ใครมีปัญหาอะไรในการปฏิบัติลองเข้ามาถามดู

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย พระ ธรรมะ, 9 มีนาคม 2013.

  1. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    รักษาความไม่ประมาทให้จงดี เพราะเผลอเมื่อไหร่ ก้โดนตัวเองหลอกทันที ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ไอ้ที่มันมารวมเป็นตัวนี่ ของหลอกทั้งนั้น สาธุ
     
  2. jintanakarn

    jintanakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +236
    ขอถามพระคุณท่านว่า ท่านปฏิบัติสำเร็จหรือยัง แล้วสิ่งที่ท่านตอบนั้นเป็นคำตอบที่ถูกต้องแล้วไช่หรือไม่ กราบขอขมากรรมถ้าคำถามทำให้ท่านหรือผู้หนึ่งผู้ใดที่ได้เห็นได้อ่านคำถามนี้ขุ่นข้องหมองใจ ข้าพเจ้ามิได้จะล่วงเกินผู้หนึ่งผู้ใดทั้งสิ้น แค่ต้องการความถูกต้องมั่นใจในคำตอบ เพราะคำถามต่อไปเป็นผลของการปฏิบัติแต่ล่ะช่วงของการปฏิบัติว่าเกิดผลถูกต้องหรือปฏิบัติผิดอย่างไรเท่านั้นเอง ขออนุโมทนา
     
  3. jamessniper

    jamessniper Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +99
    ฝึกอย่างไรถึงจะถอดกายทิพได้อ่าครับ? ผมปราถานาอยากเจอคุณพ่อที่เสียไป
    ผมนั่งสมาธิทีเจ็บเข่าทุกทีบางทีก็เจ็บข้ามวันปวดมากทนเวทนาไม่ไหวทำอย่างไรดีครับไม่รู้ว่าจริตเข้ากับพุทโธรึปล่าว
     
  4. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    อาตมาไม่ได้สำเร็จอรหันต์ ไม่ได้เป็นอนาคามี ไม่ได้เป็น สกิทาคามี ไม่ได้เป็นโสดาดี แต่อาตมาเป็นอาตมา ไม่ได้กวนนะโยม แต่ที่ท่านถามมาอาตมาตอบไม่ได้ เอาอย่างนี้ ท่านถามปัญหาท่านมา อาตมาจะแนะ นำแต่ถ้าอาตมาไม่รู้เรื่องนั้นอาตมาสัญญาว่า จะตอบว่าไม่รู้เรื่องนั้น คงโอเคนะ สาธุ!! อาตมาก้ตอบจากการปฏิบัติเช่นกัน!!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2013
  5. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    คุณโยม ก้ถามมันดูสิ ว่ามันเจ็บเข่าจริงหรือ เข่าร้องว่าเจ็บมั้ย หรือปากร้อง แล้วอะไรสั่งให้มันร้อง พอเจอคำตอบก้แก้ตรงนั้นนะ

    จะเจอคุณพ่อที่เสียไป ไม่จำเป็นต้องถอดกายทิพย์ ตั้งใจปฏิบัติไป อุทิศให้ท่านประจำ ไม่นานก้จะได้เจอ แต่ถ้าการถอดกายทิพย์เป็นความชอบของท่าน ท่านคงต้องฝึกโดยตรง มันจะทำได้เร็ว แต่ไม่ทุกคน มันต้องผ่านฌาณ๔ ถ้าทางวิปัสสนาก้ช้าหน่อย แต่อยากบอกว่าการถอดกายทิพย์ได้ ไม่ได้ทำให้ท่านพ้นทุกข์หรอกนะ ไม่ไดทำ ให้วิญญาณ คุณพ่อพ้นทุกข์ด้วย (ขออภัยนะ)ส่วนที่จะพ้นทุกข์ ก้อย่างที่พุทธองค์ทรงสอนนั่นไงล่ะ ถอดกายทิพย์ ไว้ค่อยทำเล่นทีหลัง สาธุ!!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2013
  6. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    เหตุของการปฏิบัติ

    การภาวนา หมายความว่า ให้คิดดูให้ชัดๆ พยายามอย่ารีบร้อนเกินไป อย่าช้าเกินไป ค่อยทำค่อยไป แต่ให้มีวิธีการและจุดหมายในการปฏิบัติภาวนานั้น
    ทุกคนที่ออกมาปฏิบัตินั้น ก็ออกมาด้วย “ความอยาก” กันทั้งนั้น มันมีความอยาก แต่ความอยากนี้ บางทีมันก็ปนกับความหลง ถ้าอยากแล้วไม่หลง มันก็อยากด้วยปัญญา ความอยากอย่างนี้ท่านเรียกว่า เป็นบารมีของตน แต่ไม่ใช่ทุกคนนะที่มีปัญญา

    บางคนไม่อยากจะให้มันอยาก เพราะเข้าใจว่าการมาปฏิบัติก็เพื่อระงับความอยาก ความจริงน่ะ ถ้าหากว่าไม่มีความอยาก ก็ไม่มีข้อปฏิบัติ ไม่รู้ว่าจะทำอะไร ลองพิจารณาดูก็ได้
    ทุกคน แม้องค์พระพุทธเจ้าของเราก็ตาม ที่ท่านออกมาปฏิบัติ ก็เพื่อจะให้บรรเทากิเลสทั้งหลายนั้น

    แต่ว่ามันต้องอยากทำ อยากปฏิบัติ อยากให้มันสงบ และก็ไม่อยากให้มันวุ่นวาย ทั้งสองอย่างนี้ มันเป็นอุปสรรคทั้งนั้น ถ้าเราไม่มีปัญญา ไม่มีความฉลาดในการกระทำอย่างนั้น เพราะว่ามันปนกันอยู่ อยากทั้งสองอย่างนี้ มันมีราคาเท่าๆกัน

    อยากจะพ้นทุกข์ มันเป็นกิเลส สำหรับคนไม่มีปัญญา อยากด้วยความโง่ ไม่อยากมันก็เป็นกิเลสเพราะไม่อยากอันนั้น มันประกอบด้วยความโง่เหมือนกันคือ ทั้งอยาก ไม่อยาก ปัญญาก็ไม่มี ทั้งสองอย่างนี้ มันเป็นกามสุขัลลิกานุโยโค กับอัตตกิลมถานุโยค ซึ่งพระพุทธองค์ของเรา ขณะที่พระองค์กำลังทรงปฏิบัติอยู่นั้น ท่านก็หลงในอย่างนี้ ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ท่านหาอุบายหลายประการ กว่าจะพบของสองสิ่งนี้

    ทุกวันนี้ เราทั้งหลายก็เหมือนกัน ทุกสิ่งทั้งสองอย่างนี้ มันกวนอยู่ เราจึงเข้าสู่ทางไม่ได้ก็เพราะอันนี้ ความเป็นจริงนี้ ทุกคนที่มาปฏิบัติ ก็เป็นปุถุชนมาทั้งนั้นปุถุชนก็เต็มไปด้วยความอยาก ความอยากที่ไม่มีปัญญาอยากด้วยความหลง ไม่อยากมันก็มีโทษเหมือนกัน “ไม่อยาก” มันก็เป็นตัณหา “อยาก” มันก็เป็นตัณหาอีกเหมือนกัน

    ทีนี้ นักปฏิบัติยังไม่รู้เรื่องว่า จะเอายังไงกัน เดินไปข้างหน้าก็ไม่ถูก เดินกลับไปข้างหลังก็ไม่ถูก จะหยุดก็ไม่หยุดไม่ได้ เพราะมันยังอยากอยู่ มันยังหลงอยู่ มีแต่ความอยาก แต่ปัญญาไม่มีมันอยากด้วยความหลง มันก็เป็นตัณหา ถึงแม้ไม่อยาก มันก็เป็นความหลง มันก็เป็นตัณหาเหมือนกัน เพราะอะไร? เพราะมันขาดปัญญา

