จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. Patcharawan

    Patcharawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +3,980
    กราบอนุโมทนาบุญกับจิตบุญดวงที่๑๑๘และพระอาจารย์ด้วยค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  2. watjojoj

    watjojoj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +9,793

    บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กินอย่างไรให้ปลอดภัย ไร้โรคา


    "ใครไม่เคยทาน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยกมือขึ้น?" ..................

    ถ้าจะมีคนยกมือตอบว่า ไม่เค้ย ไม่เคย ก็สงสัยว่าจะเป็นเด็กเล็กที่ยังทานอาหารเส้นไม่เป็นซะล่ะมากกว่า โดยเฉพาะในยุคที่เศรษฐกิจตกสะเก็ดแบบทุกวันนี้ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาจจะกำลังกลายเป็น อาหารประจำวันของใครหลาย ๆ คน เชื่อหรือไม่ คนไทยกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปีละกว่า 2 พันล้านซอง เฉลี่ยวันละ 8 ล้านซอง (ตุลาคม 2550) ปัญหาไม่ได้จบลงแค่นั้น ที่สำคัญก็คือคนไทยชอบกินเปล่า ๆ แบบว่า ฉีกซองเครื่องปรุง กดน้ำร้อน ปิดฝาสองนาที ซวบ ซวบ จบ นานวันเข้าก็เกิดอาการ ขาดสารอาหาร อ้วน ความดันสูง ไตเสื่อม (อ้วน.. แต่ขาดสารอาหาร??? มันยังไงกัน)

    บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปส่วนใหญ่ประกอบด้วยแป้งสาลี 60-70% ไขมันในเครื่องปรุง 15-20% ที่เหลือเป็นเกลือ และผงชูรส ถ้าเรารับประทาน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากกว่า 1 ซองหรือ 1 ถ้วยต่อวัน เราก็จะได้โซเดียม (ก็เกลือนั้นแหละ) เกินความต้องการของร่างกายต่อวัน ไปถึง 50-100 % ซึ่งจะทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้น และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ประกอบกับส่วนประกอบหลักเป็นแป้ง ถ้าคุณทานแต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ร่างกายก็จะได้รับแต่แป้ง ๆ ๆ สุดท้ายก็อ้วนนะสิ (ข้อมูลจากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล)

    เอาข้อมูลมาจาระไนให้ฟังกันขนาดนี้ ไม่ใช่ว่าจะมาชวนก่อม๊อบรณรงค์ ให้เลิกกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ประเด็นอยู่ตรงที่ไหน ๆ ก็หนีไม่พ้น ก็หันมาใส่ใจ เลือกซื้อให้คุ้มค่าที่สุด ก่อนซื้ออ่านฉลากสักนิด ว่าเติมสารไอโอดีน ธาตุเหล็ก และวิตามินเอ รึเปล่า แต่ถ้าจะให้ดีควรเติมไข่ หรือเนื้อสัตว์ และผักทุกครั้งที่ทาน

    วิธีปรุงก็สำคัญไม่แพ้กัน หลาย ๆ คนยอมที่จะต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกิน ด้วยความที่จะได้เส้นที่เหนียวนุ่มน่ากินกว่า แต่ชอบที่จะใช้น้ำในการต้มน้อย ๆ (รสชาติจะได้เข้มข้น) ใส่เครื่องปรุงลงไปตั้งแต่ตอนต้มด้วย เครื่องปรุงจะได้เข้าเนื้อ (ว่าไปนั่น) แต่หารู้ไม่ว่า การต้มแบบนั้นเป็นวิธีการที่ผิดมหันต์ คุณจะได้รับโซเดียม ไปเต็ม ๆ ซึ่งขอเสียได้บอกไปแล้วตั้นแต่ตอนต้น และผงเครื่องปรุง ที่ใส่ลงไปเมื่อโดนความร้อนสูง จะแปรสภาพเป็นสารพิษ ซึ่งส่งผลเสีย ต่อการทำงานของร่างกายอีกต่างหาก

    วิธีการต้มที่ถูกต้องคือ ต้มครั้งแรกด้วยปริมาณน้ำพอสมควร จากนั้นเทน้ำจากการต้มรอบแรกทิ้งไป ใส่น้ำลงไปใหม่ ตั้งไฟให้เดือดอีกครั้ง ใส่ไข่ เนื้อสัตว์และผัก เทใส่ชามจากนั้นจึงค่อย เทเครื่องปรุงใส่ในชาม ซึ่งถ้าจะให้ดี คุณอาจใช้เครื่องปรุงเพียงครึ่งซอง หรือน้อยกว่านั้นก็ได้ อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรรับประทานแต่ บะหมี่สำเร็จรูปอย่างเดียว ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพิ่มเงินอีกนิด สลับไปทานอาหารจานเดียวอย่างอื่นบ้าง อาจจะเป็น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน อาหารไทยมีให้เลือกกินตั้งมากมาย เพื่อสุขภาพในระยะยาว


    มีใครทำแบบนี้มั่งไหมเนี่ย
     
  3. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ขออนุโมทนาสาธุ กับ พี่มาลินี และครูดาวในข้อความข้างต้น ช่าย ช่าย ๆๆๆเลย จิตพี่นีเป็น พุทธะไปแล้ว เพราะแต่ก่อนถึงเพ็ญ2จะรู้จักกับพี่นีมาเป็นเวลาสิบกว่าปีแต่พี่ท่านไม่เคยอวดภูมิธรรมท่านเลย แถมไม่พูดให้ใครฟัง แถมไม่ว่าใคร แถมไม่มีอะไรกับใครๆมีแต่สร้างบุญ สร้างกุศล ไม่เคยท้อ นี้ก็เป็นโอกาสอันดีของเพ็ญ2 ที่ได้รับได้ฟังธรรมของท่านไหลรินออกมาเหมือน นํ้าซับ นํ้าซืม ไม่มีว่าหน้าแล้ง หรือหน้าฝนเสียแล้ว ขอขอบพระคุณครูผู้สอนทุกๆท่านที่ได้สอนจิตเกาะพระและได้นําสิ่งดีๆทั้งหลายเข้ามา แชร์ และได้ให้โอกาสทุกคนได้เรียนรู้ในหลักธรรมคําสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เจริญงอกงาม ได้เป็นอนิสงฆ์ผลบุญของผู้พบเห็น ขอให้ธรรมะของท่านทั้งหลายจงเจริญงอกงามยิ่งๆขื้นด้วยเทอญ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2012
  4. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ธรรมะสวัสดีค่ะ คุณลูกพลัง ถ้าเขาจะมารับเราถึงบ้านแล้ว ดีเลยจะรอที่บ้านค่ะ
    ไม่หนีไปใหนหรอก จะได้เตรียมตัวเตรียมใจตายที่บ้านของเรา หนีให้เหนื่อย
    ทำไม เอาเวลาที่จะหนีนั้นมาทำประโยชน์ให้กับตัวเอง จะนั่งทำสติให้เกิดปัญ
    ญาระลึกย้อนหลังถึงที่ผ่านมาว่าเราได้ทำอะไรดีๆไว้บ้างถ้าเรามีสติและปัญญา
    เราจะเห็นแต่สิ่งที่ดีๆเช่นเห็นว่าตัวเองกำลังไปทำบุญอยู่ มีแต่เทวดามาอนุโมทากับเราเห็นแต่วัดวาอารามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สวยงามนั่นแหล่ะเราจะตายอยู่ที่บ้านเราอย่างสงบสุข. จะถือว่าเป็นการฆ่าตัวตาย
    ไม่ได้. ถ้าตายแบบของดิฉันไม่ตกนรกค่ะ เพราะตายแบบมีสติ และมีปัญญาค่ะ
    แล้วก็จะได้ไปถึงเป้าหมายที่เราหวังไว้ คือไปแล้วไม่มาอีกแน่นอน.สาธุค่ะ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ธันวาคม 2012
  5. Patcharawan

    Patcharawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +3,980
    - ดีไม่ดี อยู่ที่ใจ♥ -

    ดีไม่ดีอยู่ที่ใจเรา
    หัวเราะเมื่ออยากหัวเราะ
    ร้องไห้เมื่ออยากร้องไห้
    และต้องหัวเราะให้ได้หลังร้องไห้ทุกครั้ง!
    อย่าทำอะไรที่ไม่อยากทำ
    จงทำอะไรที่ใจอยากทำ

    ต่อให้ทุกข์ที่สุดก็ต้องผ่านพ้นไปจนได้
    เมื่อเรานั่งมองอดีต เรายังผ่านทุกข์มาได้ตั้งหลายทุกข์
    ในเมื่อชีวิตมันยังมีชีวิต
    ขอแค่อย่าทุกข์ก่อนเจอทุกข์
    หลังทุกข์ อย่าทุกข์อีก
    ให้ทุกข์ แค่ตอนทุกข์
    แล้วทุกข์ที่สุด... ก็จะเป็นทุกข์แค่นี้เอง!

