ใครมีปัญหาอะไรในการปฏิบัติลองเข้ามาถามดู

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย พระ ธรรมะ, 9 มีนาคม 2013.

  1. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..การตั้งข้อสงสัย สอบถาม..จะทำลายเจ้าพ่อ เจ้าแม่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางพราหม์ทั้งปวงให้หายศักดิ์สิทธิ์..(หลวงปู่ดูลย์..ท่านเคยกล่าวไว้ในหนังสือ หลวงปู่ฝากไว้..ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่มี มีแต่พลังจิตครับ)
    ..นี่คือ กาลามสูตร 10 ของพระองค์ละครับ ศาสนาให้พึ่งตนเองไม่พึ่งสิ่งนอกตัว ไม่บนบานศาลกล่าว ผมเข้าใจอย่างนี้เลยครับ พระพุทธองค์ท่านจึงไม่ยอมก้มกราบพราหม์.. จึงเสด็จออกบวชเพื่อพิสูจน์ความจริงด้วยตนเอง..เสียดายเหลือเกิน พระทั้งประเทศ มีขอบเขตจำกัดในการสอนเรื่อง..กาลามสูตร10 นี่แหละครับ สาธุ:cool::':)'(
     
  2. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    สาธุ ขอบคุณครับท่าน...
     
  3. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ศรัทธา กับ ปัญญา ต้องเสมอกัน นั่นคือ เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อโดยอาศัยปัญญาที่มีใคร่ครวญหาเหตุผล
    มิใช่เชื่อแบบขาดปัญญา นี่คือข้อแตกต่างของศาสนาพุทธ
    การใช้หลักกาลามสูตรนั้น เพื่อป้องกันศรัทธาแบบไร้ปัญญา คือ เชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้าคอยดลบันดาลให้เป็นไปต่างๆนานา ทั้งที่ความจริง เป็นเรื่องของปฏิจจสมุปบาท
    และเป็นการเชิญชวนให้มาทดลองปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
    เมื่อประจักษ์แจ้งแก่ใจแล้ว ก็จะรู้เองว่าอะไรเป็นอะไร...
     
  4. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    เวลามีปัญญามากๆ ให้คิดกลับไปตอนที่ตัวเองยังไม่เกิดปัญญา เวลาที่รู้อะไรมาก ให้ย้อนดู ตอนที่ยังไม่รู้ เวลาที่ไม่ผิด ให้ย้อนดูวันที่ยังผิดอยู่ เวลาที่เก่งแล้ว ให้ย้อนกลับดูตอนที่เรายังไม่เก่งอะไร ก้จะรู้เขารู้เรา ไม่ใช่รู้ว่าคนไหนโง่ หรือไม่รู้อะไร ไม่เท่าเรา แต่ให้รู้และเข้าใจว่า เราก่เคย และเราได้สิ่งเหล่านั้นมาจากไหน หรือ ว่าเราเก่งมาตั้งแต่เกิด
     
  5. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    อย่าเชื่ออะไรตอนที่อารมณ์มันยังค้างอยู่ อารมณ์หรืออะไรก้ตามที่อยู่กับเราตอนนี้ มันเป็นกิเลส มันพร้อมจะหลอก ให้เราเข้าใจอะไผิดๆ ได้เสมอ ให้ใจเย็นๆ เวลาตัวเองเป็นมันไม่รู้ตัวหรอก เพราะเชื่อกิเลส และโดนปิดกั้นปัญญาโดยกิเลส มันพยายามจะบอกเราเสมอว่า เป็นนั่นเป็นนี่ ขั้นนั้นขั้นนี้ อย่าเชื่อ ว่ามันเป็นความจริง อย่าไว้วางใจ จนกว่ากิเลสจะหมด ถ้ายังไม่หมด ก็อย่าพึ่งตัดสินอะไรตามมัน เพราะกิเลส โกหกได้แนบเนียนเสมอ สิ่งที่ขัดขวางการบรรลุธรรมก้กิเลสนี่แหละ เผลอเมื่อไหร่ มันจะเข้ามาหลอก โดยไม่สงสัยเลย ว่าโดนมันหลอก อย่างนี้ เป็นกันทุกคน เพราะมีกิเลสกันทุกคน เพียงแต่คนที่กำลังเป็น ไม่รู้สึกแม้แต่นิด ว่ากำลังโดนหลอก เพราะไม่เคยทบทวน มีแต่เชื่อตัวเองอย่างเดียว ลืมคิดว่า เออ..แม้ตัวกู มันก้ยังมีอยู่ มีกิเลสอยู่ จะไว้ใจอะไรมันได้ ...
     
  6. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    น่าจ๋งจ๋าน
    ท่านตีคนเดียวหนาวหรือยัง
    มาอยู่ลำปางสิ
    หิมะร่วงที่เมืองไทย
     
  7. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    ธรรมอันผู้ศึกษาและปฏิบัติจักพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นคนมีเมตตา อ่อนโยน ไม่อ่อนแอ ไม่แข็งกระด้าง ไม่อวดดี ไม่ทนงตน ไม่พยายามจะอยู่สูงกว่าคนอื่นเพื่อความสะใจ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น นี่เป็นคุณสมบัติของผู้ศึกษามาก ปฏิบัติมาก ย่อมแลเห็นทุกข์ของตนเองและบุคคลอื่น แล้วไม่พยายามเบียดเบียนผู้อื่นให้ทุกข์ไปกว่านั้นอีก ให้ลำบาก กายใจ ไปกว่านั้นอีก นี่ถึงเรียกผู้รู้ธรรม ส่วนที่มันแข็งกระด้างอยู่ตลอด พึงพิจารณาตนเองว่านี่ไม่ใช่ธรรมอันเป็นกลาง ถ้าไม่ระวังยังเชื่อตัวเองคนเดียวทั้งๆที่ยังไม่พ้นกิเลส ก้เท่าๆกับเชื่อกิเลสนั่นหล่ะ จะต่างอะไรกับผู้ไม่เคยศึกษาธรรมเล่า.........
     
  8. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    อุปกิเลส 10 ( วิปัสสนูปกิเลสมี ๑๐ ประการ )


    ๑.โอภาส ได้แก่ วิปัสสโนภาส เห็นแสงสว่างมากมายเต็มไปหมด บางคนเห็นห้องที่ตนนั่งอยู่สว่างไสวไปทั้งห้อง หรือสถานที่ที่ตนบำเพ็ญวิปัสสนาอยู่สว่างไสวไปทั่วบริเวณ บางทีเห็นแสงสว่างไปจนสุดสายตา ถ้าโยคีมีมนสิการไม่ดีก็จะเข้าใจผิดคิดไปว่าตนได้สำเร็จแล้ว คือบรรลุมรรค,ผลญาณแล้ว เกิดความยินดีชอบใจเป็นหนักหนา แล้วก็เลยนึกถึงบุญบารมีของตนเองว่า ตนเป็นคนมีวาสนาบารมีสูง จึงได้ประสบพบเห็นสิ่งที่คนธรรมดาสามัญไม่อาจเห็นได้ ถ้าเรียกสั้นๆคือ ใจสว่างที่เกิดขึ้นเพราะวิปัสสนา


