หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย กัณฑะกะ, 3 ตุลาคม 2011.

  1. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    ประวัติ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
    ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร


    หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน วัดวังตะโก และวัดท้ายน้ำ เทพเจ้าแห่งอำเภอโพทะเลและเพชรน้ำเอกของจังหวัดพิจิตร

    ชาติกำเนิด

    หลวงพ่อเงิน เดิมท่านชื่อเงิน เมื่อสมัยก่อนยังไม่ได้ใช้นามสกุล ท่านเกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2351 ตรงกับศุกร์เดือน 10 ปีมะโรง บิดาของท่านชื่อ อู๋ เป็นชาวบ้านบางคลาน มารดาของท่านชื่อฟัก เป็นชาวบ้านแสนตอ จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งรัตนโกสินทร์

    หลวงพ่อเงิน ท่านมีพี่น้องร่วมสายโลหิตทั้งหมด 6 คน ดังนี้

    คนที่ 1 ชื่อพรม ชาย

    คนที่ 2 ชื่อทับ หญิง

    คนที่ 3 ชื่อทอง(ขุนภุมรา) ชาย

    คนที่ 4 ชื่อเงิน(หลวงพ่อเงิน)

    คนที่ 5 ชื่อหล่ำ ชาย

    คนที่ 6 รอด หญิง

    เมื่อปี พ.ศ. 2356 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 5 ขวบ นายช่วงซึ่งเป็นครูของท่าน ได้หาหลวงพ่อเงินไปอยู่กรุงเทพฯ จนกระทั่งหลวงพ่อเงินเติบโตเข้าศึกษาเล่าเรียนได้ จึงได้นำหลวงพ่อเงินไปฝากไว้ที่วัดตองปู (วัดชนะสงคราม) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือที่วัดชนะสงครามตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2363 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 12 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดชนะสงคราม ฉายา พุทธโชติ แล้วท่านได้จำพรรษา เพื่อปฏิบัติธรรมวินัยเรียนทางวิปัสสนากรรมฐานอยู่ได้ 3 พรรษาขณะที่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงครามท่านได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาศิลปวิทยาคมตลอดจนเรียนวิปัสสนาธุระ ในทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรีจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒจารย์(โต) พรหมรังสีวัดระฆังโฆสิตารามจนเป็นที่พอใจแล้ว ท่านจึงได้กลับไปจำพรรษาที่วัดคงราราม (วัดบางคลานใต้) บ้านบางคลาน ตำบลบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร บ้านเดิมของท่านอยู่ได้ 1 พรรษา

    ที่วัดคงคารามนี้มีหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ให้ เป็นเจ้าอาวาสอยู่ก่อนแล้ว ท่านเป็นพระที่เรืองวิชาแก่กล้าองค์หนึ่งเหมือนกันและท่านชอบเล่นแร่แปรธาตุด้วย แต่หลวงพ่อท่านอุปัชฌาย์ให้ท่านชอบเทศน์แหล่ เป็นทำนองการเทศน์แหล่หรือการซ้อมแหล่ ทำให้เกิดเสียงดังมาก หลวงพ่อเงินท่านไม่พอใจ เพราะท่านเป็นพระที่เคร่งครัดทางธรรมวินัยและทางวิปัสสนากรรมฐานชอบแต่ทางสงบ

    ประวัติวัดวังตะโก

    ท่านจึงได้ย้ายจากวัดคงคารามไปอยู่ยังหมู่บ้านวังตะโก ซึ่งลึกเข้าไปในทางลำน้ำแควพิจิตรเก่า โดยท่านได้หักกิ่งโพธิ์ไปด้วย 3 กิ่งและปักลงตรงบริเวณป่าตะโก แล้วท่านก็ได้อธิษฐานจิตว่า ถ้าข้าพเจ้าได้มาสร้างวัด ณ สถานที่แห่งนี้ ถ้ามีความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในอนาคตข้างหน้า ขอให้กิ่งโพธิ์ทั้ง 3 กิ่ง จงเจริญงอกงามตามไปด้วย ก็ปรากฏว่าเป็นไปตามคำอธิษฐานของหลวงพ่อทุกประการ ได้สร้างกุฏิวิหารจนอุโบสถและเสนาสนะภายในวัดจนสมบูรณ์แบบครบถ้วนทุกประการ

    เพราะได้มีประชาชนให้ความเคารพนับถือท่านมาก มีคนมาหาท่านมาก มีคนมาหาท่านมิได้ขาด เพื่อถวายตัวเป็นศิษย์ และมาขอเครื่องรางขอขลัง และขอให้หลวงพ่อได้รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ด้วย หลวงพ่อให้ความเมตตาโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ เหมือนกันทุกระดับชั้น

    โดยเฉพาะพวกชาวเรือที่ขึ้นล่องไปมา ได้พากันมาจอดเรือที่หน้าวัดหลวงพ่อเป็นประจำจะเพื่อขอพรและขออาบน้ำมนต์ ผู้เขียนได้รับคำบอกเล่าจากท่านพระครูพิทักษ์ศีลคุณ(น้อย) เจ้าคณะอำเภอบางบุญนาค ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเงินอีกรูปหนึ่ง และพ่อพริ้ง เป็นครูซึ่งเป็นพ่อของเพื่อนของผู้เขียนเอง ที่จอดเรืออยู่หน้าวัดวังตะโก น้ำมนต์ของท่านมีประชาชนเอามาอาบได้ไหลลงสู่แม่น้ำแควพิจิตรเก่ามิได้ขาดสาย (ผู้เขียนเกิดไม่ทันจึงต้องเขียนตามที่เขาเล่า)

    ประวัติการสร้างพระเครื่องและรูปเหมือนของหลวงพ่อเงิน ( รูปหล่อ หลวงพ่อเงิน)

    ท่านพระครูพิทักษ์ศีลคุณได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้สร้างเป็นรูปหล่อลอยองค์ขึ้นเป็นรุ่นแรกครั้งที่ 1 เนื้อทองเหลืองรูปองค์พระจะขรุขระผิวไม่เรียบร้อย ตามภาษาชาวบ้านเรียกว่าพิมพ์ขี้ตา คณะกรรมการวัดได้ให้เช่าบูชาองค์ละ 1 บาท

    รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา

    ครั้งที่ 2 สร้างเป็นรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อเงิน โดยให้ช่างแก้พิมพ์ให้สวยงามขึ้น จึงเรียกว่าพิมพ์นิยมหรือพิมพ์เบ้าทุบ

    รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยมหรือพิมพ์เบ้าทุบ

    เมื่อรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตาและรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม ได้จำหน่ายจ่ายแจกให้ผู้ที่เคารพนับถือเลื่อมใสต่อหลวงพ่อ ต่างก็ได้รับความนิยมชมชอบ สำหรับผู้ชายสำหรับผู้หญิงและเด็กๆ ไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้รูปหล่อทั้งสองพิมพ์ดังกล่าวมาแล้ว ทางคณะกรรมการวัดจึงได้จัดให้สร้างขึ้นเป็นครั้งที่ 3เป็นเหรียญหล่อไข่ปลาเรียกว่าจอบใหญ่กับเหรียญหล่อจอบเล็ก เพื่อให้ผู้หญิงและเด็กๆ ได้มีโอกาสเช่าบูชาให้ติดตัวไปได้ ปรากฏว่าเหรียญไข่ปลาและเหรียญจอบเล็กจำหน่ายดีมีความนิยมสูงมากกว่ารูปลอยองค์ เพราะเหรียญสองชนิดนี้มีห่วงอยู่ในตัวเมื่อเช่ารับจากหลวงพ่อมาแล้วก็คล้องคอได้เลย ปัจจุปัน เหรียญหล่อจอบเล็ก หลวงพ่อเงิน และ เหรียญหล่อจอบใหญ่ หลวงพ่อเงิน มีราคาเล่นหาสูงมาก

    การสร้างพระรูปหล่อของหลวงพ่อเงิน

    จะเป็นพิมพ์ใดก็ตาม ช่างมิได้สร้างครั้งเดียวและปีเดียว เมื่อปีนี้สร้างมาแล้วหมดไปเมื่อถึงงานแระจำปีปิดทองไหว้พระในเดือน 11 ของทุกๆ ปี หลวงพ่อท่านได้จัดให้มีงานแข่งเรืออย่างสนุกสนาน ได้มีประชาชนทั่วทุกอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงได้พากันมาเที่ยวงานที่วัดวังตะโกเป็นจำนวนมาก ท่านก็ได้ให้ช่างหล่อรูปพิมพ์ต่างๆ ขึ้นมาตามลำดับเรียกร้องของประชาชนและผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อเงิน

    การสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินเป็นกรณีพิเศษ

    ยังมีข้าราชการ พ่อค้าประชาชนที่เคารพนับถือหลวงพ่อเงินมาขออนุญาตท่านหล่อรูปเหมือนโดยนำช่างไปทำการหล่อขึ้นที่วัดวังตะโก และหล่อไปจากกรุงเทพฯ ก็มีแล้วนำไปมอบให้หลวงพ่อเงินท่านได้แพเมตตาปลุกเสกให้ มีทั้งเนื้อ ทองคำ,เงิน ,สำริด,ทองเหลือง ,ทองแดงและตะกั่ว เป็นต้น แล้วแต่ฐานะของแต่และบุคคล ส่วนมากจะเป็นพวกชาวเรือเวลานำข้าว ขึ้น-ล่อง ไปขายที่กรุงเทพฯ

    ก็จะพากันมาจอดเรือที่หน้าวัดเป็นประจำ แล้วขออนุญาตจากหลวงพ่อนำเบ้าและพิมพ์พระไปให้ช่างที่กรุงเทพฯ ทำการหล่อแล้วนำกลับมาให้หลวงพ่อได้ปลุกเสกให้ จะสร้างมากน้อยเท่าไรไม่สามารถจะทราบจำนานได้

    การหล่อรูปจำลองของหลวงพ่อเงิน

    เมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ประชาชนเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ จึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปจำลองของท่านไว้จำนวน 2 องค์ ด้วยกัน ตามหลักฐานที่ได้ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

    องค์ที่ 1 ประจำอยู่วัดวังตะโก บ้านบางคลานหรือวัดหิรัญญาราม

    องค์ที่ 2 ประจำอยู่ที่วัดท้ายน้ำ

    ประวัติท้ายน้ำ

    เป็นอีกวัดหนึ่งที่หลวงพ่อเงินท่านได้ไปทำการบูรณะก่อสร้างกุฏิ ศาลา วิหาร อุโบสถให้เจริญรุ่งเรืองเหมือนๆ กับวัดวังตะโก และหลวงพ่อท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำพอๆ กัน กับวัดวังตะโกขณะที่หลวงพ่อได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำ ก็ได้มี

    ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนพากันมาหาหลวงพ่อเงินเป็นประจำเหมือนกับกับที่ท่านอยู่ที่วัดวังตะโก แล้วคณะกรรมการวัดก็ได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปหลวงพ่อเงินขึ้นที่วัดท้ายน้ำเหมือนกับที่วัดวังตะโกทุกๆ พิมพ์ เพื่อแจกจ่ายจำหน่ายเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสต่อองค์หลวงพ่อเมื่อหลวงพ่อเงินได้กลับไปจำพรรษาอยู่วัดวังตะโด ท่านได้แต่งตั้งและมอบหมายให้พระครูวัตฏะสัมบัญ (ฟุ้ง) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดกับหลวงพ่อองค์หนึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำและต่อมาท่านได้เป็นเจ้าคณะอำเภอโพทะเล ที่อำเภอบางคลานได้ยกเลิกมาตั้งที่ใหม่

    พระครูวัฏะสัมบัญสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงิน

    กาลต่อมาพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินทุกๆ พิมพ์ ที่จัดสร้างขึ้นที่วัดท้ายน้ำได้หมดไป แต่ยังมีผู้ที่ต้องการอีกเป็นจำนวนมาก ท่านพระครูวัฏะสัมบัญจึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อขึ้นอีกทุกๆ พิมพ์คือ พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม พิมพ์จอบใหญ่ไข่ปลา และพิมพ์จอบเล็ก แล้วท่านก็ได้นำไปให้หลวงพ่อเงินแผ่เมตตาปลุกเสกให้แล้วนำมาแจกจ่ายที่วัดท้ายน้ำ

    พระอาจารย์ชุ่มสร้างหลวงพ่อเงินที่วัดท้ายน้ำ

    ต่อมาพระอาจารย์ชุ่ม หรือพระปลัดชุ่มที่เป็นลูกศิษย์อุปสมบทกับพรครูวัฏะสัมบัญได้จัดสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินขึ้นมารุ่นหนึ่ง เป็นรูปหล่อลอยองค์แบบพิมพ์นิยม โดยนำพระพิมพ์นิยมของพระครูวัฏะสัมบัญมาถอดพิมพ์ ขณะนี้กำลังได้รับความนิยมและเสาะแสวงหากันมากพอสมควร

    ข้อระวัง

    พระหลวงพ่อเงินของพระอาจารย์ชุ่ม เวลานี้บรรดาพวกเซียนพระสมองใสทั้งหลายได้ลบตัว ช. ออก แล้วก็ยืนยันว่าเป็นพระหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมของวัดวังตะโกและวัดท้ายน้ำ ผู้ที่ดูพิมพ์ไม่ออกหลงเชื่อ

