>>> อวดรู้ (รู้แล้วได้อะไร) <<<

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 19 กรกฎาคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
    ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายมี ๘ อย่าง ฯ

    เสยยะ* ถีทัง ....................................(อ่านว่า ไสยยะ)
    ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ

    สัมมาทิฐิ
    ปัญญาอันเห็นชอบ ( รู้ในทุกข์, รู้ในเหตุแห่งทุกข์, รู้ความดับทุกข์, รู้ทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์))

    สัมมาสังกัปโป
    ความดำริชอบ ( คิดออกจากกาม , คิดในการไม่มุ่งร้าย, คิดในการไม่เบียดเบียน )

    สัมมาวาจา
    วาจาชอบ ( ไม่พูดปด, ไม่พูดส่อเสียด, ไม่พูดคำหยาบ, ไม่พูดเพ้อเจ้อ )

    สัมมากัมมันโต
    การงานชอบ ( เว้นจากการฆ่าสัตว์, เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, เว้นจากการประพฤติผิดในกาม)

    สัมมาอาชีโว
    การเลี้ยงชีวิตชอบ (เว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด , ประกอบการเลี้ยงชีพในทางที่ถูก )

    สัมมาวายาโม
    ความเพียรชอบ (เพียรไม่ให้บาปเกิดขึ้น, เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว, เพียรให้บุญเกิดขึ้น, เพียรให้บุญที่เกิดขึ้นแล้วมีมากขึ้น)

    สัมมาสะติ
    ความระลึกชอบ ( ตั้งสติพิจารณากาย , ตั้งสติพิจารณาเวทนา, ตั้งสติพิจารณาจิต, ตั้งสติพิจารณาธรรม )

    สัมมาสะมาธิ ฯ
    ความตั้งใจมั่นชอบ (ละกาม, ละธรรมที่เป็นอกุศล, เข้าถึงปฐมญาณ ประกอบด้วยวิตกวิจาร ปิติและสุข , เข้าถึง ทุติยญาณ เป็นผู้อยู่อุเบกขา , เข้าถึงตติยาญาณ ละสุข ละทุกข์ ดับโสมนัส ดับโทมนัส , เข้าถึงจตุตถญาณ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา )
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมาปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิต คือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ

    ชาติปิ ทุกขา
    ความเกิดก็เป็นทุกข์

    ชะราปิ ทุกขา
    ความแก่ก็เป็นทุกข์

    มะระณัมปิ ทุกขัง
    ความตายก็เป็นทุกข์

    โสกะ ปะริเทวะ ทุกขะ โทมะนัส สุปายาสาปิ ทุกขา
    ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์

    อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
    ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์

    ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
    ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์

    ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
    มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์

    สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
    ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ (รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ) เป็นตัวทุกข์

    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะที่เป็นเหตุแห่งทุกข์อย่างแท้จริง
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี
    ก็คือ ตัณหา หรือ ความอยากทั้งหลายที่ไม่มีที่สิ้นสุด ที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ ใจเกิดทุกข์

    เสยยะถีทัง กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา
    ซึ่งได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความอยากได้กามคุณทั้ง ๕ : รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ,ความอยากในภาวะของตน อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ และ ความไม่ต้องการในสิ่งที่ไม่ปรารถนา ไม่อยากเป็นนั่น ไม่อยากเป็นนี่

    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธจาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหานั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ

    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโกมัคโค เสยยะ ถีทัง .สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโมสัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้มี ๘ อย่าง คือ ความเห็นชอบ ความคิดชอบ ,พูดชอบ ,กระทำชอบ , เลี้ยงชีพชอบ , ความเพียรชอบ, ความระลึกชอบ และ ความตั้งจิตมั่นชอบ

    อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า " ความเกิดแก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ และความคับแค้นใจนั้นเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง " ฯ
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญย ยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ..............(อ่านว่า ไย)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า " ความเกิดแก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา " ฯ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุงอุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชาอุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า " ความเกิดแก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว " ฯ

    อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุงอุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า " ตัณหา คือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง " ฯ
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า " ตัณหา คือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง นี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด " ฯ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ* เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ........ (อ่านว่า ปะฮีนันติ)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า " ตัณหา คือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้ นั้นแล เราได้ละขาด ไปจากใจแล้ว" ฯ

    อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุงอุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ
    อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า " การดับตัณหา คือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือการดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุงอุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า " การดับตัณหา คือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา " ฯ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุงอุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า " การดับตัณหา คือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้ อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว " ฯ

    อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุงอุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า " มรรค คือ ทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเรา อย่างนี้ว่า " มรรค คือ ทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง นี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา " ฯ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า " มรรค คือ ทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้ อย่างแท้จริงนี้ นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว " ฯ
     
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบ ทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ
    ( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ
    ............๑. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง,ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง, การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง, มรรคคือทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง
    ............๒. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่างไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้นว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา, ตัณหาต้องละให้ขาด, การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา, มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจตลอดเวลา
    ............๓. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว, ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว, การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว, มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก * สัสสะมะณะพราหมะ** ณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง
    สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ.................. (* อ่านว่า สะพรัมมะเก............. ** อ่านว่า พรามมะ)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก, ตลอดถึงเทวโลก, มารโลก, พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์ให้ได้รู้ ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใดๆ หรือ ของใครๆ จะเทียบได้ ฯ

    ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุธัง อะโหสิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริงโดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ

    อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก *สัสสะมะณะพราหมะ** ณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง
    สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ.................. ( * อ่านว่า สะพรัมมะเก............. ** อ่านว่า พรามมะ)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก, ตลอดถึงเทวโลก, มารโลก, พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์ให้ได้รู้ ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใดๆ หรือ ของใครๆ จะเทียบได้ ฯ

    ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
    ก็แล ปัญญาอันรู้เห็น ได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า " กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว ฯ"
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อิทะมะโว จะ ภะคะวา ฯ
    ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ

    อัตตะมานะ ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
    พระภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ

    อิมัสสะมิญจะ ปะนะ เวยยา* กะระณัสมิง ** ภัญญะมาเน ( * อ่านว่า ไวยา ......** อ่านว่า นัดสะหมิง )
    ก็ในเมื่อขณะพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั้นแล

    อายัสสะมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ " ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพังตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ"
    ดวงตา คือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะผู้มีอายุ อย่างนี้ว่า " สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้วสิ่งนั้นๆทั้งปวงก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา "

    ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
    ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล

    ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
    ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียง ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น
     
  10. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    " เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะ* เณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา** วา เกนะจิวา โลกัสสะมินติ ฯ ( *อ่านว่า พรามมะ.............** อ่านว่า พรัมมุนา)
    " นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณะพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา, มาร, พรหม, และใครๆในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้

    ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะมุสสาเวสุงฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้วก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

    จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะมุสสาเวสุงฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้วก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

    ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา ยามา เทวา สัททะมะมุสสาเวสุงฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

    ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา ตุสิตา เทวา สัททะมะมุสสาเวสุงฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิต ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

    ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะมุสสาเวสุงฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

    นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะมุสสาเวสุงฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตตะวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

    ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา พรัหมะ กายิกา เทวา สัททะมะมุสสาเวสุงฯ
    เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตตะวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ ว่า
     
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    (ถ้าจะสวดย่อให้จบลงตรงนี้ เพราะสวรรค์มี ๖ ชั้น แตบางตำรามักต่อด้วย พรัหมมะกายิกา เทวา
    สัททะมะนุสสาเวสุง พรัหมมะกายิกา เทวานัง สัททัง สุตตะวา ฯ ไปจนถึง อะกะนิฏฐะกา
    ...สุตวาฯตามจำนวนชั้นของรูปพรหมอีก ๑๖ ชั้น ดังนี้คือ ๑. พรัมมะกายิกา ๒. พรัมมะปาริสัชชา
    ๓.พรัมมะปาโรหิตา ๔. มะหาพรัมมะ ๕. ปะริตตาภา ๖. อัปปะมานาภา ๗. อาภัสสะรา ๘. ปะริตตะสุภา
    ๙. อัปปะมาณะสุภา ๑๐. สุภะกิณหะกา ๑๑. เวหัปผะลา ๑๒. อะวิหา ๑๓. อะตัปปา ๑๔. สุทัสสา
    ๑๕.สุทัสสี ๑๖. อะกะนิฏฐะกา แล้วมักจบลงที่ เอตัมภะคะวะตา ฯ ดังนี้ )

    " เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยังสะมะเณนะ วา พราหมะ* เณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา** วา เก นะจิวา โลกัสสะมินติ ฯ"
    " นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณะพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา, มาร, พรหม, และใครๆในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้ ฯ"
     
  12. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ
    และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ

    อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ
    และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ

    อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
    อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด

    อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ "อัญญาสิ วะตะโภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะโภ โกณทัญโญ ติ ฯ"
    ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ " ฯ
    (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว )

    อิติหิทัง อายัสสะมะโต โกณทัญญัสสะ " อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสี ติ ฯ
    เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั้นแลได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ
     
  13. kimberly

    kimberly เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,627
    ค่าพลัง:
    +5,233
    โมทนา สาธุจร๊าา.(สวดทุกเช้า ถ้าไม่มีอะไรเร่งด่วน)
    ปล.อยากจะตื่นซักตี4 แต่ทำยังไม่ได้เลยครับบ.(ยิ้มๆ)
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    กาลข้างหน้าเป็นอย่างไรยังไม่รู้
    สว่างมืดยังมีอยู่หรือไฉน
    หยุดเรื่องรักเรื่องโลกเศร้าโศกใย
    มาดูใจให้เป็นเย็นไว้โยม....555

    เขาบอกว่าเหลือเวลาไม่มากนัก
    เรื่องความรักความหลังฝังเถิดหนอ
    อนาคตข้างหน้าอย่ามัวรอ
    ทำเถิดหนอวันนี้ดีให้จริง

    เหล่าเทพพรหมเทวาพญานาค
    ฝากประกาศสิบปีหน้าเกิดยุคเข็ญ
    ภัยพิบัติรออยู่หนาว่ายากเย็น
    อย่าทำเป็นไม่รู้ร้อนนอนสบาย

    เร่งฝึกปรือปฏิบัติขัดกิเลส
    รีบสร้างเหตุหลุดพ้นวังวนหนา
    มาอวยพรขอให้พ้นอวิชชา
    ด้วยเมตตาตามประสาคนบ้าธรรม
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อภัยทาน

    [​IMG]

    อภัยทาน คืออย่างไร ?

