จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. ข้าวฮาง

    ข้าวฮาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2012
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +608
    เอามั่ง ๆ ขอรับ ปีใหม่สุขกายใจนะครับ ช่วงนี้งดกลอน ซ่อมประตูก่อนเดี๋ยว อิอิอิ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=o2_aP9RkBlc]เกิดมาพึ่งกัน - YouTube[/ame]

    "เกิดมาพึ่งกัน แดกดันไปใย อ่อนหวานเข้าไว้ ชั่วดีปลายเสมอ อยู่สิโอบอ้อม ค้อมหน่อยอย่าเคือง ธรรมมิเสมอ ไปมิเสมอ อยู่มิเสมอ คนไปน้อมสาธุฯ คนอยู่วอนอาทร หนักหน่อยขอเถอะผ่อน โปรดอย่าเข็ญฉันเป็นตามใคร"

    "อารมณ์ก็ยังบ้าง ไม่ขนาดจะฆาตใคร หล่อเลี้ยงค่อยตามไต่ เป้ากรายเป็นสุขธัมช์ "

    "เมตตาบางครากรายเป็นเมตตายย์ ตนด้อยข้าน้อยไหว้ รื่นเริงในบาทบัลล์"

    "ปฏิเสธเดินคู่เคียงผอง จองหองก็รึไม่ เพียงอวยสองมือชัย นบไว้เหนือเพียงกัน"

    "ประสานหลายมือนบ บรรจบจิตเธอฉัน บุญบุญล้นท่วมทัน สานฉันเธอเคียงบุญฯ"
    ซ่อมประตูเสร็จ ขออนุญาตใส่กลอนสักอึดใจ สาธุเสมอเหมือนญาติธรรมสายโลหิตแห่งพุทธบิดรองค์เดียวเสมอร่วมแดนกำเนิด สาธุฯ กับทุกจิตบุญขอรับ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มกราคม 2013
  2. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ศีลคืออะไร? ศีลคือความสะอาด สว่าง สงบ.

    ศีล มิได้อยู่ที่วัด ที่พระ ที่คนนั้น คนนี้.

    ศีล อยู่ที่ใจ เกิดที่ใจ ต้องทำเอาเอง.

    บุคคลใดมีจิตใจสะอาด คือมีความบริสุทธิ์ใจ จริงใจอยู่เสมอทุกการกระทำทั้ง พูด คิด ทำ

    บุคคลใดมีจิตใจสว่าง คือจิตใดที่มีปัญญา รู้ดี รู้ชั่ว รู้ถึง อกเขา อกเรา จริงๆ แล้วจิตนั้น

    จะไม่กล้าทำความชั่วแม้แต่นิดเดียว เพราะจิตจะมีหิริโอตตัปปะ คือความละอาย

    และความเกรงกลัวต่อบาป บุคคลใดมีจิตใจสงบ คือจิตใดมีหิริโตตัปปะรักษาอยู่แล้ว กาย วาจา ใจ

    นั้นก็สงบเป็นปกติ จะไม่สามารถทำบาปได้เลย หมายถึงเบียดเบียนใครไม่ได้เลย.

    นี่แหละ คือศีล ศีลคือกาย วาจา ใจ ที่สงบจากบาปนั่นแหละ สรุปให้เข้าใจง่ายๆ ว่า.

    ศีลแท้คือความปกติของ กาย วาจา ใจ นั่นเอง ท่านจึงเปรียบศีลว่าเหมือนกับ ศิลา

    คือ หนักแน่น มั่นคงไม่หวั่นไหวต่อกิเลสต่างๆ จะเป็นปกติอยู่ทุกเวลา.

    ศีลนั้นเอาจากใครไม่ได้ต้องทำเอง การไปขอรับศีลจากพระ หมายถึงการขอรับคำ

    แนะนำจากท่านเท่านั้น มิใช่ไปเอาศีลจากท่านได้ ต่อเมื่อเข้าใจดีแล้ว จะต้องนำมา

    ทดลองกระทำที่ตนเองดูอีกทีจนเห็นจริง คือเห็นคุณและโทษตรงตามนั้น เห็นผลของมัน

    ปรากฏที่ตนเองจริงๆ จนมั่นใจว่าศีลแท้นั้นเป็นอย่างไร และอยู่ตรงไหน.

