ติดสมาธิเป็นสมุทัย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 1 มิถุนายน 2013.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    นี่ละพ่อแม่ครูจารย์สอนตรงไหน ๆ นี้แหม ไม่มีผิดเลย คำว่ามันหลงสังขาร ท่านพูดกลาง ๆ นะมันหลงสังขาร สมาธิหมูขึ้นเขียงเหมือนกัน เวลาเรามาจาระไนออกทีหลังนี้ โถ ท่านสอนเราไม่ค่อยจะสอนจะแจ้งไปนะ เอามาทั้งดุ้นให้มันไปจาระไนเอง เช่น ไม้ก็เอามาทั้งท่อนเลยให้มันไปเลื่อยเองพูดง่าย ๆ อะไรก็โยนตูมมาให้เลยให้ไปจาระไนเอง อันนี้ก็เหมือนกัน สมาธิหมูขึ้นเขียง สมาธิทั้งแท่งมันเป็นสมุทัยทั้งแท่ง นั่นน่ะท่านตีออกหมดเลย ไม่ให้เหลือสมาธิให้มันหาใหม่ ครั้นเวลามารู้ทีหลัง อ๋อ ที่ว่าสมาธิที่เป็นสมุทัยได้นั้นน่ะ เพราะความหลงในสมาธิความติดในสมาธิ แน่ะ เอาแล้วนะรู้แล้ว มันติดในสมาธินี้เองเป็นสมุทัย

    ท่านไม่ได้ว่าสมาธิเป็นสมุทัย ความหลงในสมาธิต่างหากเป็นสมุทัย มันแยกของมันเองนะ ยอมท่าน ทีนี้ยอมเอง พอเราพิจารณา อ๋อ ท่านพูดอย่างนั้นเอง ความติดในสมาธิต่างหากเป็นสมุทัย ไม่ใช่สมาธิเป็นสมุทัย แต่ท่านเพื่อจะดัดสันดานเราคนเก่ง ท่านก็ฟาดหมด ยกทิ้งเข้าป่าหมดเลย สมาธิให้มันหาใหม่ ทีนี้เรื่องปัญญาก็อีกเหมือนกัน ปัญญานั่นมันหลงสังขาร ๆ เวลาพิจารณาเต็มเหนี่ยว มันย้อนเข้ามาชะมาล้างมาทบมาทวน โอ๋ย เข้ากันได้ปั๊บเลย อ๋อ ที่ท่านว่ามันหลงสังขาร คือใช้ปัญญาก็ใช้สังขาร คือความคิดนี้เอง กิเลสมันก็เป็นความคิดเป็นสมุทัย ธรรมก็เอาความคิดนี้เป็นมรรค คือคิดทางด้านสติปัญญาเรียกว่ามรรค ความคิดทางด้านกิเลสก็เป็นกิเลสเป็นสมุทัยไป ท่านว่ามันหลงสังขาร

    สังขารตีไปได้สองอย่างเข้าใจไหมล่ะ ตีไปทางมรรคก็ได้ ตีไปทางสมุทัยก็ได้ นี่ละมันเลยเถิดมันไปทางสมุทัย สมุทัยแทรกแล้ว ๆ ความหมายว่างั้น ปัญญาถูกสมุทัยแทรกแล้ว ท่านว่ามันหลงสังขาร เวลามันพิจารณาเต็มเหนี่ยวมันแยกของมันเอง อ๋อเป็นอย่างงี้ ๆ เราจึงไม่ลืม กับพ่อแม่ครูจารย์นี้ไม่เคยบอกละเอียดลออ คือถ้าไม้ก็ไม้ทั้งท่อนมาโยนตูมให้เลย ๆ ทุกอย่าง แล้วค่อยเจียระไนตามหลัง ๆ เป็นอย่างงั้นนะ

