แชร์ประสบการณ์หลวงพ่อแพและโชว์วัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย jaruwat007, 13 มิถุนายน 2011.

  1. SCB

    SCB Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +89
    สวยมากครับ
     
  2. จ่าต๊อบ

    จ่าต๊อบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +10,262
    กราบหลวงพ่อแพ และขอสวัสดีพี่ๆ สมาชิกทุกท่าน
    ผมมีพระรอดอยู่ 1 องค์ รุ่นจงอางศึก แต่ไม่ทราบว่าแท้หรือป่าวรบกวนพี่ ๆ ช่วยพิจารณาให้สักนิดนะครับผม เพราะจะมอบให้เพื่อนเป็นของขวัญปีใหม่ นี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. paparwin

    paparwin Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +80
    แท้ครับ จากเด็กสิงห์บุรี แต่ผมยังสงสัยตั้งแต่นานแล้วนะเรื่องพระรอดหลวงพ่อแพ งงลักษณะว่าองค์ไหน คือรุ่นแรก เพราะสร้างออกมาสองรุ่น จนยังไม่กระจ่างเลยครับ
     
  4. paparwin

    paparwin Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +80
    ยังมีอีกเหรียญนะครับสำหรับหลวงพ่อแพ เหรียญที่ออกวัดพริก (พลิก) วัดโพธิ์สังฆาราม เหรียญนี้ถามคนท้องที่ดูว่า สุดยอดครับ ที่สำคัญราคาไม่แพง ทั้งรถชนไม่เป็นอะไร และโดนฟันไม่เข้า ถามลุงปี๊ดเทศบาลโพสังโฆ และยายกุ่ย บ้านวัดพริก หรือยายฟ้า นะครับว่ามีประสบการณ์อะไรบ้างกับเหรียญนี้ แต่มีออกเสริมนะครับไว้ผมจะหารูปถ่ายมาให้ชมครับ
     
  5. บุญสง่า

    บุญสง่า สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +7
    หลวงพ่อแพ

    หลวงพ่อแพที่ผมสะสมไว้ครับ เอารูปจากในเวป ที่ผมประมูลชนะมาลงให้ดูครับ (ขออภัยที่ไม่ได้ถ่ายรูปใหม่ แต่ที่เห็นอยู่เป็นของผมทั้งหมดครับ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      126.5 KB
      เปิดดู:
      2,722
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      125.9 KB
      เปิดดู:
      1,637
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      113.9 KB
      เปิดดู:
      1,873
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      333.7 KB
      เปิดดู:
      2,708
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      398 KB
      เปิดดู:
      1,291
    • 6.jpg
      6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      717.7 KB
      เปิดดู:
      1,387
    • 7.jpg
      7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.3 KB
      เปิดดู:
      2,032
    • 8.jpg
      8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      80.8 KB
      เปิดดู:
      1,615
    • 9.jpg
      9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95.4 KB
      เปิดดู:
      1,241
    • 10.jpg
      10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      14.6 KB
      เปิดดู:
      7,164
    • 11.jpg
      11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      12.6 KB
      เปิดดู:
      7,133
    • 13.jpg
      13.jpg
      ขนาดไฟล์:
      136.2 KB
      เปิดดู:
      1,424
    • 14.jpg
      14.jpg
      ขนาดไฟล์:
      136.2 KB
      เปิดดู:
      2,221
    • 15.jpg
      15.jpg
      ขนาดไฟล์:
      100.8 KB
      เปิดดู:
      1,401
    • 16.jpg
      16.jpg
      ขนาดไฟล์:
      51.1 KB
      เปิดดู:
      1,148
    • 19.jpg
      19.jpg
      ขนาดไฟล์:
      38 KB
      เปิดดู:
      1,133
    • 18.jpg
      18.jpg
      ขนาดไฟล์:
      52.8 KB
      เปิดดู:
      1,252
    • 17.JPG
      17.JPG
      ขนาดไฟล์:
      128.1 KB
      เปิดดู:
      1,246
    • 6348817030510800001.JPG
      6348817030510800001.JPG
      ขนาดไฟล์:
      107.1 KB
      เปิดดู:
      1,146
    • 6348817030519300002.JPG
      6348817030519300002.JPG
      ขนาดไฟล์:
      69.9 KB
      เปิดดู:
      1,101
    • 013641_48U6S.JPG
      013641_48U6S.JPG
      ขนาดไฟล์:
      55.8 KB
      เปิดดู:
      1,500
    • 013803_KeZdL.JPG
      013803_KeZdL.JPG
      ขนาดไฟล์:
      42.3 KB
      เปิดดู:
      1,309
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2012
  6. paparwin

    paparwin Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +80
    พระสมเด็จที่มีชื่อเสียงของหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง อันนับเป็นพระเครื่องที่มีชื่อเสียงเลื่องลือระดับเอกอุนั้นต้องยกให้สมเด็จรุ่นแพพัน ที่บันทึกไว้ว่าสร้างในปี ๒๕๑๐ พร้อมกับพิมพ์คะแนน อีกสองแบบ สองพิมพ์ และพระรูปเหมือนขนาดบูชา รุ่นที่ ๒ และ ๓ ในปีเดียวกัน โดยใช้แม่พิมพ์เดิมที่ใช้สร้างรุ่นแรก

    พระสมเด็จรุ่นนี้แม้จะไม่ใช่พระเครื่องรุ่นแรกของท่าน แต่ก็เป็นยุคต้นๆ เนื้อหามวลสารเป็นเนื้อผงฯ ที่ท่านปลุกเสกเอง และท่านได้ผสมผงอิธิเจ จากกรุโบราณวัดสัมฤทธิ์ ลงไปเป็นจำนวนมาก จึงทำให้สมเด็จแพพัน
    เป็นพระสมเด็จที่มีประสบการณ์มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านโภคทรัพย์ นำความสำเร็จมาสู่นักธุรกิจชาวสิงห์บุรีและใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก อีกทั้งด้านเมตตามหานิยมก็ไม่บันเบา การค้าการขายได้รับการอุดหนุนเป็นอย่างดียิ่ง จนทำให้หลวงพ่อแพเป็นที่เทอดทูลบูชาของชาวสิงห์บุรีอย่างถ้วนทั่ว แบบว่าไม่มีร้านค้าใดในตลาดสิงห์บุรีจะไม่บูชาภาพถ่ายและพระเครื่องของท่าน ปานนั้นจริงๆ.....!

