เพื่อการกุศล :::(เปิดจอง)ล็อกเกตพระแก้วมรกต"ภูริทัตตเถรานุสรณ์-สมเด็จองค์ปฐมอมฤตศุภมงคลญาณสังวร":::

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย dekdelta2, 13 พฤศจิกายน 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    [​IMG]


    พระธาตุคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ยอดนักอภิญญาแห่งยุค ของมงคลสูงสุดที่นำมาบรรจุในล็อกเก็ตชุดพิเศษนึ้

    คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม เป็นนักปฏิบัติธรรม ยอดนักอภิญญาแห่งยุค ท่านสำเร็จอิทธิวิธี สามารถแสดงฤทธิ์และอธิษฐานจิตให้เป็นไปตามนึกได้ เช่น การย่นระยะทาง บังคับให้ฟ้าฝนตก สามารถหายตัวได้ และ การักษาโรคด้วยการอธิษฐานจิตของมงคลต่างๆ เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ที่บางโรคพทย์ปัจจุบันไม่สามารถรักษาได้แต่ท่านสามรถรักษาได้ด้วยอำนาจจิต การอธิษฐานจิตของท่าน คือ การอธิษฐานธรรม เชิญคุณพระรัตนตรัยมาบรรจุพุทธคุณ ทำให้ของมงคลท่าน ของท่านอธิษฐานจิต อาทิ พระพุทโธน้อย ศิลาน้ำ ช้อนกวักทอง ถุงเขียวเหนี่ยวทรัพย์ มีพุทธานุภาพสูงล้ำ ครอบจักรวาล จะเห็นว่าของท่านนั้นได้ผลเร็วและสามารถปกกันอันตรายได้จริง มีโชคลาภสูง หลวงตาสุวรรณ วัดอาวุธ ที่เคยอุปฐากคุณแม่ เคยกล่าวไว้ว่า "คุณแม่บุญเรือนท่านเข้าญาณเหมือนเด็ก เข้าญาณได้รวดเร็ว ดั่งใจนึก" ทำให้ท่านสามารถแสดงฤทธิ์ด้วยอิทธวิธีได้อย่างรวดเร็วได้ผล ของท่านจึงได้ผลเร็ว

    คุณแม่บุญเรือน ยังเป็นยอดนักปฏิบัติธรรมและวิปัสนาจารย์อีกด้วย ว่ากันว่า ท่านทรงเป็น "พระอนาคามี" ตอนมีชีวิตอยู่ ไม่ตัดเป็นพระอรหันต์ เพราะจะช่วยเหลือคนได้น้อย(พระไตรปฏิกกล่าวไว้ว่า ฆราวาสถ้าสำเร็จเป็นพระอรหันต์จะนิพพานภายใน 7 วัน) ดั่งที่หลวงปู่บุดดา ถาวโน ได้ยกย่องไว้ว่า "คุณแม่บุญเรือนเป็นลูกศิษย์ฉัน ได้อภิญญาห้า เป็นพระอนาคามี จะไปสำเร็จข้างบน"

    หลังจากประชุมเพลิงสรีรธาตุ อัฐิธาตุของท่านได้แปรสภาพเป็นพระธาตุอย่างดงาม ดั่งที่หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก กล่าวไว้ว่า "เป็นยอดมณีแก้ว สุกสว่าง ใส ของนักปฏิบัติ"


    พระธาตุของคุณแม่บุญเรือนชุดนึ้ ผมได้รับมอบมาจากลูกศิษย์ที่ไปร่วมงานประชุมเพลิงท่าน เมื่อได้อัฐิมาเก็บไว้บูชาก็แปรสภาพเป้นพระธาตุหลากหลายสี อาทิ สีทับทิม สีมรกต เป้นต้น

    เกศาคุณแม่บุญเรือน ผมได้รับตกทอดมาจาก หลวงตาสุวรรณ วัดอาวุธ ผู้อุปฐากคุณแม่บุญเรือนครับ


    [​IMG]

    จะเห็นได้ว่าหลังล็อกเก็ตที่บรรจุมวลสารมงคล จะเห็นพระธาตุเม็ดสีทับทิม เป็นพระธาตุของคุณแม่บุญเรือน และสังเกตจะเห็นเกศาฝังอยู่ใกล้ๆกับเม็ดพระธาตุ นั้นคือเกศาของคุณแม่ครับ



    [​IMG]

    พระธาตุคุณแม่บุญเรือนและเกศาของคุณแม่ที่ผมมีไว้บูชาในปัจจุบัน(ได้นำพระธาตุเม็ดสีทับทิม องค์ใหญ่บรรจุหลังล็อกเก็ตแล้ว) จะสังเกตุเห็นว่าเกศาเก่าจนเหลือง




    "พระธาตุอยู่ที่ไหน ที่นั้นเจริญ"

    หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0588.JPG
      DSC_0588.JPG
      ขนาดไฟล์:
      9.3 KB
      เปิดดู:
      77
    • IMG_0017.JPG
      IMG_0017.JPG
      ขนาดไฟล์:
      115.4 KB
      เปิดดู:
      1,362
  2. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    555 ของที่บรรจุด้านหลัง หนักๆทั้งนั้น ครับ มีแต่ระดับปรมาจารย์ :cool:
     
  3. kajit

    kajit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,656
    ค่าพลัง:
    +3,351
    เปิดให้ 10,999
     
  4. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    ตอนนึ้พี่ไชยพันธุ์ประมูลสูงสุดอยู่ตอนนึ้ 15000 ครับ คุณอา kajit
     
  5. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    ขอเชิญร่วมประมูลกันน่ะครับ ของมงคลสูงสุด พลาดครั้งนึ้ไม่มีอีกแล้วน่ะครับ ของที่บรรจุระดับปรมาจารย์ทั้งนั้น 555 เดี่ยวจะมาเสียใจภายหลัง มาถามว่า คุณลูกวัดท่าซุงมีอีกมั่ย ไม่มีแล้วครับ ชุดนึ้นำออกหมดตัวจริงๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 พฤศจิกายน 2012
  6. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    [​IMG]


    ผง 22 สังฆาฐิ เป็นสังฆาฐิที่หลวงพ่อฤาษีสั่งให้คุณอาอรรณพ รวบรวมสังฆาฐิของสุดพระสุปฏิปันโนในยุคนั้น 22 รูป ซึ่งสังฆาฐิทุกชิ้นเป็นสังฆาฐิที่ท่านใช้และท่านได้อธิษฐานจิตให้อีกรอบ

    ดังรายนามดังต่อไปนึ้



    1. พระเดชพระคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
    2. หลวงพ่อพระราชพรหมญาณ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง
    3. ครูบาพรหมจักโก (พระสุพรหมยานเถระ)วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    4. ครูบาอินทจักโก (พระสุธรรมยานเถระ) วัดน้ำบ่อหลวง
    5. ครูบาคำแสน (หลวงปู่คำแสนใหญ่) วัดสวนดอก
    6. ครูบาคำแสน (หลวปู่ครูบาคำแสนเล็ก) วัดดอยมูล
    7. ครูบาทิม(ทืม) พรหมเสโน วัดจามเทวี
    8. ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย
    9. ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง
    10.หลวงปุ่หล้า ตาทิตย์ วัดป่าตึง
    11.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี
    12.ครูบาชัยยะวงศา วัดนาเลียง
    13.หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรี
    14.หลวงปู่สี ฉันทศิริ วัดถ้ำเขาบุนนาค
    15.หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง
    16.หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง
    17.หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่
    18.ท่านเจ้าคุณ นรฯ วัดเทพศิรินทราวาส
    19.หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง
    20.หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ
    21.ครูบาเจ้าเกษม เขมโก สำนักสงฆ์สุสานไตรลักษณ์
    22 ท่านอาจารย์โกวิน วัดไผ่รื่นรมย์


    โดยเฉพาะผ้าสังฆาฐิของหลวงปู่สี ฉันทสิริ ท่านใช้มาตั่่งแต่พรรษา 4 พ่อค้าชาวจีนที่เป็นคหบดีนำมาถวาย เป็นผ้าไหมเก่า ตัดถออย่างดี แล้วมอบให้คุณอาอรรณพ คิดดูว่าจะศักดิ์ศิษย์ขนาดไหน เท่ากับท่านอธิษฐานจิตมา 100 ปีเต็มๆ คงไม่มีพระรุ่นไหนของหลวงปู่สีที่เสกมายาวนานเท่านึ้ ปรากฏท่านเอามือแตะสามครั้ง หลวงปู่แหวนยังบอกว่าศักดิ์ศิษย์กว่าท่านเสก 3 เดือนครับ


    [​IMG]


    รับมอบผง 22 สังฆาฐิ มาจากพันตำรวจเอก อรรณพ กอวัฒนา ตัวจริงเสียงจริง ไม่ได้อิงนิยาย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PA080297.jpg
      PA080297.jpg
      ขนาดไฟล์:
      197.3 KB
      เปิดดู:
      1,164
    • IMG_2592.JPG
      IMG_2592.JPG
      ขนาดไฟล์:
      171.5 KB
      เปิดดู:
      1,184
  7. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    ตอนนึ้ยอดประมูลสูงสุดอยู่ 15000 บาท รอท่านผู้มีบุญมาต่อครับ
     
  8. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    [​IMG]

    “เป็นมงคลมาตั้งแต่เริ่มแรกที่คิดเรื่องเกี่ยวกับการกฐิน

    การกฐินนี้มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เป็นวันที่รวมของประชาชนทั้งหลาย

    ผู้มีความรักใคร่ใกล้ชิดต่ออรรถต่อธรรมต่อพุทธศาสนา

    นับว่าเป็นมงคลอย่างยิ่ง”


    (เทศน์เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๑)


    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด
     
  9. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    [​IMG]


    การทำบุญมหากฐินครั้งนึ้ นอกจากอานิสงค์ มหาบุญกฐิน อานิสงค์ในการบูรณะพระธาตุเจดีย์แล้ว ยังได้อานิสงค์ของการเทอคอนกรีตอีกด้วย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ท่านพรรณาคุณไว้อย่างน่าสนใจดังนึ้

    ๒๑.ทําบุญสูงๆ

    ผู้ถาม-หลวงพ่อเจ้าขาได้ยินคนโบราณผู้เฒ่าผู้แก่พูดเสมอว่าหากจะได้ผลานิสงส์สูงๆนั้นเราจําเป็นจะต้องทําบุญจากที่สูงๆเช่นช่อฟ้ากระเบื้องมุงหลังคาเป็นต้นถ้าหากว่าเราทํากับของต่ำๆเช่นเทพื้นปูนโบกพื้นวัดเราจะได้อานิสงส์ต่ำๆไม่ทราบว่าโบราณสอนมาอย่างนี้จะได้หรือเปล่าขอหลวงพ่อชี้แนะด้วยเถิดเจ้าค่ะ

