>>> อวดรู้ (รู้แล้วได้อะไร) <<<

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 19 กรกฎาคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    การพิจารณาธาตุววัฏฐาน

    การพิจารณาธาตุววัฏฐาน
    พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
    วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

    บทอบรมกรรมฐาน ครั้งที่ ๙ วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๑
    คัดลอกจาก: อบรมกรรมฐานหลวงพ่อพุธ ฐานิโย

    ท่านนักปฏิบัติธรรมผู้เจริญทั้งหลาย

    เราได้ฟังการอบรมเกี่ยวกับการบริกรรมภาวนากรรมฐาน และการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริกรรมภาวนา และในขณะต่อมาได้ยกเอาเรื่องการพิจารณาอสุภกรรมฐานมาพูดสู่บรรดาท่านทั้งหลายฟัง โดยหลักการพิจารณาของท่านอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เบื้องต้น ท่านสอนให้บริกรรมภาวนา มีบริกรรมภาวนา พุทโธ เป็นต้น หรือบางครั้งก็สอนให้เจริญอานาปานสติกรรมฐาน กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ให้รู้ว่าสั้นหรือยาว ตั้งฐานที่กำหนดไว้ที่ปลายจมูกที่ลมผ่านเข้าผ่านออก จนกว่าจิตจะสงบเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ โดยลำดับ

    หลังจากนั้นท่านได้แนะนำให้เจริญอสุภกรรมฐาน คือ พิจารณาร่างกายทั้งหมดนี้ให้เห็นเป็นของไม่สวยไม่งาม น่าเกลียดโสโครก โดยยึดหลักกายคตาสติ เป็นแนวทางที่พิจารณา เมื่อนักปฏิบัติได้มาพิจารณาอสุภกรรมฐาน มีความรู้ความเข้าใจชำนิชำนาญ จนสามารถรู้แจ้งเห็นจริงประจักษ์ลงไปว่า ร่างกายทั้งสิ้นเป็นของปฏิกูล น่าเกลียด โสโครก เน่าเปื่อย ผุพัง จะโดยการรู้สึกภายในใจที่น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาก็ตาม หรือจะมองเห็นภาพนิมิต เห็นความปฏิกูลน่าเกลียดที่ปรากฏขึ้นในความรู้สึกในทางจิตก็ตาม ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ชำนิชำนาญในการพิจารณาอสุภกรรมฐาน

    ในอันดับต่อไป ท่านสอนให้พิจารณาธาตุววัