จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ
    คิดดีก็รู้ คิดไม่ดีก็รู้ คิดดีก็เฉย คิดไม่ดีก็เฉย เราก็รู้จักตัวเราว่ามีทั้งคิดดี และคิดไม่ดี สงบหรือไม่สงบ เราก็ยืนอยู่ต้องเฉย “เฉย” ก็คือการทำสติ หรือภาวนา พยายามดึงกลับมาไว้ตรงนั้น มันก็สมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ...ใคร จะทำอย่างไร ก็วางเฉยได้ ไม่ปากเปราะ ไม่อารมณ์ร้อน ไม่ตอบโต้กับใครง่ายๆ เฉยเป็น นิ่งเป็น ที่มาฝึกก็เพราะเราต้องการสิ่งเหล่านี้ คือ ธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนั่นเอง


    เรามาฝึกใจของเรา ได้ก็ไม่ดีใจ เสียไปก็ไม่เสียใจ ทำเป็นกลาง อยู่ก็ดีใจ ไปก็ไม่เสียใจ ใครจะเกลียดเรา ก็ไม่เสียใจ ใครจะรักเรา ก็ไม่ลืมตัว เมื่อเราทำใจเป็นกลาง เราถือว่าทุกอย่างเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่แน่นอน ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นทุกข์ทั้งนั้น มันเป็นกังวลทั้งนั้น มันเป็นภาระหนักทั้งนั้น ไม่ว่าจะไปจับอะไรสักอย่างหนึ่ง

    ใจ เราก็เหมือนกัน ถ้าเราวางใจเสียได้ ไม่ไปยึดว่าเป็นของเรา ไม่ไปยึดว่าสิ่งนั้นจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จะต้องได้มาอย่างนั้น จะต้องได้มาอย่างนี้ จิตเราก็สบาย


    พระพุทธเจ้าทรงศึกษามาแล้วจนจบจิต พวกเราที่ยังเป็นวัฏฏะ เวียนว่าย ตาย เกิดอยู่ก็ เพราะเราศึกษาจิตไม่จบ เพราะเรายังหลงจิตอยู่ ยังไม่รู้ว่าจะจับจุดพิจารณาอย่างไร ทำอย่างไรที่จะเข้าไปรู้ให้ถึงธรรมอันนั้น เพราะเรายังอยู่ในวัฏฏะ ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ เพราะจิตไม่มีตัวตน ก็เลยไม่รู้ว่าจะมองดูอย่างไร จะจับอย่างไร จิตนั้นมีความโลภ โกรธ หลง อยู่ในนั้นอยู่แล้วเราก็ไม่สามารถไปจับเขามาดู หรือมาบีบคั้นให้มันหมดไปได้อย่างไร

    เมื่อไม่มีตัวตนเราก็ต้องใช้ วิธีจับจิต แบบไม่มีตัวตนก็คือ ใช้การภาวนา เอาจิตเข้าไปไว้ตรงใดตรงหนึ่งให้จิตเป็นหนึ่ง เมื่อจิตใจจดจ่ออยู่เป็นหนึ่งก็ปรากฏความคิดขึ้นมา คิดไปเรื่องโน้นเราก็ตั้งสติ คิดไปเรื่องนี้เราก็รู้สติว่าเราคิดอะไร พอเรารู้ทันหนักเข้าๆ มันก็รวมเป็นใจว่าง ใจว่าง ใจสว่างนั่นคือ ตัวรู้ทันจิต ทำให้เกิดปัญญาญาณรอบรู้เท่าทันจิตตัวเองเกิดความสุขสงบขึ้นมา


    บุญและบาปอยู่ในใจเราคนเดียว เหมือนมีคน ๒ คนอยู่ในใจเรา ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ผลัดกันแสดงอาการออกมา เวลาสงบก็มี “พุธโธ ธัมโม สังโฆ” อยู่ในใจ และนึกถึงพระอรหันต์อยู่ในใจ คนดีก็โผล่ขึ้นมาในใจ ก็นึกแต่สิ่งที่ดี พูดคุยแต่สิ่งที่ดี ก็แสดงอาการที่ดีออกมาทางกายและวาจา ถ้าขาดสติสัมปชัญญะ คนไม่ดีก็เกิดขึ้นมาแทน คิดแต่เรื่องไม่ดี ทำแต่เรื่องไม่ดี ทำอะไรก็ไม่ดี ทำแต่เรื่องที่ไม่สบายใจตลอดเวลา เขาเรียกว่า จิตตสังขารปรุงแต่งเป็นบุญและบาป “ปรุงแต่ง” เป็นบุญก็สบายใจ เย็นใจ ถ้าปรุงแต่งเป็นบาปก็ทำให้จิตใจเร่าร้อน เป็นทุกข์ระทมขมขื่นใจ จิตตสังขารปรุงแต่งจิตให้เป็นบุญและบาปอยู่สม่ำเสมอ ก็ต้องทำ “อุเบกขา” คือ ไม่ยินดีไม่ยินร้าย สุขก็ทำเฉยๆ ทุกข์ก็ทำเฉยๆ ถือว่าเป็นธรรมดาที่คนเราก็มีอยู่ทุกวันทุกเวลา


    : ธรรมะของพระพุทธเจ้าสอนตามหลักธรรมชาติโดยตรง ร่างกายของเราก็เป็นธรรมชาติ ปรุงแต่งมาจากธรรมชาติ ที่เรามานั่งอยู่นี่ก็เป็นเรื่องธรรมชาติทั้งหมด

    ที่ทุกข์ที่สุขนี่ เราไปคิดเอาเองจนเป็นเรื่องใหญ่เรื่องโต จนกลายเป็นยึดมั่นถือมั่น ว่าจากเราไปไม่ได้ ทั้งๆที่ทุกสิ่งทุกอย่างมันจากกันได้หมด ไม่มีอะไรติดอยู่ในตัวเราเลย จะมีก็ “ทาน ศีล ภาวนา” ที่จะติดอยู่ในใจเราได้

    สิ่งนี้แหละที่จะส่งเราไปถึงพระนิพพาน นอกจากนั้นไม่มีเลย ไปไม่ถึงนิพพาน เป็นของหล่นอยู่กับโลกหมด กลายเป็นของที่ถูกคนอื่นนำไปใช้ต่อ


    ที่คนเราไปศึกษาข้างนอกมากๆ จึงได้แต่ความวุ่นวาย เพราะไม่เคยดูกายใจตัวเอง ไปเห็นผมคนโน้นสวย เห็นขนคนนี้สวย เห็นปรุงแต่งแต่เรื่องสวยงาม เห็นเล็บ เห็นขน เห็นหนังคนโน้นสวยคนนี้สวย ใจมันก็เลยไม่สงบ พอมาดูตัวเรา เราก็หลงว่ามันเป็นอย่างนี้ เรียกว่าไม่ได้ดูตัวเอง หรือดูแต่ไม่ได้พิจารณาให้แจ้งชัด จิตมันก็เลยฟุ้งซ่านไม่สงบ

    เรียนรู้กรรมฐาน ก็คือ เรียนรู้เรื่องของตัวเองตามความเป็นจริงแล้ว ก็ไปรู้เรื่องธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม แยกกายแยกใจตัวเอง การที่เราเรียนรู้แยกกายแยกใจ ทำให้จิตของเราสบายไม่ข้อง ไม่ไปวิตกกังวล จึงว่าเราต้องมาคิดถึงเรื่อง ความเกิด แก่เจ็บ ตาย ถ้าเราไม่คิดถึงเรื่องความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เลยเราก็คงไม่เป็นสุขพอเราคิดแล้วเรื่องราวต่างๆ มันก็ปล่อยวางได้ ดีใจเสียใจเราก็ปลงได้ เรื่องของการปฏิบัติมันก็ไม่มีอะไรมาก นอกจากเรื่องพิจารณาตัวเอง ถ้าเรามาดูเรื่องอย่างนี้มันก็ไม่ยากอะไร ก็ไม่ใช่ของลำบากอะไร แล้วพอมาเห็นเรื่องของตัวเรา เราก็สงบมีความรู้มีปัญญาเกิดขึ้น ควบคุมใจตัวเองได้ก็เป็นของดีที่สุด


    “สมาธิ” ทำให้คนฉลาด ทำให้คนรู้จักใจตัวเอง สมาธินี่เป็นการทำเบรค คนเราโดยมากใจไม่มีเบรค เพราะไม่มีสมาธิ ไม่มีสติ ไม่มีการควบคุมใจของตนเอง ก็กลายเป็นคนใจไม่ดี คอยมีเรื่องอยู่ทุกวัน เพราะขาดสติทุกวัน แต่ถ้าเราทำใจดีๆ แล้ว ก็ไม่มีเรื่องอะไรกับใคร มีแต่เรื่องดีให้เขาทั้งวัน พูดเมื่อไหร่ก็สบายใจเมื่อนั้น นั่นแหละเพราะใจดี


    ถ้ามนุษย์ดิ้นรนเกินความจริงเป็นทุกข์ไหม ที่เราดิ้นรนทุกวันนี้มันเกินความจริงโยม เกินฐานะของมนุษย์ มนุษย์จึงเดือดร้อนเหมือนกับคนมีบ้านหลังหนึ่งที่พออยู่ แต่มนุษย์บอกว่ามันเล็กเกินไปกลัวจะอายเขา เพราะบ้านเล็ก บริษัทเล็กไปต้องให้ใหญ่กว่านี้ นี่เกินความจริงแล้ว ! แล้วก็ดิ้นรนไปกู้หนี้ยืมสิน โทรทัศน์เท่านี้บอกว่า จอมันเล็กไป เดี๋ยวเพื่อนมาเยี่ยมแล้วอายเขา ต้องให้มันจอใหญ่ๆ หน่อย เครื่องเสียงขนาดนี้เล็กไปมันไม่กระฮึ่ม ต้องเอาให้มันใหญ่ๆ เสื้อผ้าอย่างนี้ไม่พอ ต้องแต่งให้มากกว่านี้

    ความจริงแล้วมนุษย์แค่ พึ่งพาอาศัยตนเองนิดหน่อยๆ พอแล้ว แต่ทุกวันนี้เราอยู่ด้วยความหลอกกัน ต้องเอาอะไรมาปกปิดตกแต่งให้ทุกคนยอมรับเรา และมนุษย์ที่ยอมรับเราก็มนุษย์ที่หลงตัวทั้งนั้นเลย ที่ไม่รู้จักความจริงทั้งนั้นเลย ก็มายกย่องเราว่าถูกต้อง