    หลวงพ่อ-ใช้ได้ใช้ได้ซิทําไมใช้ไม่ได้ล่ะถ้าเขาต้องการสูงก็ทําบุญสูงๆใช่ไหมเวลาตายเขาจะต้องไปเกิดเป็นจิ้งจกลงต่ำไม่ได้(หัวเราะ)เกาะเพดานกับอกไก่เกิดเป็นนกก็เกาะช่อฟ้าแต่ความจริงโบราณที่พูดมาน่ะโบราณโง่มั้งโบราณนี่ไม่ใช่ฉลาดทุกคนนะก็มีโง่ถ้าอยู่บ้านไม่มีเสาจะอยู่ได้ไหมถ้ามีเสามีทุกอย่างแต่ไม่มีแผ่นดินล่ะก็ไม่ได้อีกใช่ไหมต้องทําทุกอย่าง

    ผู้ถาม–ก็ต้องมาเทปูนวัดท่าซุง

    หลวงพ่อ-เทพื้นคอนกรีตซะบ้านไม่ทรุดทรัพย์ไม่ทรุดรวยตลอดรวยขึ้นไม่มีลง

    ผู้ถาม-รวยขึ้นด้วยหรือครับและก็วงเล็บต้องชาตินี้ด้วยหรือเปล่าครับ

    หลวงพ่อ-ชาตินี้เอาชาติไหนล่ะ

    ผู้ถาม-งั้นถ้าหากจะได้ชาตินี้ต้องไปวัดท่าซุง

    หลวงพ่อ-ใช่ๆอย่าไปเทวัดนะ(หัวเราะ)พวกจะเทวัดเสียแล้ววัดไหนก็ได้เหมือนกันล่ะนะที่ไหนก็ได้
     
  10. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    [​IMG]

    อานิสงส์การสร้างพระธาตุ

    พระปุฬินถูปิยเถระ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ในครั้งพุทธกาลได้กล่าวถึงผลที่ท่านได้รับจากการที่ท่านเคยสร้างพระสถูปเจดีย์ไว้ดังนี้ “…เราเป็นชฎิลผู้มีตบะกล้ามีนามว่า นารทะ เราอยู่ในป่าผู้ที่จะสั่งสอน เราก็ไม่มีใครๆ ที่จะตักเตือนเราไม่มี เราไม่มีอาจารย์และอุปัชฌาย์ สิ่งที่ควรบูชาเราควรแสวงหาเหมือนกัน เราจักได้ชื่อว่าเป็นผู้มีที่พึ่ง ครั้งนั้นเราได้ไปแม่น้ำชื่อ อเมริกา ตะล่อมเอาทรายมาก่อเป็นเจดีย์พระสถูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราได้ทำสถูปนั้นให้เป็นนิมิต เราก่อพระสถูปที่หาดทรายแล้วปิดทอง แล้วเอาดอกกระดึงทอง ๓,๐๐๐ ดอก มาบูชา เราเป็นผู้มีความอิ่มใจ ประนมกรอัญชลี นมัสการทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า ไหว้พระเจดีย์เหมือนถวายบังคมพระพุทธเจ้าในที่เฉพาะพระพักตร์ฉะนั้น ในเวลาที่กิเลสและความตรึกเกี่ยวด้วยกามเกิดขึ้น เราย่อมนึกถึง เพ่งดูพระสถูปที่ได้ทำไว้ เราประพฤติอยู่เช่นนี้ได้ถูกพระยามัจจุราชย่ำยี เราทำกาลกิริยา ณ ที่นั้นแล้วได้ไปยังพรหมโลก เราอยู่ในพรหมโลกนั้นตราบเท่าหมดอายุ แล้วมาบังเกิดในไตรทิพย์ได้เป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๘๐ ชาติ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ชาติ และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้ เราได้เสวยผลของดอกกระดึงทองเหล่านั้น ดอกกระดึงทอง ๒๒,๐๐๐ ดอก แวดล้อมเราทุกภพ เพราะเราได้เป็นผู้บำรุงพระสถูปฝุ่นละอองย่อมไม่ติดกับตัว ที่ตัวเราเหงื่อไม่ไหล เรามีรัศมีแผ่ซ่านออกจากตัว พระสถูปเราได้สร้างไว้ดีแล้ว เราได้บรรลุบท (ธรรม) อันไม่หวั่นไหวก็เพราะได้ก่อสถูป ผู้ปรารถนาจะกระทำกุศล ควรเป็นผู้ยึดเอาสิ่งที่เป็นสาระ ความปฏิบัตินั่นเองที่เป็นสาระ เมื่อถึงภพ (ชาติ) สุดท้าย เราเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาลอันมั่งคั่ง ในพระนครสาวัตถี เราได้เห็นพระสถูปเสมอ จึงระลึกถึงเจดีย์ขึ้นได้นั่งอาสนะอันเดียวได้บรรลุอรหัตแล้ว เราได้บรรลุอรหัตตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ เราแสวงหาพระพุทธเจ้า เราได้เห็นพระธรรม จึงออกจากเรือนบรรพชาในสำนักของพระศากยบุตร กิจที่ควรทำในศาสนาของพระศากยบุตร เราได้ทำสิ้นแล้ว ข้าแต่พระ ผู้มีความเพียรอันยิ่งใหญ่ สาวกของพระองค์เป็นผู้ล่วงพ้นเวรภัยทุกอย่าง ล่วงพ้นความเกี่ยวข้องทั้งปวง นี้เป็นผลแห่งพระสถูปทอง…”

    ( ขุ.อ. แปล ๓๓/๓๕ ) ปุฬินถูปิยเถราปทาน ว่าด้วยผลแห่งการก่อพระสถูปเจดีย์
     
  11. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    วันนึ้จะลงเรื่องเม้ดประคำปราบหงศาน่ะครับ ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

    เหลือ 3 วันสุดท้ายแห่งการร่วมประมูล ที่จะได้รับของมงคลสูงสุด

    ยอดตอนนึ้สูงสุดอยู่ที่ 15000 บาท รอผู้มีบุญมาประมูลต่อน่ะครับ
     
  12. เบญจธาตุ

    เบญจธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2012
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +1,236
    สวัสดีครับคุณลูกท่าซุง ผมขอประมูล ที่ 15,999 บาท ครับ

    ขอบคุณมากครับ
     
  13. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    อนุโมทนา สาธุ ด้วยครับ :cool:
     
  14. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    [​IMG]


    เม็ดประคำปราบหงศา หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว หนึ่งในสุดยอดเครื่องรางเมืองไทย นำบรรจุในล็อกเก็ตพระแก้วชุดพิเศษนึ้

    “ถ้าบุคคลใดพบตำรานี้ ให้ทำประคำไว้เถิดเป็นบุญของผู้นั้นแลหาที่อุปมามิได้ อยู่เรือนคุ้มภัย แม้จรไปที่ใดย่อมป้องกันคุ้มครองได้1,000ประการแล”


    ตำรับตำราการสร้างประคำนี้สืบทอดมาจากสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในครั้งนั้นสมเด็จพระพนรัตได้จัดสร้างประคำคอขึ้นหนึ่งเส้นถวายแด่พระนเรศวรมหาราชในการออกศึกรบไปตีเมืองหงสาวดี ว่ากันว่าตำราการสร้างนี้ได้ตกสืบทอดมาถึงหลวงปู่บุญ แห่งวัดกลางบางแก้ว ขั้นตอนการจัดสร้างเม็ดประคำแต่ละเม็ดนั้นต้องทำให้ถูกต้องตามตำรา อาทิ ท่านให้เอากาฝากศรีมหาโพธิ์ 9 ลูก ชุมแสงโทน 7 ลูก ชัยพฤกษ์ 5 ลูก ไคลเสมา 32 ลูก ไม้เท้ายายม่อม 9 ลูก คันทรง 10 ลูก หนาด 28 ลูก ราชพฤกษ์ 8 ลูก ผสมกันเข้าและลงด้วยอักขระแตกต่างกัน 8 ชุดจนครบ 108 ลูกนำมาร้อยด้วยไหมเบญจพรรณควั่นโดยสาวพรหมจารีนำมาปลุกเสกก่อนจึงร้อยทำเป็นสายประคำ ปลายยอดประคำทำด้วยตะกั่วขี้นกเขาเปล้าจารอักขระ 5 เม็ด สูตรตามนี้แต่ยังมีกรรมวิธีการสร้างมากขั้นตอนบัตรพลีพิธีกรรมมากมาย ฉะนั้นหลวงปู่จึงสร้างขึ้นมาไม่มากนัก จึงมิได้มีอยู่กลาดเกลื่อนทั่วไปมีแต่แค่จำเพราะเจาะจงเท่านั้น ตอนท้ายของตำรายังได้กล่าวสรุปไว้ว่า “ถ้าบุคคลใดพบตำรานี้ ให้ทำประคำไว้เถิดเป็นบุญของผู้นั้นแลหาที่อุปมามิได้ อยู่เรือนคุ้มภัย แม้จรไปที่ใดย่อมป้องกันคุ้มครองได้1,000ประการแล”

    ด้านล่างเป็นภาพเม็ดประคำ ปราบหงศา ของคุณ วิน วินคลับ ชมรมพระเครื่องรางมรดกไทย ครับ


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 พฤศจิกายน 2012
  15. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    เม็ดประคำปราบหงศานึ้คุณเดลต้าได้มาจากคนที่ไปบุกลังของลูกศิษย์หลวงปู่บุญ เลยครับ เม็ดหนึ่งก็ราคาหลักพันปลายแล้ว สุดยอดอิทธิมงคลจริงๆ
     
  16. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    [​IMG]


    ประวัติ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว พระอภิญญาแห่งนครชัยศรี


    หลวงปู่บุญ เกิดที่ ตำบลบ้านนางสาว อำเภอตลาดใหม่ เมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นบ้านตำบลท่าไม้ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ส่วนในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นตำบลท่าไม้ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก จุลศักราช ๑๒๑๐ สัมฤทธิ์ศก เวลาใกล้รุ่ง ตรงกับวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๙๑ อันเป็นปีที่ ๒๕ แห่งแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๓ ) บิดาชื่อเส็ง มารดาชื่อลิ้ม หลวงปู่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๖ คน ท่านเป็นบุตรชายหัวปี มีน้องชาย และน้องสาว ๖ คน คือ นางเอม นางบาง นางจัน นายปาน และนางคง

