>>> อวดรู้ (รู้แล้วได้อะไร) <<<

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 19 กรกฎาคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อานิสงส์ถวายสัพพทาน

    ที่มา : การจุดธูปเทียน บูชา พระ มีประวัติมาอย่างไร ใครพอทราบบ้างคะ

    ...... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานของสัปบุรุษเหล่านี้ ๘ อย่าง คือ
    ๑. ให้ของที่สะอาด
    ๒. ให้ของประณีต
    ๓. ให้ถูกกาล
    ๔. ให้ของที่สมควร
    ๕. เลือกให้
    ๖. ให้เสมอ ๆ
    ๗. กำลังให้ยังจิตให้เลื่อมใส
    ๘. ครั้นให้แล้วปลื้มใจ
    สัปปุริสทาน ๘ อย่างนี้ประเสริฐยิ่งนักหนา
    ในกาลครั้งนั้น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็สถิตสำราญอยู่ในป่าเชตวันอันเป็นอารามของนายอนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีอยู่ในที่ใกล้ ๆ นครสาวัตถี

    ในกาลครั้งนั้นมีพระยาองค์หนึ่ง ชื่อ มหานามะ ก็เอา ประธูปประทีปคันธรสของหอมแล้วพาหมู่บริวารทั้งหลายเข้าไปสู่ที่เฝ้าพระสัพพัญญูเจ้า แล้วก็นั่งในที่ควรแห่งหนึ่ง จึงทูลถามพระสัพพัญญูเจ้าว่า “ภนฺเต ภควา” ข้าแต่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าบุคคลผู้ใดเลื่อมใสศรัทธา มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิด ก็จักมีอานิสงส์ดังรือพระเจ้าข้า “ภควา” อันว่าองค์

    ... สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าจึงเทศนาว่า ดูกรมหาบพิตร นรชนหญิงชายทั้งหลายมีใจเลื่อมใสศรัทธามาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิดเป็นต้นว่า

    สร้างพระพุทธรูปก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
    สร้างพระไตรปิฏกธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ได้อานิสงส์ ๑๐ กัลป
    ผู้ใดได้บวชตนเป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๒ กัลป
    ผู้ไดได้บวชตนเป็นพระภิกษุ ก็จักได้ อานิสงส์ ๒๔ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างพระธาตุเจดีย์ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
    ผู้ใดได้ปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป

    ผู้ใดให้โภชะนังยังข้าวน้ำ โภชนะอาหารให้เป็นทานแก่ภิกษุสามเณร ก็จักได้บริวารแสนหนึ่ง
    ผู้ใดได้สร้างเจดีย์ทรายก็จักได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป
    ผู้ใดสร้างกุฏีให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
    ผู้ใดสร้างอุโบสถให้เป็น ทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
    ผู้ใดสร้างกฐินให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
    ผู้ใดสร้างอารามให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐กัลป
    ผู้ใดสร้างพัทธสีมาให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๑๐๐ กัลป
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ผู้ใดได้บวชบุรุษผู้อื่นให้เป็นพระภิกษุก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป
    บวชบุตรตนเองให้เป็นภิกษุ ก็จะได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
    สามีบวชภรรยาให้เป็นภิกษุณี ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป

    ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวเปลือกให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๑ กัลป
    ผู้ใดสร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวสารให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๔๒ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุเหลือให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
    ผู้ใดสร้างรั้วล้อมอาราม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดปัดกวาดขยะมูลฝอยถอนเสียจากเขตอารามได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดสร้างศาลาสะพานบ่อน้ำให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๐ กัลป

    ผู้ใดได้ถวายดอกไม้ธูปเทียนได้อานิสงส์ ๘ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างอัฏฐให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๖ กัลป
    ผู้ใดได้ถวายจีวรเถราภิเษก ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
    ผู้ใดถวายผ้าป่าได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
    ผู้ใดให้ฝาผนังและเพดานเป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป

    ผู้ใดสร้างธงฝ้าย ธงผึ้ง ธงชัย ธงชาย ธงเหล็ก บูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
    ผู้ใดสร้างขันหมากเบ็งบูชาระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดถวายซึ่งข้าวพันก้อนบูชาพระรัตนตรัยได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดถวายผ้าอาบน้ำฝน และผ้าจำนำพรรษา ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดสร้างปราสาทดอกผึ้งให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๓ กัลป
    ผู้ใดสร้างต้นกัลปพฤกษ์ให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์

    ผู้ใดสร้าง ฆ้อง กลอง แคน ซอ หอยสังข์ ปี่ แตร แตรวง ดนตรีให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป
    ผู้ใดได้ถวายเสื่อสาดอาสนะได้อานิสงส์ ๔ กัลป
    ผู้ใดถวายเตียงเก้าอี้ฟูกเบาะให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดได้ปลูกกุฏีกรรมให้พระภิกษุเข้าปริวาสกรรม และมานัตตกรรม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างบั้งไฟจุดบูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๔ กัลป ผู้ได้สร้างพัทธสีมาน้ำได้อานิสงส์ ๖๗ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างธรรมาสน์ ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป ผู้ใดได้สร้างเวจกุฏี ได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป

    ผู้ใดได้เผาซากศพที่ตกเรี่ยราดอยู่ตามป่าตามดง ได้บริวารหมื่นหนึ่ง
    ผู้ใดได้เผาศพญาติมิตรสหาย ได้บริวาร ๓ หมื่น
    ผู้ใดได้เผาศพบิดามารดาได้บริวารหนึ่งแสน
    ผู้ใดได้เผาศพอุปัชฌาย์อาจารย์ ได้บริวารโกฏิหนึ่ง
    ผู้ใดได้ถวายโอ่งน้ำ และส้วมอาบน้ำ และครุตักน้ำก็ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สัพพทานทั้งหลายชนิดเหล่านี้บุคคลผู้ใดมีศรัทธากล้าหาญอาจสละสมบัติออกสร้างวัตถุประสงค์ ดังแสดงมานี้ ก็มีอานิสงส์ผลบุญพูนสุขในชั่วนี้และชั่วหน้า

    อานิสงส์ที่ได้ปัจจุบันนี้คือ จะไปมาทางใดก็มีคนนับหน้าถือตาไม่ได้เป็นที่รังเกียจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีแต่ผู้อยากให้ร่วมกินร่วมอยู่ทั้งนั้น เราจะเข้าไปสู่สมาคมใด ๆ ก็ไม่ครั้นคร้ามสยดสยองเกรงกลัวต่ออำนาจผู้ใด การทำมาหากินก็สมความมุ่งมาตรปรารถนาสมประสงค์

    ครั้นสิ้นบุพพกรรมมนุษย์ในโลกนี้แล้ว ก็จะถือเอาตนเมื่ออุบัติขึ้นบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสายามาตุสิตาโดยลำดับ จนถึงพรหมโลก ครั้นจุติจากพรหมโลกลงมาเกิดในมนุษย์โลก ก็ไม่ได้ไปเกิดในหิเนกุลชั่วร้าย และจักได้ไปเกิดในตระกูลท้าวพระยามหากษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งครั่งมั่งมีเศรษฐีกฎุมพีแล้วก็จักได้ทัวระวัดไปมาบารมีแก่กล้า ก็จะได้บ่ายหน้าเข้าสู่เมืองแก้วนิรพาน

    พอจบธรรมเทศนาแห่งองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าลง สมเด็จพระเจ้ามหานามะ ก็ได้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมณ์ สามส่วนบริษัททั้งหลาย ก็ได้ถึงโสดาสกิทาคา อนาคา อรหันต์
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เรื่องของ..."เขา"

    เขาพระสุเมรุ

    สุเมรุ, เขาพระ (เขาสิเนรุ) พญาเขาสูงใหญ่กว่าเขาทั้งปวง เรียกว่า ผาหลวง ตอนยอดเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่พระอินทร์อยู่ เหนือขึ้นไปมีสวรรค์อีกหลายชั้น แล้วจึงถึงพรหมโลก เขาพระสุเมรุมีสีทองจึงเรียกว่า เหมทรี (ภูเขาทอง)

    ต้นเขามีเขาตรีกูฎสามยอดรองรับดังคีมคีบเขาตรีกูฎเรียกว่า ผาสามเส้า ใต้เขาพระสุเมรุเป็นนรก เขาพระสุเมรุตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล ลึกหยั่งลงในสีทันดรมหาสมุทรถึงเขาตรีกูฎ ๘๔,ooo โยชน์ สูงพ้นน้ำถึงยอด ๘๔,ooo โยชน์ วัดรอบได้ ๒๕๒,ooo โยชน์ มีสัณฐานเหมือนตะโพน ล้วนแล้วด้วยแก้วงามวิจิตรส่งรัศมีต่างๆ

