เทคนิค ในการปฏิบัติสมาธิ ภาค ๑ ส่งเสริมโภคทรัพย์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 2 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ลองอ่านทำความเข้าใจ และสังเกตุ ตัวเองดูครับ
    หลวงปู่พุธ ฐานิโย ให้ข้อสังเกตุไว้


    ***************

    จิต ของท่านผู้ใด ภาวนาแล้ว เกิดมีธรรมะอุทานขึ้นมา
    เช่นอย่างบางที พอจิตสงบลงไป

    จิตยังไม่ขาดจาก วิตก วิจาร
    ซึ่งประกอบด้วย ปิติ สุข แหล่ะ เอกกัคตาอยู่

    บางทีเกิดจิตว่างลง

    เกิดมีอุทานธรรม ขึ้นมาว่า อัตตาหิ อัตโนนาโถ
    ซึ่งผู้ภาวนาไม่ได้ตั้งใจจะคิดอย่างนี้

    แต่ อัตตาหิ อัตโนนาโถ มันผุดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ

    ในช่วงลักษณะอย่างนี้ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปเอง

    เมื่อ อัตตาหิ อัตโนนาโถ ผุดขึ้นมาแล้ว
    จิต สามารถ อธิบายคำว่า อัตตาหิ อัตโนนาโถ ออกมาเองโดยไม่ได้ตั้งใจ
    เรียกว่า ความรู้ ความคิด มันเกิดผุดขึ้น ผุดขึ้น ผุดขึ้น
    บางที ผุดขึ้นมาอย่างรวดเร็วหมือนกับน้ำพุ
    บางทีพอจิตถอดนออกมานิดหน่อย

    กำลังของฌานเสื่อมไป จิตกลับมาสู่ สภาวะเดิม
    คือ สภาวะสามัญธรรมดา อึ๊มๆ

    ทำให้ผู้ภาวนาเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า
    นี่จิตของเราฟุ้งซ่าน และบางที แถมไปถามคนอื่น
    ซึ่งไม่รู้เรื่องรู้ราว พวกนักภาวนาไม่เป็น แต่อยากเป็นอาจารย์สอน



    พอไปถูกถามปั๊บ

    ท่านจะบอกว่า จิตฟุ้งซ่าน ระวังจะเป็นโรคประสาท

    นี่ ปัญญาอย่างนี้ เกิดมีขึ้นบ่อยๆ

    เพราะฉะนั้น

    การที่ทำจิต ให้สงบลงเป็นสมาธิ
    ตั้งแต่ฌาน ที่ 1 ถึง ฌาน 4
    ผู้ภาวนาหมดความตั้งใจแล้ว ตั้งแต่ฌาน ที่1

    ถ้าเราตั้งใจนึก เช่น อย่างบริกรรมภาวนาอยู่
    ถ้าเรายังมีเจตนาตั้งใจ ว่า จะนึกบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ
    อันนี้จิตมันยังไม่ได้ วิตก

    แต่ถ้าเกิด จิตมันนึก พุทโธ พุทโธเองโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ
    มันนึกเอง ตลอดเวลา แม้เราจะไปรั้งให้มันหยุด
    มันก็ไม่ยอมหยุด มันจะพุทโธของมันอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา
    แล้วก็มี สติรู้พร้อมอยู่อย่างนั้น

    อันนี้จึงจะได้เรียกว่า

    ผู้ภาวนามีจิต มีสมาธิ ได้ วิตก วิจาร
    เป็น องค์ฌานที่ 1 องค์ฌานที่ 2

    ซึ่งต่อจากนั้นไป ปิติ แหล่ะ ความสุข ก็ย่อมจะบังเกิดขึ้นเอง

    *************

    อ่านต่อที่นี่ http://palungjit.org/threads/วิธีฝึก-สมถะภาวนา-โดย-หลวงปู่-พุธ-ฐานิโย.287864/
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อันนี้ อีกตัวอย่าง ข้อสังเกตุอย่างนึงที่หลวงปู่พุธ แนะนำไว้

    ****************

    อะอืมๆ

    ทีนี้มีหลายๆท่านกล่าวว่า

    อะอืมๆ

    บริกรรมภาวนาพุทโธอย่างดีจิตได้เพียงแค่สมถะกรรมฐาน
    เอ่อ....อันนี้ก็ยอมรับ
    ถ้าหากว่านักภาวนาทั้งหลายจะพากันโง่กันทั้งหมด
    จิตมันก็ติดอยู่แค่สมถะกรรมฐานเท่านั้นเอง