    โดย...พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
     
  6. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ปกิณณกะ
    เหตุต้น - ผลกรรม
    เหตุ และ ผล
    -ได้ขี่ม้ามีพาหนะนั่งคานหาม(หรือมีรถยนต์) -ชาติก่อนซ่อมสะพานทางสัญจร
    -ได้สวมใส่แพรพรรณอันงดงาม -ชาติก่อนถวายจีวรแด่พระสงฆ์
    -มีเสื้อผ้า อาหารบริบูรณ์ -ชาติก่อนเกื้อหนุนข้าวนํ้าแก่คนจน
    -มีความอัตคัด อกอยาก ยากไร้ -ชาติก่อนเฟื้องไพ ไม่ให้ทาน
    -มีบ้านเรือนใหญ่โตโอฬาร -ชาติก่อนสร้างวัด ศาลาพักร้อน
    -มีบุญวาสนา สักการะบริบูรณ์ -ชาติก่อนถวายข้าวสารเข้าวัด
    -เกิดมาสวยสง่า หน้าตาดี -ชาติก่อนถวายดอกไม้สดบูชาพระ
    -เกิดมาปราดเปรื่องด้วยปัญญา -ชาติก่อนหมั่นสวดมนต์ ปฏิบัติภาวนา
    -สามีภรรยาครองคู่กันอยู่ -ชาติก่อนถวายธงคู่ประดับพระ
    -มีพ่อ แม่ อยู่พร้อมหน้า -ชาติก่อนไม่ดูแคลนคนไร้ญาติ
    -ขาดพ่อ ขาดแม่ เป็นกําพร้า -ชาติก่อนพรากชีวิต ยิงนกกา
    -มีลูกหลานมากมายใกล้ชิด -ชาติก่อนช่วยชีวิตปล่อยนกกา
    -ชาตินี้ไม่มีลูก -ชาติก่อนผูกใจเกลียดลูกหลานเขา
    -ชาตินี้มีอายุยั่งยืนนาน -ชาติก่อนทําทานซื้อสัตว์ปล่อยชีวิต
    -ชาตินี้อายุสั้น -ชาติก่อนคร่าชีวิตเขาทั้งหลาย
    -ชาตินี้ขาดสามี เป็นหม้าย -ชาติก่อนทําร้าย เหยียดสามี
    -ชาตินี้ไม่มีเมีย -ชาติก่อนลักลอบล่วงเกินลูกเมียเขา
    -ชาตินี้ต้อยตํ่าเป็นบ่าวไพร่ -ชาติก่อนเนรคุณไม่จริงใจ
    -ชาตินี้มีดวงตาสว่างไสว -ชาติก่อนจุดโคมไฟ ถวายนํ้ามัน
    -ชาตินี้เป็นหนวกใบ้ -ชาติก่อนด่าพ่อ แม่ พูดจาหยาบคาย
    -ชาตินี้หลังโก่ง ค่อมคด -ชาติก่อนยิ้มเยาะนักพรม คนไหว้พระ
    -ชาติ เกิดมาเป็นวัว เป็นควาย -ชาติก่อนเป็นหนี้ไม่จ่ายคืน
    -ชาตินี้ทีสุขภาพดีไร้โรคภัย -ชาติก่อนบริจาคยาช่วยคนไข้
    -ชาตินี้ยากจนไร้ญาติมิตร -ชาติก่อนใจร้ายไม่ลดรา
    -ชาตินี้ถูกวางยาฆ่าให้ตาย -ชาติก่อนกั้นคูดลอง ยาเบื่อปลา
    -ชาตินี้เลี้ยงลูกไม่โตซํ้าขี้โรค -ชาติก่อนจิตพยาบาทฆาตแค้นใครเขา
    -ชาตินี้นัยน์ตาบอดมืดมน -ชาติชอบดูหนังสือหยาบลามก
    -ชาตินี้เกิดมาปากแหว่ง จมูกโหว่ -ชาติก่อนชอบนินทาว่าร้าย พูดไม่ดี
    -ชาตินี้มืองอ ง่อยเปลี้ยเสียแขน ขา -ชาติก่อนตีด่า พ่อแม่ ทําร้ายท่าน
    -ชาตินี้ขาลีบ งอคด โก่งพิการ -ชาติก่อนทําลายสะพานทางสัญจร
    -ชาตินี้มีโรคมากลําบาก กายา -ชาติก่อนเห็นใครวอดวายนึกยินดี
    -ชาตินี้เกิดมาเป็นหมูหมา -ชาติก่อนเจตนาหรอกล่วงคน
    -ชาตินี้ถูกจองจําติดคุก -ชาติก่อนเห็นคนตกทุกข์ อันตรายไม่คิดช่วย
    -ชาตินี้น่าสงสาร ต้องอดตาย -ชาติก่อนเยาะหยันด่าขอทาน
    -ชาติเกิดมารูปชั่ว ตัวดําเตี้ย -ชาติก่อนดูถูกคนรับใช้
    -ชาตินี้อาเจียนเป็นโลหิต -ชาติก่อนใส่ร้ายยุแหย่คน
    -ชาตินี้เป็นโรคเรื้อนแผลเน่าเรื้อรัง -ชาติก่อนทําร้าย ทารุณสัตว์
    -ชาตินี้หูหนวก ไม่ได้ยิน -ชาติก่อนปิดใจ ไม่เชื่อพระธรรมคําสอน
    -ชาตินี้มีกลิ่นตัวแรง น่ารังเกียจ -ชาติก่อนอิจฉาริษยาใครดีเกินหน้าตน
    -ชาตินี้ต้องแขวนคอตายเพื่อใช้กรรม -ชาติก่อนทําผู้อื่นเสียหาย ตนได้ดี
    -ชาตินี้ต้องอ้างว้าง เป็นหม้าย -ชาติก่อนใจร้ายไม่รักลูกเมีย
    -ชาตินี้ต้องเจ็บปวดเพราะไฟไหม้ ฟ้าผ่า -ชาติก่อนตีด่า ใส่ร้ายคนบวชเรียน
    -ชาตินี้ถูกงูกัด เสือกัด ทําร้ายเอา -ชาติก่อนก่อภัยสร้างศัตรู
    -สร้างข่าวลือ ทําลายใครต่อใคร -จะวอดวายต้องตายเพราะถูกวางยา
    -ล่วงเกินลูกเมียเขา -ตัวเจ้าจะขาดคนครองคู่
    -อนุโมทนาร่วมบุญทั่วไป -จะได้ภรรยาสวย สะใภ้ดีเป็นศรีศักดิ์
    -ถวายเงินปิดทองจําลองพระ -จะมียศถาบรรดาศักดิ์
    -เคารพนักปราชญ์ บัณฑิต ผู้อาวุโส -มีวาสนา ปัญญา อายุยืน
    และหวังว่าผู้อ่านทุกๆท่านจะได้รับรู้ เหตุ และผล ตามแต่ เราๆท่านๆ ซื้งได้ทําไว้
    ในอคีดที่เราไม่สามารถล่วงรู้ได้ เว้นแต่ท่านผู้รู้แจ้ง เห็นจริง คือ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้รู้ใน "สามแดนโลกธาตุ" เท่านั้น ขอให้ท่านทุกๆคนจงเป็นผู้ไม่ประมาทด้วยเทอญ.













     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2012
  7. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    พระโพธิญาณเถระ.หลวงปู่ชา สุภทุโท ท่านได้ฝากคำสั่งสอนไว้ว่า.พวกท่านหารู้ไหมว่า
    แท้ที่จริงแล้ว การทำงานนั่นเอง คือ การปฏิบัติธรรม และคือเวทีของการแสดงออกของการ
    ศึกษาธรรม อย่างเป็นรูปเป็นธรรมและสอดคล้องกับธรรมชาติมากที่สุด. การปฏิบัติธรรมกับรูปแบบในการปฏิบัติธรรมเป็นไปคนละอย่าง. บางคนคิดว่าการปฏิบัติธรรมคือ การนุ่งขาว
    ห่มขาวโกนศีรษะ หรือบวชเป็นพระ หรือบวชเป็นชี อยู่ในอารามจำกัดอาหารจำกัดกิริยา.
    การถือปฏิบัติแผกจากคนทั่วไป นี่แหล่ะคือ การปฏิบัติธรรมนอกจากนี้ไป. ไม่ใช่ไม่ผิดหรอกที่เข้าใจเช่นนี้ แต่ก็ไม่ถูกไปเสียทั้งหมดทีเดียว เพราะรูปธรรมของการเดินตามรอย
    บาทของพระศาสดา. มีหลากหลายเป็นอย่างยิ่ง ก็ถ้าการปฏิบัติหมายเป็นการครองผ้ากาสา
    วพัสสตร์ การโกนศีรษะ บวชชี การมีศิลกว่าคนปกติหลายร้อยข้อ ถ้าเช่นนี้จะมีคนสักเท่าไร
    กันที่มีโอกาสในการปฏิบัติธรรม และพุทธธรรมที่มีไว้เพื่อประโยชน์ของคนส่วนน้อยจะมีความหมายอะไร. แท้จริงแล้วการปฏิบัติธรรม กับรูปแบบในการปฏิบัติธรรมไม่เหมือนกันเลย การปฏิบัติและสัมผัดกับธรรม อันเป็นสภาพสงบร่มเย็นเป็นสุข มิได้ถูกจำกัดหรือสงวน
    ลิขสิทธิ์ไว้กับคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะ ทั้งไม่จำเพาะวิธีการให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้โดยเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หากแต่การศึกษา ปฏิบัติ เพื่อเก็บรับซึมซับศานติสุขและอิสรภาพ
    ทางปัญญา ขึ้นอยู่กับอัตวิสัยสมบัติของปัจเจกชนเป็นสำคัญ ทางเดินมีหลากหลาย สุดแต่
    ใครจะเลือกทางที่เหมาะกับตน ถ้าเหตุปัจจัยลงตัว อยางพอดี คนทุกคนก็บรรจบกันที่ โพธิ
    ปัญญาและพระนิพพานอันเป็นบรมสุขเสมอกัน.หลวงปู่ท่านได้บอกพวกเราแล้วว่า การปฏิบัติจะทำได้ทุกเวลาทุกที่ทุกแห่งไม่ว่าเราจะอยู่ในสภาวะการแบบใหนมันอยู่ที่ตัวเราจะ
    ทำหรือไม่ ไม่ต้องเลือกสถานที่ๆบ้านก็ทำได้ไม่ต้องไปแสวงหาวัดนั้นวัดนี้ให้เอาบ้านเรานั่น
    แหล่ะเป็นวัด. ยิ่งคนที่อยู่ต่างประเทศ วัดก็อยู่ไกลบ้านการเดินทางก็ลำบากฝนฟ้าก็ไม่อำ
    นวยไม่เหมือนที่เมืองไทย.ท่านผู้อ่านที่อยู่ประเทศไทยโชคดีที่สุดค่ะขออวยพรให้ท่านผู้
    อ่านที่กำลังจะเริ่มปฏิบัติ และได้ปฏิบัติแล้วมีดวงตาเห็นธรรมโดยทั่วหน้าทุกท่านเทอญ.
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2012
  8. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=j6A9LvVtdoo]อสงไขย - หญิง ธิติกานต์ - YouTube[/ame]​
    ฝากบทเพลง
    ให้กับพวกเราที่หลงมาเกิดในโลกวัฎสงสาร

    ขอเอาใจช่วยผู้ที่กำลังจะออกจากทุกข์(ตนเอง)
    และกำลังจะออกจากการเวียนว่ายตายเกิด ในโลกวัฎสงสารใบนี้
    หรือ
    หนีการเกิด หนีการมีกายหยาบ
    Good luck!​
     
  9. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน ที่รัก พอเขียนธรรมะ ของหลวงปู่ชา ส่งเรียบร้อยแล้ว เจอธรรมะของท่าน ว.วชิรเมธี ในเรื่อง ธรรมในงาน งานในธรรมก็เลยอดไม่ได้ที่จะต้องนำมาเขียน.
    เพราะเป็นเรื่องเดียวกัน. ท่านบอกว่าการศึกษาปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องของการทำงาน เป็นเรื่องของการใช้ชีวิต เป็นเรื่องของคนทั่วไปในสังคมที่โลดแล่นอยู่ในโลกอันแสนวุ่นวายยุ่ง
    เหยิง ชีวิตกับงานและการปฏิบัติจึงมิอาจแยกจากกัน. หากจับหลักได้ อยู่ที่ใหนก็ศึกษาธรรมและ ปฏิบัติธรรมได้จนกระทั่งสามารถบรรลุธรรมได้โดยไม่ต้องกังขา ปรัชญาที่ว่ามีธรรมอยู่ในงานและมีงานอยู่ในธรรมนี้ ท่านพุทธภิกขุสรุปไว้สั้นๆว่า. การทำงานคือการปฏิบัติธรรม.ขอมอบธรรมะนี้เป็นธรรมทานแด่ท่านผู้อ่าทุกท่านค่ะสาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2012
  10. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ใกล้แล้ว..ใกล้แล้ว!
    ลมหายใจของเราลดน้อยถอยลงไปทุกที
    วันนี้จะขอเอ่ยธรรมอันเป็นมหามงคลยิ่ง สำหรับอริยบุคคล
    แต่สำหรับ ปุถุชนหรือคนธรรมดานั้น พวกเขาจะถือว่า อัปมงคลยิ่ง
    นั่นก็คือ "ความตาย"

    เพราะทุกคนก็ทราบดีกันอยู่แล้วว่า..ความตาย เป็นธรรมที่เที่ยงแท้แน่นอน
    ไม่มีผู้ใดเกิดมาแล้ว ไม่ตาย
    แต่จะตายอย่างไร ตายตอนไหน ไม่สำคัญ เพราะตายแน่นอน