    ผู้เขียนได้พบเห็นมาหลายรายแล้วก็อดสงสารไม่ได้เพราะฉะนั้น เรื่องหลวงพ่อเงินที่มีผู้เข้าใจกันว่าวัดบางคลานนั้นความจริงแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วัดบางคลานไม่มี คำว่าบางคลานหมายถึงตำบลอำเภอที่อยู่ของวัด ปัจจุบันนี้มีวัดวังตะโกได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหิรัญญาราม และอำเภอบางคลานก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอำเภอโพทะเลแล้ว

    สำหรับหลวงพ่อเงิน วัดวังตะโกกับหลายพ่อเงิน วัดท้ายน้ำบางพิมพ์ก็เหมือนกัน แต่บางพิมพ์อาจจะไม่เหมือนกัน เพราะมิได้สร้างในคราวเดียวกัน และไม่ใช้พิมพ์บล็อกเดียวกันด้วยเล็ก-ใหญ่ไม่เท่ากัน

    ผู้เขียนขอให้ข้อคิดและแนะนำ แก่ผู้เสาะแสวงหาหลวงพ่อเงินวัดวังตะโก หลวงพ่อเงินวัดท้ายน้ำ ตลอดจนกระทั่งหลวงพ่อเงินที่พระครูวัตฏะสัมบัญจัดสร้างขึ้นที่วัดท้ายน้ำจะเป็นพิมพ์ใดก็ตาม มีอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกันทุกประการข้อสำคัญขอให้เป็นของแท้ เพราะหลวงพ่อเงินท่านเป็นพระเถระที่บริบูรณ์ไปด้วยศีลจารวัตรและมีสมาธิจิตอันมั่นคง โดยเฉพาะเวทมนต์คาถาและวิปัสสนาธุระ ท่านมีความเชี่ยวชาญและแก่กล้าเรื่องวิทยาคมรูปหนึ่งของจังหวัดพิจิตร และท่านได้เป็นพระอาจารย์ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ด้วย กิตติศัพท์ของท่านเลื่องลือขจรขจายไปทั่วทุกภาคจากเหนือจดใต้จากตะวันออกจดตะวันตกมาเนิ่นนานแล้วตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ถึงแม้หลวงพ่อเงินจะมรณภาพจากไปนานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ในความทรงจำ ศรัทธา ปรารถนาที่จะได้ของหลวงพ่อทุกๆ คนเสมอมาเพราะวัตถุมงคลของหลวงพ่อทุกๆ อย่าง ถ้าผู้ใดมีไว้ครอบครอง จะได้รับแต่ความเจริญรุ่งเรือง เป็นศิริมงคล และแคล้วคลาดจากภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวงแม้แต่ชื่อของท่านก็เป็นมงคลนามอยู่แล้ว โดยเฉพาะชาวพิจิตรและจังหวัดใกล้เคียง ทุกๆ คนจะเคารพบูชาและหวงแหนวัตถุมงคลของหลวงพ่อเงินกันมาก เมื่อมีผู้ใดมาขอเช่าในราคาแพง ผู้ที่เป็นเจ้าของจะไม่ยอมให้เพราะเป็นของที่หาได้ยากยิ่ง เปรียบเสมือนหนึ่งแก้วสารพัดนึกก็ว่าได้

    พระอาจารย์และวัดที่จัดสร้างพระหลวงพ่อเงินพิมพ์ต่างๆ มีด้วยกัน 7 วัดคือ

    1. วัดวังตะโก หลวงพ่อเงินสร้าง มีทุกๆ พิมพ์ พระอาจารย์แจ๊ะสร้างพิมพ์พระผงแบบจอบเล็ก

    2. วัดท้ายน้ำ หลวงพ่อเงินสร้างมีทุกๆ พิมพ์ พระครูวัตฏะสัมบัญ (ฟุ้ง) สร้างมีครบทุกพิมพ์ พระปลัดชุ่มสร้างเฉพาะพิมพ์นิยมกับมีตัว ช. เพียงพิมพ์เดียวเท่านั้น

    3. วัดหลวง หลวงพ่อเงินหอมสร้างมีพระพิมพ์ต่างๆ ประเภทเนื้อดินล้วน มีพิมพ์สมเด็จพระเจ้าห้าพระองค์พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์สังกัจจายน์

    4. วัดขวาง หลวงปู่ไข่ มีพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม และพิมพ์สังกัจจายน์

    5. วัดห้วยเขน พระครูล้อมสร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม ไข่ปลา จอบเล็ก และเนื้อดินมีทั้งนั่ง,นอน,ยืน

    6. วัดบางมูลมาก พระครูพิทักษ์ศัลคุณ (น้อย) กับหลวงพ่อพิธ สร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม จอบใหญ่ ไข่ปลา จอบเล็ก

    7. วัดคงคาราม หลวงพ่อน้อย (ตาบอด)สร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม โดยจ้างเจ๊กชัยหล่อ แล้วมีพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยมเนื้อดินด้วย

    หลวงพ่อเงิน ท่านได้มรณภาพ ด้วยโรคชรา และโรคริดสีดวงทวาร เมื่อวันศุกร์เดือน 10 แรม 11 ค่ำ ปีมะแมเวลา 5.00 น.ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2462รวมอายุได้ 111 ปีพรรษา 90 การมรณภาพของหลวงพ่อเงินครั้งนั้น นับว่าวัดวังตะโก-วัดท้ายน้ำ-ชาวพิจิตรและศิษยานุศิษย์ตลอดจนสาธุชนคนทั่วไปที่เลื่อมใสศรัทธาในตัวท่าน ได้รับความโศกเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้ง นับเป็นการสูญเสียพระคณาจารย์ที่ยิ่งใหญ่และพระเถระที่เป็นกำลังสำคัญของพระศาสนาอันมีความหมายยิ่งรูปหนึ่ง

    รูป ชีรติ มจจานํ นามโคลตํ ชีรติ
     
  2. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
  3. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
    วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
    นามเดิม บ่อ แก้วสุวรรณ เหตุที่ท่านได้ชื่อว่าชอบก็เนื่องมาจากเมื่อยังเยาว์วัย ได้มีพระธุดงค์ชื่อพระอาจารย์พา มาปักกลดใกล้บ้านท่าน มารดาและญาติผู้ใหญ่ของท่าน รวมทั้งคนในหมู่บ้านได้พากันปรนนิบัติอุปัฏฐาก ถวายภัตตาหารอยู่มิได้ขาด ตัวท่านเองขณะนั้นอายุได้ ๑๔ ปี ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติรับใช้พระ ประเคนสิ่งของ ล้างบาตรให้พระอาจารย์ทุกวัน ประกอบกับอุปนิสัยอันสงบเสงี่ยมฝักใฝ่ทางธรรมของท่าน ทำให้พระอาจารย์พาซึ่งเป็นศิษย์รูปหนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ออกปากชวนไปบวชด้วย ซึ่งท่านได้ตอบอย่างไม่ลังเลว่า “ชอบครับ” เมื่อพระอาจารย์พาท่านถามย้ำ หลวงปู่ก็จะตอบว่า “ชอบครับ” และเมื่อท่านได้ไปขอมารดาเพื่อบวชนั้นมารดาของท่านค่อนข้างประหลาดใจ และตกใจระคนไป แต่เมื่อถามย้ำรวมถึงญาติผู้ใหญ่ที่ทราบเรื่อง และได้มาซักไซ้ไล่เรียงท่านก็จะตอบว่า “ชอบครับ” จึงเป็นที่มาของ “เด็กชายชอบ” ด้วยประการฉะนี้

    เกิด วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู ณ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
    โยมบิดา มอ แก้วสุวรรณ
    โยมมารดา พิลา แก้วสุวรรณ

    บรรพชา เมื่ออายุ ๑๙ ปี ณ วัดบ้านนาแก ตำบลบ้านนากลาง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
    อุปสมบท หลังจากใช้ชีวิตเป็นสามเณรอยู่ถึง ๔ ปีกว่า ท่านก็ได้อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ (อายุ ๒๓ ปี) ณ วัดสร่างโศก (ปัจจุบันคือ วัดศรีธรรมาราม) อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยมีพระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐานสโม” ในพรรษาที่ ๓ ของการอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๗๐ ท่านได้เดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าหนองบัวบาน ณ ที่นี้เองนอกจากจะเป็นที่ภาวนาดีแล้ว หลวงปู่ยังได้มีโอกาสพบเพื่อนภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งในชีวิตสมณเพศอันยาวนานในภายหลังต่อมาเกือบ ๖๐ พรรษากาลนั้น ได้เป็นกัลยาณมิตรต่อกันตลอดมาภิกษุรูปนั้นแม้จะมีอายุมากกว่าท่านกว่าสิบปี แต่เมื่อมีพรรษาอ่อนกว่าท่านเล็กน้อย ก็มิได้ถือตัวประการใด คงใกล้ชิดสนิทสนม ร่วมปฏิบัติธรรม สนทนาธรรม แลกเปลี่ยนธรรมสากัจฉาต่อกันเป็นอย่างดี ภิกษุท่านนั้น คือท่านที่เรารู้จัก เราเคารพบูชากันในภายหลัง ในนามว่า “หลวงปู่ขาว อนาลโย” แห่งวัดถ้ำกลองเพลนั่นเอง ท่านทั้งสองได้จำพรรษาอยู่ร่วมกันเป็นเวลา ๓ พรรษา ในระหว่างนี้โยมมารดาของท่านได้มาถวานจังหัน รวมถึงฟังเทศน์ที่วัด บางครั้งหลวงปู่ท่านก็ได้ไปเทศน์โปรดที่บ้าน ทำให้โยมมารดาของท่านได้มาถือศีล ๘ ที่วัด และต่อมาก็ปลงใจโกนหัวบวชชีด้วยเห็นผลในการภาวนา และเมื่อท่านได้สงเคราะห์ญาติพอสมควรแล้ว อีกทั้งโยมมารดาของท่านก็สามารถเป็นที่พึ่งของตัวเองได้ ท่านจึงไปสถานที่ใหม่เพราะไม่ต้องการ “ติดถิ่นอยู่ที่” โดยท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดป่าหนองวัวซอ ณ ที่นี้ ท่านได้พบกับหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ซึ่งเป็นชาวเลยด้วยกัน ท่านได้พบกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ณ เสนาสนะป่าบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
    ในหน้าแล้งก่อนที่จะเข้าพรรษาที่ ๕ ของท่านท่านเล่าว่า พอท่านกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ขณะวางอัฐบริขารลงก็โดนท่านดุให้ออกจากสำนัก ท่านเองก็ตกใจ ได้แต่เก็บอัฐบริขารแล้วออกเดินทาง กะว่าจะไปค้างอยู่ที่สำนักหนึ่งซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก ฉันเช้าเสร็จค่อยออกเดินทางต่อไป รุ่งเช้าเมื่อท่านฉันจังหันเสร็จแล้ว ก็พอดีมีพระเณร ๒ รูป เข้ามากราบเรียนท่านว่า ท่านพระอาจารย์มั่นให้มาตามกลับไป เมื่อท่านกลับไปกราบท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนี้ ท่านทักทายด้วยเมตตายิ้มแย้มแจ่มใส พร้อมกับบอกให้พระเณรจัดกุฎีที่พักให้ ภายหลังท่านได้เดินธุดงค์ไปตามป่าเขาในเขตภาคเหนือหลายพื้นที่รวมถึงประเทศพม่า ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ หลวงปู่ขาวชวนท่านกลับอีสาน ท่านจึงได้มาจำพรรษาที่ป่าช้าวังหินโง้น ซึ่งปัจจุบันคือวัดป่าโคกมน ปีพ.ศ. ๒๕๐๑ ผู้ใหญ่ถัน วงษา ได้ถวายที่ดินให้หลวงปู่เพื่อสร้างวัด โดยมีชาวบ้านร่วมสมทบอีกจนเป็นที่ดินกว่าร้อยไร่ ซึ่งปัจจุบันคือ วัดป่าสัมมานุสรณ์

    มรณภาพ วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ณ วัดป่าสัมมานุสรณ์ สิริรวมอายุได้ ๙๓ ปี ๑๑ เดือน ๒๗ วัน



    ปุจฉา สัชนา
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    วัดป่าสัมมานุสรณ์ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

    ปุจฉา หลวงปู่เจ้าคะ เวลาภาวนาทำอย่างไรจิตจึงจะรวม
    วิสัชนา ให้พิจารณาความตาย

    ปุจฉา หนูนั่งภาวนาครั้งหนึ่งเกิดมีกลิ่นเหม็นร่างกายของตัวเองอย่างรุนแรงจนแทบอาเจียน แต่หนู่พยายามฝืนทนนั่งภาวนาอยู่ต่อไป คิดว่าเหม็นก็ช่างมัน ทนเอา อีกสักครู่เกิดอาเจียนออกมาคล้ายเสลดกองอยู่บนตักเต็มไปหมดประมาณได้สัก ๑ กระโถน พอหนูออกจากการภาวนาเอามือมาจับดูปรากฏว่าไม่เห็นมีอะไร มันเป็นอะไรคะหลวงปู่
    วิสัชนา ธรรม
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
    ปุจฉา หลวงปู่ครับ กระผมนั่งสมาธิอยู่มันเกิดมีแสงสีม่วงมาแยงเข้าตาจะทำอย่างไรครับ
    วิสัชนา เกิดขึ้นมันกะหายไปเอง