    คือ ทิศประจิม แล้วด้วยเงินรัศมีแผ่คลุมน้ำในมหาสมุทร มีสีขาวบริสุทธิ์ดุจนมสด มหาสมุทรทิศนี้จึงชื่อ ขีรสาคร หรือเกษียรสมุทร

    ทิศทักษิณแล้วด้วยแก้วอินทนิลรัศมีแผ่คลุมน้ำในมหาสมุทร มีสีเขียว มหาสมุทรทิศนี้จึงชื่อ นีสาคร ทิศปัจฉิมแล้วด้วย แก้วผลึก รัศมีแผ่คลุมน้ำในมหาสมุทรสีสดใสเหมือนแก้วผลึก มหาสมุทรทิศนี้จึงชื่อ ผลึกสาคร

    ทิศอุดรแล้วด้วยทอง รัศมีแผ่ซ่านคลุมน้ำในมหาสมุทรมีสีเหลืองดุจทอง มหาสมุทรทิศนี้จึงชื่อว่า ปืตสาคร รัศมีของเขาพระสุเมรุนั้นยังแผ่คลุมพฤกษาประดามีในทิศนั้นด้วย คือ รัศมีเงินกับแก้วอินทนิลกลมกลืนเป็นสองสีซ่านไปใน

    ทิศอาคเนย์ถึงเขาจักรวาล รัศมีแก้วอินทนิลกับแก้วผลึกกลมกลืนเป็นสองสีแผ่ซ่านไปในทิศหรดีตลอดถึงเขาจักรวาล รัศมีเงินกับทองกลมกลืนเป็นสองสีแผ่ซ่านไปในทิศอีสานตลอดถึงเขาจักรวาล

    เขาพระสุเมรุนี้มีเขาสัตบริภัณฑ์ (ภูเขา ๗ ลูก) ล้อมอยู่โดยรอบ เป็นชั้นๆ ระหว่างเขาพระสุเมรุกับเขาสัตบริภัณฑ์ทั้ง ๗ เป็นมหาสมุทรทั้ง ๗ เรียกว่า สีทันดร

    " เคยฝันว่าเหาะขึ้นไป สูงขึ้นๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็ได้เจอภูเขาสูง สูงมากๆ ไม่เคยเจอมาก่อน เพราะว่ามีลักษณะเป็นเขาสูงมียอดแหลม ก็เลยอยากรู้ว่าบนยอดเขามีอะไร กำลังเหาะให้สูงขึ้นไปที่ยอดนั้น พลัน ปรากฏร่างของภิกษุณีห่มจีวรสีน้ำตาลแดง คล้ายเป็นสีแดงเลือดหมู จีวรที่สวมใส่เหมือนเป็นผ้าทิพย์ มีเลื่อมลายระยิบระยับของทองในเนื้อผ้านั้น มีประคดสีดำคาดเอว แต่ภิกษุณีไว้ผมยาว เหาะลงมาจากยอดเขา ขวางหน้าไว้โดยยืนอยู่กลางอากาศ พร้อมทั้งยิ้มและยกมือขวาขึ้นในท่าประทานพร ท่านเหาะลงมารวดเร็วมาก เห็นแต่แสงสีขาวเป็นทางลงมา .... ก็เลยอดรู้เลยว่าบนยอดเขามีอะไรค่ะ "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2013
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เขาไกรลาส

    ไกรลาส, เขา (ไกลาส) ในเทวนิยายเป็นภูเขาในเทือกเขาหิมาลัย เหนือทะเลสาปมานัสสโรวระราว ๔o กม. สูง ๖๖,ooo ม. ยอดน้ำสินธุและพรหมบุตรเกิดมาแต่ภูเขานี้ ศาสนาฮินดูว่าเป็นที่สถิตของพระอิศวร อีกชื่อหนึ่งว่ารัชดาทรี แปลว่าภูเขาเงิน เพราะขาวบริสุทธิ์ด้วยหิมะ ไทยเรียกผาเผือกตามเรื่องรามเกียรติ์ทรุดลงสองครั้ง ครั้งที่หนึ่งเพราะรามสูรจับพระอรชุนฟาด สุครีพกับพาลีช่วยกันดันให้ตั้ตรงได้ ครั้งที่สองวิรุฬหกใช้สังวาลฟาดตุ๊กแกทศกัณฐ์เข้าช่วยดันไว้
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    บุคคลาธิษฐาน และ ธรรมาฐิษฐาน

    ที่มา : http://www.nkgen.com/432.htm

    ในพระสูตร ตลอดจนคำสอนต่างๆในพุทธศาสนานั้น มีการกล่าวถึงและกล่าวสอนทั้งในลักษณะของบุคคลาธิษฐานและแบบธรรมาธิษฐาน เพื่อประโยชน์สุข จักได้ครอบคลุมถึงได้อย่างกว้างขวาง ตามจริต หรืออินทรีย์ ๕ ของแต่ละบุคคล ตลอดจนเพศที่ถือครอง, อันเป็นไปคล้ายดังในพระสูตรที่ชื่อว่าอุปริปัณณาสก์ ที่กล่าวถึงการมีปัญญาเห็นชอบหรือสัมมาทิฏฐิมี ๒ กล่าวคือมีทั้งแบบโลกิยะและโลกุตระนั่นเอง

    บุคคลาธิษฐาน มีความหมายถึง การยกบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนาโดยการยกบุคคลขึ้นตั้งเป็นหลัก คือ วิธีแสดงธรรมโดยยกบุคคลขึ้นกล่าวอ้าง หรือกล่าวอิง

    ธรรมาธิษฐาน หมายถึง มีธรรมเป็นที่ตั้ง คือ เทศนาโดยยกธรรมขึ้นแสดง เช่นว่า ศรัทธา ศีล คืออย่างนี้ ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้เป็นต้น

    ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจกันไว้บ้าง เพื่อประโยชน์ในการโยนิโสมนสิการพิจารณาธรรม ป้องกันความสับสน ตลอดจนทิฏฐุปาทานและสีลพพตุปาทาน จึงควรเข้าใจความหมายเทียบเคียงกัน ในธรรมทั้ง ๒ นี้ไว้บ้าง ก็เพื่อประโยชน์ดังกล่าว ดังเช่น

    อรูปพรหม เป็นบุคคลาธิษฐาน ที่อาจมีความหมายในทางธรรมาธิษฐาน หมายถึง ผู้อยู่ในอรูปฌาน จึงย่อมมีความสุขสงบสบาย ดุจดั่งอรูปพรหมทั้งหลาย

    รูปพรหม เป็นบุคคลาธิษฐาน ที่อาจมีความหมายในทางธรรมาธิษฐาน หมายถึง ผู้อยู่ในรูปฌาน ย่อมมีความสุขสงบสบายดุจดั่งรูปพรหม หรือหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่ในพรหมวิหาร ๔ ซึ่งย่อมได้รับผลตอบแทนหรือเป็นเหตุปัจจัยให้มีความสุขสงบและอิ่มเอิบด้วยอำนาจของความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ดุจเดียวกับพรหม กล่าวคือ เกิดโอปปาติกะขึ้นในพรหมชาติในบัดดลนั้น

    เทวดา เป็นบุคคลาธิษฐาน ที่อาจมีความหมายในทางธรรมาธิษฐานถึง ผู้ทำกรรมดี ผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อยู่ในศีล อยู่ในธรรม จึงย่อมยังเกิดความสุขขึ้นในบันดลนั้นแบบโอปปาติกะก็ได้ คือเกิดความสุข ปีติความอิ่มเอิบกายใจในบัดดลนั้น หรือย่อมได้รับความสุขในภายหน้าเป็นผลตอบแทนตามหลักปฏิจจสมุปบันธรรมนั่นเอง แต่จัดว่าเป็นโลกิยสุข

    สวรรค์ เป็นบุคคลาธิษฐาน ที่กล่าวอ้างสถานที่ อาจมีความหมายในทางธรรมาธิษฐานถึง มีความสุข จึงเป็นไปในลักษณะแบบโอปปาติกะ กล่าวคือ สามารถเกิดขึ้นได้ในบัดดลนั้น ราวกับอยู่ในสรวงสวรรค์ของเหล่าเทวดา เช่น สุขราวกับอยู่ในสรวงสวรรค์

    นรก เป็นบุคคลาธิษฐาน ที่อ้างอิงสถานที่ อาจมีความหมายในทางธรรมาธิษฐานถึง ความทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลน ทุรนทุราย ราวกับอยู่ในนรกภูมิ เป็นไปในลักษณะแบบโอปปาติกะ กล่าวคือ ตกนรกในบัดดล จนได้ยินได้ฟังกันเสมอๆว่า ทุกข์เหมือนอยู่ในนรก
     
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อปริหานิยธรรม

    ที่มา : อปริหานิยธรรม จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net

    สัตตกะ คือ หมวด ๗

    ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว ชื่อว่า อปริหานิยธรรม มี ๗ อย่าง.
    ๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์.
    ๒.เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุมเมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ
    ๓.ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้วสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ตามที่พระองค์บัญญัติไว้.
    ๔. ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุนั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน.
    ๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น.
    ๖. ยินดีในเสนาสนะป่า.
    ๗. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาสขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข.
    ธรรม ๗ อย่างนี้ ตั้งอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นย่อมไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว.