    ความเป็นจริงนั้น ธรรมะนั้นอยู่ตรงนั้นแหละตรงความอยากกับความไม่อยากนั่นแหละ แต่เราไม่มีปัญญา ก็พยายามไม่ให้อยากบ้าง เดี๋ยวก็อยากบ้าง อยากให้เป็นอย่างนั้น ไม่อยากให้เป็นอย่างนี้ ความจริงทั้งสองอย่างนี้ หรือทั้งคู่นี้ มันตัวเดียวกันทั้งนั้น ไม่ใช่คนละตัว แต่เราไม่รู้เรื่องของมัน

    พระพุทธเจ้าของเรา และสาวกทั้งหลายของพระองค์นั้น ท่านก็อยากเหมือนกัน แต่ “อยาก” ของท่านนั้นเป็นเพียงอาการของจิตเฉยๆ หรือ “ไม่อยาก” ของท่านก็เป็นเพียงอาการของจิตเฉยๆ อีกเหมือนกัน มันวูบเดียวเท่านั้น ก็หายไปแล้ว

    ดังนั้นความอยากหรือไม่อยากนี้ มันมีอยู่ตลอดเวลา แต่สำหรับผู้มีปัญญานั้น “อยาก” ก็ไม่มีอุปาทาน “ไม่อยาก” ก็ไม่มีอุปาทาน เป็น “สักแต่ว่า” อยากหรือไม่อยากนั้น ถ้าพูดตามความจริงแล้ว มันก็เป็นแต่อาการของจิต อาการของจิตมันเป็นของมันอย่างนั้นเอง ถ้าเรามาตะครุบมันอยู่ที่ใกล้ๆ นี่ มันก็เห็นชัด

    ดังนั้น จึงว่าการพิจารณานั้น ไม่ใช่รู้ไปที่อื่นมันรู้ตรงนี้แหละ เหมือนชาวประมงที่ออกไปทอดแหนั่นแหละทอดแหออกไปถูกปลาตัวใหญ่ เจ้าของผู้ทอดแหจะคิดอย่างไร? ก็กลัว กลัวปลาจะออกจากแหไปเสีย เมื่อเป็นเช่นนั้น ใจมันก็ดิ้นรนขึ้น ระวังมาก บังคับมาก ตะครุบไปตะครุบมาอยู่นั่นแหละ ประเดี๋ยวปลามันก็ออกจากแหไปเสีย เพราะไปตะครุบมันแรงเกินไปอย่างนั้นโบราณท่านพูดถึงเรื่องอันนี้ ท่านว่าค่อยๆทำมัน แต่อย่าไปห่างจากมัน นี่คือปฏิปทาของเรา ค่อยๆ คลำมันไปเรื่อยๆ อย่างนั้นแหละอย่าปล่อยมัน หรือไม่อยากรู้มัน ต้องรู้ ต้องรู้ เรื่องของมัน พยายามทำมันไปเรื่อยๆ ให้เป็นปฏิปทาขี้เกียจเราก็ทำ ไม่ขี้เกียจเราก็ทำ เรียกว่า การทำการปฏิบัติ ต้องทำไปเรื่อยๆ อย่างนี้
    ถ้าหากว่าเราขยัน ขยันเพราะความเชื่อ มันมีศรัทธา แต่ปัญญาไม่มี ถ้าเป็นอย่างนี้ ขยันไปๆ แล้วมันก็ไม่เกิดผลอะไรขึ้นมากมาย ขยันไปนานๆเข้า แต่มันไม่ถูกทาง มันก็ไม่สงบระงับ ทีนี้ก็จะเกิดความคิดว่า เรานี้บุญน้อยหรือวาสนาน้อย หรือคิดไปว่า มนุษย์ในโลกนี้คงทำไม่ได้หรอก แล้วก็เลยหยุด เลิกทำ เลิกปฏิบัติ

    ถ้าเกิดความคิดอย่างนี้เมื่อใด ขอให้ระวังให้มากให้มีขันติ ความอดทน ให้ทำเรื่อยๆ เหมือนกับเราจับปลาตัวใหญ่ก็ให้ค่อยๆคลำมันไปเรื่อยๆ ปลามันก็จะไม่ดิ้นแรง ค่อยๆทำไปเรื่อยๆ ไม่หยุด ไม่ช้าปลาก็จะหมดกำลัง มันก็จับง่าย จับให้ถนัดมือเลย ถ้าเรารีบจนเกินไปปลามันก็จะหนีดิ้นออกจากแหเท่านั้น

    ดังนั้นการปฏิบัตินี้ ถ้าเราพิจารณาตามพื้นเหตุของเรา เช่นว่าเราไม่มีความรู้ในปริยัติ ไม่มีความรู้ในอะไรอื่น ที่จะให้การปฏิบัติมันเกิดผลนั้น ก็ดูความรู้ที่เป็นพื้นเพเดิมของเรานั่นแหละ อันนั้นก็คือ “ธรรมชาติของจิต” นี่เอง มันมีของมันอยู่แล้ว เราจะไปเรียนรู้มัน มันก็มีอยู่ หรือเราจะไม่ไปเรียนรู้มัน มันก็มีอยู่

    อย่างที่ท่านพูดว่า พระพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นก็ตามหรือไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธรรมะก็คงมีอยู่อย่างนั้น มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ไม่พลิกแพลงไปไหน มันเป็นสัจจธรรม เราไม่เข้าใจสัจจธรรมก็ไม่รู้ว่าสัจจธรรมเป็นอย่างไร นี้เรียกว่าการพิจารณาในความรู้ของผู้ปฏิบัติที่ไม่มีพื้นปริบัติ

    ขอให้ดูจิต พยายามอ่านจิตของเจ้าของ พยายามพูดกับจิตของเจ้าของ มันจึงจะรู้เรื่องของจิต ค่อยๆทำไป ถ้ายังไม่ถึงที่ของมัน มันก็ไปอยู่อย่างนั้นครูบาอาจารย์บางท่านบอกว่า ทำไปเรื่อยๆ อย่าหยุด บางทีเรามาคิด “เออ ทำไปเรื่อยๆ ถ้าไม่รู้เรื่องของมัน ถ้าทำไม่ถูกที่มัน มันจะรู้อะไร” อย่างนี้เป็นต้นก็ต้องไปเรื่อยๆก่อน แล้วมันก็จะเกิดความรู้สึกนึกคิดขึ้นในสิ่งที่เราพากเพียรทำนั้นมันเหมือนกันกับบุรุษที่ไปสีไฟ ได้ฟังท่านบอกว่า เอาไม้ไผ่สองอันมาสีกันเข้าไปเถอะ แล้วจะมีไฟเกิดขึ้นบุรุษนั้นก็จับไม้ไผ่เข้าสองอัน สีกันเข้า แต่ใจร้อน สีไปได้หน่อย ก็อยากให้มันเป็นไฟ ใจก็เร่งอยู่เรื่อย ให้เป็นไฟเร็วๆ แต่ไฟก็ไม่เกิดสักที บุรุษนั้นก็เกิดความขี้เกียจแล้วก็หยุดพัก แล้วจึงลองสีอีกนิด แล้วก็หยุดพัก ความร้อนที่พอมีอยู่บ้าง ก็หายไปล่ะซิ เพราะความร้อนมันไม่ติดต่อกัน

    ถ้าทำไปเรื่อยๆ อย่างนี้เหนื่อยก็หยุด มีแต่เหนื่อยอย่างเดียว ก็พอได้ แต่มีขี้เกียจปนเข้าด้วย เลยไปกันใหญ่ แล้วบุรุษนั้นก็หาว่าไฟไม่มี ไม่เอาไฟ ก็ทิ้ง เลิกไม่สีอีก แล้วก็ไปเที่ยวประกาศว่า ไฟไม่มี ทำอย่างนี้ไม่ได้ ไม่มีไฟหรอก เขาได้ลองทำแล้วก็จริงเหมือนกันที่ได้ทำแล้ว แต่ทำยังไม่ถึงจุดของมัน คือความร้อนยังไม่สมดุลกัน ไฟมันก็เกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งที่ความจริงไฟมันก็มีอยู่ อย่างนี้ก็เกิดความท้อแท้ขึ้นในใจของผู้ปฏิบัตินั้นก็ละอันนี้ไปทำอันโน้เรื่อยไป อันนี้ฉันใดก็ฉันนั้น

