>>> อวดรู้ (รู้แล้วได้อะไร) <<<

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 19 กรกฎาคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    มีความโดยย่อ ๆ ว่า พราหมณ์ ๒ พวก ประกาศวาทะของตน แล้วติเตียนพูดกระทบฝ่ายตรงข้าม แต่พูดยกย่องพวกตนเอง จึงเกิดปัญหา ชาวกาลามะจึงนำความสงสัยหรือปัญหานี้มาทูลถามพระพุทธองค์

    ๔. ทรงให้หลักเป็นกลาง ๆ ไว้ ๑๐ ประการ แต่ในตอนท้ายทรงเน้นให้ใช้ปัญญาใคร่ครวญเสียก่อน อะไรดีก็ควรคงไว้ อะไรไม่ดีก็ให้ละวางเสีย ทรงแนะนำให้เอาสิ่งเหล่านั้นมาทดลองปฏิบัติด้วยตนเองก่อนจนเกิดผล เมื่อเกิดผลจริงแล้วจึงค่อยเชื่อ โดยปกติพระองค์จะสอนบุคคลตามจริตนิสัยและกรรมของแต่ละคนเป็นหลักสำคัญ แต่พวกกาลามะขณะนั้นยังมิใช่พุทธบริษัทของพระองค์ เพียงแค่ศรัทธามาให้พระองค์ช่วยตัดสินปัญหาของพวกเขาเหล่านั้น เมื่อสอนจบแล้ว จึงมีศรัทธาเต็ม ขอเอาพระองค์เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต จึงขอสรุปว่า ชาวกาลามะ ซึ่งมีศรัทธาจริตบวกโมหะจริต (เชื่อง่าย และโง่ขาดปัญญา) แต่ก็ยอมรับว่าตนเองยังโง่ขาดปัญญาอยู่ จึงยังเอาดีได้ พระองค์จึงให้หลัก ๑๐ ประการไว้ และสอนให้พบความจริงในพุทธศาสนาเป็นอย่างไร เขาจึงศรัทธาในศาสนาของพระองค์แทน

    ๕. พวกที่อ้างกาลามสูตร ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ล้วนมีแนวความคิดว่า เทวดา พรหม สวรรค์ นรกไม่มี และนิพพานสูญ คนตายแล้วไม่เกิดทั้งสิ้น ซึ่งเป็นความคิดที่คัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง อันเป็นมิจฉาทิฏฐิ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ความว่า ไม่มีโทษใดที่จะร้ายแรงเท่ากับมิจฉาทิฏฐิ เพราะหากเขาเริ่มต้นผิดแล้วก็จะผิดตลอด ซึ่งตรงข้ามกับสัมมาทิฏฐิ ซึ่งหากเขาเริ่มต้นถูกก็จะถูกตลอด

    ๖. พระองค์ทรงทราบความจริงทั้ง ๓ โลก (ยมโลกหรืออบายภูมิ ๔,มนุษยโลก และเทวโลก ซึ่งรวมพรหมโลกอยู่ด้วย) ก่อนผู้อื่นทั้งหมด ทรงพระเมตตารวบรวมคำสั่งสอนของพระองค์ขึ้นมาตามจริตนิสัยและกรรมของแต่ละคน ซึ่งทำกรรมกันมาไม่เสมอกัน จึงมีคำสอนจำนวนมากถึง ๘๔,๐๐๐ วิธีหรืออุบาย หรือพระธรรมขันธ์ ทุก ๆ บทล้วนเป็นอริยสัจทั้งสิ้น อริยสัจ แปลว่า ความจริงซึ่งพระองค์ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ไม่จริงก็ไม่ตรัส (ไม่พูด) ตรัสอย่างไรก็ทำได้ตามนั้น ตรัสแล้วไม่เคยคืนคำ คำตรัสของพระองค์ไม่เคยเป็นสอง เป็นเจ้าของพุทธศาสนา จึงเป็นพี่ใหญ่ในพุทธศาสนา ไม่จำเป็นต้องก้มศีรษะให้กับผู้ใดอีก และใช้คำสรรพนามเรียกพระองค์ว่า ตถาคต แต่พระองค์เดียวในโลก ทรงตรัสรู้ด้วยตนเองจึงไม่มีครู บุคคลใดที่ปรามาสคำสอนของพระองค์ พระองค์เรียกบุคคลนั้นว่า เดียรถีย์ เป็นคนนอกศาสนาของพระองค์ ตั้งตนเป็นศัตรูกับพระองค์อย่างเปิดเผย มีเจตนาไม่บริสุทธิ์เขียนบทความเรื่อง กาลามสูตร โดยใช้พระองค์บังหน้าในตอนต้น แต่ไม่ยอมเขียนตอนท้าย ซึ่งมีความสำคัญมาก อันเป็นอริยสัจ หรือความจริงที่เน้นสอนพวกชาวกาลามะให้ใช้ปัญญา ให้เป็นคนมีเหตุ มีผล ไม่หูเบา ใจเบา เชื่ออะไรง่าย ๆ แบบคนโง่ พวกเหล่านี้สรุปเอาด้วยปัญญาตนเองว่า แม้คำสอนของพระองค์ก็ยังเชื่อไม่ได้ ต้องปฏิบัติให้เกิดผลตามนั้นเสียก่อนจึงค่อยเชื่อ
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ๗. บุคคลกลุ่มนี้คิดว่า ร่างกายเป็นตัวเขา เป็นของเขา เมื่อร่างกายของเขาตาย มันก็สูญ ไม่เกิดอีกแล้ว จบกันแค่นั้นเขาไม่รู้เลยเรื่องจิต ว่าร่างกายประกอบด้วยกายกับใจหรือจิต กายเป็นเปลือกที่จิตมาอาศัยอยู่ชั่วคราวเท่านั้น ถึงเวลากายก็ต้องตายไปเป็นธรรมชาติ ส่วนจิตนั้นไม่เคยตาย เป็นอมตะตลอกกาล จิตสร้างกรรมอะไรไว้ (กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม) ก็ต้องเป็นไปตามกรรมที่ตนทำไว้เองทั้งสิ้น เพราะพระองค์ทรงตรัสไว้ชัดว่า หนีภัยในโลกนี้ หนีไม่พ้นหรอก เพราะเป็นกฎของกรรม ซึ่งเที่ยงเสมอ และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย บุคคลเหล่านี้เมื่อเขาเข้าใจผิด เริ่มเป็นมิจฉาทิฏฐิ ความคิดเห็นของเขาก็ผิดตลอด ผลหรือโทษมีสูง เพราะเป็นการปรามาสพระรัตนตรัยโดยตรง จึงมีนรกเป็นที่ไป สมเด็จพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ทรงตรัสไว้ในคิริมานนทสูตร ในหลักคำสอนที่ ๕ ว่า ผู้รู้กับผู้ไม่รู้ ได้รับทุกข์เหมือนกัน หากทำบาป...ทุกข์ในนรกจักรู้ก็ตามไม่รู้ก็ตาม ถ้าทำกรรมที่เป็นบาปแล้ว ผู้ที่รู้หรือไม่รู้ก็ตกนรกเหมือนกัน ถ้าไม่รู้จักนรก ก็ยิ่งไม่มีทางพ้นนรกได้