    อปริหานิยธรรม คืออะไร มีกี่อย่าง ?

    คือ ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว มี ๗ อย่าง
    มีอะไรบ้าง และธรรมเหล่านี้ ทำให้ผู้ประพฤติเป็นเช่นไร ?

    มี ๑. หมั่นประชุมกันเนื่องนิตย์
    ๒.เมื่อประชุมกันพร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันช่วยทำกิจที่สงฆ์ต้องทำ
    ๓. ไม่บัญญัติ สิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ตามที่พระองค์ ทรงบัญญัติไว้
    ๔. ภิกษุเหล่าใดเป็นใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุนั้นเชื่อฟัง ถอยคำของท่าน
    ๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น
    ๖. ยินดีในเสนาสนะป่า
    ๗. ตั้งใจอยู่ว่าเพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาสขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข
    ธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นไม่เสื่อมเลย มีแต่เจริญฝ่ายเดียว
    เมื่อนำมาใช้เป็นข้อปฏิบัติของคฤหัสถ์ จะเกิดผลอย่างไร ?

    จะเกิดผล คือ ความสุขความเจริญด้วยประการทั้งปวง
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    หมั่นประชุมกันเป็นนิตย์ หมายความว่าอย่างไร ?

    หมายความว่า หมู่คณะจะเจริญอยู่ได้ ก็อาศัยการติดต่อกัน ไปมาหาสู่กัน รู้ทั่วถึงกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน หรือ เมื่อ มีเรื่องที่จะต้องทำเกิดขึ้น ผู้เป็นใหญ่ในหมู่จะต้องเรียกประชุม ปรึกษาหารือกัน ผู้น้อยที่นับเนื่องในหมู่ ก็ต้องหมั่นเข้าประชุมตามวาระ ที่ถูกเรียกเข้าประชุม หมู่คณะจึงจะมีความเจริญ และพร้อมเพรียงกัน
    การประชุม ทรงอนุญาต คืออะไร อ้างหลักตอบ ?

    คือ การประชุมในทางที่ดีที่ชอบประกอบด้วยสารประโยชน์ เช่น ประชุมกันเพื่อสนทนาธรรมและวินัย เช่นนี้ ทรงอนุญาตไว้ในอปริหานิยธรรม มีอยู่ในลักษณะการตัดสินธรรมวินัย ๘ อย่าง
    การประชุมที่ทรงห้าม คือ อะไร อ้างหลักตอบ ?

    คือ การประชุมด้วยเรื่องอันหาสารประโยชน์มิได้ เช่น คุยกันด้วยติรัจฉานกถา เป็นต้น ทรงห้าม มีอยู่ในลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ อย่าง
    หมั่นประชุมกันเนื่องนิตย์นั้น ในที่นี้หมายเอาการประชุมเช่นไร ?

    หมายเอาเฉพาะการประชุมในทางที่ดีที่ชอบ อันประกอบด้วยสารประโยชน์ เช่นการประชุมสนทนาธรรมวินัย หรือประชุมเพื่อหารือ เพื่อทำกรณียกิจของสงฆ์ ของหมู่คณะ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเห็นของกันและกันอันไม่ผิดพระธรรมวินัย
    เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิกหมายถึงอะไร ?

    หมายความว่า ในการประชุมและเลิกประชุมนั้น ย่อมมีกำหนดเวลา ทุกคนควรตรงต่อเวลา ไม่ใช่ต่างตนต่างเข้าประชุม หรือ ต่างคนต่างออกตามชอบใจ ซึ่งเป็นการเสียระเบียบ เสียมารยาท และอาจทำให้คลาดเคลื่อนเสียประโยชน์ได้
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ความพร้อมเพรียงกันช่วยทำกิจที่จะพึงทำ มีผลดีอย่างไร ?

    มีผลดี คือ เป็นเครื่องแสดงความกลมเกลียว น้ำหนึ่งใจเดียวกัน กิจใดคนเดียว หรือ น้อยคน ทำไม่สำเร็จ เมื่อพร้อมเพรียงกัน หลายคนทำกิจนั้น ย่อมสำเร็จได้ในวันเดียว หรือ ครู่เดียวได้เหมือนปลวกตัวเล็กทำรังได้ใหญ่โต
    พร้อมเพรียงกันช่วยทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ หมายถึงอะไร ?

    หมายถึง กิจใดที่สงฆ์ คือ หมู่คณะ จะต้องทำร่วมกันด้วยกำลังกาย วาจา ใจ หรือ กำลังความคิด ก็ต้องร่วมกันทำกิจนั้น ช่วยกันทำ ช่วยกันพูด ช่วยกันคิดปรึกษา หารือ ช่วยกันแก้ไขสิ่งไม่ดีให้ดีขึ้น ส่งเสริมสิ่งที่ดีให้ดียิ่งขึ้น
    ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น หมายความว่าอย่างไร ?

    หมายความว่า ศีล หรือ สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้นับว่าพอดี พองาม ควรแก่การปฏิบัติ สำหรับเพศบรรพชิต และคฤหัสถ์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องบัญญัติเพิ่มเติมอีก
    ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้วหมายความว่าอย่างไร เพราะอะไร ?

    หมายความว่า สิกขาบททุกข้อที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ใคร ๆ ไม่พึงถอน คือ ไม่ตัดออกไม่ยกเลิกแม้บางข้ออาจไม่เหมาะแก่กาลและสมัยและสถานที่ภูมิประเทศมีพระพุทธานุญาตพิเศษไว้ จึงไม่จำเป็นต้องถอนสิกขาบทใด ๆ ทั้งสิ้น
    เพราะถ้าต่างคนต่างเลิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ตามความต้องการของตน ๆ ผลสุดท้ายก็ไม่มีอะไรเหลือไว้เป็นหลัก
     
  10. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    การไม่บัญญัติและไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ เป็นไปเพื่อความเจริญอย่างไร ?

    เป็นไปเพื่อความเจริญอย่างนี้ คือ พุทธศาสนาที่ดำรงมาได้จนทุกวันนี้ก็เพราะพุทธบริษัทได้พร้อมใจกัน ประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว ไม่เพิกถอน
    สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้หมายถึงอะไร ?

    หมายถึง ต้องมีความเคารพในพระธรรมวินัย ในสิกขาบททั้งปวง ถือสิกขาบทเป็นสิ่งสำคัญ สนใจศึกษาให้เข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้อง
    ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใหญ่ เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน หมายความว่าอย่างไร ?
    หมายความว่า ต้องเคารพนับถือและปฏิบัติตาม คำตักเตือน สั่งสอนของท่านผู้เป็นใหญ่ ผู้เป็นประธานไม่ฝ่าฝืนต่อท่าน


    การเชื่อฟังภิกษุผู้เป็นใหญ่ผู้เป็นประธานในสงฆ์เป็นความเจริญอย่างไร ?

    เป็นความเจริญ คือ พระพุทธศาสนาที่ดำรงถาวรมาได้จนบัดนี้ ก็เพราะอาศัยท่านผู้เป็นใหญ่ เป็นประธานในสงฆ์ ช่วยปกครองหมู่คณะสืบ ๆ กันมา ตามยุคตามสมัยและพุทธบริษัทต่างก็พากันเคารพนับถือท่านผู้เป็นใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ทำตาม การเคารพนับถือผู้ใหญ่จึงเป็นไปเพื่อความเจริญ
    ความลุอำนาจแก่ความอยาก หมายความว่าอย่างไร ประพฤติอย่างไร ชื่อว่า ไม่ลุอำนาจแก่ความอยาก ?

    ความลุอำนาจแก่ความอยาก หมายความว่า ไม่ทำ ไม่พูด ไม่คิดอะไรตามอำนาจของความอยาก
    ไม่ลุอำนาจแก่ความอยาก คือ ระวังตน คอยข่มจิต อดทนต่อความอยากไม่ปล่อยจิตให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจความอยาก เมื่อควบคุมจิตได้ ชื่อว่า ไม่ลุอำนาจแก่ความอยาก.
    ความลุอำนาจแก่ความอยาก ไม่ดี อย่างไร ?

