>>> อวดรู้ (รู้แล้วได้อะไร) <<<

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 19 กรกฎาคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อะจ๊ากกกกก คะรุทาผู้น่ารัก มาได้ไงเนี่ย
    ยินดีโตยเน้อ...ออออ แหมเ่ล่ายาวๆ หน่อยก็ไม่ได้หนอ

    คะุรุทาขอตะลุด้วยจิ กลับมาเล่าให้อ่านหน่อยหนอ...:cool:
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ที่มา : วันวาเลนไทน์ Valentine’s Day ประวัติวันและธรรมเนียมปฏิบัติในวันวาเลนไทน์

    วันวาเลนไทน์ Valentine’s Day
    ประวัติวันวาเลนไทน์ ธรรมเนียมปฏิบัติในวันแห่งความรัก

    เดือนแห่งวันวาเลนไทน์

    เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่อบอวลไปด้วยการแสดงถึงความรัก ความห่วงใยถึงคนที่เราปรารถนาดีและอยากให้เขามีความสุข และเป็นที่รับรู้กันทั่วโลก ว่าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันแห่งความรักหรือวันวาเลนไทน์ (Valentine’s Day) อันว่าความรักนั้น เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาช้านาน และมนุษย์ทุกคนล้วนมีความรักอยู่ภายในใจมากหรือน้อยแตกต่างกันไป

    แล้วความรักคืออะไร ผู้อ่านหลายท่านคงมีคำตอบสำหรับตนเองอยู่แล้ว บางคนอาจตอบว่าความรักคือ ความรู้สึกซึ่งมีความรู้สึกหลายๆ แบบปนกันอยู่ ความรัก คือ สิ่งเติมเต็มให้ชิวิตไม่รู้สึกขาดอะไรไปอย่างหนึ่ง บางคนอาจตอบว่าความรัก เป็นนามธรรมที่มองไม่เห็นเเต่สามารถสัมผัสได้ด้วยหัวใจ บางคนอาจตอบว่า ความรักคือทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต เป็นต้น ส่วนคำว่า “รัก” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 มีความหมายว่า “ชอบอย่างผูกพันพร้อมด้วยความชื่นชมยินดี” ส่วนในภาษาอังกฤษนั้น จะขอยกตัวอย่างของคำว่า "LOVE" จากหนังสือชื่อ New Model English - Thai Dictionary โดยดูหลักในการนำพยัญชนะมาผสมรวมเป็นคำ และความประสงค์ของผู้บัญญัติศัพท์ว่า LOVE โดยการเรียงพยัญชนะ ก็จะพบกับความหมายใหม่ ดังนี้

    L ตัวแรก น่าจะหมายถึง Lake of sorrow ทะเลสาบแห่งความเศร้าโศก
    O ตัวที่สอง น่าจะหมายถึง Ocean of tear ห้วงทะเลแห่งน้ำตา
    V ตัวที่สาม น่าจะหมายถึง Vagen of death หุบเขาแห่งความตาย
    E ตัวที่สี่ น่าจะหมายถึง End of life จุดจบของชีวิต
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ถ้าหากความรักมีความหมายตามแบบการผสมอักษรดัง 4 ตัวข้างต้นนั้น ความรักจะเป็นสิ่งสวยงามได้จริงหรือ เพราะความหมายของคำว่า LOVE นั้นก็บอกอยู่ว่ามันไม่ได้เป็นสิ่งสวยงามเลยซักเท่าใด แต่ในทางพระพุทธศาสนาแล้วมีหลักคำสอนที่สำคัญประการหนึ่งเกี๋ยวกับความรัก นั้นคือหลักความเมตตา หรือความรักความปรารถนาดีต่อคนอื่น หรือในความหมายที่กว้างออกไป คือความรักที่มีต่อมนุษย์ด้วยกัน ตลอดถึงสรรพสัตว์ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ในทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงการเกิดของความรักไว้หลายนัยด้วยกัน แต่ในที่นี้ขอนำมากล่าวเพียง 2 ประการ คือ

    1. ปุพเพสันนิวาส การอยู่ร่วมกันในอดีตชาติ คือการที่เคยอยู่ร่วมกันมา เคยคบหาสนิทสนมชอบพออัธยาศัยกันมา หรือเคยเลี้ยงดูกันมา เคยทำบุญเกื้อหนุนกัน เมื่อมาพบกันในชาตินี้ แม้ในคราวแรกพบก็เกิดความนิยมชมชอบรู้สึกสนิทสนมคุ้นเคยอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า "รักแรกพบ" นั้นเอง โดยที่หาสาเหตุไม่ได้ว่าทำไมจึงนิยมชมชอบบุคคลผู้นั้นอย่างจริงๆ จังๆ ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้พบเห็น

    2. การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชาติปัจจุบัน เป็นเหตุผลที่ชัดเจนอยู่ในตัว คือการเกื้อกูลกันในปัจจุบันนั้นคือทำให้เกิดความสนิทสนมรักใคร่ไว้วางใจใน ฐานะเป็นกัลยาณมิตร คือการแสดงออกในรูปของการอุปการะร่วมสุขร่วมทุกข์แนะนำประโยชน์ และมีความรักใคร่ เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน จึงเกิดความรัก ความเมตตาต่อกันขึ้น