    อภัยทาน ก็คือการยกโทษให้

    คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ

    อภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ

    อันใจที่แจ่มใส กับใจที่มืดมัว ไม่อธิบายก็น่าจะทราบกันอยู่ทุกคนว่าใจแบบไหนที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นแก่เจ้าของ ใจแบบไหนที่ยังความทุกข์ให้เกิดขึ้น และใจแบบไหนที่เป็นที่ต้องการ ใจแบบไหนที่ไม่เป็นที่ต้องการเลย

    ความจริงนั้น ทุกคนที่สนใจบริหารจิต จะต้องสนใจอบรมจิตให้รู้จักอภัยในความผิดทั้งปวง ไม่ว่าผู้ใดจะทำแก่ตน แม้การให้อภัยจะเป็นการทำได้ไม่ง่ายนัก สำหรับบางคนที่ไม่เคยอบรมมาก่อน แต่ก็สามารถจะทำได้ด้วยการอบรมไปทีละเล็กละน้อย เริ่มแต่ที่ไม่ต้องฝืนใจมากนักไปก่อนในระยะแรก

    ตัวอย่างเช่น เวลาขึ้นรถประจำทางที่มีผู้โดยสารคอยขึ้นรถอยู่เป็นจำนวนมาก หากจะมีผู้เบียดแย่งขึ้นหน้า ทั้งๆ ที่ยืนอยู่ข้างหลัง ถ้าเกิดโกรธขึ้นมาไม่ว่าน้อยหรือมาก ก็ให้ถือเป็นโอกาสอบรมจิตใจให้รู้จักอภัยให้เขาเสีย เพราะเรื่องเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่ควรถือโกรธกันหนักหนา เป็นเรื่องเล็กน้อยเหลือเกินควรจะอภัยให้กันได้ แต่บางที่ไม่ตั้งใจคิดเอาไว้ก็จะไม่ทันให้อภัยจะเป็นเพียงโกรธแล้วจะหายโกรธไปเอง

    โกรธแล้วหายโกรธเอง กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัย ไม่เหมือนกัน

    โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ่งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด

    แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย เป็นการบริหารจิตโดยตรง จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น

    ผู้ดูแลเห็นความสำคัญของจิต จึงควรมีสติทำความเพียรอบรมจิตให้คุ้นเคยต่อการให้อภัยไว้เสมอ เมื่อเกิดโทสะขึ้นในผู้ใดเพราะการปฏิบัติล้วงล้ำก้ำเกินเพียงใดก็ตาม พยายามมีสติพิจารณาหาทางให้อภัยทานเกิดขึ้นในใจให้ได้ ก่อนที่ความโกรธจะดับไปเสียเองก่อน

    ทำได้เช่นนี้จะเป็นคุณแก่ตนเองมากมายนัก ไม่เพียงแต่จะทำให้มีโทสะลดน้อยลงเท่านั้น และเมื่อปล่อยให้ความโกรธดับไปเอง ก็มักหาดับไปหมดสิ้นไม่ เถ้าถ่านคือความผูกโกรธมักจะยังเหลืออยู่ และอาจกระพือความโกรธขึ้นอีกในจิตใจได้ในโอกาสต่อไป

    ผู้อบรมจิตให้คุ้นเคยอยู่เสมอกับการให้อภัย แม้จะไม่ได้รับการขอขมา ก็ย่อมอภัยให้ได้ ในทางตรงกันข้าม ผู้ไม่เคยอบรมจิตใจให้คุ้นเคยกับการให้อภัยเลย โกรธแล้วก็ให้หายเอง แม้ได้รับการขอขมาโทษ ก็อาจจะไม่อภัยให้ได้ เป็นเรื่องของการไม่ฝึกใจให้เคยชิน

    อันใจนั้นฝึกได้ ไม่ใช่ฝึกไม่ได้ ฝึกอย่างไดก็จะเป็นอย่างนั้น ฝึกให้ดีก็จะดี ฝึกให้ร้ายก็จะร้าย...

    :: การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่
    :: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    ที่มา: [http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6185]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2013
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    การให้อภัยทาน(ธรรมทาน)ย่อมชนะเสียซึ่งทานทั้งปวง

    "อภัยทานัง อามิสทานัง ชินาติ" ซึ่งแปลว่า "การให้อภัยทานย่อมชนะเสียซึ่งการให้ทั้งปวง" ดังนี้

    คำว่า ทาน แปลว่า การให้
    การให้นี้มีอยู่ ๒ อย่างด้วยกันที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านตรัสไว้

    ให้สรรพสิ่งของต่าง ๆ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า อามิสทาน ได้แก่ การให้วัตถุ จะเป็นเงินหรือวัตถุสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องบริโภคก็ตาม เรียกว่า อามิสทานทั้งนั้น

