อยากขอคำแนะนำผมมีปัญหาเรื่องการกำหนดจิตแบบละเอียด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Supop, 7 พฤศจิกายน 2012.

  1. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    585
    ค่าพลัง:
    +3,151
    ขอบคุณ คุณธรรม-ชาติ ครับ

    -การพุ่งจิตแบบที่ผมกล่าวมีขั้นตอนแบบที่คุณบอกไว้ครับ คือ

    ๑.กำหนดเป้าหมาย (แต่เมื่อก่อนผมมีการใช้อธิษฐานก่อนทำ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ได้ใช้อธิษฐานแล้ว ใช้นึกแล้วกำหนดเลย เพราะผมไม่ได้ใช้ดูอะไรที่ยากเกินไปแล้ว และเริ่มไม่มั่นใจในนิมิตต่างๆ เลยหยุดดูโน่นนี่นั่นไปบ้างแล้ว)

    ๒.ตรงนี้อาจจะเรียกว่าเพ่งก็ได้ แต่อาการมันจะเหมือนกับเราพุ่งทะยานไปแบบเร็วมาก ถ้ามีเป้าหมายที่กำหนดไว้ ก็จะใช้กำหนดภาพนิมิตเป้าหมายแล้วจิตก็จะพุ่งไปที่เป้าหมายนั้น เช่นภาพบุคคล หรือภาพกสิณเป็นต้น

    ๓.ตรงนี้ไม่น่าจะมีการตามเพราะเหมือนผมไปเองเลย แต่เมื่อถึงหรือชนเป้าหมายแล้ว นิมิตที่อธิษฐานไว้หรือนึกอยากจะดูก็จะเกิดขึ้นมา

    ๔.ตอนนี้ก็ประครองอารมณ์สมาธิจนกว่าจะหมดนิมิต

    แต่บางครั้งผมไม่ได้กำหนดให้พุ่งหรืออยากดูอะไร คือทำสมาธิเฉยๆ แต่จิตมันก็จะวิ่งไปข้างหน้าเรื่อยๆ เป็นแบบนี้อยู่บ่อยๆครับ เช่น ตอนนั้นผมกำหนดกสิณน้ำอยู่ น้ำเริ่มนิ่งใสได้ที่แล้วจิตเริ่มสงบแล้ว จู่ๆมันก็ดำดิ่งลงไปในน้ำเองเรื่อยๆ ดำดิ่งลงไปเรื่อยๆจนผมตกใจต้องถอนออกจากสมาธิเลยครับ (ยังไม่เคยปล่อยให้ลงไปสุดซักที)

    -เรื่องเมื่อจิตสุขมากๆที่ผมเห็นนั้นมีลักษณะ "จิตคำราม" จริงครับแต่ผมไม่รู้ว่าจะเรียกอะไรดี ลักษณะเหมือนจิตมันพองใหญ่ มันเหมือนอยากจะร้องออกมาดังๆ มันเหมือนมีความสะใจหน่ะครับ อาการเช่นนี้คืออะไรครับ ขอรายละเอียดครับ

    -มีอีกเรื่อง คือเรื่องการกำหนดดูอารมณ์ ถ้าเข้าดูในระดับสูงเวลาออกจะมีอารมณ์ค้างอยู่เหมือนกันครับ แต่ถ้าต่ำไม่มีค้างครับ ระดับกลางจะมีอยู่ชั่วขณะหนึ่งครับ

    ขอบคุณกับคำแนะนำอย่างละเอียดครับ และขอขอบคุณทุกท่านด้วยครับ

    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2012
  2. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    ขอแสดงความเห็นไว้หน่อยในเรื่อง การกำหนดที่กล่าวไว้ ส่วนประโยชน์อันใด หรือไม่เป็นประโยชน์อันใดก็ว่ากันไป

    อุบายมิได้ผิด แต่ เจตนาหรือการดำเนินไปนั้นยังไม่ถูกเท่าไรนัก ผลที่ทำในสิ่งนี้ในส่วนที่ดีก็มี ในส่วนที่จะเป็นผลเสียก็มีเช่นกัน มันจะติดเป็นอุปนิสสัย เป็นวิถี หากจะเลือกกระทำด้วยวิธีดังกล่าวมานั้น จะต้องเข้าใจและพอดีพอควร

    โดยปรกติแล้ว สิ่งที่กล่าวนั้นสามารถเกิดเองโดยธรรมชาติ เมื่อดำเนินถูกวิถี แต่สิ่งที่พยายามไปทำ ทำบ่อย ๆ เข้าจะแยกไม่ค่อยออกว่า อันไหนมันเป็นธรรมชาติ อันไหนมันเกิดเพราะเจตนาที่ละเอียดลึก ๆ ของเราเอง มันจะรังแต่ให้พุ่งแหลมไปด้านหน้าเดียว อันที่จริงส่วนดีก็มีมากถ้าทำให้ดี เคยเห็นพระอนาคามีท่านหนึ่ง ท่านก็มีความชำนาญวิถีแบบนี้ อภิญญาท่านสูงเป็นที่ประจักรยอมรับในแวดวงพระสงม์มาก แต่ขอไม่กล่าวนะครับ อุบายเป็นเพียงวิธีแต่ต้องดูว่าวิธีวางจิตดำเนินตั่งแต่ต้นเจตนามันถูกหรือไม่ ถ้าวางไว้ผิดมันก็ผิด ถ้าวางใจถูกแล้วเป็นไปเองมันก็ไม่ผิด

    เวลาที่พยายามบีบเข้าไปมันเหมือนเวลาเครื่องบินจะทยานขึ้นท้องฟ้าจากรันเวท์ไม่มีผิด มันก็เป็นเช่นนั้น แรงเสียดทานสิ่งที่เป็นอารมณ์ทั้งหลายภายในและภายนอกเกิดความกระทบกันด้วยกำลังทั้งเจตนาที่ตั่งใจกระทำ การเพ่งอารมณ์ จะกล่าวเป็นอรัมปณูปนิณานก็ยังไม่ถูกนัก จะบอกว่าไม่ใช่ก็ไม่เต็มที่อีกเช่นกัน แต่ถ้าปรับปรุงแก้ไขให้พอดี ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง

    วิธีที่ควร คือปรับตั่งอารมณ์ให้ธรรมชาติ หากจะกำหนดแบบเป็นจุด ก็เพียงประคองให้พอดี ไม่ใส่เจตนาพยายามทำให้เล็กหรือใหญ่ ใส่ใจอยู่แต่ความนิ่งแน่วแน่ตั่งมั่นพอไม่ให้ฟุ้งซ่านไปแบบเอาไม่อยู่ ทำให้พอดี ๆ หยุดอยู่เฉยอยู่แต่ประกอบด้วยความรู้พร้อมในทุกขณะ ดูความเคลื่อนไหวเป็นไปไม่เข้าไปทำสิ่งใด ๆ มองเห็นสภาพความไม่เที่ยงอย่างนิ่งเฉย อาการจะปรากฏสารพัดให้รู้ให้เห็น มองเป็นสิ่งธรรมดา เห็นความเป็นไตรลักษณ์ปรากฏ ให้เข้าใจไปตามลำดับ เมื่อเห็นลักษณะอาการความเป็นไปต่าง ๆ ในสภาพแห่งไตรลักษณ์จนเข้าใจ นั้นคือ ความเพียรที่ ทรงไว้ตั่งเอาไว้ใน
    ลักขณปนิณาน คือการเพ่งดูรู้อยู่ในอาการลักษณะสภาพความจริงความเป้นไปแห่งโลกของสรรพสิ่งทั้งหลาย วิปัสสนาจะเกิดตามมาเองตามลำดับวิถีทาง ณานไม่เกิดวิปัสสนาเกิดยาก แต่ไม่ได้บอกว่าไม่ได้นะครับ เพียงแต่ต้องดำเนินสังสมไปในอีกวิถี แต่เห็นว่าจขกท ดำเนินมาแนวทางนี้ ก็ควรจะกระทำให้ถูกก็จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เมื่อดำเนินถูกวิธี สิ่งที่ปรากฏก็สามารถจะเป็นลักษณะที่พยายามทำให้เป็น แต่อีกสิ่งหนึ่งที่อาจปรากฏให้เห็นคือ อาการดับแห่งอารมณ์ นิวรณ์/ อกุศล( แต่จะไม่เกิดกับทุกคนเพราะแต่ละคนสั่งสมมาไม่เหมือนกันต่างจริต)
    เมื่อสิ่งนี้ปรากฏ ก็ดำรงค์อารมณ์ไว้เหมือนเดิม ไม่เข้าไปกระทำสิ่งใด ๆ เพียงดูแล้วดูเล่าจะกี่คราวกี่ครั้งก็แล้วแต่ ดูจนเกิดความรู้ความเข้าใจเกิดภายในตน

