ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ต้องสร้างเหตุแห่งปัญญา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 28 กรกฎาคม 2012.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]

    ๑. สุตมยปัญญา
    คือ ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน ในเรื่อง ภูมิ ปฏิสนธิ กรรม กิเลส เป็นต้น

    ๒.จินตามยปัญญา
    คือ ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณา ในความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย เกี่ยวกับความ มีโรค
    ความไม่มีโรค ความโง่ ความฉลาด ความสุข ความทุกข์ อายุสั้น อายุยืน เหล่านี้เป็นต้น

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="90%"><TBODY><TR><TD>๓. ภาวนามยปัญญา</TD></TR><TR><TD>คือ ปัญญาที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนา เป็นปัจจัยให้เกิด กัมมัสสกตาญาณ มีการเห็นนามรูป
    พร้อมทั้งปัจจัยของนามรูป เป็นต้น


    กัมมัสสกตาปัญญา
    กัมมัสสกตา ความเข้าใจถูกในเรื่อง กฏแห่งกรรม ผลของบาปบุญ
    ความเข้าใจถูกว่าชาติก่อนชาติหน้ามีจริงนี้ ย่อมเป็นกุศลธรรมที่มีประโยชน์
    และเกื้อหนุนต่อความเจริญขึ้นของ กุศลธรรมในเบื้องสูง ต่อ ๆ ไป

    ความเข้าใจในเรื่อง อนัตตา ความไม่มีตัวตน ไม่มีเรา ไม่มีเขานั้น
    มิได้เกิดมาจากความเพิก ความไม่ใส่ใจในกุศลธรรมเบื้องต้น

    แต่ตรงกันข้าม การเข้าถึงอนัตตา อันเป็นหลักธรรมเบื้องสูงนั้น
    จะต้องมี กุศลธรรมพื้นฐานต่างๆ ที่เจริญไว้มากแล้ว ไม่ว่าจะเป็น
    ศีลวิสุทธิ จิตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ การเจริญภาวนา การเจริญสมถะและวิปัสสนา
    การเจริญสติปัฏฐาน จนเกิด กังขาตรณวิสุทธิ คือความรู้เห็นอย่างถูกต้อง
    และหมดความสงสัยในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด

    ความเข้าใจว่าชาติก่อนมีจริงชาติหน้ามีจริงนี้ ไม่ได้จำเป็นจะต้องเกิดด้วย
    ปุพเพนิวาสานุสสติ (คือการระลึกชาติได้) หรือ
    จุตูปปาตญาณ (คือการเห็นการปฏิสนธิจุติของสัตว์ด้วยทิพยจักษุ)เท่านั้น

    แต่สามารถเกิดขึ้นด้วย การเจริญสมถะวิปัสสนา การเจริญสติปัฏฐานกำหนดรู้ในรูปนาม ก็ได้

    เมื่อได้เห็นแล้วว่า แท้จริง เรานั้นเองก็ประกอบไปด้วย ขันธ์ ๕ รูปนาม ที่เกิดดับสืบต่อกันไป
    และรูปนามแต่ละขณะก็เป็นปัจจัยสืบต่อซึ่งกันและกัน
    กรรมหรือรูปนามหนึ่งในอดีตก็เป็นปัจจัยแก่ รูปนามในปัจจุบัน และอนาคตได้
    จึงหมดความสงสัยในเรื่องกฏแห่งกรรม เข้าใจว่าชาติก่อนชาติหน้ามีจริง ด้วยภาวนามยปัญญานี้เอง

    และปัญญานี้ก็เรียกว่า "กัมมสกตาปัญญา" หรือ "กัมมสกตาสัมมาทิฏฐิ"