    การปฏิบัตินั้น ปฏิบัติทางกายทางใจทั้งสองอย่างมันต้องพร้อมกัน เพราะอะไร? เพราะพื้นเพมันเป็นคนมีกิเลสทั้งนั้น พระพุทธเจ้าก่อนที่จะเป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็มีกิเลส แต่ท่านมีปัญญามากหลาย พระอรหันต์ก็เหมือนกัน เมื่อยังเป็นปุถุชนอยู่ก็เหมือนกับเรา

    เมื่อความอยากเกิดขึ้นมา เราก็ไม่รู้จัก เมื่อความไม่อยากเกิดขึ้นมา เราก็ไม่รู้จัก บางทีก็ร้อนใจ บางทีก็ดีใจ ถ้าใจเราไม่อยาก ก็ดีใจแบบหนึ่ง และวุ่นวายอีกแบบหนึ่ง ถ้าใจเราอยาก มันก็วุ่น่วายอย่างหนึ่ง และดีใจอย่างหนึ่ง มันประสมประเสกันอยู่อย่างนี้

    อันนี้คือปฏิปทาของผู้ปฏิบัติเรา เหมือนอย่างพระวินัยที่เราฟังๆ กันไปนี้ ดูแล้วมันก็เป็นของยาก จะต้องรักษาสิกขาบททุกอย่าง ให้ไปท่องทุกอย่าง เมื่อจะตรวจดูศีลของเจ้าของ ก็ต้องไปตรวจดูทุกสิกขาบท ก็คิดหนักใจว่า “โอ อย่างนี้ไม่ไหวแล้ว” ความจริง เมื่อพระพุทธเจ้าท่านสอนให้พิจารณากาย อย่างเกศา โลมา นขา ทันตา ตะโจ มันก็มีแต่กายทั้งนั้น อย่างที่ท่านให้กรรมฐานครั้งแรก ก็มีแต่เรื่องกายทั้งนั้น ท่านให้พิจารณาอยู่ตรงนี้ให้ดูตรงนี้ ถ้าเราพิจารณาแล้วเห็นไม่ชัด มันก็จะเห็นคนไม่ชัดสักคน คนอื่นก็ไม่ชัด ตัวเราเองก็ไม่ชัด เห็นตัวเราก็สงสัย เห็นคนอื่นก็สงสัย มันสงสัยอยู่ตลอดไป แต่ถ้าเราสามารถเห็นตัวเราได้ชัดเท่านั้น มันก็หมดสงสัย

    เพราะอะไร? เพราะนามรูปมันเหมือนกันทั้งนั้น ถ้าหากเราเห็นชัดในตัวเราคนเดียว ก็เหมือนเห็นคนทั้งโลก ไม่ต้องตามไปดูทุกคน ก็รู้ว่าคนอื่นก็เหมือนกับเรา เราก็เหมือนกับเขา ถ้าเราคิดได้เช่นนี้ ภาระของเขาก็น้อยลง ถ้าเราไม่คิดเช่นนั้น ภาระของเราก็มากเพราะจะต้องตามไปดูทุกคนในจักรวาลนี้ จึงจะรู้จักคนทุกคน ภาระมันก็มากน่ะซิ ถ้าคิดอย่างนี้ มันก็ทำให้ท้อแท้

    อย่างพระวินัยของเรานี้ก็เหมือนกัน มีสิกขาบทอยู่มากมายเหลือเกิน ไม่รู้จักเท่าไหร่ ถ้าเพียงนึกว่า จะต้องอ่านให้ครบทุกสิกขาบท ก็แย่แล้ว ไม่ไหวแล้ว เห็นว่าเหลือวิสัยเสียแล้ว เห็นจะไม่มีทางไปตรวจดูศีลให้สมบูรณ์บริบูรณ์ได้ นี่…ความเข้าใจของเรามันเป็นอย่างนั้น เหมือนอย่างว่า ท่านให้รู้แจ้งซึ่งมนุษย์ทั้งหลายก็คิดว่าจะต้องไปดูคนให้ทุกคน มันถึงจะรู้ทุกคน อย่างนี้มันก็มากเท่านั้นแหละ

    นี่ก็เพราะว่าเรามันตรงเกินไป ตรงตามตำราตรงตามคำของครูบาอาจารย์เกินไป เพราะถ้าเราเรียนปริยัติขนาดนั้น มันก็ไปไม่ไหวเหมือนกัน มันทำให้หมดศรัทธาเหมือนกัน เรียกว่าเรายังไม่เกิดปัญญา ถ้าปัญญามันเกิดแล้ว ก็จะเห็นว่าคนทั้งหมดก็คือคนคนเดียว ถ้ามันคือคนคนเดียว เราก็พิจารณาแต่เราคนเดียวก็เพียงพอ เพราะเราก็มีรูป มีนาม ลักษณะของรูปนามมันก็เป็นอย่างนี้ คนอื่นก็เป็นอยู่อย่างนี้เหมือนกันปัญญาจะทำให้เห็นได้เช่นนั้น ทีนี้ภาระที่จะต้องคิดก็น้อยลง เพราะเห็นเสียแล้วว่า มันของอย่างเดียวกัน

    ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงว่า “อัตตะนา โจทะยัตตานัง” จงเตือนตนด้วยตนเอง ให้เตือนตัวเจ้าของเองนี้ ไม่มีที่อื่น ถ้าเราเห็นตัวเราเองแล้ว มันก็เหมือนกันหมดทุกคน เพราะอันเดียวกัน บริษัทเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกัน เพียงแต่ต่างสีสัณฐานกันเท่านั้น เหมือนอย่างยาทัมใจกับยาบวดหาย มันก็ยารักษาโรคปวดเหมือนกันเพียงแต่ว่ามันเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนรูปห่อเสียหน่อยเท่านั้น แท้จริงมันก็รักษาโรคเดียวกัน

    ถ้าเราเห็นได้เช่นนี้ มันก็จะง่ายขึ้น ค่อยๆ ทำมันไปเรื่อยๆ อย่างนั้นแหละ แล้วมันก็จะเกิดความฉลาดขึ้นในการกระทำ ทำไปเรื่อยๆ จนกว่ามันจะเกิดความเห็นแล้วจะเห็นความจริงของมันจริงๆ

    ถ้าจะพูดเรื่องปริยัติแล้ว ทุกอย่างมันก็เป็นปริยัติได้ทั้งนั้น ตาก็เป็นปริยัติ หูก็เป็นปริยัติ จมูกก็เป็นปริยัติปากก็เป็นปริยัติ ลิ้นก็เป็นปริยัติ กายก็เป็นปริยัติ เป็นปริยัติหมดทุกอย่าง รูปเป็นอย่างนั้น ก็รู้ว่ารูปเป็นอย่างนั้น แต่ว่าเรามันมัวไปติดอยู่ในรูป ไม่รู้จักหาทางออก

    เสียงเป็นอย่างนั้น ก็รู้ว่าเสียงเป็นอย่างนั้น แต่ก็ไปติดอยู่ในเสียง ไม่รู้จักหาทางออก ดังนั้น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นี้ มันจึงเป็นห่วงที่เกาะเกี่ยวให้มนุษย์ สัตว์ ทั้งหลาย ติดอยู่ในตัวของมัน ฉะนั้นก็ให้เราปฏิบัติไป คลำไปอย่างนั้นแหละ แล้ววันหนึ่งก็จะต้องได้ความรู้ เกิดความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งขึ้นมาที่จะได้ความรู้ เกิดความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งขึ้นมาได้นี้ มันจะเกิดได้จากการปฏิบัติที่ไม่หยุด ไม่ท้อถอยปฏิบัติไป ทำไป นานเข้าๆ พอสมควรกับนิสัยปัจจัยของตน มันก็จะเกิดความรู้สึกอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า “ธรรมวิจยะ” มันจะเกิดโพชฌงค์ของมันเอง โพชฌงค์ทั้งหมด มันจะเกิดอยู่อย่างนี้ สอดส่องธรรมไป

    โพชฌังโค สติสังขาโต ธัมมานัง วิจโย ตถา
    วิริยัมปีติ ปัสสัทธิง โพชฌังคา จะตถา ปะเร
    สมาธุเปกขโพชฌังคา สัตเต เต สัพพทัสสินา