    คงพอจะเป็นประโยชน์กับจขกทบ้าง ลองนำไปพิจารณาดูเอง ส่วนจะถูกผิดเหมาะควรหรือไม่เหมาะอย่างไรกับของใคร ขอไม่มีความเห็นใด ๆ เพียงแสดงข้อคิดเห็นแห่งอุบายวิธีการเท่านั้น

    ขอให้เจริญในธรรมอันเหมาะกับตนเอง
     
  3. Khathathong

    Khathathong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +472
    ขออนุยาติ จขกท.นะคะ เวลาอยู่ในสมาธิแล้วเรามารู้ตัวอีกทีคือเราไม่ได้หายใจอยู่ ในภาวะนี้จิตก็มีความเบาสบายดี จิตก็คอยดูอยู่นะค่ะว่าจะเป็นยังไง แต่สุดท้ายแล้วก็เหมือนกับตัวเองกลั้นหายใจอยู่จนค่อยๆหายใจเข้าแล้วก็เหมือนว่าสมาธิจะตกลงมาหน่อย พอพยายามนั่งต่อก็เข้าสู่ภาวะเดิมก็คือมารู้ตัวอีกทีก็ไม่ได้หายใจอยู่ ไม่ทราบว่าเราจะวางจิตยังไงถึงจะผ่านภาวะนี้ไปได้ แล้วภาวะนี้คืออะไรค่ะ
     
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ตามรู้อย่างเดียว อย่าไปบังคับมัน
     
  5. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    585
    ค่าพลัง:
    +3,151
    ขอขอบคุณทุกท่านครับ

    ตามที่ คุณ V.mut กล่าวนั้น แรกเริ่มเดิมทีของการได้สิ่งเหล่านี้ ผมมีความอยากได้ในฤทธิ์มาก่อนครับ จึงเที่ยวหาฝึกกับครูบาอาจารย์ต่างๆ และหลากหลายวิชา จนเมื่อมาโดนเหตุการณ์เกือบตายนั้นเอง ผมจึงมีความลึกซึ้งในพระรัตนตรัยมากขึ้น และปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกที่ควร

    และวิชาเหล่านี้หรือการพัฒนาในระดับของสมาธิไม่ได้หายไปด้วย ผมจึงมีการปรับปรุงนำมาใช้ให้ถูกต้องเสีย แต่เนื่องด้วยจากหลากหลายวิชาทำให้เกิดสภาวะต่างๆมากมายจนผมตามรู้ไม่ทัน ว่าอะไรคืออะไรบ้าง แต่ผมก็ใช้หลักอานาปาณสติเป็นหลัก เพราะอานาปาณสติเป็นสมาธิที่ละเอียดที่สุดจะไปจะมารู้ได้ตลอดเหตุการณ์

    ส่วนเรื่องการมีจุดโฟกัสของผมนั้น ผมใช้แล้วมันทำให้จิตนิ่งดีและทำให้เข้าสู่สภาวะที่ละเอียดได้เร็ว และปัจจุบันผมใช้ดูอยู่ที่ภายในกองสังขารอยู่พยายามไม่ให้ออกไปไหน ก็พยายามอยู่ครับ

    ส่วนคำถามของ คุณ Khathathong ผมขออนุญาติตอบเพิ่มจากคุณ อินทรบุตร นะครับ

    คุณต้องเพิ่มกำลังสติให้มากกว่าเดิม ให้มีความรู้ในรายละเอียดมากกว่าเดิม การไม่รู้ตัวคือการขาดสติ ในสภาวะนี้ผมก็เคยเจอเหมือนกัน มันจะเหมือนเราจะขาดใจ แต่จิตมีความสงบ เป็นเพราะจิตไปแต่สติไม่ได้ตาม ถ้าคุณมีสติที่แนบมากกว่านี้คุณจะรู้ทุกรายละเอียดแม้กระทั่งการไต่ระดับของสมาธิ สภาวะที่ละเอียดขึ้นเรื่อยๆเราก็รู้ คำบริกรรมหายเราก็รู้ว่าทำไมถึงไม่นึกคำบริกรรม ลมหายใจที่ว่าหายไป เราก็รู้ว่าเรายังหายใจอยู่ เราเพียงแค่รู้ในอารมณ์สมาธิไปเรื่อยๆหรือเรียกว่าประครองอารมณ์ให้อยู่ที่ฐานก็ได้ ตอนนี้ให้สังเกตดูว่า ถ้าการไม่หายใจของเราเป็นเหมือนการกลั้นลมหายใจ เราอึดอัดไหม ให้ประครองจิตอยู่ที่ฐานไปเรื่อยๆก่อนอย่าเพิ่งไปเอะใจ ถ้ามันเป็นการกลั้นลมจริงๆเราจะอึดอัดมาก ถ้าอย่างนี้คงต้องถอนก่อน แต่ถ้าเป็นการเข้าสู่สภาวะที่ละเอียดเราจะไม่อึดอัดมีแต่โล่งสบาย และถ้าสติเราดีจริงจะเห็นได้ถึงลมหายใจที่เป็นดั่งเม็ดอณูเล็กๆที่เราดึงมันผ่านเข้ามา และดันออกไป คือรู้ถึงตัวตนของลมจริงๆหน่ะครับ

    สุดท้ายนี้ก็อย่าเพิ่งเชื่อผมครับ รอผู้ที่รู้มากกว่านี้มาแนะนำอีกทีดีกว่าครับ

    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2012
  6. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ผมเพิ่งกลับมาจาก ตจว เลยตอบช้าไปหน่อย
    =============================================================
    สรุปคำศัพท์ "การพุ่งจิต" ของคุณ Supop เป็นอาการเดียวกันกับคำศัพท์ "การย้ายฐาน" ของผม แต่ของคุณ Supop ออกมาทางแนวกสิณคือ เป้าหมาย+เข้าไป+อยู่ ส่วนของผมใช้ มหาสติปัฏฐาน 4 คือ กำหนดฐาน+ย้าย+อยู่ อาจจะต่างกันอยู่บ้างคือของคุณ Supop ใช้ จิต เป็นตัวเข้า ส่วนของผมใช้ สติ เป็นตัวเข้า

    เรื่อง "จิตคำราม" นั้นน่าจะตรงกันกับคำศัพท์ของทางฝ่ายเกจิอาจารย์ที่ท่านเรียกกันว่า "มหาอำนาจ" หรือ "สะกดทัพ" หรือ อื่น ๆ ตามแต่ท่านจะเรียก แต่อาการของจิตน่าจะเป็นอันเดียวกัน อาการนี้เป็นการผสมกันระหว่าง 2 ฐาน คือ เวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน กับ ธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน โดยใช้กายเวทนาให้เข้าไปคร่อมในบริเวณรอยต่อของ ปิติ กับ สุข (ไม่ได้ย้ายฐาน แต่เป็นการคร่อมฐาน คือ ควบทั้ง 2 ฐานไว้ด้วยกัน)

    เรื่องของ "จิตคำราม" และอิทธิวิธีทั้งหลายนั้นยังมีขีดจำกัดอยู่ในขอบข่ายของ ขันธ์ ของผู้ใช้ ซึ่งขันธ์ของจิตแต่ละดวงย่อมมีอำนาจและขอบเขตไปตาม บารมี (บุญฤทธิ์) ของจิตผู้นั้น หากผู้นั้นมีบารมีมาก จิตคำราม อาจอยู่ในระดับ เปล่งสีหนาท หากบารมีน้อย อาจเป็นได้แค่ หนูคำราม เท่านั้นเอง ดังนั้นในโพสท์ที่แล้วผมจึงกำกับเรื่อง "อิทธิฤทธิ์-บุญฤทธิ์" เอาไว้เพื่อเป็นอุทาหร ถึงขีดข้อจำกัดของฤทธิ์เอาไว้ด้วย

