วิธีฝึกปฏิบัติ แบบผู้มีจิตเป็นพุทธ โดย หลวงปู่ พุธ ฐานิโย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 17 เมษายน 2011.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ธรรมะเทศนา​

    โดย​

    หลวงปู่ พุธ ฐานิโย ​

    วัดป่าสาละวัน
    อ.เมือง จ. นครราชสีมา​

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. Meme ja

    Meme ja สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +6
    โปรแกรม
    ไม่เล่นค่ะ..
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เอ..โปรแกรมไม่เล่น ก็ไม่รู้เหมือนกันครับ
    ลองคลิกที่ไฟล์แนบข้อความโหลดไปไว้ฟังก็ได้ครับ
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    [​IMG]


    เชิญเลยครับท่าน ยินดีในบุญด้วยครับ

    ความหมายวลีของหลวงพ่อกล้วย ก็เหมือนๆ หลวงปู่ละครับ
    ต่างที่พยัญชนะเฉยๆ
     
  5. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
  6. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    ธรรมมะเทศนา เรื่อง ปฏิบัติแบบผู้มีจิตเป็นพุธ

    โดย หลวงปู่พุธ ฐานิโย

    วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา​


    (ตอนที่ 1)

    ธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เรายอมรับกัน
    ธรรมะคือคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เรายอมรับกัน มีอยู่ 3

    แต่จะขอกล่าวมาตั้งแต่ต้น ซึ่งมันเกี่ยวกับ สรณะที่พึ่งของเรา
    พุทโธ คือ พระพุทธเจ้า เป็นชื่อของคุณธรรม ที่ทำคน ให้เป็นพุทธะ

    ใครสามารถทำจิตให้สงบนิ่ง มี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกกัคตา
    เป็นสมาธิขั้น ปฐมฌาน

    มีสติ รู้สึก สำนึก ผิดชอบชั่วดี ประชุมพร้อมอยู่ที่จิต
    จิตประชุมพร้อมลง ด้วยองค์ อริยะมรรค 8 ประการ รวมลงเป็นหนึ่งอยู่ที่จิต

    จิตในขั้นปฐมฌาน ฌานที่ 1 เป็นจิตในขั้นทดสอบความสามารถ
    แหล่ะเป็นการหยั่งรู้ สภาพความจริงของจิต

    เพราะฌาน 1 จิตยังมีอารมณ์
    ถ้าเป็นนักบริกรรมภาวนา จิตยังบริกรรมภาวนาอยู่ แต่มีสติรู้พร้อมอยู่ที่จิตในขณะนั้น
    ถ้าจิตดวงใดพิจารณาธรรมอยู่ ก็ทำหน้าที่พิจารณาอยู่
    แล้วก็มีสติรู้พร้อมในขณะจิตนั้นๆ
    แล้วก็มี อาการดูดดื่ม ซึมทราบซึ่งเรียกว่า ปิติ เป็นอาการที่จิต ดื่มรสพระสัทธรรม

    เมื่อเป็นเช่นนั้น จิต มี ปิติ มีความสุข

    จิตดวงนี้กลายเป็นธรรมะ อ่า เป็น ธัมมกาโม
    เป็น จิตที่ใคร่ ในธรรม

    เพราะจิตได้ดื่มรสพระสัทธรรม

    อาการที่จิตดื่มรสพระสัทธรรม
    จิต นิ่ง สว่างแจ่มใส เบิกบาน รู้ ตื่น อยู่ที่จิต อันนี้เงาแห่งพุทธะ
    คือ คุณธรรมที่ทำคน ให้เป็นพุทธะ บังเกิดขึ้นในจิตแล้ว

    ดังนั้น

    สมาธิที่เราฝึกฝนอบรมอยู่นี่ เพื่อรวบรวมคุณธรรม ที่กระจายอยู่เป็นหมวดๆ
    กระจายอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย แหล่ะ ใจ มารวมลงที่ใจ