    ไม่ดี คือ ทำให้เป็นผู้ดิ้นรนเกินกว่าเหตุไม่รู้จักจบ ผลที่สุดย่อมจูงใจให้ประพฤติทุจริต ให้เกิดทุกข์ต่าง ๆ
    การไม่ประพฤติ ลุอำนาจแก่ความอยาก จะได้รับผลดีอย่างไร ?

    การไม่ประพฤติลุอำนาจแก่ความอยาก คอยข่มใจไว้ไม่ให้เป็นไปในความยาก เมื่อเป็นเช่นนี้จิตใจย่อมสงบ คุณความดีต่าง ๆ ก็เกิดขึ้น.
     
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ยินดีในเสนาสนะป่า หมายความว่าอย่างไร ?

    หมายความว่า พอใจในที่นอน ที่นั่งอันสงัดเงียบในป่า หรือ เหมือนอยู่ในป่า
    การยินดีในเสนาสนะป่าเป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียวอย่างไร มีอะไรรับรอง ?

    เพราะจะได้รับสุขเกิดแต่วิเวกไม่พลุกพล่านปะปนด้วยหมู่คณะเสนาสนะที่ตั้งอยู่ในป่า เป็นเสนาสนะอันสงัด เป็นเหตุรักษาใจไม่ให้ฟุ้งซ่านในอารมณ์ต่าง ๆ ทั้งเป็นอุบายสำหรับจะให้ได้วิเวก
    มีพระดำรัสชักชวนให้ยินดีในเสนาสนะป่า โดยตรัสว่า “การยินดีในเสนาสนะป่าเป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว” เป็นเครื่องรับรอง
    ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณร ผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาสขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข หมายความว่าอย่างไร ?
    หมายความว่า ให้มีจิตใจเอื้อเฟื้อโอบอ้อมอารี ไม่หวงที่อยู่ ไม่กีดกันคนที่มีศีลมีธรรม ให้ตั้งใจต้อนรับให้อยู่ร่วมหมู่ และให้แผ่เมตตาต่อผู้ที่มาอยู่ร่วมกัน ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข


    มีพุทธประสงค์อย่างไร ?
    มีพุทธประสงค์ ให้มีใจเอื้อเฟื้อโอบอ้อมอารีไม่หวงที่อยู่ และเพื่อไม่ให้เกิดความริษยาต่อผู้ที่อยู่ร่วมกัน
    ในอปริหานิยธรรม ๗ ข้อไหนเป็นสำคัญ เพราะเหตุไร ?

    ข้อ ๕ เป็นสำคัญ
    เพราะบุคคลผู้ไม่ตกไปสู่อำนาจแห่งตัณหาแล้วย่อมทำอปริหานิยธรรมข้ออื่น ๆ ให้ไพบูลย์ได้.
    ผู้ปฏิบัติตามอปริหานิยธรรม จัดเข้าในอริยมรรค (มรรค ๘) ข้อไหนได้ ?

    จัดเข้าใน สัมมาทิฏฐิ.
    หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ มีประโยชน์อย่างไร ?

    มีประโยชน์
    คือ ผู้มาประชุมย่อมได้ความรู้ ความฉลาดในพระธรรมวินัย
    ผู้ที่ยังรู้น้อย ย่อมมีโอกาสที่จะได้ซักถามข้อที่ตนยังไม่รู้กับท่านผู้รู้
    ส่วนท่านผู้รู้จะได้อธิบายชี้แจงแนะนำ การทำเช่นนี้ ชื่อว่ารักษาความสามัคคีของหมู่คณะให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย.
     
  12. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ภิกษุไม่หมั่นประชุมจะเสื่อมได้หรือไม่หากเสื่อมจะเสื่อมจากอะไร ?

    เสื่อมได้.คือ จะเสื่อมจากความรู้ความฉลาดในธรรมวินัยที่จะพึงได้ในที่ประชุมนั้น และเสื่อมจากสามัคคีคุ้นเคยกัน ในระหว่างเพื่อนพรหมจารีในที่ประชุมนั้น.
    วัดก็ดี บ้านก็ดี เว้นอปริหานิยธรรมข้อไหน ย่อมเป็นไปไม่ได้ ?

    ข้อที่ ๔ (คือ ภิกษุเหล่าใดเป็นใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน หากขาดข้อนี้แล้ว ย่อมเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมอย่างเดียว ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญ)
    เพราะเหตุไร ?

    เพราะว่า บุคคลผู้อยู่เป็นหมู่คณะจำต้องรักษาระเบียบ ขนบธรรมเนียมของหมู่คณะ ผู้น้อยต้องเคารพนับถือผู้ใหญ่ ผู้เป็นประธานในที่นั้น ๆ จึงจะเป็นไปเพื่อความเจริญ หากผู้น้อยไม่เคารพนับถือผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นประธานในที่นั้น ๆ ย่อมจะเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมอย่างเดียว ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญ.


    ภิกษุสามเณรชอบเถียงผู้ใหญ่ควรยกธรรมข้อไหนขึ้นชี้ตำหนิโทษ ?

    ควรยกคุณธรรมข้อที่ ๔ (ภิกษุเหล่าใดเป็นใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน ในอปริหานิยธรรม) ขึ้นมาชี้โทษ
    การห้ามไม่ให้ถอนสิ่งที่ทรงบัญญัติไว้ในอปริหานิยธรรมและการที่ทรงอนุญาตไว้ในมหาปรินิพพานสูตร ไม่ขัดแย้งกันหรือ เพราะเหตุไร ?
    ไม่ขัดแย้งกัน.
    เพราะว่า
    - ข้อที่ตรัสห้ามไว้ในอปริหานิยธรรม โดยฐานะที่พระองค์เป็นเจ้าของแห่งพระศาสนา และเป็นเวลาที่พระองค์ยังทรงดำรงพระชนม์อยู่ ภิกษุไม่มีอำนาจจะเพิกถอนพระบัญญัตินั้นได้
    - ข้อที่ทรงอนุญาตไว้ในมหาปรินิพพานสูตร มีพุทธประสงค์เพื่อไม่ให้ขัดกับกาลเทศะ
    บ้าน วัด ประเทศชาติ จะเจริญ หรือ เสื่อม เพราะอะไร ?
    จะเจริญเพราะมีธรรมคือ อปริหานิยธรรม
    จะเสื่อมเพราะขาดธรรม คือ อปริหานิยธรรม
     
  13. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    นิมิตและภวังค์

    เรื่องนี้น่าสนใจมากค่ะ ที่มา : http://www.nkgen.com/727.htm

    นิมิตและภวังค์ เป็นสิ่งที่มักเกิดควบคู่หรือมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันในการปฏิบัติพระกรรมฐาน จนกล่าวได้ว่านิมิตและภวังค์ก็เป็นส่วนหนึ่งของฌานสมาธิด้วยนั่นเอง กล่าวคือเมื่อปฏิบัติฌานสมาธิได้ผลบ้างอย่างไรเสียก็ต้องเกิดนิมิตและภวังค์ขึ้นเป็นธรรมดา จึงนำมาเขียนไว้ในเรื่องเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาค้นคว้า

    จุดประสงค์ คือเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องดีงามเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติธรรมเป็นสำคัญ เพราะเป็นทางที่จำเป็นต้องผ่านในที่สุด เพื่อจะได้ไม่เกิดความหลงผิดไปยึดติดยึดถือเอาในนิมิตที่เกิดขึ้นในภวังค์อย่างผิดๆและงมงาย หรือไปติดเพลินด้วยเข้าใจผิดๆ หรือถูกชักจูงจิต หรือถูกโน้มน้าวจิตด้วยบุคคลอื่น หรือถูกหลอกลวงด้วยมายาของจิตตน ให้หลงทางเสียด้วยอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริง และที่สภาวะของภวังค์ดังที่จะกล่าวต่อไปนั้น เป็นสภาวะจิต ที่จะถูกชักจูงหรือถูกครอบงำโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อร่วมด้วยอธิโมกข์ ยังให้มีทิฏฐิคือความคิดความเห็นให้เป็นไปอย่างใดๆนั้น เป็นไปอย่างง่ายดายและแน่นแฟ้นเป็นที่สุด