    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 กรกฎาคม 2012
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [๘๒๒] ในญาณวัตถุ หมวดละ ๔ นั้น กัมมัสสกตาญาณ เป็นไฉน
    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
    อันใด มีลักษณะรู้อย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การบูชาพระรัตนตรัยมีผล โลก
    นี้มีอยู่ โลกหน้ามีอยู่ มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ผู้จุติและปฏิสนธิมีอยู่ สมณ-
    *พราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วย
    ตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ทั่วกัน มีอยู่ในโลกนี้ ดังนี้ นี้เรียกว่า กัมมัสส-
    *กตาญาณ ยกเว้นสัจจานุโลมิกญาณ กุศลปัญญาที่เป็นสาสวะแม้ทั้งหมด ชื่อว่า
    กัมมัสสกตาญาณ
    สัจจานุโลมิกญาณ เป็นไฉน
    อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ
    ธัมมนิชฌาน ขันติญาณ อันใด มีลักษณะรู้อย่างนี้ ว่ารูปไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่า
    เวทนาไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยงดังนี้บ้าง
    ว่าวิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง นี้เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ
    ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า มัคคสมังคิญาณ
    ปัญญาในผล ๔ ชื่อว่า ผลสมังคิญาณ

    http://84000.org/tipitaka/read/?35/822/443


    <CENTER></CENTER>
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    สมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา

    สติเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ

    สัญญาเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ​
     
  4. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    เรื่องกรรม และผลแห่งกรรม เรื่องชาตินี้ และชาติอื่น
    เป็นพื้นฐานของชาวพุทธที่ควรจะทำความเข้าใจ
    ส่วนเรื่องบุปเพนิวาสานุสสติญาณนั้น บุคคลใดพึงจะทำให้มีก็พึ่งทำ
    บุคคลใดไม่พึงจะทำให้มี ก็ไม่จำเป็นต้องทำ
    ฌานวิสัยนั้นพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ปัญญา จะเกิดขึ้นได้ ต้องฝึกเป็นคนหมั่นสังเกตุ มีสติ มีสมาธิ สนใจจรดจ่อในเรื่องที่ เราจะทำให้มันดี
    แล้ว จะทำอะไรให้หมั่น ใคร่ครวญก่อน คิด พูด ทำ
    รู้จักว่า อะไรไม่ดีต่อตน ก็ปัดทิ้งไปก่อน
    รู้จักว่า อะไรดีต่อตน ก็เจริญให้มันมากขึ้นไป
    อะไรควรก่อน อะไรควรหลัง เบา หนัก ต้องรู้จักพินิจพิจารณา ให้เป็นนิสัยสันดานของตน

    นี่แหละจะทำให้เราเป็นคนที่ มีปัญญา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 กรกฎาคม 2012
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    นั่นมันเป็นปัญญาของเอง
    เขาศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้ากัน เขาไม่ได้ศึกษาธรรมของคนใดคนหนึ่ง
    พยายามจะยัดเยียดธรรมของเองให้คนอื่นน่าอนาถแท้ และพยายามจะเอาธรรมของเอง มาสอนแข่งกับพระพุทธเจ้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 สิงหาคม 2012
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ปัญญาที่แบ่งประเภทบุคคล
    ๑. ปัญญินทรีย์ เป็นปัญญาของปุถุชน ที่เจริญ ฌาน อภิญญา (โลกียะปัญญา)
    ๒. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ปัญญาของพระโสดาบัน. (โลกุตรปัญญา)
    ๓. อัญญินทรีย์ ปัญญาของ พระสกทาคามี. พระอนาคามี. (โลกุตรปัญญา)
    ๔. อัญญาตาวินทรีย์ ปัญญาของ พระอรหันต์. (โลกุตรปัญญา)
     
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    นี่ไงเหตุของคนพูดมาก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการเหล่านี้ ในบุคคลผู้พูดมาก คือ

    ๑. ย่อมพูดปด
    ๒. ย่อมพูดส่อเสียด (คือยุให้แตกร้าวกัน)
    ๓. ย่อมพูดคำหยาบ
    ๔. ย่อมพูดเพ้อเจ้อ
    ๕. สิ้นชีวิตแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต (ความล่มจมตกต่ำ) นรก

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการเหล่านี้แล ในบุคคผู้พูดมาก."

    ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๘๒
    <!-- End main-->
     
  9. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717

    สาธุ ครับ.....สภาวะ ธรรม ทั้ง 3 กระบวนการเป็นเช่นนั้นจริงๆ.....
     
