จันทรุปราคาคืนวันมาฆบูชา

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 2 มีนาคม 2007.

  1. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    จันทรุปราคาคืนวันมาฆบูชา

    1 มีนาคม 2550 วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@hotmail.com)
    หลังเที่ยงคืนของคืนวันมาฆบูชาซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 3 มีนาคม ย่างเข้าสู่เช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม 2550 ดวงจันทร์จากที่เคยเห็นสว่างเต็มดวงก่อนหน้านั้นจะถูกเงามืดของโลกเข้าบดบัง ทำให้ดวงจันทร์แหว่งและมืดคล้ำลง เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาหรือเรียกอีกอย่างว่าจันทรคราสและราหูอมจันทร์
    จันทรุปราคาเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดได้ในเฉพาะคืนวันเพ็ญและในจังหวะเวลาที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปในเงาโลก เงาที่เกิดขึ้นนี้มีอยู่สองชนิด ได้แก่ เงามืดและเงามัว จันทรุปราคาจึงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ จันทรุปราคาเต็มดวง จันทรุปราคาบางส่วน และจันทรุปราคาเงามัว
    <CENTER>[​IMG]
    การเกิดเงามืดและเงามัวระหว่างจันทรุปราคา (ไม่ได้วาดตามมาตราส่วนจริง)</CENTER>

    จันทรุปราคาเต็มดวงเกิดเมื่อดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดหมดทั้งดวง ดวงจันทร์จึงมืดคล้ำลงมากแต่ไม่มืดสนิท ส่วนใหญ่มีสีส้มแดงหรือน้ำตาล จันทรุปราคาบางส่วนเกิดเมื่อดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดเพียงบางส่วนจึงเห็นดวงจันทร์แหว่ง จันทรุปราคาเงามัวเกิดเมื่อดวงจันทร์เข้าไปในเงามัวเท่านั้น ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดผ่านเข้าไปในเงามืด จึงเห็นดวงจันทร์สว่างเต็มดวงอยู่อย่างนั้น ที่ต่างไปจากเดิมคือดวงจันทร์จะลดความสว่างลงเล็กน้อย ดังนั้นมันจึงไม่ค่อยเป็นที่สนใจมากเท่าสองประเภทแรก
    จันทรุปราคาครั้งที่จะเกิดขึ้นในคืนวันเสาร์นี้ หากยึดตามหลักการเปลี่ยนวันในเวลาเที่ยงคืนก็จะถือได้ว่าเกิดในวันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม 2550 ดวงจันทร์เริ่มเข้าไปในเงามัวของโลกตั้งแต่เวลา 3.18 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ดวงจันทร์ปรากฏอยู่เหนือท้องฟ้าทิศตะวันตกในกลุ่มดาวสิงโต กึ่งกลางระหว่างขอบฟ้ากับจุดเหนือศีรษะโดยมีดาวเสาร์อยู่ต่ำลงไป ห่างกันประมาณขนาดของฝ่ามือเมื่อกางมือของเราออกแล้วเหยียดแขนออกไปให้สุด อย่างไรก็ตามเรายังจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นกับดวงจันทร์จนกระทั่งเวลาประมาณ 4.10 น. ขอบดวงจันทร์ด้านซ้ายมือค่อนไปทางด้านบนจะเริ่มคล้ำลงจนสังเกตเห็นได้ ดวงจันทร์มืดสลัวลงทีละน้อยจนเริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 4.30 น. ซึ่งจะเห็นขอบดวงจันทร์ด้านนี้เริ่มแหว่ง
    ก่อนตี 5 ครึ่งเล็กน้อย ดาวเสาร์จะตกลับขอบฟ้าขณะที่ดวงจันทร์แหว่งไปเกินกว่าครึ่งดวง เงามืดของโลกเข้าบังดวงจันทร์ลึกมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงเวลา 5.44 น. เป็นเวลาที่ดวงจันทร์ทั้งดวงเคลื่อนเข้าไปในเงามืดของโลกและเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง แสงอาทิตย์ที่หักเหผ่านบรรยากาศโลกไปตกที่พื้นผิวดวงจันทร์ทำให้ดวงจันทร์ไม่มืดสนิทอย่างที่ควรจะเป็น แต่มีสีน้ำตาล สีแดงอิฐ หรือสีส้ม ไม่กี่นาทีต่อมาหลังจากนั้นแสงเงินแสงทองจะเริ่มจับขอบฟ้า ท้องฟ้าจึงค่อย ๆ สว่างขึ้นในขณะที่ดวงจันทร์ยังอยู่ในเงามืดของโลก
    เวลา 6.21 น. ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดลึกที่สุดและใกล้จะตกลับขอบฟ้าแล้ว ขณะนี้ท้องฟ้าจะสว่างเป็นสีฟ้า ที่กรุงเทพฯ ดวงอาทิตย์จะขึ้นเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลา 6.33 น. ส่วนดวงจันทร์จะตกทางทิศตะวันตกในเวลา 6.37 น.
    เวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงจันทร์ตกในจังหวัดอื่น ๆ จะต่างไปจากนี้ เช่น เชียงใหม่ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6.42 น. ดวงจันทร์ตกเวลา 6.46 น. ภูเก็ตดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6.39 น. ดวงจันทร์ตกเวลา 6.43 น. ส่วนที่อุบลราชธานีดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6.16 น. ดวงจันทร์ตกเวลา 6.20 น.
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width=500 border=1><TBODY><TR><TH class=tablehead colSpan=3>ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 4 มีนาคม 2550</TH></TR><TR bgColor=#e7e7e7><TD align=middle>เหตุการณ์</TD><TD align=middle>เวลา</TD><TD align=middle>มุมเงย
    ของดวงจันทร์