    แต่เท่าที่ได้ยินครูบาอาจารย์ท่านเล่าให้ฟังมันเป็นอย่างนี้
    ในบางครั้งท่านบอกว่า
    วันนี้จะบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ พอให้จิตสงบได้ปิติ
    ได้ความสุข
    ได้ความสงบสบายเพียงนิดหน่อยก็จะพอแล้วเอาแค่นี้ วันนี้

    แต่พอภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธไป
    พอจิตสงบลงสักหน่อย
    ความรู้มันฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้งฟุ้ง ขึ้นมา มันไม่อยู่ซะแล้ว
    ทีนี้ไอ้ความจิตสงบแล้วมันเกิดภูมิความรู้ขึ้นมาเกิดขึ้นมาอย่างน้ำพุ
    ยิ่งสมาธิดีเท่า ไหร่ มันก็ยิ่งเกิด ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ขึ้นมา
    เกิดอย่างไม่หยุดหย่อน
    อันเนี๊ยะ ท่านผู้นั้นจะภาวนาให้จิตสงบพอสบาย
    แต่
    พอสงบสบายแล้วจิตมันไม่อยู่แค่สงบสบาย
    มันเกิดไปค้นคว้าพิจารณาอะไรอยู่นู้น
    ซึ่งมันจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
    แต่ในบางครั้ง
    ตั้งใจว่าวันนี้จะพิจารณาให้มันเกิดสติปัญญาความรู้อย่างกว้างขวาง
    ก็ไปยกเอาหัวข้อธรรมะ
    เรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาพิจารณา
    พอพิจารณาไปพิจารณาไป
    จิตมันก็ไปสงบ นิ่งอยู่เฉยๆ
    มันไม่มีความรู้อะไรเกิดขึ้น


    ในการพิจารณานี่
    เป็นการปฏิบัติตามแบบของวิปัสสนากรรมฐาน
    เพราะการใช้สติปัญญาค้นคิดพิจารณา
    เป็นการเจริญวิปัสสนา
    แต่เมื่อเจริญวิปัสสนาด้วยการค้นคิดจิตสงบลงไปแล้ว
    มันไปนิ่งอยู่เฉยๆ
    มันไม่เกิดความรู้อะไรขึ้นมา มันก็ยังเป็นไปได้
    อันนี้เป็นประสบการณ์ไม่มีพูดไว้ในตำรา
    บางทีเราบริกรรมภาวนาจะให้จิตมันหยุดนิ่งพอสบาย
    พอมันหยุดมันสงบลงไปนิดหน่อย
    ความรู้มันก็เกิด ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้งฟุ้ง ขึ้นมาจนกำหนดตามไม่ทัน
    นี่มันเป็นอย่างนี้ ประสบการณ์
    อันนี้เป็นประสบการณ์ซึ่งไม่มีใครเขียนไว้ในแบบตำรับตำรา

    แต่ครูบาอาจารย์ท่านเคยเล่าให้ฟัง
    เกี่ยวกับเรื่องการบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ เนี่ยะ
    อะอืม ๆ
    ถ้าหากท่านผู้ใดบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ
    จนจิตเกิดความคล่องตัว
    บางทีอาจจิตอาจจะบริกรรมภาวนาพุทโธอยู่ไม่หยุด
    เมื่อท่านหัดภาวนาจนเกิดความคล่องตัว
    บางทีจิตก็อาจจะสงบเป็นสมาธิตามขั้นตอน
    มีขณิกะสมาธิ
    อุปจาระสมาธิ
    และอัปปนาสมาธิ
    ดังที่กล่าวมาแล้ว

    และบางครั้งจิตของท่านอาจจะไม่สงบลงไปถึงขนาดอัปปนาสมาธิ
    พอบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    พอจิตจะนึกพุทโธเอง สติรู้เอง
    จิตของท่านหยุดนึกพุทโธทันที
    แล้วความคิดอื่นมันบังเกิดขึ้น
    อ่าตอนนี่
    ก็เป็นอีกจุดหนึ่งนะที่นักปฏิบัติจะต้องจะต้องพิจารณา

    บางทีภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    แล้วจิตสงบไปสู่สมาธิตามขั้นตอน
    อุปจาระสมาธิ
    อัปปนาสมาธิ
    จนหายเงียบจนไม่มีตนมีตัว

    แต่บางครั้งภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธไปนิดหน่อย
    บางทีอาจจะยังไม่ถึง ๕ คำ หรือ ๑๐ คำ
    จิตก็มีอาการวูบวาบลงไป
    แล้วหยุดภาวนาพุทโธ
    บางครั้งก็ไปนิ่งอยู่เฉยๆ
    บางครั้งพอหยุดภาวนาพุทโธ
    แล้วความคิดความรู้ มันเกิดผุด ผุด ผุด ผุดขึ้นมาอย่างกับน้ำพุ
    อันนี่ ท่านอย่าไปเข้าใจว่าจิตของท่านฟุ้งซ่าน

    เพราะฉะนั้น
    วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับบริกรรมภาวนาเนี่ย
    เรามีได้ ๒ แบบ

    สำหรับผู้หัดภาวนาใหม่ๆ
    ถ้าภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ
    พอจิตทิ้งพุทโธให้นึกพุทโธใหม่ เมื่อรู้สึกตัว

    เมื่อจิตทิ้งพุทโธนึกถึงพุทโธ
    จิตทิ้งพุทโธนึกถึงพุทโธ
    ฝึกไปจนกว่า จะมีความชำนิชำนาญคล่องตัว

    ทีนี้

    ถ้าผู้ชำนาญ ในการบริกรรมภาวนาแล้ว
    เรามีวิธีการจะพึงปฏิบัติได้ดังนี้
    ในตอนแรกๆ
    ท่านอาจจะภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ อยู่
    อ่าว พอพุทโธ พุทโธ ไป จิตมันไม่นึกพุทโธไปนิ่งว่างอยู่เฉยๆ

    ให้กำหนดดูความว่าง
    อย่าไปนึกคิดอะไรขึ้นมา

    เมื่อจิตมีความคิดขึ้นมาให้มีสติรู้ความคิดทันที
    เมื่อจิตคิดทำสติรู้ความคิด
    จิตมันจะหยุดนิ่งมันไม่คิด ก็ดูความนิ่งของมัน
    เมื่อนิ่งไปสักหน่อยนึง มันจะคิดของมันขึ้นมา
    เราก็ดูความคิด
    นิ่ง ดูความนิ่ง
    คิด ดูความคิด
    สลับกันไปอย่างนี้

    ในเมื่อสติสัมปชัญญะของท่านดีขึ้น
    พลังจิตมันดีขึ้น
    ตัวคิดมันก็จะคิดไม่หยุด
    ตัวตามดูมันก็จะตามดูของมันไม่หยุด
    ในเมื่อเป็นเช่นนั้น

    ความคิดก็เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
    สติก็ทำหน้าที่รู้เองโดยอัตโนมัติ
    จิตมันก็เดินไปในภูมิแห่งวิปัสสนา
    เพราะความคิดมันย่อมมีความเกิดดับ เกิดดับ เกิดดับอยู่ทุกขณะจิต
    เมื่อเรามีสติตามรู้ความคิดที่เกิดดับอยู่นั้น

    เมื่อสติสัมปชัญญะตัวนี้มีพลังแก่กล้าขึ้น

    จิตสามารถที่จะกำหนดรู้ ความเกิดดับของความคิด
    ในแง่แห่งพระไตรลักษณ์
    จะมองเห็นพระไตรลักษณ์
    อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวของตัว
    ปรากฏเด่นชัดขึ้นมา

    ทีนี้

    เมื่อจิตรู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    รู้พระไตรลักษณ์
    เรามีสติตามรู้อยู่ทุกขณะจิตทุกลมหายใจ

    ในบางครั้งจิตอาจจะไปยึดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    พอเกิดคิดขึ้นมาแล้ว มันก็เกิดความยินดี
    ถ้าเกิดความยินดีขึ้นมา
    ความยินดีมีแนวโน้มให้เกิดกามตัณหา
    มองเห็นตัวกิเลสแล้วมั้ยหล่ะ

    บางครั้งเกิดความยินร้าย
    ความยินร้ายมีแนวโน้มให้เกิดวิภวตัณหา
    มองเห็นตัวกิเลสแล้ว