    ๘. บุคคลเหล่านี้ เมื่อเขาไม่รู้เรื่อง กายกับจิตตามความเป็นจริง เขาก็พยายามเอาลูกตาของเขาดูให้เห็นเทวดา พรหม ดูสวรรค์ ดูนรก และพระนิพพาน เมื่อลูกตาไม่เห็นก็ว่าไม่มี แต่พวกสัมมาทิฏฐิเขาเอาจิตเห็น เห็นด้วยจิต หรือสัมผัสเห็น สัมผัสรู้ได้ด้วยจิต ซึ่งเป็นเรา เป็นของเราโดยตรง ยกเว้นพวกสุกขวิปัสสโก ซึ่งไม่เห็นด้วยจิต แต่จิตสัมผัสรู้ได้ด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้า ศรัทธานั้น หมายความว่า เชื่อโดยปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ด้วย (ไม่ใช่พวกพุทธตามสำมะโนครัว) เขาปฏิบัติบูชา โดยการทำทาน รักษาศีลและเจริญภาวนา เพื่อตัดความโลภ โกรธ หลง หรือ ปฏิบัติตามศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งย่อมาจากอริยมรรค ๘ นั่นเอง เพื่อนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ตามลำดับ จากอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา ตามลำดับ อธิศีล มีผลทำให้เขาพ้นอบายภูมิ ๔ เป็นพระโสดาบันและพระสกิทาคามี อธิจิต ทำให้พ้นการเกิดมาเป็นมนุษย์ในโลกมนุษย์ และพ้นจากการเกิดเป็นเทวดาและพรหมด้วย อธิปัญญา ตามลำดับ

    ๙. คำพูดของพวกมิจฉาทิฏฐิที่ว่า แม้แต่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าก็ยังเชื่อไม่ได้ ต้องปฏิบัติจนเกิดผลตามนั้นเสียก่อน จึงค่อยเชื่อ ก็หมายความว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องปฏิบัติจนเป็นพระพุทธเจ้าเสียก่อน จึงจะเชื่อคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ ความจริงแล้วพระองค์สอนตามจริต นิสัยและกรรมของแต่ละบุคคล ซึ่งมีมาไม่เสมอกัน ให้ท่านย้อนไปดูข้อ ๒ และ ๓ ใหม่อีกครั้ง แล้วท่านจะเข้าใจได้ดี

    ๑๐. กาลามสูตร หรือ เกสปุตตสูตร หากผู้ใดได้อ่านด้วยตนเองแล้ว จะพบว่าทรงเมตตาให้ชาวกาลามะใช้ที่พึ่งอันสุดท้าย คือ ให้พึ่งตนเอง อังเป็นที่พึ่งที่ประเสริฐสุด โดยทรงแนะให้เขาพึงรู้ด้วยตนเองว่า

    ก) ธรรมเหล่านั้นเป็น กุศล หรือเป็น อกุศล

    ข) ธรรมเหล่านั้นเป็นบุญ หรือเป็นบาป (ดีหรือชั่ว)

    ค) ธรรมเหล่านั้นเป็นคุณ หรือเป็นโทษ

    ง) ธรรมเหล่านั้นผู้รู้ไม่ติเตียน หรือติเตียน

    จ) ธรรมเหล่านั้นมีประโยชน์ หรือไม่มีประโยชน์

    ฉ) ธรรมเหล่านั้นเป็นสุข (ไม่เกิดทุกข์) หรือทำให้เกิดทุกข์

    หากเป็นไปในทางลบ คือ เป็นอกุศล เป็นบาป มีโทษ ผู้รู้ติเตียน ไม่มีประโยชน์ และทำให้เกิดทุกข์ ก็จงละธรรมเหล่านั้นเสีย นี่คือแนวคิดที่พระองค์แนะให้ใช้ตนเองเป็นที่พึ่ง ให้พิจารณาด้วยปัญญาของตนเองก่อน ทรงตรัสไว้ชัดแจ้ง แต่พวกทำตนคล้ายเดียรถีย์ ไม่ยอมนำมากล่าว ส่อเจตนาที่จะหลอกลวงบิดเบียนให้ผู้ฟัง ผู้อ่านเข้าใจผิด ๆ หลงผิด และเชื่อพวกเขาอย่างผิด ๆ ด้วยเจตนาชั่วช้าเท่ากับมีเจตนามุสาวาทหรือโกหกโดยตรง เพราะเขาคิดชั่วเป็นประการแรก คิดแล้วทำตามที่คิด คือ พูดชั่วและทำชั่ว ตามที่คิด เป็นประการที่สอง เมื่อผู้ฟังหรือผู้อ่านเชื่อตามการกระทำของเขา ก็เท่ากับมีผลสมบูรณ์ครบ ๓ ประการ คือสมดังเจตนาของตนครบ ๓ วาระ ศีลข้อ ๔ (มุสาวาท) จึงขาด ๑๐๐

    ๑๑. พระองค์ยกตัวอย่าง ธรรมที่เป็นอกุศล ๓ ตัว คือ โลภ โกรธ หลง ว่าหากมีขึ้นกับจิตใจของใครแล้ว ก็จะมีผลทำให้ศีลขาดได้ทุกข้อ เพราะเป็นธรรมที่ไม่มีประโยชน์ เป็นทุกข์ เป็นอกุศล มีโทษ มีผู้ติเตียน หากรู้ได้ด้วยใจตนเองแล้ว ก็ควรละธรรมเหล่านั้นเสีย คือ อย่าเชื่อ และอย่าปฏิบัติตามให้ละธรรมนั้นเสีย
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สรุปว่า พระองค์ชี้ให้เห็นโทษของความโลภ โกรธ หลง ด้วยธรรมะ หรือธรรมชาติของคนทั่วๆ ไป ซึ่งควรจะรู้ได้ด้วยปัญญาตื้น ๆ คือ ยกเอาศีล ๕ เป็นข้อชี้ให้เห็นโทษ หรือเห็นผลแห่งการมีความโลภ โกรธ หลงอยู่ในจิต จิตมันจะสร้างกรรมที่เป็นอกุศลออกมาอย่างชัดแจ้ง

    ๑๒. พระองค์ชี้ให้เห็นคุณ ของการละ โลภ โกรธ หลง แล้วจะมีผลทำให้ศีล ๕ บริสุทธิ์ได้ ดังนั้น การละโลก โกรธ หลงจึงเป็นธรรมที่เป็นกุศล มีประโยชน์ มีความสุข ไม่มีโทษ ไม่มีผู้ติเตียน เป็นธรรมที่ควรเชื่อถือและปฏิบัติตามได้

    ๑๓. เมื่อชาวกาลามโคตร หรือชาวนิคมเกสปุตตะ ได้ฟังคำสอนของพระองค์จนหายสงสัยแล้ว ก็สามารถใช้ปัญญาของตนหรือใช้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้ถูกต้องแล้ว พระองค์จึงสอนเพิ่มเติมในธรรมที่สูงกว่าศีล (ศีล เป็นธรรมที่ทำคน ซึ่งแปลว่ายุ่ง ให้เป็นมนุษย์ ซึ่งแปลว่าประเสริฐได้) ทรงยกเอาอริยสาวกของพระองค์เป็นตัวอย่างว่า เป็นผู้ปราศจากความโลภ โกรธ หลงแล้ว เพราะมีสติสัมปชัญญะมั่นคง ประกอบด้วยพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พร้อมทำให้จิตไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น จึงทำให้จิตใจผ่องใสอยู่เสมอ (เพราะละความชั่ว คิด พูด ทำ แต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ จึงทำให้จิตผ่องใสอยู่เสมอ) จึงมีจิตมั่นคงอยู่เสมอทั้งในปัจจุบันและอนาคต คือ

    ก) ถ้าชาติหน้ามีจริง ผลของกรรมหรือวิบากของกรรมทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่วมีจริง ผู้ทำกรรมดี วิบากย่อมดี ตายไปก็ไปสู่สุคติโลกสวรรค์แน่

    ข) ถ้าชาติหน้าไม่มี ผลของกรรมหรือวิบากของกรรมทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่วไม่มี ในปัจจุบันเราก็ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน(ทั้งตนเองแล้วผู้อื่น) ไม่มีทุกข์ มีแต่สุขก็มีผลเป็นสุขในปัจจุบัน

