>>> อวดรู้ (รู้แล้วได้อะไร) <<<

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 19 กรกฎาคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    วันนี้เอารู้มาอวดกันอีกแล้วค่ะ ไปอ่านเจอมา เข้าท่าดีไม่ใช่เข้าท่าดีซิ ดีจริงๆ เลยแหละ

    รู้รูปนาม สู่โสดาบัน จนทำลายตัวผู้รู้

    เริ่มจากรู้รูปนาม สู่โสดาบัน จนทำลายผู้รู้

    ในชั้นเริ่มแรกเราไม่สามารถเห็นรูปนามทุกขณะจิตได้หรอกครับ เอาแค่ว่าให้รู้ว่าอันไหนรูป อันไหนนาม ส่วนนามก็รู้ว่า จิตกับเจตสิกธรรมมันต่างกัน ทำหน้าที่ต่างกัน ถ้าจำแนกจิตกับเจตสิกอันเป็นธรรมต่างกันที่เกิดดับด้วยกันได้ แล้วระลึกรู้กาย เวทนา จิต ธรรม

    จะพบว่าไม่มี ความเป็นตัวเรา ในสิ่งที่ถูกรู้เลย กายก็เป็นเพียงก้อนธาตุ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสิ่งเกิดๆ ดับๆ ตัวของมันโดดๆ ไม่มีการประกาศว่าเป็นตัวตนเลย แต่เมื่อใดธรรมเหล่านี้สมคบทำงานร่วมกัน ความเห็นว่าเป็นตัวเรา ก็จะเกิดขึ้น

    เพราะเกิดจากจิตไปหลงตามความคิดปรุงแต่งเท่านั้นเอง เมื่อจิตเห็นความไม่มีตัวตนมากเข้าๆ ถึงจุดหนึ่งจิตก็จะตัดสินด้วยปัญญา สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลลพพตปรามาส ก็จะขาดไปพร้อมกัน

    แม้ในขั้นที่เป็นพระโสดาบันแล้ว จิตก็ยังไม่มีความสามารถที่จะรู้ความเกิดดับได้ทุกขณะจิต ก็ต้องเพียรรู้ความเกิดดับนั้นต่อไป จะรู้ได้มากขึ้น ละเอียดขึ้นเป็นลำดับๆ ไป

    ในขณะที่เผลอสตินั้น จิตจะยึดว่าจิตเป็นตัวตน แต่ถ้ามีสติเมื่อใด มองดูสิ่งใดสิ่งนั้นก็ไม่เป็นตัวตน จิตจึงค่อยเรียนรู้ไปตามลำดับว่า ความยึดว่าจิตเป็นตัวตน ยังมีอยู่

    แต่ความเห็นว่า จิตเป็นตัวตน ไม่มีอยู่ และไม่ว่าจะมองอย่างไร จิตก็ยังเป็นจิตอยู่นั่นเอง ปฏิบัติมากเข้าๆ ก็เริ่มจะเห็นร่องรอยอะไรบางอย่างว่า ที่จริงจิตที่เราเรียกว่า จิตผู้รู้ (หรือธรรมอันเอกเป็นเครื่องมือที่ใช้มานั้น) ก็ไม่ใช่จิต แต่มันเป็นเพียงสภาวะอันเกิดจากการประชุมกันของนามขันธ์ คือเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เท่านั้น นามขันธ์ต่างก็ทำหน้าที่ประกอบกัน จนรู้สึกเกิดเป็น”จิตผู้รู้” ขึ้นมา (เหมือนธาตุ 4 ประชุมกันแล้วมีสัญญาหมายรู้ว่าเป็น “กาย” ขึ้นมา) แท้จริง จิตก็ไม่ใช่จิต ความยึดในจิตก็จะดับสลายไป เพราะเห็นแล้วว่า จิตผู้รู้ที่เรายึดว่าเป็น จิตเรา นั้น คือการประชุมกันของนามขันธ์ เท่านั้นเอง

    อันนี้ เป็นการกระจายนามขันธ์ชั้นในสุดออกอีกทีหนึ่ง เพื่อทำลายอุปาทานในจิต ที่เล่าก็เพราะต้องการบอกว่าเมื่อใช้ จิตผู้รู้ ในการไปรู้ความเกิดดับของรูปนามมากพอแล้ว จนจิตมีแต่ว่าอิ่มตัว รู้ สงบ เบิกบาน ผ่องใส เต็มที่แล้ว ก็ถึงเวลาจะต้องทำลาย จิตผู้รู้ทิ้ง ต่อไป อย่ายึดตัว จิตผู้รู้ เอาไว้อีก แต่ตอนนี้ อย่าเพิ่งให้ความคิดล้ำหน้า ไปทิ้งเรือเสียก่อนจะถึงฝั่งนะครับ

    โดย คุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)
    เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2542

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2013
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]

    ปริวาสกรรมของพระสงฆ์
    ที่มา : ศาสนา

    ตามหลักของ ปริวาสกรรมได้จัดขึ้นมากมายตามวัดต่างๆ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย และดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ข้าพเจ้า เห็นความสำคัญเป็นอย่างมากในส่วนของงานปริวาสกรรม ได้เข้ามาประพฤติปริวาสเป็นจำนวนมากรวมทั้งนี้ จึงมีศรัทธาจัดงานปริวาสกรรมขึ้นเป็นประจำทุกปีภายใน วัดหนองต้นไทร ต.โพธิ์ประทับช้าง อ.โพธิ์ประทับช้าง จังหวัด พิจิตร ซึ่งกำหนดการจัดปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุนั้น ปริวาสกรรมก่อน เข้าพรรษาของพระภิกษุ ๑๕ วัน ซึ่งแต่ละครั้งนั้น จะมีพระภิกษุจากทั่วประเทศ สามเณร อุบาสก – อุบาสิกา ได้เข้ามาร่วมปฏิบัติธรรมด้วยเป็นจำนวนมาก ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทำ สังฆกรรมงาน ปริวาสกรรม นี้ จะยังประโยชน์ต่อพระภิกษุสงฆ์ วัดหนองต้นไทร ได้มีเจตนากระทำแล้วนี้ ขอถวายเป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อยังประโยชน์เกื้อกูลต่อพระพุทธศาสนาสืบไป