    ศีลพระ พระก็ต้องทำที่ตัวของท่าน. ศีลโยม โยมก็ต้องทำที่ตัวของโยม จะทำให้กันไม่

    ได้ หรือจะแย่งกันก็ไม่ได้ ต้องทำเอง เหมือนจมูกที่ใช้หายใจ เราจะเอาจมูกใครมาใช้หายใจ

    หรือใครจะมาเอาจมูกเราไปหายใจแทนกันก็ไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ดังนั้น.

    ศีล จึงเป็นเฉพาะตนจริงๆ


    คัดจากหนังสือธรรมะกับการปฎิบัติธรรม.
    ขอฝากไว้กับท่านผู้อ่านทุกๆท่านค่ะ.

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2013
  3. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    การปฏิบัติธรรม จุดสําคัญนั้น ต้องมีใจเป็นใหญ่ คือถ้าเราเข้าใจความจริงแท้แล้วว่า"การปฏิบัติธรรมที่แท้จริงนั้น ใช้กายเป็นสถานที ใช้ใจตนเป็นผู้กระทํา เพียงแต่ให้มีความอดทนจริง เพียรจริง ทําจริง อย่าท้อถอยต่ออุปสรรคใดๆที่จะมาทดสอบตน ทุกอย่างอยู่ที่รู้ เข้าใจแล้วทําจริงเท่านั้น เพราะ "ธรรมใดไร้ผลถ้าตนนั้นไม่ทํา"เราจะต้องพยายามช่วยตัวเอง เตือนตนเอง บังคับตนเอง เพราะถ้าเราจะเอาจริงก็เหมือนเราทําหน้าที่งานการ ก็เช่นเดียวกันกับธรรม "ธรรมก็คือหน้าที่ของคนผู้ปฏิบัติ"ผู้ปฏิบัติธรรมท่านไม่ให้ทิ้งหน้าที่การงานและธรรมก็เช่นกันผู้ปฏิบัติท่านให้ทิ้งความยึดมั่นถือมั่นในจิตที่ผ่านมาและผ่านไปต่างหาก ให้ทิ้งทุกข์ทางใจต่อความยินดีหรือยินร้ายให้หมดสิ้น คือ อยู่กับทุกเหตุการณ์ได้โดยไม่ทุกข์ใจเท่านั้นได้ ดังนั้นทุกคนจึงมีโอกาสทําได้ ถ้าเรามีหลักใจที่ดี ที่ถูกแท้จริงคือ การ มี ศรัทธา ความเพียรกล้า และมีสติ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างก็น้อมเข้ามาใส่ตนหมายถึง"โอปนยิโก"ว่าเป็นอย่างไรในความจริงแท้ที่เป็นสัจธรรมจริงๆ จนกระทั่งเข้าใจรู้แจ้งตลอดสาย แล้วก็ปล่อยวางได้ในที่สุด จึงขอให้ท่านทั้งหลายเป็นผู้น้อมเข้ามาใส่ตัว หรือ "โอปนยิโก"ให้รู้ให้เห็นในอริยสัจ ๔ ที่มีอยู่ในกายของเรานี่เอง.ที่มา หนังสือธรรมะกับการปฏิบัติธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2013
  4. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    สภาวะธรรม

    สภาวะธรรมบางอย่าง
    มีตั้งแต่หยาบจนถึงละเอียด และก็ละเอียดมากๆ
    แต่สภาวะธรรมตัวที่ละเอียดสุดนี่สิ! แค่จะเอาตามความเข้าใจตนเองไม่ได้
    แต่จะต้องเข้าให้ถึง จึงจะรับรู้อารมณ์นั้นจริงๆ(สภาวะธรรม)

