จิตที่ว่าง กับ ไม่มีจิต ต่างกันอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nunnapath, 30 มิถุนายน 2012.

  1. nunnapath

    nunnapath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    280
    ค่าพลัง:
    +256
    จะขอรบกวนถามท่านผู้รู้หน่อยค่ะ ว่าจิตที่ว่าง กับไม่มีจิต ต่างกันอย่างไร และสภาพที่เห็นนั้นเป็นอย่างไร
     
  2. jate2029

    jate2029 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2008
    โพสต์:
    391
    ค่าพลัง:
    +729
    จิตที่ว่าง คือ ว่างจาก กิเลศ ตัณหา อุปาทาน ทั้งหลาย ไม่มีภาวะใดๆ เข้ามาปนเปื้อน
    ให้จิต ท่านมัวหมองได้
    แต่กับการที่ ไม่มีจิต นั้นไม่มี จิตของทุกคนไม่ได้ สลายหายไปไหนทั้งสิ้น ต่อให้ติดอยู่
    ใน อรูปฌาณ ก็ยังมีจิตอยุ่ แต่ไม่อยู่ใน ภาวะที่รับรู้ได้ เพียงเท่านั้นเอง
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จิตว่าง กับ ไม่มีจิต

    ต้องตั้งจิตตั้งใจพิจารณก่อนว่า เป็นเรื่อง ของคำ หรือ รสของธรรม ที่จะประจักษ์
    ได้ ขณะที่ลงมือปฏิบัติ หมายเอา พฤติจิตขณะปฏบัติเป็นเกณฑ์พิจารณาชี้ความ
    ต่างของธาตุ

    เมื่อทำจิตให้อาจหาญ ร่าเริง ในการศึกษาพฤติจิตแล้ว ก็พิจารณาว่า

    จิตว่าง ในทางปฏิบัติก็คือ การเอาจิตไปจับความว่าง ซึ่ง อาการว่างของจิตก็หมาย
    ถึงมันไม่ออกสู่ มโนทวาร

    จิตที่ไม่เกิดทางมโนทวาร ไม่เกิด ธรรมารมณ์ในอดีตและอนาคต เราจะเรียก และ
    คุ้นกับการเรียกสภาวะว่า คิดให้ว่างๆ เหมือนไม่ขึ้นวิถีจิตทางมโนทวาร แต่จริงๆ
    แล้วเป็น การเสพอารมณ์ว่างๆอย่างไม่ลืมหูลืมตา หน้ามืด

    ****************

    ส่วนคำว่า "ไม่มีจิต" จะเป็น พฤติจิตที่เกิดจากจิต อิ่มอารมณ์ หากสัมปชัญญะยัง
    อยู่จะตรวจสอบได้โดยการ บริกรรม เติมลงไปในจิต แต่ จิตจะบริกรรมไม่ได้ มันคาย
    ออกอย่างเดียว เติมไม่ได้อีก อาศัยการเห็นมุมเติมคำบริกรรมไม่ได้อีกว่า "ไม่มีจิต"
    ( เติมบริกรรมอันเป็น มโนอารมณ์ลงไปไม่ได้อีก ) หรือ อาศัย การเห็นมุมการคาย
    หรือสำรอกคำบริกรรม นั้นเป็นเรื่องของการ "สลัดคืนจิต" ก็ได้

    เห็นได้สองมุม หากพิจารณา มุมไม่มีจิต เรียกว่า เสพนิโรธนสมาบัติ

    หากตามเห็นในมุม การสลัดคืนจิต เรียกว่า ประจักษ์นิโรธนพอแก่การ
    วิปัสสนาเจริญปฏิสัมภิทามรรค


    ***************

    ส่วน จิตว่าง กับ ไม่มีจิต อันเป็น ส่วนของ ผลของการจบกิจศึกษา อันนั้น
    จะถือว่า คำสองคำนี้เป็น โวหาร ทั้งคู่ มีความเสมอกันด้วย การเป็น วาทะ
    โวหาร พูดให้เกิดการกระตุ้นให้อาจหาญ ที่จะ ดำเนินการปฏิบัติให้สำเร็จอย่าง
    ท่านๆ ( ผู้ยกกล่าวคำนั้นๆ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2012
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ลองพิจารณา จาก คำบรรยายเชิงปฏิบัติ อานาปานสติ ซึ่ง จะมี วาระการภาวนา
    ที่ชี้ขั้นตอน แยกแยะ ลำดับได้พอสมควร


    อานาปานสติ สูตรเต็ม

    อานาปานสฺสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ฯ
    ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

    กถํ ภาวิตา จ ภิกฺขเว อานาปานสฺสติ กถํ พหุลีกตา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ฯ
    ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

    ----------------------------

    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา
    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม

    นิสีทติ ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา อุชุ กายํ ปณิธาย ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา ฯ
    นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

    โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ฯ
    เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก

    -----------------------------

    ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต ทีฆํ อสฺสสามีติ ปชานาติ
    ทีฆํ วา ปสฺสสนฺโต ทีฆํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ ฯ
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว

    รสฺสํ วา อสฺสสนฺโต รสฺสํ อสฺสสามีติ ปชานาติ
    รสฺสํ วา ปสฺสสนฺโต รสฺสํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ ฯ
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

    สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
    สพฺพกายปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
    เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”

    ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
    ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
    เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”

    -------------------------------

    ปีติปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
    ปีติปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
    เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”

    สุขปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
    สุขปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
    เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”

    จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
    จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
    เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”

    ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
    ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
    เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”

    -------------------------------

    จิตฺตปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
    จิตฺตปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
    เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”

    อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
    อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
    เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก”

    สมาทหํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
    สมาทหํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
    เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก”

    วิโมจยํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
    วิโมจยํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
    เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”

    ------------------------------

    อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
    อนิจฺจานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
    เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”

    วิราคานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
    วิราคานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
    เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”

    นิโรธานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
    นิโรธานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
    เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”

    ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
    ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
    เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”

    ---------------------------------

    เอวํ ภาวิตา โข ภิกฺขเว อานาปานสฺสติ เอวํ พหุลีกตา
    มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ฯ
    ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.


    *****************

    จากข้างบน จะเห็นว่า "จิตว่าง" ก็ถือว่าอยู่ในช่วง "เราจักทำจิตสังขารให้รำงับ"
    แต่คุณจะไม่หน้ามืด หรือ จมกับ การทำจิตให้ว่าง จนติดอาการ "ว่างๆ ว่างๆ" ก็เพียงแค่
    คุณยังตามพิจารณา ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก สลับกับการทำจิตให้ว่าง อยู่ ก็จะ
    ไม่ผิด ทำได้ไม่ผิด

    ส่วนเรื่อง "ไม่มีจิต" ก็จะเข้ากับส่วน เราจัก "ปล่อยจิต" ปล่อยจิตแล้วเหลืออะไร
    มันจะไม่ใช่ประเด็นอีกเช่นกัน หากคุณ ปล่อยจิตแล้วยังตามระลึก ลมหายใจเข้า หรือ
    ลมหายใจออก อยู่ ปล่อยจิตแล้วเหลืออะไร ไม่มีจิตแล้วจะเป็นอย่างไร จะไม่ผุด
    ขึ้นเป็นทิฏฐิให้มารมาหลอกถามว่า เหลืออะไร แน่นอน

    แล้วหลังจาก "ปล่อยจิต" แล้ว จะเห็นว่า จะตามด้วยบทว่าด้วยเรื่อง การสำรอก
    จางคลาย สลัดคืน ก็ให้พิจารณาสลับระลึกลมหายใจเข้าออกไปเรื่อยๆ ย่อมทำ
    ที่สุดแห่งทุกข์ได้ตามคำสอนของพระพุทธองค์ได้ไม่มากก็น้อย
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    ลองอ่านดูนะ


    ... อย่าปล่อยให้จิตมันว่าง ...

    ความหมายของท่านตีความหมายว่าอย่างไร
    บางท่านอาจจะว่าไม่ปล่อยให้จิตว่างนี่
    มันจะต้องคิด
    ต้องสวดมนต์
    ต้องท่องอะไรอยู่ไม่หยุดไม่หย่อน
    อย่าไปเข้าใจเช่นนั้น

    คำว่าอย่าปล่อยให้จิตมันว่างนี้ หมายความว่า
    ให้มีสติกำหนดรู้จิตอยู่ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

    ทำไมหนอท่านผู้นี้จึงสอนว่าอย่าปล่อยให้จิตมันว่าง
    แล้วให้มีสติกำหนดจิต ท่านเอาความรู้และหลักฐานมาจากไหน

    ในเมื่อมองไปในหลักปริยัติ มีพุทธภาษิตที่ทรงตรัสไว้ว่า

    เอฐะปัสสะติมัง โลกังจิตตัง ราชะระถู ปะมัง ยัตฐะ พาราวิสีรันติ
    ระฐิสังโฆ วิจานะตัง เอจิตตัง สัญญะเมตสันติ โมกขันติ
    มานะปัณฑะนา

    สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้
    อันวิจิตรบรรจง ดุจราชรถทรง
    ของพระราชา ที่พวกคนเขาหมกอยู่
    แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่
    ผู้ใดจักสำรวมซึ่งจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร

    ชัดเจนหรือเปล่า อย่าปล่อยให้จิตมันว่าง

    คือ มีสติสำรวมจิตอยู่ตลอดเวลา
    ผู้มีสติสำรวมจิตผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร

    นี่หลวงปู่ฝั้นท่านอาศัยหลักฐาน ตามพุทธโอวาทตอนนี้

    อธิบายโอวาทหลวงปู่ฝั้น อาจาโร โดยหลวงปู่พุธ ฐานิโย
     
  6. nunnapath

    nunnapath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    280
    ค่าพลัง:
    +256
    ขอบคุณท่านมากที่แนะนำค่ะ เป็นความรู้ที่ดีเลยสำหรับการฝึก โดยเฉพาะคำพูดนี้ (จิตที่ไม่เกิดทางมโนทวาร ไม่เกิด ธรรมารมณ์ในอดีตและอนาคต เราจะเรียก และ
    คุ้นกับการเรียกสภาวะว่า คิดให้ว่างๆ เหมือนไม่ขึ้นวิถีจิตทางมโนทวาร แต่จริงๆ
    แล้วเป็น การเสพอารมณ์ว่างๆอย่างไม่ลืมหูลืมตา หน้ามืด)
    จิตไม่มี ใช่ว่าไม่มีจิต ใช่มั้ยค่ะ เพียงแต่สภาวะของความไม่มีนั้นต่างกันหรือเปล่าค่ะ
     
  7. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    จิตใครหนอที่ว่าง

    จิตเราหรือที่ว่างจากความเห็นเป็นเรา

    นั้นก็ไม่ควรกล่าวว่าจิตว่าง นั้นก็ไม่กล่าวว่าไม่มีจิต


    ใครหนอไม่มีจิต เราหรือหนอไม่มีจิต

    เมื่ออุปทานไม่มี ความยึดมั่นจิตเราก็ไม่มี จิตจึงว่าง

    ว่างนั้นก็ไม่ใช่เรา จิตนั้นจึงไม่เป็นของตน หรือของใคร

    ฉนั้นจึงกล่าวว่า มีเมื่อเหตุมี ดับเมื่อเหตุดับ
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มันก็ขึ้นกับว่า ที่กล่าวว่า ไม่มี ไม่มี นั้น หมายเอาไม่มีอะไร

    หากแม่นๆ ปริยัติ ที่อำนวยการให้เกิดการปฏิบัติ แม่นๆ

    ก็ต้องเอาที่ "ไม่มีตัณหา ไม่มีอุปทาน"

    แต่ในเบื้องต้น ให้หมายเอาที่ ไม่มี "ราคะ ปฏิฆะ" เพื่อให้จิต
    มีปิติ ปราโมทย์ (องค์ฌาณ) แล้วให้มี ปัสสัทธิ ความรำงับ
    ก็จะขึ้น โพชฌงค์7 โพธิปักขยิธรรม ได้ ตามบทของ "อาหาร"

    เมื่อไม่มี ราคะ ปฏิฆะ เนืองๆ ก็จะ พิจารณาเรื่อง วิหิงสา การ
    ไม่เบียดเบียนเข้ามาอีกส่วน พอถึงตรงนี้ ก็จะเริ่มเข้าใจเรื่อง
    "ไม่มีตัณหา ไม่มีอุปทาน"

    พอมาถึงตรงนี้ได้ ก็ไม่สนใจ อุบายธรรม ที่ใช้คำว่า "จิตว่าง" กับ "ไม่มีจิต"
    เพราะรู้แล้วว่า ใช้เป็นอุบายสอนธรรมะได้ สำหรับคนที่ ฝึกมาพอสมควร

    ซึ่งหากทำได้แบบนี้ คุณก็จะเอาคำว่า "จิตว่าง" "ไม่มีจิต" ไปใช้สอนพอได้
    พอกล้อมแกล้ม

    แต่ถ้า เข้าถึงคุณวิเศษ ก็ยกคำว่า กล้อมแกล้มเป็นปลิดทิ้งไปเลย เหลือแต่ ใช้ได้
     
  9. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ถ้ามาถามแบบนี้ แนะนำว่าอย่าปล่อยให้จิตว่าง ควรมีกรรมฐานอยู่เสมอ
    จนกว่าจะถึงที่สุดแห่งกรรมฐาน นั่นค่อยมาพิจารณาเรื่องจิตว่่าง

    จิตว่าง คือจิตว่างจาก กิเลส ตัณหา อกุศลกรรม
    เริ่มต้นเลยใครทำได้ ก็คงต้องกราบกันละครับ
    อุบายธรรมส่วนใหญ่และในบาลีเองจึงให้กรรมฐานให้จิตจับอารมณ์หนึ่งก่อน
    ค่อยเข้าสู่วิปัสสนา จนได้อาสวักขยญาน จึงจะว่างจริง

    ส่วนไม่มีจิต..
    ตราบใดที่ยังรู้ ตราบนั้นยังมีจิต
    ผมยังไม่เคยอ่านอะไรหรือพบเห็นรู้ทราบได้ว่า การไม่รู้(ไม่มีจิต) นั้นเป็นอย่างไร
    ผมจึงตอบไม่ได้ว่า ไม่มีจิต คืออะไร
    เพราะจิตมีสภาพรู้ เมื่อรู้ ย่อมมีจิต เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่อธิบายได้ด้วย
    พระอภิธรรม... แต่ต้องระวัง เพราะสิ่งที่เราอ่าน เราเข้าใจ อาจจะไม่ตรงตามความเป็นจริง
    แต่สิ่งที่พระอภิธรรมอธิบายนั้นจริง
    กับคล่องแคล่วในสภาวะแห่งจิต หรือสภาวะแห่งฌาน เป็นผู้มีอธิจิตอย่างยิ่ง
    แล้วตรวจสอบเรื่องนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...