โลกียสมาธิไม่จำเป็นต่อการบรรลุธรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ท่ามกลาง, 12 มีนาคม 2012.

  1. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
    [FONT=&quot]โลกียสมาธิไม่จำเป็นต่อการบรรลุธรรม[/FONT]

    [FONT=&quot]พระองค์ทรงแสดงไว้ว่ารูปฌานและอรูปสมาบัติ ยังมิใช่ธรรมชั้นที่เป็นเครื่องขูดเกลา เป็นเพียงเครื่องสงบอยู่ในอริยวินัย (พุทธวัจน[/FONT][FONT=&quot]: [/FONT][FONT=&quot]รูปฌานและอรูปสมาบัติ ยังมิใช่ธรรมชั้นที่เป็นเครื่องขูดเกลา[/FONT][FONT=&quot])[/FONT]

    [FONT=&quot]ทราบกันดีว่าการบรรลุธรรมนั้นจะต้องกำจัดกิเลสเครื่องร้อยรัดต่างๆ ซึ่งก็คือ สังโยชน์สิบ[/FONT]
    [FONT=&quot]โอรัมภาคิยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดสัตว์เป็นไปในภพเบื้องต่ำ) ได้แก่ สักกายทิฏฐิ(ความเห็นผิดว่ากายและจิตเป็นเรา เป็นของเรา) วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ(ความพอใจในกาม) ปฏิฆะ(ความไม่พอใจ)[/FONT]
    [FONT=&quot]อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดสัตว์เป็นไปในภพเบื้องบน)ได้แก่ รูปราคะ(ความพอใจในรูป เช่น รูปฌาณ) อรูปราคะ(ความพอใจในอรูป) มานะ(ความสำคัญมั่นหมายในตน) อุทธัจจะ(ความฟุ้ง) อวิชชา[/FONT]

    [FONT=&quot]พระโสดาบันสามารถละสังโยชน์๓ ได้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส[/FONT]
    [FONT=&quot]พระสกทาคามีสามารถละสังโยชน์๓ ได้เหมือนพระโสดาบัน และบรรเทาราคะโทสะโมหะให้เบาบาง[/FONT]
    [FONT=&quot]พระอนาคามีสามารถละสังโยชน์เบื้องต่ำ๕ ได้[/FONT]
    [FONT=&quot]พระอรหันต์สามารถละสังโยชน์ทั้งสิบได้[/FONT]

    [FONT=&quot]สามารถจัดหมวดหมู่สังโยชน์ใหม่ในรูปกิเลสจะได้เป็น[/FONT]
    [FONT=&quot]ราคะ = กามราคะ รูปราคะ อรูปราคะ[/FONT][FONT=&quot]
    โทสะ = ปฏิฆะ
    โมหะ = มานะ อุทธัจจะ อวิชชา[/FONT]

    [FONT=&quot]ส่วนถ้าจัดตามขันธ์ห้าจะได้ดังนี้[/FONT][FONT=&quot]
    เวทนาขันธ์ (อารมณ์ต่างๆ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์) = กามราคะ ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ
    สัญญาขันธ์ (จำได้ หมายรู้) = มานะ
    สังขารขันธ์ (คิดนึกปรุงแต่ง) = อุทธัจจะ
    วิญญาณขันธ์ (ตัวรับรู้) = อวิชชา[/FONT]
    [FONT=&quot]จะเห็นได้ว่าสังโยชน์ทั้งหลายก็คือ กรรมอนุสัย กรรมกิเลส ประจำขันธ์ต่างๆ นั่นเอง[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ผู้ปฏิบัติที่คอยประคองรักษาจิต เมื่อจิตสงบก็พอใจ ปฏิเสธ(ปฏิฆะ)จิตไม่สงบ คอยกระทำจิตให้กลับมาสงบ จะตอกย้ำกรรมอนุสัย กรรมกิเลสดังต่อไปนี้[/FONT]
    [FONT=&quot]- เมื่อคอยเฝ้ารู้ จะตอกย้ำอวิชชา(ความไม่รู้ [/FONT][FONT=&quot]-- [/FONT][FONT=&quot]ว่าทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง ไม่ใช่ของเรา ไม่ควรสนใจ)[/FONT]
    [FONT=&quot]- เมื่อรู้แล้วไปวิพากษ์วิจารณ์ ให้ความเห็น จะตอกย้ำมานะ(ความสำคัญมั่นหมายในตน)[/FONT]
    [FONT=&quot]- ให้ค่าให้ความหมายแล้วพอใจไม่พอใจ จะตอกย้ำรูปราคะ อรูปราคะ(ความพอใจ) ปฏิฆะ(ความไม่พอใจ)[/FONT]
    [FONT=&quot]- พอยินดียินร้ายแล้วคอยกระทำจิต จะตอกย้ำสักกายทิฏฐิ(ความเห็นผิดว่ากายและจิตเป็นของเรา)[/FONT]
    [FONT=&quot]จะเห็นได้ว่าการคอยประคองรักษาจิตจะมีแต่เพิ่มพูนกรรมอนุสัย กรรมกิเลสให้มากขึ้น ไม่มีโอกาสจะเป็นอริยบุคคลชั้นต้นด้วยซ้ำไป[/FONT]