    ๒.ญาณ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ เกิดปัญญาในการบำเพ็ญวิปัสสนา กำหนดรูป,นาม ได้คล่องแคล่วว่องไวอย่างประหลาด ผิดกว่าแต่ก่อนซึ่งเคยกำหนดด้วยความยากลำบาก แม้จะอุตสาหะระมัดระวังก็ยังพลั้งเผลอบ่อยๆต้องตั้งใจอย่างเคร่งครัด แต่บัดนี้การกำหนดดูคล่องแคล่วว่องไวไปหมด ที่เคยทำไม่ได้ก็ทำได้อย่างสะดวกสบาย ระยะนี้ถ้ามนสิการไม่ดีก็จะเข้าใจผิดนึกไปเองว่า ตนคงสำเร็จแล้ว เพราะสามารถกำหนดได้สะดวกยิ่งนัก ถ้าเป็นอย่างนี้อาจารย์จะให้กัมมัฏฐานเพิ่มสักเท่าไหร่ก็ไม่กลัว อาจารย์ของตนตอนปฏิบัติจะกำหนดได้ดีเหมือนอย่างนี้หรือไม่หนอ คงไม่ได้แน่ๆ บางรายก็เกิดสงสัย อาจารย์จะให้กัมมัฏฐานผิดเสียแล้ว เพราะดูง่ายเกินไป ถ้าตนได้เป็นอาจารย์เมื่อไร จะต้องคิดตั้งบทกัมมัฏฐานให้แนบเนียนกว่านี้ เพราะอย่างนี้ใช้ไม่ได้ ง่ายเกินไป มีการดูถูกอาจารย์อย่างรุนแรง เพราะเกิดปัญญามากมายเสียเหลือเกิน เรียกสั้นๆคือ ปัญญาที่เกิดขึ้นเพราะวิปัสสนา


    ๓.ปีติ ได้แก่ วิปัสสนาปีติ รู้สึกเยือกเย็นขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูก บางทีเกิดซาบซ่าไปทั้งตัว บางทีทำให้ตัวเบาลอยก็ได้ คือเกิดความรู้สึกตัวลอยขึ้นคืบหนึ่งบ้าง บางทีลอยไปไกลๆก็มี

    ปีติมี ๕ ประการ คือ

    ๑. ขุททกาปีติ

    ๒. ขณิกาปีติ

    ๓. โอกกันติกาปีติ

    ๔. อุพเภงคาปีติ

    ๕. ผรณาปีติ



    ปีติทั้ง ๕ ประการนี้ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติอย่างแน่นอน ถ้าโยคีมนสิการไม่ดีก็ทำให้สำคัญผิด เช่นเดียวกับวิปัสสนูปกิเลสข้อต้นๆเพราะเป็นปีติที่ไม่เคยพบพานมาก่อนเลยในชีวิต เรียกสั้นๆคือ ความอิ่มใจที่เกิดขึ้นเพราะเจริญวิปัสสนา



    ๔.ปัสสัทธิ ได้แก่ วิปัสสนาปัสสัทธิ เกิดความสงบทั้งกายและใจ รู้สึกเย็นไปทั้งร่าง ตัวเบา ไม่หนัก ไม่แข็งกระด้าง อ่อนสลวย ทุกขเวทนาไม่มีเลย แม้ใจก็เช่นเดียวกัน เป็นจิตสงบ จิตเบา จิตอ่อน และจิตตรง เป้นความสงบอย่างยิ่ง เสวยความยินดีอย่างที่มนุษย์ธรรมดาสามัญไม่เคยพบ มีสาธกพยานว่า



    สูญฺญาคารํ ปวิฏฺฐสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน อมานุสี รตี โหติ สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสโต ยโต สมฺมสติ ขนฺธานํ อุทยพฺพยํ ลภเต ปีติปามุชฺชํ

    อมตํ ตํ วิชานตํ.



    ภิกษุผู้เข้าไปอยู่เรือนว่าง เห็นแจ้งธรรมด้วยดี ย่อมประสบความยินดีที่มนุษย์ธรรมดาสามัญไม่อาจพบได้ ขณะที่ถึงอุทยัพพยญาณย่อมพบความปีติปราโมทย์ ฉะนั้นเป็นอมฤติสำหรับผู้ใดได้เห็นแจ้งอยู่ เรียกสั้นๆ คือ ความสงบทั้งร่างกายและจิตใจอันเกิดขึ้นเพราะวิปัสสนา



    ๕.สุข ได้แก่ วิปัสสนาสุข คือ สุขที่เกิดขึ้นในวิปัสสนา สุขชนิดนี้เป็นสุขที่ละเอียดประณีตเป็นอย่างยิ่ง ซึมซาบไปตลอดทั่วร่างกายอย่างที่ไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน เป็นสุขท่วมท้นหัวใจ ไม่สามารถที่จะบรรยายให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นสุขที่มีรสล้ำลึกแปลกประหลาด เป็นสุขที่ประเสริฐกว่าความสุขธรรมดาที่มนุษย์พบเห็น สรุปว่า บรรดาความสุขทั้งหลายแล้ว อะไรจะมาสุขเท่าวิปัสสนาสุขไม่มี ฉะนั้น ถ้ามนาสิการไม่ดีก็จะทำให้โยคีเข้าใจผิดดังกล่าวมาแล้ว เรียกสั้นๆ คือ สุขอันละเอียดสุขุม มีรสล้ำลึก ซาบซ่าน อันเกิดขึ้นเพราะวิปัสสนา



    ๖. อธิโมกข ได้แก่ ศรัทธา คือเกิดศรัทธาขึ้นมามากมาย เป็นศรัทธาที่มีกำลังมาก เพราะจิตและเจตสิกผ่องใสเป็นอย่างยิ่งด้วยอำนาจศรัทธากล้า พาให้นึกคิดไปใหญ่โต เช่น คิดถึงคนทั้งหลายอยากให้เขาได้เข้ากัมมัฏฐานอย่างตนบ้าง เป็นต้นคนที่รักใคร่ชอบ บิดา มารดา อุปัชฌาอาจารย์ อันศรัทธาชนิดนี้มีความรุนแรงมาก ขนาดที่ว่าแม้ท่านผู้มีพระคุณเหล่านั้นได้ตายไปแล้ว ตนก็แทบจะไปขนกระดูกท่านเหล่านั้นมาปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเหมือนตนบ้างทีเดียว เมื่อนึกใกล้เข้ามาถึงอาจารย์ผู้ให้กัมมัฏฐานแก่ตนในปัจจุบัน ก็เกิดว่าตนได้พบเห็นธรรมะได้รับความสุขอยู่ในขณะนี้ ก็เพราะได้อาจารย์ช่วยแนะนำสั่งสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา ซึ่งแต่ก่อนนี้เคยเชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง แต่บัดนี้เชื่อจริงๆ ถ้าทำกุศลใดๆในภายหน้า ก็จะทำเฉพาะกุศลที่เกี่ยวกับวิปัสสนานี้ เพราะได้เห็นคุณค่าของการปฏิบัติ ถ้าโยคีผู้นั้นเป็นบรรพชิตก็เกิดคิดวางแผนการณ์สร้างมโนภาพว่า เมื่อตนสำเร็จออกจากกัมมัฏฐานไป จะต้องไปหาที่ที่เหมาะตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้น แล้วตั้งตัวเองเป็นอาจารย์สั่งสอนให้คนทั้งหลายได้รู้จักพระศาสนาที่ถูกต้อง ว่าประโยชน์ที่แท้จริงคือการวิปัสสนานี้เอง คนทั้งหลายยังดง่มากที่ไม่รู้จักปฏิบัติอย่างที่ตนกำลังทำอยู่นี้ เป็นที่น่าสงสาร ฉะนั้น จะต้องช่วยเขาไม่ให้หลงผิด จะได้พ้นทุกข์ เมื่อคิดเพลิดเพลินไปด้วยศรัทธาอันแรงกล้า โยนั้นก็เลยลืมมูลกัมมัฏฐานคือ การตั้งสติกำหนด ทำให้กัมมัฏฐานรั่ว คือบกพร่อง อันที่จริงความศรัทะที่จะเกิดขึ้นนี้เป็นของดีเพราะเป็นศรัทธาที่เกิดขึ้นในขณะที่จิตบริสุทธิ์ผุดผ่อง ซึ่งคนธรรมดาจะเกิดศรัทธาขนาดนี้ไม่ได้ แต่ที่จะเป็นวิปัสสนูปกิเลสก็เพราะว่า เมื่อจิตเพลิดเพลินไปด้วยศรัทธา ก็ทำให้ละเลยมูลกัมมัฏฐาน คือการตั้งสติกำหนด ทำให้เสียเวลาในการปฏิบัติวิปัสสนา และเมื่อมนสิการไม่ดี มีตัณหา,มานะ,ทิฏฐิเข้ามาประสมด้วย ก็จะทำให้การบำเพ็ญซัดส่ายยิ่งขึ้น ไม่ก้าวหน้าไปเท่าที่ควร เรียกสั้นๆคือ ศรัทธาอันมีกำลังแก่กล้า ซึ่งเกิดขึ้นเพราะวิปัสสนา



