หลวงพ่อภัททันตะธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิตะ มรณภาพแล้ววันนี้

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย yenpat, 5 กรกฎาคม 2012.

  1. yenpat

    yenpat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +168
    [​IMG]

    หลวงพ่อภัททันตะธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิตะ มรณภาพแล้ววันนี้
    ขอแจ้งให้ทุกท่านทราบว่า หลวงพ่อวัดท่ามะโอผู้เป็นที่เคารพรักยิ่งของเราทั้งหลาย ได้มรณภาพอย่างสงบในเวลา ๕.๕๐ น. ของเช้าวันนี้ (๕ กค. ๒๕๕๕) ขอให้เราทั้งหลายจงเจริญมรณัสสติระลึกถึงความตายของสัตว์ทั้งหลาย และร่วมกันบำเพ็ญกุศลเพื่ออุทิศส่วนบุญให้ท่าน

    ในเวลา ๑๕.๐๐ น. จะมีพิธีรดน้ำศพโดยคณะสงฆ์จังหวัดลำปาง และในเวลา ๑๙.๐๐ น. จะมีพิธีรดน้ำศพอีกครั้งหนึ่งโดยคณะศิษยานุศิษย์จากต่างจังหวัด ส่วนในเวลา ๒๐.๐๐ น. จะมีพิธีสวดพระอภิธรรม และจะตั้งศพท่านไว้อย่างน้อย ๑๕ วัน

    ที่มา : PANTIP.COM : Y12332782
     
  2. yenpat

    yenpat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +168
    ท่านหลวงปู่ ภัททันตะ ธัมมานันทมหาเถระ
    เกิดที่หมู่บ้านตาสี่ อ.เยสะโจ่ มณฑลปขุกกู่
    ในวันเสาร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑ ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ (ตรงกับวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๓)
    เป็บบุตรของนายโผ้เตด นางเวยี ซึ่งเป็นศรัทธาสร้างวัดในหมู่บ้านของท่านเอง
    ท่านมีพี่น้องอยู่ ๔ คน และเป็นลูกอันดับสามในบรรดาพี่น้องชายทั้ง ๔ คนนั้น

    ในวันที่ ๒๐มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ เมื่อท่านอายุได้ ๗ ขวบบิดามารดาของท่านได้นำไปฝากท่าน อูญาณะ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโตงทัตหมู่บ้านตาสี่นั่นเอง ได้เล่าเรียนหนังสือต่างๆเริ่มตั้งแต่ชั้นอนุบาลประถมเป็นต้นมา จนถึงบทสวดมนต์ต่างๆ คือพระปริตร์ทั้ง ๑๑ สูตร คัมภีร์นมักการะ คัมภีร์โลกนีติ ชยมังคลคาถาชินบัญชร ทั้งภาคบาลีและภาคตัวแปลด้วยรวมทั้งโหราศาสตร์ต่างๆที่ใช้อักษรตัวเลขเป็นภาษาบาลี อันเป็นวิธีการเรียนสมัยดั้งเดิมของพม่า

    เมื่อท่านอายุได้ ๑๔ ขวบ ได้บรรพชาเป็นสามเณรโดยมีท่านพระอาจารย์อูจารินทะเป็นอุปัชฌาจารย์ ได้รับฉายาบาลีว่า“สามเณรธัมมานันทะ” สามเณรธัมมานันทะได้ท่องจำนาสนะ ทัณฑกรรม เสยิยวัตรและ ขันธกวรรค ๑๔ อย่างได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กวัดอยู่หลังจากบวชเป็นสามเณรแล้วพระอุปัชฌาจาย์จึงได้ให้ท่องจำกัจจายนสูตรรวมทั้งคำแปลตามคัมภีรย์กัจจายนสุตตัตถะและสอนคัมภีร์กัจจายนสังเขปให้ด้วย

    หลังจากนั้น ท่านได้ย้ายไปวัดปัตตปิณฑิการาม อันอยู่ในตัว อ. เยสะโจ่ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์ต่างๆ คือ พาลาวตาร กัจจายนะ สัททนีติสุตตมาลาอภิธัมมัตถสังคหะ เทวมาติกา ขุททสิกขา กังขาวิตรณีรวมทั้งพระวินัยปิฏกด้วย ในสำนักของท่าน อูอุตตระเจ้าอาวาส