    แต่ความตายสำคัญอยู่ที่ว่า ตายแล้วไปไหน
    เพราะตายแล้วจุติทันที ยกเว้น ตายก่อนอายุขัย
    ตายนอกบ้าน ตายในบ้าน จึงไม่ใช่เรื่องสำคัญนัก
    แต่สำคัญตรงที่ว่า
    ในขณะตายนั้น จิตส่งออกนอก หรือ จิตส่งเข้าใน
    แต่ถ้าตายในขณะจิตที่ส่งออกนอก
    อันนี้ไม่ดีแน่นอน เพราะจิตเสี่ยงตกไปอยู่ในแดน อบายภูมิ หรือ ทุคติภูมิ
    แต่ถ้าตายในขณะที่จิตส่งเข้าใน
    ซึ่งจะมีอยู่สองนัยยะว่า ถ้าตายในจิตขณะที่จิตส่งเข้าใน แต่จิตไปหลงนิมิตที่เป็นอกุศลก็แย่
    แต่ถ้าจิตในขณะที่ทรงอารมณ์ของพระพุทธเจ้า หรือ พระนิพพาน
    อันนี้ดีมาก
    หรือ
    ถ้าจิตผู้ใดยังไม่ยก ตายในขณะที่จิตทรงฌาน จิตก็จะจุติพรหม ไม่ชั้นใดก็ชั้นหนึ่ง
    แต่ถ้าจิตผู้ใด ตายในขณะที่จิตต่ำกว่าฌาน ก็ขึ้นอยู่กับศีลธรรม
    จิตก็จะจุติไปตามกำลังใจ(บุญหรือบารมีของตนเอง)
    หรือแดนสวรรค์(มนุษย์ภูมิ เทวภูมิ พรหมภูมิ) หรือ สุคติภูมิ

    หรือเรียกง่ายๆว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

    เพราะฉะนั้น
    ถ้าใครไม่อยากให้จิตไปจุติตามยถากรรม
    เราก็ต้องกำหนดจิตไปจุติตามกรรมที่เราพึงกระทำอยู่ในปัจจุบันนี้
    นั่นก็คือ ยกจิตก่อนสิ้นอายุขัย

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 ธันวาคม 2012
  11. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    อุปกิเลส 16 ประการ (อย่างย่อ)


    อุปกิเลส ๑๖ ข้อ 

    พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวรฯ 
    ลงพิมพ์ในหนังสือแสงส่องใจ 
    ๓ ตุลาคม ๒๕๒๙


    ๐ แสงส่องใจ คือแสงที่ส่องให้ใจสว่าง และไม่มีแสงใดที่จะส่องใจให้สว่างได้ นอกจากแสงคือธรรมของพระพุทธเจ้า ธรรมของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะส่องใจให้สว่างได้ เพราะธรรมของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะอบรมให้ยิ่งปัญญารู้วิธีคุ้มครองใจมิให้ความมืดมนเข้าปกคลุมใจ ให้ไม่ปรากฏความบริสุทธิ์ประภัสสร 

    จิตทุกดวงมีธรรมชาติบริสุทธิ์ประภัสสร คือจิตทุกดวงมีความบริสุทธิ์เกิดขึ้นเองตามวิสัยของโลก แต่เศร้าหมองไปเพราะอุปกิเลสจรมาบัง ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกั้นอุปกิเลสให้พ้นจากจิตได้ ยังความบริสุทธิ์ประภัสสรออันเป็นธรรมชาติของจิตให้ปรากฏได้ ธรรมของพระพุทธเจ้าจึงวิเศษแท้ ไม่มีอื่นเสมอ 

    อุปกิเลสคือโทษเครื่องเศร้าหมอง ๑๖ อย่างนั้น เกิดจากความคิดปรุงแต่ง หยุดความคิดปรุงแต่งได้เพียงไร ย่อมยังความเศร้าหมองมิให้บดบังความประภัสสรแห่งจิตได้เพียงนั้น 

      

    อภิชฌาวิสมโลภะ อุปกิเลสข้อ ๑
    ท่านแปลว่า “ความละโมบไม่สม่ำเสมอ คือความเพ่งเล็ง”

    อธิบายขยายความได้ดังนี้ เมื่อเพ่งเล็งสิ่งใดเป็นที่ชอบใจก็เกิดความละโมบในสิ่งนั้นและก็เกิดความเพ่งเล็งเรื่อยไป มิได้เพ่งเล็งเฉพาะสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น ความละโมบจึงเกิดได้เรื่อยไป เปลี่ยนแปลงสิ่งที่ละโมบอยากได้เรื่อยไป ไม่สม่ำเสมออยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว 

    อุปกิเลสข้อ อภิชฌาวิสมโลภะ เกิดจากความคิดปรุงแต่งเห็นสิ่งใดได้ยินได้รู้เกี่ยวกับสิ่งใดแม้คิดปรุงแต่งว่าเป็นสิ่งสวยงามน่าใคร่น่าปรารถนา ความพ่งเล็ง คืออภิชฌาวิสมโลภะก็จะเกิดขึ้นเรื่อยไป เปลี่ยนความเพ่งเล็งจากสิ่งนี้ ไปสิ่งนั้น ไปสิ่งโน้น เรื่อยไป 

     โทสะ อุปกิเลสข้อ ๒ ท่านแปลว่า “ความร้ายกาจ” 

    โทสะนั้นแรงกว่าโกธะความโกรธ โทสะเกิดได้จากความคิดปรุงแต่งเช่นเดียวกับอุปกิเลสทุกข้อ ผู้ไม่พิจารณาจึงไม่เห็นว่า โทสะนั้นไม่เกิดขึ้นเอง จะเกิดก็ต่อเมื่อมีการคิดปรุงแต่งและต้องเป็นการคิดปรุงแต่งเพื่อให้เกิดโทสะด้วย โทสะจึงจะเกิด ถ้าเป็นการคิดปรุงแต่งไปในทางอื่น เช่นคิดปรุงแต่งให้โลภ โทสะก็จะไม่เกิดจากความคิดปรุงแต่งนั้นโดยตรง 

    โทสะเกิดจากความคิดปรุงแต่ง ถ้าไม่คิดปรุงแต่งเมื่อได้ยินเสียงหรือได้เห็นรูปเป็นต้นว่า เป็นเสียงนินทาว่าร้ายเรารุนแรงหรือเป็นการแสดงการดูถูกก้าวร้าวเรา โทสะจักไม่เกิด ผู้มีปัญญาเห็นโทษของโทสะ จึงทำสติเมื่อได้ยินเสียงหรือได้เห็นรูปเป็นต้น ไม่คิดปรุงแต่งเกี่ยวกับเสียงกับรูปนั้นให้วุ่นวาย จนก่อให้เกิดโทสะ 

    เมื่อโทสะเกิด ความมืดมิดต้องเกิด ที่ท่านกล่าวว่าโกรธจนหน้ามืดก็คือโทสะนี้เองเกิด หน้ามืดก็คือตาใจมืด ทำให้ไม่เห็นอะไรทั้งสิ้น ไม่เห็นผิดชอบชั่วดี ไม่เห็นความควรไม่ควรทั้งหลาย เรียกว่าเป็นความเศร้าหมองอย่างยิ่ง บดบังความบริสุทธิ์ประภัสสรได้อย่างยิ่ง สามารถทำจิตใจที่ประภัสสรดูราวกับไม่มีความประภัสสรอยู่ในตัวเลย กลายเป็นจิตที่มืดมัวเพราะความประภัสสรไม่อาจปรากฏให้เห็นได้ 

    ผู้มีปัญญาปรารถนาจะนำความประภัสสรแห่งจิตให้ปรากฏเจิดจ้า จึงพยายามทำสติอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อจะดูหรือจะฟังสิ่งใดเรื่องใด เพื่อว่าสติจะได้ควบคุมความคิดปรุงแต่งไม่ให้เกิดอุปกิเลสข้อโทสะนี้เป็นสำคัญ 

     โกธะ อุปกิเลสข้อ ๓ ท่านแปลว่า “โกรธ” 

    รุนแรงน้อยกว่าโทสะ โกรธเป็นเพียงความเคืองหรือขุ่นเคืองเท่านั้น และก็เช่นเดียวกับอุปกิเลสทุกข้อ เช่นเดียวกับความทุกข์ทั้งปวง ความโกรธเกิดจากความคิดปรุงแต่ง ขณะใดไม่มีความคิดปรุงแต่งยั่วยุตนเองให้โกรธ ขณะนั้นความโกรธจักไม่เกิด

    ดังนั้น เมื่อเกิดความโกรธขึ้นในผู้ใด หรือเกี่ยวข้องกับเรื่องใดสิ่งใด พึงมีสติรู้ว่าตนเองเป็นผู้คิดปรุงแต่งให้ความโกรธนั้นเกิดขึ้น ผู้ผิดที่แท้จริงที่ทำให้ตนโกรธจึงหาใช่ใครอื่น เป็นตัวของตัวเองแท้ๆ 

    เมตตากำจัดโทสะและความโกรธได้ จึงกำจัดความผูกโกรธได้ด้วย

     อุปนาหะ อุปกิเลสข้อ ๔ ท่านแปลว่า “ผูกโกรธไว้” 

    มีความหมายตรงไปตรงมาว่า ไม่ยอมเลิกโกรธ เก็บความโกรธฝังไว้ในใจนานๆ กาลเวลาผ่านไปแล้วเหตุที่ทำให้คิดปรุงแต่งจนเกิดความโกรธก็ล่วงเลยไปแล้ว แต่ยังจดจำนำไปคิดปรุงแต่งให้กลับเกิดความโกรธในเรื่องเดิมสิ่งเดิมได้อีก แล้วให้ความร้อนแก่ตนเองไม่รู้สิ้นสุด ยังหมอกควันให้ปกปิดความประภัสสรแห่งจิตตนไว้ด้วยความเบาปัญญา จึงไม่รู้ว่าจิตอันประภัสสรของตนนั้นมีค่านัก หาควรสร้างความคิดปรุงแต่งใดๆ ให้เป็นหมอกมัวมาปกปิดเสียไม่ 

    ไฟสุมขอนมีความร้อนกรุ่นอยู่ตลอดเวลาเป็นเช่นไร ความผูกโกรธไว้ก็เป็นเช่นนั้น เผารุมร้อนกรุ่นอยู่เช่นนั้น แตกต่างกันเพียงที่ไฟสุมขอนร้อนอยู่ที่ขอนไม้ แต่ความผูกโกรธร้อนอยู่ในหัวอก 

     มักขะ อุปกิเลสข้อ ๕ ท่านแปลว่า “ลบหลู่คุณท่าน” 

    ลบหลู่ คือดูหมิ่น ดูถูก คุณคือความดี ลบหลู่คุณท่านก็คือ ดูถูกดูหมิ่นความดีของท่านที่ท่านได้ทำแล้ว ในขอบเขตแคบๆ ก็เฉพาะที่ทำแล้วแก่ตน แต่ที่จริงควรหมายให้กว้างขวางจึงจะสมควร คือหมายถึงความดีที่ท่านได้ทำแล้วแก่ผู้ใดก็ตาม 

    ลบหลู่คุณท่านน่าจะหมายถึงลบหลู่คนมีความดีทั้งหลาย ที่ตนได้รู้ได้เห็นความเป็นคนดีของท่านแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความดีต่อผู้ใดแม้ไม่ใช่ต่อตนโดยตรง ผู้ที่รู้เห็นอยู่ว่าท่านมีคุณมีความดีประจักษ์แก่ใจ

    บัณฑิตเพ่งโทษตนเองไม่เพ่งโทษคนอื่น บัณฑิตจึงเป็นผู้ไม่ลบหลู่คุณท่าน เป็นผู้มีปัญญายิ่งขึ้นเป็นลำดับได้ด้วยไม่มีความมืดมัวแห่งอุปกิเลสข้อ ลบหลู่คุณท่านมาพรางไว้ไม่ให้ปรากฏความประภัสสรแห่งจิต 

    อบรมกตัญญูกตเวทิตาธรรมให้อย่างยิ่งจะทำลายอุปกิเลส ข้อลบหลู่คุณท่านได้ 

     ปลาสะ อุปกิเลสข้อ ๖ ท่านแปลว่า “ตีเสมอ คือยกตัวเทียมท่าน”