    ๗.ปัคคหะ ได้แก่ วิริยะ เกิดขยันขึ้นอย่างผิดปกติ พยายามในการปฏิบัติวิปัสสนาอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แต่ก่อนแม้อาจารย์จะคอยตักเตือนให้พยายามทำความเพียร ก็รู้สึกว่ายาก เหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลีย จนเกือบจะตายอยู่แล้ว ซึ่งไม่มีใครอีกแล้วในโลกนี้จะเหมือนกับตน อาจารย์ก็คอยจู้จี้เคี่ยงเข็ญตลอดเวลา แต่บัดนี้ ความคิดเช่นนี้หายไปสิ้น เกิดความขยันขึ้นเป็นพิเศษ จนทำให้ตัวเองแปลกใจว่า เหตุใดตนจึงได้มีวิริยะมาก ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการปฏิบัติเช่นนี้ และเมื่อมนสิการไม่ดี ก็จะเข้าใจตนเองผิดไปว่า ได้มรรค,ผล,นิพพานแล้ว จึงเป็นวิปัสสนูปกิเลส เรียกสั้นๆคือ วิริยะ คือความเพียรอย่างแรงกล้า อันเกิดขึ้นเพราะอำนาจวิปัสสนา



    ๘.อุปัฏฐาน ได้แก่ สติ เกิดมีสติดีขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้การกำหนดได้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่เคยกำหนดได้ยากหรือต้องขืนใจกำหนด มาบัดนี้กำหนดได้อย่างคล่องแคล่ว จนตัวเองแปลกใจว่า สติช่างดีพร้อมไปเสียทุกอย่าง ทุกขณะทุกอริยบถกำหนดได้ทั้งนั้น เพราะสติตั้งมั่นไม่โยก ไม่คลอน ไม่หวั่นไหว ไม่เผลอ ซึ่งแต่ก่อนมาไม่เคยเป็นอย่างนี้เลย ถ้ามนสิการไม่ดี ก็จะเกิดสงสัยตนผิดไปว่า ทำไมตนมีสติดีขึ้นมาอย่างที่ไม่เคยเป็นมาแต่ก่อน หรืออาจจะพบธรรมวิเศษแล้วก็ได้ เรียกสั้นๆคือ สติอันยอดยิ่ง ว่องไว ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอำนาจวิปัสสนา



    ๙.อุเปกขา ได้แก่ วิปัสสนูเปกขา เกิดความวางเฉยในสังขารอารมณ์ทั้งปวง ไม่ยินดียินร้ายต่อทุกสิ่งเหมือนคนไม่มีกิเลส ไม่สะดุ้งสะเทือนต่ออารมณืทุกชนิด เป็นอุเปกขาที่มีกำลังแรงกล้า แม้จะมีอารมณ์ใดมากระทบก็ไม่หวั่นไหว วางเฉยเสียได้ทุกประการ จนตนเองก็แปลกใจในภาวะที่เปลี่ยนแปรไปเช่นนี้เป็นยิ่งนัก ถ้ามนสิการไม่ดี ก็ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นพระอรหันต์แล้ว เพราะวางเฉยได้ ไม่ยินดียินร้ายอะไรเลย ความหมดกิเลสได้มรรค,ผล,นิพพานเป็นอย่างนี้เองหนอ นี้เนื่องจากมี ทิฏฐิเข้ามาแทรก และยังคิดต่อไปอีกว่า ตนมีบุญวาสนามาก ปฏิบัติไม่นานเท่าใดก็ได้มรรค,ผลง่ายๆ ไม่มีใครจะเหมือนตน นี้เนื่องจากว่า มานะเข้ามาแทรก และยังคิดต่อไปอีกว่าตนสบายแล้ว ไม่ต้องยินดียินร้ายอะไรทั้งหมดอีกต่อไป ถึงออกจากกัมมัฏฐานแล้ว ก็จะอยู่ในโลกนี้อย่างสงบไม่ต้องรัก ไม่ต้องชัง ไม่ต้องดีใจ เสียใจให้วุ่นวาย เหมือนคนทั้งหลายที่กำลังเป็นกันอยู่ นี้เรียกว่า ตัณหาเข้าแทรก



    รวมความว่า อุเปกขานี้แท้จริงเป็นของดี แต่ถ้ามนสิการไม่ดี มีตัณหา,มานะ,ทิฏฐิเข้ามาแทรก ก็จะกลายเป็นวิปัสสนูปกิเลสไปเลย เรียกสั้นๆคือ มีความวางเฉยในสังขารและอารมณืทั้งปวง ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา



    ๑๐.นิกันติ ได้แก่ วิปัสสนานิกันติ คือ ความใคร่ ความต้องการ ยินดี ติดใจ ขอบใจในคุณพิเศษทั้ง ๙ ประการ คือ ตั้งแต่ โอภาส จนถึง อุเปกขา ความสำคัญของวิปัสสนูปกิเลส ข้อนี้ จะได้อธิบายในบทหน้า เรียกสั้นๆคือ ความพอใจ ความต้องการ ความยินดี ความติดใจ ความชอบใจ ในคุณวิเศษทั้ง ๙ ประการและอารมณ์ทั้งปวงที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจ วิปัสสนา



    วิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ ประการนี้ ย่อมเกิดขึ้นได้แก่โยคีผู้ปฏิบัติทุกคน เมื่อบรรลุถึง อุทยัพพยญาณอย่างอ่อน ฉะนั้น พอถึงระยะนี้ วิปัสสนาจารย์พึงคอยตักเตือนให้สติ อย่าให้โยคีหลงผิดอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสเป็นอันขาด ควรดุก็ต้องดุ ควรว่าก็ต้องว่า อย่าได้เกรงใจเลย ต้องมุ่งประดยชน์เบื้องหน้าของโยคีเป็นสำคัญ



    มีข้อที่ควรทราบอีกอย่างหนึ่งคือ วิปัสสนูปกิเลสบางข้อ มีสภาวะคล้ายๆกับ โคตรภูญาณ,มรรคญาณ,ผลญาณ ความคล้ายๆกันเป็นเหตุทำให้เข้าใจผิด จะได้กล่าวถึงในข้างหน้าเมื่อถึงสภาวะจริงๆของญาณนั้นๆ มิใช่แต่โยคีจะเข้าใจผิด แม้แต่อาจารย์เองก็อาจเข้าใจผิดไปด้วย คือ เมื่อโยคีเล่าให้ฟังถึงสภาวะที่เกิดขึ้นกับตน ซึ่งคล้ายสภาวะของ โคตรภูญาณ,มรรคญาณ,ผลญาณเป็นอย่างยิ่ง อาจารย์มิได้พิจรณาให้ดี ไม่รอบคอบ ยินดีว่า ศิษย์ของตนได้บรรลุถึงผลสูงสุดของการปฏิบัติแล้ว จึงตัดสินใจให้โยคีบุคคลนั้นเลิกปฏิบัติ โดยไม่คำนึงถึงว่าระยะที่แล้วลูกศิษย์ของตนได้ผ่านญาณอะไรมาบ้างแล้ว และจะต้องผ่านญาณใดอีกต่อไปอีก ไม่ได้สอบสวนผลลำดับญาณให้ถูกต้อง ด่วนตัดสินง่ายๆเช่นนี้เป็นอันตรายแก่โยคีผู้ปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการดับมรรคดับผลโดยตรงทีเดียว ฉะนั้น วิปัสสนาจารย์พึงระวังวิปัสสนูปกิเลสนี้ให้มาก เพราะเคยทำให้ทั้งศิษย์ทั้งอาจารย์พากันกอดคอตกลงไปในห้วงเหวแห่งความเข้าใจผิดมามากต่อมากแล้ว รวมความว่า ญาณที่ ๔ คือ อุทยัพพยญาณนี้ มี วิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นอย่างแปลกประหลาดมหัศจรรย์ โยคีมากคนก็พูดมากอย่างตามอาการต่างๆของวิปัสสนูปกิเลสนั้น แต่ข้อสำคัญต้องให้ได้ลักษณะ คือ รูป,นามเกิดดับเร็วๆก็เป็นอันใช่ อุทยัพพยญาณ อย่างแน่นอน