  10. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    สติ+สัมปชัญญะ เป็นเหตุให้เกิดปัญญา


    สมาธิ เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา
     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย

    ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ
    1. โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา)
    2. โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา)
    3. โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา)
    ปัญญา ที่เป็นระดับ อธิปัญญา คือปัญญาอย่างสูง จัดเป็นสิกขาข้อหนึ่งใน สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา คือ อธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญา

    อ้างอิง

    ปัญญา - วิกิพีเดีย

    ปัญญาคืออะไร - มีคำตอบ - กูรู

    http://www.abhidhamonline.org/Ajan/Sua/sudtang.doc
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 สิงหาคม 2012
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    วิปัสสนา เราเคยได้ยินคำนี้อยู่เสมอ ๆ

    นั้นมีอยู่จำนวนไม่น้อยเลยที่เดียว ที่ไม่รู้จักความหมายที่แท้จริง
    ของคำว่า "วิปัสสนา"หลายคนเข้าใจว่า วิปัสสนานี้ เป็นการปฏิบัติชั้นสูง
    เกี่ยวกับการนั่งทำจิตให้สงบหรือให้มีสมาธิ
    จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นลมหายใจเข้าออก เป็นต้น

    เรียกว่านั่งวิปัสสนา ซึ่งทำอย่างนี้แล้วก็จะเกิดมีความรู้
    คือญาณที่วิเศษกว่าความรู้ความเห็นของคนปกติธรรมดา
    คนปกติธรรมดาทีมิได้ทำอย่างนี้ ไม่สามารถรู้เห็นอย่างนี้ได้

    เช่นว่ารู้เห็นความเป็นไปต่างๆทั้งในโลกและนอกโลก
    รู้เห็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตล่วงหน้า เห็นนรก เห็นสวรรค์
    เห็นคนนั้นคนนี้ตายไปแล้ว ว่าได้ไปนรกชั้นนี้ สวรรค์ชั้นนั้น อย่างนี้เป็นต้น

    ซึ่งเป็นความรู้ที่ทำให้ตนเป็นผู้วิเศษเหนือกว่าคนอื่น
    ปรากฎว่าเป็นที่นิยมชมชอบทั่วไป เพราะเหตุนั้นนั่นเอง
    จึงมีสำนักปฏิบัติเพื่อปฏิบัติจุดประสงค์อย่างนี้มากมายทั่วประเทศ
    นับกันเป็นร้อยๆสำนักเลยที่เดียว ชื่อของสำนักจะมีคำว่าวิปัสสนานี้กำกับอยู่ด้วยเสมอ

    ที่เป็นอย่างนี้ นอกจากเพราะเหตุอย่างอื่นแล้ว
    ยังเป็นเพราะเหตุที่คนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ ไม่มีความเข้าใจ
    คำว่าวิปัสสนา นี้แหละเป็นเหตุสำคัญอันแรกเลยทีเดียว

    เมื่อแม้คำว่าวิปัสสนาก็ยังไม่รู้จัก ไม่มีความเข้าใจแม้เพียงความหมายที่แท้จริงเท่านั้น
    อย่างนี้แล้ว จะป่วยกล่าวไปไยว่าจะเจริญวิปัสสนาไดถูกต้องได้เล่า
    คำว่า "วิปัสสนา" นี้เป็นชื่อของปัญญา ซึ่งเป็นธรรมชาติที่รู้

    ก็แต่ว่าสิ่งที่ปัญญารู้นั้นมีมากมายหลายอย่าง ปัญญาจึงมีมากมายหลายอย่างตามสิ่งที่รู้นั้น
    กล่าวคือ ปัญญาที่รู้วิชากฏหมายก็อย่างหนึ่ง ปัญญาที่รู้วิชาภูมิศาสตร์ก็อย่างหนึ่ง
    ปัญญาที่รู้วิทยาศาสตร์ก็อย่างหนึ่งอย่างนี้เป็นต้น

    ในบรรดาปัญญามากมายหลายอย่างเหล่านั้น เฉพาะปัญญาที่รู้ไตรลักษณ์
    คือ ลักษณะ ๓ อย่าง มี อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ เท่านั้น จึงได้ชื่อว่าวิปัสสนา
    เพราะฉะนั้น พอจะกล่าวเอาแต่ความได้ว่า ปัญญาที่ชื่อว่าวิปัสสนานั้น