    ทำไมเราจึงทำ รวมเอาธรรมมารวมไว้ที่ใจ

    ธรรม คือหลักปฏิบัติ ได้แก่
    ศีล สมาธิ ปัญญา แหล่ะ มรรค มีองค์ 8 รวมอยู่ที่จิต
    จิต รู้ ตื่น เบิกบาน นั่นเป็น วาระแรก ที่จิต รวมเอาองค์ มรรค
    ซึ่งเรียกว่า มรรคสมังคี

    บังเกิดขึ้นในจิต ของผู้ภาวนาแล้ว
    เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตกลายเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
    มีคุณธรรมที่ทำคนให้เป็นพุทธะ จิตพุทธะบังเกิดขึ้นแล้ว

    ธรรมชาติของจิตพุทธะ จะต้องเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  7. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    (ตอนที่ 2)

    เมื่อพุทธะตัวนี้ มีพลังแก่กล้าขึ้น แหล่ะมีความมั่นคงยิ่งขึ้น
    จะทำให้จิตของผู้นั้น กลายเป็น ผู้มีสติปัญญารู้แจ้งเห็นจริง
    รู้ตามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ารู้เองเห็นเอง
    ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง เราฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วมาปฏิบัติ

    ทำจิตให้เกิดมีพุทธะขึ้นในจิต จิตของเรา ก็กลายเป็นพุทธะ
    พุทธะมีพลังแก่กล้าขึ้น คือ สติเป็นตัวเด่น
    สามารถที่จะคิดเพ่ง อารมณ์จิตหรือธรรมะ
    ที่ปรากฎขึ้นในจิต อะไรเกิดขึ้นดับไป ภายในจิต จิตรู้ รู้ด้วยความมีสติ

    อาการที่จิตเกิดมีความรู้ความคิดอ่านขึ้น
    สติรู้พร้อมอยู่ นั่นเป็น องค์ แห่ง วิตก วิจาร
    เป็นองค์ฌานที่ 1 แหล่ะ องค์ฌานที่ 2 สามารถปฏิวัติจิต
    ให้ไปสู่ความรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง

    รู้อะไร เห็นอะไร พิจารณาแล้ว โอปนะยิโก
    น้อมเข้ามาในจิต มารู้อยู่ที่จิต เป็นผู้รู้ดี รู้ชอบ

    พระพุทธะเจ้ารู้ดี รู้ชอบ โดยไม่มีใครสั่งสอนพระองค์
    พระองค์รู้เอง แต่เราเป็นสาวก เราฟังคำสอน แล้วปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
    เป็นผู้รู้ดีรู้ชอบ ตามพระองค์ แหล่ะ อากัปกิริยา อาการที่รู้ดี รู้ชอบนั้น
    เรารู้เองเหมือนกัน

    ดังนั้น เราจึงเป็นผู้มีปัญญาเห็นชอบ
    ได้น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้า คือ พระปัญญาคุณ มาไว้ที่จิต
    ในขณะ ที่จิต มีสติสัมปชัญญะ รู้พร้อม รู้ชอบอยู่ ในขณะนั้น

    แม้อารมณ์จะเกิดดับอยู่กับจิต จิตปราศจากความยินดียินร้าย
    ปราศจากความเกลียดความรัก ความชัง

    จิตเป็นกลางโดยเที่ยงธรรม
    จิตไม่มีอาการแห่งความยินดี ยินร้าย เป็นจิต ที่ปราศจากกิเลส

    เพราะ

    ความยินดี คือ กามตัณหา
    ความยินร้าย คือ วิภวตัณหา

    ที่สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น รู้เห็นแล้วปล่อยวางไป
    แม้จะมีความดูดดื่มซึมทราบในรสแห่งพระสัทธรรมก็ไม่ได้ยึดเอาไว้

    จิต จึงปราศจาก ภวตัณหา เป็นจิตที่เป็นปกติ บริสุทธิ์ เที่ยงธรรม

    ดังนั้น

    เราจึงได้น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้าประการที่ 2 มาไว้ในจิตแล้ว
    เป็น ปริสุทธิ์คุณ แม้จะชั่วขณะจิตหนึ่งก็ยังดี

    (อ่านต่อตอนต่อไป )
     
  8. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    (ตอนที่ 3)