    [FONT=&quot]ส่วนผู้ปฏิบัติที่สักแต่ว่ารู้ คือ ไม่ไปเจตนารู้ ปล่อยให้มันรู้ของมันเอง ไม่มีหน้าที่ไปวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ต้องไปพอใจไม่พอใจ ไม่คอยผูกคอยแก้ ก็จะไม่ไปคอยตอกย้ำกรรมอนุสัย กรรมกิเลสต่างๆ ที่กล่าวมา ซึ่งกรรมอนุสัยบางตัวยังแรงอยู่ แรกๆ ก็อาจไหลตามไปบ้าง เป็นการชดใช้กรรมวิบาก ถ้าเกิดเองเป็นเองก็ไม่เป็นไร ไม่เป็นเจตนากรรม ไม่ตอกย้ำกรรมอนุสัย เมื่อไม่สร้างเหตุ(เจตนากรรม)เพิ่ม ผล(วิบาก)ก็จะค่อยๆ ลดลงและสามารถนอกเหนือกรรมอนุสัย กรรมกิเลสต่างๆ ไปได้เอง(อ่านเพิ่มเติมใน[/FONT][FONT=&quot]สังโยชน์สิบ[/FONT][FONT=&quot] และ[/FONT][FONT=&quot]กรรมไม่ใช่นิพพาน นิพพานไม่ใช่กรรม[/FONT][FONT=&quot])[/FONT]

    เจริญพร
    พระต่อศักดิ์ วชิรญาโณ
    วัดร่มโพธิธรรม ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย 42190
    www.rombodhidharma.com
     
  2. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
    [FONT=&quot]ส่วนเรื่องที่ในพุทธวัจนมีการกล่าวถึงการทำสมาธินั้น เป็นเพราะในครั้งพุทธกาลมีฤาษีดาบสที่ทรงตบะฌาณ ติดสมาธิ ติดความสงบ พระองค์ก็ทรงสอนให้เขาออกจากสิ่งที่ติดอยู่ เวลาจะสอนจึงต้องพูดถึงสิ่งที่เขาติดอยู่นั้น แล้วสอดแทรกสหัสนัยแห่งนิพพานลงไป เช่น “ตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ” หรือ “เห็นอนิจจสัญญา” (อ่านเพิ่มเติมใน[/FONT][FONT=&quot]อาจสงสัยว่าทำไมในพุทธวัจน จึงมีการกล่าวถึงการทำสมาธิด้วย[/FONT][FONT=&quot])[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ถ้าลองอ่านพุทธวัจน[/FONT][FONT=&quot]“[/FONT][FONT=&quot]สมาธิ(สมาบัติ)ทุกขั้นตอนใช้เป็นบาทฐานในการเข้าวิมุตติได้ทั้งหมด” จะทราบว่าไม่ว่าจะฌาณหนึ่งหรือสมาบัติขั้นใดก็สามารถใช้เป็นบาทฐานเข้าวิมุตติได้ทั้งหมด [/FONT][FONT=&quot]ซึ่งไม่ตรงกับความเชื่อของชาวพุทธในปัจจุบันว่าควรจะได้อย่างน้อยฌาณสามหรือฌาณสี่ถึงจะมีกำลังพอ ซึ่งความจริงแล้วโลกียสมาธิไม่มีความจำเป็นใดๆ ต่อการเข้าวิมุตติเลย ถ้ามีความจำเป็นแล้วฌาณระดับสูงๆ ก็น่าจะสามารถหลุดพ้นได้ง่ายกว่า องค์พุทธะเพียงชี้ว่าไม่ว่าจะติดอยู่โลกียสมาธิชั้นใด ก็ให้วางความยึดติดใดฌาณชั้นนั้น (เพราะโลกียสมาธิเป็นตัวเพิ่มความยึดติดดังที่อธิบายไว้แล้ว) กล่าวคือ ติดฌาณหนึ่งก็ให้วางฌาณหนึ่งแล้วมาเห็นอนิจจสัญญา ไม่เจริญตัณหา ไม่ทำตามความอยาก ก็จะหลุดพ้น(จากความยึดติดในจิต)เอง (อ่านเพิ่มเติมใน[/FONT][FONT=&quot]ถ้าเข้าใจผิด ก็ประพฤติผิด[/FONT][FONT=&quot])[/FONT]

    [FONT=&quot]ความเชื่อที่ว่าสมาธิทำให้จิตมีกำลังเพื่อบรรลุธรรมนั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด[/FONT]
    [FONT=&quot]การปล่อยการวาง ก็คือ ไม่ต้องไปยุ่งกับมัน ไม่มีตัวตนไปข้องเกี่ยว แค่ปล่อยให้มันผ่านไปเอง[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าเป็นการยึดการติด จะต้องมีเจตนากรรม มีตัวตนไปคอยติด จะต้องใช้ความพยายามที่จะยึด[/FONT][FONT=&quot]! เรียกว่า ฝีมือล้วนๆ (ที่ไปคอยยึดเอาไว้ ไปคอยสร้างกรรมไว้) และคงต้องบอกว่าเป็นการทำตัวเองให้ลำบากแท้ๆ เพราะต้องไปคอยรู้มัน ไปคอยวิพากษ์วิจารณ์ ไปพอใจไม่พอใจ แล้วค่อยวางมัน ไปหลง(มีตัวตน)คอยติดแล้วยังต้องหลง(มีตัวตน)คอยหลุดอีก นอกจากนั้นยังต้องลำบากไปชดใช้ผลแห่งกรรมอีกต่างหาก (เนื้อความบางส่วนจาก[/FONT][FONT=&quot]เหตุเสื่อมแห่งศาสนา[/FONT][FONT=&quot])[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ส่วนที่บอกว่าสมาธิเป็นเหมือนเรือหรือแพเพื่อพาข้ามฝั่งไปยังนิพพานนั้น ก็เป็นความเข้าใจผิดเช่นกัน พระพุทธเจ้าทรงเปรียบบุรุษหนึ่งจะข้ามลำธาร จึงได้รวบรวมกิ่งไม้เพื่อทำแพขึ้น เมื่อข้ามลำธารได้แล้วก็เกิดความคิดว่าแพนี้มีอุปการะต่อเรามาก เราน่าจะแบกมันทูนหัวไปด้วยกับเรา ซึ่งองค์พุทธะทรงชี้ว่าความจริงแล้วก็ควรทิ้งแพนั้นไว้ริมฝั่งนั้น ซึ่งแพที่องค์พุทธะกล่าวถึง คือ ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงไว้ ก็เพื่อให้ออกจากทุกข์ ไม่ใช่ให้มายึดถือเอาไว้ (อ่านพุทธวัจน[/FONT][FONT=&quot]: [/FONT][FONT=&quot]อย่ายึดถือติดแน่นในธรรม แต่จงใช้เพียงเป็นเครื่องมือ) กล่าวง่ายๆ คือ พระองค์ทรงชี้ให้คลายความยึดติดในสรรพสิ่งทั้งปวง (ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น) ไม่ได้มีเขียนไว้เลยว่าสมาธิเป็นเครื่องมือเพื่อข้ามฝั่ง[/FONT][FONT=&quot] รุ่นหลังตีความกันไปเอง[/FONT]