    คือ ปัญญาที่รู้ว่า สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 สิงหาคม 2012
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    หน้าที่ของมรรคญาณ มี ๔ อย่างคือ
    ๑. ปริญญากิจ หมายความว่า มรรคญาณที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมกำหนด รู้แจ้งทุกขสัจจะ คือรูปนาม ขณะที่กำกำหนดรู้อยู่นั้นเอง
    ๒. ปหานกิจ หมายความว่า มรรคญาณที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมประหาณสมุทัยสัจจะ
    ๓. ภาวนากิจ หมายความว่า มรรคญาณที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้องค์มรรคที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับตนเจริญขึ้น โดยความเป็น สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สหชาตินทริยปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
    ๔. สัจฉิกริยกิจ หมายความว่า มรรคญาณที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้เข้าถึงพระนิพพาน หน้าที่ของมรรคญาณโดยตรงนั้น คือ ย่อมเข้าถึงนิพพานธาตุ ส่วนอีก ๓ ข้อนั้นเป็นข้อเกิดขึ้นด้วย ความสำเร็จในหน้าที่ทั้ง ๔ อย่างของมรรคญาณนี้ อุปมาเหมือนดวงไฟอย่างหนึ่ง ดวงอาทิตย์อย่างหนึ่ง เรือข้ามฟากอย่างหนึ่ง ธรรมดาดวงไฟ หรือดวงอาทิตย์ หรือเรือข้ามฟาก ย่อมทำหน้าที่ให้สำเร็จพร้อมกัน ๔ อย่าง คือ

    ดวงไฟ ๑. ทำให้ไส้หมด ๒. ทำให้ความมืดหายไป ๓. ทำให้แสงสว่างเกิดขึ้น ๔. ทำให้น้ำมันหมดไป
    เมื่อเปรียบเหมือนมรรคญาณแล้วดังนี้
    - ทำให้ใส้หมดไป เหมือนกับมรรคญาณขณะเกิดขึ้นย่อมรู้แจ้งทุกขสัจจะให้ความมืดหายไป
    - เหมือนกับมรรคญาณขณะเกิดขึ้นประหาณสมุทยสัจจะที่มีความพอใจในทุกขสัจจะขณะกำหนดรู้อริยะบทใหญ่ อิริยบทน้อย การเห็น การได้ยิน การกิน การนึกคิด
    - ทำให้แสงสว่างเกิดขึ้น เหมือนกับมรรคญาณขณะเกิดขึ้น ย่อมทำให้องค์มรรคที่เกิดพร้อมกันกับตนเจริญขึ้น หมายถึงมีกำลงเข้าแข็งขึ้น
    - ทำให้น้ำมันหมดไป เหมือนกับ มรรคญาณขณะเกิดขึ้น ย่อมเข้าถึงนิพพานธาตุที่เป็นที่สิ้นกิเลส

    ดวงอาทิตย์
    ๑. ให้สัตว์ต่างๆ ปรากฎขึ้น
    ๒. ให้ความมืดหายไป
    ๓. ให้มีแสงสว่างปรากฎ
    ๔. ให้ความเย็นลดลงหรือหายไป
    เมื่อเปรียบเทียบกับมรรคญาณ มีดังนี้
    ๑. เหมือนกับปริญญากิจ ๒. เหมือนกับ ปหาณกิจ ๓. เหมือนกับภาวนากิจ ๔. เหมือนกับสัจฉิกริยกิจ

    เรือข้ามฟาก
    ๑. ทำให้พ้นจากฝั่ง
    ๒. ตัดกระแสน้ำ
    ๓. นำสัตว์และสิ่งของต่างๆไป
    ๔. ให้ถึงฝั่งข้างโน้น
    เมื่อเปรียบเทียบกับมรรคญาณ มีดังนี้
    ๑. เหมือนกับ ปริญญากิจ ๒. เหมือนกับ ปหานกิจ ๓. เหมือนกับ ภาวนากิจ ๔. เหมือนกับ สัจฉิกริยากิจ
    (มาในวิสุทธิมรรคอรรถกถา ญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส)
     