    เมื่อเรามีคุณธรรมแห่งความเป็นพุทธะอยู่ในจิต
    เราก็ได้น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้ามาไว้ในจิตแล้ว
    ผู้ที่มีคุณธรรมความเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ในจิต
    ย่อมเป็นผู้มีความรู้สึก
    สำนึก ผิด ชอบ ชั่ว ดี มีเจตนาที่จะงดเว้นจากชั่ว ประพฤติดี
    ทำจิตให้บริสุทธิ์สะอาดอยู่เสมอ
    จึงกลายเป็นพระมหากรุณาธิคุณ


    โดยธรรมชาติ ของผู้ที่มีจิตพุทธะปรากฎเด่นชัด
    ย่อมเป็นผู้ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา
    มีจิตเป็นปกติประกอบด้วยคุณธรรม คือ หิริ ความละอายต่อบาป
    โอตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาป

    มี ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นพลังอินทรี พร้อมอยู่ที่จิต
    ทำให้จิต เด่น สว่าง ไสว รู้ ตื่น เบิกบาน อยู่ตลอดเวลา

    ผู้ที่มีจิตเป็นเช่นนั้น
    ผู้ที่มีจิตเป็นจิตพุทธะ ย่อมงดเว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน
    การข่มเหงรังแกได้โดยเด็ดขาด

    เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงเป็นจิต ที่ประกอบด้วย พรหมวิหาร
    คือ เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา

    เมื่อเป็นเช่นนั้นเราก็น้อมเอาคุณธรรม
    คือ คุณธรรมของพระพุทธเจ้า คือ
    พระมหากรุณาธิคุณมาไว้ในจิตของเราแล้ว

    นี่คือคุณธรรม ที่ทำคนให้เป็นพระพุทธเจ้า

    พระพุทธเจ้าเป็นผู้ รู้ดี รู้ชอบ ด้วยพระองค์เอง เราก็ รู้ดี รู้ชอบ ตามพระองค์ไป
    พระพุทธเจ้าเป็นผู้มีพระทัยอันบริสุทธิ์สะอาด
    มีกายวาจาเป็นผู้บริสุทธิ์สะอาด เราก็เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดตามพระองค์ไป

    พระพุทธเจ้ามีพระมหากรุณาธิคุณ เรายึดมั่นในศีลในธรรม
    ปราศจากการฆ่า เบียดเบียน ข่มเหง รังแก เราก็มีคุณธรรม
    คือ พระมหากรุณาธิคุณ

    โอปนะยิโกเราได้น้อมเอาคุณธรรม
    ซึ่งเป็นคุณสมบัติของพระพุทธเจ้ามาไว้ในจิตในใจของเราโดยสมบูรณ์แล้ว

    ดูซิ !! เรามีคุณธรรมเช่นนั้นหรือไม่ เมื่อเรามีคุณธรรมเช่นนั้น

    ก็ได้ชื่อว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ

    เราเป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็น สรณะ ที่พึ่ง ที่ระลึก อย่างแน่นอน
    การกล่าวถึงพระพุทธเจ้าด้วย วาจา แต่ใจยังไม่ถึง
    คือ ยังไม่ถึง สภาวะ รู้สึก สำนึก ผิดชอบ ชั่วดี
    ยังไม่ถึง สภาวะ รู้ ตื่น เบิกบาน ที่จิต

    เราจึงยังไม่ถึง พระพุทธเจ้าเป็น สรณะแท้จริง
    เป็นแต่เพียงแสดงกิริยาเท่านั้น

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  9. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    กะทู้เดียว..2ชื่อรึ..ถอดเกราะด้วย มันหนัก พี่แปล๊บๆๆ อิอิ
     
  10. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    เปล่าหรอกครับ ชื่อปราบเทวดา โดนใบแดง แต่โพสไม่ได้

    คนอื่นโดนแดงแต่โพสได้ ก็มีเท่านี้
     
  11. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    (ตอนที่ 4)

    บัดนี้ เรามาฝึกสมาธิภาวนา น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้า คือ พุทโธ
    มาบริกรรมภาวนาเป็นคู่ของจิต จนทำจิตให้สงบลง
    มี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกกัคตา
    เราก็ได้ คุณธรรมที่ทำคนให้เป็นพุทธะมาไว้ในจิต