    คุณอยู่ อย่างนี้ดีแล้ว คุณรวย คุณเก่ง แล้วเราก็ได้รับการยกย่องจากคนที่ไม่รู้ความจริงของมนุษย์ สังคมจึงถูกหลอกอยู่อย่างนี้กันทุกวัน เราก็ต้องดิ้นรนตามเขาใช่ไหม ? จึงเหนื่อยเหน็ด แต่ถ้าเราอยู่ด้วยความจริงแล้ว เมืองไทยเราจะอยู่อย่างสมถะ อยู่ได้อย่างไม่จนเลย

    เหมือนอย่างที่ในหลวงท่านสอน เราเคยอยู่กันมาได้ เรามีอะไรก็แลกเปลี่ยนกันกิน มีน้อยก็ใช้น้อย มีมากก็ใช้มาก อยู่อย่างสมถะ อยู่อย่างนี้เราก็อยู่กันได้นี่ อยู่มาตั้งหลายร้อยปีแล้ว แต่ทำไมทุกวันนี้อยู่ไม่ได้ แสดงว่าเราไม่ได้อยู่ด้วยพื้นฐานความจริง ฉะนั้นขอให้เราอยู่ด้วยความจริงแล้วเราจะสบายใจ


    เราทำบุญ เราก็ต้องเข้าใจว่าทำแล้วคือสำเร็จ ทำแล้ว คือได้ผล ทำแล้วมีพยาน ทำแล้วมีหลักฐาน ทำแล้ว พิสูจน์ได้ เราทำเองเราก็เห็น เราจะเห็นเองว่า ทุกข์แค่ไหน เสียใจแค่ไหน ดีใจแค่ไหน โกรธแค่ไหน โลภแค่ไหน รักชังแค่ไหนไม่มีใครจะรู้ใจเรา เราจะต้องรู้จิตของเราเอง

    พระ พุทธเจ้าจึงสอนให้มีตัวรู้ คือนาม ธรรม ให้มีตัวรู้คือสติ ให้มีตัวรู้คือสมาธิ ให้มีตัวรู้คือ ปัญญาให้ไปไตร่ตรองพิจารณาทุกข์สุขที่ใจของเรา เราจะได้เห็นตัวเราจะได้เข้าใจถ่องแท้ของแก่นธรรม ในตัวเรา รู้เรื่อง จิต เจตสิก รูป นิพพาน รู้ความเกิด ความดับของจิตว่าไม่มีอะไรทุกข์เกินจิต ไม่มีอะไรสุข เกินจิต เมื่อเรารู้จักจิตใจของเราแล้ว เราก็จะเข้าใจตัวเราเอง

    พระโสดาบันจึงไม่สงสัยในศาสนาทุกศาสนา ไม่สงสัย ในบุญบาป ไม่สงสัยในกรรมเวร ไม่สงสัยในกรรมดี กรรมชั่วของตัวเองและของคนอื่น มีความมั่นใจในการสร้างแต่ความดี มั่นคงในการให้ทาน มั่นคงในการรักษาศีล มั่นคงในการเจริญภาวนา ไม่ขี้เกียจขี้คร้าน ไม่ท้อถอยไม่ตัดพ้อต่อว่าใครดีใครชั่วใครจะมาทำร้าย ร้าย ใครจะมานินทา ใครจะมาสรรเสริญ ใครจะมากลั่นแกล้ง ใครจะทำอย่างไรก็ไม่หวั่น เพราะเชื่อในการทำความดีของตนเอง มีความมั่นใจเหมือนเพชร ย่อมแข็งแกร่ง ย่อมเป็นหนึ่ง


    เรามาแก้ใจตัวเองเถอะ พยายามหาศีลหาธรรมให้มากขึ้น ศีลธรรมจะทำให้ใจเราดี ให้ทานจนไม่มีความตระหนี่ รักษาศีลจนไม่กลัวแก่ ไม่กลัวเจ็บ ไม่กลัวตาย ทำสมาธิจนมั่นใจ ไม่ทิ้งศีลธรรม มีปัญญารอบรู้ ในกองสังขาร คือ รูป เวทนา สังขาร วิญญาณ แตกสลายอยู่ทุกเวลา ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เราไม่ทุกข์กับมัน พอรู้ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์เท่านั้นแหละ คนคนนั้นฉลาดเลย ปลงตก ปล่อยวางเป็น อยู่ที่ไหนก็สบาย ขันธ์ ๕ มีทุกข์ทั้งนั้น เดี๋ยวคนนั้นป่วย เดี๋ยวคนนั้นเจ็บ เดี๋ยวคนนั้นเกิด เดี๋ยวคนนี้ตาย เดี๋ยวคนนั้นมีเรื่องอย่างนี้ คนนี้มีเรื่องอย่างนั้น

    โอ ! ขันธ์ ๕ นี่ทุกข์วุ่นวายจริงๆ แบกทุกข์อยู่นั่นเอง มันแก่ มันเจ็บ มันตาย มันพลัดพรากก็เพราะขันธ์ ๕ นี่เอง จึงต้องเสียใจ ต้องร้องไห้ ต้องโลภ ต้องโกรธ ต้องหลง ก็เลยรู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันมีทุกข์เพราะมีขันธ์ ๕ ก็ปล่อยวางเป็น ก็สบายเพราะมีปัญญา ใครจะทำอะไรก็ไม่ไปด่ากับใคร ไม่ไปทะเลาะกับใคร ปลงใจได้อุเบกขาได้ วางเฉยได้ ก็เป็นคนใจเย็น


    คน เราที่ทะเลาะกัน ก็คือ แย่งความเป็นใหญ่ หรือแย่งความคิดที่ว่าตัวเองเป็นเจ้าของ ตัวเองเป็นนาย ตัวเองสำคัญ คิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่กว่าเขา แต่แท้ที่จริงแล้วคนเรามีธาตุธรรมเสมอกัน ไม่มีใครจะเกินเลยกันได้ มนุษย์เรานี้มีกินเท่ากัน นอนเท่ากัน ใช้ชีวิตไม่ต่างกัน บุญกุศลก็สามารถทำได้เท่ากัน ไม่มีใครจะวิเศษกว่ากัน


    ทุกวันนี้เราก็ทุกข์มากอยู่แล้ว เดือดร้อนพอกันแล้ว อย่าไปหาสิ่งอื่นมาใส่ใจอีกเลย ต้องพยายามนะ พยายามทำให้เกิดปัญญา ให้เห็นค่าสมมุติว่าของอาศัยอยู่ชั่วครู่ชั่วยาม ทำใจให้หลุดพ้น ทำใจให้ไปนิพพาน คือทำใจให้ดีนั่นเอง ทำใจไม่ให้เป็นคนพาล ทำใจไม่ให้เป็นคนโกรธ ไม่เกลียด ไม่อิจฉาริษยาใคร ไม่ปองร้ายใคร ไม่มองใครในแง่ร้าย...สาธุ ! สาธุ ! อยู่เรื่อยๆ ดีๆๆ อยู่เรื่อย

    เห็น ใครทำดีเราก็ว่าดี เห็นใครทำไม่ดี เราก็เฉย เราทำดีแล้วดีเข้าตัวเราหมด ก็จะมีความสุข ไม่ใช่ว่าเห็นอะไรก็ไม่ดีฟังก็ไม่ดี มันก็เข้าตัวเองหมด ร้อนเข้าตัวเองหมด

    เห็นคนนั้นก็ไม่ดีเห็นคนนั้นก็ไม่ดีเห็นคนนี้ก็ ไม่ดี ได้ยินได้ฟังก็เอาแต่เรื่องไม่ดีอย่างเดียว คนที่ได้ยินก็ร้อนใจ เราต้องเอาแต่สิ่งที่ดีใครทำอะไรก็กรรมของเขา เราทำกรรมดีก็กรรมของเรา

    พอเราทำจิตใจได้ก็จะไม่มีทุกข์ เราต้องหาที่พึ่งให้ถูกต้อง อย่าไปหาที่พึ่งที่ผิดๆ

    นั่ง สมาธิก็ต้องการดับ ดับอะไร ? ดับความวุ่นวายใจ ดับความคิดมาก ดับความร้อนใจมาก ดับความมีปัญหามาก คนพูดมาก คนคิดมาก คนวุ่ยวายมาก มีตัวตนมาก คือ ตัวเรา เราคือตัววุ่นวาย

    ต้องพยายามแก้ตัวเรา ไม่ให้วุ่นวาย คราวนี้บ้านช่องเรือนชานก็อยู่เป็นสุข กินก็สบาย นอนก็สบาย ตั้งแต่หยุดโกรธได้ ไม่มองใครในแง่ร้ายนี่สบาย ใครจะลำบากใจเราก็ไม่ลำบากใจ มันอยู่ที่ใจเราไม่เดือดร้อนนี่เอง


    คนเราเมื่ออายุมากๆ เป็นบ้าหอบฟาง ตัวไม่หอบแต่ใจมันหอบ ไปทีไรก็แบกไปหมด อะไรต่อมิอะไรเก็บมาคิดมานึกหมด สะสมอยู่คนเดียวนั่นแหละ ใครไม่ทุกข์เราก็เก็บมาทุกข์คนเดียว บ้าหอบฟางมันไม่มีอะไร มีแต่ฟางที่หอบไป มันหลงนึกว่าเป็นสมบัติล้ำค่า แต่ที่แท้ก็แค่ฟางเท่านั้นเอง ไม่มีทำอย่างไรได้ ?...อะไรๆ ก็ของเรา ก็ต้องแก้ที่ใจซิ ! มันมีก็ทำใจเหมือนไม่มี ปล่อยวางให้เป็น มันก็เลยเย็นลง


    ทุกข์เพราะอะไร...นอกจากไม่ทันอารมณ์ หลงปล่อยใจคิดมากจนดับไม่ได้ คิดอะไรดีหรือไม่ดีก็ปล่อยไปตามอารมณ์จนจบ พอจบก็เป็นทุกข์ คิดดีก็เฉย คิดไม่ดีก็เฉย ไม่ไปตามทั้งคิดดีและไม่ดี