    (ที่กรุงเทพฯ)</TD></TR><TR><TD>1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก (ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง)</TD><TD align=middle>3.18 น.</TD><TD align=middle>47&deg;</TD></TR><TR><TD>2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน (เริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่ง)</TD><TD align=middle>4.30 น.</TD><TD align=middle>29&deg;</TD></TR><TR><TD>3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง)</TD><TD align=middle>5.44 น.</TD><TD align=middle>12&deg;</TD></TR><TR bgColor=#e5e5e5><TD>ดวงอาทิตย์ขึ้น (อุบลราชธานี)</TD><TD align=middle>6.16 น.</TD><TD align=middle>-</TD></TR><TR bgColor=#e5e5e5><TD>ดวงจันทร์ตก (อุบลราชธานี)</TD><TD align=middle>6.20 น.</TD><TD align=middle>-</TD></TR><TR><TD>4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ (ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด)</TD><TD align=middle>6.21 น.</TD><TD align=middle>3&deg;</TD></TR><TR bgColor=#e5e5e5><TD>ดวงอาทิตย์ขึ้น (กรุงเทพฯ)</TD><TD align=middle>6.33 น.</TD><TD align=middle>-</TD></TR><TR bgColor=#e5e5e5><TD>ดวงจันทร์ตก (กรุงเทพฯ)</TD><TD align=middle>6.37 น.</TD><TD align=middle>-</TD></TR><TR bgColor=#e5e5e5><TD>ดวงอาทิตย์ขึ้น (ภูเก็ต)</TD><TD align=middle>6.39 น.</TD><TD align=middle>-</TD></TR><TR bgColor=#e5e5e5><TD>ดวงอาทิตย์ขึ้น (เชียงใหม่)</TD><TD align=middle>6.42 น.</TD><TD align=middle>-</TD></TR><TR bgColor=#e5e5e5><TD>ดวงจันทร์ตก (ภูเก็ต)</TD><TD align=middle>6.43 น.</TD><TD align=middle>-</TD></TR><TR bgColor=#e5e5e5><TD>ดวงจันทร์ตก (เชียงใหม่)</TD><TD align=middle>6.46 น.</TD><TD align=middle>-</TD></TR><TR><TD>5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เริ่มออกจากเงามืด)</TD><TD align=middle>6.58 น.</TD><TD align=middle>-6&deg;</TD></TR><TR><TD>6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์ออกจากเงามืดทั้งดวง)</TD><TD align=middle>8.11 น.</TD><TD align=middle>-23&deg;</TD></TR><TR><TD>7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก</TD><TD align=middle>9.24 น.</TD><TD align=middle>-40&deg;</TD></TR></TBODY></TABLE>
    จุดที่น่าสนใจอย่างหนึ่งสำหรับจันทรุปราคาครั้งนี้ก็คือ ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบังหมดทั้งดวงในขณะที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากกลางคืนไปสู่กลางวัน จึงเป็นไปได้ว่าขณะที่ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดลึกที่สุดนี้ ท้องฟ้าจะสว่างมากจนเราอาจไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้หรือเห็นได้เพียงลาง ๆ ให้ลองสังเกตดวงจันทร์ด้วยตาเปล่าและด้วยทัศนูปกรณ์ที่มีอยู่ เช่น กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลา 6.00 - 6.40 น. และเนื่องจากปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงที่ดวงจันทร์กำลังจะตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก ดังนั้นหากต้องการสังเกตให้ชัดเจนควรหาสถานที่ที่ไม่มีสิ่งใดบดบังขอบฟ้าทิศดังกล่าว หรือหากเป็นไปได้อาจสังเกตจากตึกสูง
    นอกจากประเทศไทยแล้วบางส่วนของทุกทวีปในโลกมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ด้วยพร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น ทวีปยุโรปและแอฟริกาเห็นขณะเริ่มเกิดปรากฏการณ์ในค่ำวันที่ 3 มีนาคมตามเวลาท้องถิ่น อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้เห็นได้ในค่ำวันเดียวกันแต่เป็นช่วงท้ายของปรากฏการณ์ขณะดวงจันทร์ขึ้นทางทิศตะวันออก ส่วนในเอเชียตะวันออก ตอนกลางของจีน และตะวันตกของออสเตรเลียจะเห็นได้ในเช้ามืดวันที่ 4 มีนาคมขณะดวงจันทร์ใกล้จะตกเช่นเดียวกับประเทศไทย
    จันทรุปราคาครั้งนี้นับเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งแรกในรอบ 3 ปีสำหรับคนไทยในประเทศ และเป็นอุปราคาครั้งแรกจากทั้งหมด 4 ครั้งที่เกิดในปีนี้ อีก 15 วันถัดไป เช้าวันจันทร์ที่ 19 มีนาคมจะเกิดสุริยุปราคาบางส่วนเห็นได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย และหากท้องฟ้าเปิดไม่มีเมฆฝนเป็นอุปสรรคเราจะมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาในช่วงเวลาหัวค่ำของวันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2550
    ประมาณค่าความสว่างของดวงจันทร์

