ใครศรัทธา หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด มาพูดคุยกันครับ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย คุณสนุก, 4 พฤศจิกายน 2010.

  1. phattharaphong

    phattharaphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    758
    ค่าพลัง:
    +11,459
    เห็นแล้วกิเลสมันเกิดเลยครับ :cool:
     
  2. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    สุดยอดครับ:cool:
     
  3. คนศรีสะเกษ

    คนศรีสะเกษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    621
    ค่าพลัง:
    +1,677
    ใช่แล้วครับ ภาพแห่งความหลัง ช่วงที่เว็บยังใช้งานได้ผมเข้าทุกวัน
    หลายท่านในนี้อาจจะเคยเป็นสมาชิก ผมก็เป็นและใช้ยูสเซอร์นี้แหละ
    มีหลวงพี่มารุตดูแล สุดยอดครับคุณphattharaphong
     
  4. SpringDove

    SpringDove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,488
    ค่าพลัง:
    +4,807
    ขอบคุณมากค่ะที่เอาไฟล์มาลงให้ได้อ่าน
    สองสามวันที่ผ่านเดินทางเลยไม่ได้มาทักทายค่ะ
     
  5. phattharaphong

    phattharaphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    758
    ค่าพลัง:
    +11,459

    เมื่อก่อนเข้าไปอ่านข้อความในเวปวัดช้างให้บ่อย ๆ ครับ ทราบมาว่าหลวงพี่มารุต ท่านเข้าไปติงพระหลวงพ่อทวดตามเวปขายพระต่าง ๆ จนท่านโดนแบนเลยครับ นี้แหละพวกหลอกขายคนอื่นเจอของจริงเข้าไป เงียบ !
     
  6. บังรอน

    บังรอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,368
    ค่าพลัง:
    +1,788
    มีประวัติเหรียญหลวงปู่ทวดหนอนเขามะรวด หลังกุมาร ป่าวคับ
     
  7. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    สำนักสงฆ์ต้นเลียบสถานที่ฝังรกหลวงปู่ทวด

    สำนักสงฆ์ต้นเลียบสถานที่ฝังรกหลวงปู่ทวด



    [​IMG]
    บริเวณโคนต้นเลียบในปัจจุบัน

    สมเด็จหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่เลิศทั้งทางธรรมและอภินิหาร
    ต้นเลียบสถานที่ฝังรกของท่าน จึงมีผู้เคารพ ศรัทธา บูชา อาราธนาขอบารมีท่านช่วยเหลือยามเดือดร้อนตลอดมา
    จึงถูกรักษาไว้คล้ายตัวแทนของหลวงปู่ทวดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

    [​IMG]
    ศาลาตาหุน - ยายจันทร์ โยมบิดา - มารดาหลวงปู่ทวด บริเวณสำนักสงฆ์ต้นเลียบ

    [​IMG]
    สถูปเจดีย์โบราณบริเวณโคนต้นเลียบ
    สำนักสงฆ์ต้นเลียบ ตั้งอยู่ที่บ้านเลียบ หมู่ที่ ๑ ต.ดีหลวง อ.สะทิงพระ จ.สงขลา
    ปัจจุบันมีพระปลัดสุวิทย์ อานนโท เป็นเจ้าอาวาส


    [​IMG]
    สำนักสงฆ์นาเปล
    สถานที่พญางูจงอางคายลูกแก้ว ให้หลวงปู่ทวดขณะเป็นทารกนอนหลับในเปล ใต้ต้นไม้กลางทุ่งนา ขณะที่พ่อแม่ลงนาเกี่ยวข้าว

    [​IMG]
    บริเวณคลองท่าแพ สถานที่สามเณรปู บวชญัติเป็นพระภิกษุ

    [​IMG]
    เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ประมาณปี พ.ศ. ๒๑๔๕
    พระขุนลกนำสามเณรปูไปสู่สำนักพระมหาเถระปิยะทัสสี เพื่ออุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุ
    แต่เนื่องจากไม่มีพัทธสีมา จึงต้องจัดเรือมาดตะเคียน ๑ มาดพยอม ๑ มาดยาง ๑ เอามาผูกขนานกัน
    ณ คลองหน้าท่าเรือ เพื่อทำเป็นแพ ใช้สำหรับบวชญัติ
    โดยมีพระมหาเถรปิยทสสีเป็นพระอุปัชฌาจารย์ พระมหาพุทธสาครเป็นกรรมวาจาจารย์
    พระมหาศรีรัตนะเป็นอนุฉายา " สามิราม " หรือ "สามีราโม"


    วัดเสมาเมือง จ.นครศรีธรรมราช สถานที่พักเพื่อศึกษาเล่าเรียน
    หลังจากบวชเป็นพระภิกษุที่ท่าแพ จำวัดอยู่ที่นั่นระยะหนึ่ง
    หลวงปู่ทวดก็ได้กลับไปจำวัดและศึกษาอยู่ที่วัดเสมาเมืองอีกประมาณ ๓ ปี
    จึงเดินทางกลับสะทื้งพระ จังหวัดสงขลา บ้านเกิดเมืองนอน

    [​IMG]
    วิหารหลวงปู่ทวด วัดเสมาเมือง จ.นครศรีธรรมราช

    หลังจากบวชเป็นพระภิกษุที่คลองท่าแพและจบการศึกษาธรรมบริบูรณ์
    ที่สำนักพระครูกาเดิม วัดเสมาเมือง จ.นครศรีรรมราชแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสงขลาบ้านเกิด
    ด้วยสมัยดังกล่าวสทิงพระเป็นเมืองค้าขาย มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา
    จึงมีเรือค้าขายระหว่างเมืองรอบๆ ทะเลสาบกับอยุธยาจำนวนมาก

    หลวงปู่ทวดเองก็ตั้งใจจะไปศึกษาต่อ ครั้นนายอินเจ้าของเรือสำเภา จะเดินทางไปค้าขายที่กรุงศรีอยุธยา
    จึงขอโดยสารไปด้วย เรือแล่นเข้าเขตชุมพร เกิดคลื่นลมปั่นป่วน ไม่สามารถแล่นต่อได้
    ต้องทอดสมออยู่ถึง ๗ วัน น้ำจืดขาดแคลน จึงคิดว่าต้นเหตุครั้งนี้เพราะหลวงปู่ทวดอาศัยมาด้วย
    จึงได้นิมนต์ให้ท่านขึ้นเกาะโดยทางเรือมาด ขณะนั่งอยู่บนเรือ ได้ห้อยเท้าข้างซ้ายลงสู่ทะเล
    บังเกิดน้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วง เมื่อบอกให้ลูกเรือตักดื่มกิน
    ปรากฏเป็นรสจืดอย่างน่าอัศจรรย์ นายอินจึงก้มกราบขอโทษและนิมนต์กลับขึ้นเรือสำเภาอีกครั้งพร้อมน้อมรับเป็นอาจารย์
    ครั้นถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ได้พำนักอยู่ที่วัดแค วัดลุมพลีนาวาส วัดราชานุวาส
    ประมาณปี พ.ศ. ๒๑๔๙ พระเจ้าอัฐคามินี ประเทศลังกา ได้ให้พราหมณ์ถือพระราชสาส์นมา
    เพื่อท้าพนันแปลคัมภีร์ให้ใด้ภายใน ๗ วัน เวลาล่วงไป ๖ วัน ยังไม่มีภิกษุองค์ใดแปลได้
    จึงใด้นิมนต์หลวงปู่ทวด ท่านแปลใด้สำเร็จ สมเด็จพระเอกาทศรถ
    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งสมณศักดิ์ว่า "สมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์"
    เมื่อถึงเวลาอันสมควรก็ลา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจาริกรุกขมูล ธุดงค์เดินทางกลับภาคใต้
    สถานที่แวะพักแรม กลายเป็นที่ผู้คนนับถือ จนถึงปัจจุบันเช่น
    ที่บ้านหน้าโกฏ อ.ปากพนัง และวัดหัวลำพู ม.4 ต.หัวไทร อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช

    [​IMG]
    พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ พระเจดีย์วัดพะโคะ

    [​IMG]
    รูปปั้นพญางูจงอาง ชูคอแผ่แม่เบี้ยเหนือเปลขณะหลวงปู่ทวดเป็นทารกยังนอนหลับ ณ สำนักสงฆ์นาเปล

    [​IMG]
    สถูปสมภารจวง อาจารย์องค์แรกของหลวงปู่ทวดวัดดีหลวง สถานที่เริ่มศึกษาและบวชสามเณร
    ปัจจุบันอยู่ริมถนนทางหลวงแผ่นดินสาย ๔๐๘ สะทิงพระ-ระโนด
    บริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๑๑๑ ในท้องที่ ต.ดีหลวง อ.สะทิ้งพระ จ.สงขลา