    ปุจฉา ไม่ต้องไปสนใจมันใช่ไหมครับ หลวงปู่
    วิสัชนา อื้อ บ่ต้องดีใจ บ่ต้องเสียใจ ฮ้ายกะซ่าง ดีกะซ่าง (ร้ายก็ช่าง ดีก็ช่าง)

    ปุจฉา หลวงปู่ครับ กระผมและครอบครัวเดินทางมาไกลเพื่อกราบนมัสการหลวงปู่ โอกาสนี้ขอฟังธรรมะหรือเทศน์สั้นๆเพื่อจะได้นำไปเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตต่อไป
    วิสัชนา (นิ่งสักครู่ประมาณ ๒ – ๓ นาที) แล้วตอบว่า “เอาใจใส่” และว่า “มนุสโส ปฏิลาโภ”

    ปุจฉา คำถามของคนหูหนัก (เกือบหนวก) ผู้หนึ่งชื่อนายคำ เป็นคนมีสัตย์มีศีลธรรมดคนหนึ่ง และเป็นนักภาวนาที่หาตัวจับยากในบรรดาชาวบ้านด้วยกัน แกมีอาการแปลกๆเกี่ยวกับการภาวนามาเล่าถวายหลวงปู่เสมอ ซึ่งท่านก็เมตตาแนะนำ เมื่อแกหายหน้าไปท่านจะถามหาและเมตตาแกมาตลอดเวลาร่วม ๒๐ ปี วันหนึ่งได้มีโอกาส แกเรียนถามหลวงปู่ว่า หลวงปู่ครับเป็นเพราะกรรมอันใดหรือ ทำไมหูผมจึงหนวก ผมเคยได้ทำกรรมอะไรไว้บ้างครับ
    วิสัชนา แต่ก่อนเวลาพระกำลังเทศน์ มีญาติโยมนั่งฟังอยู่หลายที่ศาลาโรงธรรม แล้วบ่สนใจฟัง ซ้ำยังเป่าแคน ตีฉิ่ง ตีกลอง มารอบศาลาที่พระเทศน์ให้โยมฟังอยู่ แล้วเว้าหยอกผู้สาวเวลาผู้สาวเหลียวมากะพากันเฮ จนพระที่กำลังเทศน์อยู่เสียสมาธิ ทำให้ลืมคำเทศน์ ต้องตั้งนะโมขึ้นใหม่ ตั้งเทื่อสองเทื่อ (ครั้งสองครั้ง) กรรมอันนี้จึงทำให้หูหนวก

    ปุจฉา ชาตินี้สิพ้นกรรมบ่ หลวงปู่
    วิสัชนา อือ
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
    ปุจฉา มีญาติโยมคนหนึ่งมาปรารภว่าตนมักจะมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนอยู่เสมอ และฝันร้ายเป็นนิจกราบเรียนถามหลวงปู่ว่า จะให้ทำอย่างไรจึงจะหายจากฝันร้าย และอยู่เย็นเป็นสุขเสียที
    วิสัชนา ให้ตั้งสติให้คักๆ(แน่วแน่,ดีๆ) และระลึกถึงพระรัตนตรัยและสวดยันทุนนิมิตตัง

    ปุจฉา คนฆ่าตัวตายนี่บาปไหมครับ หลวงปู่
    วิสัชนา บาป มันต้องตาย (ฆ่าตัวเองตาย) อีกห้าร้อยชาติ

    ปุจฉา มันมีกรรมแม่นบ่ หลวงปู่
    วิสัชนา อือ

    ปุจฉา หลวงปู่คะ ผู้หญิงถ้าบวชเป็นแม่ชี ถ้าแม่นบุญบารมีหลายสมาธิเก่งๆก็อาจจะฮู้ (รู้ภายใน) คือกันบ่ หลวงปู่
    วิสัชนา อื้อ ฮู้ได้ ๓๐ ปีรักษาศีลแปดนุ่งขาวห่มขาว กะได้ไปขึ้นสวรรค์ เหาะได้ครือกันนั้นแหล่ว ไปนิพพานได้ครือกัน มีหญิงคนหนึ่งอยู่เมืองพม่า

    ปุจฉา เหาะได้ตั้งแต่ยังบ่ทันตายหรือคะ
    วิสัชนา อื้อ...เหาะได้ตั้งแต่บ่ทันตาย

    ปุจฉา เขาบวชมาได้จั๊กปีคะ (กี่ปีคะ)
    วิสัชนา ๓ ปี

    ปุจฉา อันนี้เพิ่มสร้างบุญบารมีมาแต่ชาติก่อนหรือคะ หลวงปู่
    วิสัชนา เทิ่งชาติก่อน เทิ่งชาตินี้ (เทิ่ง = ทั้ง) ปู่เคยไปอยู่ที่นั่นคืนหนึ่ง แม่ชีเอาผ้าขาวงามมาถวาย มาให้พระอาบน้ำ

    ปุจฉา ทุกวันนี้ก็ยังหรือคะหลวงปู่
    วิสัชนา คงจะยังอยู่ เพราะตอนนั้นยังหนุ่มๆ (สาว)อยู่

    ปุจฉา ในเมืองไทยมีไหมคะ คนที่สำเร็จแบบแม่ชีพม่านี้
    วิสัชนา ภาวนาเก่งๆ นี้มีอยู่ที่คำชะอี

    ปุจฉา เดี๋ยวนี้ยังมีอยู่ไหมคะ (ถาม พ.ศ. ๒๕๒๖)
    วิสัชนา ยังอยู่

    ปุจฉา หลวงปู่...ข้าน้อยทำมาหากินอยู่อย่างสุจริต แต่มีคนมาบังเบียด อิจฉาริษยา แกล้งต่างๆนานาเขาว่าหมอธรรม (หมอไสยศาสตร์) มาเสกก้อนหินแล้วขว้างใส่หลังคาบ้าน ๓ ก้อน ได้ยินเสียงแล้วมันสิเป็นอันตรายบ่หลวงปู่
    วิสัชนา บ่เป็นหยัง

    ปุจฉา เขาจะจ้างมือปืนมาฆ่า เขาขู่เข็ญให้หนี ว่าขืนไม่หนีต้องตาย มันเป็นยังไงคะหลวงปู่ มันจะตายเพราะเขาจริงๆหรือคะ
    วิสัชนา บ่เป็นหยัง ถ้าไหว้พระ สวดมนต์ภาวนาอยู่ บ่เป็นหยัง เขาขู่...นานๆมันกะจืดจางไปเอง

    ปุจฉา โยมผู้หญิงเคยไปภาวนาที่วัด แต่เกิดกลัวผีเพราะที่วัดเป็นป่าช้า มีการเผาศพเป็นประจำ เลยมากราบเรียนหลวงปู่ตรงๆหนูกลัวผีเจ้าค่ะหลวงปู่ หลวงปู่มีคาถากันผีไหมเจ้าคะ ขอให้หนูด้วย
    วิสัชนา สุขัง สุปะติ (เป็นคาถาแผ่เมตตา นิสังสะสตตะปาโฐ คาถาเต็มบท สุขัง สุปะติ สุขัง ปฏิพุชฌะติ นะปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติฯ มนุสสานัง ปิโย โหติ อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ)

    ปุจฉา หลวงปู่เจ้าคะ ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ ไม่ต้องมาเกิดแก่เจ็บตายอีก
    วิสัชนา ไปบวช

    ปุจฉา หลวงปู่ครับ เพื่อมันแกล้งนินทาว่าร้ายผมต่างๆนานา ทำอย่างไรดีครับ
    วิสัชนา บ่ต้องสนใจ

    ปุจฉา มันอดไม่ได้นี่ครับ
    วิสัชนา แผ่เมตตา

    ปุจฉา หลวงปู่เจ้าคะ พวกเพื่อนฝูงหนูเขาร่ำรวยมีเงินกันทั้งนั้น ทำยังไงหนุถึงจะรวยอย่างเขากันบ้างล่ะเจ้าคะ
    วิสัชนา ทำงาน

    ปุจฉา (ผู้ถามนิ่งไป คงจะคิดตามหลวงปู่ไม่ค่อยทัน ครั้นแล้วเธอก็ถามซ้ำอีกอย่างไม่ค่อยจะแน่ใจ) ทำงานแล้วจะรวยแน่นะเจ้าคะ
    วิสัชนา ทำบุญด้วย

    ปุจฉา หลวงปู่เจ้าคะพวกเราเคารพเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่กันมากที่สุด อยากบำเพ็ญบุญ ทำกุศลถวายหลวงปู่เท่าใดก็ไม่อิ่ม หลวงปู่บำเพ็ญบารมีทำบุญอะไรไว้ในชาติก่อนเจ้าคะจึงได้บวชมาเป็นหลวงปู่ ให้พวกเราได้กราบไหว้เคารพบูชาอย่างนี้
    วิสัชนา ไปธาตุพนม สร้างธาตุพนม ไปกับพ่อเชียงหมุน (ชาติก่อนซึ่งเป็นสหายกัน) ช่วยกันสร้างธาตุพนมเอาเงิน ๕๐ สตางค์กับผ้าขาววาหนึ่งเอาไปทานกับเพิ่น

    ปุจฉา หลวงปู่ทำบุญแล้วอธิษฐานหรือเปล่าเจ้าคะ อธิษฐานว่าอย่างไร ตอนให้ทานเงิน ๕๐ สตางค์
    วิสัชนา อธิษฐานว่าให้ได้บวช ให้พ้นทุกข์ว่าอย่างนี้แหละ

    ปุจฉา เงิน ๕๐ สตางค์สมัยโน้นคงจะมากนะหลวงปู่
    วิสัชนา มากอยู่

    ปุจฉา สร้างตั้งแต่ทีแรกเลยหรือคะหลวงปู่
    วิสัชนา อือ...

    .................................................................................................
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
     
  4. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
  5. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    "หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ เลย" พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งทวยเทพ
    หลวง ปู่ชอบ ฐานสโม เป็นพระมหาเถระศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งทรงคุณธรรมสูงสุดถึงระดับ"พระอรหันต์" ดังที่หลวงปู่แหวนเคยปรารภเมื่อครั้งที่ได้ข่าวว่าหลวงปู่ชอบจะมาเชียงใหม่ ว่า "ท่านชอบจะมา"นิพพาน"ที่เชียงใหม่หรือ???!!" อีกทั้งหลวงปู่ชอบยังมี "ตาดี"และ"จิตดี"เป็นพิเศษ จนแม้พระอาจารย์มั่นยังไว้วางใจให้หลวงปู่ชอบเคย"รับแขกเทพ"(ต้อนรับ,เทศน์ ธรรมให้เทวดาฟัง)และ"จับพระ"(ใช้เจโตปริยญาณตรวจสอบความคิดของพระเณรที่อาจ จะเผลอทำ,พูด,คิด ออกนอกลู่นอกทางไปบ้างให้กลับคืนดี)อย่างไม่มีผิดพลาด เป็นที่เลื่องลือในศิษย์กรรมฐานแห่งท่านพระอาจารย์มั่นโดยทั่วไปเป็นที่ยิ่ง อีกทั้งหลวงปู่ชอบ ยังมี"เสน่ห์"ในองค์ท่านอย่างเหลือล้น จนเทพเทวดานาคครุฑคนธรรพ์ปรไมไอศวร ฯลฯต่างล้วนมีความรักใคร่ศรัทธาในองค์หลวงปู่ชอบเป็นพิเศษ จนถึงขั้นมาคอย TAKE CARE หลวงปู่ชอบในหลายๆครั้งจนรอดพ้นภาวะคับขันได้อย่างน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ถึงขนาดที่แม้หลวงปู่เทศก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง ยังต้องออกปากปรารภเลยทีเดียวว่า
    "เทวดารักท่านชอบมาก ว่าไปแล้ว เทวดาจะรักท่านชอบมากกว่าท่านพระอาจารย์มั่นเสียอีกนะ
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
     
  6. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,431
    หลวงพ่อเงิน นับถือครับ ช่วยตอนเป็นพระภิกษุสงฆ์ตั้งหลายครั้งครับ นับถือท่านตรงที่ว่า ระหว่างความรัก กับนิพพาน ท่านเลือกนิพพานผิดกับผมดันเลือกบุพเพสันนิวาส ดั่งที่รูปท่านถ่ายคู่พัดยศนั้นอีกข้างนั้นเป็นตาลบัตรที่คนที่ชอบพอทำมาให้ท่านครับ
    ส่วนหลวงปู่ชอบ เกิดทันครับ แต่เด็กมากเลยก็อยู่ที่ จ.เลย ตอนเด็กคุณแม่ให้ใส่รูปเหมือนหลวงปู่ชอบ เดินทางกลับจากโรงเรียนอยากจะขว้างพระองค์นี้ทิ้งน้ำจังเลย(คิดไม่ดีครับ ตอนเด็ก คือไม่อยากใส่พระเครื่องเพราะยึดถือคำสอนของพระอาจารย์มั่น )สุดท้ายคุณแม่เลยเอาคืนไป ปัจจุบันหาไม่เจอครับ ไม่รู้ว่าคุณแม่ให้ใครไปครับ