    นิมิต ในทางพุทธศาสนามีความหมายได้หลายประการ เช่นหมายถึง อาการที่เชิญชวนให้เขาถวาย หรือหมายถึงเครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนด ในการเจริญกรรมฐาน, หรือภาพหรือสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการปฏิบัติพระกรรมฐาน, แต่นิมิตที่จะเน้นกล่าวถึงในที่นี้ก็คือ นิมิตอันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติกรรมฐาน กล่าวคือ เป็นสิ่งที่ปรากฎหรือแสดงขึ้นเฉพาะตน ให้รับรู้ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นเมื่อได้กล่าวถึงเรื่องฌาน,สมาธิไปโดยละเอียดแล้ว จึงจำเป็นต้องกล่าวถึงนิมิต อันมักจะเป็นผลข้างเคียงหรือเครื่องเคียงที่มักเกิดร่วมด้วยเสมอๆ และจัดได้ว่าเป็นบ่วงมารอันหนึ่ง กล่าวคือถ้าไปอยากหรือไปยึดหรือไปเชื่ออย่างแน่นแฟ้นด้วยเหตุผลกลใดก็ตามทีในนิมิต ก็จัดว่าเป็นบ่วงมารทันที ซึ่งจักผูกมัดสัตว์ไว้ไม่ให้เห็นธรรม กล่าวคือ เกิดวิปัสสนูปกิเลส จัดอยู่ทั้งในข้อโอภาส,ญาณและอธิโมกข์ฯ. ซึ่งเมื่อเกิดกับผู้ใดแล้วก็จะน้อมเชื่อ,น้อมใจอยากด้วยอธิโมกข์จนถอดถอนไม่ออก แม้อธิบายอย่างไรก็ไม่ยอมฟังไม่ยอมเชื่อด้วยฤทธิ์ของอธิโมกข์และเพราะตัวตนเองเป็นผู้เห็น, ตัวตนเองเป็นผู้ทำให้เกิดขึ้น จึงมีความน้อมเชื่ออย่างรุนแรงด้วยอัตตาโดยไม่รู้ตัว ต้องให้เกิดปัญญาพิจารณาเห็นด้วยตนเอง จึงจะสามารถถอดถอนความเชื่อความคิดอันเห็นผิดในนิมิตได้ดี จึงจำเป็นต้องกล่าวเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจกันไว้บ้าง เพราะจำเป็นต้องผ่านกล่าวคืออย่างไรเสียก็ต้องเกิดขึ้นในที่สุดนั่นเอง
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    นิมิตอันเกิดแต่การปฏิบัติพระกรรมฐาน ผู้เขียนขอจำแนกแตกธรรมออกเป็นไปใน ๓ ลักษณะใหญ่ ที่มักเกิดขึ้นทั่วไปเสมอๆ ในการปฏิบัติ หรือแม้แต่ในชีวิตประจำวันในผู้ที่มีความชำนาญ มีดังนี้

    รูปนิมิต หมายถึง การเห็น ภาพ อันปรากฏขึ้นเฉพาะแก่ผู้ปฏิบัตินั้นๆ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติหรือผู้เจริญกรรมฐานเป็นสำคัญ เช่น การเห็นภาพอดีต อนาคต หรือเห็นภาพในสิ่งที่อยากเห็น เช่น เทวดา ผี นรก สวรรค์ วิมาน พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ แม้แต่พระพุทธเจ้า หรือโอภาสการเห็นเป็นแสง, สี, ดวงไฟต่างๆ อันต่างล้วนน่าพิศวงชวนให้ตื่นตาเร้าใจ จึงมักอธิโมกข์น้อมเชื่ออย่างงมงายด้วยอวิชชาอันมีมาแต่การเกิดเป็นธรรมดา หรือการเห็นภาพที่ปรากฏเฉพาะขึ้นของนักปฏิบัติในสิ่งที่กำหนดเป็นอารมณ์, กสิณ หรือบริกรรมจากการปฏิบัติภาวนา และยิ่งเกิดง่ายขึ้นเมื่อมีผู้ฝึกสอนที่นักปฏิบัติเชื่อหรือศรัทธาอย่างอธิโมกข์คอยโน้มน้าวจิตให้เห็นในสิ่งต่างๆนั้น

    เสียงนิมิต การได้ยินเป็นเสียง อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นเหตุหรือเป็นสำคัญ เช่น เป็นเสียงเตือนระวังอะไรๆ เสียงสั่งสอน เสียงเทพ เสียงผีเสียงปีศาจ เสียงระฆัง เสียงกลอง เสียงสวดมนต์ เสียงพูดต่างๆ เสียงคนพูดบอกกล่าวต่างๆ แม้แต่เสียงในใจจากผู้ที่พบปะ ฯ. แล้วย่อมน้อมเชื่ออย่างรุนแรงด้วยอธิโมกข์ เพราะอวิชชาเป็นเหตุ

    นามนิมิต เป็นความคิดหรือความรู้ที่ผุดแสดงแวบปิ๊งขึ้นในใจ อันมักเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติที่ไปพัวพัน แต่มิได้เกิดแต่ปัญญาไปเห็นความจริง เช่น เกิดความคิด ที่คิดว่าเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องราวที่หมกมุ่นพิจารณา หรือศึกษา หรืออยากรู้ หรือเป็นความรู้ในธรรมต่างๆนาๆที่พิจารณา ซึ่งอาจถูกหรือผิดก็ได้ แต่มักจะผิดถ้าไม่ได้เกิดแต่การพิจารณาโดยปัญญา อย่างถูกต้อง และเมื่อบังเอิญเกิดถูกต้องขึ้นบ้าง ก็กลับเป็นบ่อเกิดของอธิโมกข์อันแรงกล้าในภายหน้า

    นิมิตเหล่านี้ มักเกิดขึ้นในภาวะของภวังคจิตที่จะกล่าวในลำดับต่อไป จิตจึงเกิดการอธิโมกข์น้อมเชื่ออย่างรุนแรงแต่เป็นไปอย่างผิดๆหรือขาดเหตุผล จึงยังให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสในข้อญาณ คือมิจฉาญาณ คือไปยึดไปเข้าใจว่าความเข้าใจเหล่านั้นเป็นไปอย่างถูกต้องแน่นแฟ้นด้วยอธิโมกข์เป็นเครื่องหนุน

    บางครั้งยังเกิดนิมิตทางจมูกก็ยังมี คือ ได้กลิ่นอันเกิดแต่ใจตนเป็นเหตุ ก็ยังมีได้ เช่นเกิดจากจิตเป็นกังวลหมกมุ่น ฯ.

    อนึ่งเป็นสิ่งที่น่ารู้ไว้อย่างยิ่งว่า นิมิต นั้นเมื่อปฏิบัติไปด้วยความเชื่อจนเกิดการสั่งสม ความชำนาญขึ้น บางครั้งนิมิตนั้นก็เกิดขึ้นในวิถีจิตหรือวิถีชีวิตปกติได้เช่นกัน กล่าวคือเมื่อเคยเกิดนิมิตขึ้นในขณะปฏิบัติแล้ว ซึ่งแรกๆก็มักเกิดขึ้นจากการปฏิบัติพระกรรมฐานโดยตรง แล้วเกิดนิมิตขึ้น จนเกิดการเห็นการใช้ในนิมิตต่างๆชำนาญขึ้นโดยไม่รู้ตัว เมื่อเกิดการสั่งสมได้ระยะหนึ่งจนเกิดความชำนาญ จึงอาจเกิดนิมิตได้แม้ในยามวิถีจิต(วิถีชีวิตที่มีการรับรู้ตามปกติ)นี่เอง เมื่อน้อมนำหรือถูกกระตุ้นเร้าขึ้น จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดี และมักเข้าใจผิดไปยึดไปเชื่อกันว่าถูกต้องแน่นนอนเป็นอิทธิฤทธิ์หรือปาฏิหาริย์ จึงพาให้ทั้งตนเองและอีกทั้งผู้อื่นพากันไปหลงเชื่ออย่างหัวปักหัวปำ(อธิโมกข์)ในสิ่งที่เห็น หรือในสิ่งที่เข้าใจไปนั้นๆ ก็ด้วยอวิชชานั้นแล
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    นิมิต

    นิมิต นั้นก็เช่นสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก คือดีแท้ๆก็ไม่มี ชั่วแท้ๆก็ไม่ใช่ จึงมีทั้งดีและชั่ว ถูกหรือผิด ขึ้นกับผู้ใช้หรือนักปฏิบัตินั่นเอง ล้วนเป็นไปคล้ายหลักมัชฌิมาหรือทางสายกลาง กล่าวคือ มิใช่ตรงกลาง แต่ไม่สุดโต่งไปทางดีทางชั่วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเดียว เหมือนดังยา ถ้ากินดีถูกต้องก็มีประโยชน์ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีก็ย่อมให้โทษอันรุนแรงได้ นิมิตก็เฉกเช่นเดียวกันกับยา

