ประกาศรายชื่อ รับพระสังข์เรียกทรัพย์หลวงพ่อสาย วัดบางไผ่เตี้ย 1 องค์

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย aetipp, 18 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. aetipp

    aetipp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    796
    ค่าพลัง:
    +1,505
    ประกาศรายชื่อผู้ได้รับพระสังข์เรียกทรัพย์
    Username : pichetchanได้รับพระสังข์เรียกทรัพย์ : พิเชฐ จันทร ส่งที่อยู่แล้วครับ
    และผมจะแจกพระปิดทองทุกท่านที่เข้ามาตอบคำถามทุกท่านครับผม
    กรุณาส่งที่อยู่ทาง pmด้วยครับผม มีusernameดังนี้ครับผม
    Username : pooldum : วรชิต พูลดำ ส่งที่อยู่แล้วครับ
    Username : pattamon39 : พัทธมน เอกปรัชญากุล ส่งที่อยู่แล้วครับ
    Username : katika : ประพัฒสร ศรีสุข ส่งที่อยู่แล้วครับ
    Username : sangon : แสงอ่อน วงศ์แก้ว ส่งที่อยู่แล้วครับ
    Username : jirattikan : จิรัฐติกานต์ นะนุ้ย ส่งที่อยู่แล้วครับ
    Username : pho2601 :
    Username : แมวธนู : พรสักก์ หมื่นหาญ ส่งที่อยู่แล้วครับ
    Username : poon-pan :
    Username : kangsaking : เกียงศักดิ์ คุณานวน ส่งที่อยู่แล้วครับ
    Username : iddon69 : ปรีชา ผาสุข ส่งที่อยู่แล้วครับ
    Username : paliai : นพลักษณ์ เชาวนศิลป์ ส่งที่อยู่แล้วครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011
  2. Pooldum

    Pooldum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +406
    1. วันเพ็ญเดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา หรือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี ..
    2. ให้เรารู้ว่าบุคคลมีอยู่ 4 ประเภท เปรียบเหมือนกับดอกบัว 4 เหล่า ได้แก่
    2.1 อุคฆติตัญญู ได้แก่ ผู้ที่มีอุปนิสัยสามารถรู้ธรรมวิเศษได้ทันทีทันใดในขณะที่มีผู้สอนสั่ง สอนเปรียบเทียบ เหมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้น1 วัน พุทธศาสนิกชนบำเพ็ญกุศลตามประเพณีเหมือนมาฆบูชา และวันวิสาขบูชา พ้นน้ำแล้ว พร้อมที่จะบานในเมื่อได้รับแสงพระอาทิตย์ในวันนั้น
    2.2 วิปัจจิตัญญู ได้แก่ ผู้ที่สามารถจะรู้ธรรมวิเศษได้ต่อเมื่อท่านขยายความย่อให้พิสดารออกไปเปรียบเหมือนดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอระดับน้ำจักบานในวันรุ่งขี้น
    2.3 เนยยะ ได้แก่ ผู้ที่พากเพียรพยายาม ฟัง คิด ถาม ท่องอยู่เสมอไม่ทอดทิ้ง จึงได้รู้ธรรม วิเศษ เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังไม่โผล่ขึ้นจากน้ำ ได้รับการหล่อเลี้ยงจากน้ำ แต่จะโผล่แล้วบานขี้นในวันต่อๆ ไป
    2.4 ปทปรมะ ได้แก่ ผู้ที่แม้ฟัง คิด ถาม ท่อง แล้วก็ไม่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ เปรียบเหมือน ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำติดกับเปือกตม รังแต่จะเป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่า เมื่อเล็งเห็นเหตุนี้ จึงตกลงพระทัยจะสอน ทรงนึกถึงผู้ที่ควรโปรดก่อนคือ อาฬารดาบส กับ อุทกดาบส ท่านเหล่านี้ก็หาบุญไม่เสียแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ปัญจวัคคีย์ จีงทรงตัดสินพระทัยว่า ควรโปรดปัญจวัคคีย์ก่อน แล้วก็เสด็จออกเดินไปจากควงไม้ไทรนั้น มุ่งพระพักตร์เสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี การที่เสด็จเดินทางจากตำบลพระศรีมหาโพธิ์ จนกระทั่งถึงกรุงพาราณสีเช่นนี้ แสดงให้เห็น เพระวิริยอุตสาหะอันแรงกล้าเป็นการตั้งพระทัยแน่วแน่ ที่จะประทานปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์เป็นพวกแรกอย่างแทัจริง หนทางระหว่างตำบลพระศรีมหาโพธิ์ถึงพาราณสีนั้น ในปัจจุบัน ถ้าไปทางรถไฟก็เป็นเวลา ๗-๘ชั่วโมง การเสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า อาจใช้เวลาตั้งหลายวัน แต่ปรากฏว่าพอตอนเย็นขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอาสาฬหะนั้นเอง
    3. ทำให้เราสามารถแยกแยะบุคคลออกได้เป็น 4 ประเภท สามารถรู้ได้โดยการพิจารณาบุคลนั้น ๆ
     