    แหม .มีแต่พระอาจารย์ที่นับถือทั้งนั้นเลยครับ
     
  7. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    คำบูชา คาถาหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร
    ตั้งนะโม ๓ จบ
    อะกะ อะธิ อะธิ อะกะ ธิอะ กะอะ
    วันทามิ อาจาริยัญจะ หิรัญญะ นามะกัง ถิรัง สิทธิ ทันตัง มหาเตชัง อิทธิ มันตัง วะสาทะรัง
    ( สิทธิ พุทธัง กิจจัง มะมะ ผู้คนไหลมา นะชาลี ติ สิทธิ ธัมมัง จิตตัง มะมะ ข้าวของไหลมา นะชาลี ติ สิทธิ สังฆัง จิตตัง มะมะ เงินทองไหลมา นะชาลี ติ ฉิมพลี จะ มหาลาภัง ภะวันตุ เม )
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
     
  8. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
  9. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    นำข้อดีของการสวดมนต์ นั่งสมาธิ มาฝาก~

    หลายๆ คน คงรู้แต่ว่าการสวดมนต์นั้น “ดี” แต่ “ดีอย่างไร” นั้น มาดูกันค่ะ~ หากพูดเรื่องการสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิทุกคนก็นึกถึงพระสงฆ์องค์เจ้าทั้งหลายที่อยู่ตามวัดวาอารามหรือผู้ปฏิบัติธรรมเท่านั้น จริงๆ แล้วการสวดมนต์ไหว้พระควรเป็นข้อปฏิบัติประจำของเหล่าชาวพุทธทั้งหลาย โดยเฉพาะการสวดมนต์ไหว้พระในวันวันธรรมสวนะ หรือวันพระหากเราพิจารณาความสำคัญของการสวดมนต์โดยเปรียบเทียบกับทุกศาสนาเราจะพบว่ามีปฏิบัติกันถ้วนหน้าทีเดียวชาวคริสต์ต้องเข้าโบสถ์สวดมนต์ทุกวันอาทิตย์อิสลามิกชนก็จะมีการสวดมนต์ทุกวันสำคัญ และมีการละหมาดวันละ 6 เวลาทีเดียวเบื้องต้นน่าจะเห็นพ้องต้องกันว่าการสวดมนต์เป็นสิ่งที่ดีแต่คำถามที่มักจะได้ยินเสมอว่าก็คือ ดีอย่างไรหากเรามองย้อนไปในอดีตตอนพวกเราๆ เป็นเด็ก จะพบว่าในรุ่นปู่ย่า ตายายของเราแทบจะทุกคนที่จะไปวัดเพื่อสวดมนต์ ไหว้พระในวันพระเสมอและยังมีการสวดมนต์ที่ค่อนข้างยาวทีเดียวก่อนนอนทุกวันหลายผู้อาจจะไปนั่งพนมมือด้วย หลายผู้ก็นอนฟังแล้วก็หลับไปหลายผู้อาจถูกปลูกฝั่งให้ปฏิบัติเอาเยี่ยงบ้างก็มีผมเคยถามท่านทั้งหลายในรุ่นนั้นว่าสวดมนต์ ไหว้พระแล้วได้อะไร ก็มักจะได้คำตอบว่า “ มันดี ”ทำให้ชีวิตดีหรือชีวิตมีสิริมงคล หรือจะได้มีคุณพระคุณเจ้าคุ้มครอง หรือ อีกเหตุผลอีกหลายประการซึ่งฟังแล้วไม่เป็นรูปธรรม จับต้องไม่ได้ คือเข้าใจยากนั่นแหละคนสมัยนี้ชอบใช้เหตุผลที่ค่อนข้างเป็นวิทยาศาสตร์เสียด้วยทำให้มรดกพุทธศาสนา ( สวดมนต์ ไหว้พระ)จึงไม่ได้รับการสืบทอดและเป็นที่นิยมกันในคนรุ่นปัจจุบันบวรธรรมสถานเป็นอีกสำนักหนึ่งที่มุ่งเน้น สั่งสอนให้ลูกศิษย์สวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิแผ่เมตตาทุกวันพระและให้สวดมนต์ก่อนนอนโดยให้เป็นกิจปฏิบัติที่สำคัญลำดับต้นๆ เลยทีเดียว แม้ว่าการสวดนั้นจะสวดได้แบบปากเปล่าหรือจะต้องดูหนังสือสวดก็ตามสำคัญอยู่ที่การสวดมนต์นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความตั้งใจจริง มีสมาธิที่ดีนำจิตไปจับที่ตัวอักษรที่จะสวดออกมาอย่างจดจ่อ เปล่งเสียงให้ดังฟังชัดเจนโดยครูบาอาจารย์ได้อรรถาธิบายความถึงอานิสงส์ของการสวดมนต์ไว้ ดังนี้ 1. อานิสงส์ที่เกิดกับสุขภาพร่างกาย
    ผู้ที่นิยมสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิสม่ำเสมอจะก่อให้เกิดผลดีต่อจิตยิ่งจะมีความผ่องแผ้วสว่างบริสุทธิ์ จิตที่สว่างจะทำให้อารมณ์ผ่องใส ไม่โกรธง่ายไม่เครียด แม้ถ้าจะต้องใช้ความคิดก็จะคิดแบบมีเหตุมีผลการที่จิตผ่องแผ้วถือเป็นโอสถทิพย์ที่สำคัญต่อร่างกายที่เดียวส่งผลให้ร่างกายสร้างและหลั่งฮอร์โมนในร่างกายที่เป็นปกติ ทำให้ร่างกายสมดุลเมื่อร่ายกายสมดุลบุคคลนั้นจะอายุยืน คนที่มีอารมณ์ดี ไม่เครียดจะอายุยืนยาวเช่นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นสรณะจะอายุยืนบางองค์เกินร้อยปีก็มีหรือคนโบราณที่ชอบสวดมนต์ไหว้พระจะอายุยืนยาวมากไม่มีต่ำกว่าแปดสิบปี ซึ่งต่างจากคนสมัยปัจจุบันที่แก่เร็วอายุสั้น เฉลี่ยแล้วไม่เกินหกสิบห้า หรือ อย่างมากก็เจ็ดสิบปี การมีจิตที่ผ่องใสเสมือนหนึ่งมียาอายุวัฒนะขนานเอกไว้ในตัวเอง ลักษณะนี้ ครูบาอาจารย์ท่านให้เรียกว่า“ การนำปัจจัยภายในมาสร้างอายุวัฒนะ”

    2. อานิสงส์ให้เกิดจิตที่แกร่งหลังการสวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิ จะทำให้จิตมีกำลัง เป็นการบำรุงจิตจิตที่มีกำลังจะเข้มแข็ง ไม่อ่อนไหวง่าย สติดี หนักแน่นการมีจิตเป็นสมาธิสติจะคงอยู่เสมอ จะก่อให้เกิดปัญญาตามมา ปัญญาหมายถึงระบบการคิดที่มีสติคอยกำกับการคิดจึงอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผลไม่มีอารมณ์เข้ามาเจือปน ส่วนความคิดที่ขาดสติเราเรียกว่า “อารมณ์” คนสมัยใหม่ที่ไม่นิยมนั่งสมาธิ ส่งผลให้สติไม่มั่นคงโกรธง่าย โมโหร้าย ขี้หงุดหงิด ไม่อดทนต่อแรงกดดันทั้งปวงมีอารมณ์แปรปรวนไม่สม่ำเสมอ เหตุเพราะจิตมีอ่อนกำลังเราจึงพบว่าสถิติการฆ่าตัวตายของคนสมัยนี้ จึงมีอัตราที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้นรูปธรรมข้างต้นเหล่านี้คงจะพอแสดงให้เห็นถึงความต่างระหว่างจิตสองลักษณะคือจิตแกร่งกับจิตอ่อนได้เป็นอย่างดีให้เปรียบเทียบง่ายๆ ว่าการที่เราต้องรับประทานข้าวปลาอาหารเพราะอาหารเป็นสิ่งที่มีความสำคัญกับชีวิตฉันใดก็ฉันนั้น สมาธิก็จะเป็นอาหารที่สำคัญของจิต เช่นกัน 3. ได้อานิสงส์จากการได้โปรดดวงจิตวิญญาณผู้ที่สวดมนต์ไหว้พระนั่งสมาธิถึงขั้นเป็นผู้มีจิตใสสว่างนั้นเป็นที่โปรดปรานของพวกวิญญาณเร่ร่อนยิ่งนัก เพื่อปรารถนาจะขอส่วนบุญส่วนกุศลให้ตนได้ร่มเย็น หรือพ้นทุกข์ หรือแม้กระทั่งหลุดพ้นจากการถูกจองจำโดยปกติบทสวดมนต์จะมีความขลังอยู่ในตัวเพราะ เป็นอักขระภาษาที่มีมนต์ขลังบางบทเป็นพระคาถาที่มีอานุภาพสูง โดยเฉพาะบทพุทธบารมี บทพระคาถาชินบัญชรมีอานุภาพสูง ยิ่งผู้สวดมีสมาธิจิตที่ดีแล้ว พลังแห่งเมตตาพลังแห่งอานุภาพจะแผ่กระจายปกคลุมไปไกล ด้วยอานุภาพของพลังจิตผู้สวดเองเมื่อเสียงสวดและอักขระไปกระทบ หรือสัมผัสกับดวงจิตวิญญาณใดพลังเมตตาและพลานุภาพแห่งมนตรานี้จะกระตุ้นให้ดวงจิตวิญญาณเกิดความระลึกได้เมื่อระลึกได้ก็จะสามารถดูดซับพลังบารมีทั้งปวงจากบทสวดอย่างเต็มที่ดวงจิตที่มืดบอดก็จะสว่างผ่องใสขึ้นและหลุดพ้นจากบ่วงพันธนาการในที่สุดสภาพโดยธรรมชาติของวิญญาณทั้งหลายนั้น พวกเขาจะถูกจำกัดหรือถูกควบคุมพื้นที่เสมือนถูกจองจำตีตรวน เหมือนนักโทษที่ติดอยู่ในคุกบางคนก็สำนึกได้เอง บางคนต้องได้รับการอบรมสั่งสอนก่อนจึงจะเกิดสำนึกเช่นกันดวงวิญญาณหลายดวงเกิดสำนึกในความดี ความชั่วที่ตนได้กระทำได้เองเมื่อสำนึกได้ก็จะสามารถเปิดรับธรรมะได้เลยทันที การสำนึกได้เป็นสิ่งสำคัญยิ่งดังที่คนโบราณได้สั่งสอนบอกต่อกันมาว่า ก่อนตายให้นึกถึงพระ ความหมายนี้ก็คือให้เกิดรู้สำนึกนั่นเอง แม้ถ้าคนเราสำนึกได้ในวินาทีสุดท้ายขณะใกล้จะตายก็ถือว่ามีโอกาสที่จะรับรู้สัมผัสธรรมได้ ( จิตเปิด) มีโอกาสหลุดพ้น(จากการจำกัดบริเวณ )ได้และภาษาอักขระในบทสวดดวงจิตวิญญาณสามารถก็สามารถเข้าถึงได้ให้ดวงจิตวิญญาณเข้าใจได้ ก่อให้เกิดความกระจ่างได้และยิ่งเมื่อเราแผ่เมตตาตามอีกเขาก็จะได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นดวงจิตวิญญาณเหล่านั้นชุ่มเย็นเป็นสุขเสมือนเรานำน้ำที่เย็นชโลมรดให้กับผู้ที่หิวกระหายลุ่มร้อนมานานปี จนสุดท้ายก็จะสามารถหลุดพ้นไปได้การที่เราทำให้วิญญาณตกทุกข์ได้ยาก ทุกข์ทรมาน ได้รับความสุข สว่างสดใส หรือกระทั่งหลุดพ้นไปได้ นับว่าได้อานิสงส์มหาศาลทีเดียวสภาพความจริงในภพแห่งวิญญาณนั้น ถ้ามนุษย์มองเห็นก็จะพบว่ามีวิญญาณเร่ร่อน (สัมภเวสี )จำนวนมากมายทีเดียว มีทุกหนทุกแห่ง เช่น คนมีจิตสว่างบางคนไปนอนที่ไหนก็จะมีวิญญาณมาดึง มาปลุก มาทำให้ไม่สามารถนอนได้ปรากฏการณ์เช่นนี้ให้ท่านเข้าใจเป็นเบื้องต้นว่า เขามาขอส่วนบุญเขาเห็นจิตของท่านที่สว่าง แสดงว่าท่านเป็นมีบุญที่สามารถแผ่ให้กับเขาได้ อย่าตกใจอย่ากลัวให้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี วิธีปฏิบัติก็คือ สวดมนต์ แผ่เมตตาให้เขาเสียแล้วท่านจะนอนหลับฝันดี เขาจะเฝ้าดูแลท่านตลอดทั้งคืนบางที่อาจให้โชคลาภกับท่านเสียอีก สถานที่บางแห่งวิญญาณอยู่กันเหมือนตัวหนอนเหมือนฝูงแมลงวัน ยิ่งดวงวิญญาณอยู่กันมากมายเช่นนี้ผู้สวดมนต์ แผ่เมตตาภาวนาสมาธิให้ ก็จะได้อานิสงส์มากเท่าทวีคูณ การสวดมนต์ที่แท้ก็คือการแผ่เมตตานั่นเอง
    การทำจิตให้นิ่งเป็นสมาธิบ่อยๆเสมือนเราอยู่ในที่สูง อานิสงส์ที่เราสร้างบุญกุศลที่เราทำจะเปรียบเสมือนเราเทน้ำให้ไหลลงสู่เบื้องล่างผู้อยู่เบื้องล่างที่หิว กระหายก็จะรอรับอย่างชุ่มเย็น มีความปีติยินดี