    ค) ในปัจจุบัน เมื่อเราไม่ได้คิดชั่วแก่ใคร ๆ ใจเราก็ไม่เป็นทุกข์ เพราะบุญ บาป, ดี ชั่ว, กุศล, อกุศล ล้วนเกิดจากความคิดของเราเองทั้งสิ้น เราเป็นผู้ก่อ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้กระทำกรรมขึ้นเอง กรรมทั้งหลายล้วนเกิดที่ใจก่อนทั้งสิ้น เพราะธรรมหรือกรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้ามีใจเป็นใหญ่ (ใจประเสริฐสุด) ทุกสิ่งสำเร็จได้ที่ใจ พระอริยสาวกทุกท่านจึงบำเพ็ญเพียรปฏิบัติที่ใจเป็นหลักโดยใช้สติคุมจิตของตนเอง อย่าให้คิดชั่ว ผลทำให้จิตผ่องใสอยู่เสมอ และเป็นสุข

    ง) พระอริยสาวก เมื่อท่านไม่ทำชั่วแม้แต่คิด ท่านกระทำแต่กรรมดี จิตของท่านจึงผ่องใสอยู่เสมอ

    ๑๔. พวกกาลามโคตร เมื่อฟังธรรมของพระองค์จบแล้ว ก็เกิดศรัทธาในธรรมของพระองค์ เพราะใจหมดสงสัยในธรรมที่พระองค์ได้แสดงแล้ว ต่างก็ขอเป็นอุบาสก อุบาสิกา ขออยู่ในไตรสรณคมณ์ตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    วิจารณ์ :

    เพื่อสะดวกและง่ายต่อการจดจำ ผมขอแยกออกเป็นข้อ ๆ ดังนี้

    ๑. ผู้อ่านหากอ่านแล้วใช้ปัญญาพิจารณาตาม ก็จะทราบได้ชัดว่า ชาวกาลามโคตร เป็นบุคคลที่มีพื้นฐานธรรมทางพุทธศาสนาต่ำ ขั้นเนยยะหรือดอกบัวขั้น ๓ ระดับปริ่มน้ำเท่านั้น ไม่สามารถจะรับธรรมขั้นสูงไปพระนิพพานได้ในชาติปัจจุบันนี้ พระองค์จึงไม่ใช้อริยสัจลงท้ายในการสอน เพราะอริยสัจเป็นวิปัสสนาญาณสูงสุดหรือตัวปัญญาสูงสุดในพุทธศาสนา และมีแต่เฉพาะพุทธศาสนาเท่านั้น ศาสนาอื่นๆ ไม่มี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ต่างก็บรรลุเป็นพระพุทธอริยสัจ และพระสาวกของพระองค์ทุกๆองค์ ก็จบกิจเป็นพระอรหันต์ด้วยอริยสัจทั้งสิ้น มีทางนี้ทางเดียว ทางอื่นไม่มี (ข้อความนี้เป็นพุทธพจน์)

    หากสถานที่ใดที่พระองค์เทศน์สอน ถ้ามีบุคคลหรือคนหมู่ใดมีจิตสูง มีพื้นฐานของธรรมเดิมอยู่ในตนสูงพอ พระองค์จะสอนให้เขาหมดความสงสัย ในสิ่งที่เขายังติดอยู่ได้ด้วยพุทธญาณหรือสัพพัญญูญาณ ให้เขาเป็นพระอริยเจ้าได้ พระองค์จะลงท้ายคำสอนด้วยอริยสัจเสมอ และเมื่อพระองค์ทรงใช้อริยสัจ ณ ที่ใด ณ ที่นั้นจะต้องมีผู้บรรลุมีดวงตาเห็นธรรมเป็นพระอริยเจ้าได้อย่างน้อย ๑ คนเสมอ

    หากมีบุคคลกลุ่มใหญ่ไปเฝ้าพระองค์ พระองค์มักจะใช้อนุบุพกถา ๕ สอนเสมอ (เริ่มด้วย ทานกถา, ศีลกถา, สักกะกถา หมายถึง ธรรมที่ทำมนุษย์ให้เป็นเทวดา คือ หิริ โอตตัปปะ กามกถา หมายถึง ธรรมที่ชี้ให้เห็นโทษของกาม และ เนกขัมมะ หมายถึง ธรรมที่ชี้ให้เห็นคุณของการออกจากกาม แล้วจบลงที่ อริยสัจ ๔) ผลก็คือมักจะมีผู้บรรลุ มีดวงตาเห็นธรรมเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่อรหันตผลลงมาถึงพระโสดาปัตติผล อย่างต่ำที่สุดก็ถึง ไตรสรณาคมณ์มาถึงตลอดชีวิต สาเหตุก็เพราะพระองค์ทรงมีพระพุทธญาณ หรือสัพพัญญูญาณแต่พระองค์เดียว ย่อมสามารถรู้ได้ทุกอย่าง จึงสอนให้เหมาะสมกับผู้รับฟังทุกประการ

    ๒. ผู้มีปัญญาทางพุทธ จะเห็นได้ชัดว่า พระสูตรนี้พระองค์ทรงแสดงไว้เป็นหลักในการตัดสินคำสอนหรือธรรมของผู้อื่น ซึ่งไม่ใช่ธรรมของพระองค์ หรือพวกศรัทธาจริตแต่ขาดปัญญา เพราะมีโมหะจริตควบอยู่ด้วย

    ๓. ผู้มีปัญญาทางพุทธ จะทราบได้ว่า พระองค์ทรงใช้พุทธญาณ จึงรู้จริต นิสัย และกรรมของแต่ละบุคคล ซึ่งสร้างกรรมกันมาไม่เสมอกัน จึงสอนให้เหมาะสมตามกรรมของเขา และรู้ล่วงหน้าด้วยว่า เมื่อสอนจบแล้วเขาจะได้รับผลอย่างไร โดยไม่มีคำว่าผิดพลาดแม้แต่ครั้งเดียว

    ๔. คำสอนของพระองค์ พระองค์ได้พิสูจน์มาแล้ว ด้วยพระองค์เองก่อนจนเกิดผล คือ มีธรรมนั้น ๆ จริงในพระองค์ก่อนแล้ว จึงเอาของจริงนั้นมาสอน ไม่ใช่คิดเอา ตรึกเอา คาดคะเน อ้างเอาตำรารวม ๑๐ ข้อในกาลามสูตร พระองค์ตรัสรู้ได้ด้วยตนเอง ไม่มีครู ไม่ต้องอาศัยครู (กรุณาอ่านบทความนี้ในข้อที่ ๖ ประกอบ เรื่องทรงใช้สรรพนามเรียกพระองค์ว่า ตถาคต)

