ถ้าท่านได้ฌาณ4ท่านจะรู้สึกอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย thaijin, 24 พฤศจิกายน 2011.

  1. thaijin

    thaijin สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    161
    ค่าพลัง:
    +16
    ถ้าท่านได้ฌาณ4หรือมีคนทักว่าท่านได้ถึงฌาณ4แล้วตัวท่านเองจะรู้สึกอย่างไร ภูมิใจนิด ๆหรือเฉย ๆ เพราะเห็นมีคนโพสถามกันเยอะจังว่าได้ฌาณระดับไหนแล้วเป็นต้น กิเลสความอยากรู้มันกระตุ้นให้ถามโดยการครอบงำ ผลของการปฏิบัติจุดมุ่งหมายของท่านคืออะไร ลองมาแชร์ดูครับ:cool:
     
  2. dooddd

    dooddd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +4,855
    ขอร่วมฟังดีกว่า

    (อยากแนะนำหน่อยหนึ่ง สำหรับคนที่นั่งสมาธิแล้วตั้งเป้าไว้แค่ฌาน ๔ นะ
    อยากให้ตั้งเป้าไว้สูงๆกว่านั้นหน่อย เพราะบางคนเวลาถึงแล้วจะเลิกทำไปเลย
    พอตั้งเป้าใหม่แล้วกลับมาเริ่มฝึกใหม่ แค่ปฐมฌานก็ยากแล้ว เพราะร้างไป

    ไม่ได้หมายถึงใครหรอก...)
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ฌาน ๔ มีคนทำได้มากแล้วนะครับ จากสังคมนักปฏิบัติที่ผมรู้จักเขาก็ทำกันได้เป็นปกติ.......ส่วนตัวก็ไม่ได้เห็นว่าแปลกหรือวิเศษมากมายอะไร....กลับเห็นว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนควรที่จะทำได้ เพราะไม่ได้เกินความสามารถอะไรสำหรับท่านผู้ที่มีความเพียรที่จะเอาดีจริงๆ.....
     
  4. Bobcats

    Bobcats เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    405
    ค่าพลัง:
    +399
  5. ธรรมภัฎ

    ธรรมภัฎ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    463
    ค่าพลัง:
    +734
    ฌาน 4 มีทั้ง หยาบ กลาง และละเอียด คำว่าได้ต้องคือ ทรงอารมณ์เป็นปกตินะครับ ไม่ใช่ว่าได้ทรงอารมณ์เฉพาะตอนนั่งหลับตาปี๋ๆอย่างเดียว

    เบื้องต้น อุเบกขามันบังหน้าไว้ก่อนทุกอย่าง ไม่ว่าจะเกิดโลกธรรมใดๆก็ตาม ผู้ที่ได้มักมีจริตวางและเฉยเป็นเบื้องต้อนก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนจะจับมาเป็นอารมณ์หรือไม่นั้น ท่านจะพิจารณาอีกทีว่าจะรับเข้ามาหรือไม่ อย่างไร

    ผมแนะนำเลยนะครับว่า ฌาน4นั้น เป็นบาทอารมณ์ของการยอมรับกฎแห่งกรรมที่ชัดเจนมาก เพราะความวางเฉยเหล่านั้นนั่นเอง

    หากจิตยอมรับกฎของกรรมให้เป็นของธรรมดาแล้ว ใจก็ไม่ทุกข์ หรืออาจทุกข์ได้ แต่น้อยลงและบางเบากว่าปกติ

    เมตตาด้วยประสบการณ์ส่วนตัว...