    แต่ปุถุชนชอบนำมาพูดกันเองทั้งนั้น แต่ถ้าเป็นพระอริยเจ้าจริงๆแล้ว ท่านไม่ค่อยพูด
    แต่ถ้าจะพูดก็แค่เพื่อนสหธรรมิก(ผู้มีธรรมร่วมกัน/ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน) หรือ ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดกันจริงๆ
    แต่มิใช่เลือกพูดแต่เฉพาะลูกหลานหรือญาติของตนเอง
    แต่ท่านมิได้เลือกที่จะพูดกับใครๆ แต่จะเลือกพูดเฉพาะผู้ที่มีจิตละเอียด
    หรือจิตใกล้เคียงกัน
    และท่านก็ไม่เคยไปเที่ยวป่าวประกาศให้กับคนทั่วๆไป ได้รับรู้
    เพราะมันไม่มีประโยชน์อันใด แต่กลับเป็นโทษ เพราะไปอวดอุตริมนุสธรรม
    พูดไปก็มิได้ต้องการให้ใครๆมายอมรับหรือให้มีคนต้องมานับหน้าถือหน้าแต่อย่างใด
    ท่านจึงเก็บเงียบๆแต่เพียงผู้เดียว หรืออาจจะมีพูดถึงบ้างสำหรับเห็นว่าผู้นั้นจะต้องถึงเวลารู้เท่านั้นเอง
    แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์จริงๆแล้ว ท่านมิได้ไปป่าวประกาศตามที่กล่าวไปแล้ว
    เห็นมีแต่คนอื่นเท่านั้น ที่รู้หรือประกาศแทนท่าน
    แต่มิได้หมายถึงท่านไม่ยอมรับ ในผลของการปฎิบัติของท่าน
    แต่ท่านยอมรับแล้ว แต่เป็นการยอมรับซึ่งอยู่ภายในตัวของท่านเอง เพียงแต่ไม่ค่อยอยากจะบอกใคร
    เพราะมันเกี่ยวกับศีลละเอียด คือการสำรวมจิตเพียงตัวเดียว
    ที่ท่านติดตรงนี้
    แต่ปุถุชนพูดได้ก็เพราะว่า จิตต่างกันมาก นั่นเอง

    "อรหันต์จริงมักไม่ค่อยพูด แต่คนที่พูดมักไม่ใช่อรหันต์"

    ก็ด้วยเหตุนี้แลฯ

    ความคิดเห็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับผู้ใด
    แต่ถ้าหากล่วงเกินจิตผู้ใด อโหสิกรรมให้กับข้าพเจ้าด้วยเถิด
     
  5. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    ร่วมวิสัชชนา จิตอรหันต์แท้ vs จิตอรหันต์อุปาทาน

    ขออนุโมทนาสาธุกับเพ็ญ2 ด้วยค่ะ....สาธุ สาธุ สาธุ เห็นด้วยกับเพ็ญ2 ทุกประการค่ะ แจกแจงให้เห็นเด่นชัดจริงๆ พระอรหันต์จิตท่านไม่เอาทุกข์ ทุกข์มันวิ่งเข้ามาหาก็จริง แต่ไม่มีโอกาสเข้าไปสัมผัสถึงจิตท่านได้ สุดท้ายตัวทุกข์ต้องอ่อนกำลัง ถอยทัพกลับไป วิ่งจากออกไปเอง แต่ถ้าเป็นจิตอรหันต์อุปาทาน เมื่อทุกข์เข้ามาเยี่ยมก็เปิดใจรับทุกข์ไปเต็มรักเลย (อันนี้เก๊สุดๆ)

    มีเพียงจิตของตนเท่านั้นแล ที่จะบอกได้ว่าเป็น จิตอรหันต์แท้ หรือ จิตอรหันต์อุปาทาน สาธุค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2013
  6. Patcharawan

    Patcharawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +3,980
    การพูดให้คนอื่นเสียใจเป็นสิ่งไม่ดี การโกรธคนอื่นเป็นสิ่งไม่ดี
    การใช้วาจาหยาบคายกับผู้อื่นเป็นสิ่งไม่ดี
    อนุโมทนาสาธุค่ะ พี่ต้อย
     
  7. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    ◕ ไม่เห็นแก่ตัว ◕

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=2c6JMoK40qU]ศีลข้อเดียวพอ - พุทธทาสภิกขุ - YouTube[/ame]

    ท่านพุทธทาสภิกขุ

    "อาตมายืนยันอยู่เสมอว่า โลกปัจจุบันนี้ที่เจริญโดยการศึกษา ถือศีลข้อเดียวพอ
    ไม่ต้องยุ่งยากลำบากหลายข้อ คือ ไม่เห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นหัวใจของศาสนาทุกศาสนา"
     
  8. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    เป็นพระป่า เหมือนนก วิหคหงส์

    ย่อมบินตรง ไปได้ ทิศไหนๆ

    เป็นอิสระ อยากจะผละ สังคมใด

    ก็ผละได้ ทันใจ ไม่อัดแอ

    เอ็นดูฉัน ขอให้ฉัน เป็นพระเถื่อน

    มีหมู่ไม้ เป็นเพื่อน ทุกกระแส

    มดแมลง แสดงธรรม อยู่จำแจ

    ไพเราะแท้ ไม่ีเบื่อ เหลือกล่าวเอย. คัดมาจากหนังสือโลกทิพ.
     
