สอบถามเรื่อง "การเจริญสมาธิ ช่วงเข้าสู่ อัปนาสมาธิ"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย aforyou, 13 มกราคม 2010.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เอา มาฝากเจ้าของกระทู้ครับ ลองอ่านดู


    คำว่า  วิตก 
     
    ซึ่งมี ในคำว่า รูปวิตก สัททวิตก  คันธวิตก รสวิตก  โผฏฐัพพวิตก  ธรรมวิตกนั้น  ท่านตั้งวิเคราะห์ไว้ว่า  วิตกฺโก  แปลว่า  สิ่งใดนึก  สิ่งนั้นชื่อว่า วิตก  อีกอย่างหนึ่งว่า  ความนึกชื่อว่า วิตก  ดังนี้
     
         
    เพราะฉนั้นคำว่า วิตก จึงแปลได้ อย่าง  คือ แปลว่า ผู้นึก๑ ความนึก๑  แต่ที่แปลว่าผู้นึกนั้น  หมายความถึงคนและสัตว์ซึ่งเป็นเจ้าของ    คำว่า  ความนึกนั้น  หมายถึงอาการแห่งจิตใจ 
        
    เพราะฉะนั้นคำว่า 
    รูปวิตก จึงแปลว่า  ความนึกในรูป 
    สัททวิตก    ความนึกในเสียง
    คันธวิตก    ความนึกในกลิ่น
    รสวิตก   ความนึกในรส
    โผฏฐัพพวิตก    ความนึกในโผฏฐัพพะ
    ธัมมวิตก   ความนึกในธรรม    ดังนี้
      
          
    รวมความว่า  ความนึกซึ่งเรียกว่า วิตก นี้
    หมายความนึกในเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ฯ 
     
          
    ความนึกในเรื่องรูป   เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น  เป็นความนึกดีก็มี  นึกไม่ดีก็มี  นึกกลางๆก็มี 
     
        
    ถ้าเป็นความอยากได้   หรือ นึกเกลียด  นึกโกรธ ก็เป็นความนึกไม่ดี เรียกว่า อกุศลวิตก   
          
    ถ้าเป็นความนึก ประกอบด้วย  เมตตา  กรุณา  หรือเป็นความนึก  อยากพรากจิตใจ ออกจากความรักใน  รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์   ก็เป็นความนึกที่ดี เรียกว่า กุศลวิตก
     
        
    ถ้าเป็นความนึกเฉยๆ คือ ไม่ดีไม่ชั่ว อันใดไม่เป็นกุศล อกุศลอย่าไร   เพราะฉะนั้น จงเข้าใจเถิดว่า   วิตก คือ  ความนึกในรูป  เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น  เป็นได้ทั้งดีทั้งชั่ว  และกลางๆดังนี้
     
    (
    พระสุตตันตปิฎก  ขุ. ปฏิสัมภิทามรรค  เล่ม หน้าที่ ๑๑๒-๑๑๓ )
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    คำว่า วิจาร
    ซึ่งมีอยู่ใน
    รูปวิจาร
    สัททวิจาร
    คันธวิจาร
    รสวิจาร
    โผฏฐัพพวิจาร
    ธรรมวิจารนั้น
    ท่านตั้งวิเคราะห์ไว้ว่า อารมฺมเณ เตนจิตตํ วิจรตีติ วิจาโร วิจรณํ วา วิจาโร อณสญจรนนฺติ วุตฺตํ โหติ แปลว่า จิตย่อมเที่ยวไปในอารมร์ด้วยความนึกนั้น

    เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า วิจาร อีกอย่างหนึ่งว่า ความเที่ยวไป ชื่อว่า วิจาร อธิบายว่า ได้แก่ความสัญจรไปเนืองๆ ดังนี้

    ได้ใจความตามคำของท่านนี้ว่า

    วิจารนั้น แปลว่า ความเที่ยวไปแห่งจิต ความสัญจรไปเนืองๆแห่งจิต ดังนี้

    แต่ในภาษาของเราไม่มีคำที่พูดกันอย่างนี้ ไม่มีใครเคยพูดกันว่า ความเที่ยวไปแห่งจิต ความสัญจรไปเนืองๆแห่งจิต เพราะฉะนั้น