    เมื่อท่านอายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม๒๔๘๓ โดยมีท่านพระอาจารย์ อูสุชาตะ ซึ่งเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์อูอุตตระเป็นพระอุปัชฌาย์ ณ พัทธสีมา วัดยองเปนตา จ. มองลาไยจุนมีโยมอุปัฎฐากถวายอัฎฐบริขาร คือ นายพละ นางเสงมยะ อยู่ที่บ้านเลขที่ ๒๐ถนนสี่ จ. มองลาไยจุน

    หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านพระอาจารย์อูอุตตระ เจ้าอาวาสวัดปัตตปิณฑิการามได้ส่งท่านไปเรียนพระปริยัติธรรมต่อ ในสำนักของท่านพระอาจารย์อูโกสัลลาภิวังสะ วัดมหาวิสุทธาราม จ. มัณฑเล ท่านศึกษาคัมภีร์ปทรูปสิทธิและคัมภีปทวิจยะ ในขณะนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ จ.มัณฑเลเป็นจุดเป้าหมายในทางยุทธศาสตร์เพราะเป็นเมืองหลวงอันดับสองรองจากกรุงย่างกุ้ง ดังนั้น ท่านจึงย้ายจาก จ. มัณฑเล ไปสู่ จ. มะไลยได้ศึกษาคัมภีร์ อภิธาน ฉันท์ อลังการ เภทจินตาและกัจจายนสาระในสำนักของท่านพระอาจารย์อูจันโชติ เจ้าอาวาสวัดสิริโสมาราม หมู่บ้านกันจีจ. มะไลยนั้น และยังได้ศึกษาคัมภีร์กัจจายนสุตตตัตถะวิธีการทำรูปตามนัยของคัมภีร์ กัจจายนะ นามปทมาลา อาขยาตปทมาลาคัมภีร์พระอภิธรรมต่างๆ คือ คัมภีร์ปรมัตถสรูปเภทนี มาติกา และธาตุกถารวมทั้งคัมภีร์ปาราชิกกัณฑอรรถกถา (สมันตปาสาทิกา)ด้วยท่านพำนักอยู่ที่วัดสิริโสมารามรวม ๕ ปี ด้วยกัน จนกระทั่งสงครามสงบ

    ในสมัยนั้น แถบมณฑลปขุกกู่ และ อ. เยสะโจ่ไม่นิยมสอบสนามหลวงเป็นทางการเพียงแต่ศึกษาเล่าเรียนให้แตกฉานเท่านั้นเองดังนั้นท่านจึงไม่สนใจเข้าสอบตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณรเรื่อยมาจนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ หลังจากที่สงครามโลกสิ้นสุดลง ท่านจึงได้เริ่มสอบสนามหลวง ได้ชั้น “ปะถะมะแหง่” ในขณะที่ท่านพำนักอยู่ ณ วัดสิริโสมาราม หลังจากนั้นจึงย้ายไปวัดมหาวิสุทธาราม จ. มัณฑเล อันเป็นที่พำนักอยู่เดิมและสอบได้ชั้น “ปะถะมะลัด” ที่นั่นพระอาจารย์ที่สอนคัมภีร์ต่างๆ ให้คือ ท่านอาจารย์อูโกสัลลาภิวังสะ ,อูชาเนยยพุทธิ, อูสุวัณณโชติภิวังสะ และอูอานันทปัณฑิตาภิวังสะหลังจากนั้น ท่านย้ายไปอยู่วัดเวยันโภงตาสอบชั้น “ปะถะมะจี” ได้เป็นอันดับสามของประเทศ และสอบชั้น “ธัมมาจริยะ” ได้ในปีต่อมา ณ สำนักเรียนเวยันโภงตานั้น สมัยนั้นท่านพระอาจารย์อูกัลยาณะ เจ้าอาวาสวัดเวยันโภงตามีชื่อเสียงมากในการสอนคัมภีร์ชั้นธัมมาจริยะในเมืองมัณฑเลท่านจึงได้ศึกษาเล่าเรียนชั้นธัมมาจริยะกับท่านพระอาจารย์อูกัลยาณะและในขณะที่ท่านกำลังสอบชั้น “ปะถะมะจี”อยู่ท่านยังไปศึกษาคัมภีร์ปัฎฐานเป็นพิเศษด้วย ที่วัดปัฎฐานนารามภูเขาสะไกย จ. สะไกย โดยมีท่านพระอาจารย์ อูอินทกะ (อัครมหาบัณฑิต)เป็นผู้สอน