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหาทางออกอย่างพวกเธอนี้ประเสริฐแท้ การแก่งแย่งกันเป็นใหญ่เป็นโตนั้น ในที่สุดทุกคนก็รู้เอง เหมือนแย่งกัน เข้าไปสู่กองไฟ มีแต่ความรุ่มร้อนกระวนกระวาย เสนาบดีดื่มน้ำด้วยภาชนะ และผู้สนใจใฝ่ในธรรมทุกท่าน ซึ่งกุศลธรรมทั้งมวลที่ข้าพเจ้าและคณะสงฆ์ ทองคำ กับคนจนดื่มน้ำด้วยภาชนะที่ทำจากกะลามะพร้าว เมื่อมีความพอใจ ย่อมมีความสุขเท่ากัน นี่เป็นข้อยืนยันว่าความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจ เป็นสำคัญ อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจ แม้กระท่อมมุงด้วยใบไม้ มิใช่คนใหญ่คนโต แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุขสงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย

    ประโยชน์ของ “ปริวาสกรรม”

    ๑. เพื่อดำรงธรรมวินัยให้ยั่งยืน เพราะมีครูบาอาจารย์มาให้ความรู้ ทางธรรม
    ๒. เพื่ออนุเคราะห์กุลบุตรที่บวชมา และต้องการชำระสิกขาบท
    ๓. เพื่อเปิดโอกาสให้นักปฏิบัติธรรมได้เจริญ สมถะ-วิปัสสนา กรรมฐาน
    ๔. เป็นการ รวมพระภิกษุต่างถิ่นต่างอาวาสได้อย่างมาก เป็นนิมิตหมายแห่งความเจริญในพระพุทธศาสนา
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ประเภทของสงฆ์
    ที่มา : พระสงฆ์ - พุทธะดอทคอม

    พระสงฆ์ ๔ ประเภท

    คำว่า สงฆ์ นั้น แปลว่า หมู่ ในที่นี้หมายถึง การกสงฆ์ คือ หมู่ของภิกษุผู้กระทำกรรม มีจำนวนอย่างต่ำตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป และได้มีกำหนดไว้โดยย่อ ดั่งนี้

    จตุวรรคสงฆ์ คือ สงฆ์ที่มีจำนวนภิกษุผู้ประชุมกัน ๔ รูป นี้เป็นการกสงฆ์ ที่สามารถทำสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น การรับกิจนิมนต์สวดในงานต่าง ๆ เว้นแต่สังฆกรรมที่ระบุจำนวนมากกว่า

    ปัญจวรรคสงฆ์ คือ สงฆ์มีจำนวน ๕ รูปประชุมกันนี้ สามารถทำสังฆกรรม ได้แก่ ปวารณา ออกพรรษา อุปสมบทกุลบุตรในปัจฉิมชนบทประเทศ ถ้าต่ำกว่านี้ทำไม่ได้

    ทสวรรคสงฆ์ สงฆ์มีจำนวนภิกษุประชุมกัน ๑๐ รูปขึ้นไป สามารถทำสังฆกรรม คือ อุปสมบทกุลบุตรในมัชฌิมชนบทหรือมัชฌิมประเทศ ถ้าต่ำกว่านี้ทำไม่ได้

    วีสติวรรคสงฆ์ สงฆ์มีจำนวนภิกษุ ๒๐ รูปขึ้นไป สามารถทำสังฆกรรม คือการให้อัพภานแก่ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส และอยู่ปริวาส มานัต ครบกำหนดแล้ว มาขอให้สงฆ์จำนวนนี้สวดชักเข้าหมู่ตามเดิม ถ้าจำนวนต่ำกว่านี้ทำไม่ได้

    ที่มา : ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า
    พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
    วัดบวรนิเวศน์วิหาร
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ฮีตสิบสองคองสิบสี่
    ที่มา : ประเพณีอิสาน - eSanChannel TM

    ฮีต สิบสองฮีตสิบสองมาจากคำ 2 คำ คือ ฮีต กับ สิบสองฮีตมาจากคำว่า จารีต หมายถึงสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีที่ดีงามชาวอีสาน เรียกว่า จาฮีต หรือฮีต สิบสอง

    หมายถึง เดือนทั้ง 12 เดือน ในหนึ่งปีฮีตสิบสอง จึงหมายถึงประเพณีที่ประชาชนชาวอีสานได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาในโอกาสต่างๆ ทั้งสิบสองเดือนในแต่ละปีประเพณีทั้งสิบสองเดือนที่ชาวอีสานถือปฏิบัติกันมานั้น ล้วนเป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้คนในชุมชน ได้ออกมาร่วมกิจกรรมพบปะสังสรรค์กันเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงและเพื่อความ สมานสามัคคีมีความรักใคร่กัน ของคนในท้องถิ่นซึ่งเป็นการสืบทอดสิ่งที่ดีงามมาจวบจนปัจจุบัน ประเพณีอีสานส่วนใหญ่จะมีเอกลักษณ์แตกต่างจากประเพณีภาคอื่นๆ (อาจ คล้ายคลึงกับประเพณีของทางภาคเหนือบ้างเพราะมีที่มาค่อนข้างใกล้ชิด กัน)

    ประเพณีอีสานได้รับอิทธิพลมา จากวัฒนธรรมล้านช้าง(แถบหลวงพระบางประเทศลาว)จึงจะเห็นได้ว่าประเพณีของชาว อีสานและชาวลาวมีความคล้ายกันเพราะมีที่มาเดียวกันและชาวอีสานและชาวลาวก็ไป มาหาสู่กันเป็นประจำเยี่ยงญาติพี่น้องทำให้มีการถ่ายเทวัฒนธรรมระหว่างกันด้วย ฮีตสิบสองได้แก่...
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]