    คำว่า วิจาร จึงนิยมแปลกันว่า ความตรอง ซึ่งไม่ถูกกับความหมายแห่งคำเดิมแท้ ถ้าจะให้ถูกกับความหมายคำเดิมแท้ ก็ต้องแปลว่า ความเที่ยวไป แต่คำว่าเที่ยวไปนี้เราหมมายความกันว่า เป็นการเที่ยวไปด้วยเท้าของคนและสัตว์นั้นๆ ไม่ได้หมายถึงการเที่ยวไปแห่งใจ ความจริงนั้นไม่ได้เที่ยวไปด้วยเท้าเท่านั้น ใจก็เที่ยวไปด้วย ใจยิ่งเที่ยวมากกว่าเท้า ม้แต่ชั่วเราหายใจออก หายใจเข้า ใจก็เที่ยวไปหลายแห่งแล้ว

    ที่เที่ยวไปของใจนั้นก็ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
    ใจย่อมเที่ยวไปในสิ่งเหล่านั้นเพราะฉะนั้น ถ้าจะแปลให้ถูกตามความหมายเดิม

    ควรแปลว่า
    ความเที่ยวไปใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

    คือ รูปวิจารนั้น ควรแปลว่า ความเที่ยวไปในรูป

    สัททวิจาร ความเที่ยวไปในเสียง

    คนธวิจาร ความเที่ยวไปในกลิ่น

    รสวิจาร ความเที่ยวไปในรส

    โผฏฐัพพวิจาร ความเที่ยวไปในโผฏฐัพพะ

    ธรรมวิจาร ความเที่ยวไปในธรรมมารมณ์

    สัญญา คือ ความจำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมมารมณ์ สัญเจตนา คือ ความจงใจใน รุป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมมารม์

    วิตก คือ ความนึกในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

    วิจาร คือ ความตรองในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐํพพะ ธรรมมารมณ์ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า เป็นของควรรู้ด้วยปํญญาอันยิ่งทั้งนั้น ถึงธาตุ 6 กสิณ 10 ก็เป็นที่ควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งทั้งนั้น ดังนี้ สิ้นเนื้อความในเทศนากัณฑ์นี้ ........
     
  3. KritZ_2530

    KritZ_2530 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +293
    พี่เอ ที่ผมดูจิตของพี่ออกเพราะว่ามันเคยปฏิบัติร่วมกันมาแต่อดีตหน่ะ
    ส่วนลูกแก้วพญานาคนั้นก็ให้กำไว้(จะทำให้จิตใจสงบ)
    คนอื่นจะกำแก้วพญานาคไม่ได้
    เพราะว่าเขาไม่ได้เคยมีประสบการณ์กับการเลี้ยงของพวกนี้
    พี่เคยเลี้ยงอสรพิษมาก่อน มันก็เลยเชื่อง(ถูกโฉลกกับของพรรค์นี้ก็ว่าได้)

    พี่กับผมปฏิบัติสายฤๅษีหน่ะ คนอื่นปฏิบัติวัตรไม่ถึงจะดูจิตเราไม่ออก
    คนปฏิบัติน้อยกว่าจะมาดูคนปฏิบัติมากกว่า เป็นไปไม่ได้(อย่างที่เคยบอกไว้)
    ถ้าติดขัดอย่างไรก็มาถามผมได้นะ ผมจะได้ดูให้^^
     