    ทานอีกส่วนหนึ่งที่องค์สมเด็จภควันต์ทรงกล่าวก็ได้แก่ ธรรมทาน
    ธรรมทานในที่นี้ก็ได้แก่ การบอกธรรม คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ชี้เหตุผล ให้รุ้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อย่างนี้เป็นต้นอย่างหนึ่ง อย่างนี้เขาเรียกว่า ธรรมทาน

    ธรรมทาน อีกส่วนหนึ่งที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่าสำคัญที่สุดจัดว่าเป็น ปรมัตถทาน คือ เป็นทานที่ไม่ต้องลงทุน คือ อภัยทาน

    ทานทั้งสองอย่างนี้ คือ อามิสทานกับอภัยทานนี้มีผลต่างกัน อามิสทานนั้นให้ผลอย่างสูงก็แค่กามาวจรสวรรค์ ตามนัยที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสไว้ว่า "ทานัง สังคคโส ปาณัง" คือว่า การให้ทานย่อมเป็นปัจจัยเป็นบันไดไปสู่สวรรค์ นี่สำหรับ อามิสทาน

    แต่สำหรับ ธรรมทาน กล่าวคือ ให้ธรรมเป็นทานก็ดี ให้อภัยทานก็ดี ให้อภัยทานก็ดี ทานทั้งสองประการนี้เป็นปัจจัยแห่งพระนิพพาน

    สำหรับธรรมทาน ทานที่ ๒ นี่มีความสำคัญมาก การให้ธรรมเป็นทาน กล่าวคือ นำพระคำคำสั่งสอนของสมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เอามาแนะนำแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าเทศน์เองไม่เป็นก็ไปหาคนอื่นมาเทศน์แทน อย่างนี้ก็ชื่อว่า เจ้าภาพเป็นผู้เทศน์เหมือนกัน เรียกว่าเอาคนมาพูดแทน การให้ธรรมทานเป็นปัจจัยใหญ่

    เพราะการให้ธรรมทานบุคคลได้ฟังแล้วจะเกิดปัญญา สิ่งใดที่ไม่เคยรู้มาแล้วก็จะได้มีความรู้ขึ้น เมื่อมีความรู้แล้วก็เกิดความมั่นใจ มีปัญญาเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ใด บุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้หลีกความทุกข์ได้ ถ้าปัญญามีมาก ก็หลีกความทุกข์ได้มาก ปัญญาน้อยก็หลีกความทุกข์ได้น้อย ดีกว่าคนที่ไม่มีปัญญาเลย ไม่มีโอกาสจะหลีกความทุกข์ได้ นี่ว่ากันถึงธรรมทาน

    ธรรมทานอีกส่วนหนึ่งที่มุ่งหมายจะเทศน์กันในวันนี้ก็คือ อภัยทาน อภัยทานนี้เป็นการให้ทานที่ไม่ต้องลงทุนด้วยวัตถุ แล้วก็เป็นทานสูงสุด พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ใครเป็นผู้มีอภัยทานประจำใจ คนนั้นก็เป็นผู้เข้าถึงปรมัตถบารมีแล้ว

    คำว่า ปรมัตถบารมีนี้ เป็นบารมีสูงสุดเป็นบารมีที่จะทำให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน คำว่า อภัยทาน ก็ได้แก่ การให้อภัยซึ่งกันและกัน หมายความว่า
    คนใดก็ตาม เขาทำให้เราขุ่นเคือง ทำให้เราไม่ชอบใจ ด้วยกรณีใดๆ ก็ตาม

    ถ้าหากเราคิดพิจารณาเข่นฆ่าจองล้างจองผลาญ
    ถ้าเขาด่าเรา เราคิดว่าโอกาสสักวันหนึ่งข้างหน้าเราจะด่าตอบ
    เขาลงโทษเรา เราจะลงโทษเขาตอบ
    เขาตีเรา เราคิดว่าเราจะตีตอบ แต่โอกาส มันยังไม่มี คิดเข้าไว้ในใจว่า เราจะทำอันตรายตอบ

    อย่างนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่า เป็นอาฆาต คือ พยาบาท เป็นไฟเผาผลาญดวงจิต เพราะคนที่เรากำลังคิดจะฆ่าก็ดี คิดจะประทุษร้ายก็ดี นี่เขายังไม่ทันรู้ตัว เขามีความสุข เราคนที่คิดจะทำเขานั่นแหละ ตั้งแต่แรกหาความสุขไม่ได้ คบไฟแห่งความพยาบาทมันเข้าเผาผลาญ มีแต่ความร้อนรุ่มกลุ้มใจ คิดวางแผนการต่าง ๆ ว่า เราทำยังไงถึงจะแก้มือเขาได้ โดยคนอื่นเห็นว่าไม่มีความผิด อารมณ์ที่คิดอยู่อย่างนี้ ยังตัดสินใจไม่ได้ ยังทำไม่ได้ มันเป็นไฟเผาผลาญคนคิดนี่แหละ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เพราะอำนาจโทสะเข้าสิงใจ นี่อำนาจโทสะหรือพยาบาทมันเริ่มเผาผลาญตั้งแต่คิด