    เดือนอ้าย(เดือนเจียง)-บุญเข้ากรรม

    บุญ เข้ากรรมเป็นกิจกรรมของสงฆ์ เมื่อถึงเดือนอ้ายพระสงฆ์จะต้องเข้ากรรม ซึ่งเป็น พิธีที่เรียกว่าเข้าปริวาสกรรม" โดยให้พระภิกษุผู้ต้องอาบัติ(กระทำผิด) ได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์ เพื่อเป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตนเอง และมุ่งประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระวินัยพิธีเข้าปริวาสกรรมจะเป็นข้างขึ้น หรือข้างแรมก็ได้ โดยกำหนดไว้ 9 ราตรี

    พระภิกษุสงฆ์ที่ต้อง การเข้าปริวาสกรรมต้องไปพักอยู่ในสถานที่สงบ ไม่มีผู้คนพลุกพล่าน(อาจจะเป็นบริเวณวัดก็ได้ โดยมีกุฏิชั่วคราวเป็นหลังๆพระภิกษุสงฆ์ที่เข้าปริวาสกรรมคราวหนึ่งๆ จะมีจำนวนเท่าใดก็ได้แต่ต้องบอกไว้ก่อนว่าตนเองจะเข้ากรรม และเมื่อถึงเวลาออกกรรมจะมีพระสงฆ์ 20 รูปมารับออก กรรม พิธีทำบุญเข้ากรรมหรือเข้าปริวาสกรรมของพระภิกษุสงฆ์นี้ไม่ถือว่าเป็นการ ล้างบาป แต่จะถือว่าเป็นการปวารณาตนว่าจะไม่กระทำผิดอีก

    ส่วนกิจของชาวพุทธศาสนิกชนในบุญเข้ากรรมนี้ คือการหาข้าวของเครื่องอุปโภคบริโภถวายพระ ซึ่งถือว่าจะได้บุญมากกว่าการทำบุญตักบาตรทั่วไป
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]

    เดือนยี่-บุญคูณลาน

    การ ทำบุญคูณลานจะทำกันเมื่อได้เก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ชาวอีสานจะเห็นความสำคัญของข้าวเป็นอย่างมากในพิธีนี้จะมีการนิมนต์พระสงฆ์ ไปเทศน์ที่ลานนวดข้าว (ลานนวดข้าว ของชาวอีสานในสมัยก่อนมักจะทำขึ้นในลานข้างบ้านหรือข้างทุ่งนาและมักจะให้ มูลของความมาลาดพื้นแล้วตากให้แห้งจะได้พื้นที่เรียบ)

    มีการทำบุญตักบาตร เลี้ยงพระประพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่ชาวบ้าน ลานนวดข้าว ที่นา ต้นข้าว และบริเวณใกล้ลานนวดข้าว ถือว่าเป็นสิริมงคลแก่การเกษตรกรรม ทำให้ข้าวในนาอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเชื่อว่า เจ้าของจะอยู่เย็นเป็นสุข ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าจะงอกงามและได้ผลดีในปีต่อไป เมื่อเสร็จพิธีทำบุญคูณลานแล้วชาวบ้านจึงจะขนข้าวใส่ยุ้ง และเชิญขวัญข้าวคือพระแม่โพสพไปยังยุ้งข้าวและทำพิธีสู่ขวัญข้าวสู่ขวัญเล้า ข้าว (ฉางข้าว)เพื่อเป็นสิริมงคลต่อไป

    ประเพณีปัจจุบันแทบจะหาดูไม่ได้แล้ว เพราะชาวอีสานได้ทำนากันน้อยลง และนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ เช่นการใช้เครื่องนวดข้าวแทนการนวดด้วยมือหรือใช้สัตว์นวด(ทำให้ไม่ต้องมี ลานนวดข้าว)
     
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]

    เดือนสาม-บุญข้าวจี่

    บุญ ข้าวจี่เป็นการทำบุญในช่วงเทศกาลวันมาฆบูชา ชาวบ้านจะมาร่วมกันทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ตอนค่ำจะมีการเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ ซึ่งการทำบุญข้าวจี่นี้ชาวบ้านอาจจะไปรวมกันที่วัด หรือต่างคนต่างจัดเตรียมข้าวจี่ไปเองแล้วนำไปถวายพระภิกษุสามเณรที่วัด มีการไหว้พระรับศีลพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์และตักบาตรด้วยข้าวจี่ แล้วยกไปถวายพร้อมภัตตาหารอื่นๆ เมื่อพระฉันเสร็จแล้วมีการฟังเทศน์ฉลองข้าวจี่และรับพร

    ซึ่งมูลเหตุที่มีการทำบุญข้าวจี่ เนื่องมาจากสมัยพุทธกาลมีนางทาสชื่อปุณณทาสีได้นำแป้งข้าวจี่(แป้งทำขนมจีน) ไปถวายพระพุทธเจ้า แต่จิตใจของนางก็คิดว่าขนมแป้งข้าวจี่เป็นเพียงขนมของทาสที่ต่ำต้อย พระพุทธองค์คงไม่ฉัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้จิตใจของนาง จึงทรงฉันแป้งข้าวจี่ต่อหน้านาง ทำให้นางเกิดความปิติดีใจชาวอีสานจึงได้แบบอย่างในการทำแป้งข้าวจี่นี้และพา กันทำบุญข้าวจี่ถวายพระมาโดยตลอด

    โดยเฉพาะในช่วงเดือนสามจะมีการทำข้าวจี่ถวายพระมาจวบจนปัจจุบัน (การทำข้าวจี่ของชาวอีสานในช่วงเดือน 3 นั้น เป็นช่วงที่อากาศหนาวเย็น ดังนั้นการจี่ข้าวในช่วงนี้ชาวบ้านก็จะได้รับไออุ่นจากการนั่งล้องวงกันจี่ ข้าวอีกด้วย) การทำข้าวจี่ของชาวอีสานนั้นปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว มาปั้นเป็นก้อน แล้วนำไปย่างบนไฟอ่อนๆ บางคนอาจใช้ไข่เหลืองทาเพื่อให้มีสีที่น่ารับประทาน หรือใส่น้ำอ้อยที่ใส้ข้าวจี่ จี่ ภาษาอีสานหมายถึง ปิ้งหรือย่าง
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]