  4. aforyou

    aforyou Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +72
    ขอบคุณทุกคนนะคับ..ที่ช้วยสร้างความรู้ ความเข้าใจมากขึ้นในการฝึกสมาธิ ผมลองปฏิบัติตามที่บอกแล้ว แต่ว่ามันยากมากเลยคับ การที่มโนภาพเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมาและจะปล่อยให้มันดำเนินไปเอง โดยเราเป็นผู้ดูอยู่อย่างห่างๆ เพราะถึงมันจะเกิดโดยไม่ได้ตั้งใจ และดำเนินไปเอง แต่จิตผมสักแปบก็จะรู้ ว่ามันมีภาพนี้เข้ามานะ และพอรู้แล้วเราก็ปล่อยวางไม่ได้เหมือนเดิม มันคอยแต่จะคิดตาม และวอกแวก บางครั้งก็เข้าไปควบคุมมัน ทำให้สมาธิหลุดบ้าง หรือการภาวนาขัดข้อง ผมอาจใช้คำไม่ถูกต้องหรืออะไรไปบ้างนะคับ เพราะผมศึกษาเอง อาจจากหนังสือเล็กน้อย และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ไม่ได้มีผู้ใดชี้นำนัก จึงเกิดข้อสงสัย และถามพี่ๆ ในที่นี้ ยังไงก็ขอบคุณมากนะคับ ผมจะลองฝึกตามที่พวกพี่ๆ ได้บอกมาเรื่อยๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป ผมอาจไม่เข้าใจในคำศัพท์ที่ใช้กันมากนะคับ (ไม่เคยลงลึกขนาดนั้น) ต้องขอโทษในที่นี้ด้วยจิงๆ คับ ส่วนการปฏิบัติจะมากหรือน้อย ผมไม่อยากยึดติดมัน ขอแค่เราปฏิบัติด้วยใจก็น่าจะเพียงพอนะคับ..ขอบคุณคับ
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จริงๆ คุณนั้นสติปัญญาเฉียบแหลมอยู่ แต่ยังเอามันออกมาใช้ไม่ได้

    กล่าวคือ เห็นเหตุอยู่ แต่ยังทานความยั่วยวนของรูปนาม และความอร่อย
    ในการเสพรูปนามไม่ได้ จึงไม่สามารถระลุกดูอย่างเป็นกลางได้ หากระลึก
    ดูอย่างเป็นกลางได้ คุณจะรู้ลึกๆว่า ตรงนี้คือสมาธิ

    ประโยคที่ชี้ว่าคุณเห็นเหตุแล้วคือ

    "..และวอกแวก บางครั้งก็เข้าไปควบคุมมัน ..." คำว่าวอกแวก อันนี้คือ วิจิกิจฉา
    ลังเลว่าจะเอาอย่างไรกับมันดี ส่วนควบคุมมันไว้ เป็นความฟุ้งไปข้างหน้าของปัญญา
    เป็นธรรมุธัจจะ เป็นค้างฝุ้งไปทางธรรมไม่เสียหาย แต่ก็ไม่ควร เพราะหากดูลึกๆกว่านี้
    จะพบว่ามันคือความยึดมั่นถือมั่นบางอย่างที่บางเฉียบ และทั้งสองสภาวะนี้ มันเป็น
    เหตุให้คุณหลุดสมาธิ ก็เป็นอันตรงตามหลักการคือ นิวรณ์ธรรมเป็นตัวขวางกั้นสมาธิ

    หลักการภาวนา เวลาเจอรูปนามที่ยั่วยวล ปรกติเราจะคุ้นกันแต่รูปสาวๆ แต่โดยหลักธรรม
    แล้ว รูปนาม สี แสง เสียง รส กลิ่น สัมพัส มโน ล้วนคือ วัตถุกาม

    ดังนั้น คุณจะเห็นว่า วัตถุกามที่ปรากฏมันยั่วยวลขนาดไหน ยากมากที่จะผลักออกมา แล้ว
    เราจะใคร่ครวญอย่างไรให้เห็นทาง ก็คล้ายๆ วลีที่พระท่านเปรียบเทียบ มันก็เหมือนหนี
    สาวนั่นแหละ อันไหนที่พอทนดูได้ ก็ดูไปก่อน แต่อันไหนที่เห็นแล้วสู้ไม่ได้แน่ๆ ก็ต้องหนี
    ไว้ก่อน ก็เรียกว่า เราพิจารณาคุณ และ โทษ ของมันให้ถี่ถ้วน แล้วเฝ้นหาอุบายที่จะรับงับ
    รูปนามที่ร้ายกาจที่สุด...ตรงนี้ให้ทำตามความจำเป็น และต้องปฏิบัติเฉพาะหน้า ไม่ใช่ไป
    เตรียมเอาไว้ก่อน (แต่หลายท่าน นิยมตุนเอาไว้มากๆ ก่อน ก็แล้วแต่นะ ต้องพิจารณาเอา)