    แต่คนที่ถูกคิดประทุษร้ายนั้น เขายังมีความสุข ทีนี้ถ้าเราไปทำเขาเข้าอีก ไอ้โทษมันก็จะหนักขึ้น ทำเขาเข้าอีก เขายิ่งจะแก้มือใหญ่ ถ้าเขาไม่แก้มือ ทางกฏหมายก็จะยื่นมือมาช่วยเหลือ ความทุกข์ใหญ่ก็จะเกิดขึ้น
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ทำไมข้าพเจ้าจึง(ยัง)ไม่สึก พระไพศาล วิสาโล

    นี้คือบทความของพระไพศาล วิสาโล

    [​IMG]

    บวชมาตั้งแต่ใครต่อใครสำคัญผิดคิดว่าเป็นเณร จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ชาวบ้านเรียกว่าหลวงพ่อแล้ว กระนั้นก็ยังมีบางคราวที่เวลาเผลอลูบหัวตัวเองแล้วก็อดประหลาดใจไม่ได้ว่าเราเป็นพระหรือนี่ ?

    เวลา ๑๒ ปี หากมองไปข้างหน้าก็รู้สึกว่านานยิ่งนัก ครั้นเหลียวไปข้างหลัง กลับรู้สึกว่าเวลาช่างผ่านไปเร็วแท้ เร็วจนบางทีคิดว่าข้าพเจ้าเพิ่งสละเพศฆราวาสไปเมื่อไม่นานมานี้เอง

    มาถึงบัดนี้ แม้สมณสัญญาจะฝังลึกในกลมสันดานยิ่งกว่าแต่ก่อน ที่จะเผลอวิ่ง หรือเผลอรับของจากสีกาด้วยมือตน เห็นจะไม่มีอีกแล้ว แต่บางครั้งก็รู้สึกว่าตนเป็นคน ๒ โลก ไม่ต่างจากคน ๒ สัญชาติ คือแม้จะสำนึกในความเป็นพระ แต่ก็ไม่รู้สึกแปลกแยกกับโลกของฆราวาส มีบ้างที่เวลาฝัน ก็เห็นตนเป็นฆราวาส แต่เมื่อใดที่อยู่กับความเป็นจริง โดยเฉพาะยามเดินบนท้องถนนในกรุงเทพฯ หรือคอยรถเมล์ ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน สำนึกในความเป็นพระจะชัดเจนแจ่มแจ้งทีเดียว เพราะคงไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะทำให้ข้าพเจ้าประจักษ์แก่ใจว่า ตนนั้นเป็นส่วนเกินของโลกฆราวาส ได้เท่ากับตอนที่ถูกเบียด จนต้องอาศัยไหล่ถนนเป็นทางเดิน หรือต้องคอยเฝ้ามองใครต่อใครกรูขึ้นรถเมล์คันแล้วคันเล่า โดยตนไม่มีสิทธิ์ขึ้น

    การครองเพศบรรพชิตมานานกว่าทศวรรษ เป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าไม่เคยนึกฝันมาก่อน มิตรสหายก็คงไม่คิดเช่นกัน ข่าวลือว่าข้าพเจ้าสึกแล้ว หรือกำลังจะสึก จึงเข้าหูข้าพเจ้ามาตั้งแต่พรรษาแรกๆ เลยทีเดียว จะว่าไป เพื่อนๆ พูดถึงการสึกของข้าพเจ้าก่อนที่ข้าพเจ้าจะบวชเสียอีก เรื่องนี้ที่จริงก็เข้าใจได้ เพราะข้าพเจ้าเองแต่เดิมก็ตั้งใจว่าจะบวชเพียงแค่ ๓ เดือนเท่านั้น ขืนบวชนานกว่านั้น ดูจะเป็นการเอาเปรียบเพื่อนร่วมงานเกินไป แต่ครั้นครบกำหนดบวช ข้าพเจ้ากลับรู้สึกอาลัยเพศบรรพชิตยิ่งนัก เป็นความอาลัยไม่แพ้กับตอนอำลาเพศฆราวาสด้วยอาหารเย็นรสอร่อยในคืนสุดท้ายก่อนบวช ในที่สุดข้าพเจ้าก็ต้องไปเจรจาขออนุญาตเพื่อนร่วมงาน บวชต่ออีกสักระยะหนึ่ง ต่อมาก็ขอยืดไปจนออกพรรษา แล้วก็เจรจาต่อจนบวชครบปี จากนั้นก็ไม่มีการเจรจาอีกแล้ว เพื่อนๆ คงทำใจได้ หรืออาจคิดว่าอีกไม่นานข้าพเจ้าก็คงจะกลับมา

    มีหลายเหตุหลายปัจจัยที่ทำให้ข้าพเจ้าไม่รีบสึก ขอสารภาพว่า อาจารย์ยันตระเป็นผู้หนึ่ง ที่มีส่วนทำให้ข้าพเจ้าบวชต่อหลังจากครบกำหนด ๓ เดือนแล้ว ท่านว่าอย่าเพ่อสึก เพราะข้าพเจ้ามีราศีนักบวช ความศรัทธาในตัวท่านทำให้ข้าพเจ้าถือว่านี้เป็นพรและกำลังใจอันประเสริฐ แม้บัดนี้ศรัทธาดังกล่าวจะสิ้นไปแต่ข้าพเจ้าก็ยังรู้สึกขอบคุณที่มีส่วนช่วยรั้งไม่ให้ข้าพเจ้าทำตามที่ตั้งใจไว้ ทั้งๆ ที่ข้าพเจ้าหมายมั่นปั้นมือแล้วว่า จะไปดูหนังเรื่อง “คานธี” และ “อีที” ทันทีที่สึกออกไป ส่วน “ The Postman Always Rings Twice” นั้นน่าเสียดายที่ออกไปตั้งแต่เดือนแรกที่บวช ข้าพเจ้าเป็นแฟนแจ๊ค นิโคลสัน เสียด้วย
     