    เจริญธรรม
     
  6. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ถ้าเเรกพบกันเลย ก็คงปฎิเสธได้ไม่เต็มปากนักว่า อด ดีใจ ยินดี เเถมด้วยความกระหยิม เเละยิ้มย่อง เล็กน้อย จนถึงปานกลาง

    ต่อมาเมื่อมีคนทักว่า มันไม่ใช้หลอกยังต้องไปต่อ ก็เเอบเคืองบ้างนิส นิส เเถมเมื่ออารมณ์ขุ่น มากเข้าก็เเอบพาลไปว่า ผู้สทนามีตาหามีเเววไม่

    ต่อมาเมื่อพบว่า ยังไม่ถึงจริงก็ จําต้องยอมรับในคําตัดสิน ที่ จําต้องเข้าใจ น้อยใจ เสียใจ ปิติ ยินดีที่มีหายไปหมด จนถอยห่่างจากการปฎิบัติ ไปโดยปริยาย

    จนมีเหตุ เข้ามาชักจูง พลักดัน ให้เริ่มใหม่ จึงค่อยๆเห็นทางสว่างขึ้นทีละน้อย ทีละน้อย

    ถึงเเม้ ณ ตอนนี้ยังไปถึงบ้าง ไม่ถึงบ้าง พลุบ พลุบ โผล่ โผล่ เเต่ก็ภูมิใจ ในปิติที่สดใจของตน เเละก็ไม่ลืม อดีตของใจที่เคย หึกเหิมลําพอง เก็บตัวอารมณ์ นั้นไว้เตือนสติ อยู่เสมอทุกเช้าคํ่า

    ณ ปจุบันถึงไหน ก็ช่างมัน เข้าได้บ้างไม่ได้บ้างก็ช่างมัน ครองไว้ได้บ้างไม่ได้บ้างก็ช่างมัน หรือเลยไปบ้างก็ช่างมัน

    ความหน้ากลัวที่ ควร เก็บไว้เตือนตัวได้ดีที่สุด คือ การคิดว่าตนมี ตนได้ เเล้วก็จะต้องมีไปตลอด มันน่ากลัวกว่า ไม่ได้เป็นยิ่งนัก เจ้าค๊าาาาาาาาาาาาาาา
     
  7. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    ตอบได้สวดยวดมั่ก ๆเจ้าค๊าๆๆๆๆๆๆๆๆ แล้วการอยากได้ฌาณกับการไม่อยากได้ฌาณเป็นเยี่ยงไรเรียกว่ากิเลสหรือเปล่า เพราะมันเป็นการอยากทั้งคู่
     
  8. constantin4115

    constantin4115 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +22
    ถาม ถ้าท่านได้ฌาณ4หรือมีคนทักว่าท่านได้ถึงฌาณ4แล้วตัวท่านเองจะรู้สึกอย่างไร


    ตอบ ภูมิใจซิครับ กว่าจะทำได้ ต้องนั่งหลังขดหลังแข็งสู้กับเวทนาที่เป็นส่วนของความเจ็บปวดอยู่ตั้งนาน บางคนอาจจะทำแบบง่ายๆ แล้วก็ได้แบบง่ายๆ แต่ถ้าเป็นสำหรับผม ผมบอกได้เลย แทบกระอักเลือด แล้วใช้เวลาตั้งหลายปี ถ้าทำได้แล้วไม่ภูมิใจก็แปลกล่ะ


    ถาม ผลของการปฏิบัติจุดมุ่งหมายของท่านคืออะไร


    ตอบ ของคนอื่นผมไม่รู้ เพราะถือว่าเป็นเรื่องของเขา แต่ถ้าสำหรับผมๆตอบแบบชัดเจนเลยครับ ผมต้องการถอดจิตแบบเต็มกำลัง ผมชัดเจนในตัวเองครับ^_^
     