    4. ได้อานิสงส์จากโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายนอกจากดวงจิตวิญญาณแล้วยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ปรารถนาจะได้รับพลังเมตตาบารมีจากการสวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิเช่นกัน ซึ่งก็คือพวกสัตว์เล็ก สัตว์น้อยสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นนั่นแหละ พลังแห่งการแผ่เมตตาบารมีนี้มีอานุภาพยิ่งใหญ่เป็นพลังแห่งพุทธานุภาพ เป็นพลังฝ่ายบุญกุศล การสวดมนต์ ไหว้พระนั่งสมาธิและแผ่เมตตาบ่อยๆ จะทำให้จิตมีความแข็งแกร่งพลังแห่งการแผ่เมตตาก็จะมีอานุภาพที่แรงครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวางยิ่งขึ้นนั่นย่อมหมายถึงไปสู่สรรพสัตว์มากจำนวนยิ่งขึ้นตามเบื้องต้นสามารถพิสูจน์ได้จริงไม่ว่ามด ยุง แมลง ฯลฯ ล้วนต้องการ และแสวงหาพลานุภาพแห่งเมตตาอย่างหิวโหยจริงเช่นผู้ปฏิบัติธรรมบางคนพบว่ามีมดขึ้นมาเกาะบนกลดขณะที่ท่านกำลังที่ภาวนาอยู่จำนวนมากหรือมียุงมากัดจำนวนมากขณะนั่งสมาธิ แต่เมื่อท่านกล่าวแผ่เมตตาให้แล้วพวกเขาเหล่านั้นก็จะจากไปของเขาเอง ไม่ทำร้ายไม่รบกวนเราอีกเหตุเพราะพวกเขาได้รับแล้วนั่นเอง ลักษณะเช่นนี้จะเป็นเรื่องเดียวกันกับที่ครูบาอาจารย์ที่กล่าวไว้ว่า พวกมด ยุง แมลงนั้นพวกเราสามารถพูดกับเขาได้นั่นเองเมื่อเราทำให้สรรพสัตว์ทั้งหลายที่ได้ทุกข์หลุดพ้นจากทุกข์ช่วยให้สรรพสัตว์ที่ได้สุข ให้ได้สุขยิ่งๆขึ้นไป เราก็ได้อานิสงส์แห่งการนี้ตอบคืนอานิสงส์เช่นนี้ เป็นอานิสงส์ที่ก่อให้เกิดบารมีที่ยิ่งใหญ่มากทีเดียว เราเรียกว่า“ อานิสงส์ทางทิพย์” 5. ได้อานิสงส์จากพรเทวดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกครั้งที่เราสวดมนต์ หลังจากสวดบทบูชาพระรัตนตรัยแล้วเราก็มักจะสวดบทชุมนุมอัญเชิญเทวดาเสมอ (สักเคฯ)เป็นการบอกกล่าวอัญเชิญเทวดาให้มาร่วมพิธีการสวดมนต์ เทวดาเทพเทพารักษ์ทั้งหลายโปรดการฟังสวดมนต์มากเพราะถือเป็นพิธีกรรมแห่งพุทธที่มีมนต์ขลังมีความศักดิ์สิทธิ์ ดังที่ได้เรียนไปแล้วบทสวดทุกบทเป็นอักขระ มีพลังพุทธานุภาพสูงใครได้ยินได้ฟังได้ซึมซับก็จะเกิดความสว่างไสว เกิดพลังบารมีมนุษย์ที่สวดมนต์ไหว้พระประจำเทวดา จึงเป็นที่โปรดปรานของเทวดาไปที่ไหนมีเทวดาปกป้องคุ้มครอง ให้โชคให้ลาภให้ความมั่งมีสีสุขคนโบราณจึงย้ำหนักหนาให้ลูกหลานสวดมนต์ก่อนนอนนี่คือความหมายที่แท้จริงของการสวดมนต์ก่อนนอนเทวดาก็ต้องการสร้างบารมีของตนให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไปเช่นกัน เมื่อเราสวดมนต์ ไหว้พระแผ่เมตตา ทำให้เทวดาได้บารมีเพิ่ม ได้ความสว่างเพิ่มเทวดาก็จะอำนวยอวยพรชัยมงคลให้กับเรา เป็นการตอบแทนคุณเรา หากเราสังเกตให้ดีเราจะพบว่า ทุกพิธีกรรมทางพุทธศาสนาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันจะต้องเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเทวดาเสมอ ก่อนเริ่มพิธีกรรมจึงต้องมีการสวดบวงสรวงอัญเชิญทวยเทพเทวดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาร่วมพิธีก่อนเสมอ พุทธองค์ทรงสำเร็จมรรคผลด้วยทวยเทพเทวดาช่วยเหลือ ชี้แนะ ในทางกลับกันเทวดาก็พึ่งพาธรรมจากพุทธองค์ หรือพุทธสาวกเพื่อสร้างบารมี ชี้ทางสว่างเสมือนน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าองค์ทวยเทพเทวากับพุทธศาสนาจึงแยกกันไม่ออก เป็นของคู่กัน 6. สามารถแผ่เมตตาช่วยคนเจ็บป่วยได้อานิสงส์การแผ่เมตตานั้น นอกจากสรรพสัตว์และดวงวิญญาณทั้งหลายแล้วมนุษย์ทั่วไปที่นอนเจ็บป่วยทนทุกข์ทรมานก็สามารถรับอานิสงส์ของการแผ่เมตตาได้โดยให้เรากล่าวว่า ดังนี้“ อานิสงส์ของการสวดมนต์ ไหว้พระนั่งสมาธิ ของข้าพเจ้าในวันนี้ ขอส่งให้ (ชื่อ-สกุล ผู้ป่วย)”เพียงเท่านี้เองก็จะก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ป่วยมหาศาลโดยเฉพาะผู้แผ่เมตตาเป็นผู้บุญบารมีมากยิ่งก่อให้เกิดผลเร็วขึ้นโดยมาตรฐานที่จะให้เกิดผลสมบูรณ์ ให้ทำติดต่อกัน 33 วันสภาพร่างกายและอำนาจจิตของผู้ป่วยก็จะดีขึ้นอย่างชัดเจนแม้บางรายสังขารจะไม่ดีก็ตาม ความทุกข์ทรมานจะลดลงจิตจะดีคนเราเมื่อจิตดีก็มีความสุข อย่างไรก็ดีต้องทำความเข้าใจหลักของเวรกรรมแต่ละคนด้วย (ผู้ป่วย) ผู้ป่วยบางรายอาจจะยกเว้นไม่เป็นไปตามมาตรฐานนี้อัน เนื่องจากอยู่ในภาวะชดใช้กรรมของเขาเองและอีกประการหนึ่งให้เข้าใจในเรื่องวิถีจิตของผู้ป่วยต้องเปิดด้วยถ้าจิตปิดก็รับไม่ได้แต่หากผู้ป่วยเป็นผู้ปฏิบัติธรรมแล้วก็จะยิ่งเกิดผลเร็วทันตาเห็น ใช้เวลาเพียง 16 ถึง 24 วันเท่านั้นก็เพียงพอ นั้นหมายถึงเขาเปิดประตูจิตไว้รออยู่แล้วนั่นเองอย่างไรก็ตาม ความเป็นสายเลือดสายโลหิตระหว่างผู้แผ่อานิสงส์และผู้ป่วยก็เป็นข้อยกเว้นพิเศษอีกเช่นกันเพราะความเป็นสายเลือดการส่งอานิสงส์บุญกุศลจะยิ่งรวดเร็วที่สุดเกิดอานุภาพแรงที่สุดเช่นกันดังกล่าวมาข้างต้นคงพอจะทำให้ทุกท่านเข้าใจ เรื่อง อานิสงส์ หรือ ประโยชน์ที่จะรับจากการสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ ตลอดจนการแผ่เมตตาเป็นอย่างดีแล้วอย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงประโยชน์เบื้องต้นเท่านั้นความจริงแล้วมีอานิสงส์ที่จะได้รับทางอ้อมทางลึกอีกมากมายกว่านี้นักแต่เป็น“ ปัจจัตตัง”ของแต่ละคนไปการอ่านบรรยายข้างต้นเชื่อว่าสามารถทำให้ท่านเข้าใจได้แต่จะให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งท่านต้องปฏิบัติเอง
    ธรรมะคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีเครื่องมือชนิดใดสามารถมาวัดประสิทธิภาพวัดความจริงได้ เป็นเรื่องเหนือวิทยาศาสตร์ ต้องวัดผลด้วยการปฏิบัติเอง

    “ สิบปากว่า สิบตาเห็น ไม่เท่าเราลงมือทำเอง”
     
  10. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    หลวงพ่อเงินกับสมเด็จพุฒาจารย์โต
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube

    พระเถระนามอุโฆษ ๒ องค์นี้ ได้ไปร่ำเรียนหาความรู้จากวัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) ด้วยกันทั้งคู่ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมีอายุแก่กว่าหลวงพ่อเงิน ๒๐ ปี คือ ท่านชาตะเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๑ หลวงพ่อเงินชะตะเมือ พ.ศ.๒๓๕๑ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตสิ้นชีพตักษัยเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๑๕ นั้นหลวงพ่อเงินอายุได้ ๖๕ ปีพอดี
    ที่แน่นอนก็คือ หลวงพ่อเงินเป็นศิษย์ผู้น้อง แต่จะเป็นศิษย์โดยตรงของสมเด็จโตหรือไม่ไม่มีหลักฐานใดระบุไว้ ชาวบางคลานก็ไม่เคยได้ยินหลวงพ่อเงินพูดถึง
    วัดตอบปุ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจำพรรษาอยู่มากในยุคนั้น ส่วนใหญ่เป็นพระมอญ และวัดนี้ก็มีชื่อเป็นภาษามอญมาแต่เดิมตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา และชาวบ้านทั่ว ๆ ไป ไปเรียกว่า วัดกลางนา มาตั้งดั้งเดิมอยู่แล้ว
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
     
  11. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    เมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ประชาชนเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ จึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปจำลองของท่านไว้จำนวน 2 องค์ ด้วยกัน ตามหลักฐานที่ได้ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

    องค์ที่ 1 ประจำอยู่วัดวังตะโก บ้านบางคลานหรือวัดหิรัญญาราม

    องค์ที่ 2 ประจำอยู่ที่วัดท้ายน้ำ
     
  12. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    การทำบุญด้วยการถวายจีวร

    ผู้ที่ทำบุญด้วยการถวายจีวรแด่พระสงฆ์ จะได้รับอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ จะเป็นผู้ที่พร้อมด้วยเสื้อผ้า อาภรณ์ และเครื่องประดับ มีแต่ผู้คนให้ความเคารพยกย่อง มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของคนทุกหมู่เหล่า

    เมื่อใดก็ตามจะต้องพบกับความมีอุปสรรค อุปสรรคนั้นจะผ่านพ้นไปด้วยดี ภยันตรายอื่นๆ อย่างสัตว์มีพิษและของมีคมต่างๆ ก็ทำร้ายไม่ได้

    อานิสงส์ที่จะเกิดขึ้นในชาติหน้า จะเกิดมาเป็นผู้ที่มีความเพียบพร้อมด้วยหน้าตาที่งดงาม และสติปัญญาที่น่านับถืออย่างยิ่ง



    การทำบุญด้วยการถวายเตียงนอน

    ผู้ที่ทำบุญด้วยการถวายเตียงนอนแด่พระสงฆ์ จะได้รับอานิสงส์ผลบุญในเรื่องของความเป็นอยู่ที่สุขสบาย จะได้นอนหลับในที่ที่อุ่นในยามหนาว เย็นสบายในช่วงฤดูร้อน

    ในเรื่องของสุขภาพก็มักจะไม่เจ็บป่วยง่าย ร่างกายแข็งแรงหากคิดจะเอาดีทางด้านการกีฬา ก็จะโด่งดังในระดับโลก เพราะจะเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ในด้านนี้มาก

    เมื่อชีวิตเข้าสู่วัยชรา ก็จะมีลูกหลานมาดูแล ไม่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว นับว่าสบายตั้งแต่เกิดจนตาย



    การทำบุญด้วยการถวายหมอน

    ผู้ที่ทำบุญด้วยการถวายหมอน จะได้รับอานิสงส์ในเรื่องของการเป็นผู้ที่มีความอดทนอดกลั้นเหนือผู้อื่น หากอยู่ในการแข่งขันจะเป็นบุคคลที่สร้างความกดดันให้แก่คู่ต่อสู้อย่างมาก ทำการงานใดก็จะสำเร็จ เพราะไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยหรือท้อแท้ง่าย อีกทั้งหากจะทำการงานใดก็จะมีคนคอยอุปถัมภ์ค้ำชูอยู่เสมอ