    จาก วิปัสสนาทีปนีฏีกา รจนาโดย หลวงพ่อภัททันตระ อาสภมหาเถระ อัคคหกัมมัฏฐาน ธัมมาจริยะ



    ++วิธีแก้การติดในอุปกิเลสและกิเลสทั้งปวง มีแต่การเจริญสติเท่านั้น ที่จะทำให้เข้าใจและเข้าถึง ตลอดจนรู้ในสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้น
     
  9. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    ธรรมอันผู้ปฏิบัติควรยกไว้ในใจ

    อิทธิบาท 4
    คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ

    ๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
    ๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
    ๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
    ๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

    ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

    ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

    วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง

    จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

    วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่


    พรหมวิหาร 4

    ความหมายของพรหมวิหาร 4

    - พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่

    เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
    กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
    มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
    อุเบกขา การรู้จักวางเฉย


    คำอธิบายพรหมวิหาร 4

    1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
    และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น
    2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
    ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

    - ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
    ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์

    - ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์

    3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง

    4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
     
  10. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    ตามหลักการของพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ไม่ทรงสรรเสริญอิทธิปาฏิหาริย์ เพราะมีโทษถึง 4 ประการ คือ

    1. ทำให้มนุษย์ไม่หวังผลจากการกระทำ

    2. ไม่พัฒนาตัวเอง

    3. ตกอยู่ในความประมาท

    4. หมดอิสระภาพ

    ขณะเดียวกัน หลักการของพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง คือสอนให้ใช้ความเพียร ให้หวังผลจากการกระทำ ให้เรียนรู้พัฒนาตนเองและไม่ประมาท รวมทั้งให้พึ่งตนเอง


    พระธรรมปิฏก กล่าวว่า ปาฏิหาริย์นั้นมี 3 อย่าง คือ

    อิทธิปาฏิหาริย์ คือ ปาฏิหาริย์แสดงฤทธิ์ได้
    อาเทสนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ทายใจคนได้
    และ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ สอนให้รู้เข้าใจ ความจริง ให้เกิดปัญญา เป็นอิสระ


    ทั้งสามอย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ แต่ทรงตำหนิอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทสนาปาฏิหาริย์ พร้อมกันนี้ก็ทรงบัญญัติสิกขาบท ไม่ให้พระสาวกแสดงฤทธิ์ หากแสดงฤทธิ์ ก็จะเป็นอาบัติมีความผิด



    ที่มา การเมือง, ธุรกิจ, การเงินการลงทุน, อสังหาริมทรัพย์, ยานยนต์, ไอที-นวัตกรรม, ไลฟ์สไตล์ - กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์
     
  11. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    อย่าปล่อยอย่าวางด้วยความยึดมั่น

    เรื่องปรารภโลกกับปรารภตนนี้ มันมีแต่เรื่องอุปาทานแน่นหนาอยู่เท่านั้น พระพุทธองค์พิจารณาเห็นว่าเรื่องที่จะปรารภธรรมะ คือให้มันถูกธรรมะแล้วจึงทำไม่มี ฉะนั้นการปฏิบัติจึงเป็นหมัน ละ




    อย่าทำตัวเหมือนสุนัขนอนอยู่บนกองข้าวเปลือก (หลวงพ่อชา สุภัทโท)


    อย่าทำตัวเหมือนสุนัขนอนอยู่บนกองข้าวเปลือก
    เหมือนกันฉันนั้นข้าวสารมีอยู่ อะไรมันปิด เปลือกข้าวมันปิดสุนัขกินไม่ได้ วิมุตติก็มีอยู่ อะไรมันปิดไว้ สมมุติมันปิดไม่ให้เห็นวิมุตติ ให้พุทธบริษัททั้งหลายนั่งทับ ไม่รู้จัก..'ข้าว' ไม่รู้จักการประพฤติปฏิบัติ นั่นจึงไม่เห็นวิมุตติ มันก็จึงติดสมมุติอยู่ตลอดกาลตลอดเวลา เมื่อมันติดอยู่ในสมมุติมันก็เกิดทุกข์ขึ้นมา เกิดภพขึ้นมา เกิดชาติขึ้นมา ชรา พยาธิ มรณะ ถึงวันตายตามเข้ามา ฉะนั้นมันไม่มีอะไรบังอยู่หรอก มันบังอยู่ตรงนี้ เราเรียนธรรมะ ไม่รู้จักธรรมะ ก็เหมือนกับสุนัขนอนอยู่บนข้าวเปลือก ไม่รู้จักข้าว หิวจวนจะตายมันก็ตายทิ้งเฉยๆนั่นแหละ ไม่มีอะไรกิน ข้าวเปลือกมันกินไม่ได้ มันไม่รู้จักหาอาหารของมันเลย นานๆไปไม่มีอะไรกิน มันก็ตายไปบนกองข้าวเปลือกนั่นแหละ บนอาหารนั่นแหละ




    อย่าคิดว่ารู้มากแล้วจะเห็นพระพุทธเจ้า (หลวงพ่อชา สุภัทโท)


    อย่าคิดว่ารู้มากแล้วจะเห็นพระพุทธเจ้า

    มนุษย์เรานี้ก็เหมือนกัน ธรรมที่เราเรียนมา ธรรมะที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ถึงจะศึกษาธรรมะเท่าไรก็ตามทีเถิด ถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติแล้วก็ไม่เห็น ไม่เห็นแล้วก็ไม่รู้ ไม่รู้ก็ไม่รู้จักข้อปฏิบัติ อย่าพึงว่าเราเรียนมาก เรารู้มากแล้วเราจะเห็นธรรมะของพระพุทธเจ้า ก็เหมือนเรามีตา อย่างนี้ก็นึกว่าเราเห็นทุกอย่าง เพราะว่าเรามองไปแล้ว หรือจะนึกว่าเราได้ยินแล้วทุกอย่าง เพราะเรามีหูอยู่แล้ว มันเห็นไม่ถึงที่สุดของมัน มันก็เป็นตานอกไป ท่านไม่จัดว่าเป็นตาใน หูก็เรียกว่าหูนอกไม่ได้เรียกว่าหูใน มิฉะนั้นถ้าท่านพลิกสมมุติเข้าไปเห็นวิมุตติ แล้วก็เป็นของจริง เห็นชัด ถอนทันที มันจึงถอนสมมุติออก ถอนความยึดมั่นถือมั่นออก ถอนทุกสิ่งทุกอย่าง



    ผลไม้ (ธรรมะ) มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ (หลวงพ่อชา สุภัทโท)