    พระสมเด็จแพพัน พิมพ์เล็ก(คะแนน) องค์นี้เป็นแบบที่ ๒ ไม่สอดตะกรุด ปิดทองในแม่พิมพ์ สภาพจัดว่าสวยทีเดียว แม้จะสร้างรุ่นเดียวกันกีบแบบที่ ๑ แต่พิมพ์นี้พบเห็นได้น้อยกว่ากันมาก เพราะเป็นแม่พิมพ์ที่นำมาใช้ภายหลังจึงกดพิมพ์พระออกมาได้จำนวนน้อยกว่ามาก และไม่มีตะกรุดทองคำเหลือให้สอดได้ครบทุกองค์ นับว่ามีประวัติและมีตัวอย่างให้เห็นชัดเจนสบายใจได้ครับ

    “พระธรรมมุนี” หรือ “หลวงพ่อแพ เขมังกโร” มีนามเดิมว่า แพ ใจมั่นคง เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๘ ตรงกับขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง ณ บ้านสวนกล้วย เลขที่ ๙๓/๓ หมู่ที่ ๓ ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี บิดาชื่อ นายเทียน ใจมั่นคง มารดาชื่อ นางหน่าย ใจมั่นคง มีพี่น้องร่วมสายโลหิต ๔ คน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง
    เมื่ออายุได้ ๘ เดือน โยมมารดาผู้ให้กำเนิดได้ถึงแก่กรรม ดังนั้น นายบุญ และนางเพียร ขำวิบูลย์ สามีภรรยาซึ่งมีศักดิ์เป็นอา ได้ขอเด็กชายน้อยๆ ที่มีอายุเพียง ๘ เดือน จากนายเทียน ใจมั่นคง โยมบิดาผู้บังเกิดเกล้า โดยรับอุปการะเป็นบุตรบุญธรรม
    เมื่ออายุได้ ๑๑ ปี โยมบิดา-มารดาบุญธรรม (นายบุญ และนางเพียร ขำวิบูลย์) ได้นำเด็กชายแพไปฝากอยู่วัดกับสำนักอาจารย์ป้อม เพื่อที่จะศึกษาเล่าเรียนตามแบบโบราณนิยม คือ การเรียนภาษาไทย ภาษาขอม นอกจากนั้น ยังได้เรียนหนังสือมูลบทบรรพกิจ ทางธรรมก็มีพระมาลัยสูตร และยังได้หัดอ่านพระธรรมเจ็ดคัมภีร์
    ปี พ.ศ.๒๔๖๑ เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี โยมบิดา-มารดาบุญธรรมได้ส่งไปศึกษาต่อที่สำนักวัดอาจารย์สม ภิกษุชาวเขมร วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ การศึกษาในกรุงเทพฯ ขั้นแรกได้เริ่มเรียนหนังสือโบราณท่องสนธิ (อัตโถ อักขระสัญญโตฯ), เรียนมูลกัจจายนสูตร เป็นเวลา ๑ ปี ต่อมา ก็ไปเป็นนักเรียนบาลีไวยากรณ์ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
    ครั้นต่อมาปี พ.ศ.๒๔๖๓ เมื่อศึกษาหาความรู้จนอายุได้ ๑๖ ปี ก็ได้เดินทางกลับบ้านเกิด เพื่อเยี่ยมเยียนโยมบิดาผู้ให้กำเนิดและโยมบิดา-มารดาบุญธรรม เมื่อบุพการีทั้งสามของท่านเห็นว่าท่านโตพอสมควรแล้ว จึงได้ให้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๓ ณ วัดพิกุลทอง ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีพระอธิการพัน จันทสโร เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง (ในขณะนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์
    ครั้นเมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็ได้เดินทางกลับไปอยู่วัดชนะสงคราม ตามเดิม จนเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ ท่านสามารถสอบไล่นักธรรมชั้นตรีได้ (ในสมัยนั้นผู้เข้าสอบต้องอายุ ๑๙ ปีจึงจะมีสิทธิ์ เข้าสอบได้) นอกจากนี้แล้ว ท่านยังได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ต่อไปอีก จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๘ นับว่าได้นำเกียรติมาสู่วัดชนะสงคราม เป็นอย่างมาก จากนั้นท่านได้ไปเล่าเรียนที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ โดยเป็นศิษย์ของ ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)
    ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ นายเทียน ใจมั่นคง บิดาผู้บังเกิดเกล้าก็ได้ถึงแก่กรรม ท่านจึงเดินทางกลับไปจังหวัดสิงห์บุรี เพื่อจัดการศพโยมบิดา แล้วกลับมาอยู่วัดชนะสงครามเช่นเดิม
    สามเณรเปรียญแพ ขำวิบูลย์ ได้ทำการอุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ในวันขึ้น ๖ ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันพุธที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๙ ณ พระอุโบสถวัดพิกุลทอง โดยมีพระมงคลทิพย์มุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์, ท่านพระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “เขมังกโร” แปลว่า “ผู้ทำความเกษม”
    ภายหลังจากอุปสมบทแล้ว พระแพ เขมังกโร หรือมหาแพ ก็ได้เดินทางกลับสู่วัดชนะสงคราม เพื่อตั้งใจศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม ให้ได้ในระดับสูงที่สุด เพื่อที่จะได้นำความรู้ ความสามารถที่ได้ฝักใฝ่ศึกษาเล่าเรียนนั้น นำไปสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าและประโยชน์ต่อชุมชนและพระพุทธศาสนาอย่างเต็ม ที่ พระแพ เขมังกโร พยายามที่จะศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ อ่านหนังสือตำราเรียนอยู่เสมอ และในปีเดียวกันนั้นท่านสอบนักธรรมชั้นโทได้
    โดยความมุมานะพยายาม โดยอาศัยแสงสว่างจากเทียนไขหรือตะเกียง โดยส่วนมากเพราะสาเหตุนี้ นัยน์ตาอันเป็นส่วนสำคัญของสังขาร ก็เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ทุกครั้งที่ตรากตรำอ่านหนังสือมากเกินไปในที่สุด นายแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้แนะนำไม่ให้อ่านหนังสืออีกต่อไป มิฉะนั้น นัยน์ตาอาจพิการได้
    ดังนั้นภายหลังจากสอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยคแล้ว การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมก็ต้องยุติลง แต่ด้วยความที่เป็นผู้มีใจใฝ่การศึกษา พระแพ เขมังกโร จึงได้ศึกษาและปฏิบัติสมถกัมมัฎฐาน วิปัสสนากัมมัฎฐานในสำนักของพระครูภาวนาฯ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จนชำนาญและดำเนินการสั่งสอนให้แก่ประชาชนทั่วไป
    ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๗๑-๒๔๗๒ ท่านได้รับหน้าที่เป็นครูสอนบาลี โดยสอนตามคณะต่างๆ ของวัดชนะสงคราม
    ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ พระอาจารย์หยด พวงมสิต เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ได้ลาสิกขา ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างเว้นลง ชาวบ้านพิกุลทองและชาวบ้านจำปาทองจึงนิมนต์ให้พระแพ มารับเป็นเจ้าอาวาส ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๗๔ ขณะนั้นท่านได้เดินทางกลับมาเยี่ยมโยมบิดาและญาติพี่น้อง ซึ่งท่านได้พำนักอยู่ที่วัดพิกุลทอง
    ท่านเห็นว่าวัดพิกุลทองเป็นวัดบ้านเกิดเมืองนอน ตอนนี้เสนาสนะชำรุดทรุดโทรมมาก โดยเฉพาะพระอุโบสถซึ่งสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๐ และขณะนั้นท่านได้หยุดพักรักษานัยน์ตา ประสงค์จะพักผ่อนหาความสงบ คิดว่าเมื่อตาหายดีแล้ว ก็จะไปศึกษาบาลีนักธรรมต่อตามความตั้งใจเดิม จึงรับปากว่าจะมาอยู่วัดพิกุลทอง ในระหว่างที่ยังว่างเว้นเจ้าอาวาสอยู่ ซึ่งในขณะนั้นพระแพ มีอายุเพียง ๒๖ ปี