    ตอบคุณ Supop และคุณอินทรบุตร

    -มีอีกเรื่อง คือเรื่องการกำหนดดูอารมณ์ ถ้าเข้าดูในระดับสูงเวลาออกจะมีอารมณ์ค้างอยู่เหมือนกันครับ แต่ถ้าต่ำไม่มีค้างครับ ระดับกลางจะมีอยู่ชั่วขณะหนึ่งครับ

    +++ จริง ๆ แล้วเรื่อง อารมณ์ค้างนี้ขึ้นกับระดับ สติ ของผู้ฝึก หากผู้ฝึกได้มหาสติปัฏฐานแล้วอารมณ์ค้างไม่น่าจะมีปรากฏ แต่หากมีปรากฏให้เดินจิตดังนี้ วาระจิตที่ 1 ถอนจากธรรมารมณ์นั้น ๆ เข้าสู่ รู้ตัว (กายานุปัสสนา) วาระจิตที่ 2 จากรู้ตัวเข้าสู่ รู้สึกตัว (เวทนานุปัสสนา) วาระจิตที่ 3 กลับสู่ รู้ตัว (กายานุปัสสนา) อีกครั้ง วาระจิตที่ 4 ถอนการฝึกเข้าสู่จิตปกติ แล้วลืมตาขึ้น ทั้งหมดรวมแล้วไม่น่าเกิน 4 วาระจิต หากธรรมารมณ์ยังไม่หมด ก็ให้เดินจิตกลับไปกลับมาระหว่าง รู้ตัว กับ รู้สึกตัว ในขณะลืมตา จนกว่าจะหมด

    +++ ควรอ่านคำอธิบายของคุณ v.mut ประกอบไปด้วย แม้ว่ารูปแบบของการใช้ภาษาจะต่างกันไปบ้าง แต่เนื้อหาเป็นอันเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจได้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิมนะครับ
     
  7. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    585
    ค่าพลัง:
    +3,151
    ขอบคุณ คุณ ธรรม-ชาติ ครับ

    ผมเองก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหนครับ และอาการต่างๆเหล่านี้ก็เพิ่งมีเกิดขึ้น ผมจึงยังไม่รู้และยังต้องทำอีกมากครับ และด้วยจากที่มีหลายๆสภาวะด้วย คงต้องค่อยเป็นค่อยไปหน่ะครับ เรื่องบารมีไม่ต้องพูดถึงครับ แค่หนูร้องนั่นแหละครับ

    คุณมีภูมิธรรมทางนี้มากจริงๆ ผมอยากจะรบกวนถามอีกอย่างถ้าคุณพอจะรู้บ้าง แค่ถามดูนะครับ แต่ปัจจุบันนี้ผมไม่ได้ทำแล้วครับ

    เมื่อตอนที่สมาธิผมมาถึงตรงนี้ใหม่ๆ ผมได้ฝึกการรวมธาตุด้วยในระดับอุปจารสมาธิ ทำอยู่บ่อยเหมือนกัน เมื่อรวมได้แล้วก็กำหนดมาเก็บไว้ในอก แล้วก็ถูกสอนมาว่าการรวมธาตุให้เริ่มต้นที่ธาตุไฟ ตามด้วยธาตุดิน เพราะมีแต่ดินเท่านั้นที่กันไฟได้ (กำหนดเป็นดินหุ้มไฟไว้) และตามด้วยธาตุน้ำ (เอามาชโลมดินอีกที) แล้วสุดท้ายที่ธาตุลม (วิ่งวนอยู่รอบก้อนดินที่ชโลมน้ำนั้น) แล้วผมจึงเห็นว่า ไอ้ที่รวมไปนี่มันก็คือโลกนี่เอง แล้วทุกครั้งผมก็จะรวมให้เป็นโลกแล้วนำมาเก็บไว้ในอกทุกครั้ง

    และเพราะทำอย่างนี้บ่อยๆนี่เอง เลยทำให้ผมมีความรู้สึกแรงๆเหมือนมีพลังในตัวด้วย ผมแค่อยากรู้ว่ามันจะอันตรายหรือเปล่าครับ

    แล้วไอ้สิ่งที่ผมทำนี่มันถูกต้องหรือผิดอย่างไรครับ (ในแง่ของวิชาสายนี้หน่ะครับ)

    ปล.ถ้าท่านใดเห็นว่าไม่สมควรจะลง ผมจะมาลบออกนะครับ

    และขอย้ำอีกครั้ง ทุกสิ่งที่ผมถามในข้อความนี้ มันแค่เป็นสิ่งที่ผมเคยทำมานะครับ ปัจจุบันไม่ได้ทำแล้วนะครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2012
  8. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    คุณ Supop

    การรวมธาตุ ไม่มีอันตรายใดๆหรอกครับ อย่ากังวลใจไป ขอเพียงอย่าไปฝืนหลักธรรมชาติ แค่นั้นเอง

    ตามธรรมดา โลก ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 แต่ที่โลกยังคงสภาพอยู่ได้ เพราะความสมดุลของธาตุทั้ง 4 นั่นเอง คือมีอยู่อย่างพอเหมาะ พอเจาะ ไม่มีธาตุใด ธาตุหนึ่ง มีมากหรือน้อยจนเกินเหตุ

    ดังนั้น เคล็ดจึงมีอยู่ประการเดียวคือ เวลารวมธาตุ จะต้องพยายามควบคุมสมดุลของธาตุทั้ง 4 ให้ได้ นั่นคือ ทำตัวให้เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่ควรจะเป็นนั่นเอง ถ้าทำได้อย่างนี้ ถือว่าใช้ได้

    สำหรับวิธีการควบคุมสมดุลธาตุทั้ง 4 จะทำได้อย่างไร วิธีไหน ผมยังไม่ขอกล่าวถึง เนื่องจากจะเกินขอบเขตประเด็นของกระทู้นี้ไป

    ผลเสีย อันตราย จะมีอยู่อย่างเดียว คือการที่ไม่รู้จักควบคุมสมดุลของธาตุ 4 เมื่อเวลาทำการรวมธาตุ แค่นั้นเองครับ ดังนั้น ถ้ายังไม่ได้ฝึกการควบคุมสมดุลธาตุ 4 ยังไม่แนะนำให้ทำแบบนี้ แต่ถ้าควบคุมสมดุลได้ ทำไปเลย เท่าที่อยากจะทำ ไม่มีผลเสีย มิหนำซ้ำ ยังเอาไปต่อยอดในเรื่องของสมถะและวิปัสสนาได้อีกมากมาย

    เข้ามาคุยเป็นการคั่นเวลาก่อน (ไม่ได้ช่วยอะไรเจ้าของกระทู้เลย ต้องขออภัย) รอความเห็นต่อไปที่จะเข้ามาให้ความรู้นะครับ ส่วนผมขอตัวถอยไปห่างๆ และถือโอกาสเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเจ้าของกระทู้ด้วยคนล่ะกันครับ
     
  9. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    เมื่อตอนที่สมาธิผมมาถึงตรงนี้ใหม่ๆ ผมได้ฝึกการรวมธาตุด้วยในระดับอุปจารสมาธิ ทำอยู่บ่อยเหมือนกัน เมื่อรวมได้แล้วก็กำหนดมาเก็บไว้ในอก แล้วก็ถูกสอนมาว่าการรวมธาตุให้เริ่มต้นที่ธาตุไฟ ตามด้วยธาตุดิน เพราะมีแต่ดินเท่านั้นที่กันไฟได้ (กำหนดเป็นดินหุ้มไฟไว้) และตามด้วยธาตุน้ำ (เอามาชโลมดินอีกที) แล้วสุดท้ายที่ธาตุลม (วิ่งวนอยู่รอบก้อนดินที่ชโลมน้ำนั้น) แล้วผมจึงเห็นว่า ไอ้ที่รวมไปนี่มันก็คือโลกนี่เอง แล้วทุกครั้งผมก็จะรวมให้เป็นโลกแล้วนำมาเก็บไว้ในอกทุกครั้ง