  3. nattanan39

    nattanan39 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,190
    ค่าพลัง:
    +2,935
    อนุโมทนาบุญค่ะ

    1.พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
    2.ศีล สมาธิ ปัญญา ทำให้ละ วาง กับปัญหาต่าง ๆ ด้วยสติ และสามารถหาวิธีการต่าง ๆ มาแก้ไขได้ด้วยปัญญา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กุมภาพันธ์ 2011
  4. Pichetchan

    Pichetchan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +726
    พระพุทธเจ้าประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนที่ใหน
    ตอบ บริเวณเวฬุวันมหาวิหาร (วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน) หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นเวลานับได้ ๙ เดือน พระพุทธองค์แสดง "โอวาทปาฎิโมกข์" ซึ่งถือกันว่า เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา วันนี้เอง ที่พระพุทธองค์แสดง "โอวาทปาฎิโมกข์" ซึ่งถือกันว่า เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นวันเกิดพระธรรม ถือว่าเป็นวันที่ พระพุทธเจ้า ได้ประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้น นำไปเผยแผ่


    คำสอนของพระพุทธองค์ให้อะไรเรา และพระพุทธองค์ทรงสอนอะไรเราที่เรานำไปใช้ประโยชน์แล้วเกิดผล
    ตอบ
    คำสอนของพระพุทธเจ้าคือโอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึง จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ของพระพุทธศาสนาไว้อย่างครบถ้วน ทำให้เราเข้าใจและรู้แนวทางและใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่นั้นคือ
    ๑. จุดหมายของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน (นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา)
    ๒. หลักการของพระพุทธศาสนา คือ ต้องมีความอดทน ในการฝึกตนเอง เพื่อบรรลุจุดหมาย (ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา) ต้องประกอบด้วย
    ก. ไม่ทำความชั่วโดยประการทั้งปวง ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ (สพฺพปาปสฺส อรกณํ)
    ข. ทำความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ (กุสลสฺสูปสมฺปทา) การไม่ทำความชั่วนั้น จะเรียกว่า เป็นคนดียังไม่ได้ การเป็นคนดี จะต้องทำความดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ มิฉะนั้นแล้ว คนปัญญาอ่อน คนเป็นอัมพาต เป็นต้น ก็จะเป็นคนดีไปหมด
    ค. การชำระจิตใจให้สะอาด ผ่องใส สงบ (สจิตฺตปริโยทปนํ)
    ๓. วิธีการที่จะบรรลุจุดหมาย คือ ต้องฝึกอบรมตนแบบต่อเนื่อง ให้เกิดมรรคสามัคคี คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ** รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๘ เกลียว หรือให้มี ศีล สมาธิ และปัญญา รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๓ เกลียว พัฒนากาย วาจา ใจ ให้พูดดี ทำดี คิดดี ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ราคะ โมสะ โมหะ ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส ตัณหา หรือความใคร่ ความอยากมี อยากเป็น แบบมืดบอด ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ที่มันเป็นไปไม่ได้ เช่น ไม่อยากเป็นคนเสื่อมลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุข เป็นต้น โดยอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้.
    ก. ฝึกวาจา ระวังเสมอ มิให้กล่าวคำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ (อนูปวาโท)
    ข. ฝึกกาย ระวังเสมอมิให้มีการฆ่า ทำลายชีวิต ตลอดจนถึงการเบียดเบียนทางกาย (อนูปฆาโต)
    ค. ละเว้นข้อที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสห้ามไว้ และทำตามข้อที่พระพุทธองค์อนุญาต (ปาฎิโมกฺเข จ สํวโร)
    ง. รู้จักประมาณในการบริโภค อาหาร ตลอดจน รู้จักประมาณในการใช้สอยปัจจัย ๔ (มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺสมึ)
    จ. ฝึกตนอย่างจริงจัง ในที่ที่สงัดจากสิ่งรบกวน (ปนฺตนฺ จ สยนาสนํ)
    ฉ. ภาวนาอยู่เสมอ คือ พัฒนาตนเองให้พ้นจากอำนาจของกิเลสตัณหา การภาวนา หมายถึง การใช้ทั้งสมาธิ และวิปัสสนา แก้ปัญหา หรือจัดการกับกิเลส (อธิจิตฺเต จ อาโยโค) เป็นการตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ มิให้จิตใจเศร้าหมอง ให้จิตใจผ่องใสอยู่เสมอ (สจิตฺตปริโยทปนํ)
    จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศไว้จะเป็นไปด้วยดี และบรรลุวัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายไว้นั้น พระองค์ได้ย้ำเตือนไว้ว่า จะต้องปฏิบัติตนให้เป็นอย่างบรรพชิต และเป็นอย่างสมณะ คือ เว้นจากความชั่วทุกประการ และเป็นผู้ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่าง เพื่อระงับบาปอกุศล ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นอริยบุคคล ทั้งไม่เบียดเบียนและไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่คนที่ประพฤติดี ปฏิบัติชอบทั้งหลาย (น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต)

    และผลแห่งการปฏิบัติตามคำสอนทำให้เราสามารถดับทุกข์ (ตามแนวทางอริสัจ 4 และ มรรคมีองค์ ๘) ทำให้เรามีความสุขมากขึ้น ถ้าทุกคนปฏิบัติตามคำสอน สังคมและโลกนี้จะสงบ มีแต่ความสุข มีแต่ความเอื้ออาทร โลกนี้จะน่าอยู่ และท้ายที่สุดความสุขสุดยอด ความสุขที่พุทธองค์ทรงถือว่าละเอียดสุด นั่นคือ นิพพาน

    อริยสัจ แปลว่า "สัจจะของผู้ประเสริฐ (หรือผู้เจริญ)" "สัจจะที่ผู้ประเสริฐพึงรู้" "สัจจะที่ทำให้เป็นผู้ประเสริฐ" หรือแปลรวบรัดว่า "สัจจะอย่างประเสริฐ." พึงทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า มิใช่สัจจะตามชอบใจของโลกหรือของตนเอง แต่เป็นสัจจะทางปัญญาโดยตรง.

    อริยสัจ ๔
    ๑) ทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ซึ่งมีเป็นธรรมดาของชีวิต และความโศก ความระทม ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ซึ่งมีแก่จิตใจและร่างกายเป็นครั้งคราว ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบ ความปรารถนาไม่สมหวัง. กล่าวโดย ย่อก็คือ กายและใจนี้เองที่เป็นทุกข์ต่าง ๆ จะพูดว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ต่าง ๆ ดังกล่าวก็ได้.
    ๒) สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตใจ คือ ดิ้นรน ทะยานอยาก เพื่อที่จะได้สิ่งปรารถนาอยากได้ ดิ้นรนทะยานอยากเพื่อจะเป็นอะไรต่าง ๆ ดิ้นรนทะยานอยากที่จะไม่เป็นในภาวะที่ไม่ชอบต่าง ๆ .
    ๓) นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหา ความดิ้นรน ทะยานอยากดังกล่าว
    ๔) มรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ ทางมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความ ดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ เพียรพยายามชอบ สติชอบ ตั้งใจชอบ.

    ได้ มีบางคนเข้าใจว่า พระพุทธศาสนามองในแง่ร้าย เพราะแสดงให้เห็นแต่ทุกข์ และสอนสูงเกินกว่าที่คนทั่วไปจะรับได้ เพราะสอนให้ดับความดิ้นรนทะยานอยากเสียหมด ซึ่งจะเป็นไปยาก. เห็นว่าจะต้องมีผู้เข้าใจดังนี้ จึงต้องซ้อมความเข้าใจไว้ ก่อนที่จะแจกอริยสัจออกไป. พระพุทธศาสนามิได้มองในแง่ร้ายหรือแง่ดีทั้งสองอย่างเดียว แต่มองในแง่ของสัจจะ คือ ความจริง ซึ่งต้องใช้ปัญญาและจิตใจที่บริสุทธิ์ประกอบกันพิจารณา.

    ตามประวัติ พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้ามิได้ทรงแสดงอริยสัจแก่ใครง่าย ๆ แต่ได้ทรงอบรมด้วยธรรมข้ออื่น จนผู้นั้นมีจิตใจบริสุทธิ์พอที่จะรับเข้าใจได้แล้ว จึงทรงแสดงอริยสัจ. ธรรมข้ออื่นที่ทรงอบรมก่อนอยู่เสมอสำหรับคฤหัสถ์นั้น คือ ทรงพรรณนาทาน พรรณนาศีล พรรณนาผลของทาน-ศีล ที่เรียกว่า "สวรรค์" (หมายถึง ความสุขสมบูรณ์ต่าง ๆ ที่เกิด จากทาน-ศีล แม้ในชีวิตนี้) พรรณนาโทษของกาม (สิ่งที่ผูกใจ ให้รักใคร่ปรารถนา) และอานิสงส์ คือ ผลดีของการที่พรากใจออกจากกามได้. เทียบด้วยระดับการศึกษาปัจจุบัน ก็เหมือนอย่างทรงแสดงอริยสัจแก่นักศึกษาชั้นมหาวิทยาลัย. ส่วนนักเรียนที่ต่ำลงมา ก็ทรงแสดงธรรมข้ออื่นตามสมควรแก่ระดับ. พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงแสดงธรรมที่สูงกว่าระดับของผู้ฟัง ซึ่งจะไม่เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย. แต่ผู้ที่มุ่งศึกษาแสวงหาความรู้ แม้จะยังปฏิบัติไม่ได้ ก็ยังเป็นทางเจริญความรู้ในสัจจะ ที่ตอบได้ตามเหตุผล และอาจพิจารณาผ่อนลงมาปฏิบัติ ทั้งที่ยังมีตัณหาคือความอยากดังกล่าวอยู่นั่นแหละ. ทางพิจารณานั้นพึงมีได้เช่นที่จะกล่าวเป็นแนวคิดดังนี้:

    ๑) ทุก ๆ คนปรารถนาสุข ไม่ต้องการทุกข์ แต่ทำไมคนเราจึงยังต้องเป็นทุกข์ และไม่สามารถจะแก้ทุกข์ของตนเองได้ บางทียิ่งแก้ก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก. ทั้งนี้ก็เพราะ ไม่รู้เหตุผลตามเป็นจริงว่า อะไรเป็นเหตุของทุกข์ อะไรเป็นเหตุของสุข. ถ้าได้รู้แล้ว ก็จะแก้ได้ คือ ละเหตุที่ให้เกิดทุกข์ ทำเหตุที่ให้เกิดสุข. อุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่งก็คือใจของตนเอง เพราะคนเราตามใจตนเองมากไป จึงต้องเกิดเดือดร้อน.