  9. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    ◕ สาเหตุแห่งทุกข์ ◕

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=P3dgwdZ5rLk]สาเหตุแห่งทุกข์ - YouTube[/ame]

    หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

    เราก็ควรรู้ว่าที่เป็นทุกข์นี่...ก็เพราะว่า
    เราไปเอาสิ่งที่ควรจะผ่านไปแล้วเอามาคิดอยู่อีก
    ไม่ให้มันผ่านไป ไม่ให้มันล่วงเลยไป
    ดึงมา เอามาคิด มาฝันต่อไป แล้วก็เป็นทุกข์
    เหมือนกับเราหลงกอดวัตถุที่มันเป็นพิษ
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,463
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    โอม

    ความหมายของคำว่า "โอม"

    มาจาก อ + อุ + ม อ่านว่า อะ อุ มะ มีความหมายดังนี้
    อ = อรหํ สมมาสมพุทโธ พระพุทธเจ้า เปนพระอรหันต์ ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง คือ ทรงค้นพบทางหลุดพ้น และตรัสรู้ชอบเอง โดยไม่มีครูบาอาจารย์แนะนำ

    อุ = อุตฺตมํ ธมฺมมชฺฌคา พระธรรมอันอุดม บริสุทธิ์ปราศจากเครืองเศร้าหมอง เปนธรรมอันเกษมพ้นจากกาละและเทศะ ไม่เกิด ไม่ตาย ได้แก่พระนิพพานโดยตรง

    ม = มหาสงฺฆํ ปโพเธสิ พระสงฆ์หมู่ใหญ่ ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
    หาดูได้จาก สวดมนต์เจ็ดตำนานฉบับกองทัพอากาศ หน้า ๓๕
    ดู โอม (โดยละเอียด ) ของพระภิกษุ น.ต.หลวงพิชิตชโลธร ร.นม หน้า ๒๖-๓๕
    และความหมายของโอม ในหนังสือ ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร หน้า ๕๕
    อ อุ ม กลายเปน "โอม " ได้อย่างไร

    1. โดยอักขระวิธี คำว่า โอม เกิดจากการนำ อ อุ ม (อ่านว่า อะ อุ มะ) มารวมกัน โดยแปลงตัวอุ เปนโอ เสียตามหลักไวยากรณ์ภาษา สำเร็จรูปเปน โอม

    2. โดยการบริกรรม เมื่อเปล่งเสียง จะเห็นตามความจริง โดยการกระทบของอากาศธาตุ และธาตุทั้งสี่ โดยทั่วถึงกัน ถ้าหากทำเสียง อะ อุ มะ นั้น ให้ต่อเนื่องกันอย่างไม่ขาดสาน เสียงนั้นก็จะปรากฏฏเปนเสียงโอมมมมมม...........

    เสียงโอมเกิดขึ้นอย่างไร

    อ (อะ) เปนเสียงที่ประกอบด้วย อากาศธาตุ มีฐานกรณ์ในความรู้สึกกระเทือน สั่นออกมาเปนเสียง อันเกิดแต่ อกจนถึงสะดือ



    อุ เปนเสียงแระกอบด้วยอากาศธาตุ มีัฐานกรณ์ในความรู้สึกกระเทือน สั่น ออกมาเปนเสียง อันเกิดแต่ ระหว่าง คอ ถึง อก



    ม (มะ) เปนเสียงประกอบด้วยอากาศธาตุ มีฐานกรณ์ในความรู้สึกกระเทือน ลั่นออกมาเปนเสียง อันเกิดแต่เพดานจนไปถึงสมองศีรษะ

    __________________

    นั่นหมายความว่า เมื่อใดที่เปล่งคำว่า โอม



    ย่อมก่อให้เกิดการไหลเวียนของกระแสธาตุภายในตัวมนุษย์อย่างต่อเนื่อง

    ทำให้ร่างกาย (ธาตุ ๔= ดินน้ำลมไฟ)

    และจิตใจ (วิญญาณธาตุ)

    อยู่ในสภาพที่พร้อทจะกระทำสิ่งใด ๆ ก็ตามบังเกิดผลสำเร็จตามที่ประสงค์


    โอม ต่อ
    เท่าที่กล่าวมานี้ เปนส่วนของคัมภีร์ อันเปนทางบุคลาธิษฐาน คือ

    ถือเอาบุคคลเปนที่ตั้ง เมื่อจะสะสางให้ได้ความหมายที่แจ่มแจ้งขึ้น

    ก็ต้องพุดกันในทางธรรมาธิษฐาน คือ ถือเอาคุณธรรมเปนที่ตั้ง

    ดังนั้น เราอาจวางความหมายลงได้ว่า

    อ หมายถึง พุทธโธ ความรู้

    อุ หมายถึง ธัมโม สิ่งที่รู้

    ม หมายถึง สังโฆ ผู้รู้

    รวมความว่า รัตนะ คือแก้ว ๓ ประการได้แก่ ความรู้ สิ่งรู้ ผู้รู้

    ว่าตามพฤติการณ์แล้ว พุทโธ ธัมโม สังโฆ ทั้งสามประการ ย่อมแยกกันไม่ออกทีเดียว เหตุผลคือ ธรรมดาเราจะทำ จะพูด จะคิด จะรู้อะไีร