    ปี พ.ศ.๒๔๘๒ คณะสงฆ์แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลถอนสมอ และในปีเดียวกันหลวงพ่อพิจารณาเห็นว่าพระอุโบสถชำรุดทรุดโทรมมาก เมื่อพระสงฆ์ประกอบพิธีสังฆกรรมแต่ละครั้ง ต่างกลัวไม้หลังคากระเบื้องจะหล่นถูกศีรษะ ไม่มีจิตเป็นสมาธิ ท่านจึงริเริ่มคิดที่จะบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ
    เมื่ออายุประมาณ ๒๔-๒๕ ปี สมัยยังศึกษาอยู่ที่กรุงเทพฯ ท่านได้เริ่มสนใจในทางปฏิบัติเพื่อหาความสงบทางใจ จึงเข้าอบรมและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในสำนักพระครูภาวนาฯ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ท่าเตียน) ได้ความรู้ในแถวทางปฏิบัติมาพอสมควร และยังได้ศึกษาจากท่านอาจารย์พระครูใบฎีกาเกลี้ยง วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นพระฐานานุกรมและศิษย์ผู้ใกล้ชิด สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านสร้าง-ลบผงพุทธคุณ พระครูใบฎีกาเกลี้ยงท่านได้เมตตาสั่งสอนอบรม และมอบตำราเกี่ยวกับจิตศาสตร์วิทยาคมให้
    ต่อมาทราบว่าในท้องที่อำเภอบางระจัน มีพระอาจารย์เรืองวิทยาคมอยู่รูปหนึ่ง มีคนนับถือและเกรงกลัวมากเพราะวาจาศักดิ์สิทธิ์ ชื่อ หลวงพ่อศรี เจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ ท่านจึงได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ จนมีความสามารถและเป็นที่โปรดปรานของหลวงพ่อศรี เป็นอย่างยิ่ง
    ท่านเล่าว่า หลวงพ่อศรี เมตตาสอนวิทยาคมให้อย่างไม่ปิดบังอำพราง และในขณะที่ก่อสร้างพระอุโบสถ หลวงพ่อศรีก็แนะนำให้ท่านสร้างแหวน และทุกครั้งที่ท่านได้สร้างเสร็จ ท่านจะนำไปถวายหลวงพ่อศรีปลุกเสก (ท่านถามหลวงพ่อศรีว่า สร้างแล้วคนนิยมกันไหม หลวงพ่อศรี ท่านบอกว่านิยมมาก ให้สร้างมากๆ ท่านจะสนับสนุน) ด้วยความเมตตาของหลวงพ่อศรีนี้เอง ทำให้ท่านได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ได้สำเร็จในเวลา ๒ ปีเศษ
    เมื่อหลวงพ่อมีบารมีมากขึ้นตามลำดับ วัดหลายวัดต่างนิมนต์ท่านเป็นประธานในการก่อสร้างวัด พระวิหาร และถาวรวัตถุต่างๆ มากมายหลายวัด และเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ทางวัดทางแถบอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ก็ได้นิมนต์ท่านไปร่วมงาน
    หลวงพ่อเล่าว่า ท่านเพลียมากจึงชวนศิษย์ไปจำวัด ที่หอสวดมนต์ โดยมีคนหลายนอนอยู่ก่อนแล้ว ก่อนนอนท่านเอาผ้าอาบน้ำฝนใส่ไว้ในย่าม จึงรู้สึกว่าย่ามใหญ่ คิดว่าคนที่นอนอยู่คงเข้าใจว่าเป็นเงิน ด้วยความอ่อนเพลียท่านจึงหลับไป พอท่านตื่นจากจำวัดเวลาเช้ามืด พบว่าย่ามหายไปแล้ว จึงแจ้งทางวัดทราบ สำหรับสิ่งของในย่ามมีเพียงของเล็กๆ น้อยๆ แต่ของที่สำคัญก็คือ พระสมเด็จวัดระฆังฯ ซึ่งได้รับจากสมบัติของโยมวัดชนะสงคราม จึงเป็นของที่แท้ และทรงคุณค่าทางด้านจิตใจของหลวงพ่อมาก ท่านจึงเสียดายเป็นอย่างมาก
    ญาติโยมช่วยกันติดตาม ปรากฏว่าได้รับของอื่นคืนครบทุกชิ้น ยกเว้นพระสมเด็จ สอบถามผู้ขโมยได้ความว่าได้นำไปขายให้บุคคลไม่ทราบชื่อ ไม่สามารถติดตามคืนได้ หลวงพ่อเล่าว่าท่านเสียดายมาก ระหว่างนั้นต้องไปขอยืมสมเด็จวัดระฆังจากอาจารย์หยด ซึ่งเคยเป็นเจ้าอาวาส มาติดตัวไปก่อน
    ด้วยความเคารพในบารมีสมเด็จพระพุฒาจารย์โต เป็นอย่างยิ่ง ทำให้หลวงพ่ออธิษฐานขอบารมี ณ วัดไชโยวรวิหาร ขอสร้างพระโลหะพิมพ์สมเด็จขึ้นใช้เอง และแจกจ่ายให้กับผู้เคารพศรัทธา จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๙๔ ประมาณเดือน ๖ ท่านได้นำช่างมาเททองหล่อ ที่ด้านใต้โบสถ์หลังเก่า โดยได้รับโลหะจากผู้ที่มาร่วมพิธีนำมาหล่อ เช่น เครื่องเงิน ขันลงหิน โต๊กทาน เชียนหมาก ตะบันหมาก สตางค์แดง สตางค์ข้าว สตางค์สิบ ทองเหลือง เป็นจำนวนมาก
    หลวงพ่อแพ เป็นพระเถราจารย์ ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ มีเมตตาเป็นที่สุด มีลูกศิษย์ลูกหามากมายทั่วประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง อาทิเช่น ประเทศฮ่องกง, สิงคโปร์, ไต้หวัน, มาเลเซีย เป็นต้น วัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นทุกรุ่นของท่านนั้นปรากฏพุทธคุณสูงเยี่ยมในทุกๆ ด้าน ล้วนได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นที่เลื่องชื่อลือชาอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีประสบการณ์มากมาย ทั้งแคล้วคลาด คุ้มครอง โชคลาภ ค้าขายร่ำรวย
    ตลอดชีวิตของหลวงพ่อแพ ท่านได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาอย่างเอนกอนันต์ และได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้แก่ประชาชนผู้เดือดร้อนหรือตกทุกข์ได้ยากตลอดมา ท่านเปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรของประชาชนทั่วไป ได้แผ่บารมีช่วยเหลือกิจการต่างๆ ผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อชาวสิงห์บุรีและพุทธศาสนิกชนทั่วไป จนได้รับความเคารพยกย่องถึงกับมีการขนานนามท่านว่า “เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย”
    ในระยะหลัง หลวงพ่อได้งดรับกิจนิมนต์ โดยคำแนะนำจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิงห์บุรี เนื่องจากไม่สามารถพยุงตัวเองได้ รวมทั้งมีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน และโรคชรา จนเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๑ ทางคณะแพทย์ไดเห็นสมควรนำหลวงพ่อเข้าพักรักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี เนื่องจากตรวจพบว่าหลวงพ่อเป็นโรคปอดอักเสบ ทางคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาจนอาการดีขึ้น
    ต่อมาในวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๑ ท่านอาการทรุดลง จนกระทั่งเวลา ๐๑.๓๐ น. ของวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๑ ท่านได้มีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ไม่รู้สึกตัว และหัวใจหยุดเต้น ทางคณะแพทย์ได้ทำการช่วยจนหลวงพ่อฟื้นคืนชีพได้สำเร็จ และทางได้ถวายดูแลรักษาจนอาการดีขึ้น จนกระทั่งเมื่อวันพุธที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๒ หลวงพ่อท่านได้ละสังขารลงอย่างสงบ ณ ห้อง ๙๐๑ ชั้น ๙ อาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร ๙๔ ปี โรงพยาบาลสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี สิริอายุรวม ๙๔ พรรษา ๗๓
    ปัจจุบัน ทางวัดพิกุลทองยังคงประดิษฐานสรีระของหลวงพ่อแพเอาไว้ เพื่อให้ศรัทธาญาติโยมและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้สักการบูชากราบไหว้ตลอด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. paparwin