    หาก ทำใจเฉยไม่ได้ เมื่ออะไรเข้ามาทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ พอยึดแล้ว หลงทำตามก็เป็นทุกข์ทั้งหมด เพราะมันไปคิดว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา แต่ถ้าคิดแล้วมันเฉย กระทบแล้วมันปล่อย มันก็เบากายเบาใจ เพราะใจเสียไม่มี มีแต่ใจเฉย ใจเฉยน่ะใจดี


    เพียงความคิดนึก...คิดถึงคนนั้นก็ “พุทโธ” คิดถึงคนนี้ก็ “พุทโธ” มันรู้เห็นเข้าๆ มีเกิดดับอย่างเดียว มันไปไหนไม่รอด เพราะสติ สมาธิมันมีมาก ปัญญามันก็รู้ทันหมด รู้ตามความเป็นจริงว่าไม่มีอะไร

    หลัก ปฏิบัติก็คือ ตามเฝ้าดู เฝ้าพิจารณากายกับใจ นามกับรูป รูปกับนาม ยกจิตขึ้นสู่พระไตรลักษณะญาณ เห็นความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปอยู่ทุกขณะจิต ไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา มันเป็นเพียงแค่ความคิดนึกเท่านั้น แต่ถ้าเราทำตาม...มันเป็นตัวตนใหญ่เลย มันแค่นึกแล้วก็หาย ไม่มีตัวตน คิดว่าจะไปเอาโน่นเอานี่ เราไม่ไปตามมันก็ดับ แต่ถ้าเราหลงไปตาม มันเอาเรื่องใหญ่ๆเข้ามาเลยนะ


    มันวุ่นวายจริงๆ ได้เห็นได้ยินอะไร เป็นตัวเป็นตนเป็นเขาเป็นเราไปหมด ไม่ยอมแพ้ จะเอาชนะอย่างเดียว แต่พอมาปฏิบัติ มารู้จักหลักปฏิบัติของใจ อะไรก็มองเป็นธรรมดาไปหมด เกิดปล่อย เกิดละ เกิดวาง ไม่ค่อยชิงชังเคียดแค้น ไม่คิดที่จะเอาชนะเอาแพ้กับใคร ธรรมะมันค่อยๆ ปลดเปลื้องไปโดยไม่รู้ตัว จากนิสัยไม่ดีเลยกลายเป็นคนดี ใจที่ไม่เคยปลดเคยวาง ก็ปลดวางได้ เราจะเห็นบุญในชาตินี้...ใจก็ดีกว่าเดิม มันสงบ มันรู้เท่าทันอารมณ์มากกว่าเดิม


    นั่งสมาธิไม่เป็นก็หัดนั่ง ลองมาดูใจตัวเองว่า วันหนึ่งๆมันเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่ฝึกไม่ซ้อมจะไม่รู้เลย ว่าความสงบเป็นอย่างไร พอทำสมาธิเกิดขึ้น จะเห็นว่าสิ่งนี้เป็นของประเสริฐดีกว่าสิ่งอื่น ถึงแม้จะมีเงินทองก็ไม่ได้ให้ความสุขแก่ใจเรา แต่่ความสงบนี่ ให้ความสุขแก่ใจเราทุกเวลา


    คนเราถ้าไม่มาปฏิบัติธรรม...มันมีปัญหาทุกคน เพราะใจมันคอยคิดในแง่ไม่ดีอยู่เรื่อย แง่ดีมันก็ไม่คิด ใครพูดไม่ดี มันเอาเชียวล่ะ ! ตอกกลับไปทันที อย่างน้อย...ขโมยโกรธเขาก่อนก็ยังดี ไม่แสดงความโกรธออกมา ขโมยโกรธก็เอา โกรธเขาข้างหลัง ถ้าทำใจได้ มันก็แยกความรู้สึกของตนเองให้อยู่ในฐานะของคนรักสงบ ชอบอยู่อย่างสบายใจ ไม่หาปัญหาให้ตัวเอง และไม่สร้างปัญหาให้กับคนอื่น ทุกคนก็อยู่ในฐานะที่เหมาะสมกับตัวเอง คือ ต้องการความสงบ ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน


    สังคมสิ่งแวดล้อมในทุกวันนี้ทำให้คนฟุ้งซ่านมาก จะแก้ความฟุ้งซ่านด้วยการไปเห็น ไปดู ไปกิน ไปเต้น ไปรำ ไปเที่ยว มันแก้ไม่ได้หรอก กลับยิ่งทำให้วุ่นวายใหญ่ ยิ่งคิดมาก หัวใจยิ่งอ่อนแอมาก

    เรา ต้องเลิกคิด แล้วหาที่พึ่งที่เกาะทางใจ ด้วยการมาภาวนา พอมาปฏิบัติเราจะเห็นทางแก้หัวใจอยู่ตรงนี้เอง จุดเดียวเท่านั้นเองเหมือนไฟหลายดวงมีสวิตซ์อันเดียว พอกดสวิตซ์อันเดียวดับมืดหรือสว่างหมด

    ใจเราก็เช่นกัน ถ้าไม่สงบ...ใจมันก็มืด ปัญหาต่างๆ ก็ตามมากลุ้มรุมหัวใจ ไม่รู้ว่าเรื่องอะไรมันว้าวุ่นไปหมด จับต้นชนปลายไม่ถูก แต่ถ้าใจเราสงบก็สว่าง ปัญหาร้อยแปดก็ดับหมด


    เกิดที่ไหนให้ดับที่นั้น...เรื่องอะไรที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นกับเรา ก็ให้มันดับตรงนั้น ไม่ใช่อะไรเกิดขึ้นแล้วเราพูดไปทั่ว นั่นมันไม่ดับตรงนั้น คนไหนทำไม่ดี เราก็ไปพูดกับทุกคนจนรู้หมด อย่างนี้ไม่ดี ถ้าเราเห็นอะไรไม่ดี ก็จบตรงนั้น ถ้าดีไม่เป็นไร คนไหนทำดีไปบอกคนโน้นคนนี้เราก็ดีใจ ถ้าหากเรื่องไม่ดี เราไปบอกคนโน้นคนนี้ เขาก็ไม่พอใจ

    ไม่ดีนั้นเป็นบาป ดีนั้นเป็นบุญ คนที่จะมีความสุขได้ คนนั้นต้องมีบุญ บุญคือความดีใจ ไม่โกรธ ไม่อิจฉาริษยาใคร ไม่ปองร้าย ไม่มองใครในแง่ร้าย มองว่าเราคือเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน เราก็ทำใจให้เมตตาสงสารทุกคน ถ้าทำใจดีได้ มันก็เป็นสุขที่ใจ

    หลวงพ่อสอนว่า “ตายแบบกรรมฐาน”

    ช่วง สิ้นปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ เดินทางไปที่พักสงฆ์เกาะปู่เทพ จังหวัดตาก เพื่อไปคารวะศพของท่านอาจารย์สัมพันธ์ อดีตพระอุปัฎฐากองค์สำคัญองค์หนึ่งของพระเดชพระคุณหลวงปู่สังวาลย์ เขมโก หลวงพ่อท่านเคยกล่าวไว้นานแล้วว่า ท่านสัมพันธ์เป็นคนกตัญญู

    สภาพศพ เป็นรอยฟกช้ำดำเขียว พระคุณเจ้าท่านเล่าว่า ก่อนจะมรณภาพอาจารย์สัมพันธ์ได้เข้าห้องกรรมฐาน และปิดห้องห้ามใครเข้าไปรบกวนโดยเด็ดขาด จึงไม่มีใครกล้าเข้าไปดู เวลาผ่านไป ๖-๗ วัน จึงเปิดประตูเข้าไปพบว่า ท่านมรณภาพแล้ว ท่านรู้วาระมาก่อนว่าจะสิ้นแล้ว

    หลวงพ่อได้สนทนากับคณะสงฆ์ที่วัดโดยเล่าว่า “ตอน ไปอยู่ถ้ำแกลบ มีหลวงปู่สังวาลย์, หลวงปู่สงฆ์, หลวงปู่มาลัย มีนักกรรมฐานมากมายพวกหนึ่งเขาเรียกว่า เซียน พอรู้ว่าจะตาย เขาก็ก่อเจดีย์เอาไว้ก่อน เมื่อเวลาจะตายก็เข้าไปนั่งสมาธิข้างใน ครั้นตายแล้วก็ให้คนปิดปากทางเข้าเลย ท่านสัมพันธ์ท่านก็สิ้นแบบนักกรรมฐาน เป็นตัวอย่างให้แก่ลูกศิษย์ลูกหา”

    “จะมีสักกี่คนที่ตายแบบนักกรรมฐาน...”


    : ปัญญาทำให้รู้จักตัวเองขึ้นมาได้มาก คนเราต้องทุกข์อีกเยอะ ทุกข์กับความเกิด ทุกข์กับความแก่ ทุกข์กับความเจ็บอีก แล้วยังต้องไปทุกข์กับความตายอีก เขาตายก็ดี เราตายก็ดี

    ถ้าทำใจไม่ ได้ก็ต้องเป็นทุกข์ทุกคน การเกิด การแก่ การเจ็บ การตายจึงเป็นทุกข์อย่างมาก ใครก็หลีกเลี่ยงธรรมอันนี้ไม่พ้น ถ้าไม่ตายตอนหนุ่มตอนสาวก็ต้องตายตอนแก่ ก็ต้องทุกข์เหมือนกัน เพราะเราหนีไม่พ้น ต้องผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยว เรี่ยวแรงไม่มี เดินก็เหนื่อย นั่งก็เหนื่อย นอนก็เหนื่อย เดินก็เจ็บ นั่งก็เจ็บ นอนก็เจ็บ ทุกข์กับความแก่นี่ไม่ใช่ทุกข์วันเดียว ทุกข์เป็นปีๆ ทุกข์หลายๆ ปี

    บาง คนมีโรคประจำกาย ตายก็ไม่ตาย ทรมานต่อสังขารร่างกาย ทรมานจิตใจตลอดวันตลอดคืน ไม่มีใครเห็นทุกข์แบบนี้ เพราะคนเรามันหลง ไม่ยอมรับความจริง ถ้าเราไม่ยอมรับความจริงว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ ขันธ์ ๕ จะต้องมีทุกข์อย่างนี้ เราก็จะสบายใจสามารถปลงได้


    สมบัติในโลกนี้ ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้ เงินสักบาทหนึ่งสักสลึงหนึ่งก็เอาไปไม่ได้ เอาใส่ปากก็ยังเอาไปไม่ได้ เว้นแต่บุญกุศลเพียงข้าวทัพพีหนึ่ง หรือสมาธิชั่วครู่หนึ่ง กลับมีอานิสงส์ไปยังชาติหน้าได้