    เวลามันเปิดของมันนี้ โถ เปิดจริง ๆ สติปัญญา รู้ทั้งเรื่องละกิเลส รู้ทั้งสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่กำลังก้าวเดินฟัดกับกิเลสอยู่นั้น สิ่งที่จะรู้มันพาดพิงถึงกันมันก็รู้ของมัน ตัวสำคัญคือกิเลสมันก็หมุนใส่กิเลส ทีนี้สิ่งที่มันกระจายที่จะไม่ให้มันรู้มันเห็นได้ยังไง มันสัมผัสกันอยู่นี้มันรู้อยู่นี้ แต่ไม่ถือเป็นสำคัญยิ่งกว่าการฆ่ากิเลส เพราะกิเลสเป็นตัวข้าศึกโดยตรง มันจะหมุนอยู่นี้ แต่จะอดให้มันรู้ในสิ่งนั้นสิ่งนี้ไม่ได้นะมันรู้ เป็นแต่เพียงว่าเราไม่เป็นอารมณ์กับมันมากยิ่งกว่าอารมณ์ที่จะฆ่ากิเลส ทีนี้เวลาฟาดอันนี้เต็มเหนี่ยวแล้วมันจะปิดได้ยังไงพูดง่าย ๆ มันจ้าไปหมดแล้วปิดได้ยังไง ตั้งแต่กำลังฆ่ากิเลสอยู่มันยังรู้นี่สิ่งภายนอกที่มันเกี่ยวข้อง แต่ไม่ใช่ตัวกิเลสนะสิ่งที่ว่า เช่น ต้นเสานี้ไม่ใช่กิเลส มันก็รู้ว่าต้นเสา แต่มันยังไม่สนใจนะ ต้องฟัดกับตัวที่เป็นข้าศึกอยู่ในหัวใจออกแล้ว อะไร ๆ อยู่ที่ไหนมันก็รู้หมดล่ะซี นั่นมันเป็นอย่างงั้นนะ

    เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด
    เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
    ติดสมาธิเป็นสมุทัย
    (คัดลอกมาบางส่วน)

    Luangta.Com -
     
  2. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    อย่าติดในแพ แต่ต้องมีแพ
     
  3. namotussa

    namotussa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,470
    คงเหมือนน้ำกลิ้งบนใบบอน หรือปลาอยู่ในน้ำแต่ไม่ติดน้ำ นกอยู่บนฟ้าแต่ไม่ติดฟ้า มีแต่คนเท่านั้นที่อยู่ในสมาธิแต่ไปติดสมาธิ นับเป็นสมุทัย หรือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์จริงๆ
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    “การปฏิบัตินี้เป็นทางที่จะเห็นทางพาให้พ้นทุกข์ คือมรรค ๘
    มรรค ๘ ข้อต้นนั้น ได้แก่สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เห็นชอบ เห็นอะไร เห็นอริยสัจ ๔
    อริยสัจ ๔ คืออะไร คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    มรรคคือ มรรค ๘ ฉะนั้นเมื่อปฏิบัติสัมมาทิฏฐิข้อเดียว จึงเท่ากับปฏิบัติทั้งหมด ๘
    ทุกข์คืออะไร คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ใครคือผู้เกิดผู้ตาย ร่างกายของเรานี้
    ฉะนั้นร่างกายของเรานี้จึงเป็นตัวทุกข์ เพราะจิตเข้าไปยึดมั่น

    การบำเพ็ญจิตให้สงบจนเกิดกำลังแล้ว ก็ไม่ควรที่จะทำความสงบอย่างเดียว
    เพราะถ้าทำแต่ความสงบไม่พิจารณาทุกขสัจจ์ ก็จะเป็นเฉพาะฌาน ก็จะเป็นมิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิผิดไม่พ้นทุกข์
    ต้องพิจารณาทุกข์จึงจะพ้นทุกข์ คือต้องใช้กระแสจิตที่เป็นกำลังอันเกิดจากความสงบนั้นมาพิจารณา
    เพราะกระแสจิตนี้ได้รับการอบรมจากสมาธิแล้วเป็นกำลังมหาศาล
    ซึ่งไม่ควรนำไปใช้ทางอื่นเสีย ควรใช้พิจารณาตัวทุกข์ คือร่างกายนี้ให้เห็นชัดเจนจนกระทั่งเกิดนิพพิทาญาณ
    ความเบื่อหน่าย เจริญให้มาก กระทำให้มาก ญาณเกิดขึ้นจนกว่าจะแก่รอบ"


    ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฉบับสมบูรณ์
    พระญาณวิริยาจารย์ (พระอาจารย์วิริยังค์)
    เจ้าอาวาส วัดธรรมมงคล แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-mun/lp-mun-hist-03-01.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...