    [​IMG]
    วิหารและสถูปอาจารย์จวง ภายในวัดดีหลวง

    [​IMG]
    วิหารหลวงปู่ทวดวัดสีหยัง สถานที่หลวงปู่ทวดมาเรียนหนังสือมูลกัจจายน์ กับพระครูสัทธรรมรังสี
    ซึ่งคณะสงฆ์จากกรุงศรีอยุธยาส่งมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาทางหัวเมืองฝ่ายใต้


    [​IMG]
    รูปเหมือนหลวงปู่ทวด ลักษณะท่านั่งเขียนหนังสือ ภายในวิหารวัดสีหยัง
    อยู่ห่างจากวัดดีหลวง ไปตามเส้นทางสะทิ้งพระ-ระโนด ประมาณ ๕ กม. ในท้องที่หมู่ ๓ ต.บ่อตรุ อ.ระโนด จ.สงขลา

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2010
  8. charoen.b

    charoen.b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    5,726
    ค่าพลัง:
    +15,488
  9. charoen.b

    charoen.b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    5,726
    ค่าพลัง:
    +15,488
    [​IMG]

    ผ้ายันต์หลวงปู่ทวดหนังสือศักดิ์สิทธิ์สร้างแจกเมื่อปี 2544 แม้จะเป็นของแจกแต่ไม่ธรรมดาหรอกครับการปลุกเสกสุดยอดมากทั้งเสกเดี่ยวและเข้าพิธีใหญ่ ประสบการณ์ดีครับ

    สร้างแจกพร้อมหนังสือฉบับที่ 438 จำได้ว่าผมถูกหวยด้วย

    รูปเล็กด้านซ้ายและขวาจากหนังสือศักดิ์สิทธิ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    สถานที่ปฏิบัติธรรมและละสังขาร

    กลับจากกรุงศรีอยุธยา สมเด็จเจ้าก็มาพำนักที่วัดพะโคะ บูรณะพระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุจนสำเร็จ
    ยอดเจดีย์ทำด้วยเบญจโลหะ ๓ วา ๓ คืบ สูง ๑ เส้น ๕ วา และนำลูกแก้วที่พญางูจงอางคายให้ บรรจุใว้บนยอดเจดีย์แล้ว
    อยู่มาวันหนึ่ง มีสามเณรชื่อบุญรอด บิดาชื่อนำ มารดาชื่อดำ ได้เจริญสมถะวิปัสสนาจนถึงฌานสมาบัติขั้นโลกียะ
    จนรู้ว่ามีพระโพธิสัตว์บังเกิดขึ้นแล้ว จากทางใต้ไปหา โดยนำดอกไม้ไปด้วย
    คืนนั้นปรากฏมีดวงไฟสว่าง 2 ดวงลอยโชติช่วง บริเวณรอบวัด แล้วลอยหายตามกันไปสู่ทิศใต้
    หลังจากนั้นก็ไม่มีใครกล่าวถึงการเห็นหลวงปู่ทวดและสามเณรรูปนี้อีกเลย

    แต่ในระยะเวลาเดียวกันได้ปรากฏมีพระภิกษุชรารูปหนึ่งขึ้นที่เมืองไทรบุรี
    ไม่มีใครกล่าวถึงว่าท่านมาจากที่ใด ด้วยผิวกายท่านดำคล้ายชาวลังกา จึงเรียกท่านว่า "ท่านลังกา"
    บางคนก็เรียกว่า " ท่านองค์ดำ" ด้วยเส้นทางค้าขายแลกเปลียนสินค้าของสองฝั่งมาลายูในสมัยโบราณ
    จุดเชื่อมหลักเส้นทางบกที่สำคัญคือ เส้นทางไทรบุรี - ปัตตานี เลียบผ่านแนวเทือกเขาสันกาลาคีรี โดยใช้ช้างเป็นพาหนะหลักในการเดินทาง

    [​IMG]
    แผนที่เส้นเดินทางค้าขายโบราณ ๒ ฝั่งคาบสมุทรมาลายู ปัตตานี-ไทรบุรี

    ด้วยรัฐปัตตานีใด้ใช้ระบบการปกครอง แบบรัฐอิสลามมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๐๐๐ มีผู้คนทั่วเอเซียเดินทางมาเพื่อศึกษาศาสนาอิสลาม
    จนได้รับกล่าวนามว่า ระเบียงแห่งเมกกะ หรือ Serambi Mekah
    และในสมัยหลวงปู่ทวดเองสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับปัตตานีก็เกิดขึ้นหลายครั้ง
    เช่นปี พ.ศ. ๒๑๔๖ ๒๑๗๓ ๒๑๗๕ ๒๑๗๖ ๒๑๘๑ ๒๒๒๑
    หลวงปู่ทวดเองคงเปรียบเหมือนตัวแทนแห่งความดี ความเมตตา จากกรุงศรีอยุธยา
    ที่จะช่วยเช็ดน้ำตาแก่ชาวพุทธกลุ่มน้อยๆในท่ามกลางดินแดนที่ปกครองโดยกษัตริย์ทีเป็นชาวมุสลิม
    ท่านคงจะเดินทางเผยแพร่ธรรมมะขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า
    และบวชเรียนแก่ผู้ศรัทธาระหว่างเส้นทางโบราณระหว่างปัตตานี-ไทรบุรี
    โดยมีวัดช้างให้ของรัฐปัตตานีและวัดใดวัดหนึ่งในรัฐเปรัคเมืองไทรบุรี
    เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อในการประกาศเผยแพร่พระศาสนา
    และปลีกวิเวกปฏิบัติธรรมตามแนวเส้นทางรุกขมูลธุดงค์ ดังมีหลักฐานตำนานอยู่หลายที่ เช่น
    ที่ถ้ำตลอด ต.เขาแดง อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา
    เนินเขาบ้านช้างให้ตก ต.ช้างให้ตก อ.โคกโพธิ์
    และที่เขารังเกียบ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เป็นต้น

    เทือกเขาสันกาลาคีรี ทอดแนวยาวและกว้างไกล เส้นทางโบราณ
    ต้องผ่านป่า และลัดเลาะไปตามช่องแนวเทือกเขา หลีกเลี่ยงภูเขาสูง
    ที่ทอดยาวขวางกั้นระหว่างรัฐปัตตานีและไทรบุรี
    (ภาพนี้ถ่ายจากบริเวณจุดชมวิว เขารังเกียบ อุทธยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี)

    [​IMG]

    เขารังเกียบ แนวเทือกเขา ฝั่งปัตตานี ห่างจากเส้นทางค้าขายโบราณเล็นน้อย
    ทางขึ้นอุทยานน้ำตกทรายขาว โดยเลี้ยวซ้ายที่หน้าสำนักอุทยาน ไปตามสันเขาประมาณ ๓ กม.
    มีลักษณะเป็นชง่อนหินก้อนใหญ่ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๕๐๐ เมตร

    จุดดังกล่าวเป็นที่โล่งแจ้ง ไม่มีต้นไม้ใหญ่เพราะลมพัดแรงไม้ใหญ่หักโคนหมด
    ด้วยอยู่ในร่องเขาทางเดินของทิศทางลม เป็นพื้นที่ว่างประมาณ ๑ ไร่ถือเป็นจุดชมวิวที่เหมาะสม
    เมื่ออยู่บริเวณดังกล่าวจะสามารถมองเห็นพื้น จ.ปัตตานี ใด้สุดสายตา จนถึงทะเล
    เป็นจุดพักของนักเดินที่จะเดินทางต่อเพื่อพิชิตยอดเขานางจันทร์ อันเป็นยอดแม่ที่สูงที่สุดในเทือกเขาสันกาลาคีรี
    ด้านล่างของชง่อนหินดังกล่าวเป็นถ้ำ มีพระพุทธรูปไม้แกะ ๒ องค์

    หลวงปู่ทวดใช้ถ้ำนี้เพื่อทำวิปัสสนากรรมฐาน ช่วงเดินทางธุดงค์ระหว่าง วัดช้างให้กับเมืองไทรบุรี
    เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สามารถบนบานขอฝนได้
    คล้ายกับสถานที่ วัดร้างบ้านโกร๊ะใน ต.กั๊วลั๊ว อ.เปิงกาลันฮูลู รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย
    ซึ่งเป็นวัดร้างอีกแห่งหนึ่งที่สร้างสมัยหลวงปู่ทวดและเมื่อท่านละสังขาร ที่ " สะมีมาตี "
    ก็ได้จัดขบวนและหามสังขารมาพักที่นี่เป็นจุดแรก
    ชาวบ้านเรียกบริเวณดังกล่าวว่า"สามีฮูยัน" หรือ "หลวงพ่อทวดขอฝน" คาดว่าหลวงปู่ทวดเคยทำพิธีขอฝนที่นี่ก็เป็นได้

    [​IMG]

    พระพุทธรูปไม้แกะ 2 องค์ ที่ถ้ำวิปัสนา บนเขารังเกียบ

     
  11. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    เนินเขาหลังวัดช้างให้ตก ต.ช้างให้ตก อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
    สถานที่แวะพักและปฏิบัติธรรม ระหว่างเดินทางธุดงค์