    ท่านสอบคัมภีร์ชั้นธัมมาจริยะได้สามคัมภีร์ คือปาราชิกบาลี และอรรถกถา สีลักขันธวรรคบาลีและอรรถกาสีลักขันธวรรคบาลีและอรรถกถา ธัมมสังคณีบาลีและอัฎฐสาลินีอรรถกถาและได้รับตราตั้งว่า “สาสนธชธัมมาจริยะ” นอกจากนั้นแล้ว ท่านยังสอบคัมภีร์พิเศษในชั้นธัมมาจริยะได้ อีกคือคัมภีร์มหาวัคคาทิอรรถกถา สังยุตตนิกายอรรถกถา และวิภังคาทิอรรถกถาจึงได้รับตราตั้งอีกว่า “สาสนธชสิริปวรธัมมาจริยะ” ท่านสอบได้ทุกๆ ชั้น ตั้งแต่ชั้นแรกจนกระทั่งถึงชั้นธัมมา จริยะโดยตลอด ก่อนที่ท่านจะจบชั้น “ปะถะมะจี” ท่านได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดสิริโสมาราม จ. มะไลยวัดปัตตปิณฑิการาม อ. เยสะโจ่ และวัดเวยันโภงตา จ. มัณฑเล อีกด้วย ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ทางกรมการศาสนาของประเทศสาธารณรัฐสหภาพพม่าได้นิมนต์ท่านเป็นพระธรรมฑูตเพื่อการเผยแพร่พระศาสนาเถรวาทในต่างประเทศท่านจึงได้ย้ายไปอยู่ที่กะบาเอ้ซึ่งเป็นวิทยาลัยสงฆ์เพื่อการเผยแพร่ (ธัมมฑูตวิชชาลยะ) ศึกษาภาษา อังกฤษและภาษาญี่ปุ่น เพื่อจะไปเผยแพร่พระศาสนา ณ ประเทศญี่ปุ่น เวลานั้นท่านเจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์(เช้า ฐิตปญโญ ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดโพธาราม จ. นครสวรรค์มีหนังสือไปถึงกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่าขอพระอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในพระปริยัตธรรมมาสอนพระปริยัติธรรมที่สำนักวัดโพธารามทางกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่ารับรองกับท่านว่าเมื่อท่านสอนพระปริยัติธรรมในประเทศไทยได้หนึ่งพรรษาแล้ว จะส่งท่านต่อไปยังประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นท่านจึงได้เดินทางมายังวัดโพธาราม จ. นครสวรรค์ ตามที่กรมการศาสนานิมนต์โดยได้เดินทางมาในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ในเวลานั้นท่านมีภาระสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุและสามเณรจำนวน ๒๐๐ รูปในวัดโพธารามนั้น แต่ทว่าเมื่อออกพรรษาแล้วท่านไม่ได้ไปประเทศญี่ปุ่นตามความมุ่งหมายเดิมเพราะท่านเจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์ ได้นิมนต์ให้อยู่สอนพระปริยัติธรรมต่อ ท่านจึงได้พำนักอยู่ที่ จ. นครสวรรค์ เป็นเวลาถึง ๖ ปี