    เบื้องแรกมันเกิดอย่างนี้ อาการนี้มันจะเกิดขึ้นมา มันก็เป็นโพชฌงค์ เป็นองค์ที่ตรัสรูธรรมะทั้งนั้น ถ้าเราได้เรียนรู้มัน ก็รู้ตามปริยัติเหมือนกัน แต่ไม่มองเห็น ที่มันเกิดที่ในใจของเรา ไม่เห็นว่ามันเป็นโพชฌงค์ ความเป็นจริงนั้น โพชฌงค์นั้นเกิดมาในลักษณะอย่างนี้พระพุทธเจ้าท่านจึงบัญญัติ ผู้รู้ทั้งหลายก็บัญญัติ เป็นข้อความออกมาเป็นปริยัติ ปริยัตินี้ก็เกิดจากที่ได้มาจากการปฏิบัติ แต่มันถอนตัวออกมาเป็นปริยัติ เป็นตัวหนังสือแล้วก็ไปเป็นคำพูด แล้วโพชฌงค์ก็เลยหายไปหายไปโดยที่เราไม่รู้ แต่ความจริงนั้น มันก็ไม่ได้หายไปไหน มันมีอยู่ในนี้ทั้งหมดมันจะเกิดธรรมะวิจยะ การพินิจพิจารณาตามไปเกิดความเพียร เกิดปีติ และอื่นๆขึ้นทั้งหมด ไปตามลำดับของโพชฌงค์ ถ้ามันเกิดการกระทำขึ้นทั้งหมดดังนี้ มันก็เป็นองค์ที่ตรัสรูธรรมะ ถ้าทำถูกทาง ปฏิบัติถูกทางมันต้องเกิดอาการอย่างนี้ ธรรมะมันก็ต้องมีอยู่ในนี้

    ดังนั้น ท่านจึงว่า ค่อยๆ คลำไป ค่อยพิจารณาไปอย่านึกว่ามันอยู่ข้างโน้น อย่านึกว่ามันอยู่ข้างนี้ เหมือนอย่างพระภิกษุท่านหนึ่งของเรา ท่านไปเรียนบาลีแปลธรรมบทกับเขา เรียนไม่ได้ เพราะไปนึกแต่ว่า ปฏิบัติกรรมฐานนั้นมันแจ้ง มันรู้ มันสะอาด มันเห็น ท่านก็ออกมาปฏิบัติอยู่ที่วัดหนองป่าพง ท่านว่าจะมานั่งปฏิบัติแล้วไปแปลบาลี ท่านนึกว่าจะไปรู้อย่างนั้น ไปเห็นอย่างนั้น ก็เลยอธิบายให้ท่านฟังว่า เห็นอันเกิดจากการปฏิบัติธรรมนั้นอย่างหนึ่ง เห็นจากการเรียนปริยัติธรรมนั้นก็อีกอย่างหนึ่ง มันก็เห็นเหมือนกัน แต่ว่ามันลึกซึ้งกว่ากัน

    ถ้าเห็นจากการปฏิบัติแล้วมันละ มันละไปเลยหรือถ้ายังละไม่หมด ก็พยายามต่อไปเพื่อละให้ได้ มีความโกรธเกิดขึ้นมา มีความโลภเกิดขึ้นมา ท่านไม่วางมัน พิจารณาดูที่มันเกิด แล้วก็พิจารณาโทษ ให้มันเห็นด้วย แล้วก็เห็นโทษในการกระทำนั้น เห็นประโยชน์ในการละสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ความเห็นอันนี้ไม่ใช่อยู่ที่โน่นที่นี่ มันอยู่ในจิตของตนเอง จิตที่มันผ่องใส ไม่ใช่อื่นไกล

    อันนี้ นักปริยัติและนักปฏิบัติพูดกันไม่ค่อยจะรู้เรื่อง โดยมากมักจะโทษกันว่า นักปฏิบัติพูดไม่มีรากฐาน พูดไปตามความเห็นของตน ความเป็นจริงมันก็อย่างเดียวกันแหละ เหมือนหน้ามือกับหลังมือ เมื่อเราคว่ำมือลง หน้ามือมันก็หายไป แต่มันไม่ได้หายไปไหน มันหายไปอยู่ข้างล่างนั่นแหละ แต่มองไม่เห็น เพราะหลังมือมันบังอยู่ แล้วเมื่อเราหงายฝ่ามือขึ้น หลังมือมันก็หายไป แต่มันก็ไม่ได้หายไปไหน มันก็หายไปอยู่ที่ข้างล่างเหมือนกัน นั่นแหละ

    ดังนั้น ให้เรารู้ไว้อย่างนี้ เมื่อเกี่ยวกับการปฏิบัติ อย่าไปคิดว่ามันหายไปไหน ถึงจะเรียนรู้ขนาดไหน หาเท่าไหร่ก็ไม่เห็น ก็ไม่รู้จัก คือไม่รู้ตามที่เป็นจริง ถ้ารู้ตามความเป็นจริงเมื่อไหร่ก็จะ “ละ” ได้เมื่อนั้น ถอนอุปทานได้ ไม่มีความยึด หรือถ้ามีความยึดอยู่บ้าง มันก็จะบรรเทาลง

    ผู้ปฏิบัติก็ชอบอย่างนี้ หลงอย่างนี้ พอปฏิบัติก็อยากได้ง่ายๆ อยากให้ได้ตามใจของตน ก็ขอให้ดูอย่างนี้ ดูร่างกายของเรานี่แหละ มันได้อย่างใจของเราไหมจิตก็เหมือนกัน มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น จะให้เป็นอย่างที่เราอยากไม่ได้ แล้วคนก็ชอบมองข้ามมันเสียอะไรไม่ถูกใจ ก็ทิ้ง อะไรไม่ชอบใจ ก็ทิ้ง แต่ก็หารู้ไม่ว่า สิ่งที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจนั้น อันใดผิด อันใดถูก รู้แต่เพียงว่า อันนั้นไม่ชอบ อันนั้นแหละผิด ไม่ถูก เพราะเราไม่ชอบ อันใดที่เราชอบ อันนั้นแหละถูก อย่างนี้มันใช้ไม่ได้

    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันก็ล้วนแต่เป็นธรรมะ อย่างเราเรียนปริยัติมา เมื่อเกิดความรู้สึกอย่างใด มันก็วิ่งไปตามปริยัติ เวลาเราภาวนา ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น ข้อนี้เป็นอย่างนี้ อะไรต่ออะไรมันก็ต้องวิ่งไปตามนี้ ถ้าเราไม่มีปริยัติ หรือไม่ได้เรียนปริยัติมา เราก็มีธรรมชาติจิตของเรา เมื่อมีความรู้สึกนึกคิดไปตามธรรมชาติจิตอันนี้ ถ้าหากว่ามีปัญญาพิจารณา มันก็เป็นปริยัติด้วยกันทั้งนั้น ธรรมชาติจิตของเรานี่ก็เป็นปริยัติ

    ที่ว่าธรรมชาติของเราเป็นปริยัตินั้น คือ เมื่อมีความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาอย่างไร พระพุทธเจ้าท่านให้พิจารณาอารมณ์อันนั้น อาศัยอารมณ์อันนั้นเป็นปริยัติสำหรับผู้ภาวนาที่ไม่มีความรู้ในปริยัติ จำต้องอาศัยความจริงอันนี้ ทุกอย่างมันก็เป็นมาอย่างนี้เหมือนกัน

    ฉะนั้น คนเรียนปริยัติก็ดี คนไม่เรียนปริยัติก็ดี ถ้าหากว่ามีศรัทธา มีความเชื่ออย่างที่ว่ามาแล้ว มาฝึกปฏิบัติ ให้มีความเพียร มีขันติ ความอดทนให้สม่ำเสมอ มีสติเป็นหลัก คือความระลึกได้ว่า เรานั่งอยู่ เรายืนอยู่ เรานอนอยู่ เราเดินอยู่ ให้รู้ตัวทุกอิริยาบถ