    คนเรามันโง่ก็ไปคิดผิดๆ เขาไม่รักเรายิ่งทุกข์ใหญ่ เขาไม่รักเราสิสบายใจ เราไม่ต้องไปปรนนิบัติเอาอกเอาใจเขาแล้ว เราช่วยตัวเองดีกว่า เข้าหาธรรมะมาบวชมาเรียนมาปฏิบัติเสียดีกว่า ตายแล้วยังได้ไปสวรรค์บ้าง อ้ายนั่นตายแล้วก็ไปนรก เพราะรักเขาไม่มีปัญญา ตัวเขากลับไปนั่งยิ้มคนเดียว ส่วนเราก็เป็นทาสของความรักไป ช่วยอะไรตัวเองไม่ได้เลย เขาเรียกว่าเป็นทุกข์เพราะความรัก


    ถ้าคนเราเข้านิพพานเสียได้ก็หมายถึงสุข แต่เพราะความวุ่นวายที่ทุกคนมีอยู่ยังดับไม่ลง เดี๋ยวเรื่องนั้นเข้ามาแทรกเดี๋ยวเรื่องนี้เข้ามาซ้อน เรื่องลูกเรื่องหลาน เรื่องบ้าน เรื่องเรียน เรื่องรักเรื่องใคร่ เรื่องโลภโกรธหลง มีอยู่ในหัวใจทุกคน คนก็พยายามจะแสวงหาความอยากได้มากๆ แสวงหาความรักมากๆ ไปขอความรักเขา ให้เขารักมากๆ รักน้อยๆ ก็ไม่เอา ล้วนแต่จะเพิ่มให้มันมากขึ้น ที่จริงมันเพิ่มทุกข์ทั้งนั้น


    โดยมากคนเรามักมีอคิต คนนี้พวกเราก็เข้าข้าง ทำดีเราก็สรรเสริญ แม้ทำไม่ดีเราก็ยังกลับยกย่อง คนไหนที่ไม่ใช่พวกเราทำดีอย่างไรเราก็อิจฉา ไม่ชอบไม่พอใจ เพราะไม่ใช่พวกเรา ยิ่งถ้าทำไม่ดีแล้วเราก็ไม่ยอมให้อภัย นั่นมันไม่ดีสำหรับใจเรา ไม่ใช่ดีชั่วอยู่ที่ตัวเขา แต่ดีชั่วมันอยู่ที่ใจเราเสียแล้ว เพราะเราคิดไม่ดีกับคนอื่น


    “แม่สอนว่า”...พระเดชพระคุณหลวงพ่อสนอง กตฺปุญโญ ท่านจะเน้นการเทศน์และสั่งสอนเรื่องของความกตัญญูอยู่เสมอ ซึ่งท่านมักจะพูดอยู่บ่อยครั้งว่า “ไม่มีใครรักเราเท่ากับแม่อีกแล้ว”

    ครั้ง หนึ่งที่ห้องรับรอง สถานีโทรทัศน์พุทธภูมิ หลวงพ่อสนองท่านได้เล่าให้โยมฟังเกี่ยวกับเรื่องสมัยก่อนที่ท่านจะบวชเป็น พระว่า ท่านเป็นคนไม่ค่อยชอบอยู่บ้าน มีเพื่อนมากและชอบเที่ยวไปเรื่อยๆ ซึ่งแม่ของท่านก็จะเป็นห่วงมาก ด้วยความที่แม่ของหลวงพ่อท่านไม่อยากให้ลูกชายมีครอบครัว แม่ของหลวงพ่อจะสอนในทำนองโน้มน้าวให้ลูกชายทุกคนบวชอยู่เสมอๆ ว่า “ไม่มีผู้หญิงคนไหนที่เขาจริงใจกับเราหรอก...”

    และ ก็สอนต่างๆ นานา เพื่อให้ลูกชายของท่านละทางโลก จนในที่สุดหลวงพ่อสนองก็ได้มาบวช แล้วมาเข้าห้องกรรมฐานที่ป่าช้าวัดหนองไผ่ จ.สุพรรณบุรี โยมแม่ก็ตามมาส่งอาหารทุกวัน ไปอยู่วัดเขาถ้ำหมี จ.สุพรรณบุรี โยมแม่ก็ตามไปอยู่ด้วย ไปอยู่ถ้ำกะเปาะ จ.ชุมพร แสนที่จะลำบาก โยมแม่ก็ตามไป จนสุดท้ายโยมแม่หรือแม่ชีแม้นก็มาตามมาอยู่และดับสังขารที่วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี นั่นเอง

    หลวงพ่อพูดในตอนท้ายว่า “ความรักของแม่ที่มีให้กับท่านนั้น เป็นความรักที่มากมาย และบริสุทธิ์เกินที่จะเปรียบได้” ซึ่งถ้าใครได้ฟังหลวงพ่อเล่าเรื่องโยมแม่ที่รักลูกนั้นคงจะยาวนานมาก เพราะตัวหลวงพ่อเองนั้น “ท่านก็ไม่เคยลืมพระคุณที่โยมแม่มีให้กับท่านมาตลอดตราบชั่วชีวิตนี้ และตลอดไป”


    : คนที่กายดี ตาดี หูดี แต่พิการทางใจฟังธรรมะไม่รู้เรื่อง ไม่อยากเข้าวัด กลับไปเข้าแหล่งมั่วสุมแหล่งการพนัน หูก็ฟังแต่เรื่องไม่ดี ใครทำกูกูพยาบาท ใครทำกูกูพยายามเอาชนะ ใจไม่เคยสบายมีแต่ตัวตน มีแต่เราเขา คิดแต่จะหากินให้สนุกสบาย ไม่เคยคิดปลงว่าเราจะต้องแก่ต้องตาย

    คน พวกนี้ใจพิการ ก็เหมือนพิการทั้งหมด ปิดหู ปิดตา ไม่รับแสงสว่าง คนที่ไม่สนใจธรรมะนั้นน่าสงสารทุกคน เวลามีทุกข์จิตใจ ก็จะวุ่นวาย ถึงเจ็บก็รักษายาก เพราะใจเจ็บใจป่วย คือเจ็บปวดทรมานเมื่อตนไม่สมหวัง จิตใจมีแต่ความรู้สึกว่าชีวิตนี้ทุกข์ทรมานปลงไม่ตก มีบ้านใหญ่โตก็อาศัยแค่หลับนอน มีเสื้อผ้าหรูก็แค่สวมใส่ธรรมดาพอตายแล้วก็ไม่เหลืออะไร ที่เอาไปได้ก็คือใจ

    เราควรแสวงหาชีวิตให้สุขสงบ ทำใจไม่เป็นทาส ถ้าเราอยู่ใต้มันมันก็จะทับเราจม แต่ถ้ามีปัญญาทำบุญทุกวันก็ทำใจได้ เพราะต้องเตรียมตัว เกิด แก่ เจ็บ ตาย พลัดพราก เกิดได้ก็ดับได้ ทำให้จิตใจมีที่พึ่งทางใจไว้

    พระ พุทธเจ้าตรัสว่า “การเกิดเป็นทุกข์” ทุกข์ของการเกิดนั้นเป็นทุกข์จริง แต่เราไม่รู้ เราไม่เห็น เพราะตอนที่เราเกิดเรายังไม่มีสติ ยังไม่มีปัญญาที่จะรู้ว่าเป็นทุกข์อย่างไร จึงไม่รู้ว่าทุกข์มันอยู่ที่ไหน ทุกคนเลยยังอยากเกิดอยู่ ถ้าเรามาเรียนรู้ธรรมะ ก็จะรู้ว่าทุกข์ที่เกิดนั้นเป็นทุกข์ของจิต ทุกข์ของจิตนี่มากกว่าอะไรทั้งหมด ทุกข์ที่เกิดจากความอยาก ทุกข์ที่ดับความอยากไม่ลง ความอยากที่ทำบ่อยๆ ทำจนเป็นนิสัยเป็นปัจจัย ทำจนเป็นทุกข์มากขึ้นทุกวันๆ ทำจนไม่สามารถจะละทุกข์นั้นได้


    คนเราถ้าไม่มีสมาธิ จิตมันจะหยาบจะคิดมาก มันจะไม่หยุดคิด พอเรามีสมาธิขึ้นมา ทีนี้จิตเราว่างได้สักครั้งหนึ่งจิตเราจะละเอียด คราวหลังจะทันอารมณ์ว่านี่โกรธและนั่นไม่โกรธ สงบไม่สงบก็จะค่อยๆ รู้ขึ้นมาทีละน้อย นั่นแหละการทำบุญมหาศาล


    : ความสวยงามต่างๆ บนโลกนี้ ล้วนเกิดขึ้นจากมุมมองของแต่ละบุคคลที่ได้เห็น ได้สัมผัส จนเกิดความนึกคิดปรุงแต่งเป็นความงดงามขึ้น แต่น่าเสียดาย...ที่เรามัวหลงเพลินอยู่กับความงามภายนอกเหล่านั้น จนลืมย้อนกลับมามองใจเรา การรู้ไม่เท่าทันจึงเกิดขึ้น ความทุกข์ก็ตามมา เพราะเราไม่อาจหยุดยั้งความนึกคิดของเราได้


    ธรรมะนี่แก้ตัวเองได้ทั้งหมด รู้ว่าเราเป็นคนใจไม่ซื่อ เราจะคบกับใครก็ไม่นาน จะรักใครก็ไม่จริง รักหลอกๆ ไม่จริงใจกับใคร เรารู้เลยว่าใจอย่างงี้ หาความสุขไม่ได้ หาเพื่อนตายไม่ได้ หาความสงบไม่ได้แน่นอน เพราะใจเราไม่ซื่อ อะไรทำให้ไม่ซื่อ ? เพราะความเห็นแก่ตัว คิดจะเอาเปรียบคนอื่น

    เมื่อรู้อย่างนั้นแล้ว เราก็พยายามฝึกใจเราให้เสียสละ ใครมีทุกข์เราก็ให้เขามีสุข เขาทุกข์ใจก็ปลอบใจ เขาดีใจแล้วก็ไม่ทำลายน้ำใจเขาให้เสียใจ เป็นผู้เสียสละทั้งกายวาจาใจ ต่อไปก็จะแก้นิสัยตัวเอง ให้กลายเป็นคนไม่เห็นแก่ตัว เป็นคนมีเมตตา เป็นที่รักของทุกคนเลย ถึงรูปของเราไม่งามแต่ใจเรางาม คนก็รักน้ำใจเรา