    เมื่อจิตของเรามีคุณธรรมเช่นนี้
    เราถึงพระพุทธเจ้าเป็น สรณะที่พึ่ง ที่ระลึก โดยไม่ได้ตั้งใจ
    เพราะจิตของเราเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
    นี่คือ คุณธรรมที่ทำคนให้เป็นพระพุทธเจ้า

    เราภาวนา เราปราถนา เราต้องการกันที่จุดนี้
    ส่วนธรรมมะอันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า สัทธรรม 3

    ปริยัติ ท่านกำลังเรียนปริยัติ เพราะตั้งใจฟังธรรม
    ปริยัติ คือ ความรู้ ที่เกิดจากการฟัง
    ปริยัติ คือ ความรู้ที่เกิดจากการท่องบ่นสาธยาย
    ปริยัติ คือ ความรู้ ที่จาก อ่า เกิดจาก การอ่าน การเขียน
    แล้วจดจำเอาได้เป็นความรู้ทางสัญญา

    หลักสูตรธรรมะที่เป็น คำสอน ที่เราใช้เป็นหลักสูตรแห่งการศึกษา
    เพื่อเป็นคู่มือการปฏิบัตินั้น เรียกว่า ปริยัติธรรม

    บัดนี้ เราได้น้อม เอาพระปริยัติธรรมมาปฏิบัติ
    ฝึกหัด ดัดกาย วาจา แหล่ะ ใจของตนเอง ให้อยู่ในความสงบ
    กายนั่งอยู่ นิ่งๆ นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย
    มือขวาวางทับมือซ้าย
    ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น
    เราน้อมเอาปริยัติธรรมมาปฏิบัติ
    ทำกายให้สงบนิ่ง
    ทำวาจาให้สงบนิ่งโดยไม่พูด
    ทำจิตให้จดจ่อ อยู่อารมณ์จิต อันเป็นคู่มือแห่งการภาวนา

    ซึ่งเราจะเอาอารมณ์อันใดก็ได้ อันนี้เรียกว่า ปฏิปัตฏิสัทธรรม

    เมื่อเราปฏิบัติ คือ บริกรรมภาวนา ทำ กาย วาจา แหล่ะ ใจ ให้สงบ
    ด้วยอารมณ์สิ่งใด สิ่งหนึ่ง อันเป็นคู่ของจิต

    เมื่อจิตมีความสงบเป็น สมาธิ
    สมาธิ คือ ปฏิเวธธรรม เป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติ
    ปิติ แหล่ะ ความสุข เป็นปฏิเวธธรรม เป็นผลเกิดจากการปฏิบัติ

    จิต ดำเนินอยู่ในฌาน ที่ 1
    มี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกกัคตา เป็นปฏิเวธธรรม เป็นผลเกิดจากการปฏิบัติ

    สติ ที่มีพลังแก่กล้า สามารถ กำหนดตามรู้ อารมณ์จิตได้ทันการณ์
    รู้เท่าเอาทัน ในขณะจิตนั้น ไม่หลงอารมณ์จิตของตัวเอง เป็นปฏิเวธธรรม

    สติ ปัญญา สามารถ กำหนดรู้ อารมณ์จิตรู้อนิจจัง ความคิดไม่เที่ยง
    ทุกขัง ความคิด ไม่ทนอยู่กับที่
    อนัตตา ความคิด ไม่เป็นตัวของตัว
    มีการหมุนเวียนเปลี่ยนแปรอยู่ตลอดเวลา ทุกขณะจิต
    อันนี้เป็นปัญญาเห็นชอบ เรียกว่า ปฏิเวธธรรม

    ยิ่งกว่านั้น ผลที่พึงได้บรรลุ สมาธิ วิโมกข์ สมาบัติ มรรคผล นิพพาน
    ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ เรียกว่า ปฏิเวธธรรม

    ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ทั้ง 3 ประการนี้
    เป็นธรรมมะ คำสอน ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เทสสส ทดสอบ
     
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ว๊าว ได้แล้ว :cool:
     
  14. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    เฮ้อ ดำเอ้ยดำ --
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 5)