    [​IMG]
     
  4. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    สรุป..LOVE ไม่มีดี...ใช่ป่าว?(ยิ้ม)
    L.......
    O.......
    V.......
    E.......
    ปล. รักคือความเมตตา..อย่างนี้สุขอันแท้จริง..(ก้าวกระโดดยังอ่ะ 555+++)
     
  5. พุธทสิณ

    พุธทสิณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2013
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +404
    มีความรู้น้อยเท่าหางอื่ง ขอเข้ามาเก็บเอาความรู้ละกันนะครับ:VO
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ยินดีต้อนรับคุณพุธทสิณค่ะ
    ว่างๆ ก็ลองนำความรู้มาแบ่งปันกันบ้างนะคะ
     
  7. พุธทสิณ

    พุธทสิณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2013
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +404
    LOVE...คําว่ารักตามฝรั่งนี่เอามาจากไหนนา....
    ถ้าแยกออมาคงจะมีหลายความหมาย(ตามภาษาบ้านเรา)
    L...ลมๆแล้งๆ(รักเจ้าเอย)
    O...โอ้ยๆ..โอ้ละหนอ(รักเจ้าเอย)
    V...ไว้ใจได้กา(รักเจ้าเอย)
    E...เออ อืมม อือๆ:boo:

    ในภาษาญี่ปุ่นมีอยู่สองตัว 愛(Ai) 恋(Koi)
    ความหมายคือ~รัก~แต่ต่างความหมายกัน...มี恋(Koi)ถืงมี愛(Ai)คือขาดใจไม่ได้ถ้าจะรักต้องรักด้วยใจ .คนที่ไม่มีหัวใจจะไม่รู้จักคําว่ารักได้ :boo:
     
  8. mam7734

    mam7734 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    319
    ค่าพลัง:
    +349
    หวัดดีค่ะ..คุณนุ๊กแอบมาส่องกระทู้อยู่นานละ ซำบายดีบ่อ555
    ไม่มีความรู้จะอวดเลย..ขออ่านของกัลยาณมิตรก็แล้วกันนะค่ะ
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สวัสดีค่ะคุณแหม่ม ไม่เจอกันนานเลยนะคะ ดีใจมากค่ะที่คุณแหม่มมาทักทาย เข้ามาอ่านได้ตลอดเวลาเลยน้าาาาาา :cool:
     
  10. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ที่มา : วิมุตฺติธมฺม: จิตว่างคืออะไร
    จิตว่างคืออะไร
    จิตว่าง คือ สภาวะที่จิตว่างจากความคิดปรุงแต่ง รับรู้ทุกอย่างแต่ไม่ปรุงแต่งใด ๆ

    จิตจะทรงความว่างได้นานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้าใจในสภาวะการปรุงแต่งและการฝึกหัดขัดเกลา ลดละความปรุงแต่งเหล่านั้น ในคนที่เข้าใจครอบคลุมลงไปถึงเรื่องของความหลงปรุงแต่งหรือหลงคิดได้มากแล้ว จิตก็จะทรงความว่างได้มากขึ้นตามลำดับเพราะมีสติที่เป็นมหาสติคอยตักเตือนมิให้หลงง่าย จึงอยู่ในสภาวะที่ว่างรับรู้ได้มากขึ้นนั่นเอง


    ตัวชี้วัดความเป็นผู้มีจิตว่าง

    ตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่ทำให้เราสามารถทราบได้ว่า เรามีจิตว่างได้มากน้อยแค่ไหน สามารถสังเกตได้จากธรรมารมณ์ คือ อารมณ์หรือพลังงานภายนอกที่มากระทบจิต หรือจะเรียกว่า จิตสัมผัส หรือ สัมผัสที่หกก็ได้ (สัมผัสทั้งหกคือ สัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ นั่นเอง) ตรงนี้มีมากน้อยแค่ไหน

    เช่น เรารับพลังพุทธคุณของพระสร้อยห้อยคอได้มั้ยเวลาเราจับองค์ท่านขึ้นมาดู หรือเราสวมใส่อยู่ เราเดินไปวัดหลวงพ่อหรือวัดอื่น ๆ สัมผัสคลื่นพลังงานเย็น ๆ สบาย ๆ หรืออย่างไรได้บ้างมั้ย เราอยู่ใกล้คนโทสะจริต เรารับคลื่นความอึดอัดขุ่นใจของเขาได้มั้ย เราอยู่ใกล้พระอริยเจ้า เราสัมผัสพลังความโล่งโปร่งเบาสบายของท่านได้หรือไม่ เราไปตลาดเดินผ่านเขียงหมู เขียงปลา เราสัมผัสพลังงานอะไรได้บ้าง กับคนใกล้ตัว คนในบ้าน เวลาอยู่ด้วยกัน นั่งรถไปด้วยกัน เรารับรู้ถึงคลื่นอารมณ์ภายในของเขาได้มั้ยว่า เค้ากำลังรู้สึกอย่างไร ตรงนี้น่าศึกษา นี่ถือว่าเป็นตัวชี้วัดความว่างของจิตของเราได้อย่างหนึ่ง
     