    ทำสมาธิยากที่สุดในชีวิต หาเงินเป็นร้อยเป็นล้านพันล้านก็หาได้ คนโง่ๆ ก็หาได้ แต่หาคนทำสมาธิสิยากมากเลย จะทำให้ไปสวรรค์ไปนิพพานนั้นยากที่สุดในโลก มีลาภมียศสิมีง่าย แต่ทำสมาธิสิยาก...แค่มาตามความคิดตัวเองให้ทัน แค่โกรธแล้วเราจะทำให้หายโกรธยังทำยากเลย ความคิดเราน่ะลึกซึ้ง เรามองตัวเองไม่ออก แล้วเราจะไปมองใจใครออก


    : การที่เธอตั้งมั่น เธอตั้งในความเพียร สละบาปอกุศลทั้งปวง ไม่ติดค้างในใจ บริสุทธิ์ผ่องใสเธอจะเข้าใจถึงสวรรค์และนิพพาน โลกทุกวันนี้มันไม่มีแก่นสารอะไรเลย มีแต่ความไม่แน่นอน ดังนั้น ไม่มีใครทำตามใจคิดได้เลยทุกอย่าง ไม่สามารถเนรมิตให้ได้ดังใจหวัง


    ความเมตตาที่ให้แต่ธรรมที่อภัยตนเองเท่าไร ก็เมตตาคนอื่นเท่านั้น รักตนเองเท่าไรก็รักคนอื่นเท่านั้น สงสารตนเองเท่าไรก็สงสารคนอื่นเท่านั้น กรุณาคิดจะช่วยตนเองให้พ้นจากความลำบากเท่าใด ก็คิดจะช่วยคนอื่นให้พ้นจากความลำบากเท่านั้น มุฑิตาพลอยดีใจกับความสำเร็จของตนเองเท่าไร ก็พลอยดีใจกับความสำเร็จของผู้อื่นเท่านั้น อุเบกขาทำใจวางเฉยต่อดีชั่วของตนเองเท่าไหร่ ก็วางใจตัวเรื่องดีชั่วของคนอื่น ไม่แสดงความดีใจและเสียใจต่อเรื่องตนเองอย่างไรก็แสดงกับคนอื่นเช่นนั้น


    ดีก็ที่ปาก ชั่วก็ที่ปาก จนก็ที่ปาก รวยก็ที่ปาก ก็ต้องหัดพูดดี ดี ก็ไม่ใช่ดีเฉพาะเวลาเราพูดนะ มันต้องดีตลอดทุกเวลา


    เราจำเป็นต้องเรียนเรื่องจิต เพราะว่าทุกข์เกิดที่จิต สุขก็เกิดที่จิต ถ้าเราอยากจะได้ความสุข เราจะไปหาตรงไหน ? ความสุขไม่ได้อยู่ที่กินอิ่ม นอนหลับ ได้ลาภ ได้ยศ แต่ถ้าเรียนเรื่องจิต จนจิตของเรานั้นสงบแล้ว วางแล้ว เฉยแล้ว ตามรู้ทันแล้ว จิตนั้นเป็นดวงเดียวได้ เมื่อไร จิตว่างได้เมื่อไร เมื่อนั้นเราก็พบแก่นธรรม เราก็พบความสุขที่ใจเรา เราไม่ต้องวิ่งไปหาอะไรอีกแล้ว


    ที่เรามีทุกข์ทุกวันนี้ เพราะเราไม่เดินตามพระพุทธเจ้า นี่ถ้าเดินตามทางพระพุทธเจ้า ไม่มีใครบ่นเลยว่าทุกข์ จะไม่มีใครท้อถอยต่อชีวิตเลย จะไม่มีใครอ่อนแอเลย จะไม่มีใครโทษเลยว่าโลกนี้ทำให้เราเป็นทุกข์ จะไม่โทษพ่อ โทษแม่ โทษผัว โทษเมีย โทษสังคม เราจะรู้เลยว่า จะสุขจะทุกข์ เพราะใจเรา เพราะกรรมของเราที่เราทำ ทุกสิ่งทุกอย่างจะอยู่ที่เราคนเดียว พวกเราเป็นชาวพุทธต้องเข้าใจเรื่องนี้ ดังนั้น ถ้ามนุษย์อยากให้โลกนี้มีความเจริญ ก็ต้องสร้างกรรมดีขึ้นมา ทำกายวาจาใจตัวเองให้สงบก่อน แล้วความเจริญก็จะเกิดขึ้นกับสังคมของเรา อย่าปล่อยเวลาให้ล่วงเลยหนีเราไปเลยนะ


    การเรียนสติปัฏฐาน ๔ ที่พระพุทธเจ้าสอนและที่พระพุทธเจ้าทำ ก็คือ เรียนเรื่องจิต เรื่องวิญญาณที่จุติที่เกิดเป็นดีเป็นชั่ว เป็นบุญเป็นบาป รู้ว่าวิญญาณมี ๖ ทาง ๖ ช่อง เป็นตัวกลไกที่ทำคนให้หลง เช่น ตาเห็นรูป ตามีอย่างเดียวมันไม่รู้จักอะไรหรอก พอตาเห็นรูปปุ๊ป เห็นนี่เป็นวิญญาณ มันก็ส่งรูปนั้นเข้าไปถึงจักขุวิญญาณผ่านทางสมอง สมองก็เป็นเครื่องกลไกพอผ่านทางสมอง ภาพนั้นก็เข้าไปถึงจิตและก็เข้าไปปรุงแต่งว่า สีเขียว สีขาว สีแดง สวย ไม่สวย จิตสังขารตัวนั้นก็มีเจตสิกอีกหลายดวง

    ถ้าตัวโลภมันก็ปรุง ตัวโกรธ ตัวหลง ตัวรักชัง มันก็ปรุงอันนั้นไม่ใช่ตาปรุงแต่งนะ วิญญาณเป็นตัวสื่อส่งไปสู่กระแสจิต จิตเจตสิกเป็นตัวปรุงว่าดี-ไม่ดี ชอบ-ไม่ชอบ รัก-ชัง แต่ที่จริงอยู่แค่ตานี่ไม่มีอะไร พระพุทธเจ้าพระอรหันต์อยู่แค่ตา เห็นสักแต่ว่าเห็น เมื่อหูได้ยินเสียง จมูกก็ได้กลิ่น ลิ้นรู้รส กายรู้สิ่งถูกต้องกาย ใจรู้เรื่องในใจ


    พระพุทธเจ้าท่านทรงเห็นทุกข์ ทำทุกรกิริยามากกว่าคนอื่น ท่านทำถึง ๖ ปี พอท่านเห็นทุกข์ ท่านบอกว่า ผู้ใดเห็นทุกข์ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นพ้นทุกข์ ธรรมนี้อยู่ที่ทุกข์

    แต่ทุกวันนี้ทุกคนกำลังวิ่ง หนีทุกข์ ทุกคนแสวงหาแต่ความสุข ที่จริงแล้วทุกคนต้องวิ่งกลับไปหาทุกข์คือต้องไปหาปัญญา ถ้าใครดูจิตตัวเองได้จนเห็นความโกรธ ความเกลียด ความรัก ความชัง ความอิจฉาริษยา เห็นตัวตน เห็นจิต ตัวนี้เป็นวิปัสสนาญาณ

    *******************************************
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2012
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ
    การพิจารณาตามหลักสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม

    พิจารณากายของเรามีอาการ ๓๒ กายนั่งก็เอาความรู้สึกมาไว้ที่กายนั่ง กายเดินก็เอาความรู้สึกมาไว้ที่ความเคลื่อนไหวก้าวไปก้าวมา กายนอนก็ พิจารณาอาการนอนของกาย กายทำอะไรเราก็พิจารณา กายกิน กายเดิน กายนั่ง กายนอน เอาจิตจับไว้กับกาย ความรู้สึกก็ตามอยู่กับกายตลอดเวลา หลับตาลืมตาโยกโคลง จิตก็อยู่กับกาย จิตก็มีสติ เมื่อมีสติติดต่อไปนานๆ ก็เป็นสมาธิขึ้นมาทันที

    ตรงที่เป็นสมาธินี่เราจึงรู้ว่า อานิสงส์ของการทำความรู้กับกายนี้ทำให้จิตของเราสงบ เมื่อเห็นกายมากๆ ขึ้นมาก็เห็นทุกข์ของกาย เห็นทุกข์ของใจ จิตก็เกิดขึ้น เวลาเราคิดอะไรเราก็ทันจิตตัวเอง เรียกว่า รู้จิตเห็นจิต

    จิตมีเวทนา สุขก็รู้ ทุกข์ก็รู้ รู้สุขรู้ทุกข์เขาเรียกว่า รู้เวทนา เวทนานี่มีทั้งภายในและภายนอก เวทนา ภายนอก ก็คือ เวทนาทางกาย เช่น กายเป็นสุขเป็นทุกข์ กายร้อนกายหิวกายกระหาย กายปวดเมื่อย ส่วนเวทนาภายใน คือ เวทนาทางใจ จิตเป็นสุขก็สุขเวทนา จิตเป็นทุกข์ก็ทุกขเวทนา จิตวางเฉยก็เป็นอุเบกขาเวทนา พระพุทธองค์ท่านให้พิจารณาหมดเลย ถ้าเราจะศึกษาให้เกิดปัญญาก็พิจารณาอย่างนี้ปฏิบัติจึงจะเกิดปัญญา เห็นเวทนาภายในบ้าง เห็นเวทนาภายนอกบ้าง เกิดแล้วก็ดับ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ได้สักอย่างเดียว เสียงก็ดี รูปก็ดี ความคิดนึกก็ดี ก็มีเรื่องเกิดๆ ดับๆ อยู่ในจิตของเรา