    ธรรมะคำสอนดังที่กล่าวนี้
    อาศัย กาย วาจา จิต เป็นผู้ปฏิบัติตาม

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
    มโนปุพพังคมาธัมมา มโนเสษฐา มโนมยา

    ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นสภาพถึงก่อน สำเร็จแล้วแต่ใจ

    มนัสสาเย ปสันเนนะ ภาสติวา กโรติวา
    เมื่อจิตใจผ่องใส การพูดก็ดี การทำก็ดี การคิดก็ดี
    ย่อมเป็นไปในทางที่ สุจริต คือ ถูกต้องตามระบอบแห่งพุทธะ

    ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

    ถ้าหากว่า จิตหรือใจตัวนี้ เศร้าหมอง
    ไม่ผ่องแผ้ว การพูด การทำ การคิด
    ล้วนแต่เป็นไปในทางอกุศลทั้งนั้น

    เพราะฉะนั้น
    การอบรมจิต ให้ดำรงอยู่ในขอบข่ายแห่ง ศีล สมาธิ ปัญญา
    ทำศีล สมาธิ ปัญญา
    ให้ประชุมพร้อมที่จิต มีสติวินโย สติเป็นผู้นำ

    สติ รู้สึก สำนึก ผิด ชอบ ชั่ว ดี รู้ตื่นเบิกบาน
    มีคุณธรรมความเป็นพุทธะบังเกิดขึ้นในจิตพร้อมแล้ว
    ต่อจากนั้น เจตนา หรือ ความตั้งใจของนักปฏิบัติทั้งหลาย
    ก็จะมุ่งตรง ต่อ การปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ

    สุปฏิปัณโน จะเป็นผู้ปฏิบัติดี คือ ปฏิบัติไม่ผิด

    อุชุปฏิปัณโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง ตรงต่อมรรคผลนิพพาน
    ตรงต่อความพ้นทุกข์ ตรงต่อความบริสุทธิ์สะอาดแห่งจิต
    มิใช่ปฏิบัติเพื่อพอกพูนกิเลส

    ญาญะปฏิปัณโน ปฏิบัติ อย่างมีเหตุผล ได้พิจารณาไตร่ตรองธรรมมะ
    ที่เกิดดับอยู่กับจิต รู้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ซึ่งเป็นพระไตรลักษณ์ ปรากฎขึ้นในจิตแล้ว
    ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เกิดขึ้นเพราะเหตุ

    ธรรมทั้งหลายจะเกิดขึ้นก็เพราะเหตุ
    จะดับไปก็เพราะเหตุดับ

    เมื่อมีความรู้เห็นชอบอย่างนี้ ปฏิบัติถูกต้องอย่างนี้
    จึงได้ชื่อว่า ญาญะปฏิปัณโน

    ในเมื่อ ผู้ปฏิบัติโดยเหตุ โดยผล ยอมรับเหตุแห่งสุข เหตุแห่งทุกข์
    จึงกลายเป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง เพราะจิตมุ่งตรงต่อมรรคผลนิพพาน
    อันเป็นความบริสุทธิ์สะอาดแห่งจิต

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 6)

    การปฏิบัตินี้ มิได้มุ่งอยู่ที่อามิส สินจ้างรางวัลใดๆ
    การปฏิบัตินี้ ไม่ได้ไปเกี่ยงใคร เป็นหน้าที่ของใครของเรา
    ที่จะตั้งใจ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ

    เมื่อเป็นเช่นนั้นนี่อย่างไร พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ตรงนี้
    ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติโดยเหตุผล เพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง ปฏิบัติชอบยิ่ง

    นี่เป็นคุณธรรมที่ทำคนให้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าที่ถูกต้องแหล่ะแน่นอน
    เมื่อเราเป็นผู้ปฏิบัติที่ถูกต้องแน่นอน มีสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ
    สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ มีปัญญาเห็นชอบ ตั้งใจมั่นชอบ
    มีคุณสมบัติ แห่งความเป็นพุทธสาวกอย่างแท้จริง กลายเป็นผู้นำที่ถูกต้อง