    การทำบุญด้วยยาดม ยานัตถุ์

    ผู้ที่ทำบุญด้วยยาดม หรือยานัตถุ์ จะได้รับอานิสงส์ผลบุญส่งให้เป็นผู้ปลอดภัยจากโรคเกี่ยวกับจมูกทั้งปวง จะได้รับรส และกลิ่นที่งดงามอย่างกลิ่นของพระธรรม

    เกียรติยศชื่อเสียงต่างๆ จะขจรขจายไปทั่ว จนผู้คนต่างพากันชื่นชมในคุณงามความดีที่คุณได้สั่งสมเอาไว้ บริวารต่างพากันเคารพ และคอยปกป้องไม่ให้ได้รับอันตราย จึงเป็นผู้ที่ได้รับการปกป้องเป็นอย่างดีจากผู้อื่น
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
     
  13. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    จิตเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ในชีวิตประจำวันอย่างไร

    กระดานธรรม ๒

    จิตเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม (จิตอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม หรือจิตเห็นกายหรือจิต หรือจิตเห็นรูปหรือนาม)หมายถึง การมีสติระลึกรู้เท่าทันตามความเป็นจริง รวมทั้งการพิจารณาให้เห็นความจริงใน กาย เวทนา จิต หรือธรรม อันเป็นหลักปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ หรือในแนวทางปฏิจจสมุปบาทธรรมนั่นเอง แต่ที่กล่าวในครานี้ เป็นการกล่าวเน้นถึง การนำสิ่งที่ปฏิบัติในพระกรรมฐานหรือการวิปัสสนา มาปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงจักให้ผลยิ่ง

    กล่าวคือ นำความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนสติจากการฝึกปฏิบัติในพระกรรมฐานมาใช้ในการดำเนินชีวิต กล่าวคือเป็นการปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดผลขึ้น คือเพื่อการดับเหล่าอุปาทานทุกข์ลงไปจริงๆ พร้อมทั้งการสั่งสมอย่างถูกต้อง อย่างเชี่ยวชาญชำนาญยิ่ง จนจิตเห็นในกาย เวทนา จิต ธรรม อย่างเป็นมหาสติ

    เมื่อปฏิบัติพระกรรมฐานในสติปัฏฐาน ๔ นั้น การปฏิบัติอาจเป็นไปตามลำดับขั้นตอน กาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อเป็นการสั่งสมเป็นลำดับขั้น ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม เพื่อกันความสับสน บางท่านอาจเน้นปฏิบัติตามจริตหรือสติแห่งตน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามเมื่อปฏิบัติในพระกรรมฐานแล้ว เมื่อออกจากพระกรรมฐานต้องนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันด้วย จึงจักบังเกิดผลดี

    ปัญหาที่มักสงสัย คือปฏิบัติอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ต้องเห็นเท่าทันในธรรมทั้ง ๔ หรือ? ต้องปฏิบัติหรือเท่าทันอะไรก่อน? อะไรสำคัญกว่ากัน?

    ในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันนั้น หมายถึง มีสติซึ่งก็คืออาการหนึ่งของจิต(ข้อที่ ๒๙ ในเจตสิก ๕๒)ชนิดจิตตสังขารจึงต้องประกอบด้วยการเจตนากระทำขึ้นนั่นเอง ที่ระลึกรู้เท่าทัน ที่ประกอบด้วยปัญญาอยู่ในที ที่หมายถึงรำลึกรู้เข้าใจตามความจริงในธรรมทั้ง ๔ ใดก็ได้ ที่สติระลึกรู้เท่าทันขึ้นนั้นๆ จึงขึ้นอยู่กับจริต, สติ, ปัญญา, การปฏิบัติหรือการสั่งสม ฯ. ดังเช่น สติย่อมอาจเห็นเวทนาได้แจ่มแจ้งรวดเร็ว ในสิ่งที่เป็นอดีตหรือสัญญาความจำได้ที่เคยเกิดเคยเป็นอย่างแนบแน่น เช่นในคนที่เกลียด เมื่อเกิดการกระทบคือผัสสะ สติย่อมแลเห็นทุกขเวทนามีอามิสอย่างชัดเจนรวดเร็วกว่าเห็นจิตสังขาร, กล่าวคือ มีสติในธรรมทั้ง ๔ ธรรมใดธรรมหนึ่งก็ได้ ที่บังเกิดขึ้นแก่จิต จากการผัสสะกับอารมณ์ต่างๆในการดำเนินชีวิต ซึ่งสติที่ระลึกรู้เท่าทันนั้นย่อมมีความแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละบุคคลตามสติ จริต ปัญญา และการปฏิบัติคือแนวทางที่ตนสั่งสมนั่นเอง ฯ. แต่ล้วนแล้วมีคุณประโยชน์ทั้งสิ้น

    ขณะสติระลึกรู้เท่าทันในการปฏิบัติ มีหลายรูปแบบ ปฏิบัติแรกๆย่อมไม่สามารถระลึกรู้เท่าทันในขณะเกิดได้เสมอไปเป็นธรรมดาเนื่องจากย่อมขาดปัญญาและการสั่งสมของสติ ดังนั้นจึงอาจมีสติระลึกรู้เท่าทันเมื่อเกิดขึ้นบ้าง หรือสติรู้เท่าทันเมื่อมีอาการแปรปรวนหรือปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านไปแล้วบ้าง หรือสติรู้ระลึกเมื่อดับไปแล้วบ้าง ดังเช่นในการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ แต่ก็ล้วนยังให้เกิดประโยชน์เช่นกัน กล่าวคือเป็นทั้งการฝึกสติ และปัญญาถ้ารู้ถึงเหตุปัจจัย เช่นเกิดแต่การผัสสะของธรรมารมณ์หรือหูหรือตาจึงยังให้เกิดขึ้นเป็นต้น จึงก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ(ปัญญา)ขึ้นจากการปฏิบัติในการดำเนินชีวิตโดยตรง บางครั้งจะเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งหรือเห็นชัดในขณะที่เกิดการผัสสะกับอารมณ์ในขณะนั้นๆเลย กล่าวคือ เกิดธรรมสามัคคีมีความเข้าใจหรือแจ่มแจ้งในเรื่องนั้นๆหรืออาจเป็นมรรคสมังคีขึ้ึ้นมาทันที ดังเช่น เมื่อเกิดการผัสสะใดๆอาจเกิดภูมิรู้ภูมิญาณขึ้น อ๋อ มันเป็นเช่นนี้เอง อย่างแจ่มแจ้งขึ้นมาก็ได้ ซึ่งก็เกิดจากการสั่งสมเดิมนั่นเอง.

    การมีสติระลึกรู้ไม่ว่าแบบใดก็ตาม มีจุดประสงค์อยู่เพียงเป็นเครื่องรู้เพื่อการดำรงคงชีวิต ตลอดจนเครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ เพื่อให้เกิดสติและปัญญา เพื่อยังให้เกิดนิพพิทา เพื่อการปล่อยวาง กล่าวคือเพื่อการไม่ไปยึดมั่นถือมั่น หรืออุเบกขานั่นเอง ตลอดจนเป็นเครื่องอยู่ของจิตอันดีงามยิ่ง จนเป็นมหาสติ จิตย่อมไม่ส่งออกนอกไปปรุงแต่งหรือไม่ฟุ้งซ่านออกไปภายนอกกาย เวทนา จิต ธรรม ให้เกิดการผัสสะ จนเกิดเวทนา ตัณหา อุปาทาน ...จนเป็นทุกข์อุปาทานขึ้น

    กล่าวคือ ทำหน้าที่ในชีวิตประจำวันตามปกติ แล้วหมั่นมีสติระลึกรู้ในธรรมทั้ง ๔ กล่าวคือ เมื่อเกิดการกระทบผัสสะกับอารมณ์ใดๆ แล้วมีสติระลึกรู้เท่าทันในธรรมใดก็ตามที ที่บังเกิดขึ้นแก่ตน เช่น จิตอาจรู้เท่าทันเวทนา หรือจิตอาจรู้เท่าทันจิตสังขาร(จิตฟุ้งซ่าน,จิตคิดปรุงแต่ง,จิตหดหู่,จิตมีราคะ,จิตมีโทสะ ฯ.) หรือจิตอาจรู้เท่าทันธรรมว่าไม่เที่ยง ฯ. หรือเห็นธรรมว่า สักแต่ว่าธาตุ ๔ สักแต่ว่าเวทนา หรือจิต ฯ. แล้วอุเบกขา

    อาการดังตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นอาการของการปฏิบัติธรรมและสติปัฏฐาน ๔ ในชีวิตประจำวันที่ดีงามยิ่ง เป็นไปเพื่อมหาสติ

    เห็นคนแก่เดินผ่านกระทบตา สติก็อาจระลึกรู้เท่าทันธรรม คือ สติระลึกรู้ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วอุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งชนิดมี สติระลึกรู้ในธรรมหรือเท่าทันธรรม หรือสติอยู่ในธรรม นั่นเอง(ธรรมานุปัสสนา)

    เห็นของสวยงามกระทบตา ก็อาจระลึกรู้เท่าทันธรรมว่า คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ แล้วอุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งชนิดมี สติระลึกรู้ในธรรม หรือสติอยู่ในธรรม เช่นกัน (ธรรมานุปัสสนา)

    เห็นเพศตรงข้ามสวยงามกระทบตา ก็อาจระลึกรู้เท่าทันกายว่า สักแต่ธาตุ ๔ หรือล้วนปฏิกูล หรือล้วนเน่าเปื่อยเป็นอสุภเหมือนกันล้วนสิ้น นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในชีวิตประจำวันชนิดมี สติระลึกรู้ในกาย หรือมีสติอยู่ในกาย นั่นเอง (กายานุปัสสนา)

    ตากระทบรูปเช่นคนที่เกลียดชัง ก็อาจระลึกรู้เท่าทันทุกขเวทนามีอามิสที่เกิดขึ้น คือ ความไม่สบายใจ ไม่ชอบใจ แล้วอุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในชีวิตประจำวันชนิดมี สติระลึกรู้ในเวทนา หรือมีสติอยู่ในเวทนา นั่นเอง (เวทนานุปัสสนา)

    ธรรมารมณ์เช่นคิดกระทบใจ ก็อาจระลึกรู้เท่าทันสุขเวทนา แล้วอุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในชีวิตประจำวันชนิดมี สติระลึกรู้ในเวทนา หรือมีสติอยู่ในเวทนา นั่นเอง

    ธรรมารมณ์เช่นคิดกระทบใจ ก็อาจระลึกรู้เท่าทันแม้เพียงอทุกขมสุขเวทนาหรืออุเบกขาเวทนา ยิ่งต้องรู้เท่าทัน ไม่ประมาท ระมัดระวังไม่ปรุงแต่งหรืออุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในชีวิตประจำวันชนิดมี สติระลึกรู้ในเวทนา หรือมีสติอยู่ในเวทนา นั่นเอง

    ธรรมารมณ์เช่นคิดกระทบใจ ก็อาจระลึกรู้เท่าทันจิตสังขาร(เช่นจิตคิด,จิตฟุ้งซ่าน,จิตหดหู่,จิตมีโทสะ)ก็ได้ แล้วอุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในชีวิตประจำวันชนิดมี สติระลึกรู้ในจิต หรือมีสติอยู่ในจิต หรือจิตเห็นจิตสังขาร หรือจิตเห็นจิต นั่นเอง (จิตตานุปัสสนา)

    ธรรมารมณ์เช่นคิดกระทบใจ ก็อาจระลึกรู้เท่าทันธรรม เช่น ขันธ์ ๕ ว่าเป็นสภาวธรรมของการกระทบกันของขันธ์ ย่อมพึงบังเกิดขึ้นเป็นธรรมดา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งชนิดมี สติระลึกรู้เท่าทันธรรมหรือสติอยู่ในธรรม เช่นกัน (ธรรมานุปัสสนา)

    เมื่อฟุ้งซ่านปรุงแต่ง ก็อาจระลึกรู้เท่าทันธรรม เช่น ปฏิจจสมุปบาท ว่าย่อมอาจเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์จากตัณหา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งชนิดมี สติระลึกรู้เท่าทันธรรมหรือสติอยู่ในธรรม เช่นกัน (ธรรมานุปัสสนา)

    เมื่อมีเวลาว่างจากกิจหรือหน้าที่อันพึงกระทำแล้ว ก็พิจารณาธรรม(ธัมมวิจยะ,โยนิโสมนสิการ) นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งชนิดมี สติระลึกรู้ในธรรมหรือสติอยู่ในธรรม เช่นกัน และยังก่อให้เกิดการสั่งสมทางปัญญาอันยิ่งอีกด้วย และเป็นเครื่องอยู่ของจิตอันดียิ่งอีกทางหนึ่งโดยไม่รู้ตัว กล่าวคือ จิตย่อมไม่ฟุ้งซ่านออกไปภายนอก ไปแสวงหาอารมณ์ต่างๆให้เกิดการผัสสะให้เกิดทุกข์อีกด้วย