    เช่นเราเห็นหน้าคนบางคนผุดเข้ามา พลันความคิดสะระตะที่จะรับมือเขาก็ผุดไหลเป็นน้ำพุ
    ทำอย่างไรก็เป็นกลางไม่ได้ ฝึกฝนทนดูอย่างไรแล้วก็เป็นกลางไม่ได้ แบบนี้ก็ต้องหา
    อุบายมาช่วย เช่นแผ่เมตตา จะแผ่ไปตรงๆหน้าคนนั้นก็ผุดมาก่อนอีก เสร็จกัน ก็ต้องเลี่ยง
    แผ่ให้สรรพสัตว์ก่อน จนจิตชุ่มเย็นแล้ว ก็ค่อยแผ่ให้ตรงตัว แบบนี้ เวลาหน้าเขาโผลมา
    อีกเราจะดูอย่างเป็นกลางได้ ก็ดูจนมันดับไป( หลายคนไปพอใจที่อารมณ์เป็นกลาง จริงๆ
    ต้องดูจนเห็นรูปหน้านั้นดับไป โดยใจไม่ไหวเลย เพราะงานของเราคือ ต้องเห็น รูปนาม
    ล้วนเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา ) เป็นต้น

    ก็ลองพิจารณาดูนะ ต้องเอาไปประยุกต์ให้ตรงกับสภาวะธรรมเฉพาะหน้าของตน

    ที่เห็นศัพท์มากมาย อย่าไปตกใจ เป็นความจงใจป้อนคำศัพท์ไว้ เพื่อมีประโยชน์
    ในวันข้างหน้า เห็นคำศัพท์แล้วอย่าไปค้นคว้าอะไร ให้ดูผ่านๆ ไปก่อน พอปฏิบัติ
    ได้รสธรรมพอสมควร เดี๋ยวเจอคำศัพท์เหล่านี้อีกครั้ง จะค่อยๆ เข้าใจได้เอง

    ทำเท่าที่ทำได้ ดีแล้ว

    ทำได้เท่าไหร่แล้ว ก็อย่ายึดในความรู้นั้นว่ารู้แล้วเป็นแล้ว

    ให้ทิ้ง แล้ว เริ่มนับจาก 0 เสมอ กันลูกท้อได้ กับลูกบึ๊ดจ๊ำบึ๊ดได้...ไปเรื่อยๆดีกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2010
  6. KritZ_2530

    KritZ_2530 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +293
    ฝึกต่อไปเรื่อยๆนะพี่เอ จิตมันจะทรงฌานสี่
    จะทำให้เป็นคนหน้าหวาน เสียงกังวาน ถือเพศพรหมจรรย์ มีกายผ่องใส
    ในชีวิตประจำวันจะดำเนินไปด้วยกำลังของฌานสี่ในทุกอิริยาบถ
    ถ้านั่งเอาจริงเอาจัง ทุกวันๆๆๆ มันจะเป็นไปของมันเอง ผมดูแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2010
  7. KritZ_2530

    KritZ_2530 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +293
    ต่อไปเวลาจะเพ่งกสิณไฟหรือกสิณแสงสว่าง ไม่ต้องไปจับนิมิต
    ไปจับอารมณ์แทน แ้ล้วก็เล่น"โสตัตตะภิญญา"
     
  8. KritZ_2530

    KritZ_2530 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +293
    ถ้าพี่เอจะเล่น"โสตัตตะภิญญา" ไม่ต้องไปจับจิตอยู่ที่นิมิต
    ให้ปล่อยนิมิตพวกนั้น แล้วก็เอาจิตมาดูอารมณ์แทน
    แล้วก็ค่อยๆประคองอารมณ์กับฌานพวกนั้นไปเรื่อยๆ
     