    +++ คุณ Supop ลองสังเกตุดูดี ๆ นะครับ อุบายกรรมฐาน ธาตุ 4 ของคุณนั้น สิ้นสุดยุติลงที่ "ตน" นั่นเอง กล่าวได้ว่า สิ้นสุดลงที่ "กายานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" นั่นแหละ แต่อุบายอันนี้ของคุณมีลักษณะเด่นประการหนึ่งคือ มันสามารถส่งผลให้เข้าสู่ "เวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" ได้เลย

    และเพราะทำอย่างนี้บ่อยๆนี่เอง เลยทำให้ผมมีความรู้สึกแรงๆเหมือนมีพลังในตัวด้วย ผมแค่อยากรู้ว่ามันจะอันตรายหรือเปล่าครับ

    +++ ความรู้สึกแรง ๆ เหมือนมีพลังในตัวนั้น "ตัวพลัง" คือ "กายเวทนา" ที่ผมกล่าวอยู่ทั่วไปตามโพสท์ต่าง ๆ ทั้้งหลายนั่นแหละ และกายเวทนานี้สามารถแปรสภาพได้หลายอย่างมาก เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ไหล สะพัดโบกสบัด เบา หนัก ว่าง โปร่ง สารพัดนับไม่ถ้วน ดังนั้นผมจึงเคยกล่าวไว้ว่า "เวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" นี้เป็นแม่บทของกรรมฐานใหญ่ ที่หล่อหลอมเอากรรมฐานสารพัดรูปแบบเอามารวมลงที่นี่ ธาตุ 4 ของคุณก็อยู่ในนี้เช่นกัน

    +++ กำหนด กายเวทนาเป็น ฐาน เรียกว่า "กำหนดฐาน" แล้ว "ย้าย" จากฐานกาย เข้าสู่ ฐานแห่งความรู้สึกตัวนี้ แล้ว "อยู่" ในฐานแห่งพลังงานนี้ สติจะเริ่มพัฒนาออกมาเป็น มหาสติ แล้วจึงรู้ถึงการแปรรูปในกองธาตุต่าง ๆ ได้เอง รวมถึง "การถอดกาย" ก็อยู่ในนี้ด้วย การถอดกาย โดยมหาสตินี้ จะต่างจากการถอดกายแบบอื่น ๆ คือจะมีอาการแบบ "ถอดดาบออกจากฝัก" หรือ "เป็นเราออกมาจากเรา" ทุกอย่างเด่นชัด และจะไม่ใช่แค่ "เห็น" แต่เป็นอาการของ "เป็น" โดยตรง เช่น ถอดออกมาเป็น พรหม ก็จะ "เป็น" พรหม ในขณะนั้น จริง ๆ เป็นการขยับแขนทั้ง 8 เป็นการดูทิศทั้ง 4 จริง ๆ โดยไม่มีการปรุงแต่งใด ๆ เข้ามาเจือปนอย่างเด็ดขาด

    แล้วไอ้สิ่งที่ผมทำนี่มันถูกต้องหรือผิดอย่างไรครับ (ในแง่ของวิชาสายนี้หน่ะครับ)

    +++ หากคุณทำได้ถูกต้อง แล้วลงมาตรง ๆ ตามที่ผมได้กล่าวไว้ข้างบนนี้ ถือว่า ถูกต้องอย่างยิ่งครับ เพียงแต่คุณขาดการสืบต่อในการ "อยู่" กับกายเวทนา "เวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" นับว่าเป็นที่น่าเสียดายในโอกาสอยู่บ้าง นะครับ

    +++ ควรอ่านของคุณ NICKAZ ประกอบไปด้วยนะครับ
     
  10. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    ขอแสดงขอคิดเห็นพอสังเขป บอกก่อนว่าไม่เคยฝึกการรวมธาตุแบบ จขกท มาก่อน เคยแต่เห็นในแม่ธาตุ และเคยเพียงแต่ใช้ประโยชน์ในปรับธาตุให้เกิดความสมดุลเวลาที่เจ็บไขบางประการ

    ในจตุธาตุทั้งสี่ หรือจะรวมเอาเป็น ห้าธาตุ หรือนับเอาเป็น หก ก็ตาม ในสภาพความต่างกันนั้น ก็ย่อมจะมีสิ่งที่เหมือนกัน และมีสภาพเดียวกันอยู่ เมื่อเข้าใจและเห็น ทั้งสภาพที่ต่างกันในลักษณะ และที่เหมือนกันได้เมื่อใด ก็จะเข้าใจมากขึ้น ส่วนการจะนำไปเป็นประโยชน์ได้อย่างไร นั้นขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ในแม่ธาตุนั้นมีพลังทั้งสองด้าน สร้างและทำลาย การจะนำมาซึ่งประโยชน์ได้มากน้อยอย่างไรขึ้นอยู่กับการรู้เห็นและเข้าใจ
    นั้นก็อันหนึ่ง อีกประการคือ กิเลส อวิชชา ตัณหา และอุปทาน ที่แทรกซ่อนในใจคนก็อีกประการหนึ่งที่จะนำพาให้เกิดวิถีสร้าง หรือ ทำร้ายล้าง จตุธาตุในแต่ละบุคคลจะเศร้าหมองหรือผ่องใสก็มีองค์ประกอบของมโนธาตุของบุคคลนั้นเช่นกัน เมื่อเข้าใจถึงแก่นกลางของธาตุทั้งสี่ได้มากเท่าไร การที่จะกุม(หรือที่กล่าวว่าควบคุม) ก็จะทำได้มากในระดับหนึ่ง ธาตุทั้งสี่หรือทั้งห้าที่เกี่ยวพันกับตนในขอบเขตของคนนั้น ก็มีปัจจัยขึ้นอยู่กับอัตตาภาพของคนนั้นเช่นกัน (ในมุมมองโลก) ส่วนตัวนั้นมิอาจนับเป็นเศษธุลีแห่งธาตุทั้งมวลเลย

    มนุษย์เราพยายามที่จะควบคุมธาตุมานาน แต่จริง ๆมันทำได้ในเพียงระดับหนึ่ง แต่หาใช่ที่สุด ที่สุดเป็นอย่างไรต้องศึกษาพิจารณา ธาตุบรรพ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ มิฉะนั้นพระพุทธองค์ทรงไม่กล่าวให้ศึกษา

    ขอให้ดจริญในธรรม
     
  11. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    585
    ค่าพลัง:
    +3,151
    ขอขอบคุณทุกท่านที่กรุณาแนะนำครับ

    เมื่อผมเปืดประเด็นไปแล้วก็ขอต่ออีกหน่อยนะครับ

    ตามที่ทุกท่านแนะนำนั้นล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับผมครับ

    เรื่องของธาตุนั้นผมเองก็ใช้ในการปรับธาตุในตัวเช่นกันครับ เช่นเมื่อหนาวก็ปรับให้อุ่น เมื่อร้อนก็ปรับให้เย็น เมื่อหายใจไม่สะดวกหรือติดขัดผมก็ใช้ลม (แต่โดยมากผมจะใช้การหายใจแบบละเอียดมากกว่า) เวลาที่รู้สึกร่างกายอ่อนล้าหรือเพลียก็ใช้ดิน ฯลฯ

    ตามที่คุณ NICKAZ กล่าวเตือนนั้น ใช่แบบนี้ไหมครับ คือผมจะตั้งธาตุแต่ละธาตุขึ้นมา รอให้ความชัด อารมณ์ ลักษณะของธาตุชัดเท่าๆกันทุกธาตุผมจึงค่อยรวม และการรวมได้นี้เราจะรู้สึกถึงการผสานกันของธาตุได้ จะไม่มีธาตุใดแปลกแยกออกมา หรือถ้ารวมไม่ได้ ก็จะไม่รู้สึกหรือภาพนิมิตที่กำหนดจะรวมกันไม่ได้เลย และถ้าธาุตุใดมากไปก็จะทำให้เกิดอาการทางกายตามลักษณะของธาตุนั้นๆ (มีอาการไม่สบาย)

    และตามที่คุณ ธรรม-ชาติ แนะนำครั้งสุดท้ายนั้น ผมต้องขออภัยที่เข้าใจเป็นบางส่วนเนื่องจากยังไม่ได้ศึกษาในเรื่องนั้นครับ จึงไม่สามารถเทียบกับสภาวะของตัวเองได้