    ถ้าไปยึดเอาไว้ทั้งสองอย่างก็กลายเป็นภวตัณหา
    เมื่อจิตมีกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาอยู่พร้อม
    ความสุขย่อมบังเกิดขึ้นในขณะที่จิตยินดี
    ความทุกข์ย่อมบังเกิดขึ้นในขณะที่จิตมีความยินร้าย
    เมื่อเป็นเช่นนั้น สุข ทุกข์เกิดขึ้นสลับกันไป
    ผู้มีสติสัมปชัญญะเฝ้าดูอยู่ที่จิตตลอดเวลา
    ในที่สุดสติสัมปชัญญะมีพลังแก่กล้าขึ้น

    ก็จะเกิดญาณคือปัญญา
    เกิดวิชชาความรู้แจ้งเห็นจริงขึ้นมา
    ว่านี่คือทุกข์ อริยะสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้


    เมื่อผู้ปฏิบัติมีสติกำหนดดูอารมณ์จิตของตัวเอง
    ซึ่งมีสุข มีทุกข์สลับกันเรื่อยไป
    ลงผลสุดท้ายก็จะมองเห็นว่า

    นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด
    นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ

    เมื่อจิตละเอียดลงไปแล้วจะมองเห็นแต่ อะไรล่ะ

    “ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ”
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา

    ก็จะได้ดวงตาเห็นธรรม
    เช่นเดียวกันกับท่านอัญญาโกณฑัญญะ
    ซึ่งฟังเทศน์ธรรมจักกัปปวัตนสูตรจบลงแล้วก็ได้ดวงตาเห็นธรรม
    ดังที่กล่าวแล้ว

    พระพุทธเจ้าจึงเปล่งอุทานขึ้นว่า
    อัญญาโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ
    อัญญาโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ

    นี่มันจะเป็นไปอย่างนั้น

    อ่านต่อที่นี่ http://palungjit.org/threads/จิตตะภาวนา-หลวงปู่พุธ-ฐานิโย.280415/
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อันนี้ก็อีกตัวอย่างนึงที่หลวงปู่พุธ แนะนำไว้

    *************


    ในบางครั้ง บางขณะ

    ถ้าหากว่า ท่าน ท่องคาถา พุทโธ พุทโธ พุทโธ อยู่
    ถ้าจิต ของท่านทิ้งพุทโธ ปั๊บ ไปคิดถึงอย่างอื่น

    ส่วนมากเราจะได้ยินว่า

    เมื่อจิตทิ้งพุทโธ แล้ว ให้เอากลับมาหาพุทโธ อีก

    ทีนี้ อาตมะ จะขอแนะนำ วิธีแปลก ๆ
    ซึ่งอาจจะแปลก สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยทดสอบ
    แต่สำหรับ อาตมะเอง หรือ ครูบาอาจารย์อื่นๆ
    ที่ท่านทดสอบมาแล้ว ก็ไม่เห็นเป็นของแปลก

    เมื่อเราท่อง คาถา บริกรรม พุทโธ พุทโธ พุทโธอยู่
    ถ้าจิตจะอยู่กับพุทโธ ก็ปล่อย ให้เค้าอยู่เรื่อยไป
    ถ้าเค้าไม่อยู่เค้าทิ้งพุทโธเสีย ไปคิดถึงอย่างอื่น ก็ปล่อยให้เค้าคิดไป

    แต่เรา ทำ สติ ตามรู้ไป เรื่อยๆ

    สิ่งที่จิต ของเราจะไปคิดถึงนั้น ก็ไม่มีอื่น
    นอกจากเรื่อง

    การงานที่เราทำอยู่ อันเป็นเรื่องของชีวิตประจำวัน

    ถ้าใครเป็นนักทำบัญชี พอจิต ทิ้งพุทโธแล้วมันจะไปนึกถึงเรื่องบัญชี

    ใครเป็น นักวิชาการ ใดๆ ก็ตาม เมื่อจิต ทิ้งพุทโธ แล้ว
    มันจะไปนึกถึง วิชาการนั้นๆ

    พอมันนึกถึงอะไรก็ปล่อยให้มันคิดไป แล้วทำ สติ ตามรู้ ไปเรื่อยๆ
    เมื่อ สติ สัมปชัญญะตัวนี้ ตามทันความคิดเมื่อไร