    ผลไม้ (ธรรมะ) มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ

    เหมือนกับผลไม้หวานๆใบหนึ่ง ผลไม้นั้นมันหวานอยู่ก็จริงแต่ว่ามันต้องอาศัยการกระทบประสบจึงรู้ว่ามันหวานหรือมันเปรี้ยวจริงผลไม้นั้นถ้าไม่มีอะไรกระทบ มันก็หวานอยู่ตามธรรมชาติ หวานแต่ไม่มีใครรู้จัก เหมือนธรรมะของพระพุทธเจ้าของเรา เป็นสัจจธรรมจริงอยู่ก็ตาม แต่สำหรับคนที่ไม่รู้จริงนั้นก็เป็นของไม่จริง ถึงมันจะดีเลิศประเสริฐสักเท่าไรก็ตามทีเถอะมันไม่มีราคาเฉพาะกับคนที่ไม่รู้เรื่อง

    ฉะนั้นจะไปเอาทุกข์ทำไม ใครในโลกนี้อยากเอาทุกข์ใส่ตัวมีไหม ไม่มีใครทั้งนั้นแหละ ไม่อยากได้ทุกข์ แต่ว่าสร้างเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นมา มันก็เท่ากับเราไปแสวงหาความทุกข์นั่นเอง แต่ใจจริงของเราแสวงหาความสุข ไม่อยากได้ทุกข์ นี่มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ทำไมจิตใจของเรามันสร้างเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นมาได้ เรารู้เท่านี้ก็พอแล้วใจเราไม่ชอบทุกข์ แต่เราสร้างความทุกข์ขึ้นมาเป็นตัวของเราทำไม มันก็เห็นง่ายๆก็คือคนที่ไม่รู้จักทุกข์นั่นเอง ไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุเกิดของทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ จึงประพฤติอย่างนั้น จึงเห็นอย่างนั้น จะไม่มีความทุกข์ได้อย่างไรก็เพราะคนไปทำอย่างนั้น






    เมื่อคิดผิดก็เกิดทุกข์ (หลวงพ่อชา สุภัทโท)


    เมื่อคิดผิดก็เกิดทุกข์

    ถ้ามันเป็นเช่นนั้น มันก็เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งดุ้นนั้นแหละ แต่ว่าเราไม่เข้าใจว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ อะไรที่เราได้พูด เราได้เห็น เราได้ทำแล้วเป็นทุกข์ อันนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้น ถ้าไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิมันไม่ทุกข์อย่างนั้นหรอก มันไม่ยึดในความทุกข์อันนั้น มันไม่ยึดในความสุขนั้นๆ ไม่ได้ยึดตามอาการทั้งหลายเหล่านั้น มันจะปล่อยวางตามเรื่องของมัน เช่น กระแสน้ำที่มันไหลมา ไม่ต้องกางกั้นมัน ให้มันไหลไปตามสะดวกของมันนั้นแหละ เพราะมันไหลอย่างนั้น กระแสธรรมก็เป็นอย่างนั้น กระแสจิตของเราที่ไม่รู้จักมันก็ไปกางกั้นธรรมะด้วยที่ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ แล้วไปตะโกน โน้น มิจฉาทิฏฐิอยู่ที่โน้น คนโน้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ตัวเราเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือทุกข์เกิดขึ้นมาเพราะเราเป็นมิจฉาทิฏฐิ อันนั้นเราไม่รู้เรื่อง อันนี้ก็น่าสังเกตน่าพิจารณาเหมือนกันนะ ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิเมื่อไรก็เป็นทุกข์เมื่อนั้น ไม่ทุกข์ในเวลาปัจจุบันนั้น ต่อไปมันก็ให้ผลมาเป็นทุกข์

    อันนี้พูดเฉพาะคนเรามันหลงเท่านั้น อะไรมันปิดไว้ อะไรมันบังไว้ สมมุติมันบังวิมุตติให้คนมองเห็นไม่ชัดในธรรมทั้งหลาย ต่างคนก็ต่างศึกษา ต่างคนก็ต่างเล่าเรียน ต่างคนก็ต่างทำ แต่ทำด้วยความไม่รู้จัก ก็เหมือนกันกับคนหลงตะวันนั้นแหละ เดินไปทางตะวันตกเข้าใจว่าเดินไปทางตะวันออก หรือเดินไปทิศเหนือเข้าใจว่าเดินไปทิศใต้ มันหลงขนาดนี้ เราปฏิบัตินี้มันก็เลยเป็นขี้ของการปฏิบัติโดยตรงแล้วมันก็เป็นวิบัติ วิบัตินี้คือมันพลิกไปคนละทาง หมดจากความมุ่งหมายของธรรมะที่ถูกต้อง สภาพอันนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เราก็เข้าใจว่าอันนี้ถ้าทำขึ้น ถ้าบ่นขึ้น ถ้าท่องขึ้น ถ้ารู้เรื่องอันนี้ มันจะเป็นเหตุให้ทุกข์ดับ ก็เหมือนกันกับคนที่อยากได้มากๆนั่นแหละ อะไรๆก็หามามากๆ ถ้าเราได้มากแล้วมันก็ดับทุกข์ จะไม่มีทุกข์ ความเข้าใจของคนมันเป็นอย่างนี้ แต่ว่ามันคิดไปคนละทาง เหมือนกันกับคนนี้ไปทิศเหนือ คนนั้นไปทิศใต้ นึกว่าไปทางเดียวกัน
     
  12. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    อวดดี อวดเด่น อวดรู้ อวดฉลาด - แต่ก็ไม่ดีจริง ไม่เด่นจริง ไม่รู้จริง ไม่ฉลาดจริง
    ต้นตอรากเหง้าของกิเลสตัวนี้ คือ อวิชชา-ความไม่รู้จริง หรือความบรมโง่ ก็ได้ เกี่ยวพันกับกิเลสหลายตัวมาก เพราะมีหลายระดับ หลายชั้น ตั้งแต่ ชั้นหยาบๆ -ชั้นกลางๆ-และชั้นละเอียด คละเคล้าปะปนกันอยู่มากบ้างน้อยบ้างตามส่วน เช่น

    ๑. กิเลสหยาบ - ชั้นนอก (อุปกิเลส ๑๖)
    ปลาสะ : ตีเสมอ (เข้าทำนองอวดเด่น อวดรู้ อวดฉลาดเท่าเทียมกับผู้ที่เหนือกว่า)
    สารัมภะ : แข่งดี แย่งดี(ประเภทหน้าใหญ่ใจโต ทำบุญเอาหน้า เอาเด่นกว่าใคร)
    มานะ : ถือตัว ถือตน
    ถัมภะ : ดื้อ ด้าน
    อติมานะ : ดูถูก ดูหมิ่น ดูแคลนคนอื่น
    อิสสา : อิจฉาริษยาผู้อื่น ไม่อยากเห็นคนอื่นได้ดี

    ๒. กิเลสชั้นกลาง (อนุสัย ๗ : นอนนิ่งอยู่ในใจ พุ่งหรือฟุ้งขึ้นมาบางขณะตามเหตุปัจจัย)....
    ทิฏฐิ : ความเห็นผิด (เห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด)
    มานะ : ถือตัว ถือตน ไม่เห็นคนอื่นอยู่ในสายตา
    ภวราคะ : อยากได้ อยากมี อยากเป็น (อยากให้คนอื่นยกย่อง เชิดชู ให้เกียรติ เห็นว่าตนดี ตนเด่น)
    อวิชชา : ความไม่รู้จริง บรมโง่