    ก็คงอยู่ใน ๓ ประการนั้นเสมอ เช่น

    การกระทำ ก็ต้องมีผู้กระทำ กิริยาที่กระทำ และสิ่งที่ถูกกระทำ

    ถ้าจะพูดก็ต้องผู้พูด วาจาที่พูด สิ่งที่ถูกพูด

    หรือเรื่องที่จะรู้ก็คงต้องมี ความรู้ สิ่งทีจะให้รู้ และผู้รู้

    ถ้ามีเฉพาะผู้รู้ แต่ไม่มีสิ่งที่จะรู้ ก็คงจะไม่มีความรู้

    เพราะไม่มีอะไรที่จะให้รู้ เหมือน มีตา แต่ไม่มีรูป เราก็คงมองไม่เห็นอะไร

    เพราะไม่มีอะไรที่จะให้มองเห็นได้ การที่เราจะรู้เรืองรูป ก็ต้องมีทั้ง ๓ อย่างคือ



    ตา รูป และ จักษุวิญญาณ เกิดจากผัสสะพร้อมแล้ว เราจึงจะรู้จักรูป ดังนี้เปนต้น

    เท่านี้ ก็พอจะเห็นได้ว่า รัตนะทั้งสามแยกกันไม่ได้แน่นอน ฉันใด

    โอม คือ อ อุ มะ ก็แยกกันไม่ได้ฉันนั้น

    **********************************
     
  11. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    ขออนุญาตินำการบ้านของลูกศิษย์ขึ้นกระทู้(อีกแล้ว) เพื่อเป็นธรรมทานให้ทุกท่าน และชาวเกาะขอบกระทู้ทุกคน ได้โมทนาบุญกันน่ะค่ะ สาธุ๊:cool:

    กราบสวัสดีทุกๆท่านค่ะ

    วันนี้เริ่มจากตื่นนอน ก่อนลืมตามีแสงที่หน้าค่ะ เป็นกลมๆ ก็เริ่มจับภาพพระค่ะ แต่ภาพเปลียนเป็นสีทองค่ะ รู้สึกกำลังใจดีค่ะก็ลุกมาสวดมนต์ไหว้พระทำวัดเช้าปกติค่ะ และตามด้วยนั่งสมาธิค่ะ ในขณะที่นั่งนั้นมีแสงจ้ามากแต่ก็รู้อย่างเดียวค่ะ แสงหายไปเห็นกายตัวเองค่ะนั่งอยู่ค่ะก็พิจารณาอสุภะ เริ่มจากเส้มผม เล็บ ขน หนัง ตับ ลำไส้เล็กใหญ่ค่ะ กำหนดไปจนถึงเวลาพอสมควร แล้วก็ถอยจากสมาธิค่ะ แผ่เมตตา มีความรู้สึกว่า ช่วงหน้ามีเหมือนเงานะค่ะ ตัวเหมือนมีแสงค่ะ รู้สึกสงบมีความสุขอย่างไรไม่ทราบค่ะ อิ่มค่ะ ไม่โกรธใครตั้งใจว่าวันนี้หยุดงานตอนบ่ายจะทำให้อีกค่ะ. แต่พอมีธุระค่ะมีแขกมาหา ไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจค่ะ ก็ดูจิตเลยค่ะไม่เป็นไร จับภาพพระไม่นานความไม่พอใจก็หายมันอยู่กับเราไม่นานเลย แก้ปัญหาไปได้ ตั้งใจใหม่ค่ะว่าจะทำอยู่หลายครั้งค่ะเกิดอาการ ไม่พอใจเกิดขึ้นค่ะ