    เจริญพร
    พระต่อศักดิ์ วชิรญาโณ
    วัดร่มโพธิธรรม ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย 42190
    www.rombodhidharma.com
     
  3. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    ส่วนตัวผมเอง ก็เชื่อเช่นนี้ครับพระคุณเจ้า...
    แต่อย่างไรก็ยังทำสมาธิอยู่ เผื่อจะได้ของเล่นเล็กๆ น้อยๆ แถมมาบ้างครับ :)
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    หลวงพี่ครับ....พอดีว่าผมได้ศึกษาจากครูบาอาจารย์และพระไตรปิฏกมาบ้าง เป็นไปได้ไมครับ...หลวงพี่ช่วงอธิบายให้หน่อย ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น......
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]



    สมาธิเกื้อหนุนปัญญา



    ปัญหา สมาธิเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่ปัญญาอย่างไร ?



    พุทธดำรัสตอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง รู้อะไรตามความเป็นจริง ? ย่อมรู้ตามความเป็นจริง มีทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์นี้ทางปฏิบัติเพื่อไปสู่ความดับทุกข์...



    สมาธิสูตร มหา. สํ. (๑๖๕๔ )
    ตบ. ๑๙ : ๕๒๐ ตท. ๑๙ : ๔๗๐
    ตอ. K.S. ๕ : ๓๕๒
    [​IMG]


    ฌาน ๔ นำไปสู่นิพพานได้


    ปัญหา ลำพังการทำสมาธิจนได้ฌานจะสามารถนำไปสู่นิพพานได้หรือไม่ ?


    พุทธดำรัสตอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศตะวันออก หลั่งไปสู่ทิศตะวันออกบ่าไปสู่ทิศตะวันออกฉันใด ภิกษุเจริญพอกพูนซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพานโน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพานฉันนั้น....

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔อันภิกษุพึงเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปเพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ (คือ รูป ราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะอวิชชา) เหล่านี้แล”<O:p</O:p

    ฌานสังยุต มหา. สํ. (๑๓๐๑-๑๓๐๔ )
    ตบ. ๑๙ : ๓๙๒-๓๙๓ ตท. ๑๙ :๓๖๐-๓๖๑
    ตอ. K.S. ๕ : ๓๗๒



    <O:p</O:p

    [​IMG]





    สัมมาสมาธิเป็นไฉน ?


    ...สัมมาสมาธิเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรสเริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นแหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ...


    สติปัฏฐานสูตร ๑๒/๘๔



    ที่มา พระไตรปิฏก ฉบับ ปฏิบัติ โดย ธรรมรักษา.
    �����ûԮ� ��Ѻ��Ժѵ� (ʵԻѯ�ҹ�ٵ�)


    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2012
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    วิธีสร้างบุญบารมี


    [​IMG]



    พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่19 วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร



    ภาวนา



    การเจริญภาวนานั้นเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนาจัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น
    มี ๒อย่างคือ"สมถภาวนา (การทำสมาธิ)"และ"วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)"แยกอธิบายดังนี้ คือ
    ๑.สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
    สมถภาวนาได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิหรือเป็นฌานซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่น
    วิธีภาวนานั้นมีมากมายหลายร้อยชนิดซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า"กรรมฐาน ๔๐"

    ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างอบรมมาแต่ในอดีตชาติ
    เมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใดจิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่น ๆและการเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย

    แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตามจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อนคือหากเป็นฆราวาสก็จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณรก็จะต้องรักษาศีล๑๐ หากเป็นพระก็จะต้องรักษาศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาดปละด่างพร้อยจึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้หากว่าศีลยังไม่มั่นคงย่อมเจริญฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยากเพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน(เป็นกำลัง)ให้เกิดสมาธิขึ้น

    อานิสงส์ของสมาธินั้นมีมากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้


    ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปีก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือปีกช้างกระดิกหู"


    คำว่า"จิตสงบ"ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า"ขนิกสมาธิ"คือสมาธิเล็ก ๆน้อย ๆสมาธิแบบเด็กๆที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลงแล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่ซึ่งเป็นอารมณ์จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น สงบวูบลงเล็กน้อยแล้วก็รักษาไว้ไม่ได้ซึ่งยังห่างไกลต่อการที่จิตถึงขั้นเป็นอุปจารสมาธิและฌาน

    แม้กระนั้นก็ยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้โดยหากผู้ใดทรงจิตอารมณ์อยู่ในขั้นขณิกสมาธิแล้วบังเอิญตายลงในขณะนั้นอานิสงส์นี้จะส่งผลให้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่ ๑ คือชั้นจาตุมหาราชิกาหากจิตยึดไตรสรณคมน์(มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันสูงสุดด้วยก็เป็นเทวดาชั้นที่ ๒ คือ ดาวดึงส์)