    เดือนสี่-บุญผะเหวด

    (บุญ พระเวสสันดรหรือบุญมหาชาติ) คำว่าผะเหวด เป็นสำเนียงของชาวอีสาน ที่มาแผลงมาจากคำว่า พระเวส ซึ่งหมายถึง พระเวสสันดร การทำบุญผะเหวด เป็นการทำบุญและฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดกหรือเทศน์ มหาชาติซึ่งมีจำนวน 13 กัณฑ์ ทั้งนี้เพี่อเป็นการรำลึกถึงพระเวสสันดรผู้ซึ่งบำเพ็ญเพียรอันยิ่งใหญ่ด้วย วิธีบริจาคทานหรือทานบารมีในชาติสุดท้าย หรือมหาชาติของพระพุทธองค์ก่อนที่จะมาเสวยชาติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

    งานบุญผะเหวดเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ของชาวอีสานนิยมทำกันทุกหมู่บ้าน ด้วยความเชื่อว่าหากได้ฟังเทศน์มหาชาติครบทั้ง 13 กัณฑ์ จบภายในวันเดียวนั้น อานิสงฆ์จะดลบันดาลให้ไปเกิดในศาสนาของพระศรีอาริยเมตไตรย ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความสุขตามพุทธคติ

    ปัจจุบันงานบุญผะเหวดยังหาดูได้ทั่วไปเกือบทุกจังหวัดในภาคอีสาน แต่ได้ลดความใหญ่โตของงานลงบ้าง ไม่ใช่เป็นงานที่ยิ่งใหญ่เหมือนในอดีต แต่ก็ยังมีบางจังหวัดที่ได้จัดงานนี้อย่างยิ่งใหญ่ เช่นที่จังหวัดร้อยเอ็ดถือเป็นงานประเพณีของจังหวัด ภายในงานจะมีขบวนแห่พระเวสสันดรหลายขบวน และมีการทำขนมจีน(ชาวอีสานเรียกข้าวปุ้น)มากมายมาเลี้ยงแขกบ้านแขกเมือง
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]

    เดือนห้า-บุญสงกรานต์

    เป็น การทำบุญวันขึ้นปีใหม่ของไทยแต่โบราณ นิยมทำในเดือนห้าเริ่มตั้งแต่วันที่ 13 เมษายนถึงวันที่ 15 เมษายน คำว่าสงกรานต์เป็นคำสันกฤต แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไปในที่นี้หมายถึงพระอาทิตย์ที่ผ่าน หรือเคลื่อนย้ายเข้าไปในจักรราศีหนึ่งเป็นเดือนที่เริ่มต้นปีใหม่ การทำบุญสงกรานต์จะมีพิธีสรงน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่รวมทั้งจะมีการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญพระพุทธรูปและพระสงฆ์ ตามละแวกหมู่บ้านต่างๆ

    นอกจากนี้ชาวบ้านจะทำบุญตักบาตรก่อพระเจดีย์ทราย และมีการละเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนานตลอดทั้ง3วัน และบางหมู่บ้านจะมีการแห่พระพุทธรูปไปรอบๆหมู่บ้านเพื่อให้ชาวบ้านได้สรงน้ำ กันอย่างทั่วถึงปัจจุบันงานบุญสงกรานต์ของชาวอีสานได้เปลี่ยนไปจากเดิมเป็น อย่างมากในตัวเมืองใหญ่ๆมักมีการเล่นน้ำกันอย่างรุนแรง มีการใช้แป้ง น้ำแข็งหรือสีด้วยแต่ประชาชนอีสานในชนบทโดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ยังคงรักษาขนบ ธรรมเนียมแบบดั้งเดิมไว้ คือมีการสรงน้ำพระพุทธรูปทั้งที่วัดและพระพุทธรูปที่บ้าน พระสงฆ์จากนั้นจะไปสรงน้ำขอพรจากคนเฒ่าคนแก่ที่ตัวเองให้ความเคารพ พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ฯลฯ

    ในช่วงงานนี้ชาวอีสานที่ไปทำงานต่างถิ่นจะกลับบ้านเพื่อร่วมทำบุญและพบปะ กับญาติพี่น้อง
     
  10. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]

    เดือนหก-บุญบั้งไฟ

    หากกล่าว ถึงบุญบั้งไฟแล้วคนส่วนใหญ่คงจะนึกถึงจังหวัดยโสธรหรืออุดรธานี ซึ่งมีการจัดงานนี้อย่างยิ่งใหญ่ การทำบุญบั้งไฟเป็นงานสำคัญอีกงานของชาวอีสานโดยจัดกันก่อนฤดูทำนา ด้วยความเชื่อว่าเป็นการขอฝนเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าในนาข้าวอุดมสมบูรณ์ ประชาชนอยู่อย่างมีความสุข

    ในงานจะมีการแห่บั้งไฟและจุดบั้งไฟ เพราะเชื่อว่าเป็นการส่งสัญญาณขึ้นไปบอกพญาแถนให้ส่งน้ำฝนลงมา ระหว่างที่มีการจุดบั้งไฟชาวบ้านจะมีการเซิ้งซึ่งจะสนุกสนานมาก และการทำบุญบั้งไฟนี้นับเป็นการชุมนุมครั้งสำคัญของคนในท้องถิ่น ที่มาร่วมกันจัดงานด้วยความรื่นเริงสนุกสนานเต็มที่มีการพูดจาลามก หรือนำสัญลักษณ์เรื่องเพศมาล้อเลียนในขบวนแห่บั้งไฟ โดยไม่ถือว่าเป็นเรื่องหยาบคายการ และมีการประลองบั้งไฟกันว่าบั้งไฟใครจะขึ้นสูงกว่ากัน ส่วนบั้งไฟใครที่จุดแล้วไม่ขึ้นจะมีการทำโทษด้วยการจับเจ้าของบั้งไฟไปโยน บ่อโคลน