    นับเป็นจุดแวะพักและปฏิบัติธรรม ที่ใกล้เส้นทางค้าขายโบราณมากที่สุด
    มีลักษณะเป็นเนินเขาลูกเล็กๆใกล้ทุ่งนา อยู่ห่างจากแนวเทือกเขาสันกาลาคีรีประมาณ ๔-๕ กม.
    ด้านหน้าของภูเขาเป็นย่านชุมชนและจุดแลกเปลี่ยนสินค้าในสมัยโบราณ จากคำบอกเล่าของชาวบ้านสืบต่อกันมา
    ที่นี่เป็นวัดมาก่อนวัดช้างให้ มีเจ้าอาวาสที่เป็นสหายธรรมกับหลวงปู่ทวด ชื่อสมภารหูยาน (อาจจะมีชื่ออื่น แต่รูปร่างลักษณะหูยาน)
    หลวงปู่ทวดจึงแวะมาที่นี่เสมอเมื่อผ่านเส้นทางดังกล่าว วัดนี้เดิมชื่อวัดบรรลือคชาวาส
    ซึ่งมีชื่อสอดคล้องกับช้างเช่นกัน และหมู่บ้านนี้ชื่อช้างให้ (ตก - ตอนหลังมีคำว่า ตก เพราะกลัวสับสนกับวัดช้าให้ในปัจจุบัน)
    ชาวบ้านอายุ ๗๐-๘๐ ปี เล่าว่าสมัยเมือไม่ต่ำกว่า ๕๐ ปีที่ผ่านมา ด้านหน้าของวัดเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้า
    ระหว่างของป่าและทะเลโดยมีจุดเชื่อมสำคัญที่บ้านท่าเรือ ต.ท่าเรือ อ.โคกโพธิ จ.ปัตตานี
    สินค้าทางทะเลจะขนส่งมาทางเรือ พ่อค้าจะบรรทุกเกวียน และช้างหรือหาบมา เพื่อมาขึ้นช้างต่อที่นี่
    เพื่อส่งต่อไปตามเมืองต่างๆตามเส้นทางโบราณ บริเวณหน้าวัดบางวันจึงมีช้างผูกอยู่นับ ๒๐-๓๐ เชือก
    และคาดหลวงปู่ทวดเองพร้อมผู้ติดตามในการเดินทางไปเผยแพร่ธรรมมะในปลายแหลมมลายู
    ก็คงจะใช้ช้างเป็นพาหนะเช่นกัน ด้วยบุญคุณของช้าง จึงใด้ชื่อวัดของท่านว่าวัดช้างให้
    จะเท็จจริงแค่ไหนไม่อาจยืนยันใด้ เพราะผ่านเลยมาแล้ว ๔๐๐ กว่าปี

    [​IMG]

    สภาพเนินเขาหลังวัดช้างให้ตกในปัจจุบัน

    คงจะเดินธุดงค์ทางผ่านป่าเขาตามเส้นทางระหว่างปัตตานีและไทรบุรีหลายครั้ง
    ด้วยวัยชราภาพระหว่างเดินทางไปเผยแพร่ธรรมมะและบุกเบิกสถานที่บริเวณแม่น้ำสามสายบรรจบกันที่เมืองไทรบุรี
    ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ ต.เกอร์นาริ่ง อ.กริก รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย

    หลวงปู่ทวดก็ได้ละสังขาร บริเวณไม่มีร่องรอยการสร้างวัด เป็นหมู่บ้านชุมชนมุสลิมที่สร้างขึ้นใหม่
    เป็นเนินดินริมฝั่งแม่น้ำ กว้าง x ยาว ประมาณ ๕ x ๑๕ เมตร
    ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงเรียกสถานที่ดังกล่าวว่า สะมีมาตี แปลว่า พระตาย สืบต่อกันมาเป็นทอดๆ
    มีโรงเรือนไว้สำหรับทำพีธี ในเดือน ๓ ของทุกปี และใช้เป็นที่แก้บนแก่ผู้ศรัทธา

    แม้นแต่ชาวมุสลิมที่อยู่รอบๆบริเวณดังกล่าวก่อนจะนำบุตรหลานเข้าพิธีสุนัต หรือบวชตามหลักศาสนาอิสลาม
    ก็ต้องทำขนมมาถวายและบอกกล่าวบริเวณดังกล่าว
    หากไม่ดำเนินการ จะเจ็บป่วยเป็นไข้ขึ้นมาทันตาเห็นเป็นที่ประจักษ์
    สถานที่นี้จึงเป็นที่นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ ไม่ถูกบุกรุกเหยียบย่ำทำลาย
    มาในระยะหลังหลวงพ่อรื่นหรือพระครูอนุรักษ์ โพธิจิต ไดนิมิตเห็นหลวงปู่ทวดและบอกให้สร้างเจดีย์
    บริเวณที่ท่านมรณภาพดังกล่าว ท่านจึงได้มาสร้างสถูปเจดีย์ขึ้นบริเวณดังกล่าว

    ส่วนกุฏิสถานที่พักอยู่ห่างจากสถูปริมน้ำแห่งนี้ ประมาณ ๓ กม.เดิมเป็นที่ว่างประมาณ ๑ ไร่
    อยู่ใกล้ถนนทางเข้าสวนยางพาราบ้านกำปงซาวา โดยรอบๆเป็นสวนยางพารา
    โดยบริเวณใกล้กันขณะนี้คงเหลือตอไม้เนื้อแข็งขนาด ๓ คนโอบสูงประมาณ ๕ เมตร
    ห่างออกไปประมาณ ๒๐๐ เมตร มีบ่อน้ำโบราณ
    ตามคำบอกเล่าของคนในพื้นที่เดิมเป็นบ่อน้ำบ่อเดียวของหมู่บ้านและไม่เคยขาดน้ำ
    ปัจจุบันได้ปรับปรุง ด้วยการใส่ท่อซิเมนต์กันดินพังทะลาย สะดวกแก่การใช้สอย
    เชื่อว่าในอดีตหลวงปู่ทวดซึ่งเคยพัก อาศัยที่กุฏิใกล้ตอ ไม้ใหญ่ ใช้น้ำบ่อนี้

    [​IMG]
    บริเวณแม่น้ำสามสายไหลมาบบจบกัน สถานที่ละสังขารหลวงปู่ทวด

    [​IMG]
    พ่อท่านเขียวและคณะขณะพิจารณาบ่อ่น้ำก่อนบูรณะ

    [​IMG]
    สภาพบ่อน้ำหลังบูรณะ

    [​IMG]
    สภาพบริเวณตอไม้บริเวณหลวงปู่ทวดปฏิบัติธรรม ก่อนปรับปรุงพื้นที่

    [​IMG]
    สภาพบริเวณตอไม้หลังปรับปรุงพื้นที่

    [​IMG]
    พ่อท่านเขียว ขณะทำพิธีวางศิลาฤกษ์ สร้างสถูปเจดีย์เมื่อ ๑๘ มีค.๕๐

    [​IMG]
    สภาพความเปลี่ยนแปลง บริเวณสร้างสถูปเจดีย์ เมื่อ ๑๘ มีค.๕๑

     
  12. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    เส้นทางหลังละสังขารก่อนถึงวัดช้างให้

    ๑. สถูปริมน้ำ สุไหงเกอร์นาริงค์
    ลักษณะเป็นสถูปเจดีย์เล็กๆ บริเวณแม่น้ำ ๓ สาย
    คือแม่น้ำเกอร์นาริง แม่น้ำสุไหงบ๊ะห์ และ สุไหงเปรักไหลมาบรรจบกัน
    อยู่ในตำบลเกอร์นาริ่ง อ.กริก รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย
    จุดดังกล่าวสามารถมองเห็นความแตกต่างของสีน้ำแต่ละสายได้อย่างชัดเจน
    ซึ่งเป็นแม่น้ำใหญ่มีต้นน้ำอยู่บนเทือกเขาสันกาลาคีรี
    เป็นสถานที่ละสังขารของหลวงพ่อทวดเมื่อ ประมาณปี พ.ศ. ๒๒๒๔
    ขณะเดินทางรับกิจนิมนต์มาตรวจดูทำเลสถานที่ เพื่อจะสร้างเมืองใหม่
    ชาวบ้านที่นี่เชื่อกันว่าเป้นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เรียกที่นี้ว่า "สะมี่มาตี้"

    [​IMG]
    สะมีมาตี สถูปบริเวณแม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน
    สะมี ภาษามาลายู แปลว่า "พระภิกษุ " ส่วน มาตี แปลว่า "ตาย"