    paparwin Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +80
    ผมไม่ได้มีเจตนา โปรโมทพระและขายพระหลวงพ่อแพ นะครับ เพราะผมแค่อยากเอาเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยเกี่ยวกับการสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อมาให้ชม บางทีจะได้มีความรู้เผื่อท่านจะได้เจอของดีพิธีราคาถูก เวลาท่านเดินเช่าหาพระครับ สำหรับหลวงพ่อแพ ผมรักและเคารพนับถือท่านมาตลอด จนมาทำงานอยู่สกลนคร วัตถุมงคลท่านไม่เคยห่างกาย เพราะผมขออธิฐานสิ่งใดมักจะมีความดีความชอบในธรรมมาดลใจให้สำเร็จและแคล้วคลาดจากอุบัติภัยได้ตลอด ศิษย์ขอบูชาครับ
    ต่อด้วยพิธีจตุรพิธพรชัย พิธีใหญ่อีกหนึ่งพิธี
    ประวัติการสร้างวัตถุมงคลชุดนี้น่าสนใจมากเพียงแต่คนจะทราบรายละเอียดค่อนข้างน้อยทำให้หลายคนมองข้ามของดีในพิธีนี้ไปอย่างน่าเสียดายครับ ประวัติมีอยู่ว่าเนื่องจากนายเรียน นุ่มดี ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ดู่ วัดสะแก) ในสมัยนั้นท่านกำลังใกล้จะเกษียณอายุราชการและจะกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่บ้านเกิดที่อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี แต่เนื่องด้วยวัดเขาใหญ่ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และเป็นวัดใกล้บ้านเกิดนั้นมีสภาพทรุดโทรม เสนาสนะก็ไม่ได้รับการบูรณะมานานมาก ดังนั้นนายเรียนจึงมีความตั้งใจที่จะหารายได้จำนวนหนึ่งไปปฏิสังขรณ์วัดเขาใหญ่ให้สวยงาม พร้อมทั้งสร้างวิหารจตุรพิธพรชัยขึ้นใหม่ จึงได้นำความมาปรึกษากับหลวงปู่ดู่ท่านว่าจะทำอย่างไรดี หลวงปู่ดู่ท่านจึงได้เมตตาแนะนำและให้คำปรึกษาในการจัดสร้างวัตถุมงคลตลอดจนการนิมนต์ครูบาอาจารย์มาร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลในพิธีนี้อย่างละเอียด โดยพิธีพุทธาภิเษกถูกหนดขึ้นที่วัดรัตนชัย (วัดจีน) อ.เมือง จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518