    ๕. ผู้มีปัญญาทางพุทธ ใช้คำแปลบทสวดมนต์ สรรเสริญ พระธรรม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม...มาอ้างได้ทั้งบท
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ๖. เป็นความเห็นต่อจากข้อที่ ๒ พระองค์ให้หลัก ๑๐ ข้อ นี้ไว้ เพื่อตัดสินธรรมของบุคคลทั่วๆ ไป ให้ใช้หลัก ๑๐ ข้อนี้เป็นเครื่องพิจารณา เพื่อมุ่งไปสู่ผล ให้ถือเอาผลเป็นเครื่องตัดสิน ทั้งนี้มิได้เอาหลัก ๑๐ ข้อนี้มาใช้กับคำสอนของพระองค์ เพราะเพียงแค่อริยสาวกของพระองค์ ซึ่งหมดความโลภ โกรธ หลงแล้วเป็นตัวอย่างในการแสดงธรรม หรือประกอบคำสอน ก็ทำให้ชาวกาลามโคตรหมดสงสัย เกิดศรัทธาในคำสอนของพระองค์ จึงพากันถือเอาไตรสรณาคมณ์เป็นพึ่งตลอดชีวิต แต่ในปัจจุบันนั้นมีพวกที่ชอบตีเสมอพระองค์ พยายามวัดรอยเท้า (พระบาท) ของพระองค์ ยกเอากาลามสูตรขึ้นมาอ้าง แล้วสรุปว่า แม้คำสอนของพระพุทธเจ้าก็ยังเชื่อไม่ได้ เป็นต้น ผมจึงขอให้ผู้มีปัญญาทางพุทธได้อ่านเกสปุตตสูตร (กาลามสูตร) เสียก่อน ก็จะพบความจริงว่า พระองค์ให้หลัก ๑๐ ข้อไว้สำหรับใช้พิจารณาคำสอนของพวกที่ยังมีความโลภ โกรธ หลง อยู่ต่างหาก หรือใช้กับพวกที่เขียนกาลามสูตร แล้วสรุปว่าแม้คำสอนของพระองค์ก็ยังเชื่อไม่ได้ ต้องใช้หลัก ๑๐ ข้อนี้ก่อน

    ๗. โปรดสังเกตว่า

    ก) พวกที่ชอบอ้างกาลามสูตรบ่อย ๆ ก็คือพวกที่คัดค้านคำสอนของพระองค์โดยตรงว่า นรก สวรรค์ เทวดา พรหมไม่มี นิพพานสูญ คนตายแล้วสูญไม่เกิดอีก

    ข) พวกเหล่านี้ แม้ตัวหัวหน้าเองซึ่งเป็นคนแรกที่เขียนและแสดงธรรมเรื่องกาลามสูตร ยังเลี้ยงปลาตู้และยังซ้อนลูกน้ำให้ปลากิน แสดงว่าเขาไม่สนใจเรื่องพระวินัย หรือศีลแม้แต่น้อย

    ค) บางคนก็ยังฆ่ามด ฆ่ายุงอยู่เป็นประจำ โดยให้เหตุผลว่า ยุง มด เป็นสัตว์ไม่มีประโยชน์ นำเชื้อโรคมาสู่คน ทำความรำคาญให้กับมนุษย์ฆ่าได้ ไม่ผิดศีล

    ง) บางคนสอนธรรมทางวิทยุ ทางทีวี และอัดเทปแจกรถทัวร์ทั่วประเทศ มีความตอนหนึ่งว่า วิธีอดบุหรี่ง่ายมาก เพียงแค่อ้าปากก็อดบุหรี่ได้แล้ว การดื่มสุราไม่มีประโยชน์ กินอุจจาระ(ขี้) เสียยังดีกว่า เพราะในอุจจาระยังมีวิตามินอยู่

    จ) บางคนสอนธรรมว่า การไหว้เทวดา ไหว้หมาดีกว่า และผู้นี้แหละสอนว่าหากพระภูมิเห่าได้ก็จะไหว้ เป็นต้น พวกเหล่านี้แหละที่ชอบอ้างกาลามสูตรอยู่เป็นประจำ ผมจึงให้ผู้อ่านกรุณาพิจารณาว่า คำสอนของพวกเหล่านี้แหละ ที่จะต้องใช้กาลามาสูตร ๑๐ ข้อเป็นเครื่องตัดสิน

    ๘. เหตุผลอีกข้อหนึ่งที่ชาวพุทธแท้ควรรู้ไว้คือ ข้อห้ามหรือคำสอนบางอย่างของพระองค์ พระองค์มุ่งหรือมีเจตนาห้ามแต่เฉพาะสาวกของพระองค์เท่านั้น แต่มิได้มุ่งห้ามตัวของพระองค์เอง ตัวอย่างเช่น พระองค์ห้ามสาวกของพระองค์แสดงฤทธิ์ ใครแสดงจะมีโทษถูกปรับอาบัติ ใครจะแสดงฤทธิ์จึงต้องมาขออนุญาตจากพระองค์ก่อนเสมอ แต่พระองค์เองกลับแสดงฤทธิ์ได้ ด้วยเหตุจึงทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลสงสัย ทูลถามพระองค์ขึ้นว่า เพราะเหตุใด "พระองค์กลับถามพระเจ้าปเสนทิโกศลบ้างความว่า มหาบพิตร มีสวนผลไม้และดอกไม้ แล้วออกกฎห้ามผู้อื่นมาเก็บผลไม้และดอกไม้ไว้ว่า หากใครมาเก็บมีโทษใช่หรือไม่" พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ตอบว่า ใช่ พระพุทธเจ้าข้า เพราะตัวท่านเป็นเจ้าของสวน จึงสามารถเก็บผลไม้และดอกไม้นั้นได้ พระองค์ก็ตรัสว่าฉันใดก็ฉันนั้น พระองค์เองก็เป็นเจ้าของพระพุทธศาสนาเป็นผู้ตั้งพุทธศาสนาขึ้น กฎระเบียบต่างๆ ที่พระองค์บัญญัติไว้พระองค์มุ่งเพื่อห้ามสาวกมิให้กระทำผิดส่วนเดียว มิได้หมายถึงห้ามตัวพระองค์ไม่ให้ทำเช่นกัน
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ๙. อีกข้อหนึ่งก็คือ หากคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ยังเชื่อไม่ได้แล้ว เราจะยึดอะไรเป็นหลักปฏิบัติในทางพุทธศาสนา เพราะพุทธศาสนาก็คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง ดังนั้น คนที่อ้างกาลามสูตรแล้วสรุปเอาเองว่า แม้คำสอนของพระองค์ก็ยังเชื่อไม่ได้นั้น จึงเป็นการเข้าใจผิดโดยตรง การเข้าใจผิดเพราะความโง่ด้วยความหลงผิด ก็ควรให้อภัยเพราะเจตนาร้ายไม่มี แต่หากผู้เขียนผู้พูดรู้ดีอยู่แล้ว แต่มีเจตนาร้าย ตั้งใจจะให้ผู้อื่นเข้าใจผิด เพราะหวังทำลายพระพุทธศาสนา ก็ให้อภัยกันไม่ได้ เพราะเขาเป็นเดียรถีย์ พฤติกรรมเช่นนี้มีมานานแล้ว ตั้งแต่พวกพราหมณ์หวังจะยึดเอาคำสอนของพระองค์มาเป็นคำสอนของตน คำสอนใดดีถูกใจตน ก็โมเมว่านั่นแหละคือคำสอนของพราหมณ์ โดยค่อย ๆ เปลี่ยนความคิดของคนตามลำดับ ซึ่งต้องใช้เวลานานหลายปี เช่นเดียวกันในปัจจุบันนี้ พวกเดียรถีย์หรือคนนอกศาสนา ก็กำลังคิดและทำการเปลี่ยนคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ถูกใจเขาให้เป็นคำสอนของพระเจ้า และมีบุคคลกลุ่มหนึ่งแต่งตัวคล้ายพระ คือ โกนหัว โกนคิ้ว ห่มผ้าเหลือง อยู่วัด หรือสำนักสงฆ์ กำลังเบี้ยว คำสอนของพระองค์ให้เป็นอย่างอื่น เช่น อ้างว่าพุทธศาสนาไม่มีนรก สวรรค์ นิพพาน ไม่มีพรหม ไม่มีเทวดา ตายแล้วสูญ ไม่เกิดอีก เป็นต้น

    ซึ่งขัดกับคำสั่งสอนของพระองค์โดยตรงอย่างชัดแจ้ง มีผลทำให้พวกศรัทธาจริตควบโมหะจริต ซึ่งขาดปัญญาและเชื่ออะไรง่าย ๆ คล้อยตาม เห็นผิดเป็นชอบ เชื่อพวกเขาอย่างสนิทใจเป็นจำนวนมาก ทำให้องค์กรสงฆ์มีความเห็นแตกแยกเป็น ๒ ฝ่าย คือพวกหนึ่งเชื่อว่า เทวดา พรหม นรก สวรรค์มีจริง พระนิพพานมีจริงไม่สูญ และตายแล้วเกิดตามกฎของกรรมที่ตนเป็นผู้ทำเอาไว้เองทั้งสิ้น ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