    ๒) ที่พูดกันว่า ตามใจตนเองนั้น โดยที่แท้ก็คือตามใจตัณหา คือความอยากของใจ. ในขั้นโลก ๆ นี้ ยังไม่ต้องดับความอยากให้หมด เพราะยังต้องอาศัยความอยากเพื่อสร้างโลกหรือสร้างตนเองให้เจริญต่อไป. แต่ก็ต้องมีการควบคุมความอยากให้อยู่ในขอบเขตที่สมควร และจะต้องรู้จักอิ่ม รู้จักพอใจในสิ่งที่ควรอิ่มควรพอ. ดับตัณหาได้เพียงเท่านี้ก็พอครองชีวิตอยู่เป็นสุขในโลก. ผู้ก่อไฟเผาตนเองและเผาโลกอยู่ทุกกาลสมัยก็คือ ผู้ที่ไม่ควบคุมตัณหาของใจให้อยู่ในขอบเขต. ถ้าคนเรามีความอยากจะได้วิชา ก็ตั้งใจพากเพียรเรียน. มีความอยากได้ทรัพย์ ยศ ก็ตั้งใจเพียรทำงานให้ดีตามกำลังตามทางที่สมควร. ดังนี้แล้วก็ใช้ได้ แปลว่า ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ในทางโลกและก็อยู่ในทางธรรมด้วย.

    ๓) แต่คนเราต้องการมีการพักผ่อน. ร่างกายก็ต้องมีการพัก ต้องให้หลับ ซึ่งเป็นการพักทางร่างกาย. จิตใจก็ต้องมีเวลาที่ปล่อยให้ว่าง. ถ้าจิตใจยังมุ่งคิดอะไรอยู่ ไม่ปล่อยความคิดนั้นก็หลับไม่ลง. ผู้ที่ต้องการมีความสุขสนุกสนานจากรูป-เสียงทั้งหลาย เช่น ชอบฟังดนตรีที่ไพเราะ หากจะถูกเกณฑ์ ให้ต้องฟังอยู่นานเกินไป. เสียงดนตรีที่ไพเราะที่ดังจ่อหูอยู่นานเกินไปนั้น จะก่อให้เกิดความทุกข์อย่างยิ่ง. จะต้องการหนีไปให้พ้น ต้องการกลับไปอยู่กับสภาวะที่ปราศจากเสียง คือ ความสงบ. จิตใจของคนเราต้องการความสงบดังนี้อยู่ทุกวัน วันหนึ่งเป็นเวลาไม่น้อย. นี้คือความสงบใจ. กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือความสงบความดิ้นรนทะยานอยากของใจ ซึ่งเป็นความดับทุกข์นั่นเอง. ฉะนั้น ถ้าทำความเข้าใจให้ดีว่า ความดับทุกข์ก็คือ ความสงบใจ ซึ่งเป็นอาหารใจ ที่ทุก ๆ คนต้องการอยู่ทุกวัน ก็จะค่อยเข้าใจใน นิโรธ นี้ขึ้น.

    ๔) ควรคิดต่อไปว่า ใจที่ไม่สงบนั้นก็เพราะเกิดความดิ้นรนขึ้น และก็บัญชาให้ทำ พูด คิด ไปตามใจที่ดิ้นรนนั้น. เมื่อปฏิบัติตามใจไปแล้ว ก็อาจสงบลงได้. แต่การที่ปฏิบัติไปแล้วนั้น บางที ชั่วเวลาประเดี๋ยวเดียวก็ให้เกิดทุกข์โทษอย่างมหันต์. บางทีเป็นมลทินโทษ ที่ทำให้เสียใจไปช้านาน. คนเช่นนี้ควรทราบว่า ท่านเรียกว่า "ทาสของตัณหา." ฉะนั้น จะมีวิธีทำอย่างไร ที่จะไม่แพ้ตัณหา หรือจะเป็นนายของตัณหาในใจของตนเองได้? วิธีดังกล่าวนี้ก็คือ มรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่

    มรรคมีองค์ ๘
    ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ คือ อริยสัจ ๔ หรือเห็นเหตุผลตามเป็นจริง แม้โดยประการที่ผ่อนพิจารณาลงดังกล่าวมาโดยลำดับ.

    ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ คือ ดำริ หรือคิดออกจากสิ่งที่ผูกพันให้เป็นทุกข์. ดำริในทางไม่พยาบาทมุ่งร้าย. ดำริในทางไม่เบียดเบียน.

    ๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ แสดงในทางเว้น คือ เว้นจากพูดเท็จ. เว้นจากพูดส่อเสียดให้แตกร้าวกัน. เว้นจากพูดคำหยาบร้าย. เว้นจากพูดเพ้อเจ้อไม่เป็นประโยชน์.

    ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ แสดงในทางเว้น คือ เว้นจากการฆ่า การทรมาน เว้นจากการลัก เว้นจากการประพฤติผิดในทางกาม.

    ๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือ เว้นจากมิจฉาอาชีวะ (อาชีพผิด) สำเร็จชีวิตด้วยอาชีพที่ชอบ.

    ๖. สัมมาวายามะ เพียรพยายามชอบ คือ เพียรระวังบาปที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น. เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว. เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้น. เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม แต่ให้เจริญยิ่งขึ้น.

    ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ระลึกไปในทางที่ตั้งของสติที่ดีทั้งหลาย เช่น ในสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม.

    ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ คือ ทำใจให้เป็นสมาธิ (ตั้งมั่นแน่วแน่) ในเรื่องที่ตั้งใจจะทำในทางที่ชอบ.


    อนุโมทนาสาธุ ขอขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2011
  5. katika

    katika สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +6
    ตอบคำถาม

    พระพุทธเจ้าประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนที่ใหน

    ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ

    คำสอนของพระพุทธองค์ให้อะไรเรา

    หลักการอุดมการณ์ ์และวิธีการปฏิบัติที่ นำไปใช้ได้ทุกสังคม โดยสรุปคือให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดี ให้ถึงพร้อมและทำจิตใจให้ผ่องใส


    พระพุทธองค์ทรงสอนอะไรเราที่เรานำไปใช้ประโยชน์แล้วเกิดผล


    คำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ วิธีการ ๖

    หลักธรรม : หลักการ ๓

    ๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลดละเลิก ทำบาปทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ อันเป็นความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจความชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ ผิดในกาม ความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ ความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม

    ๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ ความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นมีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การไม่ถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติผิดในกาม การทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวาน พูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะการทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นมีแต่คิดเสียสละการไม่ผูกอาฆาตพยาบาทมีแต่คิดเมตตา และปราถนาดีและมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

    ๓. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบ มี ๕ ประการ ได้แก่
    ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)
    ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)
    ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)
    ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ)
    ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดีความชั่ว ว่ามีผลจริงหรือไม่ วิธีการทำจิตให้ผ่องใส ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการละบาปทั้งปวงด้วยการถือศืลและบำเพ็ญกุศล ให้ถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติสมถะ และวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง



    หลักธรรม : อุดมการณ์ ๔


    ๑. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา ใจ
    ๒. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้ายรบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
    ๓. ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
    ๔. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จาก การดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘



    หลักธรรม : วิชาการ ๖


    ๑. ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
    ๒. ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
    ๓. สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎ กติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีของสังคม
    ๔. รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหารหรือการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
    ๕. อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
    ๖. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ ฝึกหัดชำระจิตให้สงบมีสุขภาพคุณภาพ และประสิทธิภาพที่ดี
     
  6. sangon

    sangon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +26
    พระพุทธเจ้าประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนที่ใหน
    วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน

    คำสอนของพระพุทธองค์ให้อะไรเรา
    เว้นจากความชั่วทุกประการ และเป็นผู้ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่าง เพื่อระงับบาปอกุศล ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นอริยบุคคล ทั้งไม่เบียดเบียนและไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่คนที่ประพฤติดี ปฏิบัติชอบทั้งหลาย

    พระพุทธองค์ทรงสอนอะไรเราที่เรานำไปใช้ประโยชน์แล้วเกิดผล
    หากพุทธศาสนิกชนทุกคนล้วนแต่ตั้งมั่นอยู่ในคำสั่งสอนของท่าน ย่อมบังเกิดความสงบสุขในการดำเนินชีวิต และในสังคมที่เราอาศัยอยู่อย่างแน่นอน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ล้วนแล้วแต่มาจากการที่ คนเราไม่ตั้งมั่นอยู่ในธรรมนั่นเอง
    หลักธรรมที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันมีดังนี้
    ฆราวาสธรรม ๔ สัปปุริสธรรม ๘
    โอวาทปาติโมกข์ คุณสมบัติของพ่อค้าที่ดี
    ธรรมคุ้มครองโลก (หิริ โอตตัปปะ) เคล็ดลับการเป็นพหูสูต
    อิทธิบาท ๔ ไตรสิกขา
    มรรค ๘ อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการ
    สัปปุริสทาน ๘ *โอวาท ๑๐ ประการ การเป็นแม่ศรีเรือน
     
  7. jirattikan

    jirattikan Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +83
    พระพุทธเจ้าประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนที่ใหน
    ประกาศคำสอนครั้งแรกโดยแสดงปฐมเทศนา หรือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 8 แขวงเมือง พาราณสี