    ๓. กิเลสชั้นละเอียด (สังโยชน์ ๑๐ : ทำให้จิตไม่หลุดพ้น)
    สักกายทิฏฐิ : ติดอัตตา ตัวตน อีโก้สูง ประมาทหลงเมาตนเอง
    มานะ : ถือตัว ถือตน
    อวิชชา : ความไม่รู้จริง บรมโง่
    ผู้ปฏิบัติธรรม จำนวนไม่น้อยติดหลงอยู่กับ กิเลส อวิชชา เหล่านี้ คิดว่าตัวเองบรรลุธรรมแล้ว ดีแล้ว ดีกว่าคนอื่น ๆ การแสดงตัวว่ารู้ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้จริง ก็เป็นการบ่งบอกให้คนอื่นรู้ได้ในที่สุดเองว่า ตนเองเป็นอย่างไร หรือดีแค่ไหน ดังนั้น ผู้รู้จริง เขาจึงไม่โอ้อวด แสดงตนว่ารู้มาก และไม่ตำหนิติเตียนผู้อื่น หากแต่เข้าใจ และสงสาร ช่วยได้ท่านก็ช่วย ช่วยไม่ได้ ท่านก็ปล่อยไปตามเรื่องของแต่ละคน
    คนสูง (คนดีจริง) ทำตัวต่ำ (สามัญธรรมดา สมถะ เรียบง่าย ไม่ถือตัว) แต่คนต่ำ (คนชั่ว คนไม่ดีจริง) ทำตัวสูง (พยายามยืดชูคอให้สูงกว่าปกติธรรมดาเข้าไว้ อวดเบ่ง อวดเก่ง คุยโม้โอ้อวด ทั้งๆที่ไม่มีดีจะอวด นอกจากความโง่ของตนเท่านั้นเอง)
    ในข้อนี้จะเรียนให้ท่านทั้งหลายทราบพอเป็นคติเล็กน้อย สำหรับท่านผู้กำลังประพฤติปฏิบัติธรรมภายในใจอยู่ และอาจมีกรุ่น ๆ หรือปริ่ม ๆ อยู่บ้างภายในใจ ในเมื่อมีโอกาสอาจระบาย หรือประกาศโฆษณาออกได้ โดยไม่มีความกระดากอายว่าใครจะตำหนิติเตียนอย่างใดบ้าง เพราะความอยากดังอยากเด่นอันเป็นเรื่องของกิเลสมันผลักดัน จึงขอนำคติของปราชญ์ ที่ท่านทำตามหลักที่พระพุทธเจ้าพาดำเนินมาแสดงเป็นทัศนคติบ้าง เช่น พระอัสสชิได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งองค์ ในจำนวนปัญจวัคคีย์ทั้งห้าที่เป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า มีพระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นต้น พระอัสสชิเป็นองค์ที่ห้า ท่านบรรลุธรรมแล้ว
    ตอนนั้นท่านอุปติสสะ คือ พระสารีบุตรที่เป็นพระอัครสาวกข้างขวาของพระพุทธเจ้านั่นเอง แต่ก่อนที่ท่านยังไม่ได้เป็นพระสาวกท่านกำลังออกบวชในสำนักปริพาชก บำเพ็ญไปตามประเพณีของคนสมัยนั้น เวลามาเห็นพระอัสสชิที่มีความสวยงามมากด้วยกิริยามารยาท ก้าวหน้า ถอยกลับ เหลือบซ้าย แลขวา เป็นผู้มีอากัปกิริยาที่สำรวมน่าเคารพเลื่อมใสมาก จึงพยายามแอบด้อมตามหลังท่านไป พอพ้นจากหมู่บ้าน ก็เรียนถามสำนักที่อยู่อาศัยของอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่าน ท่านก็พูดให้ฟังเพียงย่อ ๆ เกี่ยวกับเรื่องธรรมของศาสดาหรือครูอาจารย์ท่านสอนอย่างไร ท่านว่า
    “เราไม่มีความรู้อันกว้างขวาง จะแสดงให้ท่านฟังได้เพียงย่อ ๆ เท่านั้น
    “เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา” เป็นต้น “ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ เมื่อดับ
    ก็ต้องดับเหตุก่อน” พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้”
    เพียงเท่านี้พระสารีบุตรที่เป็นปริพาชกท่านได้บรรลุพระโสดาขึ้นทันที
    ส่วนพระอัสสชิผู้เป็นอาจารย์นั้น ท่านหาได้ประกาศตนไม่ว่าท่านเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ท่านไม่ปริปากพูดเลย ส่วนพระสารีบุตรอาจทราบภูมิธรรมท่านได้ในขณะที่ได้ฟังธรรมย่อ เพราะภูมิพระโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลนี้ สามารถจะหยั่งทราบความจริงของท่านที่มีภูมิสูงกว่าตนได้ จึงสามารถสอนธรรมประเภทอัศจรรย์ไม่เคยฟังให้แก่ตนจนได้บรรลุ แต่ไม่ปรากฏในตำนานว่าพระสารีบุตรท่านได้ทราบจากพระอัสสชิเล่าให้ฟังว่าท่านเป็นพระอรหันต์ เพราะพระอัสสชิไม่ได้แสดงตัวออกมาว่าท่านเป็นพระอรหันต์ นี่ข้อหนึ่งเป็นเครื่องสาธกพอหยิบยกเทิดทูน

    ที่มา
    ในหนังสือ “พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน
     
  13. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    เฮ้อ...เด็กๆไม่มาเข้าห้องเรียนเล้ย..! คนนึงบอกว่าตกปลาเก่ง คนนึงล่าสัตว์ป่าเก่ง คนนึงจับกบเก่ง คนนึงดักนกเก่ง เด็กๆจะเอาสิ่งที่ตัวเองถนัดนี้ เลี้ยงชีวิต และจะไม่เรียนหนังสืออีกแล้ว แค่นี้ก้เลี้ยงชีวิตได้ แย่จัง !! คุณครูคงต้องตกงาน เพราะเด็กๆทุกคนล้วนมีสิ่งที่ตัวเองถนัดอยู่แล้ว ครูคงต้องลาออกไปหาอาชีพใหม่ทำแล้วหละ 555+
     
  14. แทนไทkus

    แทนไทkus สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +0
    คืออยากถามครับ ว่าถ้าจะฝึกเพ่งกสิณ เครื่องรางของขลังที่ใส่อยู่ควรเอาออกมั๊ยครับ
    แล้วถ้าเวลาฝึกบริกรรมคาถาต่างๆนั้นต้องถอดด้วยมั๊ยครับ
     
  15. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    แล้วแต่ชอบนะ ไม่มีผล คนละอย่าง แต่ถ้าเอาออกก้ดี จะได้ไม่ต้องพะวง
     
