เจตสิกธรรมไม่มี หรือ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐาณัฏฐ์, 26 ธันวาคม 2011.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ขอบใจมากน้องเก่ง ที่ช่วยอนุเคราะห์ให้ได้อ่าน


    มีพระพุทธพจน์ที่รองรับและเชื่อมโยงกันอยู่(ธรรมะของพระพุทธองค์ ล้วนเชื่อโยงกันหมด)
    หลานpaetrix นำมาลงไว้ ขยายให้รู้เหตุที่ทำให้เข้าถึงสัญญา๗เหล่านั้น

    แถมในตอนท้ายของแต่ละสัญญาก็ชัดเจนแล้วว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    คำว่านิโรธ เป็นเรื่องผลสมบัติ เกิดขึ้นได้กับภูมิที่เป็นทั้งเสขบุคคลและอเสขบุคคล นิโรธของโสดาบันก็เป็นแบบหนึ่ง ของสกิทาคมีและอนาคมีตลอดจนอรหันต์มันคนละความหมายกันมันก็จะเกี่ยวโยงไปกับเรื่องต่างๆอาทิเช่น โพชฌงค์ ๗ นั่นแหละ ทีนี้เข้าใจว่าคนเราทุกคนนั้นมีสิทธิ์จะถึงนิโรธคือความดับได้ในแต่ละภูมิแต่ละขั้น แต่การเข้านิโรธสมาบัติที่เป็นสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นเป็นของวิเศษเกินความสามารถของคนทั่วไปจะทำได้มีได้เฉพาะบุคคลบางจำพวกเท่านั้น ที่กำลังเข้าใจอยู่นั่นเขาเรียกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นนิโรธธรรมขั้นสูงสุดและเป็นของสูงเกินกว่าเสขะภูมิธรรมดาจะกระทำได้แม้พระอรหันต์หากไม่จัดอยู่ในประเภทเจโตวิมุติก็ไม่อาจกระทำสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้เลย ก็ลองพิจารณาดีๆ เพราะเรื่องเหล่านี้ก็เคยกล่าวถกกันให้เกิดปัญญาความคิดเห็นและส่งเสริมให้เกิดความเพียรปฏิบัติให้ทราบจริงมานานแล้ว
    สาธุคั๊บ
     
  3. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เคยคุยกันมาก่อนรึเปล่า คุ้นๆนะครับ ^^
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อย่าเอาไป ปน กับ นิโรธสมาบัติ ซึ่งเป็นเรื่องของ การทำฌาณสมาธิ

    คำว่า นิโรธ นั้น ก็เป็น ภาษา ศัพท์พื้นๆ ที่หยิบยืมมาใช้ ถึงสภาพ
    ของการห่างออกจากกิเลส ห่างออกจากโลก

    หากคุณประจักษ์ หรือ แค่ พอหมายๆเอาได้ว่า หากทำอย่างนี้แล้ว จะนำ
    ไปสู่การห่างกิเลส การห่างจากโลก แค่นี้ก็ถือว่า หยิบคำว่า นิโรธ มา
    อธิบายได้

    ก็เหมือนกับคำว่า นิพพาน คำนี้ก็เป็นคำที่หยิบยืมมาใช้ มีพระไทยธรรม
    ทูตท่านหนึ่ง ท่านนึกสนุกจะกลับจากอินเดีย ตอนไป ไปเครื่องบิน ตอนกลับ
    นึกสนุก จะเดินเท้ากลับ ท่านก็เดินเท้ากลับ เรียกว่า ธุดงค์ข้ามภูเขาเลากา
    มากมาย

    ตอนหนึ่ง ท่านเล่าว่า ท่านเดินทางมาถึงแถวๆบ้านเกิดของพระพุทธองค์ คือ
    แถวๆเนปาน ชาวบ้านเห็นท่านธุดงค์มาก็ นิมนต์ให้พัก รับอาหาร แล้วเขา
    ก็ถามท่านเป็น สมณะศาสนาไหน มีอะไรเป็นที่สุด