    เมื่ออยู่ในกิจ หรือเมื่อว่างจากกิจหรือหน้าที่ อันพึงกระทำแล้ว ก็เจริญกายานุปัสนาในอิริยาบถและสัมปชัญญะ กล่าวคือ มีสติรู้เท่าทันอิริยาบถพร้อมทั้งสัมปชัญญะ ย่อมละความดำริพล่านหรือฟุ้งซ่าน ที่หมายถึงมีสติที่ทั้งเนื่องสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆด้วย จึงมิใช่การจดจ่อหรือมีสติกับสิ่งๆเดียวจนขาดสติการรับรู้ในสิ่งอื่นๆด้วย กล่าวคือ ไม่ใช่การมีจิตจดจ่อจนแน่วแน่เป็นสมถสมาธิ นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในกิจที่กระทำหรือเมื่อมีเวลาว่าง ชนิด มีสติระลึกรู้ในกายหรือสติอยู่ในกาย เช่นกัน และยังเป็นการสั่งสมสติให้เป็นมหาสติ รวมทั้งเป็นเครื่องอยู่ของจิตอันดียิ่ง คือย่อมมีสติอยู่ในกิจที่กระทำจึงย่อมมีประสิทธิภาพ ส่วนการปฏิบัติเมื่อว่างจากกิจ ก็กลายเป็นการฝึกสติและเป็นเครื่องอยู่ของจิตที่ทำให้จิตไม่ฟุ้งซ่านออกไปภายนอกไปผัสสะกับอารมณ์ต่างๆนั่นเอง

    อาการเหล่านี้ ล้วนเป็นการปฏิบัติธรรมในลักษณาการของสติเห็นกาย เวทนา จิต ธรรมในชีวิตประจำวันที่ยังประโยชน์ยิ่ง ทั้งเป็นการสั่งสมที่ถูกต้องดีงามให้เป็นมหาสติ ยังให้เกิดการสั่งสมทั้งทางสติและปัญญาทุกขณะจิตที่ปฏิบัติ อันเป็นไปโดยไม่รู้ตัวได้อีกด้วย เพียงแต่อาจมีความแตกต่างกันบ้างในการรู้เท่าทันหรือเข้าใจในสิ่งต่างๆตามสติ จริต ปัญญา การปฏิบัติสั่งสม ผู้ฝึกสอน ฯ อันเป็นเรื่องปกติธรรมดา

    อนึ่ง โปรดระวังอย่าไปสับสนกับจิตส่งในไปในกายหรือในจิต เพื่อไปเสพความสุขความสงบความสบายอันเนื่องมาจากผลของฌานสมาธิ จะโดยทั้งรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวด้วยอวิชชาก็ดี ล้วนยังให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสหรือให้ผลร้ายในภายหลังทั้งต่อรูปและนาม(กายและจิต)

    จิตเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม บางทีก็ใช้คำว่า จิตหรือสติอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม, จิตอยู่ในกายและจิต, จิตอยู่กับรูปและนาม จึงล้วนหมายถึง จิตอยู่ในเรื่องของการระลึกรู้เท่าทันบ้างหรือพิจารณาธรรมบ้างในเหล่ากาย เวทนา จิต ธรรม จึงไม่ใช่หมายถึงการส่งจิตไปจดจ้องจดจ่อกายหรือจิตแต่อย่างใด จึงไม่ใช่หมายความว่าจิตส่งในไปในกายหรือจิตที่มีเหตุมาแต่การติดเพลินหรือเพลิดเพลิน(นันทิ)ไปในปีติ สุข สงบ สบายที่เกิดขึ้นแก่กายและจิตอันเกิดแต่อำนาจองค์ฌานและสมาธิที่มักเป็นไปโดยไม่รู้ตัวเนื่องด้วยอวิชชา

    การที่ให้อุเบกขาเมื่อมีสติรู้เท่าทัน(ที่หมายรวมถึงมีปัญญาหรือเข้าใจ)ใน กาย เวทนา จิต หรือธรรมเสียก่อน หมายความว่ามีสติพร้อมปัญญา เช่น เมื่อเกิดการผัสสะกับอารมณ์ใด แล้วให้เห็นเข้าใจว่าเกิดจากจิตคิดหรือธรรมารมณ์นั้นมากระทบใจแล้วเกิดทุกขเวทนาขึ้น ก็ให้อุเบกขาเสีย หรือไปอยู่กับธรรมคือพิจารณาตามธรรมตามเหตุ อย่าได้เอาตัวเองหรือเรื่องราวของตนเองหรือความรู้สึกของตัวตนไปพัวพันพิจารณา ถ้าไม่สามารถอยู่ในธรรมดังกล่าวได้ กล่าวคือมักไปพัวพันในอารมณ์ว่าเป็นตัวตนหรือของตัวของตน แทนที่จะพิจารณาตามธรรมตามเหตุหรือตามความเป็นจริงดังเช่น เกิดขึ้นแต่เหตุปัจจัยบ้าง หรือเกิดแต่ธรรมารมณ์กระทบจิตบ้าง สักแต่ว่าเวทนาเป็นธรรมดาบ้าง ฯลฯ. ก็ให้ค่อยนำมาพิจารณาในรายละเอียดภายหลังในขณะจิตสบายๆหรือขณะปฏิบัติพระกรรมฐานก็ได้ ก็เนื่องจากตัดเหตุเกิดหรือเหตุก่อเสียก่อน กล่าวคือ บางครั้งเป็นอาการมารยาของจิต หลอกล่อให้วนเวียนปรุงแต่งอยู่ในกองทุกข์โดยไม่รู้ตัวนั่นเอง, ต่อมาภายหลังจึงค่อยย้อนระลึกชาติ(ในทางวิปัสสนาหรือปฏิจจสมุปบาท)หรือการย้อนระลึกอดีต(การไม่รู้อดีตเพื่อปัญญา เป็นหนึ่งในอวิชชา ๘) เพื่อการพิจารณาที่มีจุดประสงค์ให้เกิดปัญญา เพื่อโน้มน้อมให้เกิดนิพพิทา ต้องไม่ใช่เพื่อการพิรี้พิไร การพรํ่ารำพัน(รวมทั้งแก่กันและกัน) โอดครวญ หรือรำลึกให้เกิดสุข,ทุกข์ จึงควรปฏิบัติเมื่อผ่อนคลายแล้วกล่าวคือเมื่อมีสติตั้งมั่นนั่นเอง มิฉนั้นก็จะถูกดูดเข้าไปในวังวนของจิตคิดนึกปรุงแต่งหรือจิตฟุ้งซ่าน จนวนเวียนอยู่ในอุปาทานขันธ์ ๕ อันเร่าร้อนเผาลน

    ข้อคิดควรคำนึง

    การปฏิบัติที่ถูกต้อง ดังเช่น การมีสติเห็นจิตสังขาร ที่หมายถึง มีสติเห็นความคิด จึงไม่ใช่การไปหยุดคิดหยุดนึกให้สงบดังการปฏิบัติสมถสมาธิที่มีจุดประสงค์ให้จิตแน่วแน่หรือตั้งมั่น หรือการเข้าใจผิดไปยึดความว่าง ว่าเป็นการว่างจากความคิดความนึก เพราะความคิดความนึกต้องมีอยู่เป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะยิ่งในการปฏิบัติวิปัสสนา ว่างนั้นจึงต้องเป็น ว่างจากเหล่ากิเลสตัณหาอุปาทาน กล่าวคือเมื่อคิดเมื่อนึกให้รู้เท่าทัน และรู้ตามจริง แล้วหยุดการปรุงแต่งสืบต่อไปหรืออุเบกขาในโพชฌงค์นั่นเอง

    สติที่ใช้ในการปฏิบัติ ก็ควรประกอบด้วยองค์ประกอบดังการเจริญอิทธิบาท ๔ เช่นกัน กล่าวคือ

    ไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป

    ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก

    กล่าวคือ ไม่ย่อหย่อน จนขาดสัมมาวายามะ

    ไม่ประคองเกินไป จนเป็นปัคคาหะหรืออุปัฏฐานะแต่ในวิปัสสนูปกิเลส

    ไม่หดหู่ไปภายใน ด้วยอาการจิตส่งใน ด้วยขาดสติ

    ไม่ฟุ้งซ่านไปภายนอก ด้วยอาการคิดนึกปรุงแต่ง
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
     
  14. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    อานาปานสติ สติปัฏฐาน4
    (พุทธวจน : มรรควิธีที่ง่าย)

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า
    จึงทำสติปัฏฐานทั้ง 4 ให้บริบูรณ์ได้ ?

    ----------------------------------------------

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว

    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
    เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกออกเสียได้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว
    ลมหายใจเข้า และลมหายใจออก
    ว่าเป็นกายอย่างหนึ่งๆ ในบรรดากายทั้งหลาย.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
    ในโลกออกเสียได้.

    ---------------------------------------------

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำ จิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ
    เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกออกเสียได้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวว่า
    การทำในใจเป็นอย่างดี ถึงลมหายใจเข้า และลมหายใจออก
    ว่าเป็นเวทนาอย่างหนึ่งๆ ในบรรดาเวทนาทั้งหลาย.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
    ในโลกออกเสียได้.

    ---------------------------------------------

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
    เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวว่าอานาปานสติ เป็นสิ่งที่มีได้
    แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

    -----------------------------------------------

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ” หายใจออก
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว
    เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

    ---------------------------------------------

    ภิกษุทั้งหลาย !
    อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล
    ย่อมทำสติปัฏฐาน ทั้ง 4 ให้บริบูรณ์ได้.
     
  15. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    มหาสติปัฏฐาน 4
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube

    คำว่า "มหาสติปัฏฐาน" หมายถึง การตั้งสติอย่างใหญ่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสมหาสติปัฏฐานแก่พระภิกษุและชาวแคว้นกุรุรัฐ ขณะที่พระองค์ประทับอยู่ ณ นิคม ชื่อกัมมาสทัมมะ* มีใจความสำคัญว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย หนทางสายเอกสายเดียวนี้คือ เอกายโน มคฺโค (เอกายนมัคค์) เป็นทางที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์ พ้นจากความโศก ความคร่ำครวญ เพื่อกำจัดทุกข์กายทุกข์ใจเพื่อให้เข้าถึงธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งด้วยการตั้งสติ 4 อย่าง"
    มีคำกล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสมหาสติปัฏฐาน 4 แก่พระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และปวงชนทั่วไปแห่งกุรุรัฐ ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ
    1. ผู้ฟังพระธรรมเทศนามีสุขภาพกายดี
    2. เป็นผู้มีปัญญา เฉลียวฉลาดสามารถรับพระธรรมเทศนาที่มีอรรถะ ลึกซึ้งได้
    3. เป็นผู้มีความเพียรสูง
    4. มีการเจริญสติปัฏฐานเป็นปกติ นับแต่คนรับใช้ไปจนถึงผู้ใช้แรงงาน
    5. เรื่องที่สนทนากันก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับสติปัฏฐาน แม้แต่สัตว์เดรัจฉานที่อาศัยมนุษย์ก็เจริญสติปัฏฐาน กล่าวหรือพูดกันถึงแต่เรื่องสติปัฏฐาน 4 ทั้งสิ้น
    ในกุรุรัฐนี้ มิใช่แต่มนุษย์เท่านั้นที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แม้แต่สัตว์ดิรัจฉานที่อาศัยมนุษย์ ก็เจริญสติปัฏฐานเหมือนกัน มีตัวอย่าง นกแขกเต้าแสดงให้เห็นเป็นกรณีศึกษาดังนี้
    "มีนักรำท่านหนึ่ง เลี้ยงลูกนกแขกเต้าเอาไว้ แล้วฝึกให้พูดภาษามนุษย์ ไปไหนก็พาเอาไปด้วย คราวหนึ่ง นักรำท่านนี้ไปขออาศัยพักอยู่ ณ ที่อาศัยของนางภิกษุณีรูปหนึ่ง เวลาลาไป กลับลืมนกแขกเต้าตัวนั้นเสียสนิท สามเณรีจึงเลี้ยงนกแขกเต้าตัวนั้นไว้ ตั้งชื่อให้ว่า พุทธรักขิต นางภิกษุณีสอนให้นกพุทธรักขิตสาธยายคำว่า อัฐิ อัฐิ (กระดูก กระดูก) เป็นเนืองนิตย์ นกแขกเต้าพุทธรักขิตก็ปฏิบัติตามคำสอนของนางภิกษุณีรูปนั้นเป็นอันดี วันหนึ่งตอนเช้า ขณะที่นกพุทธรักขิตกำลังนั่งผิงแดดอ่อนอยู่ บนซุ้มประตู เหยี่ยวตัวหนึ่งมาโฉบเฉี่ยวเอาไป นกพุทธรักขิต ส่งเสียงร้องว่า กิริ กิริ พวกสามเณรีทั้งหลายได้ยินเข้าก็พากันช่วยนกพุทธรักขิตจนปลอดภัย นางภิกษุณีเถรีถามนกพุทธรักขิตว่า เวลาที่ถูกเหยี่ยวเฉี่ยวเอาไปว่าคิดอย่างไร นกพุทธรักขิตตอบว่า มิได้คิดอื่นใด คิดถึงแต่เพียงว่า -- อย่างนี้ว่า 'กองกระดูกพากองกระดูกไป จะไปเรี่ยรายกลาดเกลื่อนอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ได้เท่านั้น พระเถรีให้สาธุการว่า สาธุ สาธุ พุทธรักขิตเจ้าคิดอย่างนั้น ก็จักเป็นปัจจัยแห่งความสิ้นภพ สิ้นชาติของเจ้าในอนาคต"
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสสอนให้ใช้หลักมหาสติปัฏฐาน 4 (การตั้งสติอย่างใหญ่) ซึ่งเป็นทางสายเอกและเป็นทางสายเดียว (เอกายนมัคค์) ที่จะทำให้สรรพเวไนยสัตว์บริสุทธิ์สะอาดปราศจากโรคจิต ล่วงพ้นเสียได้จากความโศก ความร่ำไร ความดับทุกข์ ความเสียใจ (โทมนัส) เพื่อบรรลุญายธรรม คือ ธรรมที่ควรรู้ควรเห็น ธรรมที่ถูก คืออริยมรรค เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
    มหาสติปัฏฐาน 4 (Foundation of Mindfulness) คือ การตั้งสติอย่างใหญ่ กำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ว่าสิ่งนั้น ๆ ว่ามันเป็นของมันเอง โดยธรรมชาติ โดยธรรมดา
    มหาสติปัฏฐานจำแนกออกไปได้ ดังนี้
    มหาสติปัฏฐาน 4 ส่วนย่อย
    1. กายานุปัสสนา การตั้งสติพิจารณากาย แบ่งย่อยออกไปเป็น 6 ส่วน (การตั้งสติกำหนดพิจารณากายให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา)
    1. อานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก
    2. อิริยาบถ กำหนดให้รู้เท่าทันอิริยาบถ
    3. สัมปชัญญะ ความรู้ตัวในการเคลื่อนไหวทุกอย่าง
    4. ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบของร่างกาย (อวัยวะต่าง ๆ) ว่าเป็นของไม่สะอาด
    5. ธาตุมนสิการ พิจารณาร่างกายของตนให้เห็นว่าเป็นสักแต่ว่าธาตุแต่ละอย่าง ๆ
    6. นวสีวถิกา พิจาณาซากศพในสภาพต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มตายใหม่ ๆ จนถึงกระดูกป่นเป็นผุยผง (อันแตกต่างกันใน 9 ระยะเวลา ท่านเรียกว่าป่าช้า 9) ให้เห็นว่าเป็นคติธรรม ร่างกายของผู้อื่น (ซากศพที่กำลังพิจารณา) เป็นเช่นใด ร่างกายของเราก็จักเป็นเช่นนั้น (รวมเป็น 6 ส่วน)
    2. เวทนานุปัสสนา (การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา คือ
    การรู้สึกอารมณ์ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นเพียงเวทนา ... ที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ๆ) 1) สุข 2) ทุกข์ 3) ไม่ทุกข์ไม่สุข 4) สุขประกอบด้วยอามิส 5) สุขไม่ประกอบด้วยอามิส 6) ทุกข์ประกอบด้วยอามิส 7) ทุกข์ไม่ประกอบด้วยอามิส 8) ไม่ทุกข์ไม่สุขประกอบด้วยอามิส 9) ไม่ทุกข์ไม่สุข ไม่ประกอบด้วยอามิส (รวมเป็น 9 อย่าง)
    3. จิตตานุปัสสนา (การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ...) 1) จิตมีราคะ 2) จิตไม่มีราคะ 3) จิตมีโทสะ 4) จิตไม่มีโทสะ 5) จิตมีโมหะ 6) จิตไม่มีโมหะ 7) จิตหดหู่ 8) จิตฟุ้งซ่าน 9) จิตใหญ่ (จิตในฌาน) 10) จิตไม่ใหญ่ (จิตที่ไม่ถึงฌาน) 11) จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า 12) จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า 13) จิตตั้งมั่น 14) จิตไม่ตั้งมั่น 15) จิตหลุดพ้น 16) จิตไม่หลุดพ้น (รวม 16 อย่าง)