    ก็เกือบจะทำนองเดียวกับลบหลู่คุณท่านนั่นเอง ผู้ใหญ่ที่มีความดีมากมีวาสนาบารมีสูงย่อมสูงกว่าผู้น้อยที่มีความดีน้อยมีวาสนาบารมีต่ำ ผู้น้อยที่รู้ดีว่าตนมีภาวะฐานะเช่นไรท่านมีภาวะฐานะเช่นไร แต่ก็แสดงออกให้เป็นที่รู้เห็นว่าตนทัดเทียมท่าน เสมอกับท่าน เช่นนี้เป็นการส่อแสดงถึงความคิดที่จะยกตัวที่ต่ำให้สูงโดยไม่ได้ทำคุณงามความดีหรือสร้างวาสนาบารมีเช่นท่านเป็นความคิดปรุงแต่งที่สกปรกเบาปัญญา นำพาให้เกิดอุปกิเลสห่อหุ่มจิตมิให้ความประภัสสรที่มีอยู่ปรากฏออกสว่างไสวได้ 

    อันความลบหลู่คุณท่านก็ตาม ยกตัวเทียมท่านก็ตาม นอกจากจะเกิดจากความคิดปรุงแต่งที่ชั่วที่ไม่ดีที่ต่ำสกปรกจนทำให้เป็นความเศร้าหมองพรางความประภัสสรแห่งจิตไว้ชั้นหนึ่งแล้ว ผู้มีปัญญาทั้งหลายที่รู้เห็นความเป็นผู้ลบหลู่คุณท่านและยกตัวเทียมท่านย่อมตำหนิ
     
    คำของคนอื่นก็ทำให้เกิดผลไม่ได้ ความคิดปรุงแต่งจึงสำคัญที่สุด สร้างอุปกิเลสก็ได้ ทำลายอุปกิเลสก็ได้ ปรารถนาจะได้พบความปรภัสสรแห่งจิตตน จึงต้องระวังความคิดปรุงแต่งให้ดี

     อิสสา อุปกิเลสข้อ ๗ ท่านแปลว่า “ริษยา” 

    คือเห็นเขาได้ดีทนอยู่ไม่ได้ ที่จริงความหมายของคำว่าอิสสาริษยา ก็ให้ความเข้าใจที่ชัดแจ้งอยู่แล้วว่าเป็นความร้อน เพราะมีความหมายว่า “ทนอยู่ไม่ได้” สิ่งที่ต้องทนนั้นถ้าพอทนได้ก็แสดงว่าไม่ร้ายแรง หรือไม่หนักหนานัก 

    ความรู้สึกริษยาจนทนไม่ได้ ต้องให้ความร้อนอย่างยิ่ง และผู้ที่ได้รับความร้อนอย่างยิ่งนั้นก็มิใช่ผู้อื่น เป็นเจ้าตัวผู้มีความริษยาเอง 

    ผู้ที่เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีแล้วเกิดความริษยา คืออิสสา ที่มักเรียกปนกันไปว่า อิจฉานั้น เป็นผู้ที่ขาดเมตตา มีเมตตาไม่พอ โดยเฉพาะแก่ตนเอง เพราะเมื่อความริษยาก่อให้เกิด ความร้อนใจ ผู้ยอมให้ความริษยาเกิดขึ้น ก็เท่ากับทำใจตนให้ร้อน ไม่มีความสุข จึงเท่ากับไม่มีเมตตาต่อตนเองนั่นเอง

    ผู้มีปัญญาจึงพยายามควบคุมความคิดปรุงแต่ง ดับความคิดปรุงแต่ง ที่จะเป็นเหตุให้ความริษยาเกิด ด้วยเมตตาและสันโดษ ผู้มีปัญญารู้จักสันโดษและโทษของความคิดปรุงแต่งเท่านั้น จึงจะได้รู้จักจิตอันแจ่มใสประภัสสร ซึ่งเป็นสมบัติแท้ๆ ของตนที่มีอยู่แล้ว

     มัจฉริยะ อุปกิเลสข้อ ๘ ท่านแปลว่า “ตระหนี่” 

    ไม่คิดให้ดีจะรู้สึกว่าไม่น่าเป็นไปได้ ที่ความตระหนี่จะทำให้เกิดความเศร้าหมองบังความประภัสสรแห่งจิต ตระหนี่เป็นความเหนียวแน่น ไม่อยากให้อะไรใครง่ายๆ จึงไม่น่าจะยังให้เกิดความเศร้าหมอง 

    แต่เมื่อพิจารณาก็ย่อมจะเห็นได้ว่า ความเหนียวแน่นคือความตระหนี่นั้น ก่อนจะเกิดขึ้นก็มีความคิดปรุงแต่งเป็นเหตุ คิดปรุงแต่งว่าสิ่งนั้นดีอย่างนั้น งามอย่างนี้ มีค่าอย่างโน้น น่าหวงน่าเป็นสมบัติส่วนตน น่าเสียดายที่จะให้ตกไปเป็นของผู้อื่น 

     มายา อุปกิเลสข้อ ๙ ท่านแปลว่า “มารยา เจ้าเล่ห์” 

    ความหมายละเอียดว่าแสร้งทำ เล่ห์เหลี่ยม ล่อลวง กล ไม่จริง เพียงมายาหรือมารยาก็ทำให้รู้สึกได้ด้วยกันแล้วว่า เป็นความไม่ดีร้อยแปดประการ และเพื่อให้เกิดมายา ก็จะต้องคิดปรุงแต่งในทางชั่วร้ายมากมาย เพื่อให้ตรงกันข้ามกับความจริง 

    ความจริงดี ต้องการให้ผู้อื่นเห็นว่าไม่ดี หรือความจริงไม่ดี ต้องการให้ผู้อื่นเห็นว่าดี เพื่อประโยชน์ใดก็ตาม ก็ต้องคิดปรุงแต่งใช้เล่ห์เหลี่ยมเพื่อล่อลวงให้ผู้อื่นเห็นตาม ให้เห็นดีเป็นไม่ดี หรือเห็นไม่ดีเป็นดี

    เพียงไม่คิดปรุงแต่งเลห์เหลี่ยมเพื่อหลอกลวงเท่านั้น อุปกิเลสความเศร้าหมอง คือ มายาก็จะไม่เกิด เครื่องพรางชั้นหนึ่งของจิตก็จะไม่ถูกสร้างขึ้น ความประภัสสรแห่งจิตก็จะปรากฏได้บ้าง แม้อุปกิเลสอื่นยังมีเป็นเครื่องพรางจิตอยู่ 

     สาเถยยะ อุปกิเลสข้อ ๑๐ ท่านแปลว่า “โอ้อวด” 

    ความโอ้อวดเกิดจากความคิดปรุงแต่ง หาทางแสดงออกให้ผู้อื่นเห็นความสำคัญในทางต่างๆ ของตน เช่นความมั่งมี ความใหญ่โต มีอำนาจวาสนา หรือความฉลาดรอบรู้เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นความสำคัญจริงก็ตามไม่จริงก็ตาม

    ความสำคัญนั้นจะปรากฏเป็นที่ล่วงรู้ของผู้อื่นก็ตาม แต่ถ้าเจ้าตัวไม่คิดปรุงแต่งหาทางแสดงออกก็ไม่เป็นการโอ้อวด ไม่เป็นอุปกิเลส ต้องคิดปรุงแต่งเพื่อโอ้อวดเท่านั้นจึงจะเป็นอุปกิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมองที่ห่อหุ่มจิต และพรางความประภัสสรของจิต 

    เพียงไม่คิดปรุงแต่งเพื่อโอ้อวดสิ่งที่มีอยู่แล้วจริงก็ตาม หรือไม่จริงก็ตาม เพียงเท่านั้นสาเถยยะคืออุปกิเลสข้อ ๑๐ ก็จะไม่เกิด ความเศร้าหมองก็จะไม่เกิดเป็นดั่งฝุ่นละอองจับของสะอาดผ่องแผ้ว คือ จิตที่ประภัสสร ให้ปรากฏหมองมัว 

     ถัมภะ อุปกิเลสข้อ ๑๑ ท่านแปลว่า “หัวดื้อ”

    อันความหัวดื้อหรือความดื้ออย่างรุนแรงเป็นความไม่มีเหตุผลอย่างยิ่ง จะเชื่อหรือไม่เชื่อในเรื่องใด สิ่งใด ก็เป็นไปตามความต้องการจะเชื่อหรือจะไม่เชื่อเท่านั้น ไม่ฟังเหตุผลใดๆ ไม่คำนึงถึงเหตุผลเลย 

    จะคิดปรุงแต่งแต่ว่าจะต้องไม่เห็นด้วย ไม่เชื่อ ไม่ทำตามและก็ดื้อเท่านั้น เป็นการไม่ใช้ปัญญาคิด หรือไม่มีปัญญาพอจะคิด จึงเป็นความโง่ความมืดแห่งปัญญา 

    ถ้ามีเหตุผลที่ถูกต้องแล้ว แม้จะไม่เชื่อคำใคร ไม่เชื่อในเรื่องใด สิ่งใด ไม่เรียกว่าหัวดื้อ ไม่เป็นถัมภะ คือไม่เป็นอุปกิเลส ตรงกันข้าม ถ้ามีเหตุผลที่ถูกต้องแล้ว ยังโลเลเชื่อคนนั้นบ้างเชื่อคนนี้บ้าง ทำตนเป็นคนไม่ดื้อ ก็ไม่ถูกต้อง เป็นคนไม่มีปัญญาไม่มีเหตุผล 

    การแก้โรค “หัวดื้อ” ต้องใช้ปัญญา ใช้เหตุผล ใช้ปัญญาให้ถูกต้องเพียงพอ ก็เปรียบดังมีแสงสว่างเพียงพอ ตรงกันข้ามกับใช้เหตุผลใช้ปัญญาไม่เพียงพอ ก็เปรียบดังมีแสงสว่างไม่เพียงพอ มีความมืดมาก

    การใช้ปัญญาใช้เหตุผลหรือไม่ใช้ปัญญาไม่ใช้เหตุผล ก็ขึ้นอยู่กับความคิดปรุงแต่ง ใช้ความคิดปรุงแต่งให้เบาปัญญาหาเหตุผลไม่ได้ เป็นการสร้างความมืดขึ้นพรางความประภัสสรแห่งจิตตน 

     สารัมภะ อุปกิเลสข้อ ๑๒ ท่านแปลว่า “แข่งดี” 

    ความหมายของคำว่า “แข่งดี” เป็นคนละอย่างกับ “ตีเสมอ” เมื่อพูดถึงตีเสมอ จะได้ความรู้สึกถึงความไม่มีสัมมาคารวะ ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง หยาบคาย ส่วนแข่งดี เป็นเพียงความทะเยอทะยานที่อาจประกอบด้วยขาดอุปกิเลส ข้อริษยาด้วยได้ ไม่ถึงกับแสดงความหยาบคาย ขาดสัมมาคารวะ เช่นตีเสมอ 

    แต่ถึงเช่นนั้น ความแข่งดีก็เกิดจากความคิดปรุงแต่งที่ไม่ดี ให้ความร้อนแก่ตนเองก่อน ซึ่งเป็นเรื่องของใจ ต่อไปก็จะเป็นเรื่องของกายและวาจา เมื่อต้องการแข่งดีกับผู้ใดก็จะต้องพูดต้องทำ เพื่อให้บรรลุถึงความมุ่งหมาย อันจะเป็นการพูดการทำที่ไม่เลือกความควรไม่ควร หรือความถูกความผิด เพราะมีความต้องการแข่งดีเท่านั้น เป็นเหตุผลักดัน ไม่มีเหตุผลอื่น อาจเอาชนะความรู้สึกแข่งดีได้ 