    ตอนนั่งก็ฟุ้งค่ะไม่อย่างที่คาดภาพเกิดตลอด จนเราทันรู้ความตั้งใจมากเกินไปนี้แหละ ก็ค่อยๆ ถอยจากสมาธิแบบเอาเป็นเอาตายมาบอกว่าไม่เป็นไร ก็ฟุ้งไปเห็นไปมันเบื่อเดียวมันก็หยุดเองไม่สนใจกับมันมากค่ะเท่านั้นละค่ะ ภาพหลวงปู่แหวนได้ปรากฎ ขึ้นมา หลวงปู่คง หลวงปู่ฝั้นอาจาโร ก็สาธุค่ะ แล้วก็มีแสงจ้ามากแทบจะลืมตาดูค่ะ(ปิดไฟนั่งสมาธิค่ะ)เพื่อป้องกันนิมิตรหลอกค่ะ เพราะปกติในนิมิตรนั้นเห็นแสงบ่อยเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใชแสงจากภายนอกค่ะ.แต่ก็วางใจกลางๆค่ะ ก็เห็นภาพท่านปรากฏเป็นแสงทองจ้ามากค่ะ สาธุภาพหายไป

    ก็น้อมจิตพิจารณาอสุภะกรรมฐาน คราวนี้เห็นศพค่ะตัวเองค่ะสวยค่ะตายค่ะ ซีด เหลืองไม่มีความรู้สึก เปลี่ยนสีเขียวค่ะ เริ่มอืด เปลี่ยนสีม่วงค่ะ ตึงปลิ เลือดแห้งเกาะที่เบ้าตาค่ะ ตาเหลือกใช้การไม่ได้เลือดเปียก น้ำหนองซึม ส่วนคอจะหมุนโยกก็ไม่รู้สึกค่ะ ผ่ามาดูตับไตม้าม ปอด เครื่องใน ลำไส้เล็กใหญ่ อาหารเก่าที่กินเอาที่ยังไม่ยอ่ย อาหารเก่าที่เป็นถ่าย ปฏิกูลต่างๆ เข้าทางปากแล้วก็สิ้นสุดด้านหล้งมาดูด้านหลังก็สกปรกสิ้นดีค่ะ ขาแขนแยกจากกันเล็บก็ดำค่ะ กล้ามเนื้อ น้ำมันไขข้อ ข้อกระดูกค่ะ ในกระดูกเป็นรูเล็กๆ อีกทีค่ะ หนอนขึ้น ยั้วเยี้ยค่ะ เห็นเป็นครั้งแรก กระดูกนานไปก็เป็นเพียงฝุ่นเล็กค่ะ ในขณะนั้นว่างมากค่ะ กำหนดรู้หนออยู่พักหนึงค่ะ ก็ได้กลิ่นแปลกๆค่ะ กำหนดทุกอย่างนะค่ะแต่ลืมกำหนดกลิ่นเพราะธรรมดาแล้วกำหนด หูได้ยิน เห็น กายสัมผัส แต่การสัมผัสกลิ่นนี้ครั้งแรกเหมือนธูปก็ไม่ใช่ น้ำอบก็ไม่เชิงก็รู้แล้วก็วางค่ะแล้วก็ค่อยๆ ถอยออกจากสมาธิ ช้า ๆค่ะ

    "ตั้งใจเกินไปก็ไม่ได้ หย่อนไปก็ไม่ได้ดี เอาที่พอดีๆ กายพร้อมใจพร้อม และตามแต่สมควรเห็นจะดีที่สุดเจ้าค่ะ ยังไงก็ไม่ถ้อค่ะ ความสม่ำเสมอพร้อมกับความต้องไปถึงในสักวันค่ะ"

    ขอกราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ทุกๆท่านค่ะ และขอกราบโมทนาสาธุกับมหาบุญมหากุศลอันยิ่งใหญ่กับทุกๆท่าน ในการเผยแผ่แบ่งปันบุญ สาธุๆๆ ค่ะ

    เป้ ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มกราคม 2013
  12. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,016
    ค่าพลัง:
    +10,241
    ปุณณสูตร

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
    ปุณณสูตร
    [๑๑๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่-
    *ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
    ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อที่
    ข้าพระองค์ได้สดับแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความ
    เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อยู่เถิด

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปุณณะ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
    น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
    มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นยินดี
    กล่าวสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น ความเพลินก็เกิดขึ้น ดูกรปุณณะ เพราะความ
    เพลินเกิดขึ้น จึงเกิดทุกข์ ฯลฯ
    ดูกรปุณณะ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า
    ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุ
    ยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นยินดี
    กล่าวสรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น ความเพลินก็บังเกิดขึ้น ดูกรปุณณะ
    เพราะความเพลินเกิดขึ้น จึงเกิดทุกข์ ฯ