    คำสอนของพระพุทธองค์ให้อะไรเรา หลักการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การพ้นทุกข์ ตอนต้นของธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธองค์ตรัสถึงทางปฏิบัติผิด 2 อย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ตอนกลางทรงแสดงอริยสัจ 4 และตอนปลายพรรณนาผลของการแสดงธรรมครั้งแรกของพระพุทธองค์.
    พระพุทธองค์ทรงสอนอะไรเราที่เรานำไปใช้ประโยชน์แล้วเกิดผล เว้นทางปฏิบัติผิด 2 อย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค โดยดำเนินชีวิตโดยปฏิปทาสายกลาง ได้แก่อริยมรรคมีองค์แปด ได้แก่
    • สัมมาทิฏฐิ ปัญญาเห็นชอบ
    • สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
    • สัมมาวาจา เจรจาชอบ
    • สัมมากัมมันตะ การงานชอบ
    • สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ
    • สัมมาวายามะ พยายามชอบ
    • สัมมาสติ ระลึกชอบ
    • สัมมาสมาธิ ตั้งจิตชอบ
    ซึ่งเป็นการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 เพื่อความดับทุกข์ หรือนิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     
  8. pho2601

    pho2601 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    879
    ค่าพลัง:
    +1,061
    พระพุทธเจ้าประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนที่ไหน
    เวฬุวันมหาวิหาร ซึ่งก็คือ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย ในปัจจุบัน พระพุทธองค์ทรงแสดง "โอวาทปาฎิโมกข์" ซึ่งถือกันว่า เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา

    คำสอนของพระพุทธองค์ให้อะไรเรา
    ให้ทำความดี ละเว้นความชั่ว


    พระพุทธองค์ทรงสอนอะไรเราที่เรานำไปใช้ประโยชน์แล้วเกิดผ
    ให้ปฏิบัติตนบนทางสายกลาง
     
  9. แมวธนู

    แมวธนู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    327
    ค่าพลัง:
    +856
    ขอร่วมรายการด้วยคนจ้า.....

    - พระพุทธเจ้าประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนที่ไหน...

    เอ... คำว่า "หลักธรรม" ที่ว่านี้หมายถึงอันไหนอ่า
    เพราะ ธรรมะของพระพุทธเจ้ามีตั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ ... จะให้ตอบทุกพระธรรมขันธ์ก็ใช่ที่

    เอางี้ ... ผมตอบงี้ ..หลักธรรมของพระพุทธเจ้าถูกประกาศ ขึ้น 2 ที่ คือ ที่ภายนอก และ ภายใน
    คำว่าภายนอก หมายถึง สถานที่ แขวง เขต ประเทศ ที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรม ในสมัยพุทธกาล
    คำว่าภายใน หมายถึง ในใจเรานี้แหละ อันนี้สำคัญที่สุด เพราะ การประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอน คือ การทำให้เราเป็นผู้รู้ธรรม รู้หัวข้อธรรม เป็นต้น

    ดังผมเดาว่า คำตอบของท่าน จขกท คือ พระพุทธเจ้าประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนภายในใจเรา ครับ

    - คำสอนของพระพุทธองค์ให้อะไรเรา

    หัวใจของพระพุทธศาสนา มี 3 ข้อครับ คือ
    ทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
    ส่วนจะดีอย่างไร ชั่วเป็นอย่างไร และจะทำจิตใจให้ผ่องแผ้วได้อย่างไร อันนั้นก็ว่าไป ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งท่านอธิบายไว้แล้ว ถึง 84,000 พระธรรมขันธ์

    - พระพุทธองค์ทรงสอนอะไรเราที่เรานำไปใช้ประโยชน์แล้วเกิดผล
    เอ อันนี้ตอบได้เฉพาะ คำตอบระดับกลางๆครับ คือ อ้างตามตอบตอบจากคำถามที่แล้ว
    จะได้ว่า
    พระพุทธศาสนาสอนให้ทำความดี --> สิ่งที่เราได้คือความเป็นผู้ทำดี
    พระพุทธศาสนาสอนให้ละเว้นความชั่ว --> สิ่งที่เราได้คือความเป็นผู้ละชั่ว
    พระพุทธศาสนาสอนให้ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว --> สิ่งที่เราได้คือความเป็นผู้มีจิตใจ
    ผ่องแผ้ว

    อย่างไรก็ดี การที่จะตอบชี้เฉพาะลงไปว่า ทำแล้วได้ อย่างนั้น อย่างนี้ เราไม่สามารถตอบแบบนั้นได้ เพราะ พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้แล้วว่า ...ธรรมของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติจะเห็นได้เองจากการปฏิบัติ (สันทิฏฐิโก) จะให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ( อกาลิโก), และ จะรู้ได้เฉพาะตน (ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ)

    ^^ จ้า



     
  10. poon-pan

    poon-pan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,295
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,117
    ประกาศหลักธรรมที่? ตอบ ในที่ที่พระองค์เห็นสมควร
    ให้รู้จักอะไร ? ตอบ ให้เรารู้จักทุกข์และเหตุแห่งทุกข์
    ได้ประโยชน์อะไร ? ตอบ ให้เรารู้จักการดับทุกข์และวิธีการดับทุกข์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2011
  11. okpppp

    okpppp Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +51
    ตอบคำถามรับพระสังข์

    1.วัดเวฬุวรรณ
    2.ทำความดี ละเว้นความชั่วทุกประการ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์
    3.ได้รู้วิธีการแนวทางในการดับทุกข์
     