    เราจะรู้สึกว่า

    ภายในจิตของเราเนี๊ยะ มันแยกกันเป็น สองมิติ

    มิติหนึ่ง คือ ความคิด คิดไม่หยุด
    อีก มิติหนึ่ง ตัวสติ จะตามรู้ อยู่ไม่หยุดเหมือนกัน

    ความคิดยิ่งเร็วขึ้น สติ ยิ่งแจ่มใสขึ้น
    ลงผลสุดท้าย มันก็จะเกิด มี ปิติ มีความสุข
    แหล่ะ สงบ เป็น สมาธิได้ เช่นเดียวกัน กับบริกรรมภาวนาอย่างอื่น

    **************
     
  4. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    พี่ปราบอย่าเยอะ..
    หากจิตฟุ้งซ่านนั่ง..นั่งเฉยๆ อย่าคิด ปล่อยมันเฉยๆเดี๋ยวมันสงบเอง แล้วค่อยกำหนดใหม่ ง่ายกว่า อิอิ..:'(
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ยอมรับคำว่า รู้เฉยๆ แล้วซิ ^-^
     
  6. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..พี่ปราบไปดงเจริญ..เขามีปริวาสกรรมรึไม่ อิอิ:'(
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ไม่ทราบเหมือนกันครับ ^^
     
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ--การดำรงชีพชอบ โดยหลักแห่งมหาปุริสวิตก(การดำรงชีพชอบของพระอริยะ)----แปดอย่าง---พระวจนะ" ดีละ ดีละ อนุรุทธ ดีละที่เธอตรึกแล้ว ซึ่งมหาปุริสวิตก ว่า 1 ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีความปรารถนาน้อย ธรรมะนี้ไม่ใช่สำหรับผู้ปรารถนาใหญ่ 2 ธรรมะนี้สำหรับผู้สันโดษ มิใช่สำหรับผู้ไม่สันโดษ 3 ธรรมะนี้สำหรับผู้สงบสวัด ธรรมะนี้ไม่ใช่ผู้ยินดี ด้วยการคลุกคลีในหมู่ 4 ธรรมะนี้สำหรับผู้ปรารภความเพียร ธรรมมะนี้ไม่ใช่สำหรับผู้เกียจคร้าน 5ธรรมะนี้สำหรับผู้มีสติอันเข้าไปตั้งไว้ ธรรมะนี้ไม่ใช่สำหรับผู้มีสติอันหลงลืม 6 ธรรมะนี้สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่น ธรรมะนี้ไม่ใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น 7ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีปัญญา ธรรมะนี้ไม่ใช่สำหรับผู้ทรามปัญญา ดังนี้ อนุรุทธ แต่เธอควรจะตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่8นี้ด้วยว่า 8ธรรมะนี้ สำหรับผู้พอใจในความไม่เนิ่นช้า ผู้ยินดีในควารมไม่เนิ่นช้า ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้พอใจในความเนิ่นช้าผู้ยินดีในความเนิ่นช้าดังนี้...............................1อนุรุทธเมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้งแปดประการ เหล่านี้ เมื่อนั้น เธอจักหวังได้ ซึ่งความเ็นผู้สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน อันประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ ตามที่เธอหวัง..................2 อนุรุทธ เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้ง8ประการเหล่านี้ เมื่อนั้น เธอจักหวังได้ซึ่งความเป็นผู้เข้าถึงซึ่งทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น มีปิติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ไม่ประกอบด้วยวิตก ไม่ประกอบด้วยวิจาร เพราะความรำงับไปแห่ง วิตก วิจารทั้งหลาย แล้วแลอยู่ ตามที่เธอหวัง....3 อนุรุทธะ เมื่อใดเธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้ง8ประการเหล่านี้ เมื่อนั้นเธอจักหวังได้ ซึ่งความเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ และ สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ เข้าถึงตติฌาน อันเป็นฌานที่พระอริเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติสุข ดังนี้แล้วแลอยู่ ตามที่เธอหวัง............4 อนุรุทธ เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้งแปดประการ เหล่านี้ เมื่อนั้น เธอจักหวังได้ ซึ่งความเป็นผู้เข้าถึงซึ่งจตุตถฌาน อันไม่มีความทุกข์และความสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เพราะละเสียได้ ซึ่งสุขและเพราะละได้เสียซึ่งทุกข์ เพราะความดับไปแห่งโสมนัส และโทนัสในกาลก่อน แล้วแลอยู่ ตามที่เธอหวัง...
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ต่อ---(อานิสงค์ที่ครอบคลุมไปถึงปัจจัยสี่)--พระวจนะ" 1 อนุรุทธะ เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตก ทั้งแปดประการ เหล่านี้ด้วย และจักเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฎฐธรรม ประกอบด้วยจิตอันยิ่ง ทั้งสี่เหล่านี้ด้วย ดังนี้แล้ว อนุรุทธะ เมื่อนั้น ผ้าบังสุกุลจีวร จักปรากฎแก่เธอ ผู้สันโดษ เป็นอยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้ง ด้วยผาสุกวิหารอันก้าวลงสู่นิพพาน เหมือนกับผ้าที่เต็มอยู่ในหีบผ้าที่ย้อมด้วยสีต่างต่าง ของคฤหบดี หรือ คหบดีบุตร ฉันใดก็ฉันนั้น....................................2 อนุรุทธะ เมื่อใดเธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้งแปดประการเหล่านี้ด้วย และจักเ็นผู้ได้ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฎฐธรรม ประกอบด้วยจิตอันยิ่ง ทั้งสี่เหล่านี้ด้วยดังนี้แล้ว อนุรุทธะ เมื่อนั้น ก้อนข้าวที่เธอได้มาด้วยลำแข้ง จักปรากฎแก่เธอผู้สันโดษ เป็นอยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้ง ด้วยผาสุกวิหารอันก้าวลงสู่นิพพาน เหมือนกับข้าวสุกแห่งข้าวสาลีไม่มีเม็ดดำ มีแกงและกับ เป็นอันมาก ของคฤหบดี หรือ คหบดีบุตร ฉันใดก็ฉันนั้น
     