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ฉันทะ

    1. ความพอใจ, ความชอบใจ, ความยินดี, ความต้องการ, ความรักใคร่สิ่งนั้นๆ, ความรักงาน
    (เป็นกลางๆ เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศลก็มี, เป็นอัญญสมานาเจตสิกข้อ ๑๓, ที่เป็นอกุศล เช่นในคำว่า กามฉันทะ ที่เป็นกุศลเช่น ข้อ ๑ ในอิทธิบาท ๔)
    2. ฉันทะ ที่ใช้เป็นคำเฉพาะ มาเดี่ยวๆ โดยทั่วไปหมายถึงกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ
    ได้แก่ กัตตุกัมยตาฉันทะ คือ ความต้องการที่จะทำหรือความอยากทำ(ให้ดี);
    ตรงข้ามกับ ตัณหาฉันทะ คือ ความอยากเสพ อยากได้ อยากเอาเพื่อตัว ที่เป็นฝ่ายอกุศล
    3. ความยินยอม, ความยอมให้ที่ประชุมทำกิจนั้นๆ ในเมื่อตนมิได้ร่วมอยู่ด้วย, เป็นธรรมเนียมของภิกษุ ที่อยู่ในวัดซึ่งมีสีมารวมกัน มีสิทธิที่จะเข้าประชุมทำกิจของสงฆ์ เว้นแต่ภิกษุนั้นอาพาธจะเข้าร่วมประชุมด้วยไม่ได้ ก็มอบฉันทะ คือแสดงความยินยอมให้สงฆ์ทำกิจนั้นๆ ได้

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
     
  10. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,430
    ฌานสี่ ก็แสดงฤทธิ์ทางใจได้นะครับ เป็นฌานที่ยากจะเข้าถึงครับ ส่วนใหญ่เข้าถึงแค่ฌานสามแล้วไปเอาความสงบจากฌานหนึ่งมา แล้วบอกตัวเองว่าได้ฌานสี่นะครับ ฌานสี่ที่แท้จริงจะต้องเกิดปัญญาคือผู้รู้เกิดขึ้น เช่น สามารถเปลี่ยนจากฌานสี่ไปเป็นสมาธิแล้วเกิดอภิญญาต่างๆ ไม่มากก็น้อย ส่วนใหญ่จะไม่ใช่ครับ เพราะถ้าได้ฌานสี่จริงไม่มีใครไม่มีความสามารถพิเศษเหนือคนธรรมดา ซึ่งถ้าเคยศึกษาธรรมะแบบเชิงลึกจะรู้เรื่องราวแบบนี้ดีครับ พระภิกษุสงฆ์ในสมัยก่อนจะสอบถามถึงการปฏิบัติเจริญกรรมฐานว่าตนเองและเพื่อร่วมนักธรรมนั้นสามารถปฏิบัติธรรมได้ไกลแค่ไหนนะครับ โดยเอาฌานสี่นี้แหละเป็นตัววัดครับ เพราะถ้าปฏิบัติไม่ถึงฌานสี่ก็ไม่มีวันผ่านโครตภูญาณนั้นได้ครับ

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    :cool:

    เอาไปเลย "ชาญ ชาญ ชาญ ชาญ"

    งง เป่า

    งง เอา "เชี่ยว" ไปเพิ่ม

    งง อีก ริบหมด เหลือ "ปัจจัตตัง" ไปละกัน
     
  12. thaijin

    thaijin สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    161
    ค่าพลัง:
    +16
    ขอข้อมูลแบบสุด ๆหน่อยครับจะได้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ส่วนตัวยังไม่ได้อะไรเลยครับ
     
  13. thaijin

    thaijin สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    161
    ค่าพลัง:
    +16
    นั่นแน่และแล้วก็มีคนภูมิใจเกิดขึ้นอย่างว่า อ้าวถ้าไม่ภูมิใจนี่แปลกหรือครับ พึ่งจะรู้
     
  14. constantin4115

    constantin4115 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +22
    เป็นความรู้สึกภูมิใจเป็นส่วนตัวครับ ( ไม่ได้วัดกับความรู้สึกของคนอื่น ) ก็อย่างที่บอก คนอื่นเขาอาจจะทำได้แบบง่ายๆ เมื่อเขาทำได้เเล้วเขาอาจจะรู้สึกเฉยๆ