    และคำแนะนำของคุณ v.mut นั้น ความจริงผมก็รู้สึกเหมือนจะรู้จะเห็นอะไรบางอย่างในเรื่องของธาตุ ว่าทุกธาตุนั้นเหมือนกัน เหมือนกับเป็นสิ่งเดียวกัน แต่เหตุที่มาทำหน้าที่หรือมีลักษณะที่ต่างกันนั้นยังไม่รู้ไม่เห็น ทุกธาตุนั้นล้วนแต่มีความนิ่งสงบอยู่แล้ว ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เคลื่อนไหว แต่เหตุที่เคลื่อนไหวเพราะมีสิ่งที่มากระทำมากระทบให้เกิดการเคลื่อนไหวเท่านั้น นี่เองจึงทำให้ผมคิดว่าการเล่นแร่แปรธาตุ เช่น ทำให้ของแข็งอ่อน ทำให้ของอ่อนแข็งทำไมถึงทำได้

    และผมเองก็ไม่ได้มีความคิดที่จะควบคุมธาตุนะครับ ผมแค่ในตอนนั้นอยากจะปฏิบัติสมาธิแบบใดผมก็ทำ เพื่อดึงกำลังใจตัวเองไปเรื่อยๆ และพอได้รู้ได้สัมผัสมันก็อัศจรรย์ใจไปเรื่อยๆหน่ะครับ เรื่องความคิดอยากมีฤทธิ์มีเดชนั่น ผมล้มเลิกไปแล้วครับ

    ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าผิดถูกประการใดบ้าง โปรดแนะนำครับ

    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2012
  12. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    โกหก ไปเรื่อยๆ ไม่ดีหรอกนะ

    ปากบอกว่า ไม่คิดเรื่องฤทธิเรื่องเดช แต่ พอคนมาคุยด้วย โอ้ย ขุดของเก่ามา
    อวดใหญ่เลยว่า ทำนั้น ทำนี่ มา

    พอใครมา สะกิดสะเก็ด แหม ก็ คัน ต้องรีบแพลม แกะ เกา ออกมาที่ละเรื่อง ละราว

    แล้วมัน มันส์นะ เวลา แกะ เกา เนี่ยะ มัน จะมันส์ แล้ว มันจะ อยากแกะ อยากเกา
    อยากฝื้น ฝอย หา หอย ไปเรื่อยๆ

    นี่ๆ

    เวลาคนเขา จะกล่าวว่า ไม่สนเรื่องฤทธิ์เนี่ยะ มันจะต้องเกิด ทิฏฐิธรรม ตัวหนึ่ง
    แล่นออกมาให้เห็น

    คนที่ปรารภไม่สนใจเรื่องฤทธิ์เนี่ยะ เขาจะต้องพูดถึง จะทำอย่างไรถึงเป็นอุบายนำออก

    ไม่ใช่ พูดปากเปล่าๆว่า ไม่สนเรื่องฤทธิ์ แต่ เขาจะปรารภว่า แล้ว จะออกจากมันอย่างไร

    ถ้าไม่พูดตัวนี้นะ แปลว่า ไอ้ที่ทำอยู่เนี่ยะ ไม่เกิดผล หากเกิด ก็ประเดี๋ยวประด๋าว
    เหมือน ทำได้ ไอไว้โกหก โม้ว่าทำได้ แต่ไม่ชำนาญแบบจิตมันเสพติด

    แต่ถ้าทำแล้ว จิตมันเสพติดมันไม่ดับ เหมือนหลวงปู่มั่น ท่านเดินไปเจอแหม่ม
    ฟรั่งแต่งตัวโป้ ท่านเห็นเป็น กระดูกเดินได้ พอสามีฟรั่งเขาเดินตามหาภรรยา
    เพราะพลัดหลงกัน เจอหลวงปู่มั่น ซึ่งเป็น คน เพียงคนเดียว ที่เดินแถวนั้น แล้ว
    น่าจะเห็น หรือ ช่วย บรรเทาทุกข์ใจของเขาได้ พอถามท่านว่าเห็น ภรรยาเขา
    ไหม หลวงปู่มั่นตอบไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าเห็นอะไร ภาพทีเห็น มันกลายเป็นเห็น
    กระดูกเดินผ่านไป

    หลวงปู่มั่นจึงเอะใจว่า ชะรอยจะมี สิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ เกิดขึ้นแล้ว จิตมันเสพ
    ติดนิมิตเกินไป .....พอถึงจุดนี้ ท่านก็สอนสายพระป่าว่า ในบางเวลา ให้ขนกัน
    เข้าเมืองบ้าง เพื่อไปเจอ สุภะ บ้าง จะได้เห็น จิตที่มันเกยตื้น !!

    ว่างข้างนอก แต่ กิเลส ไม่สะเทือนเลย
     
  13. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ธาตุ คุณเล่นแร่แปรธาต แปลงร่างได้ แล้วไง !!

    กิเลส มันหายไปสักตัวหรือเปล่า

    ถ้า แก้กิเลสไม่ได้ กรรมมันก็ต้องส่งผล แล้ว ธาตุหนะ มันก็
    แปรไปตามเวรกรรมที่เคยทำมานั่นแหละ

    ต่อให้ เล่นแร่แปรธาตุได้ ใช่ว่า จะอยู่เหนือกฏแห่งกรรม นะเว้ยเฮ้ย

    เล่นแร่แปรธาตุได้ แต่ กิเลสมีเท่าเดิม ยังต้องผันแปรไปตามอำนาจ
    ของโซ่ตรวนของกฏแห่งกรรม มันจะมีใครประกาศตัวเองว่า เล่นแร่แปร
    ธาตุได้ว๊า !! หากมี ก็โง่เต็มที ไม่ได้ฉลาดเลย ว่าไหม ?
     
  14. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ^ ท่านเล่าปัง จี้ตรงประเด็นดี

    การควบคุมธาตุ แม้จะมีประโยชน์บ้าง แต่ก็ไม่ทำให้พ้นทุกข์ครับ

    พิจารณาให้ดี ยังเป็นการจงใจใช้ขันธ์ 5 เพื่อสนองความอยาก นั่นเอง

    จะเดินทางพ้นทุกข์ ต้องสติรู้เห็นการทำงานของขันธ์ 5 ตามความเป็นจริง จนคลายออกมาจากความยึดถือมั่นว่ามันเป็นเรา ครับ
     
  15. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    การปฏิบัติหากมีความยืดหยุ่น จะมีประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาตนเอง

    คุณ Supop

    ที่กล่าวมาอย่างนี้ นับว่าอธิบายข้อสงสัยของคุณมาได้ชัดเจนดีมาก การจะพิจารณาถึงเรื่องการรวมธาตุนั้น จะขอเริ่มพิจารณาจากระดับกำลังของสมถะที่ใช้กำกับเป็นเบื้องแรก สำหรับสิ่งที่คุณได้อธิบายยกมานี้ คือการฝึกรวมธาตุในระดับอุปจารสมาธิ ซึ่งใช้การตั้งธาตุแต่ละธาตุขึ้นมาก่อนและรอความชัดในอารมณ์ของธาตุและลักษณะของธาตุให้ปรากฏชัดในทุกธาตุก่อน แล้วจึงนำเอาแต่ละธาตุมารวมกัน อย่างนี้คือวิธีการที่ปฏิบัติอยู่