    งานบุญบั้งไฟนี้จะตรงกับประเพณีในเทศกาลเดือนหกอีกอย่างหนึ่งคือบุญวันวิสาข บูชา ชาวบ้านจะทำบุญและฟังเทศน์กันในตอนกลางวันกลางคืนจะมีการเวียนเทียน ซึ่งก็ทำเช่นเดียวกับประชาชนในภาคอื่นๆ ปัจจุบันงานบุญบั้งไฟยังหาดูได้ทั่วไปในจังหวัดภาคอีสาน ซึ่งจะมีการจัดงานตั้งแต่งานเล็กๆไปจนถึงงานระดับจังหวัด จังหวัดที่มีการจัดงานใหญ่โตจนเป็นที่รู้จักกันทั่วคือจังหวัดยโสธรและ จังหวัดอุดรธานี
     
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]

    เดือนเจ็ด-บุญซำฮะ

    ซำ ฮะ เป็นภาษาอีสานหมายถึง การทำความสะอาด เหมือนกับคำภาษาไทยกลางว่า ชำระ ประเพณีนี้เป็นการทำบุญเพื่อชำระล้างสิ่งที่ไม่ดีเป็นเสนียดจัญไร อันจะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ บ้านเมือง ซึ่งถือว่าเป็นการปัดเป่าความชั่วร้ายให้ออกจากหมู่บ้าน การทำบุญซำฮะนี้ชาวบ้านจะพากันเก็บกวาดบ้านเรือนให้เรียบร้อย เป็นการทำความสะอาดครั้งยิ่งใหญ่ในรอบปี สิ่งที่ไม่ดี ทั้งหลายให้ขจัดออกไป เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในหมู่บ้าน

    มูลเหตุที่มีการทำบุญซำฮะเนื่องมา จากในสมัยพุทธกาลมีโรคห่า (อหิวาตกโรค ระบาดมีผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมาก พระพุทธเจ้าจึงได้เสด็จมาโปรดทำให้เกิดฝนห่าใหญ่มาชำระบ้านเมือง) มีการสวดปัดรังควานและประพรมน้ำมนต์ตามหมู่บ้านและชาวบ้านเพื่อเป็นสิริมงคล ด้วย การจัดงานบุญนี้เพื่อเป็นการระลึกถึงผู้มีพระคุณในการที่จะทำให้บ้านเมือง สงบสุข
     
  12. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]

    เดือนแปด-บุญเข้าพรรษา

    การ เข้าพรรษาเป็นกิจของพระภิกษุสามเณรที่จะต้องอยู่ประจำในวัดใดวัดหนึ่งตลอด 3 เดือน กำหนดเอาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือนแปดถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ห้าม มิให้พระภิกษุสามเณรไปพักแรมคืนที่อื่น เนื่องจากฤดูนี้เป็นฤดูแห่งการเกษตรกรรม การห้ามพระภิกษุสามเณรเดินทางด้วยเหตุผลส่วนหนึ่งอาจมาจาก การไม่ต้องการให้พระภิกษุสามเณรไปเยียบย่ำพืชผลที่ชาวบ้านได้เพาะปลูกไว้

    การทำบุญเข้าพรรษาเป็นประเพณีทางศาสนา โดยตรงจึงคล้ายกับภาคอื่นๆในประเทศไทย ในพิธีจะมีการทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร มีการฟังธรรมเทศนา ชาวบ้านจะหล่อเทียนใหญ่ไว้ถวายเป็นพุทธบูชา และจะเก็บไว้ตลอดพรรษาการทำเทียนถวายวัด

    ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษานี้มีความเชื่อแต่โบราณว่า หากใครทำเทียนไปถวายวัดเมื่อเกิดชาติใหม่ผู้นั้นจะได้เสวยสุขในสวรรค์ อานิสงส์ของการถวายเทียนนั้นหากมิได้ขึ้นสวรรค์แต่เกิดบนโลกมนุษย์ ผู้นั้นจะมีความเฉลียวฉลาด มีสติปัญญาไหวพริบเลิศเลอ ประดุจแสงเทียนอันสว่างไสว

    ปัจจุบันเกือบทุกจังหวัดในภาคอีสานได้จัดให้มีงานแห่เทียนเข้าพรรษา โดยนำเทียนมาแกะสลักอย่างสวยงามประกอบกันเป็นเรื่องราว แล้วจัดแห่รอบหมู่บ้านหรือตัวเมืองก่อนนำไปถวายวัด จังหวัดที่มีการจัดงานยิ่งใหญ่คือ จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะมีขบวนแห่เทียนพรรษาที่ได้แกะสลักอย่างวิจิตรบรรจงไปรอบตัวเมือง เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ชมความงดงามของเทียนเข้าพรรษา และยังได้ประกวดขบวนแห่เทียนพรรษาด้วย งานแห่เทียนเข้าพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ถือเป็นงานที่สำคัญงานหนึ่งของประเทศมีนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกภาค และจากต่างประเทศมารอชมความงดงามของเทียนพรรษามากมาย
     
  13. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]

    เดือนเก้า-บุญข้าวประดับดิน

    บุญ ข้าวประดับดินเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติมิตรที่ล่วงลับไป แล้ว ซึ่งจะจัดขึ้นวันแรม 14 ค่ำเดือน 9 ชาวบ้านจะพากันทำข้าวปลาอาหารคาวหวาน และข้าวต้มมัดพร้อมหมากพลูที่ห่อใส่ใบตองแล้ว นำไปวางไว้ที่โคนต้นไม้ในบริเวณวัดและรอบๆบ้าน (ที่ เรียกว่าข้าวประดับดินคงเป็นเพราะเอาห่อข้าวและเครื่องเคียงไปวางไว้บนดิน) เพื่อให้ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วหรือผีบ้านผีเรือนมากิน

    เพราะเชื่อว่าในช่วงเดือนเก้านี้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วจะได้รับการปลดปล่อยให้ ออกมาท่องเที่ยวได้ ในพิธีบุญข้าวประดับดินชาวบ้านจะวางข้าวประดับดินไว้ พร้อมจุดเทียนบอกกล่าว(บางคนก็จะร้องบอกเฉย) ให้มารับเอาอาหารและผลบุญนี้(การออกไปวางข้าวประดับดินจะออกไปวางตอนเช้ามืด ประมาณตี 2 ตี 3) จากนั้น ชาวบ้านจะนำเอาอาหารและสิ่งของไปทำบุญตักบาตรถวายทานแด่พระภิกษุ สามเณร ในพิธีจะมีการสมาทานศีลฟังเทศน์และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ที่ล่วงลับ ไปแล้ว
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]