    ๒. ต้นไทรในป่าบ้านกั๊วะลั๊ว(บ้านโกร๊ะไน)
    สถานที่วัดเก่าที่หลวงปู่ทวดเคยสร้างเมื่อ ๓๐๐ ปีก่อน เรียกว่า สามีฮูยัน หรือ หลวงพ่อขอฝน
    ขณะเหลือเพียงต้นไทรอยุในป่ารกบ้านกั๊วะลั๊วะ ต.กั๊วลั๊ว อ.เปิงกาลันฮูลู รัฐเปรัค
    ซึ่งในอดีตที่นี่เป็นที่ตั้งชุมชนเก่าของคนไทยที่ต้องย้ายออกจากพื้นที่
    ตามนโยบายปราบปรามโจรจีนคอมมิวนิสต์ของประเทศมาเลเซีย เรียกว่า บ้านโกร๊ะใน
    โดยให้ชุมชนย้ายไปอยู่ที่บ้านตาเสะ เป็นสถานที่พักศพของหลวงพ่อทวดต่อจากสะมีมาตี

    ๓. วัดจะดาบ
    เป็นสถานที่วัดร้าง อยู่ห่างจากบริเวณต้นไทรในป่าบ้านกั๊วลั๊ว ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๓ กม.
    เคยเชื่อกันว่าเป็นสถานที่พักสังขารอีกแห่งหนึ่ง อยู่ในท้องที่ ต.ลูการ์สือมัง อ.โกร๊ะ รัฐเปรัค
    แต่เนื่องถูกปล่อยให้รกร้างมานาน ขาดการเอาใจใส่ดูแล ปัจจุบันจึงไม่มีหลักฐานอะไรหลงเหลืออยู่

    ๔. โคกเมรุ
    นับเป็นจุดพักสังขารอีกแห่งหนึ่งที่ยังหาหลักฐานเพิ่มเติมไม่ได้
    นอกจากคำบอกเล่า และประเพณีชึ่งชาวพุทธจะมารวมตัวกันทำบุญตักบาตรในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๕ ของทุกปี
    คล้ายๆบริเวณสามีมาตี สมัยก่อนผู้เดินทางผ่าน จะได้กลิ่นหอมลอยมาตามลม
    สภาพที่ตั้งอยู่เป็นที่สูงเรียกว่าโคกเมรุ ในตำบลบาลิ่งนอก อ.บาลิ่ง รัฐเคดาห์

    ๕. ควนเจดีย์
    เป็นจุดพักสังขาร ที่เดิมเคยมีสถูปเจดีย์ ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงที่พักสังขารหลวงปู่ทวด
    แต่เนื่องจากเจ้าของที่ดินเป็นชาวมุสลิม จึงถูกรื้อทำลาย บางคนเรียกสถานที่นี้ว่า บุกิตจันดี
    ซึ่งภาษามาลายูเรียกภูเขาว่าบุกิต ภาษาใต้เรียกภูเขาว่าควน ส่วนคำว่าจันดี เป็นคำที่เรียกเจดีย์
    สรุปแล้วคือภูเขาที่มีเจดีย์ ชาวบ้านบางคนเรียกภูเขาลูกนี้ว่า ควนฆ้อง
    เพราะมีเรื่องเล่ากันต่อๆ มาว่าในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
    จะได้ยินเสียงฆ้องดังมาจากบริเวณดังกล่าว สถานที่ดังกล่าวอยู่ในตำบลเตอร์ลอยกานัน อ.สุไหงปัตตานี รัฐเคดาห์

    ๖. เนินดินหลังวัดเทพสุวรรณาราม
    เป็น นินดินมีหลังคาสังกะสีครอบอยู่ปัจจุบันแก่นไม้ได้ชำรุดสูญหายไปแล้ว
    อยู่หลังวัดสุวรรณาราม หรือ วัดนางแปลง อยู่ที่บ้านปาดังแปลง ต.ปาดังแปลง อ.เปิ้นดัง รัฐเคดาห์
    เป็นสถานที่พักศพอีกแห่งหนึ่งที่ยังพอมีหลักฐานหลงเหลืออยู่บ้าง

    ๗. สถูปเจดีย์ วัดโพธิเจติยาราม
    เป็นสถูปเจดีย์บรรจุอัฐิของหลวงพ่อทวด ซึ่งได้นำมาจากวัดช้างให้ หลังจากได้ฌาปนกิจสังขารแล้ว
    เชื่อ าวัดในเมืองไทรบุรี ที่ชาวบ้านบริเวณวัดช้างให้กล่าวถึงคือวัดนี้
    โดยตอนหนึ่งในประวัติของหลวงปู่ทวดจากคำบอกเล่าต่อๆ กันมากล่าวว่า
    "ท่านใด้สิ้นบุญที่เมืองไทรบุรี ญาติโยมได้ช่วยกันหามสังขารกันเป็นทอดๆ
    มาฌาปนกิจที่วัดช้างให้ตามที่ได้สั่งไว้ แล้วสร้างเขื่อน ( สถูปเจดีย์ ) ไว้บรรจุอัฐิ
    บางส่วนมอบให้ญาติโยมนำกลับไปบรรจุที่วัดในเมืองไทรบุรี
    ชาวบ้านมักเรียกวัดนี้ว่า วัดทุ่งควาย เพราะอยู่ที่บ้านทุ่งควาย เรียกอีกชื่อว่า กำปุงจีน่า
    อยู่ในท้องที่ตำบลปาดังเกอรืเบา อ.เปิ้นดัง รัฐเปรัค
    สมัยก่อนคณะศิลปิน หนังตลุง มะโนรา เดินทางผ่านบริเวณดังกล่าวต้องหยุดแสดงถวาย
    หากเพิกเฉยจะกิดเหตุการณ์ให้แสดงไม่ได้ บางครั้งคณะทีมงานปวดท้องขึ้นมาทันทีโดยไม่มีสาเหตุ

    ๘. เขื่อนหลวงพ่อทวดวัดลำปำ
    เดิมเป็นหลักแก่นไม้รูปดอกบัวตูมและสถูปเจดีย์ ชาวบ้านเรียกว่าเขื่อนหลวงพ่อทวด
    อยู่ในสภาพเก่าแก่ทรุดโทรมตั้งอยู่บริเวณกลางวัด ทางวัดจึงได้ปรับปรุงพื้นที่รื้อสถูปและแก่นไม้ออกไป
    ตอนขุดพบหม้อทองแดงภายในมีแผ่นเงินจารึกว่าสถานที่ตั้งศพหลวงปู่ทวด
    จึงได้นำไปฝังใว้ใกล้อุโบสถ แต่เนื่องจากขาดความสนใจมายาวนาน
    ปัจจุบันจึงไม่มีใครรู้ว่าฝังอยู่ที่ใด คงจะต้องเป็นการบ้านให้ทีมงานหาวิธีสำรวจให้ชัดเจนในโอกาสต่อไป
    วัดนี้ตั้งอยู่ที่ ต.รัมไม อ.เปิ้นดัง รัฐเคดาห์

    ๙. ควนก้นข้าวแห้ง
    เป็นจุดพักสังขารบนยอดควน ก่อนที่จะเดินทางรอนแรมต่อไป
    ลักษณะเป็นการนำหินมากองเป็นรูปทรงจอมปลวก
    คาดว่าการขึ้นไปถมดินในภายหลังคงไม่สดวกเนื่องจากอยู่ในที่สูงประมาณ ๑๐๐ เมตร
    ต่างจากจุดอื่นๆ ทีชาวบ้านจะมาแก้บนหลังหลวงปู่ทวดช่วยให้ประสบผลสำเร็จ
    โดยจะนำขนมมาถวายและนำดินมาถมบริเวณแก่นไม้
    ปัจจุบันมีรูปหล่อหลวงปู่ทวด บางคนเรียกสถานที่นี่ว่าทวดชีขาว
    อยู่บนยอดเขาควนข้าวแห้ง ต.เตอกายร์คีรี อ.ปาดังเอตรัป รัฐเคดาห์

    ๑๐. แก่นไม้รูปดอกบัวตูม บ้านปลักคล้า
    เป็นหลักแก่นไม้รูปดอกบัวตูม บนเนินดินที่มีลักษณะคล้ายจอมปลวก
    ตั้งอยู่ริมคลองชันใกล้วัดปักคล้าซึ่งปัจจุบันวัดนี้ได้ร้างไปแล้ว
    ปัจจุบัน ได้มีการก่อปูนเป็นรูปสี่เหลี่ยมล้อมรอบเนินดิน มีศาลาครอบ
    มีองค์หลวงพ่อทวดประดิษฐานอยู่หน้าสถูป
    บ้านปลักคล้านี้อดีตเป็นที่ตั้งชุมชนคนไทย อยู่ในท้องที่ ต.นาคา อ.ปาดังเตอรัป รัฐเคดาห์
    ปัจจุบันชุมชนดังกล่าวใด้ย้ายไปตั้งที่บ้านนาคา