    ในขณะที่ท่านพำนักอยู่ที่นครสวรรค์นั้นทางกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่าได้นิมนต์ท่านเพื่อการร่วมจัดทำคัมภีร์พจนานุกรมพระไตรปิฏก ฉบับบาลี – พม่า เล่มที่ ๑ และตรวจสอบคัมภีร์ต่างๆในสมัยปัจฉิมฏีกาสังคายนา ที่กะบาเอ้ ณ กรุงย่างกุ้งท่านจึงได้เดินทางกลับประเทศของท่านเป็นการชั่วคราวเพื่อร่วมจัดทำคัมภีร์พจนานุกรมพระไตรปิฎก ฉบับบาลี – พม่า เล่มที่ ๑และตรวจสอบคัมภีร์ต่างๆ มีสุโพธาลังการฎีกาเป็นต้น รวม ๑ ปีหลังจากที่การสังคายนาพระบาลี อรรถกถาและฎีกา รวมทั้งคัมภีร์ต่างๆได้เสร็จสิ้นลงแล้วท่านจึงเดินทางกลับมายังวัดโพธารามตามเดิม

    ในขณะนั้นท่านพระอาจารย์อูเนมินทะ (อัครมหาบัณฑิต)เจ้าอาวาสวัดท่ามะโอรูปก่อนชราภาพมากแล้วจึงได้มีหนังสือไปถึงกรมการสษสนาแห่งประเทศพม่า มีความประสงค์จะนิมนต์ท่านพระอาจารย์อูธัมมานันทะให้มาเผยแพร่พระศาสนาที่วัดท่ามะโอ จ. ลำปางและทางกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่าก็ได้มีหนังสือมาถึงท่านดังนั้นท่านจึงย้ายจาก จ. นครสวรรค์มายังวัดท่ามะโอ จ. ลำปาง ในวันขึ้น ๘ค่ำเดือน ๘ พ.ศ. ๒๕๐๘ (ตรงกับวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๘)หลังจากที่ท่านมาอยู่ที่นี่ได้ ๕ เดือน ท่านพระอาจารย์อูเนมินทะเจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ ก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ท่านพระอาจารย์อูธัมมานันทะจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่ามะโอสืบต่อมาท่านได้เริ่มกิจการเผยแพร่พระศาสนาทางด้านพระปริยัติธรรมด้วยการตั้งโรงเรียน พระปริยัติธรรมขึ้น ในวันพฤหัสบดี แรม ๒ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๕๑๐(ตรงกับวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐)ท่านสามารถก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมให้มีชื่อเสียงขึ้นจนถึงปัจจุบันนี้ เพราะศิษยานุศิษย์ของท่าน สามารถสอบได้ทั้งแผนกนักธรรม และแผนกบาลีทุกๆ ปี เป็นจำนวนมาก

    เนื่องจากการศึกษาพระไตรปิฎกจำเป็นต้องอาศัยคัมภีร์พื้นฐาน ๔ คัมภีร์คือ คัมภีร์ไวยากรณ์ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา คัมภีร์วุตโตทยฉันโทปกรณ์และคัมภีร์สุโพธาลังการานจึงได้ริเริ่มให้มีการศึกษาคัมภีร์พื้นฐานของพระไตรปิฎกทั้ง ๔คัมภีร์นั้น ด้วยการสอนอธิบายและให้นักศึกษาท่องจำคัมภีร์เหล่านั้นพร้อมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่ และถึงแม้ว่าท่านจะชราภาพมากแล้วก็ไม่คำนึงถึงความชราภาพของตัวท่านเองท่านได้อุตสาหะสั่งสอนศิษยานุศิษย์ของท่านให้พยายามศึกษาเล่าเรียนจนได้ผลเป็นที่พึงพอใจของท่านซึ่งศิษยานุศิษย์เหล่านั้นก็ได้รับการยกย่องนับถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในภาษาบาลี

    คัมภีร์ที่ใช้เป็นหลักสูตรในการศึกษา และใช้เป็นคัมภีร์ค้นคว้านั้นท่านพระอาจารย์ได้มอบหมายให้จัดพิมพ์ไว้มีรวม 20 คัมภีร์ด้วยกัน คือ
    ๑ . กัจจายนะ
    ๒ . ปทรูปสิทธิ
    ๓ . โมคคัลลานพยากรณะ
    ๔ . สัททนีติสุตตมาลา
    ๕ . นยาสะ
    ๖ . อภิธาน
    ๗ . สุโพธาลังการ
    ๘ . ฉันท์
    ๙ . สุโพธาลังการปุราณฎีกา
    ๑๐ . สุโพธาลังการอภินวฎีกา
    ๑๑ . ขุททสิกขา , มูลสิกขา
    ๑๒ . ธาตวัตถสังคหะ
    ๑๓ . เภทจินตา๑๔ . กัจจายนสาระ
    ๑๕ . ณวาทิโมคคัลลานะ
    ๑๖ . พาลาวตาร
    ๑๗ . สังขยาปกาสกะ
    ๑๘ . สังขยาปกาสกฎีกา
    ๑๙ . ปโยคสิทธิ
    ๒๐ . วุตโตทยฉันโทปกรณ์แปล

    ส่วนคัมภีร์ที่ท่านรจนาด้วยตนเองมี ๔ คัมภีร์ คือ
    ๑. อุปจารนย และเนตติหารัตถทีปนี
    ๒. อุปสัมปทกัมมวาจาวินิจฉัย
    ๓. สังขิตตปาติโมกขุทเทสวินิจฉัย
    ๔. คัมภีร์นานาวินิจฉัย

    ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ทางรัฐบาลสาธารณรัฐสภาพพม่าได้เห็นเกียรติคุณความดีในด้านการเผยแพร่พระศาสนาของท่านพระอาจารย์ภัททันตะ ธัมมานันทมหาเถระจึงได้พร้อมในกันถวายตำแหน่ง “อัครมหาบัณฑิต”

    ข้อมูลจาก; www.wattamaoh.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2012
  3. บช

    บช Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2009
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +44
    หลวงปู่ภัททันตะธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต แห่งวัดท่ามะโอ ท่านได้นำต้นฉบับคัมภีอุปปาตสันติคาถา หรือมหาสันติงหลวง บาลีอักษรพม่าเข้ามาเมืองไทยที่วัดมหาโพธาราม นครสวรรค์ แล้วแปลเป็นบาลีอัษรไทยโดยท่านเจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์(เช้า ฐิตปญโญ ป.ธ.๙) สมาชิกหลายท่านคงเคยได้ยินและได้สวด มหาสันติงหลวง
    สมัยที่หลวงปู่เกษม เขมโก แห่งสุสานไตรลักษณ์ยังไม่ละสังขาล หลวงปู่เกษม ได้ไปสนทนาธรรมกับหลวงปู่ที่วัดท่ามะโอ
    ส่วนตัวผมเองได้เคยไปกราบท่านหลายครั้ง ท่านมีความเรียบง่ายและเมตตาสูงมากครับ


    สังโฆ อริยสังโฆ ปะมาเทนะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง สังพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต
    เถเร มะหาเถเร ปะมาเทนะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต
    คุรุ อาจาริเย ปะมาเทนะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต
     
  4. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    พักนี้พระสุปฏิปันโนทยอยมรณภาพไปเยอะนะครับ นึกๆแล้วน่าใจหาย อะไรจะเกิดขึ้นน๊อ....
     
  5. kkookk

    kkookk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +1,326
    ขอน้อมกราบส่งหลวงพ่อภัททันตะธัมมานันทมหาเถระสู่พระนิพพานครับ หากข้าพเจ้าได้เคยกระทำจาบจ้วงล่วงเกินด้วยกาย วาจา หรือใจ ต่อหลวงพ่อภัททันตะธัมมานันทมหาเถระ ไม่ว่าจะในอดีตชาติก็ดี ปัจจุบันชาติก็ดี ข้าพเจ้าขอขมาลาโทษ ขออโหสิกรรม ขอขมากรรมต่อหลวงพ่อทั้งสิ้น ธรรมอันประเสริฐใดที่หลวงพ่อแจ้งแล้ว ขอธรรมนั้นจงมาบังเกิดปรากฎในข้าพเจ้าด้วยเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ....
     

แชร์หน้านี้

Loading...