    เมื่อใดเกิดความคิดปรุงแต่งขึ้นมาว่า เขาต้องดีกว่าเราไม่ได้ เมื่อนั้นให้รู้ว่านั่นคือ กำลังคิดแข่งดี ซึ่งไม่ใช่ความถูกต้อง เป็นความผิด ความไม่ชอบ พึงพยายามหยุดความคิดนั้นเสียให้ได้ ถ้าปรารถนาจะได้มีโอกาสเห็นจิตที่ประภัสสรของตนคือ มีโอกาสได้พ้นทุกอย่างสิ้นเชิงนั่นเอง

     มานะ อุปกิเลสข้อ ๑๓ ท่านแปลว่า “ถือตัว” 

    มานะที่เป็นอุปกิเลสมิได้หมายถึงความพยายาม ความตั้งใจจริงเป็นความดี แต่มานะความถือตัวเป็นความไม่ดี อย่างไรก็ตามต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า ความถือตัวที่ไม่ดีนั้นเป็นคนละอย่างกับความถูกต้องในการวางต้ว 

    แม้ว่าการวางตัวอย่างถูกต้องบางทีจะเหมือนเป็นถือตัว แต่ความจริงไม่เหมือนกัน ความไม่ถือตัวมิได้หมายถึงอะไรก็ได้ ใครจะปฏิบัติต่อตนผิดอย่างไรก็ได้ หรือตนจะปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไรก็ได้ ไม่เช่นนั้น สมมติบัญญัติยังมีอยู่ ความถูกต้องตามสมมติบัญญัติต้องรักษาไว้ ต้องระวังให้ถูกต้อง 

    ไม่ใช่ว่าจะถือว่าเป็นผู้ไม่มีมานะความถือตัว คือผู้ต้องยอมให้ผู้น้อย ไม่มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ หรือไม่ใช่จะถือว่าผู้ไม่มีมานะความถือตัวก็คือ แม้ตนจะเป็นผู้ใหญ่ก็นอบน้อมต่อผู้น้อย ราวกับเป็นผู้น้อยยิ่งกว่า 

    มานะความถือตัวเป็นเรื่องของใจ ใจที่อบรมแล้วอย่างถูกต้องตามธรรมของพระพุทธศาสนานั่นแหละที่ไม่มีมานะถือตัว ส่วนการแสดงเป็นไปอย่างเหมาะสมกับสมมติบัญญัติ ที่ผู้เข้าใจไม่ถูกเพียงพออาจเห็นเป็นมานะได้ จึงเป็นเรื่องเฉพาะตนอย่างแท้จริงและต้องเป็นความรู้สึกอย่างจริงใจของตนเองด้วยว่า ตนเองมีมานะเพียงไร 

    ไม่ใช่ว่าปฏิบัติอย่างหนึ่งและปกปิดความจริงใจบอกว่าใจไม่มีมานะ ปฏิบัติเพื่อความเหมาะสมเท่านั้น การยอมรับกับตนเองอย่างถูกต้องอย่างจริงใจนั่นแหละสำคัญ 

     อติมานะ อุปกิเลสข้อ ๑๔ ท่านแปลว่า “ดูหมิ่นท่าน” 

    ก็เข้าใจได้ชัดแล้วว่าความรู้สึกหรือการกระทำที่เป็นการดูหมิ่นไม่ใช่สิ่งดี เป็นที่ตำหนิของคนทั่วไป ดูหมิ่นกับดูถูกก็ทำนองเดียวกัน ผู้ที่คิดดูหมิ่นหรือแสดงอาการดูหมิ่นผู้อื่นก็ต้องเริ่มจากความคิดปรุงแต่งว่าผู้อื่นต่ำต้อยกว่าตนต่างๆ 

    เป็นต้นว่า ฐานะความรู้ความสามารถ ชาติตระกูล เมื่อเกิดความคิดปรุงแต่งเช่นนี้ขึ้น ต้องพยายามหยุดให้ได้ จึงจะไม่เกิดความรู้สึกดูหมิ่นติดตามมา เปรียบดังพัดพาหมอกควันที่เริ่มขึ้นมิให้ผ่านเข้าปิดบังความประภัสสรแห่งจิตเพิ่มขึ้นกว่าที่มีอยู่เพราะความคิดปรุงแต่ง อันเป็นอุปกิเลสข้ออื่นๆ 

    ผู้มีความรู้ความสามารถหรือสติปัญญาหรือฐานะชาติตระกูล รู้แน่ในความเป็นจริงเช่นนั้นของตน จักไม่ทะนงเห่อเหิม เห็นตนวิเศษกว่าผู้ใดผู้หนึ่งแล้วดูหมิ่นผู้นั้น 

    ผู้ไม่มีสมบัติดังกล่าว แต่ปรารถนาจะให้เขายกย่องว่ามี นั่นแหละที่จะคิดปรุงแต่งไปต่างๆ นานาว่า คนนั้นคนนี้ต่ำต้อยกว่าตน แล้วก็ดูหมิ่นเขาแสดงออกให้ปรากฏ จะแก้ไขได้ด้วย การอย่านำตนไปเปรียบกับผู้อื่น 

     มทะ อุปกิเลสข้อ ๑๕ ท่านแปลว่า “มัวเมา” 

    คนเมาเหล้าจนไม่มีสติ สามารถทำความผิดได้โดยไม่รู้ตัว ผู้มัวเมาก็เป็นเช่นเดียวกัน ความหลงในลาภยศสรรเสริญสุข หรือความหลงในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ จนลืมความถูกความควร คือความมัวเมานี้ เป็นอุปกิเลสที่เกิดขึ้นจากความคิดปรุงแต่งให้เพลิดเพลิน เห็นลาถยศสรรเสริญสุขเป็นความสำคัญที่สุดสำหรับชีวิต

    จึงทำทุกสิ่งได้ไม่ว่าถูกหรือผิดควรหรือไม่ควรเพื่อให้ได้มา คนเมาเหล้าเมื่อสร่างเมาแล้วยังมีโอกาสที่จะมีภาวะฐานะเช่นเดิมได้ แต่คนเมา ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ไม่มีโอกาสเช่นนั้น เมื่อความมัวเมาเกิดขึ้นแล้ว ความเสื่อมเสียย่อมเกิดตามมา ทั้งในความรู้ความเห็นของคนอื่นทั้งหลาย 

    โดยเฉพาะความรู้สึกนึกคิดของตัวเองจะมืดมัวปิดบังความประภัสสรแห่งจิตได้ และความคิดปรุงแต่งว่าดีว่าสนุกว่าสบายนั่นเอง ทำให้ติดทำให้มัวเมาให้ปรารถนาต้องการ ผู้มีปัญญาจึงพยายามหยุดความคิดปรุงแต่งนั้น เพื่อให้พ้นจากความมัวเมา เพื่อให้ปรากฏความประภัสสรแห่งจิต 

     ปมาทะ อุปกิเลสข้อ ๑๖ ท่านแปลว่า “เลินเล่อ”

    คือประมาทนั่นเอง ความประมาทเลินเล่อก็เกิดจากความคิดปรุงแต่งเช่นกันเพียงง่ายๆ คือคิดปรุงแต่งว่าไม่เป็นไรเท่านั้นก็ประมาทได้แล้ว ที่ชอบคิดกันก็คือไม่เป็นไรเรามีบุญมาก หรือไม่เป็นไรเราไม่ได้ทำไม่ดี หรือไม่เป็นไรเราต้องสบายไปทุกชาติ ดังนี้ เป็นต้น

    นี่คือประมาทที่ท่านกล่าวว่า เป็นทางแห่งความตาย ที่ชัดๆ ก็คือความมัวเมาบังปัญญา บังความประภัสสรแห่งจิต จึงพึงทำลายความประมาทเลินเล่อเสีย ด้วยวิธีอย่าคิดปรุงแต่งว่า ไม่เป็นไร ไปเสียหมด 



     กิเลส ๓ กองใหญ่เครื่องทำให้ปรากฏความเศร้าหมองบังความประภัสสรแห่งจิต
    คือ โลภะ โทสะ โมหะ ก็คือ การประกอบกันของอุปกิเลส ๑๖ ข้อ 

    โลภะ คือ ความโลภไม่สม่ำเสมอ เพ่งเล็งและตระหนี่ 

    โทสะ คือ ร้ายกาจ โกรธ ผูกโกรธไว้ 

    โมหะ คือ ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอคือยกตัวเทียมท่าน 
    มารยาคือ เจ้าเลห์ โอ้อวด หัวดื้อ แข่งดี ถือตัว ดูหมิ่นท่าน มัวเมาและเลินเล่อ 

     แม้ทำลายกิเลสทั้งกองพร้อมกันไม่ได้ การทำลายอุปกิเลสที่ละข้อเป็นวิธีให้สามารถทำลายกิเลสทั้งกองได้ทุกกอง ความโลภ ความโกรธ ความหลงจะถูกทำลายหมดสิ้นได้เมื่อทำลายอุปกิเลสหมดสิ้น แม้เพียงที่ละข้อสองข้อ 

     จิตเราทุกคนบริสุทธิ์ประภัสสรอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ได้เห็นกันทั้งๆ ที่ปรารถนาจะเห็นเที่ยวแสวงหา เพราะไม่ยอมรับรู้ความจริงว่าตนเองไม่เคยหยุดยั้งการสร้างอุปสรรคขวางกั้นไว้ตลอดเวลา 

    ความคิดปรุงแต่งอุปกิเลสทั้งปวงที่ไม่เคยหยุดยั้งนั่นแหละ คือเครื่องขวางกั้นบังจิตที่ประภัสสรเสียหมดสิ้น เพียงหยุดความคิดปรุงแต่งอุปกิเลสเสียบ้าง ความประภัสสรแห่งจิตก็จะปรากฏให้เห็นได้บ้าง 

    ยิ่งหยุดความคิดปรุงแต่งอุปกิเลสได้มากเพียงไร ความประภัสสรแห่งจิตก็จะปรากฏให้เห็นได้มากเพียงนั้น ถ้าหยุดความคิดปรุงแต่งอุปกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง ความประภัสสรแห่งจิต ก็จะปรากฏเจิดจ้าชัดเจนเต็มที่ มีความสว่างไสวไม่มีเปรียบ 

     ไม่มีพลังอำนาจแม้วิเศษเพียงใด จะสามารถบังคับความประภัสสรแห่งจิตของผู้ไม่มีความคิดปรุงแต่งอุปกิเลสทั้งปวงได้แล้วจริง 

    ผู้มีปัญญาปรารถนาจะได้เห็นแสงประภัสสรแห่งจิตให้ตื่นตาตื่นใจ พึงเริ่มใช้สติปัญญาให้เต็มที่หยุดยั้งความคิดปรุงแต่งอุปกิเลสเถิด ใช่ว่าจะยากเกินความพยายามก็หาไม่ ใช่ว่าจะเห็นผลนานช้าก็หาไม่ 

     ถ้าทุกคนพากันตั้งใจทำความประภัสสรแห่งจิตของตนให้ปรากฏสว่างรุ่งเรืองยิ่งขึ้นทุกทีๆ แม้จะยังไม่ถึงกับปรากฏเต็มที่ โลกก็จะหยุดยุ่งเมืองก็จะหยุดร้อน ทั้งที่กำลังยุ่งกำลังร้อนยิ่งขึ้นทุกเวลา 