    สมาธินั้นมีหลายขั้นตอน
    ระยะก่อนที่จะเป็นฌาน(อัปปนาสมาธิ) ก็คือขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิซึ่งอานิสงส์ส่งให้ไปบังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้นแต่ยังไม่ถึงชั้นพรหมโลก
    สมาธิในระดับอัปปนาสมาธิหรือฌานนั้น มีรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน๔ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้ไปบังเกิดในพรหมโลกรวม ๒๐ ชั้น

    แต่จะเป็นชั้นใดย่อมสุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌานที่ได้ (เว้นแต่พรหมโลกชั้นสุทธาวาส คือ ชั้นที่ ๑๒ ถึงชั้นที่ ๑๖ซึ่งเป็นที่เกิดของพระอนาคามีบุคคลโดยเฉพาะ) รูปฌาน ๑ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๓สุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌาน ๑

    ส่วนอรูปฌานที่เรียกว่า "เนวสัญญา นาสัญญายตนะ" นั้นส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือชั้นที่ ๒๐ซึ่งมีอายุยืนยาวถึง๘๔,๐๐๐ มหากัป เรียกกันว่านิพพานพรหมคือนานเสียจนเกือบหาเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดมิได้ จนเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นนิพพาน


    การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ลงทุนน้อยที่สุดเพราะไม่ต้องเสียเงินเสียทองไม่ได้เหนื่อยยากต้องแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่คอยระวังรักษาสติคุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ๆโดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น
    การทำทานเสียอีกยังต้องเสียเงินเสียทองการสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาโรงธรรมยังต้องเสียทรัพย์และบางทีก็ยังต้องเข้าช่วยแบกหามเหนื่อยกายแต่ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการทำสมาธิอย่างเทียบกันไม่ได้

    อย่างไรก็ดีการเจริญสมถภาวนาหรือสมาธินั้น แม้จะได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไรก็ยังไม่ใช่บุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนาหากจะเปรียบกับต้นไม้ก็เป็นเพียงเนื้อไม้เท่านั้น
    การเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา)จึงจะเป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนาหากจะเปรียบก็เป็นแก่นไม้โดยแท้

    ๒.วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)

    เมื่อจิตของผู้บำเพ็ญตั้งมั่นในสมาธิจนมีกำลังดีแล้วเช่นอยู่ในระดับฌานต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นฌานในระดับใดก็ตาม
    แม้แต่จะอยู่แค่เพียงอุปจารสมาธิจิตของผู้บำเพ็ญเพียรก็ย่อมมีกำลังและอยู่ในสภาพที่นุ่มนวลควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้


    อารมณ์ของวิปัสสนานั้น แตกต่างไปจากอารมณ์ของสมาธิเพราะว่าสมาธินั้นมุ่งแต่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแต่อารมณ์เดียวโดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้นไม่นึกคิดอะไร ๆ


    แต่วิปัสสนาไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้นแต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลายและสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้นมีแต่เพียงอย่างเดียวคือ"ขันธ์ ๕"ซึ่งนิยมเรียกกันว่า"รูป - นาม"โดยรูปมี ๑ ส่วนนามนั้นมี ๔ คือเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ


    ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นเพียงอุปาทานขันธ์เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่งแต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าสภาวธรรมจึงทำให้เกิดความยึดมั่นด้วยอำนาจอุปาทานเป็นตัวตนและของตนการเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่าอันสภาวธรรมทั้งหลายอันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้นล้วนแต่มีอาการเป็นพระไตรลักษณ์คือเป็นอนิจจัง ทุกขังและอนัตตาโดย

    ๑.อนิจจังคือความไม่เที่ยงคือสรรพสิ่งทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทรายและรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอนเมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้นไม่อาจจะตั้งมั่นทรงอยู่ในสภาพเดิมได้ เช่นคนและสัตว์เมื่อมีการเกิดขึ้นแล้วก็มีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาวและเฒ่าแก่จนตายไปในที่สุดไม่มีเว้นไปได้ทุกผู้คน แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย พรหมและเทวดา ฯลฯ


    สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่งที่เรียกว่าอุปาทานขั้นธ์ ๕เช่น รูปกายล้วนแต่เป็นแร่ธาตุต่างๆมาประชุมรวมกันเป็นหน่วยเล็กๆของชีวิตขึ้นมาก่อนซึ่งเล็กจนตาเปล่ามองๆไม่เห็น เรียกกันว่า "เซลล์"แล้วบรรดาเซลล์เหล่านั้นก็มาประชุมรวมกันเป็นรูปร่างของคนและสัตว์ขึ้นซึ่งหน่วยชีวิตเล็กๆเหล่านั้นก็มีการเจริญเติบโตและแตกสลายไปแล้วเกิดของใหม่ขึ้นมาแทนที่อยู่ตลอดเวลา ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอน

    ๒.ทุกขังได้แก่ "สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้"ทุกขังในที่นี้ไม่ได้หมายความแต่เพียงว่าเป็นความทุกข์กายทุกใจเท่านั้นแต่การทุกข์กายทุกข์ใจก็เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขังในที่นี้สรรพสิ่งทั้งหลายอันเป็นสังขารธรรมเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่อาจที่จะทนตั้งอยู่ในสภาพนั้น ๆได้ตลอดไปไม่อาจจะทรงตัวและต้องเปลี่ยนแปลงตลอดไป เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น

    เมื่อได้เกิดมาเป็นเด็กจะให้ทรงสภาพเป็นเด็ก ๆ เช่นนั้นตลอดไปหาได้ไม่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนหนุ่มและสาวแล้วก็เฒ่าแก่ จนในที่สุดก็ต้องตายไปแม้แต่ขันธ์ที่เป็นนามธรรมอันได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณก็ไม่มีสภาพทรงตัว