    สติสัมปชัญญะสองอย่างนี้ สติความระลึกได้สัมปชัญญะความรู้ตัว มันไม่ห่างกันเลย มันเกิดขึ้นพร้อมกันเร็วที่สุด เราจะไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ความระลึกได้เกิดขึ้น ความรู้ตัวมันก็เกิดขึ้นมาด้วย

    เมื่อจิตเราตั้งมั่นอยู่อย่างนี้ มันก็รู้สึกง่ายๆ คือระลึกได้ว่า เราอยู่อย่างไร เป็นอะไร ทำอะไร มีสติเมื่อใด ก็มีความรู้ตัวอยู่เมื่อนั้น ทีนี้ก็มีปัญญา แต่บางทีปัญญามันน้อย มันมาไม่ค่อยทัน มีสติอยู่ก็จริง มีความรู้สึกอยู่ก็จริง แต่ว่ามันก็ผิดของมันได้เหมือนกัน แต่แล้วตัวปัญญามันจะวิ่งเข้ามาช่วย สติความระลึกได้ และสัมปชัญญะความรู้ตัวนั้นมีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ก็ควรอบรมปัญญา ด้วยอารมณืของวิปัสสนากรรมฐาน เช่นว่ามันจะรู้อยู่ระลึกได้ ก็ให้ระลึกได้มันอยู่ อารมณ์เกิดขึ้นมาอย่างไร ก็ให้ระลึกอารมณ์นั้นได้อยู่ แต่ให้เห็นไปพร้อมๆกันว่า มันมีอนิจจังเป็นรากฐาน มีทั้งทุกขัง มันเป็นทุกข์ ทนยาก มีทั้งอนัตตา อันไม่ใช่ตัวตนทั้งนั้นแหละ มัน “สักแต่ว่า” เกิดความรู้สึกขึ้นมาแล้ว ไม่มีตัวตน แล้วมันก็หายไปเท่านั้น เอง คนที่ “หลง” ก็ไปเอาโทษกับมัน จึงไม่รู้จักใช้สิ่งทั้งหลายนี้ให้เกิดประโยชน์

    ถ้าหากว่ามีปัญญาอยู่พร้อมแล้ว ความระลึกได้และความรู้ตัวมันจะติดต่อกันเป็นลำดับ แต่ถ้าปัญญานั้นยังไม่ผ่องใส สติสัมปชัญญะมันก็อาจจะมีผิดบ้าง ถูกบ้างถ้าเป็นอย่างนั้นต้องมีปัญญามาช่วย พระพุทธเจ้าท่านทรงใช้อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานมาต้านทาน มันเลยว่าสตินี้มันก็ไม่แน่นอน มันลืมได้เหมือนกัน สัมปชัญญะความรู้ตัวนี้ก็ไม่แน่นอน มันล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยง

    อะไรที่มันไม่เที่ยง แล้วเราไม่รู้ทันมัน อยากจะให้มันเที่ยง มันก็เป็นทุกข์เท่านั้น เป็นทุกข์เพราะไม่ได้ตามปรารถนา ไม่ได้ตามความอยาก ที่จะให้มันเป็นอยู่อย่างนั้น ซึ่งเป็นความอยากที่เกิดจากอำนาจจิตที่สกปรก สกปรกด้วยความไม่รู้จักอันนี้ มันก็เกิดกิเลสตัณหาตรงนี้แหละ

    พอมีความรู้สึกเกิดขึ้น เช่นว่า เราได้กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็มีความชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง คือมีความยึดมั่นถือมั่น เต็มอยู่ในใจของเรา ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงให้คลี่คลายออก เรื่องที่มันเกิดขึ้นมานี่ ให้ยกเอาความไม่เที่ยงเป็นหลักวินิจฉัยอะไรที่มันเกิดขึ้นมาให้เห็นว่า ถึงเราจะชอบมัน หรือไม่ชอบมันอันนี้ไม่แน่นอน อันนี้ไม่เที่ยง ถ้าเราไปยึกมั่นมัน มันก็พาให้เราเป็นทุกข์ ทำไมเป็นทุกข์ เพราะเราไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้เป็นไปตามใจของเราได้ทุกอย่าง

    เมื่อได้รับอารมณ์มาแล้ว จิตที่หลง ที่ไม่มีความรู้มันก็ไปอย่างหนึ่ง จิตที่รู้มันก็ไปอีกอย่างหนึ่ง พอมีความรู้สึกเกิดขึ้น จิตที่รู้มันก็เห็นว่า ไม่ควรยึดมั่นในสิ่งเหล่านั้น ถ้าไม่มีปัญญามันหลงตามไปด้วยความโง่ไม่เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นแต่พอว่า เราชอบใจอันนี้ มันถูกแล้ว มันดีแล้ว อันไหนเราไม่ชอบใจ อันนั้นมันไม่ดี อย่างนั้นจึงไม่เข้าถึงธรรมะ

    ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา พระพุทธเจ้าท่านให้เป็น “สักแต่ว่า” ให้ยืนอยู่ตรงนี้เสมอ ดังนั้นเราจะไปเลือกอารมณ์ไม่ได้ ถ้าอารมณ์มันวิ่งมาหาเราทั้งทางดี ทางชั่ว ทางผิด ทางถูก แล้วเราไม่รู้ เพราะไม่มีปัญญา เราก็จะวิ่งตามมันไป ตามไปด้วยตัณหา ด้วยความอยาก แล้วเดี๋ยวก็ดีใจ เดี๋ยวก็เสียใจ เพราะอะไร? เพราะเอาใจของเราเป็นหลัก อะไรที่เราชอบใจ ก็เข้าใจว่าอันนั้นดี อย่างนี้เรียกว่ายังห่างไกลธรรมะ ยังไม่รู้จักธรรมะ มันก็เดือดร้อน เพราะความหลงมันเต็มอยู่

    ถ้าพูดเรื่องจิต ก็ต้องพูดอย่างนี้ ไม่ต้องออกไปห่างตัว ให้เห็นว่าอันนี้มันไม่แน่ อันนี้เป็นทุกข์ อันนี้เป็นอนัตตา ไม่ใช่อัตตา ถ้าเห็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ นี้ก็เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา เราควรรู้จักอารมณ์อันนี้ ตามอารมณ์อย่างนี้ มันจะทำให้เกิดปัญญา ท่านจึงเรียกว่า อารมณ์ของวิปัสสนา

    อารมณ์กรรมฐานทำให้จิตสงบ

    อารมณ์ของสมถกรรมฐานนั้น ท่านให้กำหนดอานาปานสติ คือลมหายใจเข้าออกนี้เป็นรากฐานควบคุมจิตของเราให้อยู่ในกระแสของลมนี้ ให้มันแน่วแน่ นิ่งนอนอยู่ เมื่อเราพยายามทำตามดังนั้น จิตของเราก็จะสงบ นี่ท่านเรียกว่า อารมณ์ของกรรมฐาน

    อารมณ์กรรมฐานนี้จะทำจิตให้สงบ เพราะจิตมันวุ่นวายมาไม่รู้กี่ปีกี่ชาติแล้ว ลองนั่งดูเดี๋ยวนี้ก็ได้อาการวุ่นวายจะเกิดขึ้นทันที มันจะไม่ยอมให้เราสงบ ฉะนั้นท่านจึงให้หาอารมณ์กรรมฐาน อารมณ์อันใดถูกใจถูกจริตของเรา ท่านให้พิจารณาอันนั้น เช่นเกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ท่านให้พิจารณากลับไปกลับมา เมื่อทำอย่างนี้ บางคนพิจารณาตโจ หนัง รู้สึกพิจารณาได้สบายเพราะถูกจริต ถ้าอันใดถูกจริตของเรา อันนั้นก็จะเป็นอารมณ์กรรมฐานของเรา สำหรับปราบกิเลสทั้งหลายให้มันเบาบางลง