     อำนาจความประภัสสรแห่งจิตนี้มหัศจรรย์นัก มหัศจรรย์จริง ไม่เพียงจะดับทุกข์ดับร้อนให้ความเย็นแก่ตนเองเท่านั้น แต่สามารถดับความร้อนดับอันตรายของสถาบันชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ ของเราได้ด้วย 

     เราทุกคนผู้เป็นคนดีมีปัญญา มีความรู้พระคุณยิ่งใหญ่แท้จริงนัก ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สามารถจะแสดงความกตัญญูกตเวทีตอบสนองได้ ด้วยวิธีที่ทุกคนสามารถ คือคั้งใจทำสติใช้ปัญญาเต็มที่ ที่มีอยู่เพียงเพื่อหยุดความคิดปรุงแต่งอุปกิเลสทั้งปวงให้ได้ แม้ที่ละเล็กที่ละน้อย ที่ละข้อสองข้อ 

     ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี ความอกตัญญูจึงเป็นเครื่องหมายของคนชั่ว 
    มาเป็นคนดีกันเถิด อย่าเป็นคนชั่วเลย 


    : แสงส่องใจ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ 
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ​


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  12. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=wsC9svKi7mM]คาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 - YouTube[/ame]​
    ๑.ให้เจริญสติภาวนา ทุกอริยาบถ ให้สติตั้งมันและมั่นคง(สติ+จิต=สมาธิ=ปัญญา)
    ๒.รักษาศีล ศีลจะรักษาพวกเจ้า
    ๓.เจริญสมาธิ ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าที่มาครอบดวงจิต ปัญญาจะช่วยให้รอดพ้นทั้งทางโลกและทางธรรม

    ภาวนาคาถา จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา ได้แก่...
    ๑.คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย หรือ "มงกุฎพระพุทธเจ้า"
    ต่อด้วยคาถาเสด็จพ่อรัชกาลที่ 5 และตามด้วยพระคาถาบูชาเสด็จพ่อรัชกาลที่ 5
    หรือ
    ๒.พระคาถามหาจักรพรรดินี้ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    หรือ
    ๓.พระคาถาชินบัญชร

    ปล.ท่านบบ.กับ16ชั้นฟ้า กับพวกเราชาวจิตบุญจะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา
    ให้ช่วยกันท่องไว้
    บอกกล่าวกันไปแล้วนะ เดี๋ยวจะหาว่าไม่ได้บอก หมดหน้าที่เราแล้ว
     
  13. เมธญา

    เมธญา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +1,584
    สวัสดีทุกๆท่าน

    วันศุกร์แล้วขอส่งมอบกำลังใจให้ทุกๆท่าน อาสาเป็นดีเจคั่นเวลา ระหว่างรอธรรมะดีๆจากครูจิตบุญ "Live and Learn" ฟังแล้วชอบก็เลยอยากแบ่งปันค่ะ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=X1GumPZc2jk]Live & Learn กมลา สุโกศล - YouTube[/ame]



    เมื่อวันที่ชีวิต เดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน จนบางครั้งคนเราไม่ทันได้ตระเตรียมหัวใจ
    ความสุขความทุกข์ ไม่มีใครรู้ว่าจะมาเมื่อไหร่ จะยอมรับความจริงที่เจอได้แค่ไหน
    เพราะชีวิตคือชีวิต เมื่อมีเข้ามาก็มีเลิกไป
    มีสุขสมมีผิดหวัง หัวเราะหรือหวั่นไหว เกิดขึ้นได้ทุกวัน

    อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน ตามความคิดสติเราให้ทัน
    อยู่กับสิ่งที่มีไม่ใช่สิ่งที่ฝัน และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด
     
  14. จารุณี22

    จารุณี22 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +1,403
    [​IMG]

    ธรรมโอวาทเพื่อพระนิพพาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    พ่อสอนลูก

    ๑. ขอลูกรักจงรักษากายไว้ด้วยดี
    อย่าเอากายไปฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
    และจงรักษาวาจาไว้ให้ดี อย่าพูดปดมดเท็จที่ไม่ตรงความจริง
    อย่าพูดคำหยาบหรือด่าคนอื่น อย่าใช้วาจาเป็นเครื่องทำลายความสามัคคี
    คือ ยุให้คนแตกร้าวกัน อย่าใช้วาจาเหลวไหลไร้ประโยชน์

    ด้านใจจงรักษาใจไว้ด้วยดี
    คือ ไม่อยากได้ของๆใครที่เขาไม่เต็มใจให้
    ไม่โกรธแค้นอาฆาต พยาบาทใคร
    ไม่เมาใจจนเห็นผิด คิดว่าตัวเป็นคนประเสริฐ

    อารมณ์เท่านี้เป็นพื้นฐานที่จะให้เข้าถึงพระนิพพาน
    เมื่อรักษากายใจได้ดังนี้แล้ว ต่อไปใจจะสะอาดขึ้นทีละน้อย
    จนไม่ต้องระวังทั้งกาย วาจา ใจ จะทรงไว้แต่ความดีอย่างเดียว
    ในที่สุดก็ถึงนิพพาน

    ๒. ลูกรักทั้งหลาย จงจำไว้ว่าท่านกับเรามีสภาวะเหมือนกัน คือ
    มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น
    มีความเปลี่ยนไปในท่ามกลาง
    และก็มีการสลายตัวไปในที่สุด

    ท่านกับเราก็เสมอกัน เสมอกันโดยไตรลักษณ์ คือ
    อนิจจังหาความเที่ยงไม่ได้
    ทุกขัง เมื่อมีความเป็นอยู่ต้องทำมาหากินทางอาชีพ ทำการงานเลี้ยงชีพ
    สุขบ้างทุกข์บ้าง ไปตามสภาพของคนที่มีชีวิต
    ในที่สุดชีวิตก็สลายตัวไป

    จงจำไว้อย่ายึดมั่นถือมั่นในร่างกายจนเกินไป
    อย่ายึดถือในทรัพย์สินมากเกินไป

    จงจำไว้ว่า เราจะต้องตาย
    ถ้าเรายังไม่ดีพอ ตายแล้วเราก็ต้องเกิดอีก เกิดแล้วเราก็มีทุกข์
    เกิดเป็นคนมีทุกข์อย่างคน เกิดเป็นสัตว์มีทุกข์อย่างสัตว์
    เกิดเป็นอสุรกายเป็นทุกข์อย่างอสุรกาย เกิดเป็นเปรตเป็นทุกข์อย่างเปรต
    เกิดเป็นสัตว์นรกเป็นทุกข์อย่างสัตว์นรก

    เกิดเป็นเทวดาสุขอย่างเทวดา เกิดเป็นพรหมสุขอย่างพรหม
    แต่สุขไม่นาน ผลที่สุดก็ละความสุขนั้นมาหาความทุกข์
    สู้ไปพระนิพพานไม่ได้ นิพพานมีความสุขที่เป็นเอกันตบรมสุข
    เป็นความสุขที่ยอดเยี่ยม
     
  15. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

    สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ๑.ร่างกายที่เห็นอยู่นี้ อยู่ได้เพราะธาตุ ๔ เป็นเครื่องหล่อเลี้ยง ทั้งภายนอก-ภายใน และเป็นภาระที่หนักหนา (ภาราหะเวปัญจักขันธา) อันทำให้จิตต้องดิ้นรนเสาะหาปัจจัย ๔ มาหล่อเลี้ยงห่อหุ้มร่างกายนี้ บุคคลใดเห็นทุกข์ของการมีภาระอันเนื่องจากร่างกายนี้ บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงอริยสัจข้อต้น และจากการพิจารณาจนเห็นสาเหตุของจิตดิ้นรนด้วยตกอยู่ในห้วงของ กามตัณหา-ภวตัณหา-วิภวตัณหา ก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงอริยสัจข้อสมุทัย และเมื่อได้ปฏิบัติในมรรคปฏิปทาอันมีองค์แปด หรือศีล-สมาธิ-ปัญญา จนจิตเข้าถึงนิโรธ ก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงอริยสัจ ๔ อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นบุคคลใดทิ้งอริยสัจ ๔ บุคคลนั้นไม่สามารถที่จักเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้เลย

    ๒.การเจ็บป่วยไม่สบายเป็นกฎของธรรมดา เพราะไม่มีใครหนีการเจ็บไข้ไปได้ ให้พยายามแยกกาย แยกเวทนา แยกจิต(เจตสิกหรืออารมณ์ของจิต) แยกธรรมหรือกรรม ว่าไม่ใช่เรา ไม่มีในเรา เราคือผู้อาศัยในสิ่งเหล่านี้อยู่ ก็ให้สักแต่ว่าเป็นเพียงผู้รู้ เป็นเพียงผู้อาศัย อย่าไปยึดมาเป็นตัวตนของใคร เพราะสิ่งเหล่านี้มีเกิดขึ้นมาได้ เพราะการมีร่างกายอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าไม่มีร่างกาย ความร้อน-หิว-กระหาย-เจ็บป่วย-ไม่สบาย-การถูกกระทบกระทั่งใจก็ไม่มีแล้ว อะไรเป็นเหตุของการมีร่างกาย ต้นเหตุคือตัณหา ๓ กามตัณหา-ภวตัณหา-วิภวตัณหา ในเมื่อความเป็นจริงของร่างกายเป็นเช่นนี้ เราไปฝืน ไม่อยากให้มันเป็นไป ก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะความโง่ที่ไม่รู้เท่าทันสภาวะธรรม หากขยันพิจารณาธรรมจุดนี้ให้ดีๆ อย่างต่อเนื่อง สักวันหนึ่งข้างหน้าก็จักตัดอารมณ์ของการเป็นทาสของตัณหาได้

    ๓.จิตที่ไปติดข้องอยู่กับกรรม จึงต้องไปเสวยกรรมดีและกรรมชั่ว สภาวะกรรมหรือธรรม เกิดแล้วก็ดับไป จิตที่ยังเกาะกรรมดี คือ บุญ ก็ไปสู่สุคติ คือสวรรค์-พรหม เป็นต้น จิตที่เกาะกรรมชั่ว คือ บาปอกุศล ก็ไปสู่ทุคติ คืออบายภูมิ ๔ จึงเวียนว่ายตายเกิดไปตามกฎของกรรมที่ตนกระทำไปนั้นๆ สำหรับพระอรหันต์ ชื่อว่าหมดกรรม เพราะท่านเห็นทั้งสภาวะโลก และ สภาวะธรรม ล้วนไม่เที่ยง เกิด-ดับๆ อยู่อย่างนั้น กรรมที่เป็นอกุศลท่านไม่ทำอีกต่อไป หมดกรรมเพราะไม่มีการจุติเกิดขึ้นกับท่านอีก ทุกอย่างท่านทำไปตามหน้าที่ สงเคราะห์คน-สัตว์ ชี้หนทางพ้นทุกข์ เผยแพร่ธรรมไปตามหน้าที่ แต่ท่านหาได้ติดอยู่ในบุญเหล่านี้ไม่ บุญหรือบาปก็ไม่ข้องอยู่ กรรมก็ไม่ข้องอยู่ ยังมีร่างกายอยู่กฎของกรรมเก่าๆ ตามมาสนองก็เรื่องของมัน บุญหรือบาปไม่มีสิทธิ์ที่จักนำท่านไปเกิดอีก