    แต่ผมทำอยู่เป็นปีๆ นั่งสมาธิวันละ2-3ชั่วโมง เจ็บตูดแล้วเจ็บตูดอีก กว่าจะมีโอกาสได้รู้รสกับเขาบ้าง

    ถ้าผมบอกว่ารู้สึกเฉยๆ งั้นๆ ผมคงต้องบอกว่าตัวเองตอแหลแล้วล่ะครับ 555
     
  15. ชา ใคร่รู้

    ชา ใคร่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +496
    .....แรกๆดีใจมาก ต่อมาก็เฉยๆ พอนานๆไป.....เฮ้ย!!!ทำไมมันไม่ก้าวหน้ากว่านี้ซักทีฟะ (ความต้องการมันไม่เคยสิ้นสุด นี่แหละกิเลสของนักปฏิบัติบ้าๆบอๆแบบผม)

    .....เห็นด้วยกับคุณ คุรุวาโร ที่ว่าส่วนใหญ่มักขึ้นไปที่ฌาน3 หรือไม่ก็แตะๆฌาน4หยาบ แล้วก็ตัดลงมาที่ฌาน1บางทีก็อุปจารสมาธิครับ มันเป็นพฤติกรรมโดยทั่วไปจริงๆครับ เป็นกันเยอะมากครับ

    .....ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ครับผม
     
  16. thaijin

    thaijin สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    161
    ค่าพลัง:
    +16
    ขอถามท่านผู้นั่งประจำครับแล้วระหว่างปฏิบัติมีเหตุการแปลก ๆประหลาดเกิดขึ้นไหมครับเพราะผมไม่เคยได้รับประสพการณ์อะไปแปลก ๆเหมือนในตำราที่เขียนไว้เลยครับแสงสว่างก็ไม่เคยเห็น ไม่ได้ยินเสียง ไม่ได้กลิ่น ได้ได้ถูกสัมผัส จากอะไรเลย นั่งมาพักนึงแล้วไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย เมื่อก่อนนั่งทีละชั่วโมง พักหลังจิตตก นั่งได้ทีละครึ่งชั่วโมงเอง ยิ่งปฏิบัติยิ่งไม่ก้าวหน้าถอยหลังลงคลอง นี่เป้นกรรมอย่างหนึ่งหรือเปล่าครับ
     
  17. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    อีกหน่อยเราน่ามีประโยคที่ว่า ปัจตัง ทุกขัง อัตนัตตา เป็นที่ตั้งไว้ ครองสติเพิ่มอีกซัก บท น่าจะดีไม่น้อยยยยยยยยย 555555
    (deejai)(deejai)(deejai)(deejai)(deejai)(deejai)(deejai)(deejai)(deejai)(deejai)
     
  18. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ตอบได้สวดยวดมั่ก ๆเจ้าค๊าๆๆๆๆๆๆๆๆ แล้วการอยากได้ฌาณกับการไม่อยากได้ฌาณเป็นเยี่ยงไรเรียกว่ากิเลสหรือเปล่า เพราะมันเป็นการอยากทั้งคู่ __________________


    1. ความพอใจ, ความชอบใจ, ความยินดี, ความต้องการ, ความรักใคร่สิ่งนั้นๆ, ความรักงาน
    (เป็นกลางๆ เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศลก็มี, เป็นอัญญสมานาเจตสิกข้อ ๑๓, ที่เป็นอกุศล เช่นในคำว่า กามฉันทะ ที่เป็นกุศลเช่น ข้อ ๑ ในอิทธิบาท ๔)
    2. ฉันทะ ที่ใช้เป็นคำเฉพาะ มาเดี่ยวๆ โดยทั่วไปหมายถึงกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ
    ได้แก่ กัตตุกัมยตาฉันทะ คือ ความต้องการที่จะทำหรือความอยากทำ(ให้ดี);
    ตรงข้ามกับ ตัณหาฉันทะ คือ ความอยากเสพ อยากได้ อยากเอาเพื่อตัว ที่เป็นฝ่ายอกุศล
    3. ความยินยอม, ความยอมให้ที่ประชุมทำกิจนั้นๆ ในเมื่อตนมิได้ร่วมอยู่ด้วย, เป็นธรรมเนียมของภิกษุ ที่อยู่ในวัดซึ่งมีสีมารวมกัน มีสิทธิที่จะเข้าประชุมทำกิจของสงฆ์ เว้นแต่ภิกษุนั้นอาพาธจะเข้าร่วมประชุมด้วยไม่ได้ ก็มอบฉันทะ คือแสดงความยินยอมให้สงฆ์ทำกิจนั้นๆ ได้


    เเบบนี้น้องว่า เป็น กิเลศ เเบบมหาละเอียด ละเมียดดดด เเละลมุน ดุจ ใยนุ่นที่ปลิดปลิวเหนือ ยอดดอย


    (deejai)(deejai)(deejai)(deejai)(tm-love)(tm-love)chearrchearrqsquqsqu
     
  19. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    สังโยชน์

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

    <!-- /jumpto --><!-- bodycontent --><TABLE style="BORDER-BOTTOM: #060 1px solid; TEXT-ALIGN: center; BORDER-LEFT: #060 1px solid; MARGIN: 0px 0px 1em 1em; FLOAT: right; BORDER-TOP: #060 1px solid; BORDER-RIGHT: #060 1px solid" id=WSerie_Buddhism class=toccolours cellSpacing=0 cellPadding=1 width=170><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 100%" colSpan=2><SMALL>ส่วนหนึ่งของ</SMALL>
    ศาสนาพุทธ

    [​IMG] สถานีย่อย

    <HR>[​IMG]
    ประวัติศาสนาพุทธ

    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ศาสดา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระโคตมพุทธเจ้า
    (พระพุทธเจ้า)

    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>จุดมุ่งหมาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>นิพพาน</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ไตรรัตน์</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์

    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ความเชื่อและการปฏิบัติ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
    สมถะ · วิปัสสนา
    บทสวดมนต์และพระคาถา
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>คัมภีร์และหนังสือ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>หลักธรรมที่น่าสนใจ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ไตรลักษณ์
    อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>นิกาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>สังคมศาสนาพุทธ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>การจาริกแสวงบุญ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">พุทธสังเวชนียสถาน ·
    การแสวงบุญในพุทธภูมิ
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ดูเพิ่มเติม</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
    หมวดหมู่ศาสนาพุทธ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ
    • ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่
      • 1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
      • 2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
      • 3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงการหมดความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย
      • 4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
      • 5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ
    • ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่
      • 6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
      • 7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
      • 8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
      • 9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
      • 10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง
    พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้คือ หมดสักกายทิฏฐิ,วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส
    พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 คือ กามราคะและปฏิฆะ ให้เบาบางลงด้วย
    พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อต้นได้หมด
    พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ
    [แก้] อ้างอิง

     
  20. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ถ้ามันจะเป็นกิเลสละเอียดที่จะละได้เมื่อเป็นพระอรหันต์....

    ก็ขอให้ทำได้จนเป็นพระอรหันต์ก่อน ค่อยละกิเลสตัวนี้แล้วกัน....

    กลัวเสียแต่ว่าตอนที่จะเป็นพระอรหันต์ จะไม่มีกิเลสละเอียดชนิดนี้ไว้ให้ละเท่านั้นเอง....

    .............................................................

    หมายเหตุ..รูปราคะ อรูปราคะ หมายเอา ความติดใจ เป็นเหตุ ไม่ได้หมายอาการเพียรเพื่อทำให้เกิด ที่มีจุดประสงฆ์เพื่อเป็นเหตุให้เกิดความสงบ เพื่อเป็นวิหารธรรม เพื่อเป็นกำลังแห่งวิปัสสนา เป็นเหตุ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...