    ตรงจุดนี้มีความสำคัญที่จะนำมาพิจารณากัน อันว่าการฝึกรวมธาตุที่กล่าวมานั้น เท่ากับว่าคุณผ่านขั้นตอนของบริกรรมนิมิตมาแล้ว และอยู่ในระหว่างช่วงของอุคคหนิมิตนั่นเอง การฝึกรวมธาตุในระดับนี้นั้น ที่ผ่านมาผมพบว่า การรวมธาตุในระดับอุคคหนิมิตนั้น กำลังของธาตุแต่ละธาตุยังไม่ปรากฏขึ้นเลย ดังนั้น จึงยังไม่จำเป็นต้องระมัดระวังในเรื่องของการควบคุมสมดุลของธาตุแต่ละธาตุก็ได้ และไม่น่าจะมีปัญหาอะไรกับการกระทำอย่างนี้ แต่มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งตามที่คุณเล่ามาว่า บางครั้งถ้าธาตุใดมีความรู้สึกมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดอาการไม่สบายทางกายตามลักษณะของธาตุนั้นๆ ตรงจุดนี้ผมยังไม่เคยพบอาการอย่างนี้ แต่ถ้าให้คาดการณ์ คงจะบอกได้ว่าร่างกายของคุณคงจะมีกลไกการตอบสนองบางอย่างที่เป็นอัตโนมัติกับกระบวนการทางจิตของคุณนั่นเอง มิใช่เป็นอาการที่เกิดจากกำลังของธาตุแต่อย่างใด หากตอนนี้ถ้าจะหลีกเลี่ยงอาการดังกล่าว ควรจะค่อยๆ ฝึกการรวมธาตุอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ร่างกายเกิดความคุ้นเคยมากขึ้น หลังจากนั้น เมื่อมีความเคยชินไปเรื่อยๆแล้ว ปฏิกิริยาต่างๆ ทางร่างกายก็อาจจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆก็ได้ ที่สำคัญเบื้องต้นอย่าหักโหมไว้เป็นดีที่สุด

    สำหรับเรื่องของการควบคุมสมดุลของธาตุในขณะปฏิบัติการรวมธาตุที่ผมกล่าวไว้นั้น ใช้สำหรับการรวมธาตุในระดับอัปปนาสมาธิ นั่นคือการฝึกการใช้หรือควบคุมกำลังของธาตุอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งการรวมธาตุในระดับนี้นั้น กำลังของแต่ละธาตุจะมีปรากฏขึ้นมาอย่างเต็มที่ หากความสามารถในการควบคุมสมดุลของแต่ละธาตุมีไม่เพียงพอหรือทำการควบคุมได้ไม่ดี ก็จะเกิดเป็นอันตรายได้

    สำหรับการรวมธาตุในระดับอัปปนาสมาธิและการควบคุมสมดุลของธาตุจะเป็นอย่างไร แบบไหน ผมยังไม่ขอกล่าวถึง เนื่องจากจะเกินขอบเขตของกระทู้นี้ไป

    ---------------------------------------------------------------
    ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ผมมีเรื่องอยากจะคุยกับคุณ Supop อีกอย่างหนึ่ง คือเห็นว่าคุณ Supop น่าจะมีความชอบในเรื่องสมถะและเรื่องฤทธิ์อยู่มาก สิ่งที่อยากจะคุยกันก็คือ การฝึกปฏิบัติทุกอย่างเป็นสิทธิ์ของคุณโดยชอบธรรมที่จะฝึกไปถึงขั้นใด จะเป็นขั้นโลกีย์หรือขั้นโลกุตร คุณเองเป็นผู้ตัดสินใจ ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น ดังนั้น ถ้าชอบอะไรก็ไปให้ถึงที่สุดเถอะครับ

    อย่าได้ไปกังวลใจเรื่องการติดสมถะหรือการติดฤทธิ์ แต่ถ้าจะติดสมถะหรือติดฤทธิ์ ก็ถือว่าติดดี ไม่มีอะไรเสียหาย อันว่าเรื่องฤทธิ์นั้นเป็นของดี ถึงแม้ว่าจะไม่ทำให้บรรลุมรรค ผล แต่ก็สามารถใช้เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องช่วย นำไปสู่การบรรลุมรรค ผลได้ในที่สุด

    การรู้จักใช้สมถะ การรู้จักใช้ฤทธิ์ อย่างนี้ เรียกว่า มีความฉลาดในการปฏิบัติ

    เรื่องของการรวมธาตุ การควบคุมธาตุ ก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดมรรค ผล ใดๆ แต่ก็สามารถเอาไปต่อยอดทั้งในทางสมถะและวิปัสสนาได้เป็นอย่างดี อันว่ากรรมฐานทั้ง 40 นั้น การฝึกปฏิบัติไม่มีอะไรสูญเปล่า หากรู้จักการประยุกต์ พลิกแพลง ดัดแปลง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

    แบบนี้เรียกว่า มีความฉลาดในการปฏิบัติเช่นเดียวกัน

    การรวมธาตุ สามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้กับการเฝ้ามองดูตัวรู้ เพื่อการทำความเข้าใจกับสภาวะความเป็นจริงของธรรมชาติ ก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร และที่สำคัญการรวมธาตุเป็นการได้ฝึกทั้งสมถะและวิปัสสนาไปในตัว (ถ้าหากประสงค์จะทำ) ตรงนี้ได้ประโยชน์ทั้งสองทาง และข้อได้เปรียบอย่างมากประการหนึ่งคือ จิตที่ผ่านสมถะมาก่อนนั้น มีกำลังมาก การจะพิจารณาความเป็นไปอย่างใด เรื่องใด มักจะเกิดผลอันพึงมี พึงได้ชัดเจนกว่าธรรมดามาก และสามารถใช้เพื่อการพัฒนาสติ ให้เกิดเป็นมหาสติ และตามรู้การเปลี่ยนแปลงของแต่ละธาตุได้เองต่อไป ซึ่งหากจะนำไปต่อยอดในทางการพิจารณาขันธ์ 5 หรือการวิปัสสนาอย่างอื่นๆ ก็ไม่เป็นเรื่องยากลำบากมากนัก ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ฝึกปฏิบัติจะมีความประสงค์ในทางนี้หรือไม่นั่นเอง

    คุณ Supop ผ่านเหตุการณ์การโดนหลอกจนเกือบตายมาแล้ว จำได้หรือไม่ว่า หนักหนาสาหัสเพียงใด ผมอยากจะบอกว่าผมเข้าใจคุณ เพราะผมก็เคยผ่านเรื่องอย่างนี้มาก่อน ผู้ที่ผ่านเหตุการณ์แบบนี้มา นั้น มีทางสองทาง หนึ่งคือตาย ก็จบกัน สองคือรอดตาย ก็สามารถไปต่อได้เรื่อยๆ การที่คุณรอดมาได้ถือว่าได้ประสบการณ์ดีๆมามาก เพียงพอที่จะนำมาพิจารณาแล้วว่า ที่ผ่านมามีข้อผิดพลาดตรงจุดใด และจะแก้ไขอย่างไร เพื่อให้เกิดการพัฒนายิ่งๆขึ้นต่อไป ตรงจุดนี้เรียกว่าเป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ทำอย่างนี้ได้ เชื่อว่าคุณคงจะทราบเองว่า ตัวคุณจะเดินไปในทางสายใดต่อไป จะเป็นสายโลกีย์หรือสายโลกุตร ก็เป็นเรื่องที่คุณจะต้องตัดสินใจเอง

    ดังนั้น สิ่งที่อยากจะบอกก็คือ ถ้าชอบสมถะ ถ้าชอบฤทธิ์ ก็ไม่เป็นไร จริตเป็นอย่างนี้ ก็ไปตามทางที่ถนัด ไม่ต้องกังวลใจไปเรื่องการติดสมถะหรือว่าการติดฤทธิ์ ขอเพียงให้มีความฉลาดในการปฏิบัติและรู้จักการประยุกต์ พลิกแพลงและดัดแปลงบ้าง สิ่งที่ประสงค์ก็จะสำเร็จได้อย่างแน่นอน

    เข้ามาคุยกันตามประสาคนความรู้น้อย ด้อยปัญญา การปฏิบัติก็ยังไม่ได้เรื่อง ไม่ได้ราว ก็ขอคุยเป็นการคั่นเวลาก่อน รอท่านต่อไปจะมาให้ความรู้และผมขอถือโอกาสเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเจ้าของกระทู้ด้วยคนนะครับ

    ขอขอบคุณครับ
     
  16. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    คุณ Supop

    มีข้อสังเกตอีกเล็กน้อย ที่อยากจะขอฝากไว้ เป็นการเพิ่มเติม จากที่กล่าวไว้แล้ว ในเรื่องผลเสียหรืออันตรายจากการฝึกการรวมธาตุ ที่พึงต้องระมัดระวังเอาไว้ คือ การฝึกการรวมธาตุเพื่อฝึกซ้อมตามวงรอบหรือเพื่อการใช้กำลังของแต่ละธาตุอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรอย่างหนึ่ง นั้น เมื่อทำเสร็จแล้วหรือเลิกการฝึกในแต่ละครั้งแล้วให้พึงทำการเพิกจากนิมิตหรือการตั้งธาตุนั้นๆ ทุกครั้ง อย่าปล่อยทิ้งให้ค้างคาไว้ จะกลายเป็นสัญญาหลอกตัวของผู้ฝึกเองอยู่ร่ำไป