    อาหุเนยโย จึงเป็นผู้ควรแนะนำพร่ำสอนผู้คน หรือ พุทธบริษัท
    ปาหุเนยโย จึงสมควรแก่การเป็นผู้ให้การต้อนรับ พุทธบริษัท
    ทักขิเนยโย จึงเป็นผู้สมควรแก่การให้คำแนะนำพร่ำสอนที่ถูกต้อง
    อัญชลีกรณีโย เป็นผู้มีมือไม้อ่อน สามารถกราบไหว้ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย สหธรรมมิกทั้งหลาย ผู้อาวุโสทรงคุณธรรม
    ปราศจากทิฐิมานะความถือตน ถือตัว หรือความมีมานะ กระด้าง

    กายก็เป็นกายอ่อน มุทุ สุภาพ เรียบร้อย อ่อนโยน
    วาจาก็สุภาพ ไพเราะ
    ใจหรือจิต ก็เป็น จิตที่ มุทุ อ่อนน้อม ถ่อมตน
    กลายเป็นผู้ประพฤติ อ่อนน้อมถ่อมตน
    โสวจัสตา เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย

    เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริงไม่มีบิดพริ้ว
    เชื่อว่า พระพุทธเจ้ามี พระธรรมมี พระสงฆ์มี

    มีความรักในพระพุทธเจ้าอย่างมั่นคง
    มีความรักในพระธรรมอย่างมั่นคง
    มีความรักในพระสงฆ์อย่างมั่นคง

    มีความเคารพ ต่อธรรมมะคำสั่งสอนอย่างแน่นอน
    ไม่ละเมิดล่วงเกินระเบียบ สิกขาบทวินัยน้อยใหญ่
    เป็นผู้มั่นในศีล เป็นผู้มั่นในธรรม
    เป็นผู้มี หิริ ความละอายบาป
    เป็นผู้มี โอตตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาป
    เป็นผู้มี โยนิโสมนสิการ มีการทำในจิตในใจโดยอุบายที่แยบคาย
    มีสติกำหนด จดจ้องรู้อยู่ที่อารมณ์จิตตลอดเวลา
    กำหนดหมายรู้ธรรมที่เกิดดับอยู่ภายในจิต

    เมื่อจิตมีสิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึก
    ผู้ที่ตั้งใจจดจ่อ เพ่งดูอารมณ์จิตอยู่ตลอดเวลาด้วยความมีสติสัมปชัญญะ

    โดยธรรมชาติของจิต ถ้ามีอารมณ์สิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึก
    พลังของสติย่อมเพิ่มพลังงานขึ้นมาเป็น สติพละ
    เป็น 1ในจำนวน พละ5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ

    แม้ว่าการปฏิบัติสมาธิ อย่างที่มีปิติ มีความสุขยังไม่เกิดขึ้น
    แต่มีศรัทธาความเชื่อ ความเลื่อมใส
    ในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ในคุณธรรมของพระพุทธเจ้า
    ในคุณธรรมคำสอนโดยทั่วไป ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติได้ผล


    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  17. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    โมทนาสาธุคะ
    ขออภัย กับ ขอบคุณ ที่ให้อภัย มาคู่ กัน
    ก็ ธรรมบทนี้ละ
    มารออ่านอยู่นะคะ ขอบคุณคะ
     
  18. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 7)

    มีศรัทธา มีความเพียร มีความตั้งใจ มีความมั่นใจ
    มีสติ ปัญญา รู้รอบครอบอยู่ที่จิต

    เมื่อแสดงออกมารู้ที่กาย ที่วาจา
    การทำด้วยความมีสติ การพูดด้วยความมีสติ
    การคิดด้วยความมีสติ การทำ ความพูด ความคิดเป็นอารมณ์จิต
    เป็นสภาวะธรรมที่ปรากฎอยู่กับจิต
    ในเมื่อจิตดวงใด มีสติ สัมปชัญญะเพ่งดู อยู่กับสิ่งเหล่านี้

    แม้สิ่งนั้นจะเกิดดับอยู่ไม่หยุดหย่อนก็ตาม
    แต่มีสติรู้อยู่ในขณะจิตนั้นทุกขณะจิต

    ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
    ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ

    ในการใดแลธรรมย่อมปรากกฎแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่
    ในการนั้น กาลนั้นย่อมรู้ธรรมะตามความเป็นจริง
    ธรรมมะที่ปรากฎกับจิตของพราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่นั้นคืออะไร

    การทำ การพูด การคิด นี่เป็นธรรมมะที่ปรากฎกับจิตของผู้ที่มีเพียรเพ่งอยู่

    เมื่อจิตออกมาข้างนอกก็มารู้อยู่ที่ การทำ การพูด
    เมื่อจิตเข้าไปรู้อยู่ข้างในก็รู้อยู่ที่จิต รู้อารมณ์จิต ที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา

    เมื่อความรู้แจ้งเห็นจริง ปรากฎขึ้น
    ความข้องใจสงสัยในธรรมมะก็ย่อมสิ้นไป
    ในเมื่อความหายสงสัยในธรรมมะที่เกิดดับอยู่นั้น เพราะรู้จริง ว่า
    ทุกสิ่งล้วน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ย่อมกลายเป็นความรู้แจ้งเห็นจริง
    เมื่อเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว ก็เกิดการปล่อยวาง
    เมื่อมีการปล่อยวาง คือ การสลัดคืนซึ่งกิเลส
    จิตก็ย่อมพ้นจากความทุกข์ ความเดือดร้อนทั้งหลายทั้งปวง

    ดังนั้น

    การประพฤติปฏิบัติอันใด ในเมื่อเราตั้งใจ ทำจิตโดยไม่ท้อถอย
    ด้วยความมี ศรัทธา มีวิริยะ มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ย่อมจะยังผลให้สำเร็จ
    ยังผลให้เกิดขึ้น

    ครูบาร์อาจารย์ของเรา สอนให้ภาวนาุพุทโธ
    ทำไมจึง สอนให้ภาวนาพุทโธ

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 8)

    เพราะพุทโธ เป็นกิริยาของจิตแปลว่ารู้

    พุทโธ แปลว่ารู้ รู้เป็นกิริยาของจิต

    ในเมื่อจิตสงบลงไปแล้วปล่อยวางคำพูดว่าพุทโธ
    จิตไปสงบนิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน นั่น
    พุทธะเกิดขึ้นในจิตแล้ว

    เพราะฉะนั้น ท่านจึงสอนให้ภาวนาพุทโธ

    ถ้าเราจะเป็นลูกศิษย์ของครูบาอาจารย์จริงๆ
    อย่าได้เคลือบแคลง สงสัย
    หลวงพ่อใหญ่ของเราคือ ท่านอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น
    สอนให้ภาวนาพุทโธอย่างเดียว แต่เป็นที่น่าเสียดาย
    ที่ลูกศิษย์ของครูบาอาจารย์ ไม่ยอมเชื่อครูบาอาจารย์

    กลับไปเชื่อสิ่งเหลวไหล
    บางทีได้ยินว่า ภาวนาพุทโธจิตได้แต่ สมถะ ไม่ถึง วิปัสนา
    ก็ไปเชื่อ คำพูด เชื่อคำพูดของคนที่ภาวนาไม่เป็น

    การภาวนานี่ เรามีจุดนัดพบ อารมณ์สมถะกรรมฐาน 40 ประการ
    อนุสติ 10
    กสิณ 10
    อสุภะ 10
    พรหมวิหาร 4
    อาหาเรปฏิกูลสัญญา
    ธาตุววัฏฐาน

    ทั้ง 40 อย่างนี้ ใครภาวนา อย่างใด อย่างหนึ่ง
    เมื่อจิต สงบลงเป็น สมาธิแล้ว
    เราจะไปพบกันที่จุด จุดหนึ่ง จุดนั้นคือ ปฐมฌาน

    จิตที่ มี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกกัคตา จิตทรงฌานที่ 1
    ซึ่งเรียกว่า ปฐมฌาน

    การภาวนาที่จะดำเนินจิต ให้ไปสู่ มรรคผล นิพพานได้
    ต้องประกอบไปด้วยองค์ฌาน

    องค์ฌาน 1 วิตก
    จิตนึกถึงอารมณ์เองโดยอัตโนมัติ
    ถ้าเวลาภาวนาอยู่ บริกรรมอยู่
    ก็บริกรรมเอง พุทโธ พุทโธ พุทโธ โดยไม่ได้ตั้งใจ
    นั่นเรียกว่า วิตก