  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    คงไม่ใช่เพราะ “ราศีนักบวช” ดอกที่ทำให้ข้าพเจ้าบวชได้นานกว่าเพื่อนๆ รุ่นเดียวกัน มานึกดูก็เห็นจะเป็นเพราะความเข็ดขยาดในชีวิตฆราวาสนั่นเองเป็นประการสำคัญ ที่ว่าเข็ดขยาดนั้นไม่ใช่เพราะข้าพเจ้าอกหัก ผิดหวังกับชีวิต หรือสิ้นหวังกับสังคม ชีวิตไม่มีอะไรให้ผิดหวัง (ส่วนหนึ่งก็เพราะไม่ค่อยหวังอะไรกับชีวิตอยู่แล้ว) ส่วนสังคมนั้นก็ยังมีอะไรต่ออะไรที่เราสมควรทำอีกมาก แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งข้าพเจ้าก็พบว่า ตนเองเหนื่อยล้าเต็มทีแล้ว เป็นความเหนื่อยล้าชนิดที่ไม่ยอมคิดหาความสงบนิ่ง แถมยังสงบยิ่งไม่ได้ด้วย เพราะใจร้อนรนไม่อยู่สุข ต้องวิ่งวุ่นกระเซอะกระเซิง นับวันคุณภาพชีวิตยิ่งตกต่ำ หงุดหงิดง่าย จนพาลมีเรื่องมีราวกับคนไปทั่ว แถมยังนอนไม่หลับ กินไม่อร่อยเพราะความเครียดรุมเร้า

    สภาพชีวิตดั่งคนหนีเงาเช่นนี้แหละ ที่ผลักไสให้ข้าพเจ้าเข้าหาร่มเงาแห่งผ้ากาสาวพัสตร์ แต่กว่าจะบวชก็ต้องทำใจอยู่นาน เพราะรู้ดีว่าจะต้องไปเจอกับความทุกข์แน่ แต่ก็เชื่อว่าเป็นทุกข์ที่จะนำไปสู่ความสงบและความสุข เมื่อบวชได้ไม่นาน ชีวิตก็ฟื้นคืนสภาพ การได้อยู่สงบและมีโอกาสเพ่งพินิจจิตใจของตนเอง ทำให้แลเห็นได้ว่า ชีวิตฆราวาสนั้นเป็นชีวิตที่เสียสมดุลได้ง่ายเพราะวุ่นจนยากที่จะว่าง จิตแล่นออกนอกจนยากจะสงบนิ่งอยู่ภายใน ยิ่งนักกิจกรรมด้วยแล้ว การจะประคองชีวิตจิตใจให้ลงตัวมิใช่เรื่องง่ายเลย เพราะชีวิตแทบจะกลายเป็นของสาธารณะไปเสียแล้ว จึงไม่ค่อยมีเวลาให้กับตัวเองเท่าใดนัก ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่จัดสมดุลให้แก่ตนเองได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นกายกับใจ ภายนอกกับภายใน ส่วนตัวกับส่วนรวม ในความเห็นของข้าพเจ้า ชีวิตบรรพชิตเป็นชีวิตที่เอื้อต่อดุลยภาพดังกล่าว จัดเป็นชีวิตที่ลงตัว อย่างน้อยก็กินนอนและตื่นเป็นเวลา แค่ประการหลังเพียงประการเดียว ชีวิตฆราวาสสมัยใหม่ก็ทำได้ยากเสียแล้ว

    แต่ถ้าชีวิตพระราบรื่นเป็นสุขไปเสียหมด ผู้คนก็คงจะบวชกันไม่สึก และถ้าชีวิตพระไม่มีปัญหาเสียเลย บางค่ำบางคืนข้าพเจ้าก็คงไม่ฝันดอกว่า ได้จับพลัดจับผลูเข้าไปในโรงหนังด้วยความประหวั่นพรั่นพรึงว่าเมื่อหนังฉายจบและเปิดไฟ คนในโรงจะจับได้ว่ามีพระเข้ามาดูหนัง แน่ละปัญหาของพระมีมากกว่าความอยากดูหนัง ข้าพเจ้าออกจะโชคดีที่ตอนเป็นฆราวาสหาแฟนกับเขาไม่ได้ (ถึงแม้จะพยายามหา แต่ที่สุดก็ลงท้ายด้วยความรู้สึกดังฝุ่นธุลีบนท้องถนนที่หาค่าอะไรไม่ได้) ดังนั้นจึงสามารถบวชได้นานขณะที่เพื่อนพ้องหลายคนจำต้องสึกหาลาเพศไปเพราะมีพันธะก่อนบวช