  9. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ดีแล้วครับ ฝึกต่อไปอย่าพึ่งไปพิจารณาอะไรมากเอาแค่เห็นแล้วก็ปล่อยไปก่อน อาการเหมือนคนอารมณ์ค้างเลยนะครับ ตอนนี้ การทำสมาธิ เริ่มจะเข้าใกล้ความสงบมากแล้วเหลือแต่ อย่าไปจับอารมณ์ความรู้สึกเอาไว้ครับ บริกรรมยังไงก็เอาสติกำกับไว้ เมื่อหลุดก็รู้ว่าหลุด เมื่ออยู่ก็รู้ว่าอยู่ ไม่ว่าจะบริกรรมภาวนา หรือ กำหนดลม หรือ นิมิต ทำไมถึงจะรู้ได้ละ ก็ลองทำดูแล้วสังเกตดูว่า เมื่ออยู่ในองค์ภาวนานั้นมีสิ่งใดสอดแทรกบ้าง แค่สังเกตเฉยๆ อย่าไปวิเคราะห์หรือพิจารณาอะไรว่ามันเกิดเพราะอะไรช่างหัวมันก่อน อย่าไปสนใจ เมื่อระลึกได้ก็กลับมาทำไปจนกว่ามันจะนิ่งคือ ไม่มีสิ่งสอดแทรกใด แต่เราก็ต้องรู้จริงๆนะ แบบมีสติจริงๆนะ ห้ามหลอกตัวเองเป็นอันขาด แรกๆมันก็จะยากแต่พอเป็นแล้วจะทำให้นานเท่าไหร่ก็ทำไป สำคัญคือสติต้องมีตลอด ทีนี้พอมันนิ่งเต็มที่แล้ว หมายถึง ไม่มีเรื่องอื่นไม่มีความคิดอยู่อย่างนั้นแล้ว ก็ออกจากสมาธิ อยู่นิ่งๆทบทวนความรู้สึกหลังออกจากสมาธิสิ ว่ามันสงบ นิ่ง สุขุม และ เบิกบานใจไหม หากยังไม่เป็นแบบนั้นก็แสดงว่าสติสัมปัชชัญญะ ยังไม่พร้อมจิตยังไม่มีกำลังพอ ยังไม่ต้องไปสาวหาเหตุผลอะไรทั้งสิ้น หรือจะลองก็ได้นะถ้าอยากพิจารณาธรรม แต่แนะนำว่าอย่าพึ่งรีบร้อนเลย ทำแค่รู้แล้วปล่อยไปก่อน เพราะสติ สมาธิ ของจิต ยังไม่พอต่อการพิจารณาในขั้นนั้น ไม่อยากกำหนดว่าฌานอะไรนะครับ แต่ทำไปแล้วจะเห็นว่าความสุขที่เกิดเมื่อจิตสงบด้วยสติและสมาธินั้นมันไม่ได้ทำให้เรากลายเป็นคนเมินเฉยต่อสิ่งรอบตัว กลับตรงกันข้ามจะไวต่อการกระทบเสียด้วยซ้ำ ทุกๆอารมณ์ และความรู้สึกนั่นแหละที่เกิดขึ้น คือ จะบอกว่ามัน sensitive มากขึ้นแต่มีความทนทานต่อสิ่งกระทบมากขึ้นเช่นกัน ประมาณว่า รู้แล้วแต่ไม่ได้คิดอะไรทำนองนั้นครับมันจึงไม่ค่อยรู้สึกอะไร ชอบ หรือ เกลียด หรือ โกรธ นี่แหละแบบเอาสมาธิล้วนๆ
    อนุโมทนาด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2010
  10. KritZ_2530

    KritZ_2530 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +293
    ท่องคาถาเปิดตาที่สาม จะทำให้การรับรู้ข้อมูลทางจิตเป็นไปไ้ด้เที่ยงตรงยิ่งขึ้น(แค่นั้น!)
    ไม่เกี่ยวข้องกับผีสางอะไรทั้งสิ้น

    แต่ละคนท่องคาถาเปิดตาที่สาม
    จะเห็นผีหรือไม่ มันเป็นวาระที่ถูกกำหนดล่วงหน้ามาในแ่ต่ละคน
    แล้วก็ไม่เกี่ยวกับคาถาเปิดตาที่สามเลยแม้แต่น้อย (ผมดูให้แล้ว)