    นิมิตที่ดีนั้น หมายถึงนิมิตที่เกิดขึ้นแล้วทำให้นักปฏิบัติเกิดปัญญา คือเกิดนิพพิทาญาณ คือเกิดความหน่ายจากการรู้ความจริง จึงย่อมคลายความกำหนัดความอยากจากปัญญาที่ไปรู้ความจริงชัดเจนจากการปรากฎหรือแสดงขึ้นสอนของนิมิตอย่างแจ่มชัดจนน้อมเชื่อหรือเข้าใจ ดังเช่น การปฏิบัติพระกรรมฐาน โดยพิจารณาอสุภ(อสุภกรรมฐาน) กล่าวคือเอาภาพอสุภหรือซากศพเป็นกสิณหรืออารมณ์ แล้วเกิดนิมิตเห็นภาพปรากฏขึ้นของอสุภซากศพในลักษณะต่างๆแสดงให้เห็นว่า เป็นสิ่งน่าสังเวช น่ารังเกียจด้วยปฏิกูล ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ฯ. ทั้งในร่างกาย จะแม้ของตนหรือผู้อื่นก็ตามที จนเกิดความหน่าย จึงคลายกำหนัดในราคะ หรือความยึดถือในตัวตนของตนเอง อย่างนี้ก็พึงถือว่าเป็นนิมิตที่ทำหน้าที่อันดีงามในการปฏิบัติ

    ส่วนนิมิตที่จัดว่าเป็นโทษนั้นหมายถึง นิมิตที่เกิดขึ้นแล้วเป็นบ่วงมารอันยังให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสต่างๆดังเช่นในข้อโอภาสหรือญาณหรืออธิโมกข์ ฯ. กล่าวคือทำให้นักปฏิบัติเกิดโมหะความหลง จึงเกิดความติดเพลิน เพลิดเพลิน (นันทิ-ตัณหา)อันเนื่องมาจากโมหะความหลงด้วยอวิชชา เช่นว่า เพลิดเพลินไปปรุงแต่งต่างๆ หรือเห็นผิดไปว่าเป็นบุญ เป็นฤทธิ์ เป็นเดช เป็นปาฏิหาริย์ เหนือกว่าผู้อื่น มีอำนาจในการเห็นต่างๆเช่นเห็นอดีต เห็นอนาคต หรือทำไปเพื่อหวังในลาภยศสักการะ,สรรเสริญ,ศรัทธา กล่าวคือก็ล้วนเพื่อประโยชน์ทางโลกหรือโลกิยะที่บางท่านก็เป็นไปโดยไม่รู้ตัวฯลฯ. จึงเกิดการไปยึดติด ยึดถือ ยึดหลง จนติดเพลิน ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือความไม่รู้ตามความเป็นจริง และความไม่รู้ตัว และสิ่งที่เห็น(รูปนิมิต)หรือเข้าใจ(นามนิมิต)หรือได้ยิน(เสียงนิมิต)นั้นมักไม่ถูกต้อง เนื่องจากความคิดเห็น(สัญญา)และความไม่เป็นกลางที่แอบแฝงนอนเนื่องโดยไม่รู้ตัวด้วยตัณหาอุปาทาน จึงทำให้การเห็นเหล่านั้นอันเนื่องจากจิตที่สงบระงับจากกิเลสในฌานสมาธิในระยะแรกๆนั้นเสื่อมไปในที่สุด เพราะความอยากรู้อยากเห็นด้วยกิเลสนั่นแล เพราะการเห็นได้อย่างถูกต้องนั้นต้องประกอบด้วยความเป็นอริยะ คือต้องอาศัยญาณ และ อุเบกขาความเป็นกลาง เป็นองค์ประกอบสำคัญด้วย

    ก่อนอื่นผู้เขียนขอยกคำสอนของเหล่าพระอริยเจ้าที่ได้กล่าวแสดงไว้เกี่ยวกับนิมิตมาแสดง เพื่อให้เป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ ก่อนจะกล่าวในรายละเอียดของนิมิตต่อไป เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาให้เกิดปัญญาอย่างถูกต้องดีงาม เป็นกำลังเพื่อการถอดถอนความเชื่อความเข้าใจอย่างผิดๆในนิมิต ที่อาจพาไปยึดติด ไปยึดหลงอยู่ด้วยความไม่รู้ อีกทั้งโดยไม่รู้ตัว

    "นิมิต ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็น(webmaster-คือภาพ,ความคิด ฯ.ที่เกิดขึ้นนั้น) ไม่จริง" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล (อตุโลไม่มีใดเทียม น. ๔๕๔)

    (Webmaster - ที่หลวงปู่กล่าวมีความหมายว่า นิมิตหรือภาพที่เขาผู้ปฏิบัติเห็นนั้น ในบางท่านที่เห็นจริงๆนั้น เขาเห็นเป็นไปอย่างนั้นจริงๆ อาจมิได้หลอกลวงหรือกล่าวเท็จแต่ประการใด เพียงแต่ว่า สิ่งที่เขาเห็นนั้น มันอาจไม่เป็นจริง เป็นเพียงการเห็นหรือการเข้าใจอันเกิดขึ้นเฉพาะเขา อันมีสาเหตุเนื่องมาจากใจหรือสัญญาของเขาเองเป็นสำคัญ (อันมักเนื่องมาจากสิ่งที่เป็นอารมณ์จากการปฏิบัติ หรือจากความกังวลหรือพัวพันใดๆก็ตามที หรือปรุงแต่งอยู่เสมอๆโดยไม่รู้ตัว จนเป็นปัจจัยให้เกิดนิมิตนั้นๆขึ้นก็ได้โดยไม่ได้ตั้งใจและอีกโดยไม่รู้ตัว)
     
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    บางอาจารย์เมื่อนิมิตเกิดขึ้นมาแล้ว สอนให้ถือเอานิมิตนั้น เป็นขั้นเป็นชั้นของมรรคทั้ง ๔ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น เช่น นิมิตเห็นแสงเล็กเท่าแสงหิ่งห้อย ได้สำเร็จชั้นพระโสดาบัน, เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาหน่อยเท่าแสงดาว ได้สำเร็จชั้นพระสกทาคามี, เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาเท่าแสงพระจันทร์ ได้สำเร็จชั้นพระอนาคามี, เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาเท่าแสงพระอาทิตย์ ได้สำเร็จชั้นพระอรหันต์อย่างนี้เป็นต้น (webmaster - กล่าวคือ ไปยึดเอานิมิตนั้นเป็นจริงเป็นจัง ถือเป็นของวิเศษ เป็นขั้นมรรคขั้นผลไปเลย)

    ไปถือเอาแสงภายนอก ไม่ถือเอาใจของคนที่บริสุทธิ์มากน้อยเป็นเกณฑ์ ความเห็นเช่นนั้น ยังห่างไกลจากความเป็นจริงนัก................นิมิตเกิดจากภวังค์เป็นส่วนมาก ภวังค์เป็นอุปสรรคของมรรคโดยเฉพาะอยู่แล้ว มันจะเป็นมรรคได้อย่างไร........(หน้า๑๕-๑๖)
    (webmaster - เหตุที่ภวังค์เป็นอุปสรรคของมรรค ก็เนื่องจากในภวังค์นั้นเคลิบเคลิ้ม ไม่สามารถใช้สติได้อย่างบริบูรณ์นั่นเอง มีคำอธิบายในภายหน้า)

    แท้ที่จริงนิมิตทั้งหลาย ดังที่อธิบายมาแล้วก็ดี หรือนอกไปกว่านั้นก็ดี ถึงไม่ใช่เป็นทางให้ถึงความบริสุทธิ์ก็จริงแล แต่ผู้ปฏิบัติทั้งหลายจะต้องได้ผ่านทุกๆคน เพราะการปฏิบัติเข้าถึงจิตรวม(หรือก็คือ)เข้าถึงภวังค์แล้วจะต้องมี เมื่อผู้มีวาสนา(webmaster - ไม่ได้แปลว่ามีบุญ คลิกดูความหมาย)เคยได้กระทำมาเมื่อก่อน เมื่อเกิดนิมิตแล้ว จะพ้นจากนิมิตนั้นหรือไม่ ก็แล้วแต่สติปัญญาของตน หรืออาจารย์ผู้นั้นจะแก้ไขให้ถูกหรือไม่ เพราะของพรรค์นี้ต้องมีครูบาอาจารย์เป็นผู้แนะนำ ถ้าหาไม่แล้วก็ต้องจมอยู่ปรัก คือนิมิต นานแสนนาน เช่น อาฬารดาบส แล อุททกดาบส เป็นตัวอย่าง........(หน้า๑๗)
    เทสก์รังสีอนุสรณาลัย ; เรื่อง สิ้นโลก เหลือธรรม โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    "นิมิต เมื่ออธิบายมาถึง ฌาน สมาธิ ภวังค์ ดังนี้แล้ว จำเป็นจะลืมเสียไม่ได้ซึ่งรสชาติอันอร่อย คือ นิมิต ซึ่งเกิดขึ้นในระยะของสิ่งเหล่านั้น ผู้เจริญพระกรรมฐานย่อมปรารถนาเป็นอย่างยิ่งแทบทุกคนก็ว่าได้ ความจริงนิมิตมิใช่ของจริงทีเดียวทั้งหมด นิมิตเป็นแต่นโยบาย(อุบายวิธี)ให้พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงก็มี ถ้าพิจารณานิมิตนั้นไม่ถูกก็เลยเขวไปก็มี ถ้าพิจารณาถูกก็ดี มีปัญญาเกิดขึ้น นิมิตที่เป็นของจริงคือนิมิตเป็นหมอดูไม่ต้องใช้วิพากษ์วิจารณ์อย่างนี้ก็มี นิมิตนั้นเมื่อจะเกิดก็เกิดเอง เป็นของแต่งเอาไม่ได้ ...........ฯลฯ."
    หลวงปู่เทส เทสก์รังสี (ส่องทางสมถวิปัสสนา)