    พระวินัยกิจโกศล ( ตรี ปธ.๗ ) อดีตเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร ได้บันทึกไว้ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ในหนังสือ “บุญวิธี ” ว่า

    “ เมื่อยังเยาว์เป็นไข้หนักถึงแก่สลบไม่หายใจ พวกผู้ใหญ่เข้าใจว่าตายเสียแล้ว ระหว่างที่จัดแจงจะเอาไปฝังกันได้กลับฟื้นขึ้นมา จึงได้รับการรักษาพยาบาลต่อมาจนหายเป็นปกติ บิดามารดาได้ถือเอาเรื่องหายจากไข้ ครั้งนั้นเป็นนิมิตดี จึงให้ชื่อว่า “ บุญ ” ”

    ใน สมัยที่หลวงปู่บุญยังเยาว์วัยอยู่ บิดามารดาได้ย้ายบ้านจากบ้านตำบลนางสาวไปอยู่ที่ตำบลบางช้างประกอบอาชีพทาง ทำนา ต่อมาบิดาท่าน ได้เสียชีวิตลงเมื่ออายุท่านได้ ๑๓ ปี ป้าของท่านซึ่งมีความคุ้นเคยกันดีกับท่านปลัดทอง วัดคงคาราม จึงพาท่านไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนกับพระปลัดทอง วัดคงคาราม ( วัดกลางบางแก้ว ) เมื่อท่านปลัดทองมองเห็นบุคลิกลักษณะของท่านก็หยั่งรู้ได้ทันทีว่าเป็นผู้มี บุญสมชื่อ และมีความสามารถที่จะศึกษา ได้กระจ่างแจ้งทำความเจริญให้กับพระพุทธศาสนาต่อไป จึงได้ขอท่านกับโยมป้าว่าขอให้อยู่กับท่านปลัดทองตลอดไป

    หลัง จากนั้นท่านปลัดทองจึงได้สั่งสอนพื้นทางคัมภีร์มูลบทสรรพกิจสนธิมูลกัจจายน์ ภาษาไทย และขอมให้จนหลวงปู่บุญมีความเชี่ยวชาญชำนาญดี เพราะมีปัญญาไวเรียนสิ่งใดก็รู้แจ้งแท้ตลอดในเวลาอันรวดเร็ว
    จน อายุได้ ๑๕ ปี ก็สามารถท่องบทสวดมนต์ได้มากมาย ท่านปลัดทองจึงได้บรรพชา ให้เป็นสามเณร เพื่อศึกษาคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ ซึ่งท่านปลัดทองก็พยายามฝึกฝนจนหลวงปู่บุญมีความคล่องแคล่ว จนอายุท่านได้ ๑๙ ปี ก็เกิดเจ็บป่วยหนัก รักษาเท่าใดก็ไม่หาย ท่านปลัดทองจึงได้ตรวจชะตาของท่านดูก็ทราบว่าเป็นอย่างไร จึงได้บอกหลวงปู่บุญ ซึ่งตอนนั้นยังเป็นเณรบุญว่า จะต้องลาสึกจากสามเณรเสียก่อน แล้วกลับไปรักษาตัวกับมารดา เมื่ออายุครบด้วย ๒๒ ปี โรคาจะหายจึงจะมาอุปสมบทต่อไปได้ เล่าว่าครั้งนั้นสามเณรบุญถึงกับน้ำตาไหล เพราะจิตใจฝากฝังไว้ในเพศบรรพชิตเป็นมั่งคงแล้ว มิอยากจะลาไป แต่ก็มั่นใจเรื่องในท่านอาจารย์ปลัดทองที่ได้พยากรณ์เอาไว้ว่าจะกลับมา

    ท่าน จึงได้ครองฆราวาสรักษาร่างกายจนกว่าจะหายเป็นปกติดี ก็อายุ ๒๒ ปี ตรงตามคำพยากรณ์ของท่านปลัดทอง นับว่าท่านปลัดทององค์นี้ มีปรีชาทางญาณหยั่งรู้สึกซึ้งมาก เสียดายที่มิอาจเขียนประวัติท่านได้ เรื่องราวของท่านผู้ที่รู้เสียชีวิตไปหมดแล้ว มีเรื่องเล่าว่าท่านปลัดทองนั้นมีอภินิหารมากเรื่องหนึ่ง ควรบันทึกไว้เพราะต่อไปจะสูญหาย คือวัดกลางบางแก้วนั้นอยู่ติดแม่น้ำนครชัยศรี ปีไหน น้ำมากก็ท่วมบริเวณวัดทั้งหมดแต่เมื่อครั้งท่านปลัดทองอยู่ น้ำไม่เคยท่วมวัดให้ได้รับความเสียหายเลย ท่านจะนำทรายมาเสกแล้วให้ลูกศิษย์เอาไปโรยไว้รอบ ๆ วัดเมื่อน้ำเหนือหลากมา ท่านจะเข้าไปนั่งในโบสถ์ ทำการสะกดน้ำ มิให้ไหลเข้ามาท่วมวัดได้ เรื่องนี้ผู้เฒ่าแห่งแม่น้ำนครชัยศรีเล่าให้ฟัง นับว่าบารมีและ กฤตยาคมของท่านปลัดทองนั้นสูงส่งจริง ๆ อีกเรื่องหนึ่งคือ ท่านสามารถระเบิดน้ำลงไปปักเสาศาลาท่าน้ำของวัดได้โดยจีวรไม่เปียก โดยยกเสาได้เพียงองค์เดียวคือทำของหนักให้เบาได้นั่นเอง วิชานี้ภายหลังหลวงพ่อจ้อยวัดบางช้างเหนือได้เสกมีดโยนลอยน้ำได้คงได้วิชา จากท่านปลัดทองเพราะวัดอยู่ไม่ห่างกันมาก และหลวงพ่อจ้อยเป็นพระรุ่นราวคราวเดียวกันกับหลวงปู่บุญ

    เมื่ออายุท่านได้ ๒๒ ปี หายจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดกลางบางแก้ว ซึ่งท่านเคยบรรพชาเป็นสามเณรมาก่อน และเล่าเรียนวิชามากับพระปลัดทอง เมื่อวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะเส็ง จุลศักราช ๑๒๓๑ เวลาบ่าย ตรงกับวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๑๒ โดยมีพระอันดับ ๓๐ รูป พระ ปลัดปาน เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา เป็นอุปัชฌาย์ พระปลัดทอง เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว พระอธิการทรัพย์ วัดงิ้วราย พระครูปริมานุรักษ์ วัดสุประดิษฐาราม และ พระอธิการจับ วัดท่ามอญ ร่วมกันแบ่งภาระหน้าที่ในการให้สรณาคมน์กับศีลและการสวดกรรมวาจา การที่มีพระอาจารย์ร่วมพิธีถึง ๔ องค์ก็ด้วยพระเถระเหล่านี้เป็นที่เคารพนับถือ ของโยม หลวงปู่บุญ จึงต้องนิมนต์ทั้งหมด

    เมื่ออุปสมบทแล้วได้ฉายาว่า “ ขนฺธโชติ ”
    หลังจากอุปสมบทท่านได้ศึกษาคันถธุระและ วิปัสสนาธุระและพุทธาคมกับ ท่านปลัดทอง และปลัดปาน ผู้เป็นอุปัชฌาย์ของท่าน ปลัดทองและปลัดปานนั้นท่านเป็นสหายกัน เล่ากันว่าเป็นพระที่มีเวทย์วิทยาคมเก่ากล้าทั้งคู่

    สำหลับพระปลัดปาน นั้น ท่านพระครูธรรมวิจารณ์ (ชุ่ม) เจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม (วัดชีปะขาว) บางกอกน้อยขณะเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๗ อายุ ๙๗ ปีได้เล่าให้ “ อาจารย์ตรียัมปราย ” ฟังว่า หลวงปู่บุญท่านนั้นได้เล่าเรียนและถ่ายทอดเวทย์วิทยาคมจากพระปลัดปานไว้ได้ ทั้งหมดและศิษย์ของพระปลัดปานอีกองค์หนึ่งคือ พระธรรมปิฎก ( น่วม ) วัดสระเกศกรุงเทพฯ พระปลัดปานวัดตุ๊กตาองค์นี้ ท่านได้สร้างลูกอมไว้ มีความศักดิ์สิทธิ์ทางเมตตามหานิยมมาก มีลักษณะเป็นเม็ดกลมเนื้อแน่นเป็นมันวาวสีชมพูอ่อน หากใครเคยพบหรือมีอยู่จงเก็บไว้ให้ดี เพราะยอดเยี่ยมทางเมตตามาก อภินิหารของท่านปลัดปานมีเรื่องเล่ากันมาว่าท่านมีเมตตาบารมีสูงมากขนาดมี นก กา เหยี่ยว มาอาศัยทำรังอยู่ที่ต้นมะขวิดภายในวัดเต็มไปหมด ถึงเวลาเช้าท่านฉันเสร็จแล้วจะนำอาหารไปให้นกกิน ท่านสามารถเรียกอีกาและเหยี่ยวซึ่งเป็นนกที่ไม่มีความเชื่องได้ง่าย ๆ มาเกาะบนมือแล้วลูบหัวเล่นได้ นอกจากนั้นยังเล่ามาว่า ท่านสำเร็จวิชาทางเรียกเนื้อเรียกปลาคือใช้พระคาถา มหาจินดามณีมนตราคม ได้เชี่ยวชาญเกิดผลศักดิ์สิทธิ์นั้นเอง เพราะท่านสามารถเรียกปลาในคลองบางแก้ว ซึ่งอยู่หน้าวัดให้ขึ้นมาเต็มไปหมดในงานกฐินเพื่อให้ชาวบ้านได้ชมกัน นับว่าท่านเป็นเถราจารย์ที่น่าศึกษามากอีกองค์หนึ่งเสียดายที่คนเก่า ๆ ที่พอจะรู้เรื่องดีได้สูญสิ้นไปหมดแล้ว

    ดังนั้นการศึกษาทางด้านวิปัสสนาธุระและ เวทย์วิทยาคมของหลวงปู่บุญนั้น ท่านจึงได้รับการถ่ายทอดจากท่านปลัดทอง และปลัดปานเป็นหลัก และนับว่าหลวงปู่เป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ทางนี้โดยตรง เพราะเล่ากันว่าท่านสามารถทำของได้ศักดิ์สิทธิ์ และเชี่ยวชาญทางวิปัสสนาธุระตั้งแต่อายุยังน้อย เคยแสดงอภินิหารและความแก่กล้าทางวิปัสสนาให้ สมเด็จพระสังฆราช ( แพติสเทวเถระ ) ได้เห็นเมื่อครั้งที่ “ สมเด็จฯ ” ยังเป็น พระพรหมมุนี ซึ่งทรงยกย่องโปรดปรานหลวงปู่เป็นพิเศษในฐานะเพื่อนสนิท