    เมื่อ พิจารณามากๆ ก็รู้จิตเห็นจิตมากขึ้น รู้ธรรมเห็นธรรมมากขึ้น จิตภายในคิดเรื่องปรุงแต่งคิดนึกต่างๆ เห็นจิตภายนอกก็ท่องเที่ยวไปในเรื่องราวต่างๆ เรียกว่า รู้ทันจิตตัวเอง คิดไปถึงไหนก็รู้ถึงนั่น ดับที่จิตเกิดที่จิตก็รู้จิตภายใน ก็เห็นธรรม ธรรมที่เสื่อมไปบ้าง ธรรมที่เจริญบ้าง เรียกว่าธรรมารมณ์ที่เกิดกระทบใจ ธรรมเทศนาที่เกิดขึ้นในใจก็เกิดขึ้น เห็นสุขเห็นทุกข์ เห็นบุญเห็นบาป เห็นความเปลี่ยนแปลงไม่แน่ไม่เที่ยง พิจารณาธรรมในจิตที่เกิดขึ้นได้รู้ได้เห็น

    ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ก็ทำให้เรารู้เรื่องมรรคองค์ ๘ รู้เรื่องคำสอนของพระพุทธเจ้าว่ามีจริง พุทธศาสนานี่พอปฏิบัติแล้วจะเห็น อ๋อ...นี่เรื่องจริง พระพุทธเจ้าได้ผ่านพบสิ่งนี้จริงจึงได้สอนไว้ ถึงเราจะไม่เจอองค์พระพุทธเจ้า แต่เราก็เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริง เพราะธรรมอันนี้ปฏิบัติแล้วก็พบธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ ทำแล้วก็เกิดเทศนาขึ้นในใจเรา ไม่ใช่นั่งไม่รู้อะไร นั่งแล้วกลับรู้ ยิ่งนั่งยิ่งรู้ ยิ่งนั่งยิ่งเห็น ยิ่งปฏิบัติยิ่งเพลิดเพลิน มีความสุขสงบ มันไม่ใช่เป็นคนเดิม พอเป็นอย่างนี้ก็เกิดความปีติพอใจที่ตนเองได้เข้ามาปฏิบัติ เห็นมรรคเห็นผลในใจเรา มีศรัทธาเชื่อมั่นแน่นอนไม่สงสัย การปฏิบัติธรรมก็ต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง จะไปให้ใครมาบอกเราว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ก็ไม่เหมือนเราเห็นเองรู้เอง


    วันนี้อารมณ์ดีก็รู้ว่าอารมณ์ดี วันนี้อารมณ์เสียก็รู้ว่าอารมณ์เสีย วันนี้สงบก็รู้ว่าวันนี้สงบ ขณะนี้ไม่สงบก็รู้ว่าไม่สงบ รู้ทั้งๆ ที่มันไม่สงบ ถ้ารู้ว่ามันไม่สงบนั่นแหละคือตัวสงบ คนที่สงบก็ไม่รู้ ไม่สงบก็ไม่รู้ นั่นเรียกว่ารู้ไม่ทัน

    การไม่รู้ทัน คือ การเสียท่ามัน เสียท่าใจดวงนี้เสียแล้วว่า “เผลอตัวไป” เผลอตัวไปโกรธซะแล้ว เผลอตัวไปไม่พอใจซะแล้ว ก็ต้องรู้ให้ทัน นี่แหละการสร้างสติตัวเอง


    ทุกข์ทำให้เกิดปัญญา เราก็เข้าไปรู้ทุกข์เห็นทุกข์พยายามละทุกข์อันนั้น เราเป็นคนคิดมากก็พยายามแก้ปัญหาเรื่องความคิด พอคิดมากมันน้อยลงปัญหาก็ไม่มี คนขี้โกรธเพราะปล่อยให้โกรธมาก ปล่อยให้โกรธบ่อยๆ เลยโกรธเต็มหัวใจแก้ปัญหาไม่ตก เมื่อรู้ว่าเราโกรธเก่งก็พยายามลดให้น้อยลง เจริญเมตตาให้มากขึ้น พอเมตตามากขึ้นๆ ความโกรธก็ลดน้อยลงกลายเป็นคนใจเย็น แก้ตรงทุกข์นั่นเอง พอเห็นทุกข์แล้วก็แก้ทุกข์ได้ เราต้องหมั่นขยันสวดมนต์ ภาวนาเข้าหาธรรมเพื่อเป็นกำไรชีวิต ตายไปแล้วเอาอะไรไปไม่ได้ นอกจากทาน ศีล ภาวนา เป็นสมบัติติดตัวเราไป แก้วแหวนเงินทอง บ้านช่องเรือนชานก็ให้คนอื่นเขาทำต่อไป ตัวเราก็เอาไปแค่กรรมดีเท่านั้น ส่วนกรรมไม่ดีต้องทิ้ง ถ้าเอาไปก็เป็นทุกข์อีก มาแต่ตัวไปแต่ตัว ไม่ได้อะไร เอาไปได้แค่กรรมเดียว


    บางคนเข้าใจผิดว่า “เอ...มีแต่ความคิดนึก ไม่ได้อะไรเลย นั่งๆ ไปก็มีแต่ความคิดนึก ไม่เห็นได้อะไร ไม่เห็น เห็นอะไร” แต่หารู้ไม่ว่านั่นแหละตัวพยาน ที่เรารู้เรื่องความคิดนึกนั่นแหละเอาจิตไปจดจ่อให้เห็นอยู่ตลอดเวลา เห็นว่าคิดไปไหน คิดถึงใคร คิดอะไรๆ ให้ตามติดเหมือนกับตำรวจตามผู้ร้าย เห็นตัวแล้วไม่ยอมทิ้งก็จับผู้ร้ายได้

    จิตของเราก็เช่นกัน เราก็ตามดูความคิดของเรา คิดอะไรก็ตามดูไปเถอะให้มันจบสิ้นให้ได้ ถ้าไม่ตามดูเราจะไม่รู้เรื่อง บุญบาป เรื่องนรก สวรรค์ นิพพาน ที่จิตได้

    บาง คนไม่รู้เลยเลิกเลย พอนั่งคิดโน่นคิดคิดนี่ “เลิกดีกว่านอนดีกว่าเมื่อยแล้ว ไม่เอา...” กลัวจิตตัวเองคิดไม่หยุด แต่หารู้ไม่ว่านั่นแหละธรรมะเกิดแล้ว การที่ตามดูจิตตัวเองได้ จะใช้ได้แล้ว แต่ว่าคนเราไปกลัวความคิดตัวเองเลยเลิก นึกว่าไม่สงบ นึกว่านั่งแล้วไม่ได้อะไร นั่นแหละได้แล้ว ถ้าคนไหนรู้ใจตัวเองนั่นแหละใช้ได้ ให้ตามดูใจตัวเองคิดนึกไปเรื่อยไปเลยทั้งวันทั้งคืน จะเว้นก็เวลาหลับ ตื่นขึ้นมาก็ตามดูจิต ภาวนาเรื่อยๆ ตามดูหนักเข้าๆ เราก็จะรู้ทันทีเลย คล้ายว่าตามจิตจน จนน่ะ พอจิตมันจนท่าแล้วมันจะหยุด จะทำให้เรารู้เรื่องต่างๆ ภายในจิตหมด ฉะนั้น การดูจิตนี้คือถูกต้อง ไม่ต้องไปสงสัย


    **************************************
    กราบ กราบ กราบ หลวงพ่อสนอง ด้วยความเคารพสูงสุดเจ้าค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2012
  3. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    รู้วันตาย..ทำไมต้องตาย

    จากหนังสือธรรมะทะลุโลกของท่านพ่อลี ธัมมธโร
    โดย พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร
    วัดป่าภูผาสูง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา

    คนทั้งหลายที่เกิด ขึ้นมาในโลก ส่วนมากล้วนตายไปกับความมืดบอด ตอนยังมีชีวิตก็หลงมัวเมาสนุกสนานเพลิดเพลินในการอยู่การกิน หัวเราะร้องไห้กันไป ตามแต่จะประสบสุขทุกข์ รักและชัง ปล่อยตัวปล่อยใจให้ชีวิตเดินไปตามยถากรรม โดยไม่สนใจที่จะคิดสร้างกรรมดีขึ้นด้วยจิตใจและเรี่ยวแรงตามกำลังสติปัญญา ที่มี ปล่อยให้วันคืนล่วงไปเหมือนสัตว์ตัวหนึ่ง ที่เขาเลี้ยงอย่างอ้วนพี แล้วก็นำไปสู่โรงฆ่า..ช่างน่าเวทนาเสียจริงๆ!

    แล้วก็สรุปเอาเองว่า "เป็นเพราะโชคชะตา เป็นเพราะพรหมลิขิต"

    ที่จริงเป็นเพราะการกระทำของตนนั้นเอง!

    โคที่ถูกเขานำไปสู่โรงฆ่าไม่ใช่เป็นเพราะความที่เกิดมาเป็นโค แต่เป็นเพราะจิตดวงนี้ไม่ได้สร้างคุณงามดีไว้ในชาติปางก่อน เมื่อความดีน้อย จึงมาเกิดเป็นโค เป็นหมู หรือเป็นสัตว์อื่นๆ ในภพภูมิอื่นๆ ที่ตกต่ำ ถ้าความดีมากก็เกิดเป็นมนุษย์ เทวดาพรหม ความดีมากสุดได้ถึงวิมุตติพระนิพพานเป็นพระอรหันต์ในชาติปัจจุบัน

    ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายจึงเวียนว่ายในห้วงน้ำคือการเทียวเกิดเทียวตายไม่มีที่สิ้นสุด

    ..เหมือนดวงอาทิตย์ ใครจะอ้อนวอนขอร้องให้คงอยู่กับที่ ย่อมเป็นไปไม่ได้

    ..เหมือนคนคร่ำครวญร้องไห้อ้อนวอนพระอาทิตย์ว่าอย่าอัสดงเลย..ผู้ร่ำไห้จักต้องมีน้ำตาเจิ่งนองเป็นสายเลือดและตายไปเปล่าๆ

    ..ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครหยุดยั้งการตายได้

    พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกเท่านั้นที่สามารถหยุดการเกิดตายได้

    ความตายสำหรับท่าน เป็นทางแห่งแสงสว่าง เพราะท่านตายอย่างสมประสงค์ ไปสู่แดนอันเกษมคือพระนิพพาน

    นอกจากนี้ท่านยังสามารถรู้วันเกิดตาย เนื่องในอดีตซาติของท่านเองและคนอื่น

    ความตายกับท่านเหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องยุ่งยากและซับซ้อนเลย

    แต่สำหรับปุถุชนคนหนาปัญญาหยาบแล้ว ชีวิตหลังความตายเป็นชีวิตที่ลี้ลับ ยากที่ใครๆ จะสามารถไขปริศนาในมุมมืดนี้ได้