  16. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    กิจในอริยสัจ 4
    ปริญญา กำหนดรู้ทุกขสัจ
    ปหานะ ละสมุทัย
    สัจฉิกรณะ ทำให้แจ้งในนิโรธสัจ
    ภาวนา ทำมัคคสัจให้เกิด
    ________________________________________
    กิจในอริยสัจทั้ง 4 ประการนี้ จะเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ปฏิบัติ กระทำให้สมบูรณ์ในอริยมรรคทั้ง 8 ประการ ซึ่งได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง เมื่ออริยมรรคทั้ง 8 ประการ มีความสมบูรณ์ในขั้นนั้นๆ ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า " สัมมาญาณ " คือความรู้ในทางที่ชอบขึ้นภายในจิต ทำให้ความรู้จริงในอริยสัจทั้ง 4 ประการว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้สภาพความจริงของทุกข์ เพราะทุกข์เมื่อบังเกิดขึ้นแล้วก็จะทำหน้าที่เบียดเบียนอันปัจจัยปรุงแต่งให้บังเกิดขึ้น ผลที่เกิดขึ้นจากการเบียดเบียนและปรุงแต่ง ก็ก่อให้เกิดความเร่าร้อนขึ้นมาทั้งทางกายและจิต และในขณะเดียวกันก็มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงบังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาไม่อยู่นิ่ง ทุกข์จึงเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ สัมมาญาณ ความรู้ในทางที่ชอบก็จะเกิดขึ้นในสมุทัยสัจว่า สมุทัยสัจอันเป็นเหตุให้เกิดกองทุกข์ เป็นเหตุแห่งความทุกข์ ครอบสัตว์ไว้ในสังสารทุกข์และขังสัตว์ไว้ในเรือนจำ คือ สังสารทุกข์นั้น เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์แก่บุคคลทั้งหลายตลอดกาลอันยาวนาน
    สัมมาญาณ คือ ความรู้ในทางที่ชอบก็จะเกิดขึ้นมองเห็นโทษของกิเลสมีตัณหาเป็นต้นว่า สมุทัยเป็นสิ่งที่ตนจะต้องละ จากนั้นสัมมาญาณ คือ ความรู้ในทางที่ชอบก็จะเกิดขึ้นในนิโรธสัจว่าเป็นสัจฉิกรณะ คือ เป็นของที่ควรทำให้แจ้ง เพราะนิโรธสัจช่วยให้บุคคลออกจากอำนาจของอุปธิ คือ ขันธ์ กิเลส และกรรม เป็นต้น ทำให้ใจของบุคคลสงัดจากกิเลส และไม่มีปัจจัยอะไรมาปรุงแต่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปได้ ทำให้บุคคลเหล่านั้นได้ดื่มรสอฤตรส คือรสแห่งความไม่ตาย สัมมาญาณ คือความรู้ในทางที่ชอบก็จะเกิดขึ้นในมรรคสัจ ซึ่งทำหน้าที่ขนสัตว์ออกจากวัฏสงสารคือการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ เป็นเหตุให้บุคคลผู้กระทำอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ ให้สมบูรณ์เข้าถึงสภาวะแห่งนิพพาน เป็นการสงบระงับดับไปแห่งเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์ ช่วยให้บุคคลได้เห็นพระนิพพานด้วยใจของตน จิตจะเข้าถึงความเป็นใหญ่ในวิมุติญาณทัสสนะ คือ ความรู้ความเห็นในสัมมาวิมุติ ได้แก่ความรู้ความเห็นถึงจิตที่หลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสในทางที่ชอบ กิจในอริยสัจทั้ง 4 ประการนี้ ในแง่ของการเกิดของญาณ ท่านแสดงว่า เกิดขึ้นจากสัมมาญาณ 3 ระดับด้วยกันคือ

    - สัจจญาณ รู้ความจริงอริยสัจแต่ละข้อว่าอะไรเป็นอะไร รู้ว่านั่นคือทุกข์ นั่นคือสมุทัย เหตุเกิดแห่งทุกข์ รู้ว่านี่คือนิโรธคือความดับทุกข์ รู้ว่านี่คือมรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์

    - กิจจญาณ รู้กิจที่ควรทำในอริยสัจทั้ง 4 ประการว่า ทุกข์เป็นปริญญาตัพพธรรมคือ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ สมุทัยเป็นปหาตัพพธรรม คือ ธรรมที่บุคคลจะต้องกำหนดละ นิโรธเป็นสัจฉิกาตัพพธรรมคือ ธรรมที่บุคคลจะต้องทำให้แจ่มแจ้งขึ้นภายในจิตสันดานของตนมรรคเป็นภาเวตัพพธรรม คือธรรมที่บุคคลจะต้องลงมือประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดขึ้น

    - กตญาณ เกิดผุดขึ้นภายในใจของบุคคล ผู้กระทำอริยมรรคให้สมบูรณ์ว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ตนได้กำหนดรู้แล้ว สมุทัยที่ควรละ ตนได้ละแล้ว นิโรธที่ควรทำให้แจ้งได้ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว มรรคที่ควรเจริญได้เจริญแล้ว ต่อจากนั้นจิตของผู้ปฏิบัติก็จะเข้าถึงสัมมาวิมุติคือ หลุดพ้นจากเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์ด้วยประการทั้งปวง อันหมายถึงจบสิ้นภารกิจที่เกี่ยวกับการละบาปบำเพ็ญบุญ ยุติการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ เป็นภูมิแห่งจิตที่เข้าถึงชั้นที่ท่านเรียกว่า"โลกุตตรภูมิ" คือภูมิจิตที่พ้นจากกระแสของโลกทั้งปวง ในขั้นของการดำรงชีวิตประจำวันของสามัญชน อาจจะได้รับผลของกิจทั้ง 4 ประการนี้ได้ด้วย
    1.พยายามเรียนรู้ เข้าใจ ยอมรับความจริงที่มีอยู่เป็นอยู่โดยธรรมชาติ อันเกิดขึ้นมาจากเหตุปัจจัย เช่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย การพลัดพราก ช่วยให้ปล่อยวาง ทำให้ใจสงบได้
    2.พยายามมองให้เห็นโทษของกิเลสประเภทต่างๆ แล้วหัดบรรเทา ลด ละ อยู่เสมอจะมีความเร่าร้อนน้อยลง โดยอาศัยความมุ่งมั่นผลคือ การที่จิตใจได้รับความสุข ความสงบ เพราะไม่มีเครื่องเสียดแทงใจมากนัก ประการสำคัญคือพยายามปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา ให้เต็มความสามารถของตน เพราะกิจเหล่านี้คือสิ่งที่คนจะต้องเข้าใจว่า อะไร? มาจากไหน?เพื่ออะไร? และโดยวิธีอย่างไร? อันเป็นขั้นตอนของอริยสัจ 4 นั้นเอง.
     
  17. แทนไทkus

    แทนไทkus สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอขอบพระคุณมากครับ ท่าน พระ ธรรมะ
    ไม่ทราบว่าท่านเป็นพระหรือเปล่าครับ
     
  18. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    ใช่แล้ว เป็นพระ
     
  19. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    กสิณทั้ง 10 อย่าง แบ่งออกเป็น 2 พวก

    • พวกที่หนึ่ง คือ กสิณกลาง มี 6 อย่าง คนทุกจริตฝึกกสิณได้ทั้ง 6 เพราะเหมาะกับทุกอารมณ์ ทุกอุปนิสัยของคน
    1.ปฐวีกสิณ (ธาตุดิน/ของแข็ง ไม่ใช่เฉพาะดิน) จิตเพ่งดิน โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นดิน หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "ปฐวี" หายใจออกให้ภาวนาว่า "กสิณัง" เมื่อปฏิบัติอยู่ดังนี้ ก็จะข่มนิวรณ์ธรรมเสียได้โดยลำดับ กิเลศก็จะสงบระงับจากสันดาน สมาธิก็จะกล้าขึ้น จิตนั้นก็ชื่อว่าตั้งมั่น เป็นอุปจารสมาธิ เมื่อทำได้สำเร็จปฐมฌานแล้ว ก็พึงปฏิบัติในปฐมฌานนั้นให้ชำนาญคล่องแคล่วด้วยดีก่อนแล้วจึงเจริญทุติยฌานสืบต่อไปได้
    2.เตโชกสิณ (ธาตุไฟ ธาตุร้อน) จิตเพ่งไฟ คือการเพ่งเปลวไฟ โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นไฟ หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "เตโช" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"
    3.วาโยกสิณ (ธาตุลม) จิตเพ่งอยู่กับลม นึกถึงภาพลม โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นลม หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "วาโย" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"
    4.อากาสกสิณ (ช่องว่าง) จิตเพ่งอยู่กับอากาศ นึกถึงอากาศ คือการเพ่งช่องว่าง โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นช่องว่าง เวลาหายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อากาศ" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"
    5.อาโลกสิณ (กสิณแสงสว่าง) จิตเพ่งอยู่กับแสงสว่าง นึกถึงแสงสว่าง วิธีเจริญอาโลกกสิณให้ผู้ปฏิบัติยึดโดยทำความรู้สึกถึงความสว่าง ไม่ใช่เพ่งที่สีของแสงนั้น เวลาหายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อาโลก" หายใจออกให้ภาวนาว่า "กสิณัง"
    6.อาโปกสิณ (ธาตุน้ำ/ของเหลว) จิตนึกถึงน้ำเพ่งน้ำไว้ คือการเพ่งน้ำ โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นน้ำ หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อาโป" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง" ให้เลือกภาวนากสิณใดกสิณหนึ่งให้ได้ถึงฌาน 4 หรือฌาน 5 กสิณอื่นๆ ก็ทำได้ง่ายทั้งหมด