  10. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ต่อ 3 อนุรุทธะ เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้งแปดประการ เหล่านี้ด้วย และ จักเป็นผู้ได้ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฎฐธรรม ประกอบด้วยจิตอันยิ่ง ทั้งสี่เหล่านี้ ด้วยดังนี้แล้ว อนุรุทธะเมื่อนั้น รุกขมูลเสนาสนะ จักปรากฎแก่เธอผู้สันโดษ เป็นอยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้ง ด้วยผาสุกวิหารอันก้าวลงสู่นิพพาน เหมือนกับเรือนยอด ของคฤหบดี หรือ คหบดีบุตร อันเป็นเรือนยอดที่ ฉาบขึ้นฉาบลงดีแล้ว ลมผ่านไม่ได้ มีลิ่มสลักแน่นหนา มีหน้าต่างปิดได้ สนิท ฉันใดก็ฉันนั้น....................4 อนุรุทธะ เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้งแปดประการเหล่านี้ด้วย และจักเป็นผู้ได้ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน อันเป้นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฎฐธรรมประกอบด้วยจิตอันยิ่งทั้งสี่เหล่านี้ด้วยดังนี้ แล้ว อนุรุทธะ เมื่อนั้น ที่นั่งที่นอนอันทำด้วยหญ้าจักปรากฎแก่เธอผู้สันโดษ เป็นอยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้ง ด้วยผาสุกวิหารอันก้าวลงสู่นิพพาน เหมือนกับบัลลังก์ของคฤหบดี หรือ คหบดีบุตร อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์ขนยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยผ้าสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดี อันทำด้วยหนังชะมด มีเพดานข้างบน มีหมอนข้างแดงสองข้าง ฉันใดก้ฉันนั้น...................5 อนุรุทธะ เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้งแปดประการเหล่านี้ด้วย และ จักเป็นผู้ได้ตามปรารถนาโดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน อันเป็นเครื่องอยู่เ็นสุขในทิฎธรรม ประกอบด้วยจิตอันยิ่ง ทั้งสี่เหล่านี้ ด้วยดังนี้ อนุรุทธ เมื่อนั้น ปูติมุตเภสัช(ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า)จักปรากฎแก่เธอผู้สันโดษ เป็นอยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้ง ด้วยผาสุกวิหารอันก้าวลงสู่นิพพาน เหมือนกับเภสัชนานาชนิด ของคฤหบดี หรือ คหบดีบุตรอันได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ฉันใดก็ฉันนั้น----อฎฐก.อํ.23/233-235/120........:cool:
     