    ถ้ายังตั้งใจนึกพุทโธ จิตจึงนึก
    ไม่ตั้งใจ จิตไม่นึก ไม่บริกรรมภาวนา นั่น ยังไม่ได้วิตก


    เมื่อได้วิตก จิตจะต้องภาวนาเอง พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธเอง
    แหล่ะก็มีสติรู้พร้อมอยู่ที่ตรงนั้น

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  20. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 9)

    แหล่ะ บางครั้ง จิตอาจจะทิ้ง พุทโธ พุทโธ พุทโธ ไม่นึกพุทโธแล้ว
    ก็ปรากฎว่า มีสติรู้อยู่ที่จิต แล้วก็มีความคิดอย่างอื่นเกิดขึ้น
    แต่มีสติรู้พร้อมในขณะจิตนั้นทุกขณะจิต จิตจะคิดอะไร สติรู้พร้อม
    อันนี้เรียกว่า จิตได้ วิตก วิจาร เป็นองค์ฌานที่ 1 กับ องค์ฌานที่ 2

    เมื่อจิต มีวิตก วิจาร ปิติแหล่ะความสุข ความเป็นหนึ่งของจิต
    คือจิตจดจ่ออยู่ในหน้าที่ ที่ภาวนาอยู่ในขณะนั้นโดยไม่มีเปลี่ยนแปลง

    มีความมั่นคงรู้อยู่ที่ความสุขมีความเป็นหนึ่ง
    หนึ่งต่อหน้าที่ ที่ำทำอยู่ในปัจจุบันนั้น
    ซึ่งทุึกสิ่งทุกอย่างจะเป็นไปเองโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ
    ทุกสิ่งทุกอย่าง มันเป็นไปเองพร้อม

    เรียกว่า เป็นอัตโนมัติ

    ครูบาอาจารย์ของเราเรียกว่า
    ภาวนาให้ถึงจุด แห่งความเป็นเอง

    ความเป็นเองนั้น มีอยู่ 2 อย่าง
    ความเป็นเอง จิตบริกรรมภาวนาพุทโธเอง
    แล้วก็มี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกกัคตา นี่อย่างหนึ่ง

    ความเป็นเองอีกอย่างหนึ่ง จิตไม่บริกรรมภาวนา
    แต่มีความคิด มีสติรู้พร้อมอยู่ในขณะจิตนั้น
    แล้วก็มี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกกัคตา
    ทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ

    อันนี้เรียกว่า ภาวนาถึงจุดนัดพบกัน

    ใครภาวนาอะไรแบบไหน
    ถ้าสมาธิประกอบด้วยองค์ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น
    จะต้องมาเจอกันที่ตรงนี้ อันนี้ คือ วิถีทางที่จิตเป็นสมาธิที่เป็นไปเองโดยอัตโนมัติ

    สมาธิเราแต่งไม่ได้หรอก เราแต่งได้แต่ บริกรรมภาวนา เช่น

    เราจะภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    แต่งจิตให้มันนึกพุทโธ พุทโธ พุทโธได้

    แหล่ะ เราจะตั้งใจพิจารณาอะไร
    พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    เราตั้งใจพิจารณาได้ อันนี้มันเป็นเพียงภาคปฏิบัติ
    แต่ มันยังไม่เป็น

    ถ้าจิตมันสงบลงไปแล้ว มันภาวนาเอง มันพิจารณาเอง
    เวลามันจะเป็นไป มันรั้งไม่อยู่ มันบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ
    ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ

    มันบริกรรม พุทโธ พุทโธ พุทโธ ของมันอยู่
    ในบางครั้ง เราคิดอยู่ พูดอยู่ มันก็คล้ายๆกับว่า
    มันบริกรรมพุทโธ พุทโธ ของมันอยู่ ตลอดเวลา

    นั่นจึงจะเรียกว่า จิตมันได้ วิตก วิจาร

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 ธันวาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...