  12. iddon69

    iddon69 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +177
    พระพุทธเจ้าประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนที่ใหน
    วัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นเวลานับได้ ๙ เดือน

    คำสอนของพระพุทธองค์ให้อะไรเรา
    คำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึง จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ของพระพุทธศาสนาไว้อย่างครบถ้วน

    พระพุทธองค์ทรงสอนอะไรเราที่เรานำไปใช้ประโยชน์แล้วเกิดผล
    ๑. จุดหมายของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน (นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา)

    ๒. หลักการของพระพุทธศาสนา คือ ต้องมีความอดทน ในการฝึกตนเอง เพื่อบรรลุจุดหมาย (ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา) ต้องประกอบด้วย
    - ไม่ทำความชั่วโดยประการทั้งปวง ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ (สพฺพปาปสฺส อรกณํ)
    - ทำความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ (กุสลสฺสูปสมฺปทา) การไม่ทำความชั่วนั้น จะเรียกว่า เป็นคนดียังไม่ได้ การเป็นคนดี จะต้องทำความดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ มิฉะนั้นแล้ว คนปัญญาอ่อน คนเป็นอัมพาต เป็นต้น ก็จะเป็นคนดีไปหมด
    - การชำระจิตใจให้สะอาด ผ่องใส สงบ (สจิตฺตปริโยทปนํ)

    ๓. วิธีการที่จะบรรลุจุดหมาย คือ ต้องฝึกอบรมตนแบบต่อเนื่อง ให้เกิดมรรคสามัคคี คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ** รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๘ เกลียว หรือให้มี ศีล สมาธิ และปัญญา รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๓ เกลียว พัฒนากาย วาจา ใจ ให้พูดดี ทำดี คิดดี ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ราคะ โมสะ โมหะ ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส ตัณหา หรือความใคร่ ความอยากมี อยากเป็น แบบมืดบอด ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ที่มันเป็นไปไม่ได้ เช่น ไม่อยากเป็นคนเสื่อมลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุข เป็นต้น โดยอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้.

    - ฝึกวาจา ระวังเสมอ มิให้กล่าวคำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ (อนูปวาโท)
    - ฝึกกาย ระวังเสมอมิให้มีการฆ่า ทำลายชีวิต ตลอดจนถึงการเบียดเบียนทางกาย (อนูปฆาโต)
    - ละเว้นข้อที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสห้ามไว้ และทำตามข้อที่พระพุทธองค์อนุญาต (ปาฎิโมกฺเข จ สํวโร)
    - รู้จักประมาณในการบริโภค อาหาร ตลอดจน รู้จักประมาณในการใช้สอยปัจจัย ๔ (มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺสมึ)
    - ฝึกตนอย่างจริงจัง ในที่ที่สงัดจากสิ่งรบกวน (ปนฺตนฺ จ สยนาสนํ)
    - ภาวนาอยู่เสมอ คือ พัฒนาตนเองให้พ้นจากอำนาจของกิเลสตัณหา การภาวนา หมายถึง การใช้ทั้งสมาธิ และวิปัสสนา แก้ปัญหา หรือจัดการกับกิเลส (อธิจิตฺเต จ อาโยโค) เป็นการตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ มิให้จิตใจเศร้าหมอง ให้จิตใจผ่องใสอยู่เสมอ (สจิตฺตปริโยทปนํ)

    จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศไว้จะเป็นไปด้วยดี และบรรลุวัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายไว้นั้น พระองค์ได้ย้ำเตือนไว้ว่า จะต้องปฏิบัติตนให้เป็นอย่างบรรพชิต และเป็นอย่างสมณะ คือ เว้นจากความชั่วทุกประการ และเป็นผู้ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่าง เพื่อระงับบาปอกุศล ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นอริยบุคคล ทั้งไม่เบียดเบียนและไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่คนที่ประพฤติดี ปฏิบัติชอบทั้งหลาย (น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต)
     
  13. Palilai

    Palilai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +433
    พระพุทธเจ้าประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนที่ใหน
    ตอบ ถ้าหมายถึงสถานที่ คือ บริเวณ เวฬุวันมหาวิหาร (วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน) ถ้าหมายถึงตามความเข้าใจของตนเอง คือ ที่กายและใจของตนเอง