    เช่นเดียวกัน เช่นขันธ์ที่เรียกว่าเวทนาอันได้แก่ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความไม่สุขไม่ทุกข์ซึ่งเมื่อมีเกิดเป็นอารมณ์ดังกล่าวอย่างใดขึ้นแล้วจะให้คงทรงอารมณ์เช่นนั้นให้ตลอดไปย่อมไม่ได้นานไปอารมณ์เช่นนั้นหรือเวทนาเช่นนั้นก็ค่อยๆจางไปแล้วเกิดอารมณ์ใหม่ชนิดอื่นขึ้นมาแทน

    ๓.อนัตตาได้แก่ "ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ"โดยสรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น รูป เวทนา สัญญาสังขาร และวิญญาณ ล้วนแต่เกิดเพราะเหตุปัจจัย เช่นรูปขันธ์ย่อมประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อนเป็นหน่วยชีวิตเล็ก ๆ ขึ้นก่อน เรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่าเซลล์แล้วเซลล์เหล่านั้นก็ประชุมรวมกันเป็นรูปใหญ่ขึ้นจนเป็นรูปกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งพระท่านรวมเรียกหยาบ ๆ ว่าเป็นธาตุ ๔มาประชุมรวมกัน

    โดยส่วนที่เป็นของแข็งมีความหนักแน่น เช่น เนื้อ กระดูก ฯลฯเรียกว่า "ธาตุดิน" ส่วนที่เป็นของเหลว เช่น น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำดีน้ำปัสสาวะ น้ำไขข้อ น้ำมูก ฯลฯ รวมเรียกว่า "ธาตุน้ำ"ส่วนสิ่งที่ให้พลังงานและอุณหภูมิในร่างกาย เช่น ความร้อน ความเย็น เรียกว่า "ธาตุไฟ" ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ความตั้งมั่น ความเคร่ง ความตึงและบรรดาสิ่งเคลื่อนไหวไปมาในร่างกาย เรียกว่า "ธาตุลม" (โดยธาตุ ๔

    ดังกล่าวนี้มิได้หมายความอย่างเดียวกับคำว่า "ธาตุ"อันหมายถึงแร่ธาตุในทางวิทยาศาสตร์) ธาตุ ๔ หยาบ ๆเหล่านี้ได้มาประชุมรวมกันเป็นรูปกายของคนสัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้นเมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลงแล้วแตกสลายกลับคืนไปสู่สภาพเดิมโดยส่วนที่เป็นดินก็กลับไปสู่ดิน ส่วนที่เป็นน้ำก็กลับไปสู่น้ำส่วนที่เป็นไฟก็กลับไปสู่ไฟ และส่วนที่เป็นลมก็กลับไปสู่ความเป็นลมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของคนและสัตว์ที่ไหนแต่อย่างใดจึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นรูปกายนี้ว่าเป็นตัวเราของเราให้เป็นที่พึ่งอันถาวรได้


    สมาธิย่อมมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ซึ่งผู้บำเพ็ญอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนี่งตามแต่ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตนก็ย่อมได้

    ส่วนวิปัสสนานั้นมีแต่เพียงอย่างเดียวคือ มีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้น ๆ ว่ามีแต่รูปกับนามเท่านั้นเอง ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา และวิญญาณ

    ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรมหรือสังขารธรรมเกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไม่ได้และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างใด อารมณ์ของวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลในสังขารธรรมทั้งหลายจนรู้แจ้งเห็นจริงว่าเป็นพระไตรลักษณ์คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาและเมื่อใดที่จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาจริงเรียกว่าจิตตกระแสธรรมตัดกิเลสได้

    ปัญญาที่จะเห็นสภาพความเป็นจริงดังกล่าวไม่ใช่แต่เพียงปัญญาที่จะนึกคิดและคาดหมายเอาเท่านั้น แต่ย่อมมีตาวิเศษหรือตาในที่พระท่านเรียกว่า"ญาณทัสสนะ"เห็นเป็นเช่นนั้นจริง ๆซึ่งจิตที่ได้ผ่านการอบรมสมาธิมาจนมีกำลังดีแล้วย่อมมีพลังให้เกิดญาณทัสสนะหรือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวได้ เรียกกันว่า"สมาธิอบรมปัญญา"คือสมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น

    และเมื่อวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลงจิตก็ย่อมจะเบาและใสสะอาดบางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับสมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก เรียกว่า"ปัญญาอบรมสมาธิ"

    ฉะนั้นทั้งสมาธิและวิปัสสนาจึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกันและอุปการะซึ่งกันและกันจะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลยอย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของขณิกสมาธิเป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่มสมาธิจึงเปรียบเสมือนกับหินลับมีดส่วนวิปัสสนานั้นเหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหินคมดีแล้วก็ย่อมมีอำนาจถากถางตัดฟันบรรดากิเลสทั้งหลายให้ขาดและพังลงได้อันสังขารธรรมทั้งหลายนั้นล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใด

    ทุกสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นแค่ดิน น้ำ ลม และไฟมาประชุมรวมกันชั่วคราวตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้นในเมื่อจิตได้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว จิตก็จะละคลายจากอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่น โดยคลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทั้งหลาย ความโลภความโกรธ และความหลงก็เบาบางลงไปตามลำดับปัญญาญาณจนหมดสิ้นจากกิเลสทั้งมวลบรรลุซึ่งพระอรหัตผลต่อไป

    ฉะนั้นการที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน หากทำสมาธิยังไม่ได้ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้นสมาธิจึงเป็นเพียงบันไดขั้นต้นที่ก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น

    ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า"ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจิตเป็นฌานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อมก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงทีว่าสรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม"