    ส่วนเรื่องการธุดงควัตรนั้นจากการสืบเรื่อง ราวโดยละเอียดแล้ว ปรากฏว่าในชีวิตของหลวงปู่เคยออกธุดงควัตรหลายครั้ง ครั้งละนาน ๆ จนมีความชำนาญ เมื่อพระภายในวัดและละแวกวัดใกล้เคียงในสมัยนั้น จะออกธุดงค์ จะต้องไปขอขึ้นธุดงค์กับท่านและท่านสามารถคุ้มครองพระที่ออกธุดงค์ให้สามารถ เดินทางได้ด้วยความปลอดภัย และหยั่งรู้ทุกขณะด้วยญาณวิถีอันแก่กล้าของท่าน

    ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ พระปลัดทอง อาจารย์ของหลวงปู่บุญก็มรณภาพ ทางอุบาสกอุบาสิกาก็นิมนต์พระอาจารย์แจ้งเป็นเจ้าอาวาสจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๒๘ พระอาจารย์แจ้งซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ หลวงพ่อแก่ ” ก็มรณภาพลงเพราะท่านชราภาพมากแล้ว

    ทางอุบาสกอุบาสิกาและกรรมการวัดตลอดจนชาว บ้านที่เห็นการปฏิบัติของหลวงปู่เป็นที่น่าเลื่อมใสจึงได้ร่วมใจกันนิมนต์ ให้ท่าน เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ดังนั้น ทางคณะสงฆ์ซึ่งเห็นชอบด้วย จึงได้แต่งตั้งหลวงปู่บุญให้เป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๙ ขณะนั้นท่านมีอายุพรรษาได้ ๑๖ จึงได้ปกครองดูแลสืบต่อจากพระอาจารย์แจ้งเป็นต้นมา

    หลวงปู่บุญเป็นพระที่หนักในทางวิปัสสนา กรรมฐาน ดังนั้นเมื่อได้ปกครองดูแลพระเณรในวัดจึงได้อบรมทั้งทางคันธธุระ และวิปัสสนาธุระให้แก่บรรดาลูกศิษย์ทั่วไปซึ่งก็ปรากฏว่ามีฆราวาสจำนวนมาก ให้ความสนใจเข้ามาเรียนวิปัสสนากับท่านจำนวนไม่น้อย จนภายหลังหลวงปู่ได้จัดสถานที่สำหรับฝึกสอนวิปัสสนาขึ้นโดยเฉพาะเป็นศาลาทรง แปดเหลี่ยมขนาดใหญ่อยู่หน้าวัดแถบด้านเหนือใกล้แม่น้ำ ซึ่งในสมัยนั้นนับว่ามีทำเลมีเหมาะสม เพราะใกล้แม่น้ำลมพัดเย็นสบาย ศาลาดังกล่าวนี้ได้มีสืบมาจนถึงทุกวนนี้

    ภารกิจที่หลวงปู่เคร่งครัดปฏิบัติมิได้ขาด จวบจนชราภาพ คือ การลงกระทำอุโบสถทุกวันเช้าและเย็นและหลังจากเสร็จจากบทสวดมนต์แล้วท่านจะทำ การหยิบยกข้อธรรมขึ้นมาแจกแจงอธิบายในพระอุโบสถ เพื่อให้พระภิกษุและสามเณรมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เว้นแต่ในช่วงที่ท่านต้องไปธุรกิจที่อื่นเท่านั้น ท่านก็จะมอบให้พระอื่นทำหน้าที่แทนก่อน กิจวัตรข้อนี้สิบต่อมาจนกระทั่งหลวงปู่เพิ่มก็ได้ปฏิบัติตาม จนภายหลังหลวงปู่เพิ่มชราภาพมากท่านจึงได้แต่สวดมนต์อยู่แต่เฉพาะในกุฏิของ ท่าน

    ด้วยความสามารถ ซึ่งเอกอุดมด้วยกฤตยาคม และอำนาจญาณอันแก่กล้าของหลวงปู่ท่านสามารถคลี่คลายอธิกรณ์ ซึ่งเกิดขึ้นในคณะสงฆ์ปกครองได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่มีพระภิกษุ สามเณรองค์ใดกล้ากล่าวเท็จกับท่าน เมื่อท่านเรียกเข้ามาสอบสวนทวนความ การให้การจะเป็นจริงทุกสิ่งอัน นอกจากนั้น ตบะเดชะของท่ายังเร้นไว้ด้วยอำนาจอันเข้ม คนรุ่นเก่ายุคนั้นเล่าลือกันสืบมาจนทุกวันนี้ว่า ไม่มีใครเลยที่กล้าสบตากับท่านได้ ทั้งนี้โดยแท้แล้วท่านไม่ใช่เป็นคนดุ แต่ท่านมีเมตตาธรรมใจคอเอื้อเฟื้อกว้างขวาง เพียงแต่อำนาจและตบะของท่านโดยแท้ที่แก่กล้า

    ด้วยคุณงามความดี และปรีชาสามารถของหลวงปู่ จึงได้รับพระราชทานพระครูโปรดเกล้าให้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระครูชั้น สัญญาบัตรที่ “ พระครูพุทธวิถีนายก ” และเลื่อนฐานะตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็น “ ประธานกรรมการคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี ” เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ ขณะนั้นท่านมีอายุพรรษาได้ ๔๙ พรรษา ในโอกาสนี้เองที่บรรดาศิษย์ได้จัดงานฉลองกันเป็นการใหญ่ ปรากฏว่า สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) ครั้งที่เป็น พระพรหมมุนี ได้มาร่วมงานโดยมี พระครูวินัยกิจโกศล ( ตรี ปธ. ๗ ) เจ้าอาวาสกัลยาณมิตรในครั้งนั้นมาเป็นแม่งาน มีพระภิกษุจากอารามต่าง ๆ ในจังหวัดนครปฐม สมุทรสาครและสุพรรณบุรีมาร่วมงานฉลองศักดิ์หลวงปู่เป็นจำนวนมามาย เล่ากันว่าต้องจัดหาที่พักให้หลายวัดบริเวณใกล้เคียงแน่นเต็มไปหมด แสดงให้ เห็นถึงความศรัทธาเลื่อมใสที่ประชาชนและพระภิกษุสามเณร ในจังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร และสุพรรณบุรีที่มีต่อท่านอย่างท่วมท้น

    สานุศิษย์ของหลวงปู่บุญนั้นมีมากมาย ที่ได้ผ่านการอบรมสั่งสอนออกไปบางองค์ก็ครองเพศบรรพชิตอยู่มีชื่อเสียง กิตติคุณโด่งดัง บางคนก็ลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพเจริญรุ่งเรืองอยู่จนบัดนี้ก็จำนวนไม่น้อย แต่ก็เป็นการยากที่จะมาลำดับกล่าวไว้ในที่นี้

    ครั้นลุถึงวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ เวลาเช้ามีชาวบ้านมาทำบุญถวายอาหารหลวงปู่บุญเป็นอันมากเพราะเป็นวันพระ ขึ้น ๘ ค่ำ หลวงพ่อวงษ์ วัดเสน่หา ได้มาเยี่ยมท่านแต่เช้าและหลวงปู่ออกรับประเคนเรียบร้อยแล้วจึงเริ่มฉัน อาหารเมื่อฉันอาหารเสร็จจึงเข้ากุฏิทำการสวดมนต์ต่อหน้าที่บูชาซึ่งท่าน ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ แต่แปลกตรงที่ว่าเมื่อท่านสวดมนต์แล้วท่านกลับมานั่งสมาธิต่ออีกเป็นเวลานาน คล้ายจะปลุกเสกอะไรสักอย่าง หลวงปู่เพิ่มเล่าว่าธรรมดาท่านจะนั่งตอนกลางคืนหรือในพระอุโบสถ แต่วันนั้นท่านนั่งที่หน้าโต๊ะพระเป็นเวลานานเมื่อออกจากวิปัสสนาแล้วท่าน ได้เรียกหลวงปู่เพิ่มเข้าไปบอกว่ามีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง หลวงปู่เพิ่มบอกว่าจะไปนำยามาถวายท่าน ท่านว่าไม่ต้อง จากนั้นท่านก็มีอาการคล้ายถ่ายท้องแล้วเรียกหลวงปู่เพิ่มเข้าไปหายังที่จำ วัดพร้อมกับหลวงพ่อวงษ์ บอกให้หลวงพ่อวงษ์จุดเทียนที่โต๊ะบูชาพระ หลวงพ่อวงษ์ก็พยายามจุดเทียนทั้งคู่พอเทียนติดก็พลันก็ลมกรรโชกมาทำให้เทียน ดับ หลวงพ่อวงษ์ก็จุดใหม่ลมก็กรรโชกมาดับทั้งสามครั้งเมื่อจะจุดครั้งที่สี่นั่น เองท่านก็โบกมือห้ามเอาไว้ จากนั้นท่านก็ประสานมือทั้งสองข้างไว้บนหน้าอก ละทิ้งสังขารไปอย่างสงบเฉกเช่นผู้ล่วงความทุกข์ทั้งมวลทิ้งปริศนาเอาไว้ว่า เทียนที่จุดไม่ติดทั้งสามครั้งนั้นคือสังขารมีมาถึงจุดดับไม่มีสิ่งใดจะห้าม ได้ ขณะที่ท่านทิ้งสังขารเป็นเวลา ๑๐.๔๕ น. พอดี
     
  17. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    [​IMG]



    อำนาจญาณ


    ในคราวหนึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญวโรรส เสด็จไปตรวจการคณะสงฆ์แล้วแวะประทับที่วัดกลางบางแก้ว ได้สนทนากับหลวงปู่บุญถึงเรื่องราวต่าง ๆ หลวงปู่บุญก็ได้ถวายรายงานกิจการพระศาสนา ซึ่งหลวงปู่เป็นประธานสงฆ์จังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร และสุพรรณบุรีให้ทรงทราบความละเอียดถ้วนทั่วทั้งสิ้น ด้วยจะทรงทราบว่าหลวงปู่บุญเป็นนักปฏิบัติวิปัสสนา หรืออย่างใดมิแจ้งพระองค์ได้ทรงขอให้หลวงปู่ถวายคำพยากรณ์ให้พระองค์ เมื่อหลวงปู่ได้ถวายคำพยากรณ์เรื่องต่าง ๆ เสร็จสิ้นความแล้ว จึงได้กราบทูลเพิ่มเติมด้วยความว่า