    พอพูดถึงความตายต้องบอกให้หยุด! หยุด! อย่าได้พูดไม่อยากฟัง ฟังแล้วมันไม่สบายใจ ไม่เป็นมงคลเอาเสียเลย

    พระพุทธเจ้าตั้งแต่ วันที่พระองค์ตรัสรู้มา ก็ทรงทราบแล้วว่าจะปรินิพพานในวันไหน แต่พระองค์เลือกที่จะบอกก่อนตาย ๓ เดือนแก่พระอานนท์วา "อานนท์อีก ๓ เดือนเราตถาคตจักปรินิพพาน"

    แม้พระอรหันต์รูปอื่นๆ ท่านก็สามารถรู้วันตายล่วงหน้าได้เช่นกัน

    สมัยปัจจุบัน ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต ก็ได้บอกล่วงหน้าแก่หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ว่า "อายุ ๘๐ ปี จะนิพพาน"

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เขียนใส่สมุดบันทึกว่า "๗๘ ปี อายุจะต้องสิ้นสุด"

    หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก บอกวันตายล่วงหน้าได้ถึง ๒ ปี

    แม้ ท่านพระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร ก่อนจะรับนิมนต์แล้วประสบอุปัทวเหตุเครื่องบินตกมรณภาพที่ทุ่งรังสิต จังหวัดปทุมธานี นี้ก็ได้บอกเป็นนัยแก่สานุศิษย์ว่า "การเดินทางไปคราวนี้จะมิได้กลับมา"

    สำหรับ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร มีบทสนทนาเป็นเรื่องราวการบอกวันเวลาตายล่วงหน้าเป็นอย่างดี ผู้เขียนขอนำมาเล่าย่อๆ พอให้เข้าใจเลาๆ

    ...กลางคืนวันหนึ่ง หลังงานฉลองกึ่งพุทธกาลจบลง ณ กุฎีปุณณสถาน ที่วัดอโศการาม ท่านพ่อลียังร่างกายแข็งแรงกระปรี้กระเปร่า ท่านได้ปรารภกับ พระอาจารย์แดง ธมฺมรกฺขิโต ซึ่งเป็นพระลูกศิษย์ เรื่องอายุขัยคือการสิ้นสุดแห่งชีวิตว่า

    "ท่านแดง อายุ ๕๕ ปี ผมต้องตาย ชีวิตถึงคราวสิ้นสุดให้ท่านอยู่ช่วยดูแลหมู่คณะที่วัดอโศฯ เมื่อผมตายไปแล้ว ขอให้ท่านเป็นที่พึ่งพาอาศัยของหมู่เพื่อน" การกล่าวในครั้งนี้ ท่านกล่าวก่อนมรณภาพเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งมาถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ท่านพ่อลีได้ไปนอนป่วยอยู่โรงพยาบาลพระปิ่นเกล้า ธนบุรี ท่านเรียกพระอาจารย์แดงมาหาแล้วกล่าวย้ำว่า

    "เราอายุ ๕๕ จะลาตายแล้ว"

    "ตายยังไงครับ ท่านพ่อ"

    "ก็ตายขาดลมหายใจ นะสิถามได้ ก็เราเคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือ"

    "ผมลืมไปแล้ว แต่เมื่อท่านพ่อทักขึ้นผมก็จำได้ ทำไมท่านพ่อจะต้องตายด้วย ไม่ตายไม่ได้หรือ?"

    "เราได้รับนิมนต์เขาแล้ว เสียดายที่จะอยู่ต่อไปอีกไม่ได้นาน เกิดมาได้มีโอกาสช่วยพระศาสนาน้อยเหลือเกิน คิดแล้วก็ยังไม่อยากตายเลย เพราะเห็นแก่ประโยชน์คนอื่น ส่วนเราเองไม่สู้มีปัญหาในการเกิดการตาย"

    "รับนิมนต์ใคร"

    "รับนิมนต์เทวดา เขาอาราธนา"

    "เขาอาราธนาไปทำไม"

    "เขาอาราธนาไปสอนมนต์ให้"

    "ไปสอนมนต์อะไรครับ ช่วยสอนให้ผมด้วย"

    "มนต์ก็ไม่มีอะไรมาก พรหมวิหาร ๔ ของเรานี้แหละ แต่คนอื่นสอนมันไม่ขลัง ต้องให้เราสอนมันถึงขลัง เขาบอกอย่างนี้"

    "ผมขออาราธนาท่านพ่อไว้ อย่าเพิ่งตายเลย"

    "เราได้ตกลงรับอาราธนาเขาแล้ว อยู่ไมได้"

    "ท่านพ่อครับ ไม่มีวิธีอื่นบ้างเลยหรือ ที่จะสามารถต่ออายุไปได้อีก"

    ท่านพ่อลีเล่าถึงรอยต่อแห่งชีวิตอันมีความเป็นความตายเป็นเครื่องเดิมพันว่า..

    "วิธีนั้นมี แต่เรื่องมันผ่านเป็นอดีตไปแล้ว เราจะหวนกลับมาเป็นอย่างเดิมไม่ได้ หลักธรรมหลักความจริงท่านใช้ปัจจุบันเป็นเครื่องตัดสิน

    พวกเธอจำได้ไหม? ในสมัยประชุมคณะกรรมการจะสร้างเจดีย์ และโบสถ์ เราปรารภให้สร้างพระเจดีย์เสียก่อน แต่ไม่มีลูกศิษย์คนใดกล้ารับงานนี้

    บางคนเขาคิดเอาเองว่า ถ้าสร้างเสร็จแล้วเราจะหนีเข้าป่าบ้าง ตายบ้าง (เพราะท่านไม่ได้บอกพวกเขาถึงเหตุว่าการสร้างพระเจดีย์จะต่ออายุท่านได้)

    กรรมการที่ประชุมมีความเห็นว่า สร้างโบสถ์ก่อน ก็เป็นอันตกลง ซึ่งเขาไม่รู้จักจุดลึกในชีวิตของเรา การที่จะมาแก้ในสิ่งที่ล่วงเลยมา มันก็สายเสียแล้วแล้ว"

    ท่านพ่อลีกล่าวย้ำว่า "..ก็พวกเธอเกาไม่ตรงที่คัน ต่อให้มีโบสถ์ตั้ง ๒๐ หลัง ก็ไม่เท่ากับสร้างพระเจดีย์เพียงหนึ่งองค์..ท่านเอ๊ย!"

    เมื่อเป็นเช่นนี้ก็หมดหวังในชีวิตของท่านพ่ออีกต่อไป

    พระอาจารย์แดงจึงเรียนท่านว่า "เมื่อตายไปแล้ว ก็ขอให้ท่านพ่อมาช่วยเหลือวัดอโศการาม"

    ท่านพ่อลีก็หัวเราะ ฮึๆ ตอบวา "เราก็เป็นห่วงเหมือนกันคิดว่าจะคายอะไรไว้ให้เขากินกัน แต่ชีวิตก็จวนเสียแล้ว ก็ให้พวกยังอยู่หากินกันไป ถ้าไม่มีปัญญาก็ช่างมัน"

    และได้เรียนถามท่านอีกว่า "ท่านพ่อมีคาถาอะไรดีๆ ก็สอนให้ผมด้วย"

    ท่านพ่อลีตอบว่า "คาถานั้นมีอยู่ แต่สู้ใจเราไม่ได้ ให้ตั้งใจบำเพ็ญเพียรให้สำเร็จคุณธรรม เมื่อเราทำความเพียรอย่างสูงสุด เสียสละชีวิตแล้ว จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ก็ขึ้นอยู่กับวาสนาบารมีของแต่ละคน"


    นี้เป็นเพียงบทสนทนาสั้นๆ (ฉบับเต็มจะตีพิมพ์ในหนังสืองานฉลองพระธุตังคเจดีย์) แต่เต็มไปด้วยความหมายแห่งผู้ปฏิบัติธรรมได้เต็มขั้นเต็มภูมิ

    ชีวิตพระอริยเจ้าจึงเป็นชีวิตที่สมบูรณ์แบบจริงๆ

    ท่านไมได้นอนรอความตาย

    ท่านทราบเรื่องความตาย

    ตายแล้วไปไหน หลังจากตายจะไปทำอะไร

    ได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน

    และคำว่า "พระนิพพาน" เป็นอย่างไร สุขสบายดีไหม ท่านรู้ทะลุปรุโปร่ง ไม่ต้องคิดหาคำตอบมาถกเถียงให้เมื่อยกราม

    เพราะพระนิพพานนั้นเป็นสิ่งที่ท่านประสบพบเห็นเองอยู่

    ท่านมีชีวิตอยู่ก็เป็น "สอุปาทิเสสนิพพาน"

    ตายไปก็เป็น "อนุปาทิเสสนิพพาน"

    พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "พระนิพพาน อันผู้บรรลุเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาล แต่เป็นของรู้ได้เฉพาะตน"

    "...ผู้บรรลุพระนิพพาน...จะมีชีวิตอยู่ก็ไม่เดือดร้อน ถึงจะตายก็ไม่เศร้าโศก...เพราะมองเห็นที่หมายข้างหน้าแล้ว

    ...ความตายเรา (ตถาคต) ก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เราจักทอดทิ้งร่างกายนี้ อย่างมีสติสัมปชัญญะ มีสติมั่น...เรารอท่าเวลาตายเหมือนคนรับจ้างทำงานเสร็จแล้ว รอรับค่าจ้าง...(เสร็จกิจพรหมจรรย์ รอตายไปอนุปาทิเสสนิพพาน)

    ในเรื่องบางอย่างพวกเราผู้เป็นปุถุชนไม่รู้ แต่จะไปอวดเก่งกว่าท่านผู้รู้จริงไม่ได้ อย่างเรื่องท่านพ่อลี ถ้าบรรดาศิษย์เชื่อฟังท่านเสียหน่อย ท่านก็ยังจะมีชีวิตที่ยืนยาวกว่านี้ ไม่ต้องมาเสียใจทีหลังอย่างนี้