    "ผู้ที่หลงติดในภาพนิมิต มีหัวรุนแรงกว่าความเห็นวิปลาส.....ฯลฯ" หลวงปู่เทส เทสก์รังสี (จาก โมกขุบายวิธี)

    ความเห็นวิปลาส ที่หลวงปู่เทส ได้กล่าวไว้นั้น หมายถึง ทิฏฐิวิปลาส ที่หมายความว่า ความเห็นความเข้าใจที่ผิดพลาดจากความเป็นจริง ดังนี้
     
  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    และดังที่หลวงปู่เทส เทสรังสี ได้กล่าวแสดงดังข้างต้น นิมิตนั้นเมื่อจะเกิดก็เกิดเอง เป็นของแต่งเอาไม่ได้นั่นเอง ทั้งยังแล้วแต่วาสนา(กรุณาดูความหมายเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง)การสั่งสม ดังนั้นเมื่อนักปฏิบัติอยากเห็นอยากรู้อยากได้คือตัณหา จึงพยายามน้อมนึกหรือบังคับให้เกิดนิมิต เพื่อให้เห็นโน่น เห็นนี่ เห็นอดีต เห็นอนาคต รู้นั่น รู้นี่ ฯ. เพื่อประโยชน์ไปในทางโลกๆ หรือด้วยความเข้าใจผิด จึงเป็นการตกลงสู่ความผิดพลาดทันที เพราะย่อมมักแฝงไว้ด้วยสัญญา,ตัณหาต่างๆ ดังเช่น กิเลสตัณหาความอยากต่างๆนาๆที่นอนเนื่องอยู่ของผู้นั้นๆ ดังนั้นนิมิตหรือภาพหรือความรู้ที่เกิดขึ้นจากการพยายามดังนี้ จึงมักไม่ถูกต้อง เพราะไม่บริสุทธิ์ ถูกบังคับขึ้นคือแอบแฝงด้วยกำลังของกิเลสตัณหาอันแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่นั่นเอง มักแฝงซ่อนเร้นด้วยความอยากให้เกิดขึ้นหรือเป็นไปตามปรารถนาของตนเอง แลแม้กระทั่งของบุคคลอื่นที่มาเกี่ยวข้อง อีกด้วย หรือกล่าวได้ว่านิมิตที่เกิดขึ้นมานั้น ตัวตนหรือตัวกูของกูเป็นผู้ที่เห็นเอง จึงน้อมเชื่อ,น้อมไปเข้าใจ อย่างรุนแรงด้วยยังประกอบด้วยอวิชชาอยู่ ดังนั้นนิมิตที่ยึดติด ยึดเพลิน ด้วยความตื่นตา เร้าใจ ที่อาจเคยเกิดในตอนแรกๆบ้างเป็นครั้งคราวโดยไม่รู้ตัว อันอาจเคยเห็นและเป็นไปอย่างถูกต้องเนื่องจากภาวะไร้นิวรณ์อันมีความบริสุทธิ์พอสมควร และไร้การแอบแฝงปรุงแต่งโดยเจตนาจึงมีความเป็นกลางพอสมควร จึงเสื่อมหายไปในที่สุดเป็นธรรมดา

    นิมิต ในระยะแรกมักเกิดในขณะปฏิบัติพระกรรมฐาน หรือฌานสมาธิ อันมักเกิดขึ้นในช่วงของภวังค์ จึงควรทำความรู้จักภวังค์หรือภวังคจิต ที่ทั้งสามารถสร้างความรู้สึกอันบรรเจิดเป็นสุขและเคลิบเคลิ้มให้แก่นักปฏิบัติ และทั้งยังก่อให้เกิดการฟุ้งซ่านปรุงแต่งไปต่างๆนาๆในผู้ที่ไม่รู้ไม่เข้าใจ จะได้ไม่พากันไปติดกับอยู่ในบ่วงมารของภวังค์และนิมิตอย่างอธิโมกข์ คือด้วยความงมงายขาดเหตุผลกัน
     
  19. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ภวังค์

    ภวังค์หรือภวังคจิต กล่าวคือ เป็นภาวะที่เรียกพื้นจิต ที่หมายถึง ขณะที่จิตหรือภาวะที่จิตหยุดคือไม่มีการรับรู้ในอารมณ์ต่างๆที่เกิดจากการรับรู้ของทวารทั้ง๖ กล่าวคือเป็นภาวะที่จิตหยุดการเสวยอารมณ์(เวทนา)จากภายนอก อันเนื่องมาจากทวารทั้ง ๖ (แต่ถึงอย่างไรก็ตาม จิตก็อาจยังพอมีสติส่วนหนึ่งที่แค่เพียงพอรับรู้แค่จิตภายในตน ดังเช่น รับรู้ในสัญญาความจำที่อาจผุดขึ้นมาได้เองโดยขาดเจตนาโดยตรง หรืออาจแทรกจรเข้ามาด้วยความตั้งใจมั่นไว้หรือศรัทธา นี่เองจึงอาจทำให้เห็นนิมิตต่างๆได้เมื่ออยู่ในภวังคจิต)

    ส่วนภาวะจิต ที่จิตมีการรับรู้อารมณ์ภายนอกอันเกิดแต่ทวารทั้ง ๖ หรือในการดำเนินชีวิตโดยทั่วไปนั่นเอง เรียกกันว่า " วิถีจิต " อันเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของปุถุชนในชีวิต, สภาวะทั้ง ๒ นี้ จึงเกิดขึ้นในลักษณะที่เกิดดับสลับกันนั่นเอง กล่าวคือเมื่อไม่อยู่ในวิถีจิตเมื่อใด ก็เกิดภวังคจิตขึ้นแทน เมื่อวิถีจิตเกิดขึ้นจากการเสวยอารมณ์จากทวารทั้ง๖ ภวังคจิตก็ดับไป

    ภวังคจิต ที่เกิดในฌาน,สมาธิ แบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ

    แบบแรก ภวังคบาต บาตที่แปลว่าตก จึงหมายถึงการตกลงไปหรือการตกเข้าสู่ภวังค์นั่นเอง, ภวังคบาตเมื่อเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติสมถะนั้น อาจเป็นไปในลักษณะที่รู้สึก เคลิบเคลิ้มแล้ววูบๆวาบๆ เป็นๆหายๆ กล่าวคือรู้สึกเคลิบเคลิ้มแล้วรู้สึกวูบหรือเสียววูบดุจดั่งตกทิ้งดิ่ง คล้ายตกเหวหรือตกจากที่สูง จึงเรียกกันว่าตกภวังค์ตรงๆเลยก็มี มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดั่งสายฟ้า เป็นแบบเคลิบเคลิ้มไม่รู้สติ ไม่รู้ตัว ควบคุมไม่ได้ กล่าวคือถ้าบริกรรมหรือกำหนดจิตแน่วแน่อยู่ในสิ่งหนึ่งสิ่งใด(อารมณ์)ก็ตามที เช่นลมหายใจ หรือหรือพุทโธ หรืออยู่กับการพิจารณาธรรมใดๆ สิ่งหรืออารมณ์นั้นก็จะวูบหายไป และอาจประกอบด้วยความรู้สึกเสียววูบวาบ ราวกับว่าตกจากที่สูง วูบหวิวขึ้นก็ได้ และอาจจะประกอบด้วยภาพนิมิตสั้นๆอันเกิดแต่จิตภายในตนขึ้น มักเกิดขึ้นช่วงระยะสั้นๆ แล้วก็อาจมีสติกลับไปอยู่กับอารมณ์เดิมหรือคำบริกรรมเดิม อาจเกิดหลายๆครั้ง หรืออาจจะเคลิบเคลิ้มลงภวังค์ไปจนแน่นิ่งหรือจนหลับไหลไปเลยด้วยความสบายอันเกิดจากอำนาจของภวังค์เอง