    “ ขณะนี้กำลังเกิดลมพายุในกรุงเทพฯ ต้นโพธิ์ที่อยู่ใกล้พระตำหนักในวัดบวรนิเวศถูกแรงพายุพัดกิ่งหักพาดลงมาบน หลังคาพระตำหนัก ที่ประทับ ทำให้กระเบื้องมุงหลังคาแตกไป ๔ แผ่น เห็นจะต้องซ่อมแซม มิฉะนั้น ฝนจะรั่วลงบนตู้หนังสือเสียหาย ”
    สมเด็จ พระมหาสมณเจ้าฯ ทรงแปลกพระทัย ในระหว่างตรวจการคณะสงฆ์ได้รับสั่งให้พระที่ติดตามเสด็จรูปหนึ่งรีบเดินทาง เข้ากรุงเทพฯ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคำพยากรณ์อันนี้ เมื่อพระรูปนั้นเดินทางไปถึงพระตำหนัก ได้ไต่ถามพระที่ตำหนักดูมิได้มีองค์ใดทราบ จึงได้เปิดตำหนักสำรวจก็ได้เห็นสภาพความจริงตรงกับที่หลวงปู่บุญพยากรณ์ได้ ทั้งเวลาที่เกิดพายุและจำนวนแผ่นกระเบื้องที่แตกอย่างน่าอัศจรรย์ จึงเดินทางกลับไปกราบทูลให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงทราบทุกประการ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงอุทานด้วยความประหลาดพระทัย และตรัสสรรเสริญหลวงปู่ ว่าสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานที่ไกล ๆ ได้แม่นยำหลังจากครั้งที่แล้ว เมื่อหลวงปู่บุญมาธุระที่กรุงเทพฯ คุณครูหลอม ตรีเนตร ศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่เล่าว่ามักจะมาแวะพักที่วัดบวรนิเวศเสมอ และอยู่สนทนากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ครั้งละหลายวัน
     
  18. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    [​IMG]

    กฤดานุภาพ

    เมื่อครั้งที่หลวงปู่เพิ่มมีชีวิตอยู่ได้เคยเล่าให้ผู้ เขียนฟังอยู่เสมอในเรื่องความสัมพันธ์ของพระองค์เจ้าอาทิตย์ ทิพอาภา ที่เสด็จมาเยี่ยมหลวงปู่บุญ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น ประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร์นั้นเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการปฏิวัติ และได้มีการส่งคณะผู้แทนของคณะราษฎร์เดินทางไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวซึ่งทรงแปรพระราชฐานประทับแรมอยู่ ณ พระที่นั่งไกลกังวล หัวหิน โดยออกเดินทางด้วยรถไฟขบวนพิเศษ

    ในขณะนั้น พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ทรงดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงประจำเมืองนครปฐม เมื่อทราบข่าวดังกล่าว ก็ทรงสั่งการให้นักเรียนนายร้อยตำรวจ ซึงในครั้งนั้นมีสถานที่ตั้งอยู่ที่ห้วยจระเข้ นครปฐม วางกำลังยับยั้งขบวนรถไฟพิเศษนี้ไว้ที่สถานีนครปฐม เมื่อขบวนรถไฟพิเศษแล่นถึงสถานีต้นสำโรง คณะผู้แทนได้ทราบว่ามีการวางกำลังอยู่ที่สถานีนครปฐม จึงได้เดินทางกลับไปยังกรุงเทพฯ แล้วเปลี่ยนการเดินทางไปทางทะเล โดยใช้เรือรบหลวงสุโขทัยเป็นพาหนะได้เข้าเฝ้าในหลวงได้สำเร็จและถวายเอกสาร สำคัญให้ทรงลงพระปรมาภิไธย

    ครั้นเมื่อคณะราษฎร์ได้ยึดอำนาจสำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้สั่งการให้ข้าหลวงประจำจังหวัดนครปฐมเข้ามารายงานตัวในกรุงเทพฯ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ทรงวิตกกังวลพระทัยเป็นอย่างยิ่ง เกรงว่าจะถูกประทุษกรรมนานาประการ จึงได้รำลึกนึกถึงหลวงปู่ วัดกลางบางแก้วที่ทรงศรัทธาเลื่อมใสเสมอขณะที่อยู่ในเมืองนครปฐม คิดจะไปขอบารมีกฤตยาคมของหลวงปู่เป็นที่พึ่ง จึงเดินทางในเวลาดึกสงัดของคืนนั้นโดยเรือเร็วมาตามคลองเจดีย์บูชา แล้วเลี้ยวขวาออกแม่น้ำนครชัยศรีถึงวัดกลางบางแก้ว เข้ามนัสการหลวงปู่บุญเล่าความหวั่นวิตกกังวลพระทัยให้หลวงปู่ทราบ เพื่อขอให้ชี้ทางแก้ไข

    หลวงปู่จึงได้ทำสมาธิบริกรรมพระเวทย์ทำพิธีรถน้ำพระพุทธ มนต์ถวาย แล้วถวายพระเครื่องตลอดจนมงคลวัตถุให้แก่พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาและ ประสาทพรว่า “ ไม่ต้องวิตกกังวลใด ๆ เรื่องที่ร้ายจะกลายเป็นดี ”

    เล่ากันว่าพระเครื่องที่หลวงปู่ถวายในครั้งนั้นคือ พระผงคลุกรักพิมพ์สะดุ้งกลับ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการกลับร้ายให้เป็นดีนั่นเอง หลวงปู่เพิ่มเคยเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า การสร้างพระสะดุ้งกลับ ( มาวิชัยกลับ ) ของหลวงปู่บุญนั้น การปลุกเสกจะใช้พระพุทธมนต์ถอยหลังกลับ การเดินลมปราณผ่านกระแสจิตทำได้ยากกว่าการปลุกเสกธรรมดา และหากจิตไม่เข้มขลังแก่กล้าจะเป็นอันตรายในการปลุกเสกต่อผู้ปลุกเสกเอง พระปางสะดุ้งกลับของหลวงปู่หลายพิมพ์มิได้สร้างสะดุ้งกลับเพียงรูปแบบเฉพาะ พิมพ์ทรงเท่านั้น หากแต่ท่านสร้างตามลำดับแบบฉบับที่เป็นเฉพาะอิทธิวิธีที่ท่านมีอยู่ นับเป็นพระเครื่องที่มีกฤตยาคมลึกล้ำซึ่งหลวงปู่ได้สร้างขึ้นไว้

    หลังจากพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้รับน้ำพระพุทธมนต์ และพระเครื่องจากหลวงปู่บุญแล้วได้ลากลับไปด้วยความมั่นพระทัย เมื่อเดินทางไปกรุงเทพฯ หลังจากรายงานพระองค์แล้วได้รับการกักพระองค์ เพื่อสอบสวนจากรายงานพระองค์แล้วได้รับการกักพระองค์ เพื่อสอบสวนจากคณะเปลี่ยนแปลงการปกครองในระยะเวลาหนึ่งจึงได้รับการปล่อยให้ เป็นอิสระ เพียงไม่กี่วันจากนั้นรัฐบาลใหม่ก็สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ ในรัชกาลที่ ๘ ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
     
  19. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    เหลืออีก 1 วัน สุดท้ายแห่งการร่วมประมูลน่ะครับ ใครจะได้ของมงคลสูงสุดแบบนึ้ไปไว้บูชา

    ปล.พระธาตุคุณแม่บุญเรือนสีทับทิมที่บรรจุในล็อกเก็ตพระแก้วชุดพิเศษนึ้ เป็นพระธาตุสีทับทิมองค์ใหญ่ที่สุดที่ผมมีเลยน่ะครับ
     
  20. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    ล็อกเก็ตพระแก้วมรกตชุดนึ้ได้รับการอธิษฐานจิต จากพระสุปฏิปันโน 300 รูป นับว่าเป็นล็อกเก็ตพระแก้วมรกตที่เสกเยอะที่สุด เสกนานที่สุด มวลสารอันเป็นที่สุด และพิธีพิถันที่สุด พร้อมทั้งเจตนาอันบริสุทธิ์ ดังรายนามต่อไปนึ้

    พิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษก-มังคลาภิเษก
    1. พิธีพุทธาภิเษกพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอินทาราม วันที่ 15 พ.ย. 2552
    2. พิธีพุทธาภิเษก พญาวานร วัดบางพลีน้อย วันที่ 29 พ.ย. 2552
    3. พิธีพุทธาภิเษก วัดบางแคน้อย จ.สมุทรสงคราม วันที่ 6 ธ.ค. 2552
    4. พิธีพุทธาภิเษก วัดบวรสถานมงคล(อดีตวัดพระแก้ววังหน้า) วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    5. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ทำบุญครบรอบมรณภาพหลวงปู่หลุย จันทสาโร วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    6. พิธีมหาพุทธาเษก "โครงการสร้างพระในใจ เทิดไท้องค์ราชันย์" วัดโฆสมังคลาราม จ.นครพนม วันที่ 26-28 ธ.ค. 2552
    7. พิธีสวดสักขีและเจริญพระพุทธมนต์จากพระสุปฏิปันโนสายวัดป่ากรรมฐาน 92 รูป วัดธรรมมงคล วันที่ 10 มกราคม 2553 (ด้วยความกรุณาอย่างหาที่สุดไม่ได้ของท่านพระอาจารย์ไม อินทสิริ ถือนำเข้าพิธี)
    8. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลจัดสร้างโดยโรงพยาบาลภูมิพล ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553
    9. พิธีสมโภชน์และพุทธาภิเษกหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ณ วัดแคราชานุวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553
    10. พิธีพุทธาภิเษก ที่วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ในวิหารโยงสายสิญจน์จากหน้าพระสิกขี(แม่พระรอด) วันที่ 26 มีนาคม 2553
    11. พิธีพุทธาภิเษกล็อกเกตพระแก้วมรกตภูริทัตตเถรานุสรณ์ วัดป่าสันติสามัคคีธรรม จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 4 เมษายน 2553 พระเถราจารย์ที่เข้าร่วมพิธี