    เราสามารถคะเนความสว่างและสีของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงได้โดยการสังเกตดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า ความสว่างของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงแบ่งได้ตามมาตราดองชง (Danjon's scale) ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่เป็นผู้ริเริ่มกำหนดมาตรานี้ เรียกย่อ ๆ ว่าค่าแอล (L) มีค่าจาก 0 ถึง 4 และสามารถประมาณค่าเป็นทศนิยมได้ สีและความสว่างของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระยะห่างระหว่างดวงจันทร์กับศูนย์กลางเงา ปริมาณเมฆและฝุ่นละอองในบรรยากาศโลก โดยมีเกณฑ์กำหนดดังที่แสดงในตาราง ถ้าจะให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดที่สุด อาจทำการประมาณค่าแอลทุก ๆ 10-20 นาที นับตั้งแต่ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width=500 border=1><TBODY><TR><TH class=tablehead> L </TH><TH class=tablehead>ความสว่างและสีของดวงจันทร์</TH></TR><TR><TD align=middle bgColor=#433631>0</TD><TD>ดวงจันทร์มืดมาก เกือบมองไม่เห็น</TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#6a544c>1</TD><TD>ดวงจันทร์มืด มีสีเทาหรือน้ำตาล มองเห็นรายละเอียดบนพื้นผิวได้ยาก</TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#7f311f>2</TD><TD>ดวงจันทร์มีสีแดงเข้ม หรือสีสนิมเหล็ก บริเวณใกล้ใจกลางมืดมาก แต่ขอบดวงจันทร์สว่าง</TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#bd5909>3</TD><TD>ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐ ขอบเงามืดมีสีเหลืองหรือสว่าง</TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#e58411>4</TD><TD>ดวงจันทร์มีสีทองแดงหรือสีส้ม ดวงจันทร์สว่างมาก ขอบเงามืดมีสีฟ้าและสว่างมาก</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อย่างไรก็ดี จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ประเทศไทยเห็นในช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าและท้องฟ้าเริ่มสว่าง การประมาณค่าแอลอาจทำได้ยากกว่าปกติหรือได้ค่าที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