    บางคนมีความโลภ โกรธ หลง อย่างแรงกล้า ก็ไม่มีอะไรจะปราบเจ้ากิเลสนี้ได้ พอพิจารณามรณสติ คือ การระลึกถึงความตายอยู่บ่อยๆ ก็เกิดความสลดสังเวชเพราะว่า จนมันก็ตาย รวยมันก็ตาย ดีมันก็ตาย ชั่วมันก็ตาย อะไรๆ มันก็ตายหมดทั้งนั้น ยิ่งพิจารณาไป จิตใจก็ยิ่งเกิดความสลดสังเวช พอนั่งสมาธิก็สงบได้ง่ายๆ เพราะมันถูกจริตของเรา
    อารมณ์ของสมถกรรมฐานนี้ ถ้าไม่ถูกจริตของเรา มันก็ไม่สลด ไม่สังเวช อันใดที่ถูกกับจริต อันนั้นก็จะประสบบ่อยๆ มีความรู้สึกนึกคิดในอาการนั้นบ่อยๆ แต่เราไม่ค่อยจะได้สังเกต จึงควรสังเกตเพื่อให้ได้ประโยชน์ เปรียบเหมือนกับอาหารที่เขาจัดมาให้สำรับหนึ่ง มันก็มีหลายอย่าง เราก็ชิมไปทุกถ้วยทุกอย่างนั่นแหละ แล้วก็จะรู้เองว่า อาหารอย่างไหนที่เราชอบอย่างไหนที่เราไม่ชอบ อย่างไหนชอบก็ว่ามีรสชาติอร่อยกว่าอย่างอื่น นี่พูดถึงอาหาร

    นี่ก็เทียบให้เห็นกับจริตของคนเรา กรรมฐานที่ถูกจริตมันก็สบาย อย่างอานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้าออก ถ้าถูกจริตแล้วก็สบาย ไม่ต้องไปเอาอย่างอื่น พอนั่งลงก็กำหนดลมหายใจเข้าออก ก็เห็นชัด ฉะนั้นก็เอาของใกล้ๆ นี่ดีกว่า กำหนดลมหายใจให้มันเข้า มันออกอยู่นั้นแหละ ดูมันอยู่ตรงนั้นแหละ ดูไปนานๆ ทำไปเรื่อยๆ จิตมันจะค่อยวาง สัญญาอื่นๆ มันก็จะห่างกัน ออกไปเรื่อยๆ เหมือนคนเราที่อยู่ห่างไกลกัน การติดต่อก็น้อย

    เมื่อเราสนใจอานาปานสติ มันก็จะง่ายขึ้น เราทำบ่อยๆ ก็จะชำนาญการดูลมขึ้นตามลำดับ ลมยาวเป็นอย่างไร เราก็รู้ ลมสั้นเป็นอย่างไร เราก็รู้ แล้วก็จะเห็นว่า ลมที่เข้าออกนี้ มันเป็นอาหารอย่างวิเศษ มันจะค่อยติดตามไปเองของมันทีละขั้น จะเป็นว่ามันเป็นอาหารยิ่งกว่าอาหารทางกายอย่างอื่น

    จะนั่งอยู่ก็หายใจ จะนอนอยู่ก็หายใจ จะเดินไปก็หายใจ จะนอนหลับก็หายใจ ลืมตาขึ้นก็หายใจ ถ้าขาดลมหายใจนี้ก็ตาย แม้แต่นอนหลับอยู่ ก็ยังต้องกินลมหายใจนี้ พิจารณาไปแล้วเลยเกิดศรัทธา เห็นว่าที่เราอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะอันนี้เอง ข้าวปลาอาหารต่างๆ ก็เป็นอาหารเหมือนกัน แต่เราไม่ได้กินมันทุกเวลานาที เหมือนลมหายใจ ซึ่งจะขาดระยะไม่ได้ ถ้าขาดก็ตาย ลองดูก็ได้ ถ้าขาดระยะสัก 5 – 10 นาที มันจวนจะตายไปแล้ว

    นี่พูดถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้ปฏิบัติ มันจะรู้ขึ้นมาอย่างนี้แปลกไหม? แปลกซิ ซึ่งถ้าหากไม่ได้พิจารณาตามลมหายใจอย่างนี้ ก็จะไม่รู้สึกว่ามันเป็นอาหารเหมือนกัน จะเห็นก็แต่คำข้าวเท่านั้นที่เป็นอาหาร ความจริงมันก็เป็น แต่มันไม่อิ่มเท่ากับอาหารลมหายใจ

    อันนี้ ถ้าเราทำไปเรื่อย ให้เป็นปฏิปทาอย่างสม่ำเสมอ ความคิดมันจะเกิดอย่างนี้ จะเห็นต่อไปอีกว่า ที่ร่างกายเราเคลื่อนไหวไปได้ ก็เพราะลมอันนี้ ยิ่งพิจารณาก็ยิ่งเห็นประโยชน์ของลมหายใจยิ่งขึ้น แม้ลมจะขาดจากจมูก เราก็ยังหายใจอยู่ แล้วลมนี้ยังสามารถออกตามสรรพางค์กายก็ได้ เราสงบนิ่งอยู่เฉยๆ ปรากฏว่าลมมันไม่ออก ลมมันไม่เข้า แต่ว่าลมละเอียดมันเกิดขึ้นแล้ว

    ฉะนั้น เมื่อจิตของเราละเอียดถึงที่สุดของมันแล้ว ลมหายใจก็จะขาด ลมหายใจไม่มี เมื่อถึงตรงนี้ท่านบอกว่า อย่าตกใจ แล้วจะทำอะไรต่อไป? ก็ให้กำหนดรู้อยู่ตรงนั้นแหละ รู้ว่าลมไม่มีนั่นแหละ เป็นอารมณ์อยู่ต่อไป

    พูดถึงเรื่องสมถกรรมฐาน มันก็คือความสงบอย่างนี้ ถ้ากรรมฐานถูกจริตแล้ว มันเห็นอย่างนี้ มันเห็นอย่างนี้แหละ ถ้าเราพิจารณาอยู่บ่อยๆ มันก็จะเพิ่มกำลังของเราอยู่เรื่อยๆ เหมือนกับน้ำในโอ่ง พอจะแห้งก็หาน้ำเติมลงไปอยู่เรื่อย

    ถ้าทำสม่ำเสมออยู่อย่างนี้มันจะกลายเป็นปฏิปทาของเรา ทีนี้ก็จะได้รับความสบาย เรียกว่าสงบ สงบจากอารมณ์ทั้งหลาย คือมีอารมณ์เดียว คำว่ามีอารมณ์เดียวนั้นพูดยากเหมือนกัน ความเป็นจริง อาจมีอารมณ์อื่นแทรกอยู่เหมือนกัน แต่ไม่มีความสำคัญกับเรา มันเป็นอารมณืเดียวอยู่อย่างนี้

    แต่ให้ระวัง เมื่อความสงบเกิดขึ้นมา แล้วมีความสบายเกิดขึ้นมาก ระวัง มันจะติดสุข ติดสบายแล้วเลยยึดมั่นถือมั่น ฉะนั้นถ้าหากเกิดความคิดขึ้นมา ให้พิจารณาว่า ความสุขนี้ก็ไม่เที่ยง ความสบายนี้ก็ไม่เที่ยงหรือความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความที่เป็นยังงั้นๆ มันก็ไม่เที่ยง จึงอย่าไปยึกมั่นถือมั่นมันเลย

    ความรู้สึกอย่างนั้นมันเกิดขึ้นมา เพราะปัญญาเกิดขึ้นมาแล้ว เห็นสภาวะของทั้งหลายเป็นอย่างนั้น เมื่อมีความรู้สึกอย่างนี้ ก็เหมือนคลายเกลียวน้อตให้หลวมออก ไม่ให้มันตึง เมื่อก่อนมันตึงมันแน่น ความรู้สึกของเราที่มองก็เช่นกัน สมัยก่อนมองเห็นอันนั้นก็แน่นอน อันนี้ก็แน่นอน มันเลยตึง มันก็เป็นทุกข์ พอไม่ยึดมั่นถือมั่น เห็นสิ่งทั้งหลายเป็นของไม่แน่นอน มันก็คลายเกลียวออกมา