    ดังนี้ จะเห็นได้ว่าวิปัสสนานั้นเป็นสุดยอดของการสร้างบารมีโดยแท้จริงและการกระทำก็ไม่เหนื่อยยากลำบากไม้ต้องแบกหามไม่ต้องลงทุนหรือเสียทรัพย์แต่อย่างใดแต่ก็ได้กำไรมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการให้ทานเหมือนกับกรวดและทรายก็เปรียบวิปัสสนาได้กับเพชรน้ำเอกซึ่งทานย่อมไม่มีทางที่จะเทียบกับศีล ศีลก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับสมาธิและสมาธิก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับวิปัสสนา

    แต่ตราบใดที่เราท่านทั้งหลายยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพานก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุกๆทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้งทาน ศีล และภาวนาสุดแล้วแต่โอกาสจะอำนวยให้จะถือว่าการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้นลงทุนน้อยที่สุดแต่ได้กำไรมากที่สุดก็เลยทำแต่วิปัสสนาอย่างเดียวโดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใดๆไว้เลยเมื่อเกิดชาติหน้าเพราะเหตุที่ยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพานก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีจะกินจะใช้ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งพระนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน

    อนึ่ง พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่า "ผู้ใดมีปัญญาพิจารณาจนจิตเห็นความจริงว่า ร่างกายนี้เป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คน สัตว์ แม้จะนานเพียงชั่วช้างยกหูขึ้นกระดิกก็ยังดีเสียกว่าผู้ที่มีอายุยืนนานถึง ๑๐๐ ปี แต่ไม่มีปัญญาเห็นความจริงดังกล่าว"

    กล่าวคือ แม้ว่าอายุของผู้นั้นจะยืนยาวมานานเพียงใดก็ย่อมโมฆะเสียเปล่าไปชาติหนึ่ง จัดว่าเป็น "โมฆะบุรุษ" คือบุรุษที่สูญเปล่า...

    http://www.baansuanpyramid.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539148673&Ntype=9
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2012
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]





    สมาธิขั้นอุปจาระก็ดี ขั้นสมถะก็ดี เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภาวนาจะต้องรีบเร่งเอาให้ได้ เมื่อเรามีสมาธิขั้นอุปจาระ หรือขั้นอัปปนา ได้ขื่อว่าเรามีสมาธิที่ดำเนินเข้าไปสู่ การทำจิตของตนเองให้เป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในตอนนี้จิตเป็นตัวของตัวเองโดยเด็ดขาดอัตตา ทีปะ มีตนเป็นเกราะคือเป็นที่ยึด อัตตะ สะระณา มีตนเป็นที่พึ่ง อัตตาหิ อัตตะโน นาโถ มีตนเป็นที่พึ่งของตนนี่ถึงแล้ว อัตตาหิ อัตตะโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตนมันอยู่ที่ตรงนี้ ในตอนแรก เราพยายามทำจิตของเราให้เป็นที่พึ่งของตนให้ได้เสียก่อน ในเมื่อจิตมีสมาธิ จิตมีความเป็นที่พึ่งของตนได้โดยเด็ดขาด แม้ว่าจิตนั้นจะมีแต่ความสงบ นิ่ง อยู่เรื่อย ๆ ก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องไปเดือดเนื้อร้อนใจ ไม่ต้องไปนึกว่า เมื่อไรจิตมันจะเกิดวิปัสสนา เมื่อไรจะเกิดภูมิความรู้ เมื่อไรจะได้ฌาน เมื่อมีสมาธิมันก็มีฌานจิตสงบลงเป็นอุปจารสมาธิ มีภาวนาอยู่ก็มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ก็ได้ฌานที่ ๑ แล้ว เมื่อจิตหยุดภาวนา จิตนิ่ง สว่างไสว มีปีติ มีสุข มีความเป็นหนึ่ง ก็ได้ขื่อว่าฌานที่ ๒ เมื่อปีติหายไปมีแต่สุขกับเอกัคคตา ก็ได้ฌานที่ ๓ เมื่อสุขหายไปเพราะกายหายไปหมดแล้วมีแต่เอกัคคตากับอุเบกขาจิตก็ได้ฌานที่ ๔ นี่ภาวนาได้ฌานแล้วจะไปเดือดเนื้อร้อนใจอะไรกันในเมื่อเรามีสมาธิก็มีฌาน ในเมื่อมีฌาน ญาณมันก็มีขึ้นมาเอง เมื่อมีญาณมันก็มีปัญญา เมื่อญาณแก่กล้าก็บันดาลให้จิตเกิดภูมิความรู้ขึ้นมา ภูมิความรู้ที่เกิดกับจิตก็คือความคิดนั่นเอง ความคิดที่มันผุดขึ้นมา ๆ ผุดขึ้นมาเป็นเรื่องของธรรม บางทีมันก็ผุดขึ้นมาว่า อ้อ! กายของเรามันก็เป็นอย่างนี้หนอ มันมีแต่ของปฏิกูลน่าเกลียด โสโครกสกปรก มีแต่ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันนี้ปัญญามันบังเกิดขึ้นมาเพราะมีญาณ<O:p</O:p



    ในเมื่อปัญญามันบังเกิดขึ้นมาอย่างนี้ เรามีสติสัมปชัญญะตามรู้ปัญญาที่มันเกิดขึ้น ไอ้เจ้าปัญญานี่ มันก็ไปของมันเรื่อยไป ไอ้ตัวสติก็ตามรู้ของมันเรื่อยไป ควบคุมกำกับกันไปอยู่ จิต อารมณ์ สติ ไม่พรากจากกัน นั่นคือจิตได้ภูมิวิปัสสนาขึ้นมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นเรื่องอะไรที่เราจะไปกลัวว่าจิตมันจะติดสมถะ ไม่มีทางถ้าหากว่าจิตมันจะไปติดสมถะกันจริง ๆ ครูบาอาจารย์ท่านก็ไม่สอน แต่ถ้าจิตจะติดสมถะ ติดสมาธิในขั้นฌานก็ดีนี่ ดีกว่ามันไม่ได้อะไรเลย! ถ้ามันได้แต่ความคิดโดยความตั้งใจภูมิปัญญาความรู้ไม่เกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ ถ้าไม่คิดก็ไม่มีความรู้เมื่อตั้งใจคิดจึงเกิดความรู้อันนี้มันเป็นสติปัญญาธรรมดา แต่ถ้าอยู่ ๆ มันคิดของมันขึ้นมาเอง ปรุงขึ้นมาเอง เป็นเรื่องของธรรม ปรุงขึ้นมาแล้วก็มีปีติ มีความสุขควบคู่กันไป มีความสงบควบคู่กันไป<O:p</O:p