    - หลวงปู่ใสย ปัญญพโล วัดเขาถ้ำตำบล ประธานจุดเทียนชัย
    - หลวงตาเอียน วัดป่าโคกม่อน อริยเจ้าผู้เร้นกาย พระอาจารย์ของพระอาจารย์วัน อุตตโม ดับเทียนชัย
    - หลวงพ่อคูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง จ.อุดรธานี
    - พระอาจารย์ไม อินทสิริ
    - พระอาจารย์อุทัย วัดภูย่าอู่
    - หลวงปู่บุญมา วัดถ้ำโพงพาง จ.ชุมพร
    - พระอาจารย์แดง วัดลุมพินี จ.พังงา
    - หลวงปู่สุมโน วัดถ้ำสองตา
    - พระอธิการใจ วัดพระยาญาติ
    - หลวงปู่บุญมี วัดถ้ำเต่า
    ฯลฯ
    12. พิธีหล่อพระอัครสาวกและพระอรหันตสาวก วัดเขาวง(ถ้ำนารายณ์) อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี วันที่ 1 พ.ค. 2553 (เข้าพิธีเฉพาะพระปิดตาที่อุดหลัง)
    13. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ในงานประจำปีของชมรมรักษ์พระธาตุแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ วันที่ 15 พฤษภาคม 2553
    14. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดตาลเอน(วัดสาขาของวัดอัมพวัน สิงห์บุรี) จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 20 ตุลาคม 2553
    15. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งชินบัญชรเพ็ชรกลับเหนือโลกและเหรียญหล่ออจิณไตย หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน ณ คณะเวฬุวัน อ.พยุห์ จ.ศรีษะเกษ วันที่ 6 พ.ย. 2553
    16. พิธีพุทธาภิเษกพระปิดตาเมตตามหาลาภ วัดทุ่งเศรษฐี วันที่ 21 พ.ย. 2553(วันลอยกระทง)
    พระพรหมสุธี วัดสระเกศ ประธานจุดเทียนชัย
    เจริญจิตตภาวนาโดย
    พ่อท่านเลิบ วัดทองตุ่มน้อย จ.ชุมพร
    หลวงปู่ครูบาสิงโต วัดดอยแก้ว จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อนพวรรณ วัดเสนานิมิต จ.อยุธยา
    ครูบาคำเป็ง อาศรมสุขาวดี จ.กำแพงเพชร
    หลวงพ่อทอง วัดไร่กล้วย จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อพูนทรัพย์ วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี
    หลวงปู่ปั้น วัดนาดี จ.สระบุรี
    หลวงพ่อเหลือ วัดขอนชะโงก จ.สระบุรี
    หลวงพ่อบุญ วัดทุ่งเหียง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเจริญ วัดเกาะอุทการาม จ.นครราชสีมา
    พระครูคัมภีร์ปัญญาวิกรม วัดอรุณฯ กรุงเทพฯ
    พระครูญาณวิรัช วัดตะกล่ำ กรุงเทพฯ
    หลวงพ่อชวน วัดบ้านบึงเก่า จ.บุรีรัมย์
    พระมหาเนื่อง วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเณร ญาณวินโย วัดทุ่งเศรษฐี กรุงเทพฯ

    17. พิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูป ณ เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ วันที่ 4 ธันวาคม 2553 (หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ จุดเทียนชัย หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร ดับเทียนชัย)

    18. พิธีสวดบูชานพเคราะห์และพุทธาภิเษกท้าวเวสสุวรรณ ณ วัดจุฬามณี ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม วันที่ 26 ธันวาคม 2553 พระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธี

    ๑. หลวงปู่คง วัดเขากลิ้ง จ.เพชรบุรี
    ๒. หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี
    ๓. หลวงปู่ยวง วัดโพธิ์ศรี จ.ราชบุรี
    ๔. หลวงพ่ออุดม วัดประทุมคณาวาส จ.สมุทรสงคราม
    ๕. หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    ๖. หลวงพ่อไพศาล วัดทรงธรรมวรวิหาร จ.สมุทรปราการ
    ๗. หลวงพ่อผล วัดหนองแขม จ.เพชรบุรี
    ๘. หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี
    ๙. หลวงพ่อสิริ สิริวฒฺฑโน
    ๑๐. หลวงพ่อเมียน จ.บุรีรัมย์
    ๑๑. หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี


    19. พิธีพุทธาภิเษกเหรียญครบรอบอายุ 93 ปี หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วันที่ 13 มกราคม 2554

    20. พิธีพุทธาภิเษกพระสามสมัย วัดประดู่บางจาก กรุงเทพฯ วันที่ 26 มีนาคม 2554

    21. พิธีมหาพุทธาภิเษก พระเจ้าใหญ่ิอินทร์แปลงรุ่นมหาบารมีโชคดีปลอดภัย ที่วัดมหาวนาราม(วัดป่าใหญ่) ต่อหน้าพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
    นั่งปรกโดย
    1.หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู
    2.หลวงปู่ลี ถาวโร วัดผาสุการาม
    3.หลวงปู่อ่่อง วัดสิงหาญ
    4.หลวงพ่อบุญชู (ญาท่านเกษม) วัดเกษมสำราญ
    5.หลวงปู่คล้าย วัดบ้านกระเดียน
    6. หลวงปู่บุญรอด วัดกุดคูณ
    7. หลวงปู่เก่ง วัดกิตติราชเจริญศรี

    22. พิธีพุทธาภิเษกและสมโภชน์พระเจ้าใหญ่องค์หลวง วัดหลวง จ.อุบลราชธานี วันที่ 23 เมษายน 2554 (ฤกษ์เสาร์ห้า)

    1. หลวงปู่อ่อง วัดสิงหาญ
    2. หลวงปู่หนู วัดบ้านหนองหว้า
    3. หลวงปู่อำคา วัดบ้านตำแย
    4.หลวงปู่เส็ง วัดปราสาทเยอร์ใต้
    5. หลวงปู่บุญรอด วัดกุดคูณ
    6.พระสมุห์วิศิษฐ์ศักดิ์ กลฺยาโณ วัดบูรพา(ธ)
    7.ญาท่านเกษม วัดเกษมสำราญ
    8. หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู
    9. พระราชธรรมโกศล (สวัสดิ์) วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
    10.พระราชธีราจารย์ (ศรีพร) วัดมณีวนาราม
    ฯลฯ
    ในการนี้เกิดเหตุการณ์พิเศษคือ พระเถระสำคัญของพม่าได้เดินทางมารับการถวายปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมาศักดิ์ จึงมีการนิมนต์ท่านอธิษฐานจิตเป็นกรณีพิเศษกล่าวคือ
    1. พระสังฆนายกของสหภาพพม่า
    2. พระอาจารย์ภัททันตะ วังสะ ปาละ ลังการะตรีปิฏกะธร ตรีปิฎกโกวิทะ ตรีปิฎกะธรรมภัณฑาคาริกะ พระไตรปิฏกธรผู้จดจำพระไตรปิฎกได้ 84000 พระธรรมขันธ์

    23. งานพุทธาภิเษกวัตถุมงคลหลวงปู่ทิม อิสริโก ณ พิพิธภัณฑ์บุญญาภิรัต จ.ชลบุรี วันที่ 29 พฤษภาคม 2554*
    รายนามพระเถราจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิต
    1. หลวงปู่นาม วัดน้อยชมพู่
    2. หลวงตาเร่ง วัดดงแขวน
    3. หลวงพ่อแผน วัดหนองติม(ศิษย์เอกหลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง)

    24. งานสืบชะตาหลวงและพิธีมหาพุทธาภิเษก พระกริ่งเศรษฐีล้มลุก วัดร้องขุ้ม วันที่ 16 มิถุยายน 2554 รายนามพระเถราจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิต
    1. พระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ทอง) วัดพระธาตุศรีจอมทอง
    2. หลวงปู่หา วัดป่าสักกวัน จ.กาฬสินธุ์ (หลวงปู่ไดโนเสาร์)
    3. หลวงปู่ฟู วัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา
    4. พ่อท่านหวาน วัดสะบ้าย้อย จ.สงขลา
    5. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว จ.อยุธยา
    6. พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี
    7. ครูบาตั๋น วัดย่าปาย จ.เชียงใหม่
    8. หลวงปู่บุญปั๋น วัดป่าแดด จ.เชียงใหม่
    9. หลวงปู่บุญมา วัดศิริชัยนิมิต
    10. ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่
    11. หลวงปู่ครูบาสิทธิ วัดปางต้นเดื่อ จ.เชียงใหม่
    12. หลวงปู่ครูบาจำรัส วัดดอยน้อย จ.เชียงใหม่
    13. หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน จ.เชียงใหม่
    14. หลวงปู่ครูบาอินถา วัดยั้งเมิน จ.เชียงใหม่
    15. พระราชปริยัติโยดม(โอภาส) วัดจองคำ จ.ลำปาง
    16. หลวงปู่ครูบาบุญมา วัดบ้านสามัคคีธรรม จ.ลำปาง
    17. หลวงปู่ครูบาเลิศ วัดทุ่งม่านใต้ จ.ลำปาง
    18. หลวงตาวรงคต วิริยธโร วัดพุทธพรหมปัญโญ จ.เชียงใหม่
    19. หลวงปู่ครูบาพรรณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน
    20. พระครูไพศาลพัฒนโกวิท(เทือง) วัดบ้านเด่น จ.เชียงใหม่
    21. หลวงปู่ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย จ.ลำพูน
    22. หลวงปู่ครูบาก๋องแก้ว กัลยาโณ วัดป่าซางน้อย จ.ลำพูน
    23. หลวงปู่ครูบาธรรมสร สิริจันโท วัดตี๊ดใหม่ จ.น่าน
    24. หลวงปู่ครูบาอ่อน วัดสันต้นหวีด จ.พะเยา
    25. หลวงปู่ครูบาครอง วัดท่ามะเกว๋น จ.ลำปาง
    26. หลวงปู่ครูบาคำแบน วัดวังจำปา จ.เชียงใหม่
    27. พระราชเจติยาจารย์ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่
    28. หลวงปู่ครูบาคำปัน วัดพระธาตุม่อนเปี๊ยะ จ.เชียงใหม่
    29. หลวงปู่ครูบาอิ่นคำ วัดไชยสถาน จ.เชียงใหม่
    30. ครูบาผดุง วัดป่าแพ่ง จ.เชียงใหม่
    31. ครูบาอินทร วัดสันป่ายางหลวง จ.เชียงใหม่
    32. หลวงปู่ครูบาสม วัดปางน้ำฮ้าย จ.เชียงราย
    33. ครูบาเหนือชัย วัดถ้ำอาชาทอง จ.เชียงราย
    34. หลวงปู่ครูบาสุข วัดดงป่าหวาย จ.เชียงใหม่
    35. ครูบาอริยชาติ วัดแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย
    36. พระอาจารย์บุญรอด วัดป่าเมืองปาย
    37. ครูบาสุบิน สำนักสงฆ์ร้านตัดผม จ.ชุมพร
    38. หลวงปู่กวง วัดป่านาบุญ จ.เชียงใหม่
    39. หลวงปู่ชม วัดป่าท่าสุด จ.เชียงใหม่
    40. หลวงปู่พระครูธรรมาภิรม วัดน้ำบ่อหลวง จ.เชียงใหม่
    41. หลวงปู่ครูบาคำมูล วัดกู่คำ จ.เชียงใหม่
    42. ครูบาเมืองใจ๋ วัดรังษีสุทธาราม จ.เชียงใหม่
    43. ครูบาญาณลังกา วัดดอยโพธิญาณ
    44. ครูบาบุญเป็ง วัดทุ่งปูน
    45. หลวงปู่ครูบาอินตา วัดศาลา
    46. ครูบาพรชัย วัดพระพุทธบาทสี่รอย
    47. พระโสภณธรรมสาร วัดป่าดาราภิรมณ์
    48. หลวงพ่อบุญมี วัดใจ จ.เชียงใหม่
    49. หลวงปู่ครูบามนตรี วัดพระธาตุสุโทน จ.แพร่
    50. หลวงพ่อสุแก้ว วัดป่าเจดีย์เหลี่ยม
    51. พระอาจารย์พรสิทธิ์ วัดสว่างอารมณ์
    52. พระครูพิพิธธรรมประกาศ วัดจอมแจ้ง
    53. หลวงพ่อถวัลย์ วัดพระธาตุเจดีย์
    54. หลวงปู่ครูบาบุญยืน วัดสบล้อง
    55. หลวงปู่ครูบาศรีวัย วัดหนองเงือก
    56. หลวงปู่ครูบาลือ วัดห้วยแก้ว
    57. หลวงปุ่ครูบาอุ่น วัดโรงวัว
    58. หลวงปู่ครูบานะ วัดดอยอีฮุย
    59. หลวงปู่ครูบาอ้าย วัดเวฬุวัน
    60. ครูบาจันทรังษี วัดกู่เต้า
    61. หลวงปูพ่อหวุนเจ้าต๋าแสง วัดคุ้งสะแก จ.แม่ฮ่องสอน
    62. หลวงปู่ประเสริฐ วัดพระพุทธบาทเวียงเหนือ
    63. ครูบาสาย วัดร้องขุด
    64. หลวงปู่ครูบาบุญยัง วัดห้วยน้ำอุ่น
    65. พระอาจารย์ต้น ฐานวีโร วัดร้องธาร