    http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/200703tle.html
     
  2. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    อุปราคาในปี 2550

    ปรับปรุง : 24 กุมภาพันธ์ 2550 วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@hotmail.com)
    พ.ศ. 2550 มีอุปราคาเกิดขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง เป็นสุริยุปราคาและจันทรุปราคาอย่างละสองครั้งซึ่งประเทศไทยมีโอกาสสังเกตจันทรุปราคาได้ทั้งสองครั้งกับสุริยุปราคาอีกหนึ่งครั้ง รายละเอียดโดยสังเขปมีดังนี้
    จันทรุปราคาเต็มดวง 4 มีนาคม 2550

    จันทรุปราคาครั้งนี้เกิดในเวลาหลังเที่ยงคืนของคืนวันมาฆบูชาซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 3 มีนาคม ย่างเข้าสู่เช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม 2550 ดวงจันทร์เริ่มแหว่งในเวลาประมาณ 4.30 น. จากนั้นดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดของโลกหมดทั้งดวงในเวลา 5.44 น. และอยู่ในเงามืดจนกระทั่งฟ้าสาง
    นอกจากประเทศไทยแล้วบางส่วนของทุกทวีปในโลกมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ทวีปยุโรปและแอฟริกาเห็นขณะเริ่มเกิดปรากฏการณ์ในค่ำวันที่ 3 มีนาคมตามเวลาท้องถิ่น อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้เห็นได้ในค่ำวันเดียวกันแต่เป็นช่วงท้ายของปรากฏการณ์ขณะดวงจันทร์ขึ้น ส่วนประเทศในเอเชียตะวันออก ตอนกลางของจีน และตะวันตกของออสเตรเลียเห็นได้ในเช้ามืดวันที่ 4 มีนาคมขณะดวงจันทร์ใกล้จะตก
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width=500 border=1><TBODY><TR><TH class=tablehead colSpan=3>ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 4 มีนาคม 2550</TH></TR><TR bgColor=#e7e7e7><TD align=middle>เหตุการณ์</TD><TD align=middle>เวลา</TD><TD align=middle>มุมเงย
    ของดวงจันทร์

    (ที่กรุงเทพฯ)</TD></TR><TR><TD>1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก (ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง)</TD><TD align=middle>3.18 น.</TD><TD align=middle>47°</TD></TR><TR><TD>2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน (เริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่ง)</TD><TD align=middle>4.30 น.</TD><TD align=middle>29°</TD></TR><TR><TD>3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง)</TD><TD align=middle>5.44 น.</TD><TD align=middle>12°</TD></TR><TR><TD>4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ (ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด)</TD><TD align=middle>6.21 น.</TD><TD align=middle>3°</TD></TR><TR><TD>5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เริ่มออกจากเงามืด)</TD><TD align=middle>6.58 น.</TD><TD align=middle>-6°</TD></TR><TR><TD>6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์ออกจากเงามืดทั้งดวง)</TD><TD align=middle>8.11 น.</TD><TD align=middle>-23°</TD></TR><TR><TD>7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก</TD><TD align=middle>9.24 น.</TD><TD align=middle>-40°</TD></TR></TBODY></TABLE>
    สุริยุปราคาบางส่วน 19 มีนาคม 2550

    เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์เคลื่อนเข้าบังบางส่วนของดวงอาทิตย์ มองเห็นได้ในประเทศไทย เอเชียใต้ บางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก รวมทั้งบางส่วนของอะแลสกาในอเมริกาเหนือ ประเทศไทยมองเห็นได้เกือบทั่วประเทศยกเว้นจังหวัดชายแดนภาคใต้ บริเวณที่เห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดคือด้านตะวันตกเฉียงเหนือของภาคเหนือ ส่วนเวลาที่เกิดจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น กรุงเทพฯ เห็นตั้งแต่เวลา 7.47 - 8.57 น. ดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดในเวลา 8.21 น. ด้วยสัดส่วน 16% เชียงใหม่เห็นตั้งแต่เวลา 7.45 - 9.15 น. ดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดในเวลา 8.29 น. ด้วยสัดส่วน 28%
    จันทรุปราคาเต็มดวง 28 สิงหาคม 2550

    บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ คือ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
    สำหรับประเทศไทย จันทรุปราคาครั้งนี้เราจะเห็นในช่วงท้ายของปรากฏการณ์ หากสังเกตจากกรุงเทพฯ เมื่อดวงจันทร์ขึ้นทางทิศตะวันออก (ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ดวงอาทิตย์ตก) ดวงจันทร์จะถูกเงามืดของโลกบังไปประมาณ 80% จากนั้นจึงค่อย ๆ กลับมาเต็มดวง แต่หากไปสังเกตที่จังหวัดอุบลราชธานี ดวงจันทร์จะขึ้นเหนือขอบฟ้าในจังหวะที่ดวงจันทร์ทั้งดวงยังอยู่ในเงามืดของโลก จันทรุปราคาเต็มดวงสิ้นสุดในเวลา 18.22 น. จันทรุปราคาบางส่วนสิ้นสุดในเวลา 19.24 น.
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width=500 border=1><TBODY><TR><TH class=tablehead colSpan=3>ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 28 สิงหาคม 2550</TH></TR><TR bgColor=#e7e7e7><TD align=middle>เหตุการณ์</TD><TD align=middle>เวลา</TD><TD align=middle>มุมเงย
    ของดวงจันทร์

    (ที่กรุงเทพฯ)</TD></TR><TR><TD>1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก (ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง)</TD><TD align=middle>14.54 น.</TD><TD align=middle>-52°</TD></TR><TR><TD>2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน (เริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่ง)</TD><TD align=middle>15.51 น.</TD><TD align=middle>-38°</TD></TR><TR><TD>3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง)</TD><TD align=middle>16.52 น.</TD><TD align=middle>-24°</TD></TR><TR><TD>4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ (ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด)</TD><TD align=middle>17.37 น.</TD><TD align=middle>-14°</TD></TR><TR><TD>5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เริ่มออกจากเงามืด)</TD><TD align=middle>18.22 น.</TD><TD align=middle>-3°</TD></TR><TR><TD>6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์ออกจากเงามืดทั้งดวง)</TD><TD align=middle>19.24 น.</TD><TD align=middle>11°</TD></TR><TR><TD>7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก</TD><TD align=middle>20.21 น.</TD><TD align=middle>25°</TD></TR></TBODY></TABLE>
    สุริยุปราคาบางส่วน 11 กันยายน 2550

    บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาครั้งนี้ คือ บางส่วนทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ บางส่วนของแอนตาร์กติกา ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก และด้านตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก
     
  3. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE height=70 width=350 align=center background=../pics/banner350.gif border=0><TBODY><TR><TD>
    วันมาฆบูชา
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=44>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๓

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 align=right bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหารกรุงราชคฤห์เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

    คำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ "จาตุร" แปลว่า ๔ "องค์" แปลว่า ส่วน "สันนิบาต" แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ ๔" กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ

    ๑. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหาร
    ในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
    ๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจาก
    พระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
    ๓. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์
    ๔. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ

    การปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ การทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืน จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม ๓ จบ จากนั้นกล่าวคำ ถวาย ดอกไม้ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดิน เวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ ๓ รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัด เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธี



    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา
    ๑. ทำบุญใส่บาตร
    ๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม และฟังพระธรรมเทศนา
    ๓. ไปเวียนเทียนที่วัด
    ๔. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    [​IMG]
     