    พิธีพุทธาภิเษก ในวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ตรงกับวันแรม 7 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ จ.ศ. 1337

    เวลา 15.09 น. โหรประกอบพิธีบูชาฤกษ์

    เวลา 16.03 น. – 16.21 น. มหามงคลฤกษ์ ประกอบพิธีจุดเทียนชัย
    เวลา 16.30 น. พระสงฆ์เถระ 9 รูปเจริญพระพุทธมนต์ในพิธี ( ในพระอุโบสถวัดรัตนชัย)
    เวลา 19.09 น. พระพิธีธรรม 4 รูปเจริญพระคาถาพุทธาภิเษก พระคณาจารย์ 16 รูป เข้าประจำอาสนะปรก

    ส่วนพระเกจิอาจารย์ที่รับนิมนต์มาร่วมพิธีมีทั้งหมด 16 รูปคือ

    1. พระครูสังวรวิมล (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี อ.บางกอกใหญ่ จ.กรุงเทพฯ
    2. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
    3. พระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเรไรย์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
    4. พระโบราณคณิสสร (หลวงพ่อใหญ่) วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    5. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี
    6. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดบ้านช้าง อ.วังน้อย จ.อยุธยา
    7. พระครูกัลยานุกูล (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร อ.ธนบุรี จ.กรุงเทพฯ
    8. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    9. พระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์) วัดบางซ้าย อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา
    10. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
    11. พระราชสุวรรณโสภณ วัดพนัญเชิง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    12. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี
    13. พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อเฉลิม) วัดพระญาติการาม อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    14. พระครูภัทรกิจโกศล (หลวงพ่อหวล) วัดพุทไธสวรรค์ อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    15. หลวงพ่อโปร่ง วัดขุนทิพย์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    16. หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ (ศิษย์ก้นกุฎิของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค มาในนามของท่าน)

    นับได้ว่าเป็นมหาพิธียิ่งใหญ่พิธีหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนิมนต์พระภาวนาจารย์นั่งปรกในพิธีฯ นายจอม ตรีนิตย์ อดีตพัศดีเรือนจำพระนครศรีอยุธยา เล่าถึงการนิมนต์หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาคฯ ร่วมพิธีปรกฯ หลวงปู่สีท่านพูดว่า “ อายุมากแล้ว ไม่สะดวกในการเดินทาง ขอให้จัดอาสนะไว้หนึ่งที่ ถึงเวลาที่ฤกษ์กำหนดจะไปช่วยปลุกเสก ”