    คำสอนของพระพุทธองค์ให้อะไรเรา และพระพุทธองค์ทรงสอนอะไรเราที่เรานำไปใช้ประโยชน์แล้วเกิดผล
    ตอบ พระองค์ทรงสอนวิธีพ้นทุกข์ ด้วยการรู้ทุกข์ ให้เราเรียนรู้วิธีปฏิบัติ แล้วลงมือทำ ลงมือปฏิบัติจะได้ผลอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่รู้วิธีปฏิบัติ ไม่ได้ผล ผลที่เกิดขึ้นคือ พ้นทุกข์ ในเบื้องต้นเราจะพ้นทุกข์ทางใจก่อน เพราะร่างกายเรายังอยู่ มีร่างกายอยู่นะ เหลือแต่ทุกข์ทางกาย แต่ทุกข์ทางใจไม่มี
    เราจะต้องยอมรับความจริงของชีวิต ว่าเราต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ และต้องตาย เป็นของธรรมดา ธรรมดา คือ ธรรมชาติ ธรรมชาติ คือ ธรรมะ และ ธรรมะ ก็คือ รูปนาม หรือ กาย ใจของเรานี้เอง เราต้องรู้ลงไปว่า ทั้งสุข ทั้งทุกข์ ก็อยู่ที่กาย ที่ใจของเราเอง
    พระพุทธเจ้า ทรงสอนว่า ทุกข์ ควรรู้ (รู้กายรู้ใจ ตรงตามความเป็นจริง) รู้สาเหตุให้เกิดทุกข์ คือ สมุทัย ความทะยานอยาก อยากเสพในอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (กามตัณหา)
    พระพุทธเจ้า ทรงสอนว่า [COLOR=Blue]สมุทัย [COLOR=Magenta]ควรละรู้แจ้งทางดับทุกข์ คือ [COLOR=Blue]นิโรธ [COLOR=Magenta]ความเห็นแจ้งในอริยสัจ หรือ ความเห็นถูกต้องตรงตามความเป็นจริง หรือ เห็นว่า กายนี้ ใจนี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา หรือเห็น [COLOR=Blue](ไตรลักษณ์)[COLOR=Magenta] อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    [COLOR=Blue]พระพุทธเจ้า [COLOR=Magenta]ทรงสอนว่า [COLOR=Blue]นิโรธ[COLOR=Magenta] ควรทำให้แจ้ง [I][COLOR=Blue]มรรค องค์ ๘[/COLOR][/I][COLOR=Blue][COLOR=Magenta] คือ ข้อปฏิบัติ ที่ทำให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง
    [COLOR=Blue]องค์มรรคทั้ง ๘ [COLOR=Magenta]เราเจริญด้วยการม[/COLOR][/COLOR]ีสติรู้กายรู้ใจนี่แหละ แล้วมันจะงอกงามขึึ้นมาเองทั้ง ๘ ตัว รวมกันเป็นหนึ่ง เราฝึกของเราไปเรื่อย ในที่สุดเราจะรู้แจ้ง รู้แจ้งในกองทุกข์ รู้แจ้งในสมุทัย รู้แจ้งในนิโรธ รู้แจ้งในมรรค [COLOR=Blue]รู้ว่าอะไรคือทุกข์[COLOR=Magenta] รู้ว่าอะไรคือ [COLOR=Blue]หน้าที่ต่อทุกข์[COLOR=Magenta] แล้วก็[COLOR=Blue]ทำหน้าที่ต่อทุกข์นั้น[COLOR=Magenta] รู้ว่ากายกับใจคือทุกข์ หน้าที่ต่อทุกข์คือการรู้ ทำหน้าที่ต่อทุกข์คือตามรู้ไป รู้จักสมุทัยคือตัณหาความทะยานอยากของจิต คือ [COLOR=Blue]โลภะความอยาก[COLOR=Magenta] อยากวิ่งเข้าไปยึดอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ นี่รู้จักตัวมัน รู้ว่าหน้าที่ต่อมันคือละเสีย อย่าตามมันไป อย่าให้ใจไหลไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ คอยรู้ทันมันไว้ ไม่หลงไป ไม่ไหลไป ไม่ทะยานออกไป แล้วก็เจริญสติอยู่นั่นแหละ เรียกว่าได้ปฏิบัติตามหน้าที่ต่อตัวสมุทัยแล้ว
    [COLOR=Orange][SIZE=5] [COLOR=YellowGreen]ยาวไปหน่อยนะคะ วันนี้อยากพิมพ์ให้อ่านค่ะ[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR]
     
  14. aetipp

    aetipp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    796
    ค่าพลัง:
    +1,505
    ปิดตอบคำถามธรรมมะครับผม
    ประกาศรายชื่อผู้ได้รับพระสังข์เรียกทรัพย์
    Username : pichetchan
    และผมจะแจกพระทุกท่านที่เข้ามาตอบคำถามทุกท่านครับผม
    กรุณาส่งที่อยู่ทาง pm ด้วยครับผม มี username ดังนี้ครับผม
    Username : pooldum
    Username : pattamon39
    Username : katika
    Username : sangon
    Username : jirattikan
    Username : pho2601
    Username : แมวธนู
    Username : poon-pan
    Username : kangsaking
    Username : iddon69
    Username : paliai
     
  15. okpppp

    okpppp Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +51
    ตอบคำถามรับพระสังข์

    นายเกียงศักดิ์ คุณานวน 84 ม.3 ต.บ้านเรือน อ.ป่าซาง จ.ลำพูน 51120
     
  16. Kosoki

    Kosoki เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    435
    ค่าพลัง:
    +100
    ขอรับไว้บูชาด้วยครับ นายปฏิพันธ์ วัชรพันธุ์ 80 ซอย จรัญสนิทวงศ์ 86/2 ถนน จรัญสนิทวงศ์ แขวงบางพลัด เขตบางอ้อ
    กทม. 10300
     

แชร์หน้านี้

Loading...