    [๑๑๓] ดูกรปุณณะ รูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
    น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี
    ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่ยินดี ไม่กล่าว
    สรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น ความเพลินก็ดับไป ดูกรปุณณะ เพราะความเพลิน
    ดับไป ทุกข์จึงดับ ฯลฯ
    ดูกรปุณณะ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา
    น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี
    ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่ยินดี
    ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น ความเพลินก็ดับไป ดูกรปุณณะ
    เพราะความเพลินดับไป ทุกข์จึงดับ ดูกรปุณณะ ด้วยประการฉะนี้ เธอนั้นจึง
    ไม่ห่างไกลจากธรรมวินัยนี้ ฯ
     
  13. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,016
    ค่าพลัง:
    +10,241
    ปุณณสูตร (ต่อ)

    [๑๑๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล
    พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่เบาใจในธรรมนี้
    เพราะข้าพระองค์ยังไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
    และความสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    เธอย่อมพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่น
    ไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้หรือ ฯ
    ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดีละ ภิกษุ ก็ในข้อนี้ จักษุเป็นอันเธอพิจารณาเห็นด้วยดีด้วยปัญญา
    อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่
    ตัวตนของเรา ผัสสายตนะที่ ๑ นี้เป็นอันเธอละขาดแล้วเพื่อไม่เกิดอีกต่อไป
    ด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ
    เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน
    ของเรา ดังนี้หรือ ฯ
    ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดีละ ภิกษุ ก็ในข้อนั้น ใจจักเป็นอันเธอพิจารณาเห็นด้วยดีด้วย
    ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
    นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ผัสสายตนะที่ ๖ นี้ จักเป็นอันเธอละขาดแล้วเพื่อความ
    ไม่เกิดอีกต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้

    ดูกรปุณณะ ดีละ เธออันเรากล่าวสอนแล้ว
    ด้วยโอวาทอันย่อนี้ จักอยู่ในชนบทไหน ฯ

    ท่านพระปุณณเถระทูลว่า พระเจ้าข้า ชนบทชื่อสุนาปรันตะมีอยู่ ข้าพระ-
    *องค์จักอยู่ในชนบทนั้น ฯ
     
  14. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,016
    ค่าพลัง:
    +10,241
    ปุณณสูตร (ต่อ)

    [๑๑๕] พ. ดูกรปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทดุร้าย หยาบ
    คายนัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จักบริภาษเธอ ในข้อนั้น เธอ
    จักมีความคิดอย่างไร ฯ
    ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จัก
    บริภาษข้าพระองค์ไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า มนุษย์ชาว
    สุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วยมือ ข้าแต่
    พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้
    ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ
    พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย
    มือเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ
    ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
    ข้าพระองค์ด้วยมือไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์
    ชาวสุนาปรันตชนบทเจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วยก้อนดิน
    ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต
    ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ
    พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย
    ก้อนดินเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ
    ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
    ข้าพระองค์ด้วยก้อนดินไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวก
    มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วย
    ท่อนไม้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่
    พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ
    พ. ดูกรปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย
    ท่อนไม้เล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ
    ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
    ข้าพระองค์ด้วยท่อนไม้ไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์
    ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วยศาตรา
    ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต
    ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ
    พ. ดูกรปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย
    ศาตราเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ
    ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
    ข้าพระองค์ด้วยศาตราไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวก
    มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ปลงเราเสียจากชีวิต
    ด้วยศาตราอันคม ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้
    ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ
    [๑๑๖] พ. ดูกรปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงเธอ
    เสียจากชีวิตด้วยศาตราอันคมเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ
    ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลง
    ข้าพระองค์เสียจากชีวิตด้วยศาตราอันคมไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิด
    อย่างนี้ว่า พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคนั้น อึดอัดระอาเกลียดชังอยู่ด้วย
    กายและชีวิต ย่อมแสวงหาศาตราสำหรับปลงชีวิตเสีย มีอยู่ ศาตราสำหรับปลง
    ชีวิตที่เราแสวงหาอยู่นั้น เราได้แล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์
    จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ
    พ. ดีละๆ ปุณณะ เธอประกอบด้วยทมะและอุปสมะเช่นนี้ จักอาจอยู่
    ในสุนาปรันตชนบทได้ บัดนี้ เธอย่อมรู้กาลอันควรไปได้ ฯ
     
  15. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,016
    ค่าพลัง:
    +10,241
    ปุณณสูตร (ต่อ)