    เวลา 22.00 น. ประกอบพิธีดับเทียนชัยพระอาจารย์เจ้าทั้งนั้น พรมน้ำพระพุทธมนต์ฯ

    หลายคนอาจสงสัยว่า ในเมือทำวัตถุมงคล ในนาน หลวงปู่สีแล้ว ท่านไม่ได้เดินทางมาปลุกเสกหรือครับ….
    เหรียญรุ่นนี้ หลวงปู่ ท่านปลุกเสกที่วัด เป็นเวลา 1 เดือน ก่อนที่จะนำมาร่วมพิธีครับ และก็บวกกับว่า มีข้อมูลที่น่าว่าจะทำให้พิธี นี้ศักดิ์สิทธิ์มาก คือว่า หลวงปู่สี ท่านตอนนั้น อายุ 120กว่าปีแล้วครับ เดินทางมาไม่ไหวแน่ ท่านจึงจำวัด อยู่ที่กุฎิของท่าน(ปัจจุบันได้เรื้อไปแล้ว) ได้ส่งหลวงพ่อสมบูรณ์ ไปในนานของท่านแทนครับ แต่ก็มีลูกศิษย์ เชื่อว่า หลวงปู่ท่านเดินทางไปปลุกเสกด้วย โดยเดินญาณ มาร่วมปลุกเสก เพราะว่าท่านได้รับปาก กับหลวงปู่ดู่ไว้แล้วว่าจะมาร่วมปลุกเสกให้ จึงเท่ากับว่าเหรียญรุ่นนี้ หลวงปู่สีท่านปลุกเสก 2 ครั้งครับ
    ส่วนวัตถุมงคลที่ปลุกเสกในพิธีนี้มีอยู่ 4 ประเภท (ไม่นับรวมของฝากในพิธีนี้) คือ
    1. เหรียญ 9 พระอาจารย์ - จัดสร้าง 5,599 เหรียญ แบ่งออกเป็นอีกสองเนื้อคือ เนื้อเงิน (มีเพียงบางพระอาจารย์เท่านั้น) และเนื้อทองแดง มีทั้งแบบที่บรรจุในกล่องกำมะหยี่และที่ออกให้บูชาแบบเดี่ยว ๆ ที่นิยมเรียกว่า “เหรียญ 9 พระอาจารย์” นั้นเพราะว่าทางคณะกรรมการจัดทำเป็นเหรียญรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ที่ด้านหน้า และประทับยันต์ครูของท่านที่ด้านหลัง รวม 9 แบบ คือ หลวงพ่อนอ วัดกลาง หลวงพ่อถิร วัดป่าเรไรย์ หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู หลวงพ่อออด วัดบ้านช้าง หลวงพ่อไวทย์ วัดบางซ้าย หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม โดยเมื่อปั๊มเหรียญเสร็จจากโรงงาน คณะกรรมการได้นำเหรียญของแต่ละพระอาจารย์ไปมอบให้ที่วัดเพื่อให้ท่านปลุกเสกเหรียญของท่านล่วงหน้า 1 เดือนก่อนพิธีพุทธาภิเษกใหญ่
    2. พระสมเด็จ 9 ชั้น – จัดสร้างเป็นเนื้อผงแก่น้ำมัน จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุ ตามประวัติกล่าวว่าพระชุดนี้หลวงปู่ดู่ท่านตั้งใจออกแบบพิมพ์และมวลสาร เพื่อถวายให้หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาคเป็นกรณีพิเศษ โดยด้านหน้าจะล้อพิมพ์พระสมเด็จวัดไชโย ด้านหลังเป็นยันต์ครูของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค และมีคำว่า “วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี” ประทับอยู่ใต้ยันต์ครู โดยหลวงปู่ดู่ท่านได้มอบผงมหาจักรพรรดิ์จำนวนหนึ่งไปผสมเป็นมวลสาร จากนั้นนายเรียนจึงนำเรื่องนี้ได้กราบเรียนหลวงปู่สีทราบ ซึ่งท่านก็อนุโมทนาและอนุญาตตามนั้นและได้มอบผงวิเศษของท่านมาอีกจำนวนหนึ่ง สุดท้ายหลังจากได้มวลสารและกดพิมพ์เป็นองค์พระเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ดู่ท่านได้บอกให้นายเรียนนำพระสมเด็จชุดนี้กลับไปให้หลวงปุ่สีท่านปลุกเสกเป็นปฐม ซึ่งหลวงปู่ท่านก็เมตตาปลุกเสกให้เป็นกรณีพิเศษ 1 เดือน (เป็นพระอีกชุดหนึ่งของสายนี้ที่ปลุกเสกนานมาก) เสร็จแล้วจึงให้นายเรียนมารับกลับไปเพื่อรอเข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่
    3. พระแก้ว 3 ฤดู – จัดสร้างเป็นเนื้อผงและมีการลงสีเขียวที่พระวรกาย ปิดทองที่เครื่องทรง เฉกเช่นเดียวกับพระแก้วมรกตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.กรุงเทพฯ จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุไว้ มีทั้งแบบบรรจุกล่อง (ครบ 3 ฤดู) และที่ออกให้บูชาแบบเดี่ยว ๆ ด้านหน้าเป็นรูปพระแก้วมรกตทรงเครื่องตามฤดู (ร้อน / ฝน / หนาว) ด้านหลังประทับยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ (นะโมพุทธายะ) และมีคำว่า “วัดรัตนชัย (จีน) อยุธยา”
    4.พระปิดตาพิธีจตุรพิธพรชัย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    แท้แน่นอนครับ พระรอดรุ่นจงอางศึก ปี 14 ของดีราคาถูก พุทธคุณสุดยอดมากครับ :cool::cool::cool::cool::cool:
     
  9. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    พระรอดหลวงพ่อแพ ไม่ได้มีแค่ 2 รุ่นนะครับ

    รุ่นแรก ออกปี 06 ด้านหลังจะเรียบครับ ไม่อูมเหมือนรุ่นอื่น

    รุ่น 2 รู้สึกจะปี 09

    รุ่น 3 ถ้าจำไม่ผิดปี 12

    แล้วก็มาเป็นรุ่นจงอางศึก ปี 14

    หลังจากรุ่นจงอางศึก ผมไม่แน่ใจ รู้สึกว่าจะมีออกมาอีกรุ่น หรือ 2 รุ่นมั๊งครับ (น่าจะทำเหมือนรุ่นแรกย้อนยุคประมาณนั้น อันนี้ไม่แน่ใจนะครับ)
     
  10. cobit

    cobit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +176
    รบกวนถามพี่ ๆ สายหลวงพ่อแพด้วยครับ

    ไม่ทราบว่าใช่ของหลวงพ่อแพรึป่าวครับ ดูจากข้างหลังเหมือนใช่ครับ

    ถ้าใช่พิมพ์อะไร ปีไหนครับ

    ขอบคุณครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    ดูจากยันต์ด้านหลังน่าจะใช่ครับ แต่เป็นรุ่นใหน ปีอะไรนี่ไม่ทราบจริงๆ ครับ