    อีกพวกหนึ่งเชื่อว่าไม่มี มีความเห็นตรงกับพวกแรก ขัดต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ๑๐๐ % เกิดการแบ่งแยกความเห็นขัดแย้งกัน ๒ พวกอย่างชัดเจน แบบคริสต์ที่ประเทศสกอตแลนด์ เมืองเบลฟาสท์ ระหว่างคริสต์นิกายคริสตัง กับคริสต์นิกายโปแตสแตน ทะเลาะกันถึงขั้นฆ่ากันเอง เป็นเวลากว่า ๘๐ ปีแล้วก็ยังไม่สงบ

    ผมหวังว่าพวกเราซึ่งสนทนาธรรมกัน เพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้นทุกข์อย่างถาวร (เพื่อพระนิพพาน) มาเป็นเวลากว่า ๑๕ ปีแล้ว คงจะเข้าใจดี และสามารถอธิบายให้ผู้หลงผิดทั้งหลายกลับมาสู่หนทางที่ถูกต้องได้ เพราะไม่มีอะไรสายเกินแก้ในพุทธศาสนา

    ในที่สุดนี้ ผมขออาราธนาบารมีของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม บารมีของพระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ บารมีของพระอรหันต์ทุก ๆ พุทธันดร จงดลบันดาลเป็นกำลังใจให้พวกเราชาวพุทธที่ตั้งใจมั่นปฏิบัติอยู่ในขอบเขตของ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ทาน ศีล ภาวนา จงประสพแต่ความสุข ความเจริญทั้งกายใจในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน และได้เข้าสู่พระนิพพานในอนาคต เมื่อร่างกายหรือขันธ์ ๕ พังแล้วทุกท่านเทอญ

    พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ผู้รวบรวม
     
  7. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    หายเป็นพักๆครับ 555+

    ความรู้ยังไม่มีให้อวดเลย ยังดูแล้วก็พิจารณา แล้วก็ ปลงๆ

    วิปัสสนาอ่อนมากๆ 555+

    มโนยิทธิ ดีนะ เราฝึกแล้ว เห็นแล้ว ก็เลิกสงสัย นรก สวรรค์

    รู้อดีต เกิดอีกแล้ว เป็นโน่น เป็นนี่ ดีมั่ง ไม่ดีมั่ง

    ถ้ามองทางโลกก็ว่าดีมีตำแหน่งใหญ่โต ถ้ามองทางธรรมก็ประมาณว่า

    เกิดอีกแล้ว วนเวียนไป วนเวียนมา ไม่สิ้นสุดซะที แต่ก็ยังไปไม่ได้ 555+

    คุณสมบัติไม่ถึง

    บางคนกายละเอียด มืดเชียว ต่ากว่ามนุษย์อีก พูดซะดีเป็นเรื่องเป็นราว 555+

    บางคนที่รู้จัก แต่ไม่เคยพูดคุย เห็นเงียบๆ เหม่ เป็นกายเทวดาเลย

    หลวงพ่อท่านสอนเรื่อง อารมณ์ของพระโสดาบันด้วยนะครับ(ดูสังโยชน์ 10)

    ศีล 5 ได้แล้ว ต่อด้วย กุศลกรรมบถ 10 เลยครับ
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    หรอ...ถ้างั้น กายเราคงดำปิ๋ดปี๋เลย ชิมิ
    เราชอบธรรมะ ชอบพูดคุยเรื่องธรรมะ ไม่ชอบนินทาใคร ไม่ตำหนิกรรมของใคร
    เรารักษากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ไม่ให้ตกไปในฝ่ายมิจฉาทิฏฐิ
    เราไม่ชอบยุ่งเรื่องของใคร ปฏิบัติไปในเส้นทางที่เราตั้งปณิธานไว้
    ระหว่างทางจะเป็นอย่างไร เราไม่สนใจหรอก เรามองเป้าหมายอย่างเดียว

    ทุกคนล้วนเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วด้วยกันทั้งสิ้น
    เราได้เห็นชาติภพของตนเอง แต่ไม่ได้เห็นด้วยมโนมยิทธิ
    บอกไม่ถูก พูดไม่ได้ เห็นแล้วทำให้ได้รู้ถึงปณิธานแห่งตน
    และเบื่อหน่ายการเวียนว่าย ความพลัดพราก ได้เห็นทุกข์แต่ยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ แต่เราก็จะพยายามเพียรให้ถึงที่สุดในชาตินี้

    หลวงพี่บอกว่า ให้เห็นแต่ทุกข์ เห็นไตรลักษณ์ในรูปนาม ให้เห็นด้วยใจและเห็นซ้ำๆ ไม่ใช่เห็นแค่ครั้งเดียวแล้วเลิก

    ธรรมที่เรานำมาโพสท์ไว้ เราเห็นว่าดีมีประโยชน์แก่กัลยาณมิตร จึงได้นำมาลงไว้ ธรรมนั้นไม่ได้เป็นของเรา

    หลวงพี่บอกว่า ธรรมเหนือธรรม คือ ไม่มีธรรม
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สิ่งที่เราเห็นนั้นแค่... เห็นธรรมในธรรมชาติ ซึ่งยังไม่ถึงที่สุด ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น
    จะต้องทำความเพียรอีกเยอะ ปักลงไปที่ไตรลักษณ์ของรูปนาม จนกระทั่งไม่มีอะไร แม้กระทั่งธรรม
     
  10. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    ถ้ามีศีล 5 ก็ไม่มืดนะ

    เรายังรู้เห็นไม่ละเอียดหรอก เห็นมีแบบ หยาบ ละเอียด มี กายพรหมด้วย ก็แปลกๆดี

    เพื่อนคนไหนศีล 5 ได้แล้ว เราจะบอกให้ต่อด้วย กุศลกรรมบถ 10

    แล้วก็ต่อด้วยให้ตัดสังโยชน์ 3 ข้อแรก

    ให้พ้นอบายภูมิกันก่อน 555

    เท่าที่เคย ถ้ามีศีล 5 แบบตั้งใจรักษาแล้วปฎิบัติธรรมด้วย จะเห็นเป็นเทวดา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2013
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ขออนุโมทนาด้วยนะ ศีลห้ายังไม่เท่าไหร่ แต่กรรมบท 10 เนี่ย ถ้าปฏิบัติไม่ได้ ลงนรกอย่างเดียวเลยนะ ตัดสังโยชน์สาม มันเป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน มันไม่ยากนะ

    - รักษาศีลยิ่งชีวิต
    - รักพระนิพพาน
    - เชื่อมั่นในพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง
     
  12. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    คุณ hastin ไปเข้าคอร์สฝึกเพิ่มมาหรือ เราก็ไปปฏิบัติธรรมมาเหมือนกัน ได้อะไรมาเยอะ ต่อยอดได้อีก เราไม่ได้มุ่งฤทธิ์

    เราโดนหลวงพี่ตำหนิมาว่าเราหลงทาง เพราะส่งจิตออกนอก ไปหลงกับฤทธิ์ ไม่ดูในกาย ต้องมาเริ่มใหม่ หุหุ
     
  13. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    ไม่ได้ฝึกอะไรเพิ่มหรอกครับ ต่อกับของเก่า

    คำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุง ไม่ได้มีแต่มโนยิทธินะครับ มีครอบคลุม กรรมฐาน 40