    พระท่านก็ตอบว่า นิพพาน

    ชาวบ้านได้ยินดังนั้น ก็รีบเอา ข้าวต้มที่อยู่ในมือพระ ไปเปลี่ยนให้ใหม่

    ทำไมเขาทำอย่างนั้น

    เพราะว่า ข้ามต้มมันไม่นิพพาน คือ ไม่พอดีกับการกิน กล่าวคือ ถ้า
    ไม่ร้อนเกินไปจนเป็นโทษ ก็ เย็นไปจนไม่เกิดประโยชน์ ชาวบ้านจึง
    รีบเอาข้ามตมไปเปลี่ยนให้มันพอดี เย็นพอดีๆ คือ ข้าวต้มนิพพาน

    ดังนั้น เวลาเจอคำศัพท์ อย่า รีบร้อนปรักปรำภาษา อย่ายึดบัญญัติว่า
    ต้องแปลแบบนี้จึงจะถูก ต้องมองให้เป็น ภาษาปฏิบัติที่มีชีวิต อย่าให้เป็น
    แบบ ภาษาที่ดิ้นไม่ได้ เป็นภาษาที่ตาย

    * * **

    เนปาล เป็นเมืองในเขตหนาว ต้องกินอาหาร อุ่นๆ หากร้อนไปก็กิน
    ไม่ได้ล้วกปาก หากเย็นไปก็ไม่ดีต่อสุขภาพ ต้องกลางๆ พอดีๆ ถึง
    จะมีประโยชน์มาก มีอานิสงค์มาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2012
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ส่วนไปเทียบกับ "หิริ โอตัปปะ" อันนี้ เราถือว่า ต่ำเกินไป

    เพราะในพุทธวัจนะ ท่านระบุชัดว่า หยั่งลงถึง อมตะธรรมได้

    หมายถึง ไปถึง นิพพาน ได้ ดังนั้น ต้องเลิศกว่า "หิริ โอตัปปะ"
    หลายขุม
     
  6. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    อยู่ระหว่างดำเนินการ ถึงที่สุด
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อย่าลืมนะ ว่า ผมว่า ไม่ใช่อุเบกขา เพราะว่า มันไม่พอ

    ผมไม่ได้ยกกล่าวว่า ไม่ใช้อุเบกขา แต่ความไม่พอนั้นก็เพราะ
    ว่า มันต้องมี ปัญญาประกอบ แล้ว ปัญญาประกอบอยู่ตรงไหน

    ถ้า ปุรฑ์ปู้น ยกอุเบกขา ท่าเดียว หรือ ปักใจเชื่อว่า อุเบกขา
    พอแล้วโว้ยยยย ก็เป็นอันว่า ประกาศ สมาธิ เป็น นิพพาน

    เพราะ...ก็เน้นอย่างเดิมว่า......พระพุทธองค์กล่าวว่า หยั่งสู่อมตะธรรมได้

    ก็ต้องพิจารณาให้ดีว่า ทำไมปุณฑ์ปู้นทราบว่า ต้องใช้ทั้งสอง แต่
    ก็อดไม่ได้ที่จะไป เกาะ "สัมมาสมาธิ" เกาะทำไม หาก อนิจจสัญญา
    เป็นฝ่ายปัญญาค้ำยันอยู่ มันย้อนไปเกาะ "สัมมาสมาธิ" ได้อย่างไร

    ทำไมต้องลงท้ายอย่างนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2012
  8. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ...แต่แรกก็พูดเรื่องสัมมาสมาธิ แต่ให้สังเกตคำว่าอุเบกขา เพราะเป็นอุเบกขาที่มีปัญญาประกอบ ไม่ใช่พูดอุเบกขาอย่างเดียว แต่เป็นสมาธิที่มีปัญญา ซึ่งแน่นอนต้องมีสติระลึกในอนิจจสัญญา
    ...ต่อมาก็ถกกัน ที่ว่าอุเบกขาเป็นปฏิกูล หรือเพราะมีสติปัญญารู้ว่าลาภสักการะเป็นปฏิกูล จึงวางเฉยอยู่
    ...ต่อมา..(นอกเรื่องไปสนใจเรื่องอุเบกขาว่ามีอกุศลได้ไหม) ก่อนกลับมาอุเบกขาในสัญญาสูตร ที่เน้นว่าเป็นสัมมาสมาธิมาแต่แรก..