    ๑๑. แก่นไม้รูปดอกบัวตูม บ้านนาข่า
    เป็นหลักแก่นไม้รูปดอกบัวตูม บนเนินดินที่มีลักษณะคล้ายจอมปลวกเช่นกัน
    อยู่ห่างจากหลักไม้แก่นรูปดอกบัว บ้านปลักคล้ามาทางทิศตะวันออกประมาณ ๖๐๐ เมตร
    เป็นสถานที่พักสังขารที่อดคิดไม่ได้ว่าทำไมจึงใกล้กันมาก
    บางคนสันนิษฐานว่าได้มีการจัดขบวนใหม่ที่นี่อีกครั้ง ปัจจุบันมีศาลาสังกะสีครอบ
    แต่อยู่ในสภาพทรุดโทรมภายในสวนยางพาราของชาวบ้านอยู่ที่บ้านนาข่า ต.นาคา อ.ปาดังเตอรัป รัฐเคดาห์

    ๑๒. แก่นไม้รูปดอกบัวตูม บ้านบางฉมัก
    เป็นหลักแก่นไม้รูปดอกบัวตูม ชาวบ้านเรียกเขื่อนหลวงพ่อทวด
    มีศาลาสังกะสีครอบ อยู่ภายในสวนยางพาราของชาวบ้านใกล้ๆ กับวัดพิกุลธารารม ต.เปอร์ตู อ.ปาดังเตอร์รัป รัฐเคดาห์

    ๑๓. แก่นไม้รูปดอกบัวตูม วัดดินแดง
    เป็นหลักแก่นไม้รูปดอกบัวตูม ดินที่พูนสูงขึ้นมีจอมปลวกขึ้นปกคลุม
    ได้สร้างอาคารก่ออิฐถือปูนครอบและมีรูปหล่อหลวงปู่ทวดอยู่ภายในอาคาร
    ตั้งอยู่บริเวณวัดดินแดง ต.กัวลานารัง อ.ปาดังเตอรัป รัฐเคดาห์

    ๑๔. หลักหินวัดไทยประดิษฐาราม
    เป็นหลักหินรูปดอกบัวตูม แทนหลักไม้แก่นที่ชำรุดสูญหาย
    โดยพ่อท่านพร้อมวัดพิกุลเป็นผู้นำมาตั้งแทน
    ได้สร้างศาลาก่ออิฐถือปูนครอบและนำรูปหล่อหลวงปู่ทวดใว้ภายในอาคารด้วย
    วัดนี้มีต้นไทรโอบโหนดอยู่ จึงเรียกว่า วัดไทรบอตอ หรือ วัดปาดังสะไหน
    อยู่ห่างจากชายแดนไทยบ้านประกอบ ๑๐ กิโลเมตร อยู่ในท้องที่ ต.ปาดังสะไหน อ.ปาดังเตอรัป รัฐเคดาห์

    ๑๕. หลักไม้แก่นรุปดอกบัวบ้านปลักทะ
    สอบถามจากพระภิกษุแก้ว ธรรมวุฒิโฒ อายุ ๗๐ ปี
    วัดทุ่งไพล ม.๑ ต.เขาแดง อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา บวชมาแล้ว ๑๕ พรรษา
    บ้านเดิมของท่านอยู่ห่างจากจุดละสังขารหลวงปู่ทวดหลักนี้ประมาณ ๒ กม.
    ท่านเล่าเดิมเป็นหลักไม้แก่นขนาดขาคน สูงจากพื้นประมาณ ๑ เมตร
    ปักอยู่บนเนินดินคล้ายจอมปลวก เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านนำดินและทรายมาถมเพื่อแก้บน
    อยู่ห่างจากปลักน้ำใหญ่ประมาณ ๑๐๐ เมตร ใกล้เส้นทางโบราณ
    เดิมป็นคลองลึกและกว้างคนเดินทางจะนำช้างลงเล่นน้ำที่นี
    ร่องรอยเดิมถูกทำลายปรับพื้นที่เป็นสวนยางพาราและที่อยู่อาศัย
    แต่ยังพอมีคนแก่จำความได้เล่าต่อๆกันมาเป็นสถานที่พักสังขารหลวงปู่ทวด

    [​IMG]

    มีทีมจากอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ ร่วมกับลุงชม รัตนะ บ้านถ้ำตลอด ซึ่งขณะนี้ได้เสียชีวิตไปแล้ว
    สร้างเสาร์ปูนปั้นปักไว้เป็นเครื่องหมาย ปัจจุบันมีผู้ศรัทธาใด้สร้างสถูปรูปเจดีย์ขึ้นบริเวณดังกล่าว
    จุดดังกล่าว อยู่ใกล้ถนนภายในหมู่บ้านปลักทะ ม.6 ต.เขาแดง อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา

    ๑๖. สถูปปูนปั้นรูปดอกบัว ที่วัดบันลือคชาวาส(ช้างให้ตก)
    นับเป็นจุดพักสังขารจุดสุดท้ายก่อนถึงวัดช้างให้ซึ่งอยู่ไปทางทิศตะวันออกเฉียง ใต้อีกประมาณ ๑๒ กม.
    ด้วยแนวเส้นทางที่ไม่ผ่านภูเขาคาดว่าน่าจะใช้เวลาในการเดินทางของขบวน ไม่เกินครึ่งวัน
    ที่นี่เดิมมีหลักไม้แก่นรุปดอกบัวตูม ปักอยู่กลางเนินดินแต่ทางวัดใด้อนุญาตให้ปรับพื้นที่เพื่อสร้างโรงเรียน
    เสาหลักดังกล่าวจึงถูกขุดหายไปตั้งแต่บัดนั้น

    ต่อมาทางวัดใด้สร้างสถูปรูปดอกบัวตูมขึ้นมาใหม่แทนของเดิมและสร้างมณฑปครอบใว้อีกชั้นหนึ่ง
    ภายในมีรูปหลวงปู่ทวดใว้สักการะบูชา หลังจากสร้างมณฑปเสร็จเจ้าอาวาสรูปก่อนได้จัดงานฉลอง
    คืนนั้นได้ปรากฏดวงไฟขนาดใหญ่ลอยมาจากวัดช้างให้มาลงที่มณฑปดังกล่าว
    คาดว่าหลวงปู่ทวดคงรับรู้ เพราะในสมัยก่อนชาวบ้านจะเห็นแสงไฟ ๒ ดวงลอยตามกันไประหว่างสถานที่เกี่ยวของกับท่านอยู่สม่ำเสมอ

    ข้าพเจ้าเคยแวะที่วัดสีหยัง อ.ระโนด จ.สงขลา เมื่อประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๑
    ขณะพูดคุยกับพระภิกษุแดง ถานังคโล พระลูกวัดที่นี่เกียวกับหลวงปู่ทวด
    ได้มีชายกลางคนบ้านอยู่ใกล้ๆวัดซึ่งมาช่วยงานวัดประจำเล่าว่าสมัยช่วงแกเป็นหนุ่ม
    จะเห็นดวงไฟสองดวงลอยตามกัน ความสูงขนาดยอดมะพร้าว
    ในตอนกลางคืนจากหัวนอน(ทิศใต้ -วัดช้างให้) ในฤดูเก็บเกี่ยวข้าวเดือน ๓ เดือน ๔ เป็นประจำ
    คนสองฝั่งทะเลสาปจะมองเห็นกันทั่วไป
    แต่ชาวบ้านบริเวณรอบๆวัดที่เกียวข้องกับหลวงปู่ทวด จะรู้ว่าหลวงปู่ทวดเสด็จมาแล้ว
    บางคนจะทำขนมโคและอาหารไปถวายพระที่วัดด้วยถือว่าเป็นการต้อนรับหลวงปู่ทวด
    แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏให้เห็น พูดถึงเรื่องเล่าหลวงปู่ทวดที่นอกเหนือจากตำนานมีมาก
    แม้แต่สถานที่ช่วงก่อนหลวงปู่ทวดละสังขาร เหตุที่ละสังขาร ช่วงการเดินทาง
    ข้าพเจ้าก็ใด้รับการพูดคุยทางโทรศัพย์กับลูกศิษย์เจ้าอาวาส ผู้มีชื่อเสียงบางรูป
    ถ้าเอ่ยชื่อคิดว่าหลายคนคงรู้จัก ท่านใด้เข้าฌานย้อนอดีตไปอยู่ในสมัยหลวงปูทวดได้
    โดยลูกศิษย์ของท่านได้เล่าภาพนิมิต เหตุการณ์ที่ท่านเห็นขณะเข้าฌานขณะนั้นๆ ได้
    แต่คิดว่าไม่ไช่ประวัติศาสตร์หรือเรื่องเล่าที่จะมาเขียนเพื่อเผยแพร่ได้เป็นการรับรู้เฉพาะตนเฉพาะบุคคล
    นอกจากใครที่อยากรู้จริง ติดต่อไปจะแนะนำให้แล้วไปทำพิธี พูดคุย สอบถามกันเอง
    เขียนนอกเรื่องมาพอสมควรเพื่อยืนยันพลังอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวด
    ที่สามารถทำให้เรื่องราวของท่านอยู่ในความทรงจำ ของชาวบ้านตกกันมาเป็นทอดๆ สู่รุ่นลูกรุ่นหลานไม่สูญหาย
    แม้นระยะเวลาผ่านไปถึง ๔๐๐ กว่าปี