    ผมท่องคาถาเปิดตาที่สาม แล้วไม่เห็นผี
    เป็นเพราะว่า ผมไม่ได้ถูกกำหนดมาให้เห็นผี
    จึงไม่มีวาระเห็นผีในผมทั้งสิ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2010
  11. KritZ_2530

    KritZ_2530 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +293
    กรรมฐานของมัน ล้ำหน้ากว่าเราอีกอ่ะ
    ซูฮกให้เลยพี่กู
    ต้องยอมให้มันล้ำหน้า ก็มันเป็นพี่เรา
    เฮ่อ!!! เซ็งเป็ด
    ชิ!!! - -"
     
  12. KritZ_2530

    KritZ_2530 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +293
    สมาธิพี่นี่ดีจังเลยน๊อ เหมือนผิวน้ำนิ่งๆไหลเอื่อยๆ อิอิ^^ (ดูให้แล้ว)
     
  13. KritZ_2530

    KritZ_2530 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +293
    ผมน่าจะเชื่อพี่เอตั้งแต่แรก
    พี่เอเคยเตือนผมล่วงหน้าว่า
    ให้อุเบกขาไป เราช่วยอะไรเขาไม่ได้หรอก

    จริงอย่างที่พี่เอว่ามานั่นแหละ
    เรา่ช่วยอะไรไม่ได้จริงๆ
     
  14. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983

    เคยเข้าถึงจุดที่สมาธิระดับอัปนาสมาธิ ถ้าการฝึกหัดไม่ต่อเนื่องต่อในขณะนั้น มันก็จะเสื่อมได้ เพราะคิดว่าได้แล้วได้เลย เหมือนสิ่งของ แท้จริงแล้วไม่ใช่ มันเสื่อมได้........ยิ่งรู้แล้วคิดก่อนว่าเดี๋ยวก็จะเป็นอย่างนั้น รู้ก่อนเกิด วิตกล่วงหน้า มันก็จะชะงัก สะดุดทันที สมาธิขาดตอน ขาดช่วง เหมือนจิตแวบไปคิดเรื่องอื่น........ของเคยได้แล้วหายไป มันก็ยิ่งอยากได้คืน ความอยากตัวนี้ทำให้เราเร่ง บีบบังคับจิตให้สะกดจิตของเรามากยิ่งขึ้น

    ต่อไปจะเกิดการเครียด กล้ามเนื้อเกร็งไม่ทราบสาเหตุ ต้องระวังตัวด้วย ผ่อนคลาย เลิกการฝึกหัดสักระยะหนึ่ง แล้วทบทวนความจำถึงลำดับขั้นการวางจิตในการทำสมาธิใหม่........เมื่อทิ้งระยะไปสักพักเห็นว่า พอลดความอยากได้แล้วก็มาฝึกใหม่ ไม่สนใจอยากรู้ อยากเห็น เพ่งอยากได้ เช่นเดิม ก็จะก้าวหน้าต่อไปได้ จำทางเก่าได้หรือเปล่า ตามรู้อย่างเดียว อย่าเพ่งเพื่ออยากได้....มิฉะนั้น มันจะหลุดเหมือนอย่างเก่า

    การฝึกโดยใช้อานาปานสติ จะได้ปัญญาญาณและความสงบ ถ้าอยากได้สิ่งที่เป็นทิพย์ ต้องหานิมิตอื่น แทนลมหายใจ เช่น กสิณต่าง ๆ จะไปได้เร็ว โดยอาศัยสมาธิที่ได้แล้วนี้แหละ เป็นกรรมฐานต่อไป.....
     