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เพราะจิตว่างจึงรับรู้ถึงการทำงานของสัมผัสที่หกได้เป็นอย่างดี

    จิตว่างก็เปรียบเหมือนภาชนะที่ว่างเปล่า พร้อมที่จะรองรับอะไรก็ได้ลงไปในภาชนะนั้น จิตที่ไม่ว่าง คือจิตที่มีความปรุงแต่งอยู่ในเวลานั้นก็เหมือนภาชนะที่ถูกใส่ของลงไปจนเต็มแล้ว ไม่มีที่ว่างให้ใส่สิ่งของอื่นได้อีก

    คนที่มีจิตว่างถือว่าโชคดี แต่จริง ๆ ทั้งหมดก็มาจากการกระทำของตนเองทั้งสิ้น ไม่มีใครอยู่ ๆ จะมีจิตว่างขึ้นมาเฉย ๆ ได้หรอก แต่เพราะเราเคยฝึกเคยปฏิบัติมาต่างหากเราจึงมีจิตว่าง มันอาจเป็นนิสัยข้ามภพข้ามชาติมาเลยก็ได้สำหรับในบางคน แต่บางคนก็กลัวการสัมผัสสิ่งเหล่านี้ กล้วมากซะด้วย ความจริงการมีจิตว่างไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอะไรเลย


    จิตว่างมี 2 แบบ

    แบบที่ 1 ---> ว่างแบบมีสติน้อย สติอ่อน กลุ่มนี้จะมีสัมผัสที่หกดี แต่โดยมากมักจะกลัวเมื่อได้สัมผัสกับสิ่งลึกลับต่าง ๆ พลังงานต่าง ๆ พอกลัวหนัก ๆ เข้า ด้วยความที่จิตว่าง พวกสัมภเวสีก็มักจะฉวยโอกาสเข้าแทรก ให้รับขันธ์ ๕ บ้าง ขันธ์ ๘ บ้าง เลยกลายเป็นร่างทรงไปก็มีมาก (น่าเสียดาย เพราะทำให้เราปฏิบัติยาก พอจิตว่างพวกนี้ก็มักจะมาแทรกแซง เพราะเค้าก็อยากสร้างบุญบารมีในโลกมนุษย์เหมือนกับเรา ดูสิตอนเป็นมนุษย์มัวทำอะไรอยู่ก็ไม่รู้) บางคนก็หลงไปก้บการสัมผัสสิ่งเหล่านั้น หลงว่าตนเองมีคุณวิเศษก็มี ทั้งหมดนี้เพราะว่า สติอ่อน จิตไม่มีกำลัง ไม่ได้ตามทำความเข้าใจกับธรรมารมณ์ที่ตนเองสัมผัสได้ ไม่ได้เห็นความหลงคิดเมื่อจิตไปกระทบสัมผัส มัวแต่ไปอินกับเรื่องที่จิตสัมผัสอยู่ ก็เลยพลาดโอกาสทองไป

    แบบที่ 2 ---> ว่างแบบมีสติ มีมหาสติ กลุ่มนี้ โดยส่วนตัวคิดว่ามีทั้งที่เป็นปุถุชน และอริยชนครับ คือมีกำลังสติมากพอที่จะไม่หลงไปกับธรรมารมณ์เหล่านั้น รู้จักภาวะของความหลง ความไม่หลง รู้จักดับเมื่อควรดับ รู้จักข่มเมื่อควรข่ม รู้จักการสร้างกำลังจิต ลดละกิเลสให้เบาบาง จนหมดสิ้นไป เข้าใจในสัมผัสเหล่านั้นว่าเป็นเพียงอาการของขันธ์ ๕ อย่างหนึ่ง ที่เราหลงเข้าไปยึดทำให้เกิดอัตตาตัวตนขึ้นมา เมื่อวางขันธ์ ๕ ได้อัตตาก็หมดไป เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ฯลฯ ใช้สติทำงานแทนจิต คือใช้เหตุใช้ผลทำงานแทนอารมณ์ มีจิตว่างเป็นปกติ (เชื่อว่าการสัมผัสต่าง ๆ ทางใจของพระอริยเจ้าเป็นอัตโนมัติ เหมือนสัมผัสด้วยตา ได้ยินด้วยหู แต่ท่านไม่ยึดมั่นถือมั่น)
     
  12. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    มีความจำเป็นต้องจิตว่างหรือไม่

    เราอาจจจะไม่จำเป็นต้องทำจิตให้ว่างหมดจดเสียก่อนก็ได้ (เพราะถ้าจะให้ว่างหมดจดจริง ๆ คงมีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่จะทำได้) แต่มีความจำเป็นต้องมีจิตว่างพอ จิตว่างในความหมายนี้คือ จิตว่างจากความปรุงแต่ง ให้ทรงความว่างได้นานพอที่จะทันเห็นอาการที่จิตหลงไปอินกับความคิด แล้วเกิดเป็นอารมณ์ต่าง ๆ ออกมา ต้องว่างพอที่จะเห็นและเข้าใจตรงนี้ จึงจะทำให้เราไม่หลงว่าง หรือว่างแบบหลง ๆ ถ้าเราเข้าใจจุดหลงตรงนี้ได้แล้ว การปฏิบัติธรรมของเราก็จะไม่จืดชืดอีกต่อไป จิตของเราก็จะเป็นจิตที่ว่างแบบมีมหาสติ มหาปัญญา