    ในเรื่องแบบนี้มีหลักฐานยืนยันได้ ในสมัยพุทธกาล ก่อนพระพุทธเจ้าจะทรงปลงพระชนมายุสังขาร...แล้วปรินิพพาน ถ้าเพียงพระอานนท์อาราธนานิมนต์ให้พระองค์ดำรงพระชนม์อยู่โปรดเวไนยสัตว์ต่อ ไป พระพุทธองค์จะทรงห้ามเสียสองครั้ง ครั้งที่สามพระองค์จะทรงรับอาราธนานิมนต์..และทรงอยู่ต่อไปได้อีกถึง ๑๒๐ ปี เพราะทรงบำเพ็ญอิทธิบาทภาวนามาเป็นอย่างดี



    จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จม
     
  4. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    พระอาจารย์ชัชวาล ท่านพึ่งออกจากการปฎิบัติธรรม ในถ้ำพระเพลิง ที่ ชุมพร
    ท่านฝากมอบผลบุญทั้งหมดทั้งมวลที่ท่านได้จากการปฏิบัติครั้งนี้ให้จิตบุญ และผู้ฝึกสอนทุกท่าน
    ขอให้น้อมรับไปด้วยเทอญ .... สาธุ


    จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จม
     
  5. Linda2009

    Linda2009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +9,998
    อนุโมทนา สาูธุ
     
  6. natthapatpun

    natthapatpun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +25,214
    ขออนุญาตประกาศจิตบุญดวงที่ ๑๑๘ ณ วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๕

    ขอท่านทั้งหลายจงโมทนา
    กับจิตบุญดวงที่ ๑๑๘
    ของกลุ่มจิตบุญเทอญ
    สาธุ สาธุ สาธุ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • บัว1.jpg
      บัว1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63.7 KB
      เปิดดู:
      272
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2012
  7. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    โมทนาบุญกับ จิตบุญ๑๑๘ คุณเกศนัย และพระอาจารย์ชัชวาลด้วยครับ


    จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จม
     
  8. จารุณี22

    จารุณี22 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +1,403
    สาธุ สาธุ สาธุ โมทนาสาธุการกับจิตบุญดวงที่ ๑๑๘ คุณเกศนัย
    และโมทนาบุญกับพระอาจารย์ชัชวาลด้วยคะ
     
  9. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,080
    ค่าพลัง:
    +10,246
    _/\_ สาธุ
    ขออนุโมทนากับจิตบุญดวงที่ ๑๑๘ พระอาจารย์
    และคุณครูจิตบุญทุกท่านด้วยครับ
     
  10. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151

    มงคลสูตร

    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
    อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

    ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามล่วงไป เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก
    ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้า
    พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร
    ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
    เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากัน
    คิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล

    พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า

    การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑
    การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑
    ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑
    การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑
    วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    การบำรุงมารดาบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑
    การงานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑ การสงเคราะห์ญาติ ๑
    กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    การงดการเว้นจากบาป ๑
    ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑
    ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑
    นี้เป็นอุดมมงคล

    ความเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑
    ความสันโดษ ๑ ความกตัญญู ๑
    การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑
    การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑
    การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑
    การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ๑
    ไม่เศร้า-โศก ๑ ปราศจากธุลี ๑
    เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว
    เป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่เหล่า
    ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน
    นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ

    จบมงคลสูตร

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
     
  11. natthapatpun

    natthapatpun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +25,214
    นายเกศนัย ชาวชุมพร ศิษย์พระอาจารย์ชัชวาล
    จบกิจจิตเกาะพระวันที่ 10 ธค 55 ที่ถ้ำพระเพลิง จ.ชุมพร
    ตอนนี้กำลังตามท่านไปบวชด้วยครับ
    ครูวิทย์เป็นผู้รับข่าวมาแจ้งให้ทราบ
    พี่เพ็ญขอโมทนาบุญกับจิตบุญใหม่และพระอาจารย์ชัชวาลเป็นอย่างยิ่ง
    ดอกบัวยังคงโผล่พ้นน้ำต่อไปไม่มีวันหยุด
    หากพ้นแล้วก็ยังต้องเจอกับแมลงรบกวนมากมาย
    เปรียบดั่งจิตบุญที่ยังมีขันธ์ห้าเป็นเครื่องอาศัย
    ย่อมเป็นที่หมายปองของมวลหมู่มารที่จะมาอาศัยเป็นแหล่งเพาะเชื้อกิเลส
    จิตบุญจงอย่าประมาท รักษาความดีดุจเกลือรักษาความเค็ม
    เกลือ...แม้คลุกอยู่กับดินก็ยังคงคุณสมบัติของเกลือคือเค็ม
    จงรักษาจิตของท่านให้มั่นคงดุจเกลือรักษาความเค็ม
    แม้เกลือเม็ดสุดท้ายจะต้องละลายไปความมั่นคงในจิตก็ยังคงหนักแน่นดั่งขุนเขาไม่มีวันสั่นคลอน

    พี่เพ็ญ จบ.3
     
  12. urairatvi

    urairatvi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +2,401
    ขออนุโมทนาบุญกับจิตบุญดวงที่ 118คุณเกศนัยและพระอาจารย์ชัชวาลด้วยคะ ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปคะ
    ขอร่วมอุโมทนาบุญกับพระอาจารย์ชัชวาลจากการปฎิบัติธรรม ที่ถำ้พระเพลิงชุมพร สาธุ สาธุ สาธุ กราบ กราบ กราบ
     
  13. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    โมทนาบุญกับ จิตบุญดวงที่ ๑๑๘ และพระอาจารย์ชัชวาล และครูจิตบุญทุกท่านด้วยครับ สาธุ..
     
  14. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนาบุญด้วยอย่างสูงกับจิตบุญน้องใหม่คุณเกศนัย เป็นจิตบุญดวงที่ 118 แล้วจ้าาา พร้อมทั้งท่านพระอาจารย์ชัชวาลด้วยค่ะ สาธุ๊:cool:
     
  15. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    ไม่ว่าอารมณ์จะหมักหมมเรื้อรังเพียงใด ก็ไม่เกินวิสัยที่จะปล่อยไปจากใจ ขอเพียงมีสติระลึกรู้ทันว่ากำลังหลงยึดมันอยู่ อย่าลืมว่ามันค้างคาในใจเราได้ เพราะใจเรานั่นแหละที่ไปยึดมันเอาไว้ไม่ยอมปล่อย ทันทีที่ใจปล่อย มันก็หลุด แต่เผลอเมื่อไร ใจก็อาจไปยึดมันเอาไว้อีก ถ้าจะไม่ให้เผลอ ก็ต้องมีสติระลึกรู้อยู่เสมอ สติจึงมีความสำคัญอย่างมากในการปลดเปลื้องอารมณ์เหล่านี้

    พระไพศาล วิสาโล
     
  16. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151

    "..มีสติรู้ตัว ถอนความยึดถือ ในตัวตนเสีย
    มีสติพิจารณา ดูลงไป ที่ตัวเราเอง
    ว่ามีอะไรบ้าง หรือที่เราบังคับได้บ้าง

    ร่างกายนี้ตั้งแต่เกิดมา มีแต่ความเปลี่ยนแปลง อย่างไม่หยุดนิ่ง
    เกิดมาได้อย่างไร ไม่รู้ตัวเลย (หรือใครรู้ตัวบ้างช่วยบอกที)

    มารู้ตัวเอาก็ต่อเมื่อเติบโตพอจำความได้แล้ว
    ก็มีความเปลี่ยนแปลงไม่หยุดยั้ง แล้วก็ต้องตายไป

    ทำพิธีต่ออายุสืบชะตาอย่างไร ก็ต้องตายทุกคน
    แล้วจะยึดถือ ว่าเป็นตัวเรา ของเราได้อย่างไร
    ตายแล้วไม่เผาไฟ ก็ฝังดิน เท่านั้นเอง

    มันเป็นเพียงธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป
    เราเพียงยืมใช้ ได้อาศัยศึกษา รักษาไว้เป็นพาหนะ
    ให้ทำความดี เพื่อข้ามวัฎสงสารเท่านั้น.."


    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร
    วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่​
     
  17. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    ธรรมะประทับใจ ...

    เกลือ...แม้คลุกอยู่กับดินก็ยังคงคุณสมบัติของเกลือคือเค็ม
    จงรักษาจิตของท่านให้มั่นคงดุจเกลือรักษาความเค็ม
    แม้เกลือเม็ดสุดท้ายจะต้องละลายไป ความมั่นคงในจิตก็ยังคงหนักแน่นดั่งขุนเขาไม่มีวันสั่นคลอน


    ตกลงเราเป็นเกลือแท้หรือไม่ ... ถามจิตกันดู สาธุ


    จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จม
     
  18. suwipha satraphai

    suwipha satraphai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +461
    โมทนา สาธุ
     
  19. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    55555+ คุณพี่อภิชัยค่ะ ได้เพื่อนเป็นโรคจิต(มั่ง) เพิ่มมาอีกหนึ่งแล้วค่ะ 555 บอกตรงๆ น่ะว่า เราก็อยากเจอจริงๆ น่ะภัยพิบัตินี้ สาธุ ไม่ได้ท้าทายฟ้าดิน แต่อย่างใดน่ะเจ้าค่ะ แต่ว่า มันอยากเจอจริงๆ ว่าเราจะผ่านบททดสอบใหญ่มั้ย ยิ่งอยู่ทางนี้เราอยู่ตัวคนเดียวเลยเนี่ย ไม่ตระหนก แต่ที่ พอจ.รัตน์ เตือนมา เราก็เริ่มเตรียมการไว้บ้างแล้ว ไม่กลัวตาย แต่คิดเสมอว่า เราต้องรักษาตัวเองให้ดีๆ เพราะถ้าเรายังไม่ถึงคราวตาย เราจะได้รอดไปช่วยเหลือคนอื่นๆ ต่อไปได้หลังภัยพิบัติ

    ตอนนี้เราพอจะรู้แล้ว ว่าทำไมประเทศไทยจะเหลือประชากรมากที่สุดในโลก หลังภัยพิบัติ ใครอ่านแล้ว พอจะทราบคำตอบ ก็เขียนแชร์กันได้นะค่ะ:cool::cool::cool:


    น้องหน่อง..อยู่ไหนมาตอบเร็วๆ ไวๆ อิๆๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 ธันวาคม 2012
  20. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    สาธุ กราบอนุโมทนาบุญด้วยอย่างสูงกับท่านพระอาจารย์ชัชวาลค่ะ
    (ขนลุกซู่ตลอดตั้งแต่อ่านจนพิมพ์อยู่นี้เลยค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...