    25. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของหลวงปู่เอ้บ วัดสกุณาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท วันที่ 25 มิถุนายน 2554 มีพระเถราจารย์เข้าร่วมปรกพุทธาภิเษกดังนี้
    1. หลวงพ่อเสน่ห์ วัดพันสี
    2. หลวงพ่อมี วัดม่วงคัน
    3. หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ
    4. หลวงพ่อเหลือ วัดขอนชะโงก
    5. หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
    6. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
    7. หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ
    8. หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร
    9. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    10. หลวงพ่อเกาะ วัดท่าสมอ
    11. หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี
    12. หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ
    13. หลวงพ่อพยนต์ วัดโพธิ์บัลลังก์
    14. หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้
    15. หลวงพ่อมหาอุกฎษณ์ วัดสกุณาราม
    16. หลวงพ่อสารันต์ วัดดงน้อย
    17. หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู
    18. หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้
    19. หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่

    26. พิธีพุทธาภิเษก ณ ถ้ำฉัตรทัณฑ์บรรพต วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง วันที่ 26 กรกฏาคม 2554 (เข้าพิธีเฉพาะผงไม้เทพธาโร)
    พ่อท่านคล้อย วัดภูเขาทอง พัทลุง
    พ่อท่านเอียด วัดโคกแย้ม พัทลุง
    หลวงพ่อพรหม วัดบ้านสวน พัทลุง
    หลวงพ่อห้อง วัดเขาอ้อ พัทลุง
    พ่อท่านอุทัย วัดดอนศาลา พัทลุง
    หลวงพ่อสลับ วัดป่าตอ พัทลุง
    หลวงพ่อเหวียน วัดพิกุลทอง พัทลุง
    หลวงพ่อเงิน วัดโพรงงู พัทลุง
    หลวงพ่อเสถียร ฐานจาโร วัดโคกโดน จ.พัทลุง


    27. พิธีพุทธาภิเษก เหรียญ ที่ รฤก ใน วันที่ 6 สิงหาคม 2554 พระเกจินั่งปรก มีรายนามต่อไปนี้

    1.หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ
    2.หลวงพ่อคง วัดเขากลิ้ง
    3.หลวงพ่อเมียน วัดบ้านจะเนียงวนาราม
    4.หลวงพ่อยวง วัดโพธิ์ศรี
    5.หลวงพ่ออุดม วัดปทุมคนาวาส
    6.หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม
    7.หลวงพ่อสิริ วัดตาล
    8.หลวงปู่บุญ วัดทุ่งเหียง
    9.หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ
    10.หลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้ว
    11.หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี

    28. พิธีมหาพุทธาภิเษก พระสุก พระเสริม พระใส รุ่น สามบารมี วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย วันที่ 24 กันยายน 2554 (เฉพาะพระนั่งปรกชุดแรก)

    29. พิธีพุทธาภิเษกขุนแผนรุ่นเจดีย์ทองและรุ่นพิชิตมาร วัดละหารไร่ ระยอง
    วันที่ 1 ตุลาคม 2554

    พระเกจิที่ร่วมปลุกเสก

    1.หลวงปู่ปัญญา วัดหนองผักหนาม ชลบุรี
    2.หลวงพ่อเจียง วัดเนินหย่อง ระยอง
    3.หลวงพ่อเจิม วัดหนองน้ำขุ่น ระยอง
    4.หลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่ ระยอง
    5.หลวงพ่ออ่อง วัดเขาวงกต จันทบุรี
    6.หลวงพ่อสวาท วัดอ่าวหมู จันทบุรี
    7.พระอาจารย์วีระ วัดพลับบางกะจะ จันทบุรี
    8.หลวงพ่อแผน วัดหนองติม สระแก้ว
    9.ครูบามงคล วัดบางเบน พิจิตร

    30. พิธีเทวาภิเษกพระพรหมจักรเพชร วัดดอนยานนาวา วันที่ 2 ตุลาคม 2554
    เกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธี
    1. พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขันธ์
    2. หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
    3. หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่
    4. หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง
    5. หลวงพ่อสมชาย วัดปริวาส
    6. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    7. หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรค์
    8. หลวงพ่อหล่ำ วัดสามัคคีธรรม
    9. พระพรหมโมลี วัดบรมสถล

    31. พิธีหล่อและพุทธาภิเษกสมเด็จองค์ปฐมจักรพรรดิปางยืน วันที่ 30 ตุลาคม 2554 วัดทุ่งอ้อหลวง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    รายนามพระนั่งปรก
    1. หลวงปู่ครูบาบุญมา วัดศิริชัยนิมิต
    2. หลวงปู่ครูบาอินถา วัดอินทราพิบูลย์
    3. ครูบาสาย วัดร้องขุด
    4. ครูบาบุญยืน วัดบุปผาราม



    32. พิธีพุทธา-เทวาภิเษก เหรียญพระครูอุแถัมป์ศาสนคุณและท้าวเวสสุวรรณ วัดป่าแพ่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2554
    รายนามพระเถราจารย์
    1. หลวงปู่ครูบาสิทธิ วัดปางต้นเดื่อ จ.เชียงใหม่
    2. หลวงปูครูบาอ่อน วัดสันต้นหวีด จ.พะเยา
    3. หลวงปู่ครูบาสาย วัดท่าไม้แดง จ.ตาก
    4. ครูบาผดุง วัดป่าแพ่ง จ.เชียงใหม่
    5. พระธรรมมังคลาจารย์(หลวงปู่ทอง) วัดพระธาตุศรีจอมทอง
    6. หลวงปู่ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย จ.ลำพูน
    7. หลวงปู่ครูบาอินถา วัดยั้งเมิน จ.เชียงใหม่
    8. หลวงปู่ครูบาคำตั๋น วัดย่าพาย จ.เชียงใหม่

    33. พิธีเจริญพระพุทธมนต์และพุทธาภิเษกพระปิดตาภูริทัตตเถรานุสรณ์,ล็อกเกตพระแก้วมรกตภูริทัตตเถรานุสรณ์,สมเด็จองค์ปฐมศุภมงคลญาณสังวร วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2554 วัดป่าสันติสามัคคีธรรม อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์


    34. พิธีบวงสรวงหล่อพระกริ่งสุวีโร หลวงปู่ครูบาอินสม วัดพระธาตุจอมทอง ณ อำเภอลาดบัวหลวง พระนครศรีอยุธยา (ยกเว้นสีดำ)

    35. พิธีมหาพุทธาภิเษกพระสมเด็จรุ่นอมตมหามงคล วัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม กรุงเทพฯ (ด้วยความเมตตาของพระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขันธ์ ถือนำเข้าพิธี; ยกเว้นสีขาว) วันที่ 9 ธันวาคม 2554

    รายนามพระเถระ
    1. หลวงพ่อรวย วัดตะโก
    2. หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้
    3. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    4. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
    5. หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่
    6. หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน
    7. หลวงพ่อสารันต์ วัดดงน้อย
    8.พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขันธ์
    9. หลวงพ่อผอง วัดพรหมยาม
    10. หลวงพอ่หล่ำ วัดสามัคคีธรรม
    11. หลวงพ่อเจริญ วัดโนนสว่าง
    12. ครูบากฤษณะ สำนักสงฆ์เวฬุวัน
    13. หลวงพ่อทองสืบ วัดอินทรวิหาร
    14. หลวงปู่ประจวบ วัดระฆังโฆสิตาราม
    15. พระธรรมธีรราชย์มหามุนี(เที่ยง) วัดระฆังโฆสิตาราม
    16. พระอาจารย์หรีด วัดป่าโมกข์
    17. หลวงพ่อจอย วัดโนนไทย
    18. พระอาจารย์ประสูติ วัดในเตา
    19. หลวงพ่อสิริ วัดตาล
    20. หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี
    21. หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม
    22. หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง
    23. หลวงพ่อนพวรรณ วัดเสนานิมิต
    24. พระบวรรังษี วัดระฆังโฆสิตาราม
    25. พระสิทธิพัฒนาภรณ์
    26. พระสิทธิสัจนารักษ์ วัดไชโย
    27. พระราชธรรมสุนทร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


    36. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลรูปเหมือนพระราชอุทัยกวี(พุฒ) วัดมณีสถิตย์กปิฏฐาราม อ.เมือง จ.อุทัยธานี
    วันที่ 10 ธันวาคม 2554
    พระภาวนาจารย์ที่นั่งปรก