    การเข้าถึงสภาวะจิตว่าง

    การทำจิตให้เข้าถึงความว่างที่ง่ายที่สุดคือ การหยุดคิดเมื่อเผลอคิด ให้หัดรู้ตัวบ่อย ๆ รู้ความเผลอบ่อย ๆ เมื่อรู้ว่าตัวเองเผลอคิดไปแล้ว ไม่ว่าเรื่องใดที่คิดขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่า เราหลงคิดแล้ว ถ้าไม่จำเป็นต้องคิดให้หยุดให้ดับความคิดนั้นทิ้งไปเลย อย่าเสียดาย แต่ถ้าเรื่องนั้นเกิดจำเป็นต้องคิดต่อ สติเรายังน้อย เราก็คงจำต้องคิดต่อไป (จะให้มันพร้อมก็คงยากอยู่ เพราะวิบากกรรมทางสมมุติมันยังมีอยู่ สมมุติยังไม่พร้อมมันก็ยาก ยิ่งสมมุติบกพร่องมาก ๆ ยิ่งทำได้ยากมาก ผิดศีลบ่อย ๆ สมมุติก็บกพร่องมาก โดยเฉพาะศีลข้อ 5 สุราเป็นระยะ ๆ นี่ก็ยากหน่อยนะ) เผลอก็เริ่มใหม่ เผลอก็เริ่มใหม่ ไม่ได้เสียหายอะไร ทำบ่อย ๆ รู้ตัวบ่อย ๆ สติก็จะมากเข้า ๆ เอง บางท่านใช้คำว่า สร้างสติ บางท่านอาจจะใช้คำว่า เผลอแล้วรู้ เผลอแล้วรู้ จนจำสภาวะที่เผลอได้เอง แล้วจะไม่เผลอบ่อย ก็แล้วแต่ภาษาใจของแต่ละท่าน

    เมื่อสติมีกำลัง หยุดเผลอคิดได้มากขึ้น ๆ ในที่สุดจิตก็จะนิ่ง จิตจะมีกำลังมากพอที่จะเห็นอาการของความคิด การหลงคิดได้ในที่สุด และจะแยกแยะได้ว่า อะไรควรคิดและคิดได้ อะไรไม่ควรคิด และควรหยุดคิด ถึงตรงนี้ถ้าไม่ทอดธุระ ละทิ้งความเพียรก็จะเห็นและเข้าใจคำว่าความว่างในตัวเองได้อย่างแน่นอน ว่าแต่ว่าให้หยุดคิดให้ได้ และหยุดคิดให้เป็น อย่าเพลินหลงกับดอกไม้ริมทางก็แล้วกันมันจะเสียเวลาครับ

    เมื่อกิเลสเกิดขึ้นที่ใจ เราต้องรู้จักฝืน ต้องรู้จักดับ ต้องรู้จักข่ม จิตของเราจะมีกำลังมากขึ้น ขณะที่จิตของเรามีกำลังมากขึ้น กิเลสก็จะอ่อนกำลังลง หนทางที่ถูกกิเลสบดบังไว้ก็จะเปิดออกให้เราได้เห็นทางที่จะเดินต่อไปได้อย่างชัดเจน



    จิตตัง ทันตัง สุขาวหัง (จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้)
     
  13. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    หลักปฏิบัิติ โดย หลวงปู่สิม พุทธาจาโร แห่งวัดถ้ำผาปล่อง เชียงดาว เชียงใหม่
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Wq1Hvu58cjo&playnext=1&list=PL1C3C60FF1E278252&feature=results_main]หลวงปู่สิม::คุณพระรัตนตรัย - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=RW4MCqhBJRk]หลวงปู่สิม - 1501 หลักการภาวนา 1 - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=1n6_2JEDzQI]เกิดมาได้อะไร (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) - YouTube[/ame]
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=ispQ6GX15Kc]หลวงปู่สิม::คนตาบอดจูงคนตาบอด - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=1uNxMDmmmT0]หลวงปู่สิม::โมหะสมาธิ - YouTube[/ame]
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ธรรมเครื่องสร้างความเป็นสมณะ ๒๐ อย่าง

    ธรรม เครื่องสร้างความเป็นสมณะ ๒๐ อย่าง คือธรรมที่เป็นเหตุให้สำเร็จความเป็นสมณะ ๔ จำพวก ในพระศาสนานี้ มีพระโสดาบันเป็นต้น. ทั้งที่เป็นส่วนอันควรประกอบในเบื้องต้น ทั้งที่เป็นส่วนควรประกอบในเบื้องปลาย, มี ๒๐ อย่าง มี ธมฺมาราโม - ความยินดีในธรรม เป็นต้น.