    แล้วก็อ่าน ธรรม ครูบาอาจารย์ ที่นับถือ หลวงปู่ดู่ หลวงปู่โต พระสังฆราชสุก

    เราเป็นพวกขี้สงสัยมากกว่าคนปกติ 555+ แต่ไม่ติดหรอก เพราะว่ารู้โทษของมัน

    แต่บางครั้งก็รับรู้ได้ว่าโดนตำหนิเหมือนกัน ช่วงนี้จะเริ่มเน้นวิปัสสนา 555+

    ชาวบ้านเค้าไปกันไกลแล้ว เพิ่งจะมานึกถึง
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อืม....ดีแล้ว ขอให้เจริญในธรรมนะ แม้จะช้าแต่ว่ายังไม่สาย หุหุ
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    บางทีเราก็อยากไปเห็นสวรรค์เหมือนกันนะ อยากไปดูให้หมดทุกที่
    อยากขึ้นไปฟังธรรมจากพระโอษฐ์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมเด็จองค์ปฐม
    แต่มาคิดๆ ดู อยากมันก็เป็นตัณหา เราเพียรเพื่อละ แล้วจะอยากไปทำไม
    ก็เลยปฏิบัติไปตามแนวทางเดิมแล้วกัน ไปเรื่อยๆ แต่เน้นเดินปัญญาให้ถึงที่สุด
     
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    จิตมันยังไม่แน่ มันจ้องจะหลงทางตลอด เผลอไม่ได้เลย
    พอดีไปอ่านเจออันนี้มาจากเฟสบุค ก็เลยได้สติพิจารณา

    ความเพลินใดในรูปนั้นมีอยู่.....ความเพลินนั้น คืออุปาทาน
    ความเพลินใดในเวทนานั้นมีอยู่...ความเพลินนั้น คืออุปาทาน
    ความเพลินใดในสัญญานั้นมีอยู่....ความเพลินนั้น คืออุปาทาน
    ความเพลินใดในวิญญาณนั้นมีอยู่....ความเพลินนั้น คืออุปาทาน

    เพราะอุปาทานนั้นมีอยู่ เป็นปัจจัย....เพราะมีปัจจัยจึงมีภพ
    เพราะมีภพจึงเป็นเหตุ ให้มีชาติ เพราะมีชาติ...จึงเป็นเหตุ ให้มีชรา
    เพราะมีชราจึงเป็นเหตุ ให้มีมรณะทั้งหลาย ฯ....เพราะมีความเกิดขึ้นทั้งหลายครบถ้วน กองทุกข์ทั้งหลายจึงอุบัติขึ้นทันที ...... สาธุ สาธุ
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    มารู้จักรูป-นาม กันเถอะ

    ที่มา : BlogGang.com : : ���ԡ�� : ��� �͹��� 1 - �ٻ ��� ��� ����

    มโน ตอนที่ 1 - รูป นาม คือ อะไร

    บทความเรื่อง มโน นี้เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งในระดับปรมัตถ์ธรรม ที่จะพยายามนำมาแสดง เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจ และ เมื่อเข้าใจเรื่องของ มโน นี้ได้ ท่านก็จะเข้าใจการปฏิบัติธรรมได้มากขึ้น

    ********************************

    ในการภาวนาเพื่อการพ้นทุกข์นั้น มโน คือ ชื่อหนึ่งของจิต ที่นักภาวนา ต้องเห็น ต้องรู้การทำงานภายใน มโน นั้น. มิฉะนั้น จะไม่สามารถไปถึงจุดหมายปลายทางได้

    ขบวนการของทุกข์ที่เป็นระดับปรมัตถ์ธรรมนั้น ล้วนเกิดใน มโนทวาร ทั้งสิ้น
    ถ้านักภาวนาไม่สามารถเห็นขบวนการของการเกิดทุกข์ และ ขบวนการของการดับทุกข์ ที่เกิดขึ้นใน มโนทวาร ได้ นักภาวนาจะไม่เข้าใจในอริยสัจจ์ 4 ได้อย่างลึกซี้งเลย

    นักภาวนาจะไม่รู้อย่างแท้จริงว่า ทุกข์ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนว่า อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ หมายความว่าอย่างไร

    นักภาวนาจะไม่เข้าใจว่า ทำไมพระพุทธองค์ทรงตรัสสอนให้ละ.ตัณหา. ไม่ใช่ละ.กิเลส.

    นักภาวนาจะไม่รู้จักกับ นิโรธ คือ การสิ้นสุดแห่งทุกข์ว่ามีลักษณะอย่างไร ทำไมทุกข์ถึงสิ้นไปได้

    นักภาวนาจะไม่เข้าใจกับคำว่า สัมมาทิฐิ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ อย่างลึกซึ้ง

    เมื่อนักภาวนาลงมือฝึกฝนการเจริญสติปัฏฐานในหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐานอย่างถูกต้อง สิ่งที่นักภาวนาจะพบเห็นได้ดังที่เขียนไว้ในเรื่อง สภาวะที่จะพบขณะที่ฝึกฝนการปฏิบัติธรรม - มุมมือใหม่ สภาวะที่พบในขณะนั้นคือสภาวะที่เกิดขึ้น .มโนทวาร. และ สภาวะเหล่านี้ ทางศัพท์ภาษาพระ จะเรียกว่า .รูป.

    เมื่อนักภาวนาทำการเดินจงกรม หรือ เคลื่อนไหวไปมาเช่นการเคลื่อนมือ หรือ เกิดการกระทบสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย นักภาวนาจะพบว่า นักภาวนาจะพบกับอาการของการเกิด.วูบวาบ. ขึ้นตลอดเวลา การเกิด.วูบวาบ.นี้แหละ คือ การที่.รูป.เป็นไตรลักษณ์ ไม่คงทน แปรเปลี่ยนไปมา นักภาวนาพบกับไตรลักษณ์ของรูปแล้ว เพียงแต่ว่า เมื่อไม่มีใครบอก ก็จะไม่ทราบในเรื่องนี้

    ในขณะฝึกฝน.ที่ถูกต้อง. (ถูกอย่างไร คงทราบกันดีอยู่แล้ว) นักภาวนายังคงสภาพจิตใจเช่นเดิมที่เป็นปรกติอยู่ ที่ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกตัวได้ดีอยู่ นักภาวนาจะพบกับไตรลักษณ์ของ.รูป.ที่มัน.วูบวาบ.ไปมา

    สิ่งที่ไปรับรู้อาการของ .รูป. ที่วูบวาบไปมานี้ คือ .จิตลูกโป่ง. หรือ ศัพย์ภาษาพระ เรียกว่า .นาม.

    เมื่อ.จิตลูกโป่ง.ยังคงรับรู้.รูป.วูบวาบ.ไปมาได้ดีอยู่ นี่คือเครื่องบ่งชี้ว่า ในขณะนั้น .จิตลูกโป่ง.ยังตั้งมั่นอยู่ในฐานได้ดีอยู่ ไม่ถูกอำนาจของ.ตัณหา.ดึงไปเกาะยึดกับ.รูป.ที่กำลังวูบวาบนั้น นี่คือการฝึกฝนที่ตรง ๆ ให้.จิตลูกโป่ง.ตั้งมั่น เป็นการฝึกที่ไม่โยกโย้เฉไฉอ้อมไปอ้อมมาเลย ความตั้งมั่นแห่ง.จิตลูกโป่ง.ที่ถูกฝึกเพราะการรู้.รูป.ที่วูบวาบนี้เมื่อเกิดขึ้นได้เมื่อไร เมื่อนั้น นักภาวนาก็จะพร้อมที่จะลุยต่อกรกับกิเลสที่เกิดขึ้นใน มโนทวาร ได้แล้ว