  15. piya9999

    piya9999 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +56
    ผมก็มีอาการคล้ายๆ จขกท. เวรกรรมเนาะไม่ไปไหนซักทีเรา
     
  16. Dhamma T-PO

    Dhamma T-PO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +184
    ขออนุโมทนากับคุณ aforyou ด้วยครับ

    ตามความคิดเห็นของผมนาจะเป็นการทรงฌาน 4 นะครับ

    เมื่อก่อนผมก็คอยเฝ้าถามคนโน้น คนนี้ที กับเรื่องอาการของสมาธิ

    แต่พอปฏิบัติมาถึงจุดหนึ่ง ก็จะสามารถทราบได้เอง แยกได้เองครับ

    ว่าตอนนี้เราอยู่ในฌานอะไร ตัวผมเองก็มีอาการเหมือน คุณ aforyou

    คือวันนั้นผมนั่งสมาธิอยู่บนรถบัส (รับส่งพนักงาน) นั่งอยู่ได้ประมาณ ซักพัก

    เริ่มรู้สึกถึงอาการตัวหาย ลมหายใจเบาอย่างมาก แล้วก็มีอาการเหมือนว่ามันเคลิ้มๆ

    เหมือนว่าจะหลับ แต่ในความรู้สึกตรงนั้น รู้สึกว่า รถขับเร็วอย่างมาก ซักพักก็เคิ้ลมๆอีก

    แต่มันก็กับรู้สึกจิตมันรู้สึกโดดๆ ไม่สนใจอะไร (ตรงนี้เป็น ฌาน3 ครับ ตอนแลกขั้นใจผิด

    คิดว่าน่าจะเป็นฌาน4 แต่มันไม่ใช่ครับ ) ต่อมาก็มีอาการวูบครับ คราวนี้ไม่มีความง่วง

    ไม่เคลิ้ม จิตมันโดดไม่สนใจอะไรทั้งสิ้นครับ แต่สามารถคิดอะไรได้ ได้ยินเสียงรอบข้าง

    เบามากแต่ยังคงได้ยิน ไม่ใจไม่สนใจอะไรทั้งสิ้นเลย มีความรู้อยากนั่งอย่างนี้ไปตลอด

    แต่พอออกจากสมาธิ ก็เลยสิ้นสงสัยในอารมณ์ของฌาน ส่วนเวลาในการนั่งสมาธิใน

    ความรู้สึกอาจจะแค่ 10 - 15 นาที แต่จริงแล้ว ผ่านไปเป็นชั่วโมง แต่หลังจากออกมา

    ก็มีอารมณ์ เหมือนตอนอยู่ในฌาน คือไ่ม่สนใจอะไรทั้งนั้น ไม่รู้สึกรำคาญ หงุดหงิด

    หรือโกรธ มีสติมากขึ้น รู้สึกว่ากายก็เบา ใจก็เบา ไม่อยากคุยกับใครทั้งนั้น

    น่าจะเป็นอาการของการทรงฌาน แต่อาการอยู่กับผมได้ไม่นาน พอกลับถึงบ้าน

    แม่่คุยอะไรก็ไม่อยากคุย ได้แต่ฟัง แม่ก็แปลกใจ แต่พอซักพัก พอกินข้าวเสร็จ

    ไปนั่งเล่นคอม เล่นเกมส์ อาการ ไม่สนใจ ยินดียินร้าย ก็หายไป ครับ



    คุณ aforyou ฝึกจนเข้าฌาน4 ให้ได้บ่อยนะครับ

    สามารถฝึกแบบข้ามฌานไปเลยก็ได้ อย่างเช่น นั่งแล้วไปที่ ฌาน 3 เลย

    ไม่่ต้องผ่าน 1และ2 วิตกและวิจาร กำหนดไปที่อารมณ์สบายตอนอยู่ ฌาน 3 เลยก็ได้

    ตอนนี้ผมก็ฝึกอยู่ แต่ที่สำคัญต้องจำอารมณ์นั้นให้ได้ ลองฝึกไปเรื่อยๆ นะครับ จะจำได้เอง

    บางที อาจจะแค่ 10 - 20 นาทีอาจจะเข้าฌาน 4 ไปเลยก็ได้ครับ

    สมาธิไปถึงขั้นไหน อย่างไร ก็มาแชร์ กันนะครับ
     
  17. p_at

    p_at สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +5
    ไม่ทราบว่าท่านเป็นพระหรือ ฆารวาสครับ ถ้าเป็นฆารวาสปฏิบัติ ได้ขนาดนี้ถือว่าไม่ธรรมดา ผมภาวนามา ยังไม่เห็นความสงบเลย ขอคำแนะนำหน่อย
     

แชร์หน้านี้

Loading...