    ๑. มีความยินดีในธรรม คือมีความยินดีในกุศลธรรมอันหาโทษมิได้ทั้งหลาย.

    ๒. มีนิยมอันเลิศ คือมีธรรมที่สร้างความเป็นสมณะ เป็นสิ่งที่ตนนิยมว่าเป็นเลิศ ด้วยอรรถว่า ให้สำเร็จความเป็นยอดบริษัท (คือภิกษุบริษัท).

    ๓. มีความประพฤติดี คือ มีความประพฤติในวัตรปฏิบัติทั้งหลาย อันมาแล้วในขันธกวัตร ซึ่งเป็นอภิสมาจาริกศีล (ศีลที่เป็นอภิสมาจาร คือเป็นมารยาทที่สูงส่งยิ่ง), หรือว่ามีความประพฤติอันเป็นไปเพื่อละราคะ เพื่อละโทสะ เพื่อละโมหะ เป็นต้น.

    ๔. มีวิหารธรรม คือ มีการอยู่ด้วยวิหาร (ธรรมอันเป็นที่อยู่) ทั้ง ๔ คือ ด้วยอิริยาบถวิหาร โดยการที่ทรงกายอยู่ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งก็ตาม ก็มีการมนสิการกรรมฐาน ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถอยู่ด้วยใจที่ประกอบในกรรมฐาน ๑, ทิพยวิหาร (ฌาณสมาบัติ) ๑, พรหมวิหาร ๑, อริยวิหาร (ผลสมาบัติ) ๑.

    ๕. มีความสำรวม คือมีความสำรวมกาย สำรวมวาจา และสำรวมจิต.

    ๖. มีธรรมเครื่องป้องกัน คือมีธรรมเครื่องป้องกัน เครื่องกำจัด เครื่องละ ๕ อย่างคือ ศีล สติ ญาณ ขันติ และวิริยะ ที่เรียกว่า "สังวร ๕".

    ๗. มีความอดกลั้น คือมีความอดกลั้นต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย เป็นต้น.

    ๘. มีความสงบเสงี่ยม คือมีความอ่อนน้อมถ่อมตน.

    ๙. ประพฤติในอารมณ์ที่มีความเป็นหนึ่ง ความ ว่า อารมณ์กรรมฐานที่พระโยคาวจรเข้าไปตั้งสติ เจริญวิปัสสนา ชื่อว่ามีความเป็นหนึ่ง เพราะเป็นเพียงสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง อันปราศจากความเป็นต่างๆมากมาย ด้วยอำนาจแห่งสมมติ และบัญญัติ ว่าสัตว์ บุคคล หญิง ชาย เป็นต้น. การเจริญวิปัสสนา จึงชื่อว่าเป็นความประพฤติในอารมณ์ที่มีความเป็นหนึ่ง. เพราะฉะนั้นนั่นแหละ ความยินดีในอารมณ์กรรมฐานของพระโยคาวจรผู้เจริญวิปัสสนา จึงชื่อว่า ความยินดีในอารมณ์ที่มีความเป็นหนึ่ง.

    ๑๐. มีความประพฤติหลีกเร้น คือ มีจิตหลีกออกจากอารมณ์ที่มีสภาพต่างๆ กันมากมายในภายนอก แล้วเร้นจิตนั้นอยู่ในอารมณ์กรรมฐาน เพื่อบรรลุฌาณที่ยังไม่บรรลุบ้าง, เพื่อเข้าฌาณที่บรรลุแล้วบ้าง, เพื่อบรรลุมรรคบ้าง, เพื่อการเข้าผลสมาบัติบ้าง.

    ๑๑. มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป คือมีความละอายและเกรงกลัวทุจริตทางทวารทั้ง ๓ มีกายทุจริต วาจาทุจริต ใจทุจริต.

    ๑๒. มีความเพียร ได้แก่ มีความเพียรอันเป็นไปในกิจ ๔ อย่าง คือ เพียรป้องกันอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้มีโอกาศเกิดขึ้น ๑, เพียรละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑, เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น ๑, เพียรเจริญ เพิ่มพูนกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว กระทำไม่ให้หลงลืม ให้ตั้งมั่นอยู่ได้เจริญยิ่งๆขึ้นไป ๑, ก็คำว่า"อกุศลธรรม"ในที่นี้ ได้แก่นิวรณ์ธรรมทั้งหลาย. ส่วนคำว่า "กุศลธรรม" ได้แก่ สมาธิ วิปัสสนา และมรรค.

    ๑๓. มีความไม่ประมาท คือมีความไม่ประมาท ไม่ละเลย ในอันเจริญกุศลธรรมอันหาโทษมิได้ทั้งหลาย ตามอำนาจกิเลส.

    ๑๔. มีสิกขาสมาทาน คือมีความตั้งใจแต่จะขวนขวายอยู่แต่ในสิกขา ๓ มีอธิศีลสิกขา สมาธิสิกขา ปัญญาสิกขา เท่านั้น.

    ๑๕. อุทฺเทโส -ได้แก่ มีการเรียนพระบาลีอันเป็นพระพุทธพจน์.