    จิตมีความคิดอยู่สงบได้อย่างไร มันสงบอยู่กับหน้าที่ที่มันพิจารณาอารมณ์อยู่ในปัจจุบันนั้น มันไม่เอาเรื่องอื่นเข้ามาแทรกมาแซง ธรรมะที่เกิดขึ้นมา ผุด ๆ ขึ้นมา สติก็รู้ รู้อยู่ที่จุดที่มันผุดขึ้นมานั่น แล้วมันไม่ได้แส่ไปทางอื่น กำหนดรู้อารมณ์จิตตลอดเวลา นี่คือความสงบจิตในขั้นวิปัสสนา


    ที่มา..เข้าถึงพระไตรลักษณ์ โดย พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)<O:p</O:p
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2012
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]



    อาจาริยวาท
    หลวงพ่อพุธ ธานิโย



    " เมื่อจิตไม่มีความสงบ สมาธิก็ไม่มี สมาธิไม่มี ฌานไม่มี
    ในเมื่อไม่มีฌานก็ไม่มีญาณ
    ไม่มีญาณก็ไม่มีปัญญา
    ไม่มีปัญญาก็ไม่มีวิชชา
    นี่ กฎธรรมชาติมันเป็นอยู่อย่างนี้ "


    <!-- google_ad_section_end -->
    [​IMG]



    " .... นักภาวนาทั้งหลายอย่าไปกลัวสมาธิ ครูบาอาจารย์ของเราสอนให้ภาวนาพุทโธ ๆ ๆ แต่ในบางครั้งเราลืมไป เราไม่เชื่อครูบาอาจารย์ บางทีเราก็ไปเชื่อบุคคลที่ภาวนาไม่เป็น บางทีเขาจะกล่าวว่า ภาวนาพุทโธ จิตมันจะไปนิ่ง ติดความสงบ เป็นสมถะ ไม่ถึงวิปัสสนา อันนี้อย่าไปเชื่อ ครูบาอาจารย์ของเราได้ทำมาแล้ว...."


    ที่มา เข้าถึงพระไตรลักษณ์ โดย พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)<O:p</O:p<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2012
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อันข้อมูลพุทธพจน์ ที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้นที่ว่าเป็นวิหารธรรม ผมเคยศึกษามาตามนั้นครับ.....ตามความคิดเห็นผมนะ....พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติความสุขในพระพุทธศาสนาไว้ จากความสุขแบบกามสุขแบบโลกๆ ไล่ไปถึงนิโรธสมาบัติ....และทรงสรรเสริญว่าเป็นวิหารธรรมอันดีแล้ว....

    ถูกต้องนะครับว่าสมาธิไม่ใช่เครื่องขูดเกลากิเลส แต่ก็เป็นเครื่องอยู่อันเป็นสุข ที่พระองค์ทรงสรรเสริญ....ถึงกับยกบัญญัติให้เป็นความสุขในพระศาสนา....

    ผมอยากทราบวิธีการปฏิบัติเช่นกันว่า ต้องปฏิบัติอย่างไร เพราะถ้าสมมุติเราไม่เห็นความสำคัญของสมาธิ สิกขาสามมันจะครบได้เช่นไร ศีล สมาธิ ปัญญา จะเอามาจากใหน....แล้วมรรค ๘ จะครบได้ เช่นไร เมื่อไม่มีสัมมาสมาธิ...
     
  10. รัศมีสีทอง

    รัศมีสีทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +391
    โลกียสมาธิเป็นพื้นฐานของโลกุตตรสมาธิ ถ้าไม่มี ป.1 ก็ไม่มีปริญญาเอกครับท่าน ถ้าไม่มีตัง 1 บาท เงิน 100 ร้อยจะเต็ม 100 ได้อย่างไร คนที่บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าอย่างน้อยต้องได้ ฌานที่ 1 เป็นต้นไป จึงจะมีอำนาจตัดกิเลสได้ ไม่ว่าจะเป็นพระอริยเจ้าประเภทไหน ไม่มีใครหนีจากหลักความจริงนี้พ้น ขอให้ทุกท่านพิจารณาด้วย ปฏิบัติเอาจริงเอาจังก่อน อย่าสักแต่ว่าเรียนปริยัติอย่างเดียว
     
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ถูกครับ....เห็นด้วยนะครับ....

    ปุถุชนฝึกอย่างไรก็ไม่มีวันได้โลกุตรฌานหลอกครับ....เพราะว่าปุถุชนมีกิเลสเต็มภูมิ มีนิวรณ์ธรรมครองจิตอยู่เสมอ ฉะนั้นมันจึงมีเสื่อมอยู่เป็นธรรมดา....

    ผู้ที่จะได้โลกุตรฌานจริงๆมีแต่พระอริยเจ้าเท่านั้นหละครับที่จะทำได้...เพราะท่านไม่หวั่นไหวไปกับนิวรณ์ธรรมแล้ว...คือพูดง่ายๆนิวรณ์ธรรมเริ่มไม่มีอำนาจที่จะครองใจท่านได้แล้ว....