  11. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ...นิดนึงครับ พระสูตรข้างบนมีความน่าสนใจ ตรงที่การตรึกถึง มหาปุริสวิตกทั้ง8 ทำให้ ได้ฌาน ทั้งสี่...และ ยังให้มีผลต่อความรู้สึกต่อปัจจัยทั้งหลาย....ทำให้ เราเข้าใจความหมายของ"คำว่า ฌาน"ได้มากขึ้น แน่นอน ด้วยการ"ทำไว้ในใจอย่างแยบคาย":cool:
     
  12. poopae191

    poopae191 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    725
    ค่าพลัง:
    +1,872
    ลุงปราบขอบพระคุณมากนะคะ การฝึกอสุภะ เวลาฝึกมโนยิทธิตอนตัดร่างกายทำให้ตัดได้เร็วมากเลยคะ
     
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ภายใน6เดือน นี้
    ให้เดิน อสุภะอย่างน้อยทุกครั้งที่นั่งสมาธิ
    หากทำได้นะ ก็จะยอมให้เรียกลุงต่อไป

    แถวบ้าน มีดอกบัวสด ที่พอหามาบูชาพระได้มั๊ย
    หาก สามารถ
    ก็ให้ นำมาใส่แจกัน ข้างละ 8 ดอก
    อย่าลืมใส่น้ำในแจกัน
    อันนี้เป็น เทคนิคส่งเสริมอย่างนึง จะทำก็ดี ไม่ทำก็ได้
     
  14. tichakorn

    tichakorn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +42
    ไม่ทราบว่าเทคนิคในการปฏิบัติสมาธิ ภาค 2 มีหรือยังค๊ะ
    ภาค 1 จะนำไปปฏิบัติแต่อยากจะต่อภาค 2 ค๊ะ ขอบพระคุณมากค๊ะ
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    หาก จำอักษร การสวดมนต์ที่เสนอแนะข้างต้น ยังไม่ได้ขึ้นใจ

    อ่าน ภาค ๒ จะไม่มีจุดสังเกตุ ให้เดินต่อ

    จะลงภาค ๒ ก็ประมาณ เดือนสิงหา 2556 ครับ

    หากจำได้โดยไม่ต้องใช้หนังสือแล้ว ก็ต้อง ทำซ้ำไปก่อน

    อนุโมทนาในการสวดมนต์
     
  16. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    มันเป็นเรื่องธรรมดาของเจ้าธาตุรู้อยู่เเล้ว ถึงเเม้คุณจะเข้าถึงอรูปได้ก็ตาม ขันธ์ทั้ง4ก็ทำงานอยู่ ยังไงก็ต้องมีสิ่งที่เกิดดับอยู่ในสมาธินั้น หรือฝึกสมาธิมาตลอด100ปี ต่อไปมันก็จะฟุ้ง เผลอไป หลุดเเบบนี้ ให้เห็นไปอีกเรื่อยๆ ไม่มีทางที่จะหยุดมันได้เพียงสมาธิ ฉนั้นผู้ที่จิตตั้งมั่นเนี่ยธรรมทั้งหลายมันจะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนกว่าผู้ไม่เคยอบรมสมาธิ เพราะผู้ที่ไม่อบรมสมาธิจะไปเห็นสภาวะที่หยาบๆ เห็นง่าย เเต่เข้าใจยาก เเต่ผู้จิตเป็นสมาธิเนี่ย อนิสงส์จะเห็นตามเป็นจริงของขันธ์5 พระองค์ตรัสว่าครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธ์ผ่องใส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรเเก่การงาน(สังเกตุตรงนี้ คำว่าจิตตั้งมั่นก็คือฌาน ฉนั่นอย่าไปหลงกับคำพูดของใครบางคนที่อาจจะกำลังเเยกออกจากกัน)
    ซึ่งตรงนี้ ความรู้สึกมันจะเเย้งกันอยู่2จำพวก คือ ที่ว่ายิ่งสมาธิลึกยิ่งหลง พวกนึง เเต่ถ้าศึกษาอย่างถ่องเเท้เเล้วจะรู้ตามอุปมานี้เข้าใจได้เพียงเเค่อุปมาว่า พอจิตตั้งมั่น เปรียบเหมือนห้วงน้ำใส คนมีจักษุยืนอยู่ฝั่งที่นั้น เขาจะเห็นหอยตัวกลมบ้าง ตัวเเบนบาง ก้อนกรอดก้อนหินบ้างฝูงปลาบ้าง "อันหยุดอยู่"เเละว่ายไป ในห้วงน้ำนั้นเขาจะเห็นชัดเจนจนรู้สึกว่า ห้วงน้ำนี้ใสไม่ขุนเลย ปลาหอย ก้อนกรวดเหล่านี้ "หยุดอยู่บ้าง เทียวอยู้บ้างในห้วงน้ำนั้น". ข้อนี้ฉันใด ผมขออธิบายว่าห้วงน้ำใสเปรียบเหมือนสมาธิ จะเห็นสิ่งที่คุณบอกว่าฟุ้งซ่านนั้นชัดเจนขึ้นนั่นเอง เเต่ต่อจากนี้มันอยู่ที่ความเข้าใจของคุณมากน้อยเท่าไหน ว่าจะต้องทำอะไรต่อไป จะต่อด้วยคำอาจารย์หรือจะเอาคำที่ศาสดาก็ขึ้นอยู่กับคุณเเล้ว
    เเต่ขอสรุปให้เข้าใจก่อนว่าถ้าสมาธิยิ่งลึกเนี่ยยิ่งเห็นสัจจะได้ชัดเจนขึ้นเเน่นอน
     