    • พวกที่สองคือกสิณเฉพาะอุปนิสัยหรือเฉพาะจริตมี 4 อย่าง สำหรับคนโกรธง่าย คือพวกโทสจริต
    1.โลหิตกสิณ เพ่งกสิณ หรือนิมิตสีแดงจะเป็นดอกไม้แดง เลือดแดง หรือผ้าสีแดงก็ได้ทั้งนั้นจิตนึกภาพสีแดงแล้วภาวนาว่า โลหิต กสิณัง
    2.นีลกสิณ ตาดูสีเขียวใบไม้ หญ้า หรืออะไรก็ได้ที่เป็นสีเขียว แล้วหลับตาจิตนึกถึงภาพสีเขียว ภาวนาว่า นีล กสิณัง
    3.ปีตกสิณ จิตเพ่งของอะไรก็ได้ที่เป็นสีเหลือง ภาวนาว่า ปีต กสิณัง
    4.โอทากสิณ ตาเพ่งสีขาวอะไรก็ได้แล้วแต่สะดวก แล้วหลับตานึกถึงภาพสีขาว ภาวนาโอทา กสิณัง จนจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งไม่วอกแวกไม่รู้ลมหายใจภาพกสิณชัดเจน

    ท่านว่าจิตเข้าถึงฌาน 4 พอถึงฌานที่ 5 ก็เป็นจิตเฉยมีอุเบกขาอยู่กับภาพกสิณต่างๆ ที่จิตจับเอาไว้

    [แก้] อานุภาพกสิณ 10

    กสิณ 10 ประการนี้ เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิญโญ เมื่อบำเพ็ญปฏิบัติใน กสิณกองใดกองหนึ่งสำเร็จถึงจตตุถฌานแล้ว ก็ควรฝึกตามอำนาจที่กสิณกองนั้นมีอยู่ให้ชำนาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน 4 แล้ว แต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่างๆ ตามแบบ กล่าวกันว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าฌานถึงกสิณ

    [แก้] อำนาจฤทธิ์ในกสิณในทางพุทธศาสนามีดังนี้
    ปฐวีกสิณ มีฤทธิ์ดังนี้ เช่น เนรมิตคนๆ เดียวให้เป็นคนมากๆ ได้ ให้คนมากเป็นคนๆ เดียวได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้ สามารถย่อแผ่นดินให้ใกล้กำลังการในเดินทาง
    อาโปกสิณ สามารถเนรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เช่นอธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหรือหินที่กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำ อธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อน อธิษฐานในสถานที่ขาดแคลนฝน ให้เกิดมีฝนอย่างนี้เป็นต้น
    เตโชกสิณ อธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำแสงสว่างให้เกิดแก่จักษุญาณ สามารถเห็นภาพต่าง ๆ ในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ ทำให้เกิดความร้อนในที่ทุกสถานได้ เมื่ออากาศหนาว สามารถทำให้เกิดความอบอุ่นได้
    วาโยกสิณ อธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลม หรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้ สถานที่ใดไม่มีลมอธิษฐานให้มีลมได้
    นีลกสิณ สามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้
    ปีตกสิณ สามารถเนรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้
    โลหิตกสิณ สามารถเนรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์
    โอทากสิณ สามารถเนรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำให้เกิดแสงสว่างได้ เป็นกรรมฐาน ที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักขุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ
    อาโลกสิณ เนรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็นกรรมฐานสร้างทิพยจักขุญาณโดยตรง
    อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง สถานที่ใดเป็นอับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่งมีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่ความต้องการได้

    [แก้] วิธีอธิษฐานฤทธิ์
    วิธีอธิษฐานจิตที่จะให้เกิดผลตามฤทธิ์ที่ต้องการท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้เข้าฌาน 4 ก่อน
    แล้วออกจากฌาน 4
    แล้วอธิษฐานจิตในสิ่งที่ตนต้องการจะให้เป็นอย่างนั้น
    แล้วกลับเข้าฌาน 4 อีก
    ออกจากฌาน 4
    แล้วอธิษฐานจิตทับลงไปอีกครั้ง สิ่งที่ต้องการจะปรากฏสมความปรารถนา

    จะอย่างไรก้ตาม กสิณ หรือคำบริกรรมใดๆ ก้มีจุดหมายเดียวกันคือเพื่อให้ เป็นสมาธิ หรือ ฌาณโลกีย์ เพราะอาศัยอารมณ์นั้นๆทำให้เกิด ให้มี ให้เป็น แต่ถ้าอารมณ์นั้น เสื่อมคลาย สิ่งนั้นก้หยุด หรือจบลงทันที แต่ถ้าอาศัยเป็นกำลังวิปัสสนา ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี และสำคัญมาก จงทำเพื่อ ลด ละ กิเลส เพื่อสุขอันสมบูรณ์เถิด ทุกๆท่าน สาธุ!!
     
  20. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    ลูกรัก...เราฝึกสมาธิ หรือจิตไม่ต้องการเห็นอะไร หรือมีฤทธิ์อะไร แต่สิ่งที่ทำเพียงเพื่อเห็นตัวเรา ให้จิตของเราสะอาดเท่านั้น ทุกเวลา ทุกขณะ ทุกนาที แม้กระทั่งลืมตาหรือเดิน ควรจะเพ่งความรู้สึกลงไปในกาย
    ถ้าเจ้าจะไปเมืองอารวี (เมืองอารวี แคว้นโยนก ประเทศพม่า) ซึ่งมีแต่คนที่ใจร้าย อำมหิต
    ถ้าหากเขาด่าเจ้า เจ้าจะทำอย่างไร
    ถ้าหากเขาด่าข้าพเจ้า ก็ยังดีกว่าเขาทุบตีข้าพเจ้า
    ถ้าหากเขาทุบตีเจ้า เจ้าจะทำอย่างไร
    ถ้าหากเขาทุบตีข้าพเจ้า ก็ยังดีกว่าเขาทรมานข้าพเจ้า
    ถ้าหากเขาทรมานเจ้า เจ้าจะทำอย่างไร
    ถ้าหากเขาทรมานข้าพเจ้า ก็ยังดีกว่าเขาจะตัดอวัยวะข้าพเจ้า
    ถ้าหากเขาตัดอวัยวะเจ้า เจ้าจะทำอย่างไร
    ถ้าหากเขาตัดอวัยวะข้าพเจ้า ก็ยังดีกว่าฆ่าข้าพเจ้า
    ถ้าหากเขาฆ่าเจ้า เจ้าจะทำอย่างไร
    ถ้าหากเขาฆ่าข้าพเจ้า ก็ยังดีกว่าเขาทำลายธรรมะที่มีอยู่ในตัวข้าพเจ้า
    นี่คือหนทางที่ปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างจริงจัง โดยไม่กลัวสิ่งใดใดที่จะมาทำลายธรรมะออกไปจากคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    ร่างกายเป็นธรรมชาติที่คอยปฏิบัติตามคำสั่งของใจอยู่เสมอ แต่ต้องให้เป็นคำสั่งของใจที่เด็ดขาด...เด็ดขาดจริงจริง จะต้องไม่เป็นคำสั่งที่เกียจคร้าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...