สอบถามครับ นั่งสมาธิ พอจิตสงบแล้ว มีอาการเคลื่อนไหวของร่างกายครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย กายในกาย, 22 พฤศจิกายน 2012.

  1. กายในกาย

    กายในกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +1,265
    คือ พอนั่งสมาธิจิตเริ่มสงบ จะมีอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย เหมือนอาการของคนทรงเจ้าน่ะครับ มือทั้งสองข้างกางออกในท่าประทานพร มือเหยียดออกแขนตึงบนหัวแล้วก็กราบราบกับพื้น นั่งหลังงอเหมือนท่าคนแก่ ผมจะติดอยู่ตรงนี้ตลอด ไม่ไปไหนเลย ไม่ทราบว่าเป็นอะไรครับ รบกวนชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณครับ
     
  2. mailgolf

    mailgolf เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    153
    ค่าพลัง:
    +306
    ปรุงแต่งครับ 100 % สมัยฝึกนั่งใหม่ๆผมก็เป็น โอๆๆๆๆตัวเรามีเทพเจ้าด้วย ออกทะเลแล้วครับ ฝึกใหม่ได้เลยครับ จิตไม่ไหวโครง กายก็ไม่ไหวโครงเช่นกัน
     
  3. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    เมื่อจิตสงบ กายก็ต้องสงบ เป็นฐานะที่เป็นไปไม่ได้เมื่อจิตสงบแล้วกายจะไม่สงบ นั่นแสดงว่าจิตยังไม่สงบจริง
     
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    มีสติ ระลึกรู้อยู่เสมอ ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในกายในใจ
    สิ่งใดเกิดขึ้นกับกายกับใจ แล้วเราไม่สามารถระลึกรู้ได้ เมื่อนั้นเรากำลังขาดสติ
     
  5. กายในกาย

    กายในกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +1,265
    ขอบคุณครับ ผมต้องพยายามระลึกให้มีสติครับ ส่วนการเคลื่อนไหวของร่ายกายนั้น ผมพยายามฝืน ก็ฝืนได้บ้าง ไม่ได้บ้าง รู้การเคลื่อนไหวของร่ายกายตลอด บางครั้งอยู่ท่านั้นแข็งไปเลย ฝืนไม่ได้ และนานด้วยครับ งงจริง ๆ ครับ บางครั้งก็มีอาการอาเจียนลมออกมา ซึ่งเป็นบ่อยมากครับ
     
  6. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    เปลี่ยนสมาธิ เป็นเดินจงกรม ดูก็ได้นะครับ ฝึกการเจริญ สติ ครับผม

    สมาธิอยู่ทุกที่ถ้าเรามี สติ ครับ

    สาธุครับ
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456

    น่าจะเป็น พวกที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

    พอไม่ได้ออกกำลังกาย เวลาฟ้ามันเริ่มมัวหม่น ฝนยังมีวันแล้ง
    เส้นเอ็นมันก็มีการยึด กล้ามเนื้อเริ่มก็เป็นผังผืด จะให้นั่งโดยไม่คด
    งอง้าง ไม่มีทาง .........

    เรียกว่า หากไม่ได้ออกกำลังกาย เส้นเอ็น ผังผืด หากมันไม่ได้ขยับ
    มันก็จะ ห่อตัวตึงรัดเข้ามา หากภาวนาในห้องที่อุณหภูมิเย็นๆ ก็จะ
    ขดง่าย พอขดปั๊ป มันก็เป็น ผัสสะที่เคยชิน คือ พอขด ก็จะต้องตาม
    ด้วยการเลื่อย ลงนอน กายมันชินกับผัสสะ ผ่อนคลาย แล้ว เลื่อยลง
    นอน มันก็เลยแสดงอาการแบบนั้น

    ทีนี้ กายมันเริ่มขด เราไปจับกายอยู่ แล้ว ปล่อยจิต ปล่อยสติ เพราะ
    ว่าจะจับกายให้มันชัดๆ มันก็เลยทำให้ กายเป็นนาย จิตเป็นบ่าว

    พอกายเป็นนายจิตเป็นบ่าว ไม่มีสติ ไม่มีสัมปชัญญะ กายมันก็ขดของ
    มันไปเรื่อย

    หากตอนนั้น ผู้ภาวนาไปจับที่ท้องพองยุบ มันจะไปเห็น อาการลำไส้

    พอเอาลำไส้เป็นตัวเกาะอารมณ์กรรมฐาน คราวนี้ งู เรียกพี่

    บางคนไปเอาเส้นเลือดแดง เส้นเลือดใหญ่ ที่มันเต้น และ เคลื่อนตาม
    จังหวะการสูบฉีดเลือด อันนี้จะทำให้ แขนขยับชักกระดุกชักกระดิก ดุก
    ดิกดุกดิกที่สุดเลย ..............