    เรื่องความเห็นนี้เป็นเรื่องของทิฐิ เรื่องความยึดมั่นถือมั่น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามานะ ท่านจึงสอนว่าให้ลดทิฐิมานะลงเสีย จะลดได้อย่างไร? จะลดได้ก็เพราะเห็นธรรม เห็นความไม่เที่ยง สุขก็ไม่เที่ยง ทุกข์ก็ไม่เที่ยง อะไร?ก็ไม่เที่ยงทั้งนั้น เมื่อเราเห็นอย่างนั้น อารมณ์ทั้งหลายที่เรากระทบอยู่ มันก็จะค่อยๆหมดราคา หมดราคาไปมากเท่าไร ก็บรรเทาความเห็นผิดไปได้เท่านั้น นี้เรียกว่า มันคลายน้อตให้หลวมออกมา มันก็ไม่ตึง

    อุปาทานก็จะถอนออกมาเรื่อยๆ เพราะเห็นชัดในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในสกลร่างกายนี้ หรือในรูปนามนี้ ในโลกนี้มันเป็นอย่างนี้ แล้วก็จะเกิดความเบื่อ คำว่า “เบื่อ” ไม่ใช่เบื่ออย่างที่คนเขาเบื่อกัน คือเบื่ออย่างที่ไม่อยากรู้ ไม่อยากเห็น ไม่อยากพูดด้วย เพราะไม่ชอบมัน ถ้ามันเป็นอะไรไป ก็ยิ่งนึกสมน้ำหน้า ไม่ใช่เบื่ออย่างนี้ เบื่ออย่างนี้เป็นอุปาทาน เพราะความรู้ไม่ทั่วถึง แล้วเกิดความอิจฉาพยาบาท เกิดความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เรียกว่า “เบื่อ” นั่นเอง

    “เบื่อ” ในที่นี้ ต้องเบื่อตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คิดเบื่อโดยไม่มีความเกลียด ไม่มีความรัก หากมีอารมณ์ชอบใจหรือไม่ชอบใจอันใดเกิดขึ้นมา ก็เห็นทันทีว่ามันไม่เที่ยง “เบื่อ” อย่างนี้ จึงเรียกว่า “นิพพิทา” คือ ความเบื่อหน่ายคลายจากความกำหนัดรักใคร่ ในอารมณ์อันนั้น ไม่ไปสำคัญมั่นหมายในอารมณ์เหล่านั้นทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นและไม่ไปสำคัญมั่นหมายในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จนเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด

    พระพุทธเจ้าท่านสอนต่อไปอีกว่า ให้รู้จักทุกข์ให้รู้จักเหตุเกิดทุกข์ ให้รู้ความดับทุกข์ ให้รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ท่านให้รู้ของสี่อย่างนี้เท่านั้น ทุกข์เกิดขึ้นมาก็ให้รู้ว่า นี่ตัวทุกข์ แล้วทุกข์นี้มาจากไหน มันมีพ่อแม่เหมือนที่เราเกิดมาเหมือนกัน ไม่ใช่ว่ามันเกิดขึ้นมาลอยๆ เมื่ออยากจะให้ทุกข์ดับ ก็ไปตัดเหตุของมันเสียที่ทุกข์มันเกิด ก็เพราะไปยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง ฉะนั้นจึงให้ตัดเหตุของมันเสีย

    การรู้จักดับความทุกข์ ก็ให้คลายเกลียวที่แน่นนั้นออกเสีย ให้เห็นโทษของอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นแล้วก็ถอนตัวออกมาเสีย รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ก็คือมรรค ให้ปฏิบัติให้ตลอด ตั้งแต่สัมมาทิฐิ ไปจนถึงสัมมาสมาธิ ให้มีความเห็นให้ถูกต้องในมรรคทั้งแปดข้อนี้ ถ้ามีความรู้ ความเข้าใจ และความเห็นชอบ ในสิ่งทั้งหลายนี้แล้ว ก็จะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เราก็จะพ้นจากความทุกข์ ข้อปฏิบัตินั้นคือสมาธิปัญญา

    เรื่องของจิตใจหรือธรรมชาติของจิต จะต้องเป็นอย่างนี้ จะต้องรู้และเห็นสิ่งทั้งสี่ประการ (อริยสัจจ์ 4) นี้ให้ชัดเจน ตามความเป็นจริงของมัน เพราะมันเป็นสัจจธรรม จะมองไปข้างหลัง ข้างหน้า ข้างขวา ข้างซ้าย มันก็เป็นสัจจธรรมทั้งนั้น ดังนั้น ผู้บรรลุธรรม จะไปนั่งที่ไหนหรือไปอยู่ที่ใด ก็จะมองเห็นธรรมอยู่ตลอดเวลา

    (หลวงปู่ชา)
     
  7. poopae191

    poopae191 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    725
    ค่าพลัง:
    +1,872
    ความรู้สึกเหมือนพลังสมาธิมันมากถ้าจิตนิ่งแล้ว แต่ถ้าจิตยังเป็นลิงตอนต้นๆจับไม่ทันทำเอาง่วงฝันยาวเลยคะ
     
  8. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    ผ่านแล้วชั่งมัน เอาใหม่
     
  9. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    คำสอนของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

    “ ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด
    เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน

    เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด
    เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมเขามาจนล้นพ้นตัว...

    เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว...
    แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้...แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง...."

    “ จงจำไว้นะ เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้
    ครั้นเมื่อถึงเวลา ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน
    เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า”
     
  10. poopae191

    poopae191 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    725
    ค่าพลัง:
    +1,872

    สาธุคะพระคุณเจ้าหนูจะนั่งใหม่
     
  11. jintanakarn

    jintanakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +236
    อ่าว..แค่นี้ท่านก็ตอบไม่ได้แล้วท่านจะตอบคำถามที่ทุกคนถามได้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้อย่างไร ที่ถามนั้นไม่ได้ให้ท่านต้องบอกว่าสำเร็จถึงขั้นนั้นขั้นนี้ในขั้นของพระอริยะ เพราะรู้อยู่แล้วว่าท่านนั้นเป็นอย่างไร ท่านตั้งกะทู้ให้ทุกคนหลงคล้อยตามโดยไม่รู้ว่าจริงแท้อย่างไร แล้วท่านไม่รู้หรือว่ากรรมของการสอนผิดๆถูกๆนั้นมันเป็นอย่างไร จริงอยู่ท่านเป็นถึงพระสงฆ์ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ท่านลืมไปแล้วหรือว่าพระพุทธเจ้ากว่าท่านจะมาสอนมนุษย์ได้นั้นท่านต้องรู้แจ้งแทงตลอดก่อนจึงจะสั่งสอนมนุษย์ได้ แม้พระองค์จะรู้แจ้งแทงตลอดแล้วท่านก็ยังไม่สอนมนุษย์พร่ำเพรือ ท่านจะใช้พระโพธิญาณเล็งดูว่าผู้ใดบ้างที่จะพอเข้าใจธรรมะที่พระองค์ทรงบรรลุพระองค์จึงโปรดสอนผู้นั้น เพราะพระองค์รู้ว่าธรรมะที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นเข้าถึงยากขนาดไหน แต่ช่างน่าแปลกใจเสียจริง ที่มนุษย์สมัยนี้ช่างเก่งกันเหลือเกิน สอนกันอย่างกับว่ามันง่ายดั่งที่เข้าใจกัน ทั้งแท้ที่จริงมนุษย์สมัยนี้กิเลสช่างหนาและปัญญาช่างน้อย ผิดกับสมัยก่อนกิเลสน้อยปัญญามาก ที่สำคัญอย่างยิ่งที่คนสมัยนี้ไม่มีความอดทนอดกลั้นวิริยะขันติ ยิ่งที่น่าแปลกใจยิ่งกว่า คือชอบทำตนเป็นผู้รู้ธรรมทั้งที่ยังเข้าไม่ถึงธรรม สิ่งที่กล่าวมานี้ไม่ได้จะไปปรามาสผู้ใด แค่เตือนสติให้ก็เท่านั้น เมื่อคำสอนนั้นมีอยู่ ผู้รู้และผู้ปฏิบัติที่แท้จริงจึงรู้ว่าผลของกรรมนั้นมันสำคัญขนาดไหน ข้าพเจ้าเองไม่มีคำถามจะถามท่าน แต่ที่บรรยายมายาวขนาดนี้เพียงแค่เตือนสติให้เท่านั้น ผู้ที่จะสำเร็จธรรมได้ต้องผ่านมารทุกตัวตน เพราะมารนั้นก็คือครูของนักปฏิบัติ ถ้ายังคิดที่จะเอาชนะมารโดยการยอมแพ้ไม่เป็น และทำตนเป็นมารเสียเอง เห็นทีชาตินี้คงไม่ไช่ชาติสุดท้ายของนักปฏิบัติทั้งหลายแน่ และถ้าคิดแค่ชาตินี้ขอสะสมบารมี ก็ต้องปฏิบัติความดีให้ถึงที่สุด การปฏิบัติมีแค่3ทางเท่านั้น กาย วาจา ใจ ควบคุม3อย่างนี้ได้ บารมีก่อเกิดแน่นอน ขออนุโมทนา
     