    ๑๖. ปริปุจฺฉา - ได้แก่ มีการเรียนอรรถกถาอันเป็นคำอรรถาธิบายพระพุทธพจน์.

    ๑๗. มีความยินดียิ่งในคุณ มีศีล เป็นต้น ได้แก่ มีความยินดีในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ในเพราะความที่ท่านเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งคุณ มีศีล เป็นต้น ถือเป็นแบบอย่างที่ตนเองก็จะเป็นแบบท่านเหล่านั้น.

    ๑๘. ไม่มีอาลัย ได้แก่ ไม่มีเคหสิตตัณหา (ตัณหาอาศัยเรือน) คือตัณหาที่ติดอยู่ในกามคุณ ๕ ด้วยอำนาจการละเป็นตทังคปหาน ด้วยวิปัสสนาบ้าง, ด้วยอำนาจการละเป็นวิกขัมภนปหาน ด้วยสมาธิบ้าง, ด้วยอำนาจการละเป็นสมุจเฉทปหาน ด้วยมรรคบ้าง.

    ๑๙. เป็นผู้ทำสิกขาบทให้บริบูรณ์ ได้แก่ ทำสิกขาบทใหญ่น้อยทั้งหลายที่ทรงบัญญัติไว้ให้เต็ม ให้บริบูรณ์อยู่เสมอ โดยการที่เมื่อต้องอาบัติ ก็มีการปลงอาบัติ ไม่เป็นผู้มีอาบัติติดตัว หากมีความสงสัยในอาบัติ ก็ปรึกษาไต่ถามท่านที่ทรงพระวินัย.

    ๒๐. ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ คือนุ่งห่มไตรจีวรที่ทำด้วยผ้าย้อมฝาด มีศรีษะโล้น คือ มีศรีษะโล้นเพราะปลงผม, ไม่ใช่ศรีษะโล้น เพราะสักแต่ว่าเป็นคนไม่มีผม และไม่ใช่ศรีษะโล้น เพราะการถอนผมออกเหมือนอย่างพวกเดียรถีย์ในลัทธิภายนอก.

    ที่มา : ธรรมเครื่องสร้างความเป็นสมณะ ๒๐ อย่าง
     
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    นิยาย เรื่อง ยายผู้ไม่ยินดีในวิมาน

    มีนิทานเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องของยายคนหนึ่งแกทำบุญสร้างโบสถ์ วิหาร สร้างวัด ให้ทานแก่บุคคล ถวายเครื่องอุปโภค บริโภคแด่พระสงฆ์จำนวนมาก

    มีครั้งหนึ่งเทวดาท่านดลบันดาลให้ยายได้เห็นวิมาน อาหารที่เป็นทิพย์ พร้อมทั้งบริวารที่รอยายอยู่บนสวรรค์ และบอกกับยายว่านี่คือวิมานของยาย นี่คืออาหารของยาย นี่คือบริวารของยาย

    เมื่อยายตายโลกมนุษย์แล้ว วิมานนี้ อาหารนี้ พร้อมทั้งบริวารเหล่านี้จะเป็นของยาย ด้วยหวังจะให้ยายยินดี แต่ยายกลับไม่ได้รู้สึกยินดีกับวิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวารเหล่านั้นเลย

    เพราะยายเข้าใจในพระธรรม รู้ซึ้งในพระธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดี ยายเห็นความ"ไม่เที่ยง" ยายเห็นว่าแม้แต่พรหมชั้นสูงสุดที่มีอายุยาวนานถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป

    พระพุทธเจ้าท่านก็เรียกว่า “ท่านผู้มีอายุ" คือยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปเมื่อหมดอายุก็ต้องจุติ(ดับ,ตาย)จากภพนั้นและมีกำเนิดในภพอื่นต่อไป ยายเห็นว่าความสุขนั้นเป็น "วิปรินามธรรม ที่สามารถแปรเปลี่ยนกลับเป็นทุกข์ได้"

    ยายรู้ดีว่าบุญที่ยายทำนั้นจะเป็นเครื่องนำไปสู่สุคติสวรรค์ และยายอาจจะได้เสวยสุขอยู่บนสวรรค์ชั่วอายุหนึ่ง อาจจะสัก ๒๕๐๐ ปี แต่เมื่อหมดอายุจากภพนั้นแล้ว ยายกลัวว่ายายอาจจะได้มาเกิดเป็นมนุษย์ในสมัยกลียุค เป็นยุคที่โลกมนุษย์มีแต่ความทุกข์ยากลำบาก เป็นยุคที่ไม่มีธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว เป็นยุคที่พุทธศาสนาครบ ๕๐๐๐ ปีแล้ว

    ศาสนาพุทธเสื่อมไปแล้วตามที่พระพุทธเจ้าท่านทรงพยากรณ์ไว้ ยายกลัวว่าจะประสบกับความทุกข์ในช่วงสมัยนั้น กลัวว่าจะไม่ได้พบกับสัจจธรรมในช่วงสมัยนั้น ยายจึงไม่รู้สึกยินดีในวิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวารเหล่านั้น