    เดือนสิบ-บุญข้าวสาก

    เป็น การทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย โดยจะมีการทำสลากให้พระจับเพื่อที่จะได้ถวายของตามสลากนั้นเป็นการทำบุญที่ ต่อเนื่องจากพิธีบุญข้าวประดับดินในเดือน 9 เพราะถือว่าเป็นการส่งเปรตหรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่ได้ออกมาท่องเที่ยวให้กลับสู่แดนของตนในเดือน 10 นี้

    ชาวบ้านจะนำข้าวปลาอาหารและสิ่งของไปทำบุญที่วัดในตอนเช้า โดยนำห่อข้าวสาก(เหมือนกับห่อข้าวประดับดิน) ไปวางไว้บริเวณวัดพร้อมจุดเทียนและบอกให้ญาติมิตรผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว มารับอาหารและผลบุญที่อุทิศให้ มีการฟังเทศน์ฉลองข้าวสากและกรวดน้ำไปให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ชาวบ้านจะนำเอาข้าวสากที่พระสวดเสร็จแล้ว กลับไปที่บ้านด้วยโดยเอาไปวางไว้ตามทุ่งนาและรอบๆบ้านเพื่อให้ผีบ้านผีเรือน เจ้าที่เจ้าทางหรือผีที่ไร้ญาติขาดมิตรได้มารับส่วนบุญ
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    เดือนสิบเอ็ด-บุญออกพรรษา

    บุญ ออกพรรษาจัดทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นการทำบุญที่สืบเนื่องมาจากบุญเข้าพรรษาในเดือน 8 ที่พระภิกษุสามเณรได้เข้าพรรษา เป็นเวลานานถึง 3 เดือน ดังนั้นในวันที่ครบกำหนด พระภิกษุสามเณรเหล่านั้นจะมารวมกันทำพิธีออกวัสสาปวารณา คือเปิดโอกาสให้มีการว่ากล่าวตักเตือนกันได้

    วันนี้จะเป็นวันที่พระภิกษุสามเณรจะได้มีโอกาสมาชุมนุมกันอย่างพร้อมเพรียง ที่วัด ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นวันสำคัญ และเป็นระยะที่ชาวบ้านหมดภาระในการทำไร่ทำนาอากาศ ในช่วงนี้จะเย็นสบายจึงถือโอกาสมาร่วมกันทำบุญ มีการตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ รับศีลสวดมนต์ฟังเทศน์และถวายผ้าจำนำพรรษา ตอนค่ำจะมีการจุดประทีปโคมไฟในบริเวณวัดและหน้าบ้าน

    บางท้องถิ่นจะมีการถวายปราสาทผึ้ง หรือต้นผาสาดเผิ้ง(สำเนียงอีสาน)เพื่อเป็นพุทธบูชา จังหวัดที่มีงานบุญถวายปราสาทผึ้งที่ยิ่งใหญ่คือ จังหวัดสกลนคร จะมีขบวนแห่ปราสาทผึ้งซึ่งเป็นปราสาทจำลองที่แกะสลักอย่างวิจิตรบรรจงมาจาก ขี้ผึ้ง(คล้ายๆเทียน) ไปรอบๆตัวเมืองให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ชมความงดงาม บางท้องถิ่นที่อยู่ใกล้บริเวณแม่น้ำจะมีการแข่งเรือเพื่อความสนุกสนานและ สามัคคีร่วมกันในตอนกลางวัน ส่วนในตอนกลางคืนจะมีการไหลเรือไฟ(ฮ่องเฮือไฟ) เพื่อเป็นการบูชาคารวะพระ
     
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]

    เดือนสิบสอง-บุญกฐิน

    บุญ กฐินเป็นการถวายผ้าจีวรแด่พระสงฆ์ซึ่งจำพรรษาแล้ว เริ่มตั้งแต่ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน12 มูล เหตุที่มีการทำบุญกฐินนั้นมีเรื่องเล่าว่า มีพระภิกษุจำนวนหนึ่ง ได้เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า โดยระหว่างการเดินทางนั้นเป็นช่วงฝนตก และระยะทางไกลจึงทำให้ผ้าจีวรของพระภิกษุเหล่านั้นเปียกน้ำเปรอะเปื้อนโคลน ไม่สามารถหาผ้าผลัดเปลี่ยนได้

    พระพุทธเจ้าได้เห็นถึงความยากลำบากนั้น จึงมีพุทธบัญญัติให้ภิกษุแสวงหาผ้าและรับผ้ากฐินได้ตามกำหนด ชาวบ้านจึงได้จัดผ้าจีวรนำมาถวายพระภิกษุในช่วงเวลาดังกล่าวจนกลายเป็น ประเพณีทำบุญกฐินมาจวบจนปัจุบัน ก่อนการทำบุญกฐินเจ้าภาพจะต้องจองวัดและกำหนดวันทอดกฐินล่วงหน้า มีการเตรียมผ้าไตรจีวรพร้อมเครื่องอัฐบริขารและเครื่องไทยทาน มีการบอกบุญแก่ญาติมิตร ตอนเช้าในพิธีจะแห่ขบวนกฐินเพื่อนำไปทอดที่วัดและแห่กฐินเวียนประทักษิณ 3 รอบจึงทำพิธี ถวายผ้ากฐิน

    นอกจากนี้อาจมีการทำบุญจุลกฐิน(กฐินแล่นซึ่งเป็นการทำผ้าไตรจีวรจากปุยฝ้าย แล้วนำไปทอดให้เสร็จ ภายใน24ชั่วโมง นับแต่เวลาเริ่มทำเพราะเชื่อว่าจะได้บุญมาก) ปัจจุบันชาวอีสานที่ไปทำมาหากินต่างถิ่น มักจะรวมตัวกันตั้งกองกฐินเพื่อนำกลับไปถวายที่วัดในหมู่บ้านตนเอง ซึ่งนอกจากจะเป็นการทำบุญแล้ว ยังได้กลับไปเยี่ยมครอบครัวและญาติมิตรด้วย
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    คองสิบสี่