    1. หลวงปู่สม วัดโพธิ์ทอง
    2. หลวงตาเร่ง วัดดงแขวน
    3. หลวงพ่อเสน่ห์ วัดพันสี
    4. หลวงพ่อสมคิด วัดเนินสาธารน์
    5. หลวงพ่อโฉม วัดเขาปฐวี
    6. หลวงพ่อสมัย วัดหนองหญ้านาง
    7. หลวงพ่ออั้น วัดโรงโค
    8. พระราชอุทัยกวี(ประชุม) วัดทุ่งแก้ว


    37. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งสุวีโร และศาสตรามหาราช วัดมหาวัน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน วันที่ 10 ธันวาคม 2554 ต่อหน้าพระสิกขี(แม่พระรอด)* (เฉพาะมวลสารส่วนหนึ่ง)
    ครูบาอาจารย์ที่ร่วมพิธี
    1. หลวงปู่ครูบาอินสม วัดพระธาตุจอมทอง
    2. หลวงปู่ครูบาคำแบน วัดวังจำปา
    3. หลวงปู่ครูบาบุญมา วัดศิริชัยนิมิต
    4. หลวงปู่ครูบาอุ่น วัดโรงวัว
    5. หลวงปู่ครูบาศรีวัย วัดหนองเงือก
    6. หลวงปู่ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย
    7. หลวงปู่ครูบาก๋องแก้ว วัดป่าซางน้อย
    8. หลวงพ่อมหาสิงห์ วัดถ้ำป่าไผ่
    9. ครูบาบุญเป็ง วัดทุ่งปูน

    38. พิธีพุทธาภิเษกพระเจ้าตากสินวัดอินทาราม ตลาดพลู กรุงเทพฯ วันที่ 10 ธันวาคม 2554* (เฉพาะมวลสารส่วนหนึ่ง)

    39. อธิษฐานอัญเชิญกระแสพระธรรมธาตุ หลวงปู่พิศดู ธัมมจารี ในงานประชุมเพลิงหลวงปู่ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2554

    40. พิธีมหาพุทธาภิเษกพระกริ่งและเหรียญพุทธปวเรศ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2554
    ครูบาอาจารย์ร่วมพิธี 119 รูป

    41. พิธีพุทธาภิเษกไก่เถื่อน,พระอุปคุต,ล็อกเกตพระแก้วมรกตภูริทัตตเถรานุสรณ์ สมเด็จองค์ปฐมอมฤตศุภมงคลญาณสังวร วันที่ 14 ธันวาคม 2554
    ครูบาอาจารย์ร่วมพิธีดังต่อไปนี้
    1.หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรค์
    2.หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    3. หลวงปู่ดี วัดสุทธาราม
    4. หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่
    5. หลวงพ่อวีระ วัดราชสิทธาราม

    42. พิธีมหาพุทธาภิเษก พระ....... วันที่ 28 ธันวาคม 2554 (เฉพาะสีขาว เื่นื่องจากเป็นพิธีใน..... จึงห้ามลงครับ)

    43. พิธีพุทธาภิเษกชนวนรูปหล่อพ่อท่านอิ้น ปภากาโร สำนักสงฆ์ทับใหม่พัฒนา อ.เคียนซา จ.สุราษฏร์ธานี วันที่ 2 มกราคม 2555 (เฉพาะสีทองและสีดำ)
    รายนามพระนั่งปรก

    1. หลวงปู่ประ วัดภูเขาดิน อายุ 115 ปี

    2. หลวงปู่พุ่ม สำนักสงฆ์เจดีย์เขาท่ายาง อายุ 108 ปี

    3. หลวงปู่เอื้อม วัดบางเนียน อายุ 107 ปี

    4. หลวงปู่ไข่ วัดลำนาว อายุ 100 ปี

    5. หลวงปู่อิ้น วัดทับใหม่ อายุ 94 ปี

    6. หลวงพ่อนวล วัดประดิษฐาราม(ไสหร้า) อายุ 90 ปี

    7. หลวงพ่อท้วม วัดศรีสุวรรณ อายุ 90 ปี

    8. หลวงพ่อเอียด วัดโคกแย้ม(พัทลุง)

    9. หลวงพ่อปอง วัดสว่างประชารมย์ อายุ 91 ปี

    10. หลวงพ่อชื่น วัดในปราบ อายุ 88 ปี

    11. หลวงพ่อจ่าง วัดน้ำรอบ อายุ 84 ปี

    12. หลวงพ่อล้าน วัดขนาย อายุ 78 ปี

    13. หลวงพ่อเอ็น วัดเขาราหู อายุ 79 ปี

    14. หลวงพ่อแดง วัดไร่

    15. หลวงพ่อสมนึก วัดหรงบน

    44. พิธีสวดลักขี และพุทธาภิเษกพระกริ่งวัดธรรมมงคล วันที่ 6-9 มกราคม 2555 รายนามนิมนต์พระกรรมฐาน 138 รูป (เฉพาะสีดำและสีทอง)
    เช่น สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ หลวงปู่บุญหนา วัดป่าโสตถิผล หลวงปู่เหลือง วัดกระดึงทอง หลวงปู่บุญพิน วัดผาเทพนิมิต หลวงปู่เผย วัดถ้ำผาปู่ หลวงปู่บุญมา วัดป่าสีห์พนม หลวงปู่แก้ว วัดถ้ำผู้ข้า หลวงพ่อทองพูล วัดภูกระแต หลวงพ่ออินทร์ถวาย วัดป่านาคำน้อย หลวงปู่ศรี วัดป่าโนนทองอินร์ หลวงปู่บุญเพ็ง วัดถ้ำกลองเพล หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดป่าสมบูรณ์ธรรม หลวงปู่หา วัดป่าสักกวัน หลวงปู่วิไล วัดถ้ำพญาช้างเผือก หลวงปู่อ่ำ วัดสันติวรญาณ หลวงตาอินตอง วัดประดู่วีรธรรม ฯลฯ


    หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน อธิษฐานจิตล็อกเกตสีขาว วันที่ 30 ธันวาคม 2554-12 มกราคม 2555

    45. พิธีพุทธาภิเษกสมเด็จรุ่น คู่บุญ คู่บารมี วัดบรมธาตุชัยนาท ที่วัดระฆังโฆสิตาราม วันที 16 มกราคม 2555 (ยกเว้นสีเขียว)
    รายนามพระมหาเถระร่วมพิธีพุทธาภิเษก
    1.สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ องค์ประธานจุดเทียนชัย
    2.พระธรรมธีรราชมหามุนี(เจ้าคุณเที่ยง) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม องค์ประธานดับเทียนชัย
    3.หลวงปู่คำบุ วัดกุมชมภู จ.อุบลราชธานี
    4.หลวงปู่แขก วัดบางระกำ จ.พิษณุโลก
    5.หลวงปู่นาม วัดน้อยชมภู่ จ.สุพรรณบุรี
    6.หลวงพ่อรวย วัดตะโก จ.อยุธยา
    7.หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน จ.อยุธยา
    8.หลวงพ่อผอม วัดไทรขาม จ.นครศรีธรรมราช
    9.หลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้ว จ.นครสววรค์
    10.หลวงปู่ฟู วัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา
    11.หลวงพ่อมาลัย วัดบางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร
    12. หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี

    46. พิธีมังคลาภิเษก เหรียญพญามังกรทองจักรพรรดิ วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพฯ วันที่ 20 มกราคม 2555 (ยกเว้นสีเขียว)
    พระภาวนาจารย์ที่นั่งปรก
    1) พระพรหมเวที เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม (จุดเทียนชัย)
    2) เจ้าคุณสัมฤทธิ์ วัดพิชัยญาติการาม
    3) เจ้าคุณกัน วัดไตรมิตรวิทยาราม
    4) หลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข วัดประดู่ จ.สมุทรสงคราม
    5) หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี
    6) หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง
    7) ครูบาโต วัดศิวาลัยทรงธรรม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    8) หลวงพ่อพูนทรัพย์ วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี
    9) หลวงพ่อรักษ์ วัดสุทธาวาส จ.อยุธยา


    47. พิธีพุทธาภิเษก สมเด็จองค์ปฐม รุ่น 5 วัดท่าซุง เสาร์ 5 วันที่ 28 มกราคม 2555

    48. พิธีพุทธาภิเษก วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ จ.ลพบุรี วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2555
    รายนามพระเถระที่นั่งปรก 16 รูป
    1. หลวงปู่สรวง วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ จ.ลพบุรี
    2. หลวงปู่กอง วัดกู่พระโกนา จ.ร้อยเอ็ด
    3. หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู จ.อุบลราชธานี
    4. หลวงปู่ทองดำ วัดถ้ำตะเพียนทอง จ.ลพบุรี
    5. หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี
    6. หลวงพ่อรวย วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา
    7. หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน จ.พระนครศรีอยุธยา
    8. หลวงปู่ใสย วัดเขาตำบล
    9. หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้
    10. หลวงพ่อสารันต์ วัดดงน้อย ฯลฯ


    49. พิธีพุทธาภิเษก พระศรีอริยเมตตรัย วัดเขาวง จ.สระบุรี วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555


    50. พิธีจักรพรรดิพุทธาภิเษก พระกริ่งปวเรศบ่วงซื่อเอง วัดเชิงท่า ลพบุรี วันที่ 5/5/2555 เสาร์ห้า

    พ่อท่านหวาน วัดสะบ้าย้อย สงขลา
    พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ ปัตตานี
    เจ้าคุณทอง วัดปลดสัตว์ อ่างทอง
    หลวงพ่อฉลวย วัดชีป่า ลพบุรี
    หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน ลพบุรี
    หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดโพธิ์เก้าต้น ลพบุรี
    หลวงพ่อต่อ วัดสิงห์ทอง ลพบุรี
    หลวงพ่อติ๋ว วัดมณีชลขัณฑ์ ลพบุรี
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่ สมุทรสงคราม
    หลวงพ่อวีระ วัดราชสิทธาราม
    พระครูปืน วัดลาดชะโด
    พระอาจารย์พิจารย์ วัดโพธิ์ผักไห่
    หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม
    หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรค์
    หลวงตาม้า วัดถ้ำเมืองนะ


    51. พิธีมหาพุทธาภิเษกพระสัมพุทธชยันตี 2600 ปี (พระกริ่งอิ่มบุญ) พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ในวันเสาร์ ที่ 9 มิถุนายน 2555

    52. พิธีพุทธาภิเษก เหรียญมหายันต์หลวงปู่ศุข-กรมหลวงชุมพรฯ มูลนิธิสรรพราเชนทร์ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม วันที่ 23 มิถุนายน 2555
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 พฤศจิกายน 2012
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...