    สำหรับจุดพักสังขารครั้งสุดท้ายนี้ อยู่บริเวณวัดช้างให้ตก
    (วัดบันลือคชาวาสเดิม ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๓๒ ) ม.๓ ต.ช้างให้ตก อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

    [​IMG]
    มณฑปวัดช้างให้ตก ภายในปูนปั้นรูปดอกบัว
    เครื่องหมายสถานที่พักสังขารหลวงปู่ทวด


    [​IMG]
    ปูนปั้นรูปดอกบัว ภายในมณฑปวัดช้างให้ตก
    ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ ๒๑ กค. ๒๕๕๐
    ขณะพระภิกษุสงฆ์ พิธีพุทธาภิเสกเหรียญที่ระลึกในการค้นพบและสร้างอนุสรณ์สถานในครั้งนี้

     
  13. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    วัดช้างให้ สถานที่ฌาปนกิจและสร้างเขื่อน(สถูป)บรรจุอัฐิหลวงปู่ทวด

    [​IMG]

    นับแต่ใด้สร้างวัดช้างให้ ทางฝั่งปัตตานี หลวงปู่ทวดก็ได้เดินทางธุดงค์ เพื่อเผยพระพุทธศาสนาไปสู่เมืองไทรบุรีอีกฟากผั่งทะเล
    ผ่านป่าดงดิบ เทือกเขาสันกาฬาคีรี ท้องถิ่นธุรกันดาร และได้สร้างจุดสำหรับเป็นศูนย์พักของสงฆ์ ไว้เป็นระยะๆ
    โดยเฉพาะที่เขตเมืองไทรบุรี โดยผ่านเส้นทางการค้าโบราณ
    และแวะพักเพื่อปฏิบัติธรรมปลีกวิเวกเป็นระยะๆ แต่ด้วยเป็นวัดที่สร้างเพื่อเผยแพร่ธรรมมะ
    ที่ได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์สมัยอยุธยาและเจ้าเมืองไทรบุรีเป็นหลัก
    ถือเป็นกองทัพธรรมที่เข้าไปเป็นตัวประสานความขัดแย้งหลังจากที่เกิดสงครามขึ้น ในปลายแหลมมาลายูหลายครั้ง

    แต่เมื่อหลวงปู่ทวดแม่ทัพแห่งกองทัพธรรมละสังขารลง จึงขาดผู้นำอาวุโสทางธรรมที่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง
    ผู้ที่รับช่วงต่ออาจจะไม่มีความรู้ ความสามารถ บารมีเพียงพอ ที่จะสานต่อโครงการได้
    วัดช้างให้เองก็กลายเป็นวัดร้างไปกว่า ๓๐๐ ปี
    แต่หลวงปู่ทวดก็อยู่ในใจและความทรงจำของชาวพุทธตลอดมา
    สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับท่านไม่ว่าสถานที่เกิด วัดที่พักระหว่างปฏิบัติธรรม สถานที่พักสังขาร
    ยังเป็นที่บนบานให้ท่านช่วยเหลือยามเดือดร้อนตลอดมาหลายชั่วอายุคน

    อาจารย์ ทิมวัดช้างให้ ต้องการบูรณะวัดให้เสร็จสมบูรณ์ จึงได้สร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดตามนิมิต เพื่อมอบแก่ผู้มิจิตศรัทธา
    พระเครื่องดังกล่าวเกิดประสบการณ์อภินิหารต่างๆ นานา แก่ผู้ศรัทธา บูชาพกพาติดตัว ทั้งชาวไทย ชาวต่างประเทศต่างศาสนา
    วัดต่างๆในประเทศไทยจำนวนมากก็เริ่มมีผู้ศรัทธา สร้างหลวงปู่ทวดตามกันมาหลายรุ่นหลาย
    หลายแบบมากมายจนไม่สามารถกล่าวถึงได้หมด
    แต่หลวงปู่ทวดก็ยังเป็นที่นิยมอยู่เหมือนเดิม ไม่เสื่อมคลายตลอด ๕๐ กว่าปีที่ผ่านมา
    ไม่เหมือนวัตถุมงคลบางอย่างที่นิยมกันสุดๆ ในปีสองปีที่ผ่านมา
    แต่ปัจจุบันบางสำนักผู้สร้างต้องนำไปทิ้งตามที่ปรากฏข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่ทั่วๆไป
    คำกลอนของสมพงษ์ หนูรักษ์ ได้กล่าวถึง เจ้าอาวาสวัดช้างให้ไว้ ๕ รูป คือ
    ๑.ท่านองค์ดำ ท่านลังกา
    ๒.หลวงพ่อสี
    ๓.หลวงพ่อทอง
    ๔.หลวงพ่อจันทร์
    ๕.หลวงพ่อทิม

    เดิมบริเวณดังกล่าวเป็นวัดร้าง มีเพียงก้อนหิน ๔ ก้อน วางรอบเนินดิน
    คาดว่าเป็นเครื่องหมายบอกขอบเขตขัณฑสีมา ชาวบ้านบริเวณดังกล่าวเล่าต่อกันมาเป็นทอดๆ ว่าเป็นที่วัดร้าง
    บริเวณใกล้เคียงกันมีสถูปเจดีย์หลวงปู่ทวดที่คนละแวกดังกล่าวนับถือมาช้านาน
    และมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเต็มพื้นที่ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๐ พระครูมนูญสมณการ วัดพลานุภาพ
    ได้ทำการแผ้วถางวัดร้างแห่งนี้บูรณะเป็นวัด ให้พระภิกษุช่วง เป็นเจ้าอาวาสปกครอง
    แต่ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ก็ใด้ลาสิกขา วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ปีเดียวกัน
    พระภิกษุทิม ธมมโร จากวัดนาประดู่ ได้เข้าพรรษาและเป้นเจ้าอาวาสแทน
    แต่เนื่องจากใด้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ รัฐบาลไทยสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม
    ยินยอมให้ทหารญี่ปุ่น ยกกำลังพลขึ้นบก ผ่านประเทศไทย
    เพื่อไปโจมติกำลังฝ่ายพันธมิตร ในปลายแหลมมาลายู
    โดยใช้เส้นทางรถไฟเป็นหลักในการขนส่งทหารและสัมภาระ
    วัดช้างให้ซึ่งอยู่ริมทางรถไฟ จึงได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ใด้
    แต่ได้เกิดอภินิหารของหลวงปู่ทวดขึ้นหลายครั้งในช่วงดังกล่าว
    จนสงครามสงบจึงได้เริ่มสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดและบูรณะวัดกันอย่างจริงมีสภาพตามที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

    [​IMG]
    สภาพสถูปหลักไม้แก่นเดิมก่อนบูรณะ

    สถูปหลวงพ่อทวดฯ วัดช้างให้

    ข้อความทั้งหมดต่อไปข้างล่างนี้ คัดลอกจากหนังสือประวัติ วัดช้างให้ ปัตตานี
    ของมูลนิธิหลวงพ่อทวดและพระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธมมธโร) วัดช้างให้
    จัดรูปเล่มโดยพระมหาชรัช อุชุจาโร หน้า ๕๓-๕๙ จัดพิมพ์เมื่อปี ๒๕๔๘

    สถูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบรรจุอัฐิหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด สมภารองค์แรกของวัดช้างให้
    สถูปนี้ตั้งอยู่ใกล้ชิดกับรางรถไฟ สายใต้ระหว่างหาดใหญ่ - สุไหงโกลก
    ใกล้ชิดที่สุดระหว่างสถานีรถไฟนาประดู่กับสถานีช้างให้ในปัจจุบันนี้

    สถูปนี้มีอายุยืนนานมาประมาณ ๓๐๐ ปีเศษ แต่เดิมมีแต่เสาร์ไม้แก่นปักหมายไว้
    ประชาชนเรียกกันว่า "เขื่อนท่านช้างให้" ครั้นต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔
    ท่านอาจารย์ทิม ธมมธโร (พระครูวิสัยโสภณ) เข้ามาป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๕
    ท่านได้จัดการบูรณะก่ออิฐถือปูนห่อหุ้มเสาไม้แก่นของเดิมใว้ภายใน
    ชาวบ้านจึงเรียกว่าสถูป (บัว) หลวงพ่อทวดฯ มาจนบัดนี้

    ความศักดิ์สิทธิ์ในคุณอภินิหารของสถูปหลวงปู่ทวดฯ นี้มีมาแต่ดั้งเดิมแล้ว
    แต่เนื่องจากครั้งนั้นยังไม่มีทางรถไฟ จึงตกอยู่กลางป่าเปลี่ยวและวัดก็รกร้างอยู่
    การสักการะบูชาก็มีแต่ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงเท่านั้น
    ครั้นต่อมาการคมนาคมเจริญขึ้น มีการทำทางรถไฟสายใต้ผ่านบริเวณหน้าวัด
    และผ่านไปข้างสถูปนี้และมีถนนซอยแยก จากถนนหลวงเข้าไปถึงวัด
    ประชาชนได้รับความสะดวกในการไปมา ก็ได้พากันไปสักการะบูชาจากถิ่นไกลๆ
    มีหลายชาติหลายภาษา ยิ่งทวีมากขึ้น ดังเป็นที่ประจักษ์อยู่ ณ เวลานี้