    ไม่ใช่ต้องใช้ทั้งสอง สมาธิ ปัญญา ..แต่ใช้ทั้งหมด (สติสมาธิปัญญา...)
    แต่บอกว่าเป็น สัมมาสมาธิ เพราะเป็นสมาธิที่มีปัญญาประกอบ หรืออีกนัยอาจหมายไปถึง สัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยอริยมรรคองค์เจ็ดที่เหลือ
    ในกรณี สัมมาสมาธิจะเกิดได้
    อาจมีปัญญา สมาธิ หรือสติ นำ ก่อนเข้าสู่สัมมาสมาธิ
    ในกรณี อนิจจสัญญา ดูว่าปัญญานำ
    (ส่วนกรณีสมถะนำในบางกรรมฐาน เมื่อยกเข้าภูมิวิปัสสนา สมาธิก็พลิกมาเป็นสัมมาสมาธิ)

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2012
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    คงไม่ได้หมายถึง เอาเกิด แก่ เจ็บ ชรา มาพิจารณา

    หรือ รู้สึกเอาเอง ว่า จิตวิ่งไปรู้อายตนะ เดี๋ยวอารมณ์เกิด เดี๋ยวได้ยิน เดี๋ยวคิดนึก

    เป็นเรื่องไม่เที่ยง แบบนี้หยาบเกินไป หรือไปรู้ รูปเดิน รูปก้าวเท้า

    และ ปัญญาขั้นศึกษาไม่พอ แต่ต้องเห็นลักษณะและเข้าใจความไม่เที่ยงในรูปนาม ว่ามันไม่เที่ยงอย่างไร

    การจะประจักษ์ สามัญลักษณะ ลักษณะความเป็นไตรลักษณ์

    จนสามารถนำมาเป็นอารมณ์พิจารณาเนืองๆได้นั้น

    ปัญญามีความรู้ทั่วรูปนาม รู้รอบความเป็นปัจจัย จนถึงเริ่มเห็นไตรลักษณ์ ในสัมมสนญาณ

    ฉนั้นแล้ว จึงไม่ใช่ของสาธารณะ ที่จะเจริญเป็นอารมณ์ได้ง่ายๆ

    หากไม่มีความเข้าใจในลักษณะความไม่เที่ยง
     
  10. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    อารัมมณูปนิชฌาณ - ฌาณที่มีสมถะเป็นอารมณ์
    ลักขณูปณิชฌาณ - ฌาณที่มีวิปัสสนาเป็นอารมณ์

    อุเบกขาก็สมาธินั่นแหละ จะอะไร
    มีวิปัสสนาเป็นอารมณ์ก็อุเบกขาได้
    มีสมถะเป็นอารมณ์ก็อุเบกขาได้

    จะมาถามปัญญาไปประกอบประแกบอะไรอีก
     
  11. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    อย่างนี้เค้าเรียกว่ามันเซ่อ ขาดสติ
    มันจะไปอุเบกขาได้ยังไง

    แสดงว่ายังไม่เคยเจออุเบกขาตัวจริง
     
  12. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ก็หวังว่า ท่านจะไม่อยู่ในเครสนี้ ^^

    อุเปกขาที่มีปัญญาเกิดร่วม เป็นผลจากวิปัสสนา

    เกิดจากรู้แล้วเข้าใจ

    ต่างจากอุเปกขา ประเภท ข่ม


    ส่วยที่ยก เรื่องกลวงๆโบ๋ๆ แต่ไปรู้กันว่ามันสงบ มันสุข อันเกิดจากการทำสมาธิ

    ที่พวกพระป่าแซวกัน ว่า สมาธิหัวตอ นั้นมีอยู่หรือ ^^
     
  13. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    เพ้อเจ้อ
    อุเบกขาก็อุเบกขานั่นแหละมันจะต่างกันได้ยังไง
    อุเบกขาเวทนา ก็ เวทนานั่นแหละ