    4. ธัมมานุปัสสนา (การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ...) 1) พิจารณาธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุสมาธิ คือ นีวรณ์ 5 มี กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจะ และวิจิกิจฉา) เรียกว่า นี วรณบรรพ 2) ... ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เรียกว่า ขันธบรรพ 3) ... อายตนะภายใน 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เรียกว่า อายตนบรรพ 4) ... ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ 7 คือ โพชฌงค์ 7 (สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา) เรียกว่า โพชฌงคบรรพ

    5) ตั้งสติกำหนดรู้ชัดธรรมทั้งหลายมีนีวรณ์ 5 (กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา) ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) อายตนะภายใน 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) อายตนะภายนอก 6 (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์) โพชฌงค์ 7 {สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ (ความสงบกาย-สงบใจ) สมาธิ อุเบกขา] และอริยสัจจ์ 4 ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญขึ้นและดับไปอย่างไร เป็นต้น ตามความเป็นจริงของสรรพสิ่ง อย่างนั้น ๆ (รวม 5 ส่วน)
    อานิสงส์ผลของการปฏิบัติมหาสติปัฏฐานทั้ง 4
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อได้ตรัสเทศนามหาสติปัฏฐานสูตรแล้ว ได้ตรัสถึงอานิสงส์คือ ผลการตั้งสติอย่างใหญ่นี้ว่า ผู้ปฏิบัติจะได้รับผล 2 ประการ ประการใดประการหนึ่ง คือ บรรลุพระอรหัตตผลในชาติปัจจุบัน หากยังมีอุปาทิคือสังโยชน์ 10 (เขียนสัญโญชน์ก็ได้) หรือ อนุสัย 7 (มีกามราคะ ปฏิฆะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา มานะ ภวราคะ และอวิชชา) เหลืออยู่ จะได้เป็นพระอนาคามี (ผู้ไม่กลับมาเกิดในโลกนี้อีก) คือ เป็นผู้จะได้บรรลุพระอรหัตตผล หรือพระอนาคามิผล ในชาตินี้เป็นแม่นมั่น ภายใน 7 ปี หรือลดลงไปจนถึงเพียง 7 วัน (7 ปี, 6 ปี, 5 ปี, 4 ปี. 2 ปี, 1 ปี; 7 เดือน, 6 เดือน, 4 เดือน, 3 เดือน, 2 เดือน, 1 เดือน, 15 วัน, (กึ่งเดือน) หรือ 7 วัน)

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงถึงพฤติกรรมของจิตมนุษย์พร้อมวิธีแก้ไขพฤติกรรม
    ในหลักพระพุทธศาสนาได้จำแนกพฤติกรรมของจิต เรียกว่าจริต (ความประพฤติเป็นปกติ; พื้นฐานของจิต ที่หนักไปทางใดทางหนึ่ง) ออกเป็น 6 ชนิด
    พฤติกรรมของจิต
    1. ราคจริต (ผู้หนักไปทางรักสวยรักงาม)
    2. โทสจริต (ผู้หนักไปทางใจร้อน หงุดหงิด โกรธง่ายคิดประทุษร้าย)
    3. โมหจริต (ผู้หนักไปทางซึมเซา งมงาย)
    4. สัทธาจริต (ผู้หนักไปทางเชื่อง่าย)
    5. พุทธิจริต/ญาณจริต (ผู้ประพฤติหนักไปทาง การใช้ความคิดพินิจพิจารณา)
    6. วิตกจริต (ผู้ประพฤติหนักไปทางคิดจับจด ฟุ้งซ่าน)
    วิธีการแก้ไข
    1. อสุภะและกายคตาสติ (การพิจารณาให้เห็นเป็นของไม่สวยไม่งาม, การมีสติพิจารณาด้วยการเจริญกรรมฐาน)
    2. เจริญกรรมฐานข้อธรรมคือ พรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) และกสิณ คือ วัณณกสิณ (กสิณสี คือการเพ่งสีเขียว เหลือง แดง ขาว)
    3. เจริญกรรมฐานข้ออานาปานสติ (กำหนดลมหายใจเข้า-ออก การเรียน การฟัง การถาม การศึกษาหาความรู้ การสนทนาตามกาลกับครูอาจารย์)
    4. การพิจารณาพุทธานุสสติ แนะนำให้เชื่ออย่างมีเหตุผล
    5. การพิจารณาพระไตรลักษณ์ (อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา) การเจริญกรรมฐานข้อมรณสติ อุปมานุสติ จตุธาตุววัฎฐาน และอาหาเรปฏิกูลสัญญา
    6. การสะกดอารมณ์ด้วยการใช้หลักอานาปานสติ หรือเพ่งกสิณ เป็นต้น
    (ขุ.ม. 29/727/435;889/555: ขุ.จุ. 30/492/244;/วิสุทธิ. 1/127)
    จริต 6 นี้ เนื่องในอกุศลมูล 31 คือรากเหง้าของความชั่ว บาปทั้งหลายทั้งปวง มีหลักธรรมสำหรับแก้จริตทั้ง 6 ดังได้เสนอผ่านมาแล้ว
    สติปัฏฐาน 4 เป็นทางเดียว เป็นทางบริสุทธิ์ที่ทำให้มนุษยชาติพ้นจากราคะ*/โลภะ โทสะ และโมหะ พ้นจากความโศก ความคร่ำครวญ กำจัดทุกข์กาย ทุกข์ใจ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ถูกต้อง ด้วยการทำพระนิพพานให้แจ้ง
    ได้โปรดศึกษาความพิสดารเรื่อง "สติปัฏฐาน 4" ได้ใน "สวดมนต์แปล" ของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระศาสนโศภณ (แจ่ม จตฺตสลฺโล) วัดมกุฏกษัตริยาราม (หน้า 130-463) และ "พระไตรปิฎกฉบับประชาชน" ของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ (หน้า 336-337), พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ (ฉบับภาษาบาลี) หน้า 325-351, หนังสือ "นวโกวาท" พระนิพนธ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส พิมพ์ครั้งที่ 74/2525 หน้า 34.
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
     
  16. กัณฑกะ

    กัณฑกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +1,427
    ปฐมเหตุการสร้างรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน

    ในส่วนการสร้างพระเครื่อง ก่อนที่จะมีการสร้างพระรูปเหมือนหล่อโบราณนั้น หลวงพ่อเงินท่านได้จัดสร้างพระเนื้อดินและเนื้อผงอย่างไม่เป็นทางการมาก่อน เช่นกัน คนโพทะเลเก่า ๆ ที่เก็บพระท่านไว้เป็นมรดกตกทอดมีหลายพิมพ์ มีทั้งเครื่องเนี้อดิน พิมพ์พระสมเด็จที่มี อุ อยู่ด้านข้างและไม่มี อุ พิมพ์นั้งบนสัปคับช้าง พิมพ์ปิดตา พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ และพิมพ์พระโบราณต่าง ๆ

    อาจกล่าว ได้ว่า พระเครื่องเนี้อดินองค์แรกที่ท่านเมตตาอธิษฐานจิตให้เด็กชายซุกซนคนหนึ่ง เป็นปฐมเหตุของการสร้างพระรูปเหมือนพิมพ์จอบเล็ก ในเวลาต่อมา มีเรื่องเล่าว่าท่านชอบนำดินมาแกะเป็นพระเครื่องรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วองค์ เล็กเท่าปลายก้อย แล้วแจกเด็กที่เล่นน้ำหน้าวัดเพื่อป้องกันปลาปักเป้ากัด นอกจากปลาปักเป้ากัดไม่เข้าแล้ว พระเนื้อดินองค์เล็กที่ท่านแกะเองนี้ยังสามารถกันไม้เรียวได้อีกด้วย โดยท่านมอบให้เด็กชายซุกซนจนถูกพ่อเฆี่ยนตีทุกวันไปด้วยความสงสาร แล้วบอกว่าลองไปให้พ่อตีอีกที เด็กก็ทำตามที่ท่านบอก ปรากฎว่าพ่อตีลูกไม่ถูกแม้แต่ทีเดียว จากนั้นจึงมีผู้ว่าขอพระเครื่องจากท่านจำนวนมากทั้งลูกศิษย์บ้านใกล้ บ้านไกลจนทำให้เกิดการสร้างพระเครื่องรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน พิมพ์จอบเล็ก เป็นอันดับแรกเริ่มตั้งแต่นั้นมา

    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
     
  17. กัณฑกะ

    กัณฑกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +1,427
    พญานาค นาคราช นาคาธิบดี เทพเจ้าแห่งท้องน้ำ ท้องฟ้า สัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์พูลสุข บันไดสายรุ้งสู่จักรวาล

    สีสัตนาคราช หรือเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในอีกหลายชื่อ เช่น พญาศรีสัตตนาคราช / ศรีสัตตนาคาธิบดี / นาคาธิบดีศรีสัตตนาคบาดาล / นาคาธิบดีสีสัตตนาคบาดาล

    สีสุทโธนาคราช เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในอีกหลายชื่อ เช่น ศรีสุทโธนาคราช / ศรีสุทโธนาคาธิบดี / นาคาธิบดีศรีสุทโธ / นาคาธิบดีสีสุทโธ

    สีติกะนาคาธิบดีแห่งไตรยุค
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01416.JPG
      DSC01416.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3 MB
      เปิดดู:
      10,726
  18. กัณฑกะ

    กัณฑกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +1,427
  19. กัณฑกะ

    กัณฑกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +1,427
    การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ ๓ ประการ ถ้าประกอบถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ
     
  20. กัณฑกะ

    กัณฑกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +1,427

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • lupungn.jpg
      lupungn.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11 KB
      เปิดดู:
      420

แชร์หน้านี้

Loading...