    [​IMG]
    สถูปที่อาจารย์ทิม สร้างหุ้มไม้แก่นใว้

     
  14. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    อภินิหารของหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ได้แสดงประจักษ์แก่ชาวบ้านในครั้งนั้น
    ก็เป็นข่าวลือกันในความศักดิ์สิทธิ์ แพร่หลายไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงโดยทั่วๆ กัน
    ใครมีเรื่องป่วยไข้ได้ทุกข์ใดๆ ก็พากันมาสักการะบูชาขอให้ท่านช่วยดลบันดาลขจัดปัดเป่าสิ่งร้ายนั้นก็สำเร็จสมความประสงค์
    ชาวบ้านข้างเคียงจึงเคารพนับถือตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    บัดนี้วัดช้างให้ได้เจริญรุ่งเรือง ด้านการบูรณะก่อสร้างซึ่งมีโบสถ์หลังงาม ค่าก่อสร้างเหยียบ ๘ แสนบาท
    วิหารอันงดงามค่าก่อสร้างประมาณแสนห้าหมื่นบาท สำหรับประดิษฐานรูปหล่อจำลององค์หลวงปู่ทวดฯ ไว้สักการะบูชา
    และยังก่อสร้างกุฏิสำหรับเป็นที่พักอาศัยของสมภารเจ้าอาวาสซึ่งประมาณค่าก่อสร้างถึง หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
    ธรรมศาลา ๑ หลังราคา ๔ แสนบาท กุฏิ ๕ หลัง ๒ แสนบาท
    โรงเรียน ๑ หลังเป็นตึก ๒ ชั้น กว้าง ๙ เมตร ยาว ๕๔ เมตร ราคา ๑ ล้านบาทเศษ

    ส่วนทางด้านปฏิบัติสมณกิจก็นับว่าท่านพระครูเจ้าอาวาสได้ปฏิบัติมั่นอยู่ในศีลธรรม
    จนประชาชนหลายชาติหลายภาษา พากันนิยมเลื่อมใสทั่วๆไป
    ดังปรากฏเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วในทุกขณะ
    จึงเห็นได้ว่าวัดช้างให้มีความเจริญแล้วด้วยประการทั้งปวง สมเกียรติพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง

    หลังจากท่านอาจารย์ทิม ธมมธโร พระครูวิสัยโสภณ ฝันว่าได้พบกับหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
    ซึ่งป็นที่เคารพของประชาชนผู้เลื่อมใสอยู่ในเวลานี้
    วันหนึ่งท่านอาจารย์ทิมนึกสนุก จึงเก็บเอาก้นเทียนที่ตกอยู่ริมเขื่อน (สถูป) มาคลึงเป็นลูกอม
    แล้วแจกจ่ายแก่เด็กวัดไปโดยไม่มีความหมายอะไร
    แต่ปรากฏเป็นที่อัศจรรย์แก่ท่านว่า เมื่อเด็กได้ลูกอมก้นเทียนไปจากท่านแล้ว
    ก็ได้ใช้ลูกอมขี้ผึ้งนี้อมไว้ในปาก แล้วลองแทงฟันกันด้วยมีดและพร้ามีคมแต่ฟันแทงกันไม่เข้า
    เลยถือกันเป็นการสนุกตามประสาเด็ก จนความทราบถึงอาจารย์ฯ ก็ตกใจ เกรงเด็กจะเป็นอันตราย
    จึงเรียกเด็กมาประชุมสั่งสอนและห้ามการทดลองกันต่อไป

    หลังจากนั้นมาท่านก็เริ่มสนใจในคำปวารณาของหลวงปู่ทวดว่าจะเอาอะไรให้ขอ
    ก็พอดีพวกชายหนุ่มๆ ผู้ชอบทางคงกระพันได้พากันมาขอให้ท่านอาจารย์สักลงกระหม่อมให้ เพื่อมีไว้ค้มครองตัว
    ท่านระลึกถึงหลวงพ่อทวดฯ แล้วก็สักให้สุดแล้วแต่มือจะลากพาตัวอักขระไปเพราะท่านเองก็ไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้
    และก็ได้สั่งสอนให้พวกศิษย์ที่มาสักประพฤติแต่ความดี
    ปรากฏว่าศิษย์ท่านอาจารย์วัดช้างให้สมัยนั้น เกิดลองดีกันทางคงกะพันแล้วไม่มีศิษย์อาจารย์อื่นสู้ได้เลย
    (ขณะนั้นก่อนและ หลังสงครามดลกครั้งที่ 2 เพียงเล็กน้อย)
    หลังจากนั้นมาทางคณะสงฆ์ผู้ใหญ่สั่งห้ามพระภิกษุทำการลงกระหม่อม
    ท่านอาจารย์ทิม จึงได้ระงับงดการสักตั้งแต่บัดนั้นมาจนบัดนี้ แต่คุณอภินิหารยังปรากฏอยู่

    [​IMG]
    สภาพสถูป หลวงปู่ทวดฯ ริมทางรถไฟหน้าวัดช้างให้ ณ ปัจจุบัน
    มีรูปเหมือนของท่านประดิษฐานอยู่ด้านหน้า

    หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดโกรธทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒
    ครั้งนั้นทหารญี่ปุ่นได้เอารถไฟสายใต้ของไทยทั้งขบวนไปใช้ทำการขนส่งสัมภาระ เข้ากลันตันโจมตีสิงคโปร์
    รถไฟขบวนนี้ต้องผ่านหน้าวัดช้างให้ไปตามราง ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับเขื่อน (สถูป) อยู่ทุกๆวัน

    ต่อมาวันหนึ่ง ในเดือนมกราคม ๒๔๘๕ เวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น.
    รถไฟขบวนนี้เล่นกลับมาจากสุไหงโกลกถึงหน้าวัดหัวจักรเคียงขนานตรงกับสถูปพอดี
    ทันทีนั้นเหตุการณ์อัศจรรย์ที่ยังไม่มีใครพบเห็นก็ปรากฏขึ้น
    คือรถไฟขบวนนั้นติดตรึงอยู่กับที่ จะเคลื่อนต่อไปอีกไม่ได้
    เครื่องรถจักรยังคงเดินตามปกติ ล้อเหล็กกำลังหมุนอยู่บนรางเหล็กในที่เดิม
    จึงเกิดความร้อนมากมีประกายไฟแดงพราว ไปทั้งข้างขบวนรถนั้นอยู่สักครู่
    พนักงานหัวรถจักรและทหารญี่ปุ่นก็จนปํญญา ไม่สามารถแก้ไขนำขบวนรถเคลื่อนที่แล่นไปได้
    จึงให้รถจักรถอยหลังไปประมาณ ๑ กม. แล้วเร่งฝีจักรเต็มที่แล่นมาใหม่อีก
    แต่พอหัวรถจักรเคียงขนานกับสถูปในที่เดิมก็เคลื่อนที่ต่อไปไม่ได้อีก
    รถไฟขบวนนี้จึงทดลองแล่นมาและถอยหลังกลับอยู่ตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ น.
    จนกระทั่งใกล้จะค่ำก็ผ่านไปไม่ได้ ประชาชนชาวบ้านใกล้เคียงชวนกันมายืนดูความอัศจรรย์ครั้งนี้อย่างล้นหลาม

    ฝ่ายท่านอาจารย์เจ้าอาวาสก็ได้ยินเสียงเครื่องจักรรถไฟดังสั่นสะเทือนอยู่หน้าวัด แต่ธุระไม่ใช่
    ท่านจึงไม่ไดสนใจออกจากกุฏิดูอย่างผู้อื่น แต่เมื่อเวลาใกล้จะค่ำอยู่แล้ว
    รถไฟขบวนนี้ก็ยังคงวิ่งไปวิ่งมาอยู่ที่เดิม ท่านนึกสงสัย คิดว่าทหารญี่ปุ่นมาทำอะไรที่หน้าวัด
    ท่านจึงลงจากกุฏิไปดูกับเขาบ้าง เมื่อปรากฏแก่สายตาของท่านว่าหัวรถจักรติดอยู่เพียงสถูปทุกๆ ครั้ง ที่ขณะกลับไปกลับมา
    ท่านจึงนึกว่าน่าจะเป็นอภินิหารของท่านหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดเล่นงานขบวนรถไฟนี้เสียแล้ว
    ท่านอาจารย์จึงเดินเข้าไปใกล้สถูปแล้วนึกในใจว่า ถ้าหากหลวงปู่ทวดลงโทษยึดขบวนรถไฟนี้แล้ว
    ก็ขอให้ยกโทษปล่อยให้เขาไปทำงานตามหน้าที่ของเขาเถิด
    เขาเป็นพวกนอกศาสนาไม่รู้จักอะไร อย่าถือโทษเขาเลย
    และทันทีนั้นรถไฟก็ค่อยๆ เคลื่อนจากที่เดิมวิ่งไปได้เป็นปกติ
    และในคืนนั้นท่านอาจารย์นอนพอเคลิ้มใกล้จะหลับ
    ก็ได้ยินเสียงพูดข้างหูเป็นเสียงคนแก่พูดอย่างเกรี้ยวกราดว่า อ้ายพวกญี่ปุ่นมาดูถูกพวกเรา (ชาติไทย)
    มันข่มเหงเอารถไฟเราไปใช้ ดีแต่มีลูกๆ อยู่บนรถสองตัว
    มิฉะนั้นจะผลักให้ตกจากราง กูไม่ยอมให้มันเอาไปใช้เป็นอันขาด