    คองสิบสี่หมายถึงครองธรรม 14 อย่าง เป็นกรอบหรือแนวทางที่ใช้ปฏิบัติระหว่างกันของผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครองพระสงฆ์และระหว่างบุคคลทั่วไป เพื่อความสงบสุขร่มเย็นของบ้านเมือง คลองสิบสี่มีหลายแบบหลายประเภท พอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้

    คองสิบสี่แบบที่ 1 -กล่าวถึงผู้เกี่ยวข้องกับครอบครัวในสังคมตลอดจนผู้มี่หน้าที่ปกครองบ้านเมือง

    คองสิบสี่แบบที่ 2-กล่าวถึงหลักการที่พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติในการปกคลองบ้านเมืองและข้อที่ประชาชนควรปฏิบัติต่อพระมหากษัตริย์และจารีตประเพณีที่พึงปฏิบัติให้บ้านเมืองสงบสุข

    คองสิบสี่แบบที่ 3กล่าวถึงธรรมที่พระราชาพึงยึดถือปฏิบัติและเน้นหนักให้ประชาชนปฏิบัติตามจารีตประเพณีและข้อที่คนในครอบครัวพึงปฏิบัติต่อกัน

    คองสิบสี่แบบที่4 กล่าวถึงไปแนวทางฮีตบ้านคลองเมืองคือการดำเนินการปกครองบ้านเมืองเพื่อให้บ้านเมืองอยู่เป็นสุขและปฏิบัติตามประเพณีคองสิบสี่ สำหรับพระสงฆ์คองสิบสี่สำหรับนักปกครองคองสิบสี่สำหรับ ประชาชนเพิ่มเติมคลอง(ครรลอง) คือแบบแผนหรือแนวทางดำเนินชีวิตคล้ายๆ กับคำฝรั่งหนึ่งว่า"Way of life"แต่คลองในที่นี้มุ่งไปทางศีลธรรมประเพณีที่ถูกผิดมากกว่าด้านอาชีพ

    เห็นจะตรงกับภาคกลางว่าทำนองคลองธรรมนั่นเองแต่ชาวอีสานออกเสียงคลองเป็นคองไม่มีกล้ำ เช่นว่าถ้าทำไม่ถูกผู้ใหญ่ท่านจะเตือนว่า "เฮ็ดบ่แม่นคอง" หรือว่า "เฮ็ดให้ถือ ฮีตถือคอง" เป็นต้นฉบับของท่านเจ้าพระอริยานุวัตร มีคำฮีตนำหน้าด้วยคือ........
     
  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    1. ฮีตเจ้าคลองขุน เป็นหลักสำหรับผู้ปกครองในสมัยโบราณ ขุนก็คือเจ้าเมือง เช่น ขุนเบฮมขุนลอ ขุนทึงเป็นต้น(ภาคกลางก็มีเช่นพ่อขุนรามคำแหง)

    2. ฮีตท้าวคลองเพีย (เจ้าปกครองขุน)

    3. ฮีตไพร่คลองนาย (ไพร่ปฎิบัติต่อนาย)

    4. ฮีตบ้านคลองเมือง (ประเพณีของบ้านเมือง)

    5. ฮีตปู่คลองย่า

    6. ฮีตตาคลองยาย

    7. ฮีตพ่อคลองแม่ (พรหมวิหารธรรม)

    8. ฮีตไภ้คลองเขย (หลักปฎิบัติของลูกสะใภ้ลูกเขย)

    9. ฮีตป้าคลองลุง

    10. ฮีตลูกคลองหลาน

    11. ฮีตเถ้าคลองแก่ (ธรรมของผู้ชายที่มีต่อเด็ก)

    12. ฮีตปีคลองเดือน (คือฮีตสิบสองนั่นเอง)

    13. ฮีตไฮ่คลองนา

    14. ฮีตวัดคลองสงฆ์
     
  19. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เรื่องของ'ธูป'กลิ่นควันที่เป็นตำนาน

    ’ธูป“ เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตผู้คนในเมืองไทยมาช้านาน

    จวบจนยุคปัจจุบันความสำคัญของ ’ธูป“ ก็ยังคงอยู่

    อย่างไรก็ตาม ในการใช้ธูปของผู้คนในเมืองไทยนั้น จะยึดโยงอยู่กับคติความเชื่อ และมีหลักปฏิบัติในการใช้ ซึ่งก็อาจแตกต่างกันได้ตามแต่หลักความเชื่อ ซึ่งสำหรับคนรุ่นใหม่ ๆ บางคนก็อาจไม่ทราบ หรือสับสน

    ทั้งนี้ ว่ากันในทางพระพุทธศาสนา จากชุดข้อมูลที่อ้างอิงหนังสือ ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ โดยพระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน) กับเนื้อหาที่เกี่ยวกับเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย บางช่วงบางตอนสรุปได้ว่า...ธูปนั้น สำหรับการบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นิยมจุดบูชาครั้งละ 3 ดอก เป็นอย่างน้อย ซึ่งเป็นการจุดเพื่อ บูชาพระพุทธคุณ 3 ประการ คือ 1. พระปัญญาธิคุณ 2. พระบริสุทธิคุณ 3. พระมหากรุณาธิคุณ

    แต่บางท่านก็อธิบายความมุ่งหมายแตกต่างออกไปว่า ธูป 3 ดอกนั้น เพื่อ บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 3 ประเภท คือ 1. อดีตสัมพุทธะ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต 2. ปัจจุบันสัมพุทธะ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจจุบัน 3. อนาคตสัมพุทธะ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอนาคต

    ธูป สำหรับจุดบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น นิยมใช้ธูปมีกลิ่นหอม โดยมีความมุ่งหมายว่า ธรรมดากลิ่นธูปนี้เป็นกลิ่นหอมที่อัศจรรย์กว่ากลิ่นหอมต่าง ๆ ที่ชาวโลกนิยมใช้กัน กลิ่นหอมที่ชาวโลกนิยมใช้กันอยู่ทุกชนิดเมื่อบุคคลได้สูดดมกลิ่นแล้วเป็นเหตุทำให้กิเลสฟูตัวขึ้น จิตใจฟุ้งซ่าน ไม่สงบ ส่วนกลิ่นหอมของธูปนั้น เมื่อบุคคลได้สูดกลิ่นแล้วเป็นเหตุทำให้กิเลสยุบตัวลง