    [๑๑๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี-
    พระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว เก็บ
    เสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรหลีกจาริกไปทางสุนาปรันตชนบท เมื่อเที่ยวจาริก
    ไปโดยลำดับ ก็บรรลุถึงสุนาปรันตชนบท ได้ยินว่า ท่านพระปุณณะอยู่ในสุนา-
    ปรันตชนบทนั้น ครั้งนั้นแล ในระหว่างพรรษานั้น ท่านพระปุณณะให้ชาว-
    สุนาปรันตชนบทแสดงตนเป็นอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คน ได้ทำวิชชา ๓ ให้แจ้ง
    และปรินิพพานแล้ว ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
    ประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อว่าปุณณะที่พระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระ
    โอวาทอย่างย่อนั้น ทำกาละแล้ว กุลบุตรนั้นมีคติเป็นอย่างไร มีอภิสัมปรายภพเป็น
    อย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อว่าปุณณะ เป็น
    บัณฑิต กล่าวคำจริง กล่าวธรรมสมควรแก่ธรรม มิได้ลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อว่าปุณณะปรินิพพานแล้ว ฯ
    จบสูตรที่ ๕
     
  16. urairatvi

    urairatvi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +2,401
    สาธุในธรรมะทานนี้คะ อ่านทวนไปทวนมาหลายรอบเลยคะ สาธุคะ
     
  17. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    วิปัสสนาญาณ ๙
    ๑.อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป
    วิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้(ระหว่างเกิดถึงดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)
    ๒.ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา(ระหว่างดับถึงเกิด)
    ๓.ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด
    ๔.อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้
    ๕.นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย
    ๖.มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย
    ๗.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี
    ๘.สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร
    ๙.สัจจานุโลมิกญาณ หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ
    (พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง๘ที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น สมุทัย นิโรธ มรรค
    โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง๘ ตามลำดับ )


    ญาณ - วิกิพีเดีย
     
  18. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=zlvQW-pNVU8]รากไทย - คุณพระช่วย - YouTube[/ame]
    รากไทยนะ รากไทย
    มิใช่..รากแก่นนะ รากแก่น

    (บ้านรากไทย มั่นคง)
    (บ้านรากแก่น มั่นใจ)

    เดี๋ยวต้องมีคนมาต่อ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มกราคม 2013
  19. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    ธรรมโอวาทหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

    นักตำราต่าง ๆ ลงอเวจีมหานรกนับไม่ถ้วน อ่านหนังสือมาก ๆ ก็เลยเป็นคนมีมานะทิฏฐิว่าฉันเรียนมาก ฉันมีความรู้ดีกว่าเธอ นั่นคือความเลว ความดีจริง ๆ ต้องมุ่งเข้าไปหาความดีของตน อันดับแรกขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกคน กำจัดความเลวเบื้องต้นนั้นคือ

    ๑. เราจะไม่สนใจจริยาของบุคคลอื่น ใครเขาจะดีใครเขาจะเลว ใครเขาจะเลวก็ช่างเขา เราจะไม่นินทาว่าร้าย จะไม่ติเตียนใคร ไม่สนใจเขาเลย

    ๒. ไม่ยกตนข่มท่านว่าฉันน่ะดีกว่าแกนะ

    ๓. ไม่ถือตัวเกินไป

    นี่ว่าโดยย่อ ความจริงพิศดารมากกว่านี้ ถ้าจิตใจทำได้อย่างนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า บุคคลนั้นเข้าถึงสะเก็ดความดีที่พระองค์สอน...

    ที่มา fb ศูนย์พุทธศรัทธา
     
  20. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    คำสอน สมเด็จองค์ปฐม

    ยึดถือแม้สิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งที่ยึดถือนั้นย่อมเป็นทุกข์ ธรรมประโยคนี้หากผู้ใดนำไปใคร่ครวญด้วยปัญญาอันชอบแล้ว จะพิจารณาไปได้มากมายสุดประมาณ ตามบารมีธรรมของแต่ละคนที่ทำกันมาไม่เสมอกัน ใครทำ-ใครได้ ผู้มีปัญญา ท่านจึงยึดวิปัสสนาญาณ ๙ เป็นหลักปฏิบัติ เพราะเป็นตัวปัญญาแท้ๆ ในพระพุทธศาสนา และหมั่นทบทวนอยู่เสมอด้วยความไม่ประมาท

    ธรรมที่นำไปสูความหลุดพ้น เล่ม ๑๖
    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
     

แชร์หน้านี้

Loading...