    ๔.อนึ่ง คำว่า จิตไม่ใช่เรา จุดนี้คือนาม หรือเจตสิก อันมี เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ (ทรงอธิบายถึงกาย(รูป)-เวทนา-จิต-ธรรม ซึ่งไม่เที่ยงเกิดดับๆ ตลอดเวลา คำว่าจิต คือเจตสิกหรืออารมณ์ของจิต มิใช่ตัวจิต หรือนาม ๔ ตัวที่อาศัยรูปอยู่ ซึ่งจริงๆ ก็คือขันธ์ ๕ หรือร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยรูปหนึ่งกับนามอีก ๔ คือ เวทนา-สัญญา-สังขาร และวิญญาณ) ธรรมอีกจุดหนึ่งที่เข้าใจยาก คือ อทิสสมานกายนี้ไม่ใช่เรา ธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นปัจจัตตัง ปฏิบัติถึงแล้วจึงจะรู้ได้เอง หรือถึงแล้วรู้เอง ยังไม่ถึงก็ยังรู้ไม่ได้จริง และรู้ได้เฉพาะตนของใครของมัน ตามระดับของจิตในจิต และธรรมในธรรม ผมขออนุญาตอธิบายว่า ให้ยึดพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นหลัก เพราะเที่ยงแล้ว ไม่เปลี่ยนแปลงอีก ที่ทรงตรัสไว้ว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ควรยึดว่ามันเป็นเรา เป็นของเรา

    เรื่องกายของจิต หรือรูปในนามนี้ก็เช่นกัน ทรงตรัสเป็นสมมุติธรรมว่า อทิสสมานกาย กายของจิต หรืออทิสสมานกายนี้มันก็ไม่เที่ยง ตราบใดที่ยังตัดกิเลสไม่หมดเป็นสมุจเฉทปหาน คือสังโยชน์ ๑๐ ประการยังไม่หมด หรือความโลภ-โกรธ-หลงยังไม่หมด หรือตัณหา ๓ ยังไม่หมด อทิสสมานกายก็ยังไม่เที่ยง ยังเปลี่ยนแปลงไปตามกรรมที่จิตทำไว้ เช่น อทิสสมานกายเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน หรืออบายภูมิ ๔ ในฝ่ายกรรมชั่วที่เป็นอกุศล ในฝ่ายกรรมดีที่เป็นกุศล อทิสสมานกายก็เปลี่ยนแปลงไปตามกรรมดี เป็นมนุษย์-เป็นเทวดา-เป็นนางฟ้า-เป็นพรหมตามกรรมดี ก็ล้วนยังไม่เที่ยง ไม่ทรงตัว ยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเราไม่ได้ จนกว่าจิตดวงนั้นจะอยู่เหนือกรรม ทั้งดี ทั้งชั่วอย่างถาวร มิใช่ชั่วคราว แค่หลุดพ้นได้ชั่วคราวเป็นปทังควิมุติ เช่น ระงับนิวรณ์ทั้ง ๕ ได้ชั่วคราว จิตเป็นฌาน เป็นสมาธิ แต่ยังฆ่ายังตัดกิเลสไม่ได้จริงๆ

    ขอสรุปว่า พระอรหันต์เท่านั้นที่จิตท่านพ้นดี-พ้นชั่วอย่างถาวร จิตท่านก็มีสิทธิ์เข้าสู่แดนพระนิพพานได้อย่างถาวรเช่นกัน อทิสสมานกายของท่านจึงจะเที่ยง ไม่มีเปลี่ยนแปลงอีก เป็นพระวิสุทธิเทพ เทพที่มีอทิสสมานกายบริสุทธิ์คงทน-ถาวร-มั่นคง เที่ยงตลอดกาล ภูมิจิต-ภูมิธรรมของผม มีแค่ระดับสัญญาและปัญญา ยังมิใช่ตัวปัญญาแท้ๆ ยังมีสัญญาปนอยู่ เพราะยังตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการไม่ได้หมด ก็อธิบายได้แค่นี้

    ๕.สถานที่วิเวกก็มีความสำคัญในการปฏิบัติธรรม จิตที่มีสมาธิคือจิตวิเวกที่ต้องอาศัยสถานที่วิเวกด้วย จึงจักมีความตั้งมั่นอยู่ในใจ ฟังอะไรก็รู้เรื่อง ไม่เสียสมาธิไปกับเสียงจ๊อกแจ๊กจอแจ แต่ก็พึงเห็นเป็นของธรรมดา เลี่ยงได้ก็พึงเลี่ยง แต่ในเมื่อเลี่ยงไม่ได้ ก็จำเป็นที่จักต้องชน ชนในที่นี้ มิได้หมายความถึงการไปสู้รบตบมือ หรือไปพอใจหรือไม่พอใจกับเหตุการณ์ที่สับสนวุ่นวายนั้น แต่หมายถึง รักษาอารมณ์ของใจให้เห็นเป็นเรื่องธรรมดา จิตสงบ จิตเป็นสุข ไม่ดิ้นรนเดือดร้อนไปด้วยกรณีทั้งปวง

    อนึ่งให้รู้ความสำคัญในความวิเวกนั้น มีความสำคัญในการปฏิบัติมากขนาดไหน พึงดูตถาคตเจ้าก่อนที่จักบรรลุอภิเษกพระสัมมาสัมโพธิญาณ พระปัญจวัคคีย์ได้หลีกห่างออกไป ทรงอยู่ตามลำพังพระองค์เดียว พราหมณ์ถวายหญ้าคาเป็นที่รองนั่ง หลังจากรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดาแล้ว สถานที่นั้นก็วิเวก มิได้ประกอบด้วยคนหมู่ใหญ่ เมื่อกำหนดกายตั้งตรง กายก็วิเวก ปราศจากกิจอื่นๆ ที่ต้องทำโน่นทำนี่อีก แล้วดำรงจิตให้มั่นกำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก จุดนี้จิตก็วิเวกอีก จึงต้องมีความสำคัญในการบรรลุโมกขธรรม

    ที่ตรัสนี้เพื่อให้พวกเจ้าได้พิจารณาและปฏิบัติตามแบบอย่างจึงจักได้ผล หากยังชมชอบคลุกเคล้าอยู่ด้วยคนหมู่มาก ด้วยเพลิดเพลินไปด้วยคำสรรเสริญหรือนินทา หรือการสนทนาธรรม ด้วยอารมณ์ปรุงแต่ง จุดนั้นกายปราศจากการวิเวก วจีกรรมก็มาก เพราะมโนกรรมเป็นผู้ปรุงแต่งคำพูดออกมา ความสงบของใจก็ไม่มี การปฏิบัติก็บรรลุได้ยาก ตรัสเท่านี้ก็ให้พิจารณาดูตัวเอง ดูกาย ดูวาจาของตนเอง อย่าลืมมโนเป็นใหญ่ กายกับวาจาย่อมมีใจเป็นผู้บงการ ดีหรือเลวก็สำเร็จที่ใจนั่นแหละ

    ๖.ให้เห็นธรรมดาของคนอันแปลว่าวุ่นวาย และเป็นธรรมดาอยู่ดีที่คนเมื่อได้ยินที่ไหนว่ามีของดี มีพระดีก็จักแห่ไปที่นั่น แล้วคนมีมารยาทก็มีมาก คนไม่มีมารยาทก็มีมาก การรู้กาลเทศะก็มิใช่ว่าจักมีได้ง่ายในคน เรื่องเหล่านี้จักต้องใช้การพิจารณา แล้วหมั่นปล่อยวาง อย่าไปคิดหรือกล่าวตำหนิเอาไว้ในใจ จักไปเอาอะไรกับคน เสียผลของการปฏิบัติธรรมเปล่าๆ

    ๗.ให้มั่นใจในพุทธคุณ-ธรรมคุณ-สังฆคุณ ปัญหาใดๆ ถ้าหากไม่เกินวิสัยในกฎของกรรม ให้ขอบารมีพุทธคุณ-ธรรมคุณ-สังฆคุณ ย่อมขจัดปัดเป่าแก้ไขได้ พุทธคุณ คือคุณของผู้รู้ อันหมายถึงพระตถาคตเจ้า เป็นผู้รู้-ผู้ตื่น-ผู้เบิกบาน ดังนั้น บุคคลใดไม่ลืมพุทธคุณ ก็พึงกระทำตามให้ถึงซึ่งพุทธคุณด้วยธรรมคุณ คุณของพระธรรม อันหมายถึงทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค นั่นแหละ บุคคลผู้ปฏิบัติถึงซึ่งพุทธคุณและธรรมคุณ อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ด้วยกำลังใจเต็ม ก็ได้ชื่อว่าถึงซึ่งสังฆคุณใน ๔ ระดับ คือ พระโสดาบัน-พระสกิทาคา-พระอนาคา-พระอรหันต์

    คุณทั้งสามประการของพระรัตนตรัยในบวรพระพุทธศาสนานี้ ผู้ใดถึงแล้ว ผู้นั้นย่อมมีความสุข และจักสุขยิ่งๆ ขึ้นไป จนกระทั่งเข้าถึงซึ่งแดนเอกันตบรมสุข คือพระนิพพานเป็นที่ไปนั่นแหละ ให้มองดูจิต-ดูกายของตนนั่นแหละเป็นสำคัญ ถ้ามุ่งต้องการปฏิบัติให้พ้นทุกข์ได้จริง อย่าเพ่งโทษในจริยาของผู้อื่น ให้เห็นความร้อนในจิตของตนเองให้มาก และเห็นโทษของความร้อนในจิตนั้น ก็จักปฏิบัติฝึกจิตของตนให้พ้นไปจากความร้อนได้ในที่สุด

    ๘.อารมณ์เบื่อจัดเป็นปฏิฆะ เพราะจิตไม่ยอมรับกฎของธรรมดา (จิตฝืนโลก-ฝืนธรรม) ให้ค้นคว้าหาสาเหตุของอารมณ์เบื่อ (ด้วยอริยสัจ หรือด้วยสังฆคุณ) แล้วจักมีกำลังใจพิจารณาไปจนถึงที่สุดของสาเหตุนั้น ถ้าจิตยอมรับจักวางอารมณ์เบื่อหน่ายนั้นลงไป จนถึงยอมรับกฎของธรรมดา จิตสงบไม่ดิ้นรน มีความสุขมาก ค่อยๆ ทำไปด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ แล้วจักได้ผลตามนั้น

    ๙.อย่ากังวลใจกับการเดินทาง เมื่อย่างเท้าออกจากวัด-จากบ้าน-จากที่อยู่อาศัย ให้ตัดอารมณ์กังวลทิ้งไปทันทีทันใด ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง การเดินทางให้รักษาอารมณ์จิตให้ดีๆ กำหนดพุทธคุณ-ธรรมคุณ-สังฆคุณ หรือพระไตรลักษณ์เป็นที่พึ่ง รู้พระนิพพานเข้าไว้เป็นอารมณ์ รู้โทษของการมีกังวล แม้แต่เล็กน้อยก็ไม่สามารถเข้าสู่พระนิพพานได้ เพราะขาดความผ่องใสของจิต ผู้ปฏิบัติธรรมที่ดีจักต้องหมั่นตรวจสอบอารมณ์อยู่เสมอ หมั่นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดใจกังวลโดยเร็วที่สุด ด้วยอริยสัจหรือธรรมคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอามรณานุสสติขึ้นมาตั้งมั่น คอยเตือนตนอยู่เสมอว่า ความเศร้าหมองของจิต (จิตไม่ผ่องใส) ทำให้ไปพระนิพพานไม่ได้

    ๑๐.คนจักพ้นทุกข์ได้ก็ต้องเห็นทุกข์ก่อน คนเห็นกิเลสที่ยังเกาะกินใจตนอยู่ ก็คือคนเห็นทุกข์ เห็นปัญหา เห็นอุปสรรค ก็คือคนเห็นอริยสัจ หรือเห็นพระธรรม เห็นธรรมคุณ ผู้มีปัญญาทุกคนจักเอาทุกข์ เอาปัญหา เอาอุปสรรคทุกอย่างมาเป็นกรรมฐานได้หมด หาประโยชน์ได้หมด ในทุกสภาวะการณ์ โดยนำมาพิจารณาเข้าหาอริยสัจหมด เป็นธรรมคุณ ก็จักตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้ในที่สุด