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=680><TBODY><TR><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC] แม้ว่าคนเราจะยังไม่สามารถที่จะละความเห็นผิดว่า เป็นเราเป็นเขา (สักกายทิฏฐิ) เห็นว่าของเรา ของเขา ได้ก็ตาม แต่ถ้ามีความเห็นตรงตาม ทสวัตถุกสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ประการ ดังต่อไปนี้ ก็ชื่อว่ามีกัมมัสสกตาญาณ เป็น ทิฏฐุชุกรรม คือ เห็นถูกต้องตรงความเป็นจริง[/FONT]</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 cellPadding=3 width=680><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 height=60>
    ทสวัตถุกสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ประการ
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="99%"><TBODY><TR><TD height=32 vAlign=top width="5%" align=right>๑.</TD><TD vAlign=top width="9%" align=middle>เห็นว่า </TD><TD vAlign=top width="31%">การทำบุญ </TD><TD width="57%">ย่อมได้รับ ผลของบุญ คือ ผลดีมีประโยชน์</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๒.</TD><TD vAlign=top align=middle>"</TD><TD vAlign=top>การบูชา </TD><TD>” ผลของการบูชา คือ ผลดีมีประโยชน์</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๓.</TD><TD vAlign=top align=middle>"</TD><TD vAlign=top>การเชื้อเชิญต้อนรับ </TD><TD>” ผลของการเชื้อเชิญต้อนรับ</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๔.</TD><TD vAlign=top align=middle>"</TD><TD vAlign=top>การทำดีทำชั่ว</TD><TD>” ผลของการทำดีทำชั่ว ทั้งทางตรงและทางอ้อม</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๕.</TD><TD vAlign=top align=middle>"</TD><TD vAlign=top>ภพนี้ โลกนี้ (ปัจจุบัน)</TD><TD>มีเพราะมีการเกิด</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๖.</TD><TD vAlign=top align=middle>"</TD><TD vAlign=top>ภพหน้าโลกหน้า </TD><TD>มีเพราะคนตายแล้วมีกิเลส ต้องเกิดอีกในโลกหน้า</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๗.</TD><TD vAlign=top align=middle>"</TD><TD vAlign=top>การทำดีทำชั่วต่อมารดา </TD><TD>จะต้องได้รับผลดี หรือผลชั่วในอนาคต </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๘.</TD><TD vAlign=top align=middle>"</TD><TD vAlign=top>การทำดีทำชั่วต่อบิดา </TD><TD>จะต้องได้รับผลด ีหรือผลชั่วในอนาคต</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๙.</TD><TD vAlign=top align=middle>"</TD><TD>สัตว์ที่เกิดแล้วเติบโตขึ้นทันที </TD><TD>คือ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหม มีจริง</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๑๐.</TD><TD vAlign=top align=middle>"</TD><TD vAlign=top>ผู้รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้า </TD><TD>สามารถชี้แจงให้เห็นจริงได้นั้นมี และผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพื่อเข้าถึงมรรคผลนิพพานนั้นก็มี</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> เมื่อสำรวจตนเองแล้ว เห็นว่ามีความเห็นตรงครบถ้วนทั้ง ๑๐ ประการ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีความเห็นตรง ตามความเป็นจริง คือเป็นผู้มี ทิฏฐุชุกรรม ควรจะได้อบรมศึกษา ในด้านปริยัติและปฏิบัติ เพื่อปรับปรุงแก้ไขความเห็นของตน ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ถ้าสำรวจแล้วมีความเห็นตรงไม่ครบทั้ง ๑๐ ประการ ก็แสดงว่า เรายังขาดการศึกษาเล่าเรียน การสดับตรับฟัง ขาดการใคร่ครวญนึกคิดพิจารณา และยังขาดการปฏิบัติที่ถูกต้อง คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ถ้าเช่นนั้น ผมขอเจริญวิปัสสนากรรมฐาน แต่อย่างเดียวได้หรือไม่คับ
    เพราะผลของการเจริญอันนี้ เป็นเหตุให้เข้าใจ10 ข้อในกรอบข้างบนได้อย่างชัดเจนมาก

    ถ้าสำรวจแล้วมีความเห็นตรงไม่ครบทั้ง ๑๐ ประการ
    ===> ก้เพราะขาดการปฏิับัติวิปัสสนากรรมฐานตัวเดียวเท่านั้น
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    วิปัสสนาปัญญา เป็นเหตุให้เข้าถึงวิมุตติคือความหลุดพ้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...