    ซึ่งหากปล่อยทิ้งให้ค้างคาไว้ โดยไม่ทำการเพิก จนเกิดเป็นปัญหาขึ้นมา ก็จะมีวิธีแก้ไขอยู่เหมือนกัน (ทุกสิ่ง ทุกอย่าง มีการผูก ก็ต้องมีการแก้ เป็นธรรมดา) ส่วนวิธีการแก้ไข จะต้องทำอย่างไร แบบไหน ผมยังไม่ขอกล่าวถึง เนื่องจากจะเกินเลยขอบเขตของกระทู้นี้ไป ซึ่งในขั้นตอนนี้ ควรจะใช้วิธีการปฏิบัติอย่างระมัดระวัง เพื่อเป็นการป้องกันสภาพปัญหาไว้ก่อน จะดีกว่าการตามไปแก้ไขปัญหาในภายหลังครับ
     
  17. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    585
    ค่าพลัง:
    +3,151
    ขอบคุณทุกคำแนะนำและคำตักเตือนครับ

    ถึงเวลาสนทนาธรรมตามกาลของผมต่อละ

    ผมเข้าใจในคำเตือนและคำแนะนำของทุกท่านนะครับ


    กลับเรื่องเก่าก่อนสักนิดนึง ผมใช้การทำระบบธาตุหรือการหายใจแบบละเอียดก็เนื่องด้วย ปัจจุบันนี้ผมมีโรคภัยไข้เจ็บรุมเร้ามาก ผมใช้เพื่อการประครองชีวิตครับ ไม่ได้จะให้เกิดฤทธิ์เดชอันใด ณ.ปัจจุบันนี้นะครับ และการไปรู้เห็นในระบบธาตุนั้นมันก็รู้เอง และผมเองก็เป็นพวกใฝ่รู้ ผมจึงทำและศึกษาไปเรื่อยๆ แต่การทำเช่นนี้มันก็ทำให้ผมพัฒนาในทางด้านสมาธิโดยลำดับไปเท่านั้นครับ

    ส่วนเรื่องที่คุณ NICKAZ แนะนำนั้น การเพิกนิมิตนั้นใช่แบบนี้มั้ยครับ เมื่อผมรวมธาตุได้แล้วนั้น ที่ผมเห็นจะเป็นรูปโลก ผมจะทำอารมณ์อยู่ตรงนั้นสักพักแล้วจึง รวมแบบบีบอัดเข้ามาจนกลายเป็นเหมือนคล้ายเพชร แล้วบีบให้เล็กเข้า แล้วนำมารวมข้างในดวงจิตที่ผมกำหนดไว้ในกายอีกที แล้วมันจะเกิดพลังขยายออกไปแล้วทุกอย่างก็จะวูบหายไปหมด แบบสภาวะดับหรือตัดความรู้สึกทั้งหมดนั่นแหละครับ แล้วผมก็จะประครองอารมณ์ในอานาปาณสติอีกสักพักแล้วจึงออก ใช่อย่างนี้มั้ยครับ

    และการเข้าอัปปนาสมาธินั้น ผมเข้าโดยอานาปาณสติ (และหรือการกำหนดแบบพุ่งจิตบางครั้ง) ครับไม่ได้กำหนดกสิณเข้า เพราะผมชอบความมีสติสมบูรณ์และความละเอียดของอานาปาณสติมากกว่า

    และถ้าเช่นนั้นผมขอเว้นเรื่องนี้ไว้ก่อน ขออนุญาติสนทนาในทางเอกบ้าง

    สิ่งที่ผมได้รู้มานั้นจะใช่เช่นนี้หรือไม่ขออนุญาติให้คำแนะนำด้วยครับ

    ผมพอจะเห็นเหตุแล้วว่า การเกิดกิเลสต่างๆ หรือการเกิดภพนั้น ล้วนมาจากอุปทานทั้งสิ้น เคยมีคุณ สับสนและท่านอื่นๆ แนะนำในเรื่อง อุปทานขันธ์ห้ากับผมอยู่ แต่ตอนนั้นผมไม่ได้คิดถึงหรือคำนึงถึงมาก่อน แต่ตอนนี้อยู่ๆก็มารู้ และขยายออกไปอีก เพราะจิตเรามีเป้าหมายเราจึงไป เพราะจิตเรามีความยึดโยงอยู่เราจึงผูกติดกับมัน เมื่อไม่ได้หรือถูกขัดขวางหรือได้สมใจตามที่จิตเราผูกติดอยู่จึงเกิดสภาวะต่างๆตามมา

    การเดินทางถ้าไม่เจอข้อหนึ่งก็ไม่เห็นข้อสอง เช่นกันการเข้าสู่ระดับพระอริยะ ถ้ายังไม่เห็นข้อหนึ่งข้อสองก็จะหาไม่เจอ แต่เมื่อถึงข้อสามเมื่อไหร่ หนทางนี้เราจะเดินได้ถูกต้องแน่นอน ไม่ไขว้เขวไปไหนอีกแล้ว เมื่อละสักกายทิฐิได้แล้ว ชาติภพจากกรรมใหม่จะไม่มีเกิดอีกแล้ว เพราะหยุดการสร้างชาติภพใหม่แล้ว ที่เหลือจะมีแต่ชาติภพจากของเก่า และการทำต่อไปจากนี้คือการขจัดสิ่งที่ตกค้างอยู่ให้หมดจดเท่านั้น

    และจากการที่ผมจับอารมณ์มาอยู่บ้าง ก็เห็นได้ว่า อารมณ์ใจ เมื่อเกิดแล้วจะดับได้โดย สามแบบนี้ คือ

    ๑ การบังคับดับ โดยวิธีใดก็แล้วแต่
    ๒ การดับไปเอง ตามธรรมชาติของจิตที่ไม่มีความแน่นอนในการยึดเกาะ
    ๓ การสนองต่ออารมณ์นั้นๆให้เสร็จสิ้น อารมณ์นั้นๆจึงดับ

    ในแบบวิธีที่หนึ่งที่ผมเห็นนี้ ทำมากๆบ่อยๆจะเป็นการสะสมให้อารมณ์นั้นๆมีกำลังมากขึ้น และมันจะระเบิดออกโดยไม่คาดหมายได้ (เพราะสติยังไม่แกร่งพอ) เมื่อมีการกระตุ้นในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์นั้นๆ

    ในแบบสองต้องมีสติ (ใช้เพื่อให้เห็นอารมณ์นั้นๆโดยชัดเจน) ที่จะทันเห็นอารมณ์นั้นๆ และใช้ขันติเพื่อให้มีการอดทนต่ออารมณ์นั้นๆได้ในการพิจารณาในอารมณ์นั้นๆ จนอารมณ์นั้นๆดับไป

    ส่วนแบบที่สามนี้ จะทำให้จิตเรายิ่งยึดติดในอารมณ์นั้นๆมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นเหมือนดั่งผู้เพ่งกสิณใดกสิณหนึ่งประมาณนั้น จิตเราจะใฝ่หาและกระทำแต่สิ่งนั้นๆ จนเป็นนิสัย และจะยิ่งหลุดออกได้ยาก ตามการยึดติดของเรา

    ขอเอาไว้แค่นี้ก่อน และก็ขออภัยที่นำสิ่งที่ท่านอื่นรู้อยู่แล้วมาเล่า เพราะผมเองก็เพิ่งจะรู้และเข้าใจครับ และมีสิ่งใดที่ผิดไปจากพระธรรม หรือมีอะไรเพิ่มเติมก็ขอคำแนะนำด้วยครับ

    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมครับ
     
  18. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    หากมันแบ่งเป็นสาม ตรงนี้แปลว่า ที่ปรารภว่าเห็น อุปทานขันธ์ สงสัย จะเป็น
    การ ปรารภหนทางในการเฝ้น