  5. คนกิเลสหนา

    คนกิเลสหนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +535
    คิดไปเองหรือเปล่า(b-hmm) ไม่รู้มันนะช่างประจวบเหมาะกับเรื่องคำทำนายต่าง ๆ เพราะตามโหราแล้ว การเกิดจันทรุปราคาและสุริยุปราคา จะมีส่วนทำให้เกิด....... หรือเปล่า โอมเพี้ยง[b-wai] ขอให้เกิดแต่สิ่งที่ดีเถิดจ๋า พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า สาธุ สาธุ สาธุ
     
  6. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    สดๆ ร้อนๆ จากเตา

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. nrcl

    nrcl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +4,318
    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]

    ไปดูจันทรุปราคามาเหมือนกัน ถ่ายรูปมาด้วย ตอนแรกกะว่าจะไม่ไป แต่ตื่นมา แล้วนอนไม่หลับ
    ถ่ายมาได้ถึงรูปสุดท้าย แบตดันหมด เปิดมาก็ดับ ถ่ายไม่ได้เลย ว้า... เลยรีบขับรถไปซื้อแบตที่ 7eleven ดันไม่ได้เอากระเป๋าตังไป
    ค้นเศษตังทั้งรถแล้วมีตังอยู่ 28 บาท ถ่านที่ถูกที่สุดราคา 29 บาท โอ้... เลยไม่ได้ถ่ายตอนเต็มดวงเลย
     
  8. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    คุณ Yellow ถ่ายได้ชัดเจนมาก (verygood)
     
  9. นพสร

    นพสร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2006
    โพสต์:
    548
    ค่าพลัง:
    +1,176
    *-*
     
  10. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,696
    ค่าพลัง:
    +51,932
    *** สัญลักษณ์บนท้องฟ้า จันทรุปราคา ๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ****

    ดวงจันทร์วันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จากวันสำคัญทางศาสนา มาฆบูชา
    ต่อด้วย "ราหูอมจันทร์"....จันทรุปราคา ในต้นเช้ามืด วันที่ ๔ มีนาคม ก่อนสว่าง

    ดวงจันทร์...คือ โลกุตตระ คือ พระไตรปิฎก
    ราหู...คือ โลก ....ที่หมุนด้วย..."ผลการกระทำของมนุษย์"
    ราหูอมจันทร์...คือ เงาของโลกบดบังดวงจันทร์...หมายถึง การกระทำของมนุษย์บดบังคำสอนของโลกุตตระ พระไตรปิฎก

    เหตุการณ์ จันทรุปราคา ครั้งนี้ ณ ประเทศไทย
    ก่อนดวงจันทร์ จะตกลงทางทิศตะวันตก
    ราหู ค่อยๆ เริ่มอม พระจันทร์ จนมืดมิดทั้งดวง
    แต่ เหตุการณ์...ต่อไป ไม่เหมือนคราวใด
    พระจันทร์...ไม่ส่งแสงอีกครั้ง....แต่กลับตกลับขอบฟ้าไปทางทิศตะวันตก
    ต่อจากนั้น ไม่นานนัก ....... ดวงอาทิตย์ เริ่มขึ้นสาดแสงสีทอง ทางทิศตะวันออก ทันที

    ดวงอาทิตย์....... คือ แดนนิพพาน บ้านเดิมที่อบอุ่นของทุกดวงวิญญาณ
    ความหมาย... ของ สัญลักษณ์บนท้องฟ้า จันทรุปราคา ครั้งนี้
    ยุคที่การกระทำของมนุษย์บดบังคำสอนของโลกุตตระ พระไตรปิฎก
    จะปรากฏ ... คำสอนจากสรวงสวรรค์ เบื้องบน แดนนิพพาน โดยตรง

    ดวงอาทิตย์ ....ขึ้นแล้ว
    ต่อไป เราจะได้เห็นว่า ใครทำอะไรไว้ !!!
     
  11. boko0121

    boko0121 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,612
    ค่าพลัง:
    +7,736
    ผมก็มองเห็นจันทรุปราคาของวันที่4มีนาคม ที่ชัยภูมิเริ่มประมาณตี4กว่าครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...