    เมื่อเห็นในทุกข์อันเกิดจากภพ ยายจึงไม่ปรารถนาในภพ ยายปรารถนาที่จะออกจากภพ จึงเพียรศึกษาพระธรรม เพียรปฏิบัติตามองค์มรรควิธี เพื่อให้ถึงซึ่งความดับแห่งภพ

    เวลาที่ยายทำบุญบริจาคทาน ยายก็ไม่ปรารถนาในภพ ไม่ปรารถนาว่าจะได้ไปสู่วิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวารในภพใดๆ เพราะยายรู้ดีว่านั่นคือ "ภวตัณหา"(ยินดีติดใจในภพ) ยายทำบุญบริจาคทานก็เพราะยายเพียรพยายามที่จะทำให้โลภะเบาบางลง

    ยายรู้ว่าการทำบุญบริจาคทานเพื่อที่จะขจัดโลภะนี้ คือ กุศลที่มีอานิสงส์มากกว่าบุญ ไม่ใช่เป็นแค่บุญ เพราะการทำบุญอย่างเดียวไม่อาจทำให้ยายหลุดพ้นได้ แต่กุศลคือสิ่งที่ทำให้ยาย คิด พูด และกระทำสิ่งใดๆอย่างฉลาด รู้เท่าทัน โลภะ โทสะ โมหะ ต่างหากจะทำให้ยายหลุดพ้นได้

    นอกจากนี้ ยายยังได้เพียรเจริญเมตตาธรรมก็เพื่อที่จะทำให้โทสะเบาบางลง เพื่อขจัดโทสะให้สิ้นไป ยายเพียรทำจิตให้ผ่องใสควรแก่งาน เพื่อน้อมไปสู่วิชชา ๓ เพื่อความสิ้นอาสวะ เพื่อละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ให้ได้(เครื่องร้อยรัดสัตว์๑๐ อย่างให้วนเวียนอยู่ในวัฏฏะ)

    "เพื่อบรรลุโสดาบันในชาตินี้ ซึ่งจะไม่มีความเสื่อมลงได้อีก เพื่อบรรลุสกทาคามีในชาตินี้ ซึ่งจะกลับมาเกิดในโลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เพื่อบรรลุอนาคามีในชาตินี้ ซึ่งจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในสวรรค์ชั้นพรหมสุทธาวาส ไม่กลับมาเกิดในโลกนี้อีก เพื่อบรรลุอรหันต์นิพพานในชาตินี้"

    เพราะจุดมุ่งหมายของยาย คือปรมัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ นิพพาน ยายเพียรทำอยู่อย่างนี้โดยที่ยายไม่ได้คำนึงถึง ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือประโยชน์ในปัจจุบัน และสัมปรายิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในภายหน้าเลย

    "เพราะยายรู้ดีว่า ประโยชน์สองอย่างนี้ยายจะพึงมีพึงได้อยู่แล้วจากการกระทำที่ดีเป็นบุญเป็นกุศลในปัจจุบันของยายโดยไม่จำเป็นต้องเพ่งเล็งขวนขวาย นี่คือจุดมุ่งหมายของยายผู้ไม่ยินดีในวิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวาร ในสุคติภพใดๆ"

    และยายได้กล่าวภาษิตฝากถึงผู้ที่ยังปรารภนาในประโยชน์ว่า

    “ผู้ไม่เห็นในทุกข์ ย่อมไม่ปรารถนาที่จะออกจากทุกข์ ผู้ไม่เห็นในคุณของพระนิพพาน ย่อมไม่ปรารถนาปรมัตถประโยชน์ ผู้ไม่เห็นในปรมัตถประโยชน์ ย่อมไม่ปรารภความเพียร"

    (ที่มา..แหล่งรวบรวมกรณีศึกษาจิต วิญญาณ ชีวิตหลังความตาย และการเกิดใหม่)
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ตัณหาร้อยแปด

    เพราะอาศัยตัณหา จึงเกิดการแสวงหา

    เพราะอาศัยการแสวงหา จึงเกิดลาภ

    เพราะอาศัยลาภ จึงเกิดการตกลงใจ

    เพราะอาศัยการตกลงใจ จึงเกิดการรักใคร่ พึงใจ

    เพราะอาศัยการรักใคร่พึงใจ จึงเกิดการพะวง(หึงหวง)

    เพราะอาศัยการพะวง จึงเกิดการยึดถือ(ว่าเป็นของเรา)

    เพราะอาศัยการยึดถือ จึงเกิดความตระหนี่

    เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงเกิดการป้องกัน

    เพราะอาศัยการป้องกัน จึงเกิดเรื่องในการป้องกัน

    อกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกมิใช่น้อยนี้ คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การพูดส่อเสียด การพูดเท็จ ย่อมเกิดขึ้น....เพราะตัณหาตัวเดียว.