    ๑๑.รักษาอารมณ์ของจิตให้ดีๆ ประคองใจไว้เป็นสำคัญ อย่าไปฝืนกรรมของใคร แล้วอย่าไปแก้ไขคนอื่น ให้แก้ไขใจตนเองนี้แหละ จึงจักถูกต้องตามหลักการของพระพุทธศาสนา จุดนี้มีความจำเป็นต้องพูดซ้ำ เพราะพวกเจ้าส่วนใหญ่มักจักไปแก้ไขบุคคลอื่น ผิดหลักธรรมอย่างยิ่ง ไปทำอย่างนั้นก็เท่ากับไปเพิ่มกิเลสให้กับจิตของตนเอง จักต้องพยายามมีสติให้ตั้งมั่น ถือธุระไม่ใช่เข้าไว้ให้มาก ๆ ไม่ใช่หน้าที่ให้ปล่อยวางทันที ยกเว้นมีการเกี่ยวข้องโดยกรรมต่อกัน ก็พึงกระทำกันเพียงแต่หน้าที่เท่านั้น สำหรับทางจิตใจ พยายามไม่เกี่ยวข้องกับใคร ปล่อยวางเพื่อความผ่องใสของจิตให้มากที่สุดเท่าที่จักมากได้ กฎของกรรมใดๆ เข้ามาถึง ก็ถือว่าชดใช้กรรมเก่าให้เขาไป อย่าไปต่อกรรมในเมื่อปรารถนาจักไปพระนิพพาน แม้จักทำได้ยาก ก็จักต้องทำให้ได้

    ๑๒.พวกโทสะจริต ให้พยายามฝึกจิตให้เยือกเย็น แล้วพึงพิจารณาโทษของโทสะจริตให้มาก พยายามทรงอารมณ์จิตให้อยู่ในคำภาวนาให้มาก พร้อมกำหนดอานาปาให้มากด้วย หลังจากรู้ลม-รู้ภาพพระแล้ว ก็จักมีอารมณ์เย็นขึ้น อย่าลืมจิตต้องเย็น สงบก่อน จึงค่อยพิจารณาทุกข์อันเกิดจากโทสะจริตนั้น จิตยิ่งเย็นก็ยิ่งเห็นทุกอย่างได้ชัดขึ้นเท่านั้น และจงอย่าลืมว่า พุทธานุสสติ พุทโธอัปมาโณ คุณของพระพุทธเจ้าหาประมาณมิได้ คนฉลาดไม่มีใครทิ้งพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะพระอรหันต์ท่านยังไม่ทิ้ง แล้วพวกเจ้าเป็นใคร ให้คิดเอาเอง

    ๑๓.ร่างกายไม่ดี ก็ให้เห็นเป็นธรรมดา หรือร่างกายดีอันเนื่องจากธาตุ ๔ มีความทรงตัวแค่ระยะหนึ่ง ก็ให้เห็นเป็นของธรรมดา แล้วจงอย่าคิดว่าร่างกายจักทรงตัวอยู่อย่างนั้นเสมอไป ร่างกายไม่ดีก็ไม่เที่ยง ร่างกายดีก็ไม่เที่ยง มันมีแต่ความแปรปรวนหมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกวัน หรือทุกขณะจิต นั่นคือธรรมดาของร่างกาย แล้วในที่สุดร่างกายนี้ก็มีความแก่และมีความตายเป็นธรรมดา หมั่นพิจารณาให้เห็นกฎของธรรมดาให้มาก จิตใจจักได้มีความสุข หรือแม้กระทั่งการถูกด่า-ถูกนินทา หรือถูกสรรเสริญเยินยอ ก็เป็นเรื่องธรรมดา เหล่านี้ หมั่นพิจารณาธรรมดาให้มาก แล้วจักมีการยอมรับ ในกฎของธรรมดาทั้งปวง จิตใจจักสงบและเป็นสุข ให้พยายามรักษาอารมณ์พิจารณาเหล่านี้ให้มาก




    รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น

     
  16. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    ประมาทได้ชื่อว่า "ตายไปแล้ว"

    ธรรมโอวาทหลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน

    มีแต่คนบ่นว่าครูบาอาจารย์องค์นั้นมรณภาพแล้ว องค์นู้นก็มรณะแล้ว ไม่ได้พบ ไม่ได้เห็นท่าน ไม่ได้คุยกับท่าน เมื่อก่อนก็รู้สึกสงสารคนพวกนั้น แต่ถ้ามาพิจารณาเอาจริงๆ แล้ว ไม่น่าสงสารเลย เพราะคนพวกนั้นประมาท แม้กระทั่งท่านยังอยู่ก็ไม่เคยไปใส่ใจกับท่าน ไม่เคยถามไถ่ ไม่เคยมาอุปัฏฐากดูแลท่าน หรือเคยติดขัดข้องในเรื่องของการปฏิบัติธรรมก็ไม่เคยได้มาถามไถ่ ก็เลยไม่ได้รับมรดกอันสูงค่าจากท่านไป มันก็เลยเรียกว่าไม่น่าสงสาร ยังมีคนหลายคนอีกมากนะ...

    เมื่อก่อนเราก็ดูในประวัติหนังสือสมัยครูบาอาจารย์ท่านนั้น สมัยครูบาอาจารย์ท่านนี้ ทำให้เราอยากจะเกิดทันท่าน "ถ้าเกิดทันท่านก็ดีหนอ" เราก็คงจะเป็นเหมือนอย่างองค์นั้น เราก็เป็นเหมือนอย่างองค์นู้น มันเป็นความเพ้อฝัน แท้ที่จริงสิ่งปัจจุบันลอยอยู่ตรงหน้า ตั้งอยู่ตรงหน้า แต่เราไม่ขวนขวาย เรียกว่า ประมาท ได้ชื่อว่า "ตายไปแล้ว"

    พากันพิจารณาดู มาเหละหละ กินๆ นอนๆ เหละๆ หละๆ เอาแต่สนใจนอกเรื่อง จะเรียกว่าเป็นพุทธบุตรก็ไม่ได้ จะเรียกว่าคนดีสาวกของพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ เราไม่ใส่ใจ เราไม่ตั้งใจ เหมือนเราเป็นโรคร้าย หมอบอกให้กินยาตรงเวลา ขาดแม้แต่เวลาหนึ่งไม่ได้ กินใหม่ก็ไม่มีผล คนๆ นั้นจะปฏิบัติตนอย่างไร แน่นอน... มนุษย์และสัตว์ต้องกลัวตาย ต้องกินตามที่หมอสั่งตรงเวลาทุกวัน เพราะกลัวว่าจะตาย ...

    แต่คนไม่เห็นประโยชน์ในการภาวนาจิต ในการมีสติ ในการสำรวมระวังในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถือว่า มันไม่สำคัญ เห็นเรื่องอื่นเป็นเรื่องสำคัญมากกว่า แต่พอเรานั่งปฏิบัติเวลากลางคืน จิตไม่สงบ "นี่เป็นเพราะอะไร" เพราะว่าเวลาปกติของเรา เราไม่ได้สำรวมไม่ระวัง แล้วเราจะปฏิบัติดีได้อย่างไร เท่ากับเรากำลังปรามาสคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าเป็นของง่าย...

    จากหนังสือ ก้าวลงสู่กระแสธรรม ๓ โดย หลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน
    ขออนุโมทนาในธรรมทานจาก
    Paron Yodkraisri | Facebook
     
  17. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    พระอาจารย์ชัชวาลฝากแจ้งข่าว จิตบุญ ๑๑๘ ครับ
    ท่านตามพระอาจารย์ออกมาจากถ้ำ เพื่อมาบวช ในวันที่ ๑๕ธค นี้ครับ
    เพื่อเป็นกำลังสำคัญและสืบต่องานของสายจิตเกาะพระร่วมกับพระอาจารย์ต่อไป

    พระอาจารย์ขอมอบผลบุญทั้งมวลให้จติบุญ จิตเกาะพระ จิตบำเพ็ญ ละ สายบุญจิตเกาะพระทุกท่านด้วยครับ ...

    ขอให้โมทนาบุญ และ รับไปทั้งหมดทั้งมวลด้วยเทอญ ... สาธุ


    จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จม
     
  18. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    ทุกข์ยิ่งใหญ่เพียงใด ก้อไม่ร้ายเท่าทุกข์ในจิตที่ปรุง
    การตาย ... ก้อมิใช่การตายของดวงจิตเจ้าแต่อย่างใด
    จงน้อมรับ และ ตายให้เป็น
    มิใช่ ตายทั้งกายและจิต ...
    จงตายได้ทุกขณะจิต ...

    กายนั้น เจ้าส่งคืนธรรมชาติไป
    จิตนั้น ตามพ่อมา ...


    จิตมิได้ตาย เพียงแต่ส่งต่อไปในที่ที่เจ้ากำหนด จะ นรก เทวดา สวรรค์ นิพพาน ทุกดวงจิตเลือกได้เอง ...


    อย่าตายแบบเสียของ ต้องตายให้เป็น ...



    จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จม
     
  19. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    สามเสาหลัก

    ศีล ... เป็นเสาค้ำ
    สมาธิ ... เป็นตัวส่ง
    ปัญญา ... เป็นกุญแจไข

    ใช้เพียงสามสิ่งนี้ จิต ก้อจะหลุดพ้น จากกองทุกข์ ทั้งมวล ในจิตตน


    จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จม
     
  20. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    สติ ...

    ขอให้ทุกดวงจิตอย่าละทิ้ง สติ นะครับ
    มีสิ่งใดเข้ามา ไม่ว่าร้ายหรือดี ... ถ้าสติ ไม่ รู้ และทำงาน
    จิตจะเข้าไปเกาะกับสิ่งนั้น ด้วยความเคยชินที่เคยทำมา ...

    ถึงจิตจะทรงฌาน แต่ถ้าสติไม่ทำงาน ก้อมีโอกาสที่จะหลุดจากฌานได้

    สำหรับผู้ที่อินทรีย์แก่กล้า เราคิดว่า สติจะแนบแน่นในสิ่งที่ควรทำแล้ว
    แต่สำหรับผู้ที่อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ขอให้ฝึกสติบ่อยๆนะครับ

    เพียงเสี้ยวเดียวก่อนตาย ถ้า สติไม่เท่าทันสิ่งที่ควรทำ

    จงระวัง จิตจะส่ายไป แล้วจะเสียดายกับสิ่งที่ปฎิบัติมายาวนาน

    ที่กล่าวมา ไม่มีอะไรหรอกครับ เสียดาย อุตส่าห์เดินมรรคมา แต่ ตกม้าตาย เพราะ สติ ตัวเดียว ...

    จิตบุญ ก้อเช่นกัน อย่าห่างสตินะครับ มิใช่ทรงแต่ฌาน มีสุขในอารมณ์นิพพาน แต่มองข้ามสติไป

    สิ่งใดๆ ถ้า มองหรือทำด้วยความประมาทแล้ว ... ย่อมเป็นหนทางแห่งความเสื่อม

    จิตทรงฌาน สติเท่าทันจิต ... เพียงเท่านี้นะ
    ทำหรือรับรู้สิ่งใด ขอให้มี สติ นะครับ
    วางใจให้เป็นกลาง แล้ว จะวางได้ทุกสิ่ง

    จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จม
     

แชร์หน้านี้

Loading...