    หากเป็นตามข้อสัณนิฐานข้างต้น คือ หมายเอาเฉพาะเรื่อง ไม่ค่อย
    ได้ออกกำลังกาย เรื่องกระดุกกระดิกเลื่อยแปลกประหลาดอย่างไรยกไว้

    เพราะบางคน เคยชินจนเป็นนิสัย ก็จะ ขยับไม่เลิกหรอก สำคัญไปว่า
    มันแก้เมื่อยได้ ก็จะบิดไปบิดมา ชาตินี้ไม่อาจเปลี่ยน พฤติกรรมได้ เรา
    ก็เลยไม่ว่าตรงนั้น ไม่เอามาเป็นสาระ

    สาระให้มาอยู่ที่ หมั่นออกกำลังกายไว้บ้าง

    บัณฑิตที่เก่งๆ เขาจะประยุกต์ไปเลย เช่นเดินจงกรมไปเลย แต่อาจจะ
    เดินให้เร็วๆหน่อยๆ ไม่เอาเดินทอดน่อง หากเดินทอดน่อง ท่าเดินยังงอ
    ไปงอมาเลยบางท่าน

    หากเดินๆเร็วๆ ก็ยัง งอได้ ฝีเท้าเซไปเซมา ก็ใช้ วิ่งจงกรม ไปเลย หาก
    วิ่งแล้ว กายสังขารระงับดี จะวิ่งแล้วไม่มี การหอบหายใจ หากมีหอบหาย
    ใจอันนี้แปลว่า กามวิตกเยอะ พยาบาทวิตกเยอะ วิหิงสาวิตกเยอะ ทำให้
    วิ่งไปก็ หวั่นเกรง หวั่นกลัว ภัย นอด ใน ก็เลย หายใจอัดอากาศโดยไม่จำเป็น

    ตรงนี้สำคัญนะครับ ตรงการเดินก็ดี วิ่งก็ดี หากมีการ หอบหายใจ นี่แปลว่า
    ยังเดินจงกรมแล้ว กายสังขารไม่ระงับ จิตสังขารไม่ระงับ ก็ต้องฝึกไปก่อน

    จนกระทั่ง เอ้ย วิ่งก็ดี เดินเร็วก็ดี เหงือแตกพลักก็ดี แดดร้อนเปรี้ยงก็ดี แต่
    ลมหายใจกลับใช้ไม่มาก แค่จิ๊บๆ ก็สบาย กายเบา จิตเบา ได้แบบนี้ก็ค่อย
    มานั่งสมาธิ

    พอนั่งปั๊ป จะเห็นเลยว่า ทำไมเมื่อก่อนถึงได้ ออกท่าออกทาง ไปแบบนั้น

    พิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง โดยขจัดอปุสรรคที่ชื่อ ถีนมิทท ในรูป ร่ายรำ งอขด งอขิง
    ออกไปก่อน
     
  8. พุืทธวจน000

    พุืทธวจน000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +1,051
    ...ถ้าจิตไม่ไหวโคลง กายก็ไม่ไหวโคลง...ดูพระสูตรนี้ครับ
    เจริญอานาปานสติ :
    ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายและจิต
    ย่อมมีขึ้นไม่ได้

    ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอดพระเนตร
    เห็นพระมหากัปปินะ ผู้มีกายไม่โยกโคลง แล้วได้ตรัสแก่
    ภิกษุทั้งหลายว่า :-
    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอเห็นความหวั่นไหว หรือ
    ความโยกโคลงแห่งกายของมหากัปปินะบ้างหรือไม่ ?
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เวลาใดที่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
    เห็นท่านผู้มีอายุนั่งในท่ามกลางสงฆ์ก็ดี นั่งในที่ลับคนเดียวก็ดี
    ในเวลานั้นๆ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ได้เห็นความหวั่นไหว หรือ
    ความโยกโคลงแห่งกายของท่านผู้มีอายุรูปนั้นเลย พระเจ้าข้า !”
    ภิกษุทั้งหลาย ! ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกาย
    ก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม มีขึ้นไม่ได้
    เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิใด; ภิกษุมหากัปปินะนั้น
    เป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งสมาธินั้น.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกาย
    ก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม มีขึ้นไม่ได้
    เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิเหล่าไหนเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกาย
    ก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม ย่อมมีไม่ได้
    เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันบุคคล
    เจริญ ทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า ความหวั่นไหวโยกโคลง
    แห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม
    จึงไม่มี ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือ
    โคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง
    ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก :
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;


    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันบุคคล
    เจริญ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ความหวั่นไหวโยกโคลง
    แห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม
    ย่อมมีไม่ได้ ดังนี้.

    มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๙-๔๐๐/๑๓๒๒-๑๓๒๖.
     

แชร์หน้านี้

Loading...