    แต่ผมว่าน่าจะเป็นหลังจากปี 35-36 ไปแล้วนะครับ เพราะถ้าปีก่อนหน้านี้ผมน่าจะเคยเห็นบ้าง
     
  12. paparwin

    paparwin Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +80
    ครับผม ขอบคุณนะครับที่ชี้แนะ เพราะช่วงหลังทำแต่งานครับ เลยไม่ค่อยได้ศึกษา แต่ก็เคารพหลวงพ่อด้วยใจครับ ผมรบกวนอธิบายตะกรุดหลวงพ่อแพให้ผมได้ไหมครับ
    ขอบคุณครับ (เอกสกลนคร)
     
  13. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    ตะกรุดเท่สที่ผมรู้ มีอยู่ 2 รุ่นครับ

    รุ่นแรกถ้าจำไม่ผิดออกปี 11 มั๊ง

    รุ่น 2 น่าจะปี 24 ครับ
    รุ่น 2 มี 2 ขนาดครับ ออกจากวัดจะเลี่ยมพลาสติกเอาไว้


    วันนี้เอารูปรุ่น 2 มาดูก่อนไว้เดี๋ยวขอถ่ายรูปรุ่น 1 ก่อน

    [​IMG]
     
  14. jaruwat007

    jaruwat007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    664
    ค่าพลัง:
    +362
    รบกวนบอกราคาด้วยครับอยากได้อยู่พอดีจะได้หาได้ถูกราคา
     
  15. paparwin

    paparwin Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +80
    ตะกรุดรุ่นแรกหลวงพ่อแพครับ ใช้ตลอดตั้งแต่ได้มาจากตา
    ใช่ไหมครับ หรือว่ารุ่นสอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. paparwin

    paparwin Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +80
    อีกเหรียญพิธีดีพระอาจารย์ธรรมโชติ

    เหรียญพระอาจารย์ธรรมโชติ สิงห์บุรี ปี 2519 บล๊อคนิยมมีลูกประคำ หลวงพ่อกวย หลวงพ่อแพ ปลุกเสก วัดท่าวนครับรวบรวมมาให้ชมกันครับ เอาเหรียญก่อนละกัน
    พระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นพระสงฆ์ที่ชาวบางระจันภูมิใจอย่างสูงหรือแม้แต่ชาวไทยยังได้สดับรับฟังเกียรติคุณของท่านในศึกบางระจันครั้งเสียกรุง ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่ยืนยันเป็นหลักฐานของความเป็นเกจิอาจารย์ที่เก่าแก่ที่สุดท่านนึงโดยไม่ใช่นิทานเล่ากันปรัมปรา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN0765.JPG
      DSCN0765.JPG
      ขนาดไฟล์:
      35.4 KB
      เปิดดู:
      368
    • DSCN0755.JPG
      DSCN0755.JPG
      ขนาดไฟล์:
      43.3 KB
      เปิดดู:
      301
  17. มะลิทอง

    มะลิทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +133
    ผมสมาชิกใหม่ครับมีหลวงพ่อแพอยู่4องค์ครับไม่ทราบว่าเป็นแพพันเล็กหรือเปล่าครับช่วยพิจารณาให้หน่อยนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. paparwin

    paparwin Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +80
    สวยครับ ถ้าเป็นคะแนนแพพัน นั้นจะเป็นบล็อคปิดทองในตัวครับ แต่คะแนนแพสองพัน นั้นก็ใช้บล็อคเดียวกันแต่น่าจะเพิ่มอักระยันต์นะครับถ้าจำไม่ผิดเท่าที่ผมศึกษามา ผมอยากให้ศิษย์เขมังขโร มีเยอะจังๆๆ
    จากเอกสกลนคร ครับ
    อย่าเจ็บอย่าจน อย่าต่ำกว่าคน อย่าจนกว่าเขา
    พุทโธ พุทธตัง พุทธลาภัง ชิวหาสุวรรณนัง มุทุจิตตัง ปิยังมะมะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. paparwin

    paparwin Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +80
    สมเด็จพระกำแพงแก้ว วัดบ้านกล้วย อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี หลวงพ่อจงปลุกเสกปี 2504. พิธี+มวลสารสุดยอด สภาพสวย หายาก รับประกันความแท้100 % พร้อมบัตรรับรอง @@@@

    พระกำแพงแก้ว วัดรัมภาราม (วัดบ้านกล้วย) อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2504 ได้เก็บรวบรวมมวลสารอันเป็นมงคลต่างๆ มาเป็นส่วนผสมดังนี้

    1. ดินกรุพระเครื่องมีชื่อ 7 กรุ

    2. ไคลเสมาจากวัดที่มีชื่อลงท้ายว่า "แก้ว" 7 วัด

    3. ดินสังเวชนียสถาน 7 ตำบล

    4. ทรายจากกระถางธูปหน้าพระพุทธรูป ที่มีคนมาสักการะมาก 7 แห่ง

    5. เกสรดอกไม้ในที่บูชาตามสถานที่สำคัญ 7 แห่ง

    6. ใบโพธิ์ตรัสรู้จากประเทศอินเดีย 7 ต้น

    7. พระอภิธรรม 7 คัมภีร์

    8. ดินจอมปลวก 7 จอม

    9. น้ำมนต์ 7 วัด เป็นเครื่องประสาน อาทิ น้ำมนต์ คาถาแสน วัดรัมภาราม ปี พ.ศ. 2501, น้ำมนต์ 100 ปี วัดบวรนิเวศ และวัดราชบพิตร, น้ำมนต์เสาร์ 5 วิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช พิษณุโลก, น้ำมนต์หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตร, น้ำมนต์หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร, น้ำมนต์จากวัดระฆังฯ

    นำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน แล้วแผ่เป็นแผ่นผูกดวงชะตาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ดวงประสูติ ดวงตรัสรู้ ดวงปรินิพาน

    นอกจากนี้ยังได้รับผงเกสรดอกไม้และว่านต่างๆ จากอีกหลายพระคณาจารย์ เช่น หลวงปู่นาค วัดระฆังมอบผง สมเด็จพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี) ผงเศษพระปิลันธน์กับผงที่ท่านทำเอง พระครูวิริยะกิตติ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี มอบผงที่ท่านเก็บสะสมไว้ ซึ่งเหลือจากการสร้างพระรุ่นอินโดจีน หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก มอบผงมหาราช, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม มอบผงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ มูลกัจจายน์. อิทธิเจ, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง มอบผงมหาราช ปถมัง ตรีนิสิงเห นะ 108 เกสร 108 และว่านต่างๆ , หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ มอบผงวิเศษมหานิยม แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี, พระครูรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์ มอบเศษพระจากกรุวัดบ้านกร่าง และดินกลางใจเมือง 8 จังหวัด ดิน 534 วัด ดินสระ 7 สระ ดินโป่ง 5 แห่ง ดินจากสถานที่สำคัญอีก 24 แห่ง พระอาจารย์ถนอม เขมจาโร วัดนางพญา พิษณุโลกมอบเศษพระชำรุดเป็นจำนวนมากจากหลายกรุหลายจังหวัด คือ จากพิษณุโลก 115 กรุ รวมทั้งเศษพระนางพญา สุโขทัย 16 กรุ อุตรดิตถ์ 1 กรุ กำแพงเพชร 1 กรุ พิจิตร 1 กรุ ลพบุรี 1 กรุ ลำพูน 1 กรุ พระอาจารย์ประหยัด วัดสุทัศน์ฯ มอบผงที่เหลือจากการสร้างพระเมื่อปี พ.ศ. 2496 ซึ่งปลุกเสกโดยพระอาจารย์หลายสิบรูป เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน รวมทั้งผงเศษตะไบพระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) พระครูปริยัติยานุกูล วัดพระงาม ลพบุรี มอบทรายทองในถ้ำสังกิจโจ และเม็ดพระศกหลวงพ่อพระงาม นอกจากนั้นยังมีผงศักดิ์สิทธิ์จากพระคณาจารย์อื่นๆ ที่มอบให้อีกเป็นจำนวนมาก

    มวลสารที่ได้มาในคราวหลังนี้ นำมาผสมรวมกับคราวแรกจัดพิมพ์เป็น พระเครื่องเนื้อผง ด้านหน้าเป็นรูป พระแก้วมรกต ประทับนั่งอยู่บนรัตนบัลลังค์ ล้อมด้วยซุ้มเส้นลวด เป็นกำแพง 7 ชั้น ใต้สุดมีตัวหนังสือว่า กำแพงแก้ว ด้านหลังเรียบปรศจากอักขระเลขยันต์ใดทั้งหมดอยู่ในกรอบพิมพ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดความกว้างประมาณ 2.1 ซม. ยาวประมาณ 3.4 ซม. เนื้อหาเป็นเนื้อผงอมน้ำมัน สีน้ำตาลอมเขียว จำนวนไม่ทราบแน่ชัดแต่ประมาณว่าคงจะอยู่ในราว 3,000 องค์ เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็ได้นิมนต์พระเกจิอาจาย์ที่มีชื่อเสียงทางวิทยาคม จำนวน 27 รูปมาร่วมพิธีปรกปลุกเสก พิธีการได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2504 ตั้งแต่วันขึ้น 9 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 รวมเวลา 7 วัน 7 คืน

    รายนามพระคณาจารย์ ที่อาราธนามานั่งปรกปลุกเสก หมุนเวียนกันก็มีอาทิเช่น

    1.) พระเทพสิทธินายก ( หลวงปู่นาค ) วัดระฆัง

    2.) พระครูทักษิณานุกิจ ( หลวงพ่อเงิน ) วัดดอนยายหอม

    3.) พระครูวิริยะกิตติ ( หลวงปู่โต๊ะ ) วัดประดู่ฉิมพลี

    4.) พระครูประสาธน์วิทยาคม ( นอ ) วัดกลางท่าเรือ

    5.) พระครูอาคมสุนทร ( มา ) วัดสุทัศน์ฯ

    6.) พระครูศรีพรหมโสภิต ( แพ ) วัดพิกุลทอง

    7.) พระครูรักขิตวันมุนี ( ถิร ) วัดป่าเลไลย์

    8.) พระครูนิสิตคุณากร ( กัน ) วัดเขาแก้ว

    9.) หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก

    10.) หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา

    11.) หลวงพ่อซวง วัดชีประขาว

    12.) หลวงพ่อชม วัดตลุก

    13.) หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์

    14.) หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู

    15.) หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน

    16.) หลวงพ่อฉาย วัดป่าธรรมโสภณ

    17.) หลวงพ่อผัน วัดพยัคฆาราม

    18.) หลวงพ่อดำ วัดเสาธงทอง

    19.) หลวงพ่อสาย วัดไลย์

    20.) หลวงพ่อโสภิต วัดรัมภาราม
    21.) หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
    เป็นอีกหนึ่งของดีที่หลวงพ่อแพ เราเข้าพุทธพิเษกครับ
    จากเอกสกลนคร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. มะลิทอง

    มะลิทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +133
    ขอบคุณมากครับเป็นคะแนนพันใช่มั๊ยครับแล้วอีก3องค์เป็นรุ่นอะไรบ้างครับกำลังศึกษาอยู่ครับเป็นพระเก่าของคุณแม่เก็บไว้นานแล้วอยากทราบไว้เป็นความรู้ครับขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...