    ที่มา : *********ตัณหา ๑๐๘*********
     
  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อย่าโกรธเมื่อใครติเตียนพระพุทธเจ้า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! คนเหล่าอื่นอาจกล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์ ท่านทั้งหลายไม่พึงผูกอาฆาต ขุ่นเคืองไม่พอใจในบุคคลเหล่านั้น

    เพราะถ้าท่านทั้งหลายโกรธเคืองหรือไม่พอใจในบุคคลที่กล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์นั้น อันตรายเพราะความโกรธเคืองนั้นก็จะพึงเป็นของท่านทั้งหลายเอง ถ้าท่านทั้งหลายโกรธเคือง หรือไม่พอใจในบุคคลที่กล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม ติเตียนพระสงฆ์จะรู้ได้ละหรือว่า

    คำกล่าวของคำเหล่านั้น เป็นคำกล่าวที่ดี (สุภาษิต)หรือไม่ดี (ทุภาษิต) "ไม่ทราบ พระเจ้าข้า "

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !ท่านทั้งหลายพึงชี้แจง เรื่องที่ไม่เป็นจริง ให้เห็นว่าไม่เป็นจริงในข้อที่คนเหล่าอื่นกล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์ให้เขาเห็นว่าข้อนั้นไม่จริง ข้อนั้นไม่แท้ ข้อนั้นไม่มีในพวกเราข้อนั้นไม่ปรากฎในพวกเราดังนี้ "

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนาอะไรกันและเรื่องอะไรที่พวกเธอพูดค้างไว้ เมื่อตรัสอย่างนี้แล้วภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

    พระพุทธเจ้าข้า ณ ที่นี้เมื่อพวกข้าพระพุทธเจ้าลุกขึ้น ณ เวลาใกล้รุ่ง นั่งประชุมกันอยู่ที่ศาลานั่งเล่นเกิดสนทนากันขึ้นว่า

    ท่านทั้งหลายเท่าที่พระผู้มีพระภาคผู้รู้เห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงทราบความที่หมู่สัตว์มีอัธยาศัยต่างๆ กันได้เป็นอย่างดีนี้ น่าอัศจรรย์นักไม่เคยมีมา

    ความจริง สุปปิยปริพาชกนี้ กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์โดยอเนกปริยาย ส่วนพรหมทัตตมาณพอันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้าชมพระธรรม ชมพระสงฆ์โดยอเนกปริยาย อาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองนี้มีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันโดยตรง ฉะนี้

    ข้าพระพุทธเจ้าเดินตามพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลัง เรื่องนี้แลที่พวกข้าพระพุทธเจ้า พูดค้างไว้ พอดีพระองค์เสด็จมาถึง.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรมติพระสงฆ์ ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรอาฆาต ไม่ควรโทมนัสน้อยใจไม่ควรแค้นใจในคนเหล่านั้น

    ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคืองหรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลายเพราะเหตุนั้นเป็นแน่ ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคืองหรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น เธอทั้งหลายจะพึงรู้คำที่เขาพูดถูก หรือคำที่เขาพูดผิดได้ละหรือ?

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้ทีเดียว พระพุทธเจ้าข้า.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ในคำที่เขากล่าวตินั้น คำที่ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริงว่านั่นไม่จริงแม้เพราะเหตุนี้ นั่นไม่แท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้นั่นก็ไม่มีในเราทั้งหลายและคำนั้นจะหาไม่ได้ในเราทั้งหลาย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ เธอทั้งหลายไม่ควรเบิกบานใจ ไม่ควรดีใจ ไม่ควรกระหยิ่มใจในคำชมนั้น ถ้าเธอทั้งหลายจักเบิกบานใจ จักดีใจจักกระหยิ่มใจในคำชมนั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลายเพราะเหตุนั้นเป็นแน่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือชมพระสงฆ์ในคำชมนั้น คำที่จริง เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่านั่นจริงแม้เพราะเหตุนี้ นั่นแท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้คำนั้นก็มีในเราทั้งหลายและคำนั้นจะหาได้ในเราทั้งหลาย

    ที่มา : พรหมชาลสูตร ๙/๓ พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

    คนพาล ย่อมร่าเริงยินดีในบาปกรรมลามกที่ตนกระทำ

    ประดุจว่าดื่มน้ำผึ้งที่มีรสหวาน

    จนกว่าบาปกรรมนั้นจะให้ผล

    จึงจะได้ประสบกับความทุกข์เพราะกรรมนั้น

    "พระพุทธดำรัส"
     
  19. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    ถึงไหนแล้วหนอ
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สวัสดีค่ะคุณ hastin หายไปนานเลยหนอ ยินดีต้อนรับสู่ห้องคนอวดรู้นะคะ
    ถึงไหนแล้วหนอ....หมายถึงใครหนอ หากหมายถึงเรา...เราปล่อยวางทุกเรื่องราว
    แต่ยังคงดำรงค์ชีวิตอย่างปกติวิสัยของความเป็นมนุษย์ เป็นผู้ดูบ้่างในบางโอกาส
    และเป็นผู้แสดงบ้า่งเล็กน้อย หุหุ

    ว่างๆ เอาความรู้มาอวดบ้างหนอ เรารออยู่ เมื่อไหร่จะเล่าเรื่องความก้าวหน้าของมโนมยิทธิให้อ่านกันบ้างหนอ....:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...