    สมาธิหัวตอนั่นมัน จิตตกภวังค์หลับ
     
  14. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    การที่อุเบกขาสัมโพชฌงค์จะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยมีอุปการะธรรม ๕ ประการ คือ
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ก. ตั้งตนเป็นกลางในสัตว์ในบุคคล เพราะตามสภาพแห่งความเป็นจริงนั้น หามีสัตว์มีบุคคลไม่ มีแต่รูปนามที่เป็นไปตามกรรม จึงไม่ควรมีอคติแก่รูปนามนั้น รูปนามนี้เลย
    <O:p></O:p>
    ข. ตั้งตนเป็นกลางในสังขาร คือ บุคคล วัตถุ สิ่งของ ทั้งหลาย เพราะตาม สภาพแห่งความเป็นจริงนั้น สังขารทั้งหลายเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงไม่พึง ยินดีเมื่อได้มา และยินร้ายในเมื่อต้องสูญเสียสิ่งที่ไม่เป็นแก่นสารนั้น ๆ ไป
    <O:p></O:p>
    ค. ต้องเว้นจากผู้ที่ยึดมั่น รักใคร่ หวงแหน ในสัตว์ สิ่งของ ว่าเป็นของเรา เป็นของเขา
    <O:p></O:p>
    ง. ให้สมาคมกับบุคคลที่ตั้งตนเป็นกลางในสัตว์บุคคล และในสังขารทั้งหลาย
    <O:p></O:p>
    จ. น้อมใจให้ดิ่งไปในอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    <O:p>
    เมื่อบริบูรณ์ด้วยอุปการะธรรมเหล่านี้แล้ว อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมจะเกิดขึ้น<O:p></O:p>
    องค์ธรรมของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ที่ใน ติเหตุก ชวนจิต ๓๔
    <O:p></O:p>
    อนึ่ง ใน วิภังคอรรถกถาแสดงว่า ความเฉยที่เรียกว่า อุเบกขานั้น มีถึง ๑๒ ประการ คือ
    <O:p></O:p>
    (๑) อญาณุเบกขา เป็นความเฉยที่ไม่รู้อะไรเลยหรือเฉยเพราะไม่รู้ องค์ธรรม ได้แก่ โมหเจตสิก
    <O:p></O:p>
    (๒) ฉฬังคุเบกขา เป็นความเฉยของพระอรหันต์ ที่ไม่หวั่นไหวต่ออิฏฐา รมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ในเมื่อประสบกับอารมณ์ทั้ง ๖ องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัช ฌัตตตาเจตสิก
    <O:p></O:p>
    (๓) พรหมวิหารุเบกขา เป็นความเฉยอย่างพรหม ที่ไม่สงสาร ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ต่อสัตว์ทั้งหลาย คือไม่มีอคติ องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
    <O:p></O:p>
    (๔) โพชฌงคุเบกขา เป็นความเฉยที่เป็นองค์แห่งความตรัสรู้ คือ ไม่ยินดี ยินร้ายต่ออารมณ์กัมมัฏฐานในขณะที่เจริญวิปัสสนาภาวนา เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในโพธิปักขิยสังคหะนี้เอง องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
    <O:p></O:p>
    (๕) วิริยุเบกขา เป็นความเฉยต่อความเพียร หมายความว่า ให้มีความเพียร อย่างกลาง อย่างพอดีที่คู่ควรแก่สมาธิ อย่างที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทาในการเจริญ วิปัสสนาภาวนา องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก
    <O:p></O:p>
    (๖) สังขารุเบกขา เป็นความเฉยต่อสังขาร คือรูปนาม ที่ประจักษ์ความเกิด ดับในขณะเจริญวิปัสสนา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก
    <O:p></O:p>
    (๗) เวทนุเบกขา เป็นความเฉยต่อเวทนาที่ได้เสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ ไม่สุข ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก
    <O:p></O:p>
    (๘) วิปัสสนุเบกขา เป็นความเฉยต่อรูปนาม หรือต่อไตรลักษณ์ที่ตนกำหนด พินิจอยู่ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก
    <O:p></O:p>
    (๙) อาวัชชนุเบกขา เป็นความเฉยต่อการรับอารมณ์ทางปัญจทวารวิถี และ มโนทวารวิถี องค์ธรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก ที่ใน ปัญจทวาราวัชชนจิต และมโน ทวาราวัชชนจิต
    <O:p></O:p>
    (๑๐) ตัตรมัชฌัตตุเบกขา เป็นความเฉยที่ไม่เอนเอียงไปในทางอคติใด ๆ คือ ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา และภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตา เจตสิก
    <O:p></O:p>
    (๑๑) ฌานุเบกขา เป็นความเฉยต่อความสุขในจตุตถฌาน เมื่อจะขึ้นสู่ ปัญจมฌาน องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
    <O:p></O:p>
    อีกนัยหนึ่งแสดงว่า อุเบกขา คือองค์ฌาน เฉยอยู่ด้วยความเพ่ง ตั้งมั่นอยู่ด้วย สมาธิ ตั้งเฉยอยู่โดยปกติ ไม่เอนเอียงตกไปตามนิวรณ มีกามฉันทะเป็นต้น หมายถึง ตั้งมั่นเฉยอยู่ในอารมณ์ที่ตนพินิจ
    <O:p></O:p>
    (๑๒) ปาริสุทธุเบกขา เป็นความเฉยในปัญจมฌาน ที่ไม่ได้ติดอยู่ในสุข เหมือนจตุตถฌาน คือเฉยเพราะละสุขเสียได้แล้ว ดังมีข้อเปรียบไว้ว่า สติเป็นไป ด้วยกับปัญจมฌานนั้น เป็นสติปาริสุทธิ เพราะเหตุเป็นไปด้วยอุเบกขา ดังนั้น ปาริ สุทธุเบกขานี้จึงได้แก่ปัญจมฌานนั่นเอง องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก


    พระอภิธรรมออนไลน์...</O:p>
     
  15. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ...........แต่ก็ไม่ยากเกินไป.............................:cool:
     
  16. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ผมทำกะทู้ อนุปัสสนา ๗ ไว้ ลองทำความเข้าใจก่อน ^^

    อ่านคู่ไปกลับปัญญานิเทศ ของคุณจิตใจเลิฟสิ

    จะเข้าใจ ว่าทำไมควรมีรูปนามปริเฉทเป็นอารมณ์ก่อน :cool:
     
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .............. ความสมดุลย์แห่ง สมถะและวิปัสนานั่นแหละ....เพราะสัญญาก็เป็นสมถะอย่างหนึ่งคือการเพ่งเฉพาะ...พิจารณาเฉพาะ ก่อนที่จะเกิดญาน(ความรู้):cool:
     
  18. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    อ่านแล้ว อ่านแล้วพี่ ไม่มีปัญหาอะไรหรอก...สัญญาเพ่งพิจารณา(สมถะ) เกิดก่อน ญาน:cool:
     
  19. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    กำหนดทุกข์ กำหนดที่ลักษณะที่ปรากฏในปัจจุบัน

    กำหนดรู้ธาตุ ขันธ์ อายตนะ ในความไม่เที่ยง ไม่ใช่เรา หรือคนสัตว์ เป็นวิปัสสนา

    หากกำหนดรู้ความไม่เที่ยงถูกต้อง ในขณะที่ลักษณะทุกข์ปรากฏ

    มันจะค่อยๆดับให้เห็น ขณะที่กำลังรู้นั้นแหละ คือขณะที่ทนอยู่ไม่ได้ปรากฏชัด

    เมื่อรู้ถูก สภาพจิตจะเป็นกุศลจิต เช็คได้ ตรงความเบากาย เบาใจ โล่งขึ้นมาขณะนั้นเลย
     
  20. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    จริงจริงก็ ต้องเริ่มมาจาก สัมมาทิฎฐิก่อน...ไม่ได้เถียงอะไรน่ะพี่เห็นด้วยกับการภาวนาด้วยอินทรีย์สังวร อยู่แล้ว แต่ถ้าเสริมด้วย สติปัฎฐานสี่(ที่เป็นพระสูตร) จะแจ่มยิ่งขึ้นครับ:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...