    แต่ไม่ว่าจะมีแฟนหรือไม่ เมื่อบวชแล้วเรื่องผู้หญิงหรือที่พระเรียกว่ามาตุคาม ก็ย่อมต้องเข้ามาพัวพันอย่างน้อยก็ในทางจิตใจ เพียงแค่การแสดงความเคารพด้วยวาจาและท่าทีอันสุภาพอ่อนน้อมของผู้หญิงก็อาจถูกแปรเป็นความฝันฟุ้งปรุงแต่งในใจของพระได้ง่ายๆ เพราะบ่อยครั้ง ฉันทาคติก็ทำให้แยกไม่ออกระหว่างความเคารพนับถือกับความรัก

    เรื่องราวของพระจำนวนไม่น้อยที่สึกหาลาเพศออกไปเพื่อจะแต่งงานแล้วกลับ “วืด” นั้น นับเป็นข้อเตือนใจที่ช่วยให้บวชได้นานขึ้น แต่เมื่อได้รับรู้ข่าวคราวของพระหลายรูปที่ต้องปฐมปาราชิก บางทีก็อดไม่ได้ที่จะต้องกลับมาตั้งคำถามกับเส้นทางชีวิตในปัจจุบันของตน เพราะพระเหล่านั้น บางรูปเท่าที่รู้จักก็มิใช่พระเลว หากเป็นผู้ปรารถนาความเจริญงอกงามในชีวิตพรหมจรรย์ แต่แล้วก็กลับพลั้งพลาด ถ้าคิดว่าเราเป็นมนุษย์คนละประเภทกับพระเหล่านั้น และไม่มีวันจะทำกรรมอันอุกฤษฏ์เช่นนั้นได้ นั่นก็แสดงว่าเราหลงตนเกินไปแล้ว (เว้นเสียแต่อริยผลบังเกิดแก่เราแล้วเท่านั้น)
     
  19. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    คราใดที่นึกถึงเส้นทางที่ทอดยาวเบื้องหน้า และระลึกถึงเรื่องราวของผู้พลั้งพลาดเหล่านั้นก็อดประหวั่นไม่ได้ บางครั้งก็ให้ท้อถอยว่า สักวันหนึ่งเราคงจะพ่ายแพ้ต่อกามราคะแน่ ยิ่งมาได้ยินคำของท่านอาจารย์พุทธทาสที่กล่าวเตือนลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดว่า สำหรับพระที่บวชแต่ยังหนุ่ม ช่วงที่ต้องระมัดระวังตัวอย่างยิ่งก็คือช่วงอายุ ๔๐-๖๐ ปี ข้าพเจ้าเลยพาลจะยกธงขาวเอาดื้อๆ เพราะนี่ก็ใกล้จะถึง “วัยอันตราย” แล้ว อุปัชฌาย์อาจารย์และสหธรรมิกรุ่นพี่ก็เคยเตือนหลายครั้งหลายหนว่า ถ้าไม่คิดจะบวชตลอดชีวิตก็ควรจะสึกเสียตอนนี้ บางท่านห่วงว่าข้าพเจ้าจะทำมาหากินไม่ทันเขา บางท่านก็เกรงว่าศรัทธาของญาติโยมจะฝังรากลึกจนทำใจไม่ได้หากข้าพเจ้าจะสึกเสีย

    แต่การประพฤติพรหมจรรย์มิใช่การทำศึกสงครามดังตรัสไว้ในพระบาลีดอกหรือ คนที่เพียงแต่เห็นยอดธงหรือได้ยินเสียงกึกก้องของกองทัพข้าศึก ก็ยอมแพ้เสียแล้ว จะถือว่าเป็นนักรบประเภทใด เสนามารนั้นมีกองทัพอันยิ่งใหญ่ แต่เราสมควรล่าถอยก็ต่อเมื่อได้ประดาบกันแล้วมิใช่หรือ คิดเช่นนี้แล้วก็เลยมีความกล้าที่จะลุกขึ้นสู้ แม้ไม่แน่ว่าจะผ่านไปได้อีกกี่ศึกก็ตาม ยังดีที่ข้าพเจ้าพอรู้เท่ารู้ทันในเรื่องจิตใจอยู่บ้าง ทำให้รู้จักอุบายหลอกล่อหลบหลีกออกจากกามไปได้ จึงรักษาตัวรอดมาได้จนทุกวันนี้ แต่หากว่าถึงคราวที่จะต้องเผชิญกับมันซึ่งๆ หน้า ก็หวังว่าจะไม่หัวหด หากพร้อมจะเข้าไปแลกหมัดกับมันอย่างพระอาจารย์ทองรัตน์ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อชา มีเรื่องเล่าว่า ท่านเคยคิดจะสึกไปแต่งงาน ใครห้ามก็ไม่ฟัง แต่ในที่สุดท่านก็ขอขวานจากชาวบ้าน ตั้งหน้าตั้งตาฟันขอนไม้อยู่ ๓ วัน ๓ คืน จนกระทั่งมือแตก ร่างกายอ่อนเพลียเต็มที่ เสร็จแล้วท่านก็ถามใจตัวเองว่า “รู้จักพ่อมึงไหมนี่” สุดท้ายท่านก็บวชต่อจนได้เป็น “จอมทัพธรรม” คนสำคัญของภาคอีสาน

    ประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้รู้ว่า เคล็ดลับอย่างหนึ่งในการบวชให้ได้นาน (อย่างน้อยก็สำหรับข้าพเจ้า) ก็คือเหลียวไปข้างหลังบ่อยๆ และมองไปข้างหน้าน้อยๆ หน่อย นี้คงทำนองเดียวกับนักโทษที่ถูกจำคุกตลอดชีวิต เพราะข้างหน้านั้นมองไม่เห็นอนาคตว่า เมื่อไรจะได้ออก หรือถึงจะได้ออก ก็คงอีกนาน คนเรายิ่งบวชได้นานเท่าไร เวลามองย้อนหลังก็อดยินดีไม่ได้ว่า เราได้เดินทางมาไกลแล้ว แต่ครั้นมองไปข้างหน้า เห็นเส้นทางทอดยาวเหยียดจนมองไม่เห็นจุดสิ้นสุดการเดินทางแล้ว ก็พาลจะท้อใจ เพราะคงอีกนานกว่าจะถึง และไม่แน่ใจว่าจะไปถึงหรือไม่ (เว้นเสียแต่คุณบวชเมื่ออายุ ๖๐ หรือ๗๐ ปีแล้ว)

    แต่ข้าพเจ้ามิได้มองย้อนหลังไปสุดที่วันแรกบวชเท่านั้น หากบ่อยครั้งก็มองเลยไปกว่านั้น นึกถึงชีวิตร้อนรนกระวนกระวายสมัยเป็นฆราวาส โดยเฉพาะปีสุดท้ายก่อนบวชคราใด ความคิดที่จะสึกก็ฝ่อลงไปทันที ราวดอกไม้ที่เจอน้ำร้อน แม้เวลาสิบกว่าปีจะทำให้ความทรงจำเลือนลางลงไปบ้าง แต่ชีวิตอันเหนื่อยล้าของผู้คนที่พบเห็นและรู้จัก ก็ช่วยเตือนความจำได้ไม่น้อย
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ข้าพเจ้าเป็นปุถุชน มิได้มีคุณวิเศษไปกว่าคฤหัสถ์ แม้จะรู้สึกซาบซึ้งในบุญคุณของผ้าเหลือง ที่ช่วยคุ้มกายคุ้มจิตของตนมิให้ทุกข์ภัยแผ้วพานมากนัก พอๆ กับที่เหนี่ยวรั้งมิให้ตนเองลุแก่ตัณหาและโทสะ จนเที่ยวก่อปัญหาหรือสร้างความเดือดเนื้อร้อนใจให้แก่ผู้อื่นๆ กระนั้นก็ตามบางครั้งก็อดลังเลใจไม่ได้ว่า ตนเองเหมาะกับชีวิตเช่นนี้หรือไม่ เพราะใจมิได้ดื่มด่ำแน่วแน่ในชีวิตพระเสียทีเดียวนัก แม้จะบวชมานานนับสิบปีแล้วก็ตาม แต่มีวันหนึ่งได้อ่าน “เถรีคาถา” เมื่อถึงบทของพระอัญญตราสามาเถรีแล้ว ก็เกิดกำลังใจขึ้นมา เพราะท่านเล่าว่าไม่เคยได้รับความสงบใจแม้ขณะเดียว ทั้งๆ ที่บวชมานานถึง ๒๕ ปี ตั้ง ๒๕ ปี! แถมยังไม่ประสบความสงบจิตแม้แต่น้อย ข้าพเจ้าต้องอุทานในใจ ที่น่าประหลาดใจก็คือท่านหาได้ท้อถอยไม่ หากเพียรพยายามบวชต่อไป จนในที่สุดความเพียรก็ส่งผล ท่านได้บรรลุธรรมในที่สุด

    ถึงตรงนี้ ข้าพเจ้าก็พอจะอวดอ้างได้ว่า ชีวิตการบวชของข้าพเจ้าใช่ว่าจะเลวร้ายเสียทีเดียวนัก เพราะอย่างน้อยก็ได้มีโอกาสสัมผัสความสงบสุขในจิตใจเนืองๆ ถึงจะดีๆ ชั่วๆ อย่างไร ก็ไม่เคยถูกความทุกข์รุมเร้าทั้งวันทั้งคืนตลอด ๗ ปี จนถึงกับลงมือฆ่าตัวตายอย่างพระสีหาเถรี ซึ่งเป็นพระเถรีอีกรูปหนึ่งที่มีชื่อจารึกในพระไตรปิฎก แต่ข้าพเจ้าก็คงจะอวดอ้างได้เพียงแค่นั้นกระมัง เพราะในบั้นปลายชีวิตท่านก็ได้บรรลุอรหัตผลเช่นเดียวกับพระอัญญตราสามาเถรี

    ปุถุชนอย่างข้าพเจ้าหากสามารถดำรงเพศพรหมจรรย์ไปจนตลอดชีวิต โดยไม่ถ่วงพระศาสนา ให้ทรุดต่ำลงไปกว่านี้ ก็นับว่าเป็นความสำเร็จในชีวิตแล้ว

    ที่มา: http://www.visalo.org/article/ExpWhyStillMonk.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...