    ท่านอาจารย์ไม่ทราบว่าอะไร ที่หลวงปู่ทวดเรียกว่าลูกสองตัวอยู่บนรถ
    ต่อมาประมาณ ๗-๘ วัน ได้มีชายสองคนมาหาท่านที่วัดและขอถวายตัวเป็นศิษย์และเล่าให้ท่านอาจารย์ฟังว่า
    เขาสองคนเป็นพนักงานหัวรถจักร และในวันที่ขบวนรถไฟติดอยู่หน้าวัดนั้น
    เขาสองคนเป็นคนไทยอยู่บนรถขบวนนั้น นอกนั้นเป็นทหารญี่ปุ่นทั้งหมด
    จึงได้ทราบกันว่าลูกสองตัวก็คือคนไทยสองคนนี่เอง

    ครั้งที่ ๒ ต่อจากขบวนรถไฟญี่ปุ่นถูกหลวงพ่อทวดฯ ยึดครั้งที่ ๑ มาประมาณเดือนเศษ
    วันหนึ่งเวลาเช้า มีเด็กๆเล่นอยู่หน้าวัดและใกล้ๆกับสถูปนั้น ได้พูดเล่ากันถึงหลวงพ่อทวดฯ ยึดขบวนรถไฟคราวแรก
    มีเด็กคนหนึ่งพูดท้าขึ้นว่า วันนี้หลวงพ่อทวดฯ ยึดรถไฟหรือไม่ยึด อีกฝ่ายหนึ่งว่าไม่ยึด
    ฝ่ายที่ว่ายึดก็ได้ไปเก็บเอาก้นเทียนและธูปที่เหลืออยู่หน้าสถูปจุดไฟขึ้นบูชา
    และอาราธนาขอให้หลวงปู่ทวดฯยึดขบวนรถไฟที่กำลังวิ่งมา
    วันนั้นเวลาเช้ามีขบวนรถไฟเช้าวิ่งระหว่างยะลา-หาดใหญ่
    พอหัวรถจักรเคียงขนานกับสถูปศักดิ์สิทธิ์ ก็หยุดนิ่งอยู่กับที่จะเคลื่อนที่ต่อไปก็ไม่ได้อย่างครั้งแรก
    รถทั้งขบวนติดอยู่ประมาณ 30 นาทีจึงเคลื่อนที่ไปได้ตามปกติ

    ครั้งที่ ๓ มีพระอธิการยิ้ม หลวงพ่อแดงพระภิษุกาว จากวัดแป้น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
    ได้พากันไปวัดช้างให้ เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๔๙๕
    เขาลือกันมานักว่า หลวงพ่อทวดฯ มีอภินิหารศักดิ์สิทธ์มากเคยยึดขบวนรถไฟมาแล้วถึง ๒ ครั้ง
    ลูกหลานมาจากที่ไกลใคร่จะขอชมสักครั้ง ชั่วครู่ขบวนรถไฟเมื่อมาถึงหน้าวัดก็ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่เฉยๆ
    จะทำอย่างไรก็ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ แต่ล้อรถจักรก็ยังคงหมุนรอบๆอยู่บนรางอย่างคราวก่อนๆ
    แสดงให้เห็นว่ามีอะไรยึดอยู่ข้างหลังขบวนรถ
    หลวงพ่อแดงว่าท่านเห็นเป็นที่ประจักษ์และตื่นเต้นจนขนลุก
    จึงกล่าวขึ้นว่าลูกหลานใด้ชมแล้ว ขอให้ปล่อยไปเถิด
    ขบวนรถไฟจึงได้เคลื่อนไปเป็นปกติ ครั้งนี้รถไฟติดอยู่กับที่ประมาณ ๘-๙ นาที

    [​IMG]
    สถานีรถไฟช้างให้ ตั้งเยื้องอยู่ผั่งตรงข้ามกับวัดช้างให้

    home
     
  15. Yanky1890

    Yanky1890 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +234
    รายชื่อ Black List บริษัทประกัน ( รถยนต์ )

    ล่าสุด
    รายชื่อ Black List บริษัทประกัน ( รถยนต์ )
    ข้อมูลจากบริษัท ทิสโก้ รู้ไว้ก็ดีนะ จากนสพ.ผู้จัดการ
    บ.ประกันดังกล่าวคือ

    อันดับที่ 1. ลิเบอร์ตี้ประกันภัย มี ดร.พาชื่น รอดโพธิ์ทองและ พ.ต.ท.พงษ์ชัย วราชิต ถือหุ้นใ หญ่

    อันดับที่ 2. มิตรแท้ประกันภัย ( ไทยประสิทธิ์เดิม )

    อันดับที่ 3. บ.สัมพันธ์ประกันภัย นายศรีศักดิ์ ณ นคร ถือหุ้นใหญ่

    &nbs p; บ.ทั้ง 3 ข้างต้น อู่ต่างๆ ส่ายหน้าหนีไม่รับรถเข้าซ่<wbr>อมเพราะเบี้ยวค่าซ่อมหลายร้อยล้<wbr>านบาท
    โดยมีลิเบอร์ตี้เป็นสุดยอดแห่<wbr>งการเบี้ยว


    ยังมี บ.ประกันภัยที่อยู่ในข่<wbr>ายจะโดนอู่ต่าง ๆ ขึ้นบัญชีดำอีก คือ

    อันดับที่ 4. บ.อาคเนย์ประกันภัย เพราะถึงแม้จะไม่ชักดาบแต่จะใช้ วิธี 'Hair Cut '
    คือจะต่อรองกับอู่ว่าจะจ่ายให้<wbr>น้อยกว่าค่าซ่อมที่ค้างไว้
    ซึ่งอู่ต่างๆ หลายแห่งก็ต้องยอม เพราะไม่อยากยุ่งยากเรื่องฟ้<wbr>องร้อง

    ยังมีอีกประเภท คือ จ่ายค่าซ่อมช้ามาก บางทีเป ็นปีถึงจะชำระให้ ได้แก่

    อันดับที่ 5. พัชรประกันภัย

    อันดับที่ 6. เอราวัณประกันภัย

    อันดับที่ 7. พาณิชยการประกันภัย บริษัทนี้ผมเพิ่งโดนสดๆร้อน
    รถชนมา 4 เดือน แล้วยังไม่ได้เริ่มแตะเลย
    เนื่องจาก ว่าไม่มีเงินจ่ายให้อู่ซ่อม พูดง่ายๆ ว่าจะเจ๊งแล้ว

    ข้อมูลข้างบนนี้คงมีประโยชน์กั<wbr>บท่านที่กำลังมองหา บ.ประกัน จะได้ไม่ต้องเสียใจภายหลัง
    เพราะจ่ายเบี้ยประกันแล้วใครๆ ก็อยากได้รับบริการที่ดี ไม่มีตุกติก ช่วยๆ กันกระจายข่าวให้ทราบทั่วๆ
     
  16. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    หลวงปู่ทวด....เนื้อว่าน...

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 ธันวาคม 2010
  17. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    หลวงพ่อทวด...
    เจ้าของบอกเขายอมเอารถมอเตอร์ไซด์แลก ถึงได้องค์นี้มา...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    หลวงปู่ทวด 5 แชะ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    สวัสดียามค่ำค่ะ.....

    *พระหลวงพ่อทวดวัดสีหยัง อ.ระโนด จ.สงขลา
    ปี 2541....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    ต้องขออภัยญาติธรรมด้วยนะคะ...เนื่องจากติดภาระกิจ...งานเร่งด่วนมาก...

    ขอส่งตะกรุดพระอาจารย์อุทัยพร้อมพระของลป.ทวด...จากทางใต้
    มาสวัสดีปีใหม่2544...หลังปีใหม่นะคะ....

    *คุณคนศรีสะเกษ
    *คุณLimtied
    *คุณtp thai
    *คุณpoomparit
    *คุณjikky.so
    *และท่านที่ได้คุยกันไว้ทาง pm...

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...