    ดังนั้นเมื่อเกิดภวังค์ดังนี้ขึ้นก็ให้เข้าใจว่า เป็นเรื่องปกติเรื่องธรรมดา อย่าไปตกใจหรือดีใจ อย่าไปฟุ้งซ่านจึงปรุงแต่งไปต่างๆนาๆ เป็นเรื่องของธรรมชาติธรรมดาในการปฏิบัติ อย่าไปปรุงแต่งฟุ้งซ่านหรือเชื่อเขาว่า เป็นบุญ เป็นกุศล เป็นปาฏิหาริย์ เป็นฤทธิ์ เป็นเดช และยังมักไปเข้าใจผิด หรือสอนกันผิดๆอีกด้วยว่า จิตหรือวิญญาณกำลังจะออกไปจากร่างดังเจตภูต หรือดังปฏิสนธิจิตตต์หรือปฏิสนธิวิญญาณก็ยังมี ฯ. ขอให้ทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า เป็นเพียงอาการแสดงว่า จิตเริ่มเป็นสมาธิในระดับหนึ่งเท่านั้น แล้วเกิดภวังค์หรือภวังคจิตขึ้น เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาในขั้นตอนของการปฏิบัติทั้งฌานและสมาธิที่มีจุดประสงค์ไปในการเป็นเครื่องหนุนการเจริญวิปัสสนา,

    อาการที่เกิดขึ้นนั้น เกิดแต่จิตหยุดการรับรู้การเสวยอารมณ์ภายนอกจากทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจในขณะจิตนั้นๆ รับรู้อยู่ก็แต่เพียงจากจิตภายใน(สัญญา)บ้างเท่านั้น เรียกภวังค์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วดังอสุนีบาตหรือสายฟ้าฟาดนี้ว่า ภวังคบาต กล่าวคือ เกิดอาการลงภวังค์คือตกวูบลงไปอย่างรวดเร็วดังสายฟ้าฟาด แล้วอาจมีสติวาบหรือแว๊บกลับมาอย่างรวดเร็วก็ได้เช่นกัน จึงได้เกิดอาการวูบวาบ ดั่งกายทิ้งดิ่งลงจากที่สูง หรือดิ่งลงเหว จึงรู้สึกดังที่กล่าว

    ที่ภวังคบาตนี้นี่เอง จึงมีการไปเข้าใจกันว่าเป็นลักษณะของเจตภูต หรือกายทิพย์หรือวิญญาณ กำลังชักคะเย่อกันเพื่อจะออกจากร่างหรือกายหยาบเสียก็มี จึงได้รู้สึกวูบวาบดังนั้น จนตกใจกลัวก็มี จึงเป็นที่วิตกกังวลจนไม่กล้าปฏิบัติก็มี และเป็นที่วิพากวิจารณ์เล่าขานอีกทั้งปรุงแต่ง จนเป็นตำนานสืบต่อมาต่างๆกันไป ตามความเชื่อความเข้าใจอันเป็นมิจฉาทิฏฐินั้นๆ ของนักปฏิบัติและผู้สอน
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    แบบที่ ๒ ภวังคจลนะ จลนะ มาจากคำว่าจลน์ที่แปลว่า เคลื่อนที่,เคลื่อนไหว ภวังคจลนะจึงเป็นภาวะที่จิตเคลื่อนลงสู่ภวังค์ไปอย่างบริบูรณ์ ไม่มีสติกลับคืนมา จึงไม่รู้สึกวูบแล้ววาบหรือแว๊บกลับมาดังภวังคบาตข้างต้น

    ดังนั้นจิตจึงหยุดการรับรู้อารมณ์จากทวารทั้ง ๖ ตามสภาวธรรมหรือธรรมชาติของภวังค์เอง ด้วยเหตุนี้ดังนั้นในระยะแรกๆ หรือบางครั้งอาจมีอาการของความรู้สึกราวกับว่ามือ,เท้าหรือองคาพยัพบางส่วนได้เลือนหรือหายไปก็มี, ที่ภวังคจลนะนี้นี่เอง ที่แม้หยุดการรับรู้จากทวารทั้ง ๖ ดังกล่าวแล้วก็ตามแต่จิตก็ยังมีการเคลื่อนไหว(จลน์) กล่าวคือ จิตยังมีการไหลเลื่อนท่องเที่ยวเตลิดเปิดเปิง หรือเพลิดเพลินไปในอารมณ์ภายในหรือจิตภายในของตนหรือก็คือส่วนหนึ่งของสัญญาตน คือซ่านอยู่ในภาวะของภวังค์เอง และไม่มีอาการสติ วาบแว๊บกลับมาดังภวังคบาตข้างต้น จริงๆ แล้วจึงขาดสติต่ออารมณ์ภายนอก กล่าวคือ มีสติก็แค่เพียงรู้อยู่แต่จิตภายในหรือภวังค์ของตนเท่านั้น จึงขาดสัมปชัญญะ จึงไร้ที่ยึด, ไร้ที่หมายในอารมณ์ภายนอกโดยตรง ก็เพราะขาดการเสวยอารมณ์หรือความรู้สึกรับรู้จากภายนอกอันเกิดแต่ทวารทั้ง ๖ เหลืออยู่แต่การรับรู้อารมณ์ที่เกิดแต่จิตภายในของตนแต่ฝ่ายเดียว จึงค่อนข้างบริสุทธิ์และมีกำลังมากเพราะขาดการเข้าไปฟุ้งซ่านหรือขาดการวุ่นวายปรุงแต่งเพิ่มเติมอีก

    แต่เมื่อขาดสติอันย่อมเนื่องกับปัญญาดังนั้นจิตจึงย่อมไร้การควบคุม จึงเคลื่อนไหวหรือไหลเลื่อนล่องลอยไปตามกำลังหรือสัญญาของจิตตนเอง ในสภาวะของภวังค์เองก็มีอาการสุข สบาย เคลิบเคลิ้ม เพราะการขาดจากการรบกวนแทรกซ้อนของอารมณ์จากภายนอกจึงรวมถึงกิเลส(นิวรณูปกิเลส)อันก่อความขุ่นมัวต่างๆจากภายนอกทั้งปวง คือเหล่ากิเลสในนิวรณ์ทั้ง ๕ จึงระงับไปในระยะนั้นทั้งหมด ดังนั้นสติอันเป็นอาการหนึ่งของจิต(เจตสิก)ที่เป็นสังขารขันธ์อย่างหนึ่ง จึงค่อนข้างบริสุทธิ์ในภาวะนี้ แต่ก็ทำให้เปราะบางและอ่อนไหวเป็นที่สุดเช่นกัน

    เนื่องจากขาดสติในสิ่งอื่นๆ คือขาดสัมปชัญญะที่เป็นเกราะป้องกันภัย จึงอาจไปไวต่อการรับรู้จากภายนอกที่อาจเกิดการแทรกซ้อนหรือแวบหลุดเข้าไปได้บ้าง หรืออาจเกิดขึ้นแต่ความคิดที่เกิดแต่จิตภายใน(จิตตน)ที่ผุดขึ้นมาเองจากสัญญาบ้าง ในภาวะเช่นนี้นี่เอง ที่เกิดนิมิตและโอภาสได้ต่างๆ นาๆ ขึ้นได้อย่างชัดเจนที่สุด

    เพราะจิตทำกิจอยู่แต่ในสิ่งๆเดียวเท่านั้น ไม่ได้แบ่งแยกไปหน้าที่ในอายตนะหรือทวารใดๆ อีกเลย ก็เนื่องจากขาดหยุดการรับรู้ทางอายตนะหรือทวารทั้ง ๖ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว, จึงมีกำลังให้เห็นเป็นไปต่างๆอย่างชัดเจนตามสิ่งที่อาจหลุดแทรกซ้อนเข้าไปด้วยใจตั้งมั่นภายในหรือกำลังศรัทธา หรือจากจิตภายในที่ผุดขึ้นมานั่นเอง

    ภาวะของภวังค์ที่เป็นแบบนี้เรียกว่า ภวังคจลนะ คือ ภวังค์ที่มีการเคลื่อนไหวไหลเลื่อนท่องเที่ยวหรือซ่านไปในอารมณ์ที่เกิดแต่ภายในของตนเป็นสำคัญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...