    ปุถุชนฝึกสมถะเพื่อระงับนิวรณ์ เพื่อเตรียมจิตให้ควรแก่การงาน เพี่อเป็นกำลังแห่งวิปัสสนา ดั่งพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์ท่านอธิบายไว้ข้างบนนั่นหละครับ....เมื่อใดก็ตามที่ปุถุชนผู้นั้น เป็นพระอริยเจ้า ฌานที่เป็นโลกียฌาน ก็จะแปรเป็นโลกุตรฌาน โดย อัตโนมัติ ตามภูมิจิตภูมิธรรม ของท่านผู้นั้น....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2012
  12. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    ผมกลับเชื่ออีกแบบหนึ่งครับ
    ว่าการฝึกเจริญสติ ให้รู้ต่อเนื่อง เป็นสายตั้งแต่ตื่นนอน จนถึงหลับได้ และในสตินี้ เราระลึกรู้ถึงสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เห็นไตรลักษณ์ ในชั้นนี้เราจะเป็นสมาธิเอง แต่เป็นสมาธิแบบวิปัสสนา คือ มีสติกำกับอยู่ตลอดเวลา ในการพิจารณาสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ใจไม่ส่งออกไปยังเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง และในกระบวนการนี้ จะทำให้อัตตาค่อยๆ เบาบางลงได้ เมื่อมีสติกำกับรู้ตลอด และเห็นทันซึ่งกิเลสที่จูงใจเราอยู่

    ผมเห็นว่ากระบวนการนี้ ลดอัตตา รู้ทันกิเลส ได้โดยไม่ต้องเข้าสมาธิ ครับ
     
  13. tunwarat_s

    tunwarat_s เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +141
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มีนาคม 2012
  14. paderm

    paderm สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +4
    เรื่อง สมาธิ จำเป็นไหม ต่อการบรรลุธรรม


    เชิญคลิกอ่านกระทู้เหล่านี้ มีคำตอบ ครับ

    พิจารณาด้วยปัญญานะครับ เชิญคลิกครับ

    การเจริญสติปัฐาน โดยไม่เจริญสมถะควบคู่กันไป ปัญญาไม่สามารถแทงตลอดได้

    จะนั่งสมาธิอีกแล้วครับ

    สมาธิ สติ
     
  15. tunwarat_s

    tunwarat_s เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +141
    จิตที่เป็นสมาธิ คือ จิตที่มีความตั้งมั่นไม่วอกแวก ทำให้ตามดูกิเลิสที่เกิดขึ้นในจิตได้ตลอดวรจรแห่งการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เปรียบกับทะเลที่น้ำใสสะอาด ก้อจะทำให้เรามองเห็นปลาที่ว่ายอยู่ในน้ำได้อย่างชัดเจน ปลาว่ายไปทางไหนก็เห็นได้อย่างชัดเจน
     
  16. รัศมีสีทอง

    รัศมีสีทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +391
    เวลาคุณเดินขึ้นบันไดบ้านคุณรู้ตัวหรือเปล่าว่าคุณเดินขึ้น การรู้ว่ากำลังเดินขึ้นบันไดบ้านนั่นแหล่ะคือสมาธิและการใช้สติ การระลึกรู้ว่านี่คือบันไดและรู้ตัวว่าเรากำลังเดินขึ้นมันเป็นสติอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว เมื่อมีสติก็มีการทรงตัวได้ไม่ให้ตกจากบันได อาการทรงตัวเวลาเดินขึ้นนั้น ใช่สมาธิใช่หรือไม่
     
  17. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    ปัจจุบันนี้ ผมก็ยังเป็นผู้เริ่มฝึกวิปัสสนาชั้นเลวครับ
    จากประสบการณ์ของผมเอง (ซึ่งอาจจะผิดนะครับ หากผู้ใดชี้ทางที่ถูกให้ผมได้ จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ) การปฏิบัติวิปัสสนาด้วย ฌาน 1 เป็นอะไรที่ ยากลำบาก ครับ
    มันเหมือนจะถูกดึงไปดึงมา ระหว่าง สมถะ ที่กำลังจะดิ่งลงไป กับ สภาวะ ณ ปัจจุบัน ที่ทำให้กำลังของสมถะเข้าลึกไม่ได้

    คุณ ทางชีวิต ตอนนี้ เป็นอย่างไรบ้างครับ ปลายเดือนจะได้มาปฏิบัติวิปัสสนาไหมครับ
     
  18. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    ใช่ครับ ตามนี้เลย และเมื่อนำปัญญาเข้ามาประกอบพิจารณา ก็พิจารณาเห็นวิปัสสนาได้ครับ
     
  19. tunwarat_s

    tunwarat_s เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +141

    ก้อกำลังพยายามตามรู้กระบวนการเกิดของความคิดดี คิดชั่ว ที่เกิดในจิตอยู่ค่ะ แต่ก้อกำลังใจดีขึ้น ไม่เพ่งโทษตัวเองเหมือนเดิมค่ะ พยายามให้เป็นสักแต่ว่ารู้สักแต่ว่าเห็นค่ะ
    มีการฝึกปฎิบัติวิปัสนาวันที่เท่าไหร่ค่ะ ไม่แน่ใจว่าจะไปได้หรือเปล่าค่ะ แต่หากมีบุญถึง และตรงกับเสาร์-อาทิตย์ ก้ออาจจะไปได้ค่ะ
     
  20. รัศมีสีทอง

    รัศมีสีทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +391
    การปฏิบัติจะเป็นแนวไหน อย่างน้อยต้องได้ฌานที่ 1 ครับ เพราะถ้าไม่ได้ฌานที่ 1 แล้ว กำลังตัดกิเลสมีไม่ถึง คืออำนาจการตัดกิเลสไม่พอครับ ขอให้สู้ต่อไปครับ อย่าท้อถอย ถ้าได้กัลยาณมิตรที่ดีจะรุดหน้าได้มาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...