    ถ้าท่านยังว่ายน้ำไม่เป็น และต้องการหัดว่ายน้ำ มีคนบอกท่านว่า การว่ายน้ำ ร่างกายต้องแข็งแรงถึงจะว่ายน้ำได้ ท่านฟังแล้วก็เข้าใจในเรื่องความแข็งแรงนี้ ท่านลงทุนไปหัดวิ่ง หัดเล่นกล้าม จนกล้ามเนื้อขึ้นเป็นมัด ๆ สามารถใช้มือหักงอเหล็กที่หนา ๆ ได้อย่างสบาย เมื่อท่านแข็งแรงมากแล้วตามที่คนเขาบอกเล่ามา เมื่อท่านลงน้ำครั้งแรก ความแข็งแรงที่ท่านได้มาจากการหัดวิ่ง เล่นกล้าม ไม่ช่วยให้ท่านว่ายน้ำได้เลย ท่านอาจจมน้ำตาย ได้ในครั้งแรก เฉกเช่นกับคนธรรมดาคนหนึ่งที่ว่ายน้ำไม่เป็น แล้วต้องการจะเล่นน้ำ

    ในการภาวนานั้น จิตมีกำลังพร้อมจะสู้กับกิเลสก็เช่นกัน การฝึกฝนที่ตรงทางเท่านั้น จึงจะทำให้เกิดจิตมีกำลังที่ถูกที่ควรในการต่อสู้กับกิเลส ถ้าจิตมีกำลังแบบผิดที่ผิดทาง มันไม่ได้ช่วยอะไรท่านเลย
     
  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]

    จากรูป ถ้าว่ากันไปตามตำราพระอภิธรม

    ส่วนที่เป็นรูป คือ ปรมัตถ์ของกาย ที่เป็น ดิน ไฟ ลม
    ส่วนที่เป็นนาม คือ เวทนา และ จิตปรุงแต่ง ซึ่งตำราเรียกชื่อว่า เจตสิก
    ส่วนที่เป็นนาม คือ จิตลูกโป่ง หรือ จิตรู้ ที่ตำราเรียกว่า จิต

    เมื่อ จิตลูกโป่ง เข้าไปรู้ ปรมัตถ์ของกาย เช่น รู้กระทบ รู้ไหว อย่างนี้จะเรียกว่า นามรู้รูป
    เมื่อ จิตลูกโป่ง เข้าไปรู้เวทนา หรือ รู้จิตปรุงแต่ง อย่างนี้เรียกว่า นามรู้นาม

    ท่านจะเห็นว่า ในสภาพปรมัตถ์ จะมีแต่ รูป และ นาม ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน ไม่มีเราเขา ที่คนทั่ว ๆ ไปเห็นว่า มีคน มีเรา มีเขา นั้นเป็นการรู้ระดับทางโลก ที่เรียกกันว่า สมมุติบัญญัติ
     
  19. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    กรุณาเจโตวิมุตติ

    พรหมวิหารสี่
    ข้อเมตตาและกรุณาเจโตวิมุตติ

    กรุณาเจโตวิมุตติ


    อนึ่ง ตรัสสอนให้เจริญกรุณา คือแผ่จิตออกไปด้วยกรุณาเป็นความเอื้ออารี คิดช่วยให้พ้นทุกข์เดือดร้อนต่าง ๆ ว่าถึงอัปปมัญญา ก็แผ่ไปในสัตว์บุคคลทุกถ้วนหน้า และในทิศทั้งหลายทั่วทิศเหมือนอย่างเมตตานั้น

    เมื่อกรุณาบังเกิดขึ้นในจิต จิตก็จะพ้นไปจากวิเหสา คือความคิดเบียดเบียนต่าง ๆ หรือโทมนัส เช่นความรู้สึกเสียใจเมื่อได้เห็นทุกข์ของคนที่เป็นที่รัก เป็นจิตที่บริสุทธิ์ด้วยกรุณาจึงเป็นเจโตวิมุตติ

    ความพ้นแห่งใจอีกข้อหนึ่ง เรียกว่ากรุณาเจโตวิมุตติ

    เมื่อเป็นชื่อของธรรมก็แปลว่า ธรรมที่ทำให้ได้รับความพ้นแห่งใจคือกรุณา และกรุณาดังกล่าวมานี้ เมื่อแผ่ให้ละเอียดยิ่งขึ้น

    ตรัสแสดงไว้ว่า มีอากาศเป็นอย่างยิ่ง คือมีช่องว่างหรือความว่างเป็นอย่างยิ่ง ก็เพราะว่าเมื่อยังไม่ว่าง ยังมีสัตว์บุคคลทั้งหลายอยู่ แม้ว่าผู้อบรมเจริญกรุณาจะไม่มีจิตเบียดเบียนใคร และมุ่งช่วยให้พ้นจากความทุกข์ทั้งสิ้น แต่แม้เช่นนั้น สัตว์บุคคลนั้น ก็ยังเบียดเบียนกันอยู่ ทำให้มีความทุกข์เดือดร้อนต่าง ๆ ที่นั่นบ้างที่นี่บ้าง เพราะผู้ที่ไม่มีกรุณานั้นก็ยังมีอยู่เป็นอันมากในโลกนี้ ผู้ที่มีกรุณาจริง ๆ นั้นมีน้อย สัตว์บุคคลทั้งหลายจึงต่างเบียดเบียนซึ่งกันและกันเป็นอันมาก เกือบจะทั้งโลก และทั้งถ้าไม่มีใครเบียดเบียน สัตว์บุคคลนั้น ๆ เองก็ต้องมี ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณะทุกข์เบียดเบียน เป็นภัยอันตรายที่พระพุทธเจ้าก็ตรัสเรียกว่า อมาตาปุตติกภัย ภัยที่แม่กับลูกก็ช่วยกันไม่ได้ อันภัยอื่น ๆ นั้นก็อาจจะช่วยกันได้บ้าง ช่วยกันไม่ได้บ้าง เช่นว่าอัคคีภัย อุทกภัย แต่ว่าชราภัย พยาธิภัย มรณะภัยนั้นช่วยกันไม่ได้

    ฉะนั้น เมื่อยังมีสัตว์มีบุคคลอยู่ จึงต้องเป็นทุกข์เพราะเบียดเบียนซึ่งกันและกันบ้างเพราะชราภัย พยาธิภัย มรณะภัยบ้าง เป็นอันว่าต้องเป็นทุกข์เดือดร้อนอยู่นั่นเอง

    หัดปฏิบัติสุญญตา พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนให้หัดปฏิบัติสุญญตา คือความว่าง ทีแรกก็ให้หัดปฏิบัติทำความรู้ที่เป็นสัญญา คือ กำหนดหมายว่า ไม่มีสัตว์ไม่มีบุคคล เป็นป่าเขาลำเนาไม้ไปทั้งหมด

    และต่อจากนั้น ก็ให้ทำสัญญาคือความกำหนดหมายว่า แม้ป่าเขาลำเนาไม้ต่าง ๆ ก็ไม่มี มีแต่แผ่นดินราบเป็นหน้ากลองไปทั้งหมด

    จากนั้นก็ให้หัดทำสัญญาว่า แม้แผ่นดินที่ราบเป็นหน้ากลองนั้นก็ไม่มี มีแต่อากาศคือช่องว่างไปทั้งหมด คือเป็นความว่างไปโดยรอบในทิศทั้งปวง ไม่มีสัตว์ไม่มีบุคคลบ้านเมืองไม่มีป่าเขาลำเนาไม้ ไม่มีแผ่นดินเป็นอากาศคือความว่างไปทั้งหมด

    และเมื่อกำหนดอากาศสัญญา ความกำหนดหมายว่าเป็นอากาศคือความว่างไปทั้งหมดดั่งนี้ ก็ไม่พบอะไรที่จะถูกเบียดเบียนอันจะต้องให้ช่วย