  12. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416

    สาธุ!!! ตามสบายเถอะท่าน
     
  13. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    [​IMG]
     
  14. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พ่อท่านคล้ายเหรอ..:cool:
     
  15. jintanakarn

    jintanakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +236
    555 นี้มันรูปสีน้ำมัน หลวงพ่อคล้ายของผมเอง
     
  16. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    สอนผิดๆถูก ด้วยอะไร อธิบายคำว่าท่านรู้อยู่แล้วว่าอาตมานั้นเป็นอย่างไร ช่วยตอบหน่อยนะ สาธุ!!!
     
  17. jintanakarn

    jintanakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +236
    หยุดเถอะท่าน ข้าพเจ้าไม่สามารถจะตอบคำถามของท่านได้ ส่วนข้อความที่ข้าพเจ้าบอกว่าการสอนผิดๆถูกๆนั้นติดกรรม หมายความว่าถ้าผู้สอนสอนไม่ตรงจิตตรงเหตุการณ์และจริตของผู้ถูกสอนด้วยความเหมาะสมด้วยความพอดีนั้น มันทำให้เกิดการสะสมเหตุถูกๆผิดๆจนไม่สามารถจะแก้ไขกับปัญหาของผู้ที่กำลังเป็นได้ ท่านลองตรองดูว่าผลของมันจะเป็นอย่างไร แต่หาไช่จะกล่าวหาหรือลองภูมิติเตียนท่านไม่ เป็นแค่การเตือนสติทั่วๆไป ด้วยเหตุด้วยผลเท่านั้นเอง แต่ถ้าบุคลหนึ่งบุคคลใด คิดว่าการกระทำของข้าพเจ้าเป็นการกระทำที่ไม่ดี ก็ไม่ต้องกังวลเพราะเป็นกรรมของข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้าย่อมต้องชดใช้เอง ส่วนที่ว่าข้าพเจ้ารู้อยู่แล้วว่าท่านเป็นอย่างไรนั้น ท่านก็อย่าได้กังวลอีกเหมือนกัน มันไม่มีประโยชน์อันใด ท่านเองย่อมรู้อยู่แก่ใจว่าท่านเป็นอย่างไร เอาเป็นว่าเราทุกคนควรรู้ตัวรู้ตนของตนเองให้ได้มากที่สุดเท่าทีจะมากได้ก็แล้วกัน แต่ถ้าบุคคลหนึ่งบุคคลใดจะคิดว่าขัาพเจ้าเป็นอย่างไรนั้นข้าพเจ้าก็ไม่สามารถจะบังคับใครได้ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะคิด ใครจะคิดอย่างไรก็คิดกันไป แต่อย่าลืมว่ากรรมมีจริง และถ้าท่านจะสนทนากันด้วยภาษาเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน ข้าพเจ้าก็ยินดี แต่ถ้าไม่ต้องการ ก็ขออนุโมทนา สาธุธรรม
     
  18. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    อาตมาไม่ได้ตั้งใจตั้งกระทู้หลอกล่อ เหมือนอย่างที่ท่าน ว่ามาหรอกนะ ท่านจะมาให้อาตมาตอบว่าสำเร็จรึยัง มันไม่ได้ อาตมาไม่ได้อะไรหรอกนะ แต่บางที่คำเหล่านั้นของท่านมันก้แรงไป อาตมาจะบอกว่าถ้าเป็นอาตมาเป็นโยมอาตมาคงไม่ใส่ใจอะไร แต่นี่ก้ขึ้นอยู่ว่านักบวช ทำไมท่านกล้ากล่าวอะไรแบบนั้น แค่นั้นเอง เก่งได้นะ แต่อย่าเอาไปทำแบบนี้กับใคร มันไม่มีประโยชน์หรอก รู้ตัวเองจริงเหรอ มันตรงไหนกัน หรือว่ารู้ จนไม่รู้คนอื่น แบบนี้จะไปยังไง คนที่เขาเข้ามาหาความรู้เขาจะคิดยังไง รู้กรรมดี เตือนคนอื่น แล้วตัวเองก้บอกว่า ถ้าข้าพเจ้าผิดก้รับกรรมเอง มันถูกเหรอ คิดดีแล้วเหรอคุณไปหาพระแล้วถามท่านว่า ท่านสำเร็จหรือยัง นี่วิธีการของคุณเหรอ พระที่ไหนจะตอบคุณ คือมันอดน้อยใจไม่ได้น่ะ ถ้ารู้ตัวเองดีจะกล่าวอย่างนั้นมั้ยโดยไม่รู้ว่า ท่านเป็นยังไง ไม่เคยคุยกัน และไม่รู้จัก กล้าตัดสินเหรอ เอาอะไรตัดสินกันล่ะ เลิกทำซะ!!
     
  19. jintanakarn

    jintanakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +236
    555 นี่แหระตัวตนของท่าน แล้วยังจะมาแสดงอะไรต่อไปอีก ข้าพเจ้าแค่สอบอารมณ์ของท่าน ท้ายที่สุดท่านก็เป็นอย่างที่ข้าพเจ้าเข้าใจ แต่ที่ทำแบบนี้ก็เพื่อให้เกิดความกระจ่างแจ้ง ไม่ไช่ให้ท่านคิดแต่จะเอาชนะอย่างเดียว ถึงท่านจะเป็นสมณะในพระพุทธศาสน ข้าพเจ้าก็ไม่คิดที่จะอวดเก่งหรืออวดตัวแต่อย่างใด กิเลสน่ะไม่ไช่มีแต่คนทั่วๆไปอย่างเดียว ถ้ายังไม่สำนึกและยังถือทิฐิอยู่ ถึงเป็นสมณะก็ไม่ต่างอะไรกับคนทั่วๆไป แทนที่ท่านจะเอาการตักเตือนไปเป็นข้อเตือนจิตเตือนใจ แต่ท่านเลือกที่จะเอาชนะอย่างเดียว เพราะถือตนว่าเป็นสมณะในพระพุทธศาสนา และคิดแค่ว่าข้าพเจ้าเป็นปุถุชนคนทั่วไป และอีกอย่างที่ข้าพเจ้าว่า ถ้าข้าพเจ้าทำผิดข้าพเจ้าก็รับกรรมเองเพื่อกันไม่ให้ท่านหรือบุคคลใดที่ได้อ่านต้องคิดอกุศลต่อไป (การผิดหรือไม่ผิดกรรมมันทำงานของมันเอง) แต่ท่านก็ยังคิดอยู่ดี ถ้ายังเป็นแบบนี้อยู่ ข้าพเจ้าก็ขอยุติที่จะสนทนากับท่าน คงต้องปล่อยไปตามสภาวะอย่างที่มันจะเป็น และถ้าข้าพเจ้าเป็นเหตุที่ทำให้ท่านต้องขุ่นมัวหรือกระทบกระทั่งจนทำให้ท่านต้องเดือดร้อน ข้าพเจ้าขอขมากรรมต่อท่าน และขอท่านอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วย กรรมใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินท่านด้วยกาย วาจา และใจ ทั้งเจตนาและไม่เจตนาก็ดี ข้าพเจ้าขอขมากรรมซึ่งโทษอันนั้นด้วยเทอญ สาธุ
     
  20. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    ขอให้ท่านได้ในสิ่งที่สมควรจะได้ อย่างเต็มที่ สาธุ!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...