่าจะได้เกิดให้ดีกว่านี้ เพราะจ้องทำลายแล้วก็ไป ก็เหมือนนักการเมืองเรานะแหละ แทะไถ ถาก แล้วก็สำรากความชั่วร้ายให้กับบ้านเมือง เรียกตัวเองส่วยหรุว่า ผู้ทรงเกียรติ เก่งปาก แต่หาเก่งคุณธรรม ก็เหมือนมนุษย์กลุ่มเดียวกันที่จ้องไปตั้งรกรากยังดาวใหม่ อ้างเพียงว่า พลเมืองล้นโลก ล้นจรืงเหรอ กิเลสล้นมั๊ง
     
  5. ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    3,277
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,490
  6. Hikikomori

    Hikikomori เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +326
    โลกสำหรับชาวสวรรค์เค้าอยู่กันละมั้ง
     
  7. soifon

    soifon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2010
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +42
    ..

    ดาวพฤหัส มีแรงดึงดูดและมีชั้นบรรยากาศกาซพิษที่ค่อนข้างหนาแน่นมากกว่าที่มนุษย์จะอยู่ได้ น้ำหนักตัวเราเท่าไหร่ ให้บวกเข้าไปอีกร้อยกว่าโล.
     

แชร์หน้านี้

Loading...