    ก็เป็นข้อมูลในทางพระพุทธศาสนา...เกี่ยวกับ “ธูป”

    ขณะที่ในวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุถึง “ธูป” ว่า...เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องสักการบูชามาช้านาน ในอดีตธูปทำจากเนื้อไม้หอมหลายชนิด เช่น ไม้จันทน์ขาว จันทน์เทศ กำยาน ไม้กฤษณา กันเกรา หรือต้นบง หรือโกวบั๊วะ (ผสมน้ำเพื่อให้เนื้อผงธูปเหนียวพอจะฟั่นเป็นธูปได้) โดยบดเนื้อไม้ให้เป็นผงละเอียดใช้เป็นวัตถุดิบในการทำธูป ทั้งนี้ ธูปไทยในอดีตที่ผลิตจากไม้หอม มีลักษณะคล้ายธูปจีนโบราณ (วัฒนธรรมและการทำธูปในไทย สืบทอดจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการค้าในอดีต) ควันธูปค่อนข้างละเอียด ไม่ระคายเคืองจมูกและตา

    ปัจจุบัน ผู้ผลิตธูปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนมาใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแทน เนื่องจากมีราคาถูกกว่าไม้หอมต่าง ๆ และมีสีขาวนวลเหมือนไม้จันทน์ขาว โดยผสมน้ำหอม เมื่อจุดจะให้ควันและกลิ่นที่หอม เรียกว่า “ธูปหอม”

    ในวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ยังระบุไว้อีกว่า...ลักษณะของธูปบูชาพระ ปกติมีความยาว 13 นิ้วโดยประมาณ ก้านธูปชุบสีแดง ตัวธูปสีขาวนวล เวลาจุดประมาณ 40-45 นาที นอกจากนี้ยังมีธูปหอมที่เป็นสีประจำวัน มี 7 วัน 8 สี ตามความเชื่อของพราหมณ์ คือ วันอาทิตย์ สีแดง, วันจันทร์ สีเหลือง, วันอังคาร สีชมพู, วันพุธ (กลางวัน) สีเขียว วันพุธ (กลางคืน) สีดำ (ราหู), วันพฤหัสบดี สีส้ม, วันศุกร์ สีฟ้า และวันเสาร์ สีม่วง

    กับเรื่อง ’สีธูป“ นั้น จากบางกระทู้ในเว็บบอร์ด tourthai.com ว่าไว้ว่า...การจุดธูปสีเพื่อการบูชานั้น ก็จะมีความเชื่อเฉพาะ เช่น องค์ เสด็จพ่อ ร.5 มีความเชื่อว่าต้องบูชาด้วยธูปสีชมพู, พระพิฆเนศ เชื่อกันว่าต้องบูชาด้วยธูปสีแดงหรือดำ เป็นต้น และกับธูปสีดำนั้น ข้อมูล บางแหล่งก็ระบุว่าสำหรับใช้จุดบูชาราหู โดยเฉพาะ

    นอกจากนี้ “จำนวนธูป” ที่ใช้ ก็มีความเชื่อ-มีหลายชุดข้อมูล ซึ่งบางส่วนก็ตรงกัน บางส่วนก็แตกต่างกัน ยกตัวอย่างข้อมูลจากบางกระทู้ในเว็บบอร์ด tourthai.com ระบุไว้ว่า...
    ธูป 1 ดอก ใช้ไหว้ศพ เจ้าที่ วิญญาณธรรมดาที่ไม่ได้เป็นชั้นเทพ,

    2 ดอก ใช้บูชาเจ้าที่,

    3 ดอก ใช้บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์,

    5 ดอก ใช้บูชาพระรัตนตรัย บูชาองค์เสด็จพ่อ ร.5 ธาตุทั้งห้า หรือทิศทั้งห้า พระภูมิ,

    7 ดอก ใช้ไหว้พระพรหม บูชาพระอาทิตย์ ถือคติคุ้มครองทั้ง 7 วันในสัปดาห์,

    8 ดอก บูชาเทพเจ้าของชาวฮินดู,

    9 ดอก บูชาแก้ว 9 ประการ พระพุทธคุณทั้ง 9 และพระเทพารักษ์,

    10 ดอก ใช้บูชาเจ้าที่ ตามความเชื่อของชาวจีนบางกลุ่ม,

    12 ดอก บูชาเจ้าแม่กวนอิม บูชาพระคุณของแม่,

    16 ดอก บูชาเทพชั้นครู หรือใช้ในพิธีกลางแจ้งที่มีการอัญเชิญเทวดา ที่สำคัญหมายถึงสวรรค์ 16 ชั้น,

    19 ดอก บูชาเทวดาทั้ง 10 ทิศ, 21 ดอก บูชาพระคุณของพ่อ,

    ธูป 32 ดอก ใช้สวดชุมนุมเทวดาทั้ง4 ทิศ

    ทั้งนี้ แค่ตัวอย่างเกี่ยวกับ ’ธูป“ ที่ยกมาข้างต้น ก็หลากหลายมากแล้ว แต่เอาเข้าจริงยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะแยะเกินจะบรรยาย ได้หมดในพื้นที่จำกัด ซึ่งก็สุดแท้แต่คติความเชื่อของแต่ละกลุ่มคน-แต่ละคน

    ที่แน่ ๆ คือ ’ธูป“ นั้นก็เป็นอะไรที่ ’ไม่ธรรมดา“ เลย

    เบื้องหลังกลิ่นควันธูปที่อบอวลแฝงไว้ด้วยเรื่องราว

    ตั้งแต่เรื่องใต้พิภพ...บนดิน...ถึงสวรรค์ชั้นฟ้า!?!?!.

    ที่มา : เรื่องของ'ธูป'กลิ่นควันที่เป็นตำนานและจำนวนธูปที่ใช้บูชา
     

แชร์หน้านี้

Loading...