  17. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ขอเเนะนำคุณ anusaya. ว่า ถ้าเกิดคุณยังเข้าฌานไม่ค่อยได้ เเละที่บอกว่าทำสมาธิมานานเเล้วเเต่จิตมันฟุ้งซ่านอยู่ดี ให้คุณทำอย่างนี้คือ เวลาเห็นรูปด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้ฝึกดึงกลับมาอยู่ที่กายไว้เพียงเท่านี้ (ลมหายใจ)ไม่ต้องคิดต้องอะไรฝึกๆเเบบนี้ไปก่อน เพราะ เริ่มเเรกๆธรรมดาของสัตว์โลกถูกผัสสะบังหน้าอยู่ตลอด พอเกิดผัสสะ ย่อมรู้สึก ย่อมคิด ย่อมนึก เเม้อีกธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา เจตนา นี้เเละคือการเกิดขึ้นของอนุสัยความเคยชินต่างๆ เป็นธรรมดาของสัตว์โลก เเล้วทำให้ปัญจุปาทานขันธ์เกิดขึ้นต่อไป เพราะเค้าไม่รู้ว่ารูปกับนามมันคนละส่วนกัน ไอ้เหตุเกิด ไอ้ตัวเชื่อมคือผัสสะ เป็นเเดนเกิด สิ่งเหล่าเนี่ยมันเป็นปัจจัยปรุงเเต่งทั้งสิ้นทำให้ราวเหมือนกับว่า รูปกับนามมันเป็นสิ่งเดียวกัน เที่ยงเเท้ จริงๆมันไม่รู้จักกัน ลองไปด่าคนหูนวกตาบอดก็จะรู้เอง เค้าจะเฉยๆไม่สนใจ ตัวรับทางหูไม่มีผัสสะไม่เกืด เค้าก็ไม่คิดไม่ทุกข์ เพราะ วิญญานเข้าปตั้งอาศัยรับรู้ไม่ได้ จึงไม่สนใจภายนอกของรูป เลย ไม่ได้ปรุงในส่วนนั้น ฉนั้นถ้าคุณยังไม่รู้อะไรมาก ให้ดึงกลับมาเเบบเดิมถูกต้องเเล้วฝึกบ่อยๆจะนิ่งมาก ที่ให้กับมาอยู่เพราะเป็นการฝึกวิญญาน ธาตุรู้ ให้อยู่เป็นที่เท่านั้น จริงๆรายระเอียดมีเยอะ วิญญานมันก็มีเหตุถึงเกิดขึ้น เเต่เท่านี้ก็พอ ส่วนวิปัสสนาคืออะไร ลองศึกษาอริสัจ4ดู มันก็จะยากไปอีกนิดนึงนั้นเเละ เเต่อย่าไปตามรู้ ตามดูไปเพลินอะไรทั้งสิ้น. ้สติดึงกลับมาเท่านี้พอ
     

แชร์หน้านี้

Loading...