    เพราะ หากเห็นอุปทานขันธ์ จะไม่แบ่งเป็น 3

    เพราะ ยิ่งไปแบ่งเป็น 3 สังเกตเลย เรื่องมันจะยาวขึ้น เนี่ยะ หน้าที่ของมันเลย
    ที่จะทำให้ เรื่องมันยาวขึ้น

    ทีนี้ มันมีบางข้อความสื่อให้เห็นได้อยู่ว่า เริ่มแตะๆ คือ ตรงปรารภ " ขันติ "

    หากไม่ได้ ลักจำมาจากไหน แต่ เป็นการยื้อด้วยจิตในลักษณะ ขันติ เข้าสู้ ตรง
    นี้มันเป็นเรื่อง กำลังใจ เรื่องบารมี ตัวนี้เป็น ตัวช่วย บุญที่เคยทำไว้แต่ครั้ง
    กระโน้นมันมาเป็นปัจจัยช่วย อย่าไปอินนะ ต้องไม่ลืมว่า มันเป็น " ของเก่า "

    ขันติหากทำหน้าที่ได้ถูกต้อง มันจะมองลงไปเห็นว่า เอ้ย ไม่ต้องทำอะไรแล้ว
    นี่หว่า ของมันทำมาหมดแล้ว ทุกอย่างเลย ไม่ว่าจะไอ้นั่น ไอ้นี่ ที่เขาว่าดี ว่า
    เลิศ

    แต่ถ้า ขันติทำหน้าที่ไม่ถูกต้อง มันจะคว้านู้นคว้านี้มาทำอีก อันนี้ ขันแตก ไม่ใช่ขันติ

    ทีนี้ ก็อย่าลืมว่า ขันติ เป็นเพียง บรมธรรม ที่ช่วยให้ " ยืนได้ " ชั่วครั้งชั่วคราว

    เราต้อง ยกเห็น การยืนได้ชั่วครั้งชั่วคราว นั้นแหละเป็น " สัญญา " ที่อาศัยระลึก
    มันถึงจะ พ้นอุปทานขันธ์ได้ เพราะ เราไม่ได้ยึด ที่ไม่ยึด เพราะ อาศัยระลึกเท่า
    นั้น ........... ตรงนี้กว่าจะ ศรัทธาลงมา กว่าจะ อ๋อ พระพุทธองค์ทรงให้อุบาย
    ในการออกโดยการเสพให้มากๆ ซึ่ง สุญญตา เนี่ยะ มันเป็นยังไง

    หากเห็นได้ชัดนะ เรื่องธ๊งเรืองธาตุหนะ จะย้อนมาตบกระบานตัวเองเลยหละ ทำไม...แท้ๆ น๊อ

    แล้วหากตบกบาลแล้วนะ แต่ ยังปลิ้นไปทำอีก อันนี้มันจะชัดขึ้นมาเลยว่า เวรกรรม ไง เวรกรรม
    มันเล่นเอา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2012
  19. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    เอาทางนี้กันก่อนดีกว่า

    ถ้าเจ้าของกระทู้กำลังไม่สบายอยู่ล่ะก็ ทางนี้น่าจะเหมาะสมกว่า

    อันว่าอารมณ์ใจนั้น เท่าที่เฝ้าสังเกตดู มักจะพบอยู่ว่า ลำพังตัวของจิตเองนั้น ไม่ได้มี ไม่ได้เป็นอะไร ไม่มีดี ไม่มีชั่ว ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข แต่เมื่อมีอารมณ์เข้ามากระทบจิต เวทนาก็เกิดทันที ถ้ายังไม่มีอารมณ์มากระทบ เวทนาก็ยังไม่เกิด

    การจะฝึกการดับอารมณ์ของจิต ไม่ว่าจะเป็นไปในรูปแบบใด ถ้าจะสามารถฝึกสติให้ตั้งมั่นอยู่ที่ฐานที่กำหนดไว้อยู่ได้บ่อยๆ เนืองๆ จนสามารถทำให้สติเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย เมื่อสติเกิด ก็จะค่อยๆ ปล่อยวางความยึดมั่น ถือมั่นในความรู้สึกพอใจ หรือไม่พอใจ ทั้งหลายได้

    ดังนั้น ฐานที่ตั้งของสติจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำให้เกิดมีขึ้น เพื่อไว้เป็นที่สำหรับใช้ให้จิตเข้าไปตั้งอยู่ในนั้นได้โดยสะดวก

    อาจจะพิจารณาใช้จุดที่ลมหายใจกระทบภายในช่องจมูก เพียงจุดเล็กๆ จุดเดียว เป็นฐานที่ตั้งสำหรับการปฏิบัติก็ได้

    ตรงนี้ การกำหนดรู้ลมหายใจ โดยอานาปนสติกรรมฐาน น่าจะพอเป็นตัวช่วย สำหรับ คุณ Supop ได้อย่างเหมาะสม พอเหมาะ พอเจาะอย่างดียิ่ง

    การกระทำอย่างนี้ นอกจากจะสามารถค่อยเป็น ค่อยไป ที่จะดับอารมณ์ใจแล้ว ยังจะได้ความเป็นสมาธิของจิตอีกด้วย

    เพราะเมื่อมีความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจเกิดขึ้น ถ้าสามารถยกจิตออกจากความรู้สึกนั้นๆ ให้เข้าไปที่ฐานที่ตั้งของสติ และประคองไว้ไม่ให้จิตเล็ดลอดออกไปสู่ความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจอื่นๆอีก อันเป็นเหตุให้จิตเกิดความวุ่นวาย กระสับกระส่ายได้อีกต่อไป หากทำอย่างนี้ไปได้เรื่อยๆ จิตก็จะมีโอกาสรวมเป็นสมาธิสงบจนถึงที่สุดได้เหมือนกัน

    เป็นทางก่อให้เกิดฌานสมาบัติได้ทางหนึ่ง

    ที่สำคัญ การที่จะปล่อยวางความรู้สึกต่างๆ ได้ดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับความคล่องแคล่วในการยกจิตเข้าไปตั้งไว้ที่ฐานที่ตั้งของสติและทำการประคองเอาไว้ให้ดีแค่นั้นเอง อันนี้เป็นกระบวนการทางวิปัสสนา

    การพยายามประคองจิตเอาไว้กับฐานนั้น จำเป็นต้องใช้กำลังของสมถะ หากไม่มีกำลังของสมถะประคองไว้แล้ว การปรุงแต่งต่างๆ ทางอารมณ์ก็จะผลักดันจิตออกมานอกฐานที่ได้กำหนดไว้

    ดังนั้น จึงพบว่าในทางปฏิบิติจะต้องใช้ทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันอยู่เสมอ นั่นเอง

    จะเห็นว่าการดับอารมณ์ใจเป็นการชั่วคราวนั้น ก็ไม่ใช่ของยากจนเกินวิสัยจนเกินไปนัก หากมีความพยายาม

    สำหรับคราวหน้า ถ้ามีโอกาสเหมาะสม จะได้คุยกันถึงเรื่องของการรวมธาตุ การควบคุมธาตุ ที่จะมาใช้ประยุกต์ในทางการพัฒนาการรับรู้ของสติ เพื่อให้เกิดเป็นมหาสติ ในการฝึกความคล่องตัวของตัวรู้ เพื่อจะได้นำไปต่อยอดในการเจริญสติต่อไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2012
  20. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    ลืมไป อีกเรื่องหนึ่งที่ถามมา อันว่าการฝึกการรวมธาตุ แล้วต้องการเพิกการรวมนั้นๆ จะทำอย่างที่เล่ามาก็ได้ครับ เพราะมีจุดสังเกตที่ความรู้สึกทุกอย่างวูบหายไปหมด ถ้าเป็นอย่างนี้ถือว่าใช้ได้ (ในระดับอุปจารสมาธิเท่านั้นนะครับ)

    สำหรับการรวมธาตุ ไม่จำเป็นต้องใช้กสิณ ใช้อานาปนสติก็ได้ ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับวิธีการ เพราะในทางปฏิบัติจริงๆแล้ว มีหนทางอยู่เป็นร้อย เป็นพัน วิธีการ ที่เป็นวิธีการย่อยๆ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ปฏิบัติจะชอบใจ จะถนัดในวิธีการแบบใด ไม่มีสูตรตายตัวครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...