    เพราะฉะนั้น จึงได้ตรัสไว้ว่า กรุณาเจโตวิมุตตินั้นมีอากาศคือความว่างเป็นที่สุด เป็นอย่างยิ่ง

    เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว ก็เป็นอันว่าสิ้นเขตของกรุณาเจโตวิมุตติ เพราะว่าจะไม่พบอะไรที่ต้องแผ่กรุณาออกไปอีก เมื่อยังมีอะไรที่จะต้องทุกข์ ก็จะต้องแผ่กรุณาออกไปอีกนั่นเอง ไม่สิ้นสุดลงไปได้

    ในเมื่อปฏิบัติลงไปจนในอากาศ ว่างไปหมดแล้ว ไม่พบอะไรที่จะต้องการแผ่เป็นกรุณา ก็เป็นอันว่าสิ้นเขตของกรุณา

    การปฏิบัติแผ่เมตตา แผ่กรุณาแม้ดังกล่าวมานี้
    ก็เป็นการปฏิบัติอบรมโพชฌงค์ทั้งเจ็ด

    เพราะว่าจะต้องมีสติ คือความระลึกได้
    จะต้องมีธรรมวิจัยคือความเลือกเฟ้นธรรม
    จะต้องมีวิริยะคือความเพียร
    และย่อมจะมีปีติคือความอิ่มเอิบใจ
    มีปัสสัทธิ คือความสงบกายสงบใจ
    มีสมาธิคือความตั้งใจมั่น
    มีอุเบกขาคือความเพ่งเข้ามาดูสมาธิจิตนั้นภายใน

    คัดลอกจาก...
    ธรรมกถาในการอบรมกรรมฐาน-หน้า ๖๒-๖๓
    พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปริณายก
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เคล็ดวิชาดูจิต

    ที่มา : ������ԪҴ٨Ե

    การศึกษาธรรมะในทางพระพุทธศาสนานั้น เราศึกษาไปเพื่อหาทางพ้นทุกข์ เพื่อความสงบสุขเป็นจุดสำคัญ จะศึกษาเรื่องรูป เรื่องนาม เรื่องจิต เรื่องเจตสิกก็ตาม ก็เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์เท่านั้น จึงจะถูกทาง มิใช่อย่างอื่น

    สิ่งเหล่านี้ถ้าเราเข้าใจเสียว่า มันจะเป็นจิตก็ช่างมันเถอะ เมื่อมันนิ่งอยู่อย่างนี้ก็คือเป็นปกติของมัน ถ้าว่ามันเคลื่อนปุ๊บก็เป็นสังขารแล้ว มันจะเกิดยินดีก็เป็นสังขาร มันจะเกิดยินร้ายก็เป็นสังขาร มันอยากจะไปโน่นไปนี่ก็เป็นสังขาร ถ้าเราไม่รู้เท่าสังขาร ก็วิ่งตามมันไป เป็นไปตามมัน

    เมื่อจิตเคลื่อนเมื่อใด ก็เป็นสมมติสังขารเมื่อนั้น ท่านจึงให้พิจารณาสังขาร คือ จิตมันเคลื่อนไหวนั่นเอง เมื่อมันเคลื่อนออกไปก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    เมื่อผู้รู้ รู้ตามความเป็นจริงของจิต หรือเจตสิกเหล่านี้ จิตก็ไม่ใช่เรา สิ่งเหล่านี้มีแต่ของทิ้งทั้งหมด ไม่ควรเข้าไปยึด ไปหมายมั่นทั้งนั้น

    เหมือนกับตะเกียงเป็นตัวผู้รู้ แสงสว่างของตะเกียง มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน มันเกิดจากผู้รู้อันนี้ ถ้าจิตนี้ไม่มี ผู้รู้ก็ไม่มีเช่นกัน มันคืออาการของพวกนี้
    ฉะนั้น สิ่งเหล่านี้รวมแล้วเป็นนามหมด ท่านว่าจิตนี้ก็ชื่อว่าจิต มิใช่สัตว์ มิใช่บุคคล มิใช่ตัว มิใช่ตน มิใช่เรา มิใช่เขา ธรรมนี้ก็สักว่าธรรม มิใช่ตัวตนเราเขา ไม่เป็นอะไร ท่านให้เอาที่ไหน เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแต่เป็นขันธ์ห้า ท่านให้วาง

    สิ่งทั้งหลายที่จิตคิดไปทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้ ล้วนเป็นสังขารทั้งหมด เมื่อรู้แล้วท่านให้วาง เมื่อรู้แล้วท่านให้ละ ให้รู้สิ่งเหล่านี้ตามความเป็นจริง ถ้าไม่รู้ตามความเป็นจริงก็ทุกข์ ก็ไม่วางสิ่งเหล่านี้ได้ เมื่อรู้ตามความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็เป็นของหลอกลวง สมกับที่พระศาสดาตรัสว่า

    จิตนี้ไม่มีอะไร ไม่เกิดตามใคร ไม่ตายกับใคร จิตเป็นเสรี รุ่งโรจน์โชติการ ไม่มีเรื่องราวต่างๆ เข้าไปอยู่ในที่นั้น ที่จะมีเรื่องราวก็เพราะมันหลงสังขารนี่เอง หลงอัตตานี่เอง

    พระศาสดาจึงให้มองดูจิตของเรา เบื้องแรกมันมีอะไร ไม่มีอะไรจริงๆ สิ่งเหล่านี้มิได้เกิดด้วย มิได้ตายด้วย ถูกอารมณ์ดีมากระทบก็มิได้ดีด้วย ถูกอารมณ์ร้ายมากระทบก็มิได้ร้ายไปด้วย เพราะรู้ตัวของตัวอย่างชัดเจน

    รู้ว่าสภาวะเหล่านั้นไม่เป็นแก่นสาร ท่านเห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตัวผู้รู้นี้ รู้ตามความเป็นจริง ผู้รู้มิได้ดีใจไปด้วย มิได้เสียใจไปด้วย อาการที่ดีใจไปด้วยนั่นแหละเกิด อาการที่เสียใจไปด้วยนั่นแหละตาย ถ้ามันตายก็เกิด ถ้ามันเกิดก็ตาย ตัวที่เกิดที่ตายนี่แหละ เป็นวัฏฏะ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ไม่หยุด

    เมื่อจิตผู้ปฏิบัติเป็นอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องสงสัย ภพมีไหน ชาติมีไหม ไม่ต้องถามใคร พิจารณาอาการสังขารเหล่านี้แล้วจึงได้ปล่อยวางสังขาร วางขันธ์เหล่านี้ เป็นเพียงผู้รับทราบไว้เฉยๆ มันจะดีขึ้นมา ท่านก็ไม่ดีกับมัน เป็นคนดูอยู่เฉยๆ ถ้ามันร้ายขึ้นมา ท่านก็ไม่ร้ายกับมัน เพราะมันขาดจากปัจจัยแล้ว เมื่อรู้ตามความเป็นจริง ปัจจัยที่จะส่งเสริมให้เกิดไม่มี เมื่อถูกอารมณ์ที่ไม่ชอบใจมากระทบ มันก็เกิดเป็นอาการขึ้นกับใจเรา เราติดมันไหม เราวางมันได้ไหม อาการที่ไม่ชอบใจนั้นเกิดขึ้นมา เรารู้แล้ว ผู้รู้เอาความไม่ชอบไว้ในใจหรือเปล่า หรือว่าเห็นแล้ววาง ถ้าเห็นสิ่งที่ไม่ชอบใจแล้วยังเอาไว้ในใจของเรา ให้เรียนใหม่ เพราะยังผิดอยู่ ยังไม่ยิ่ง ถ้ามันยิ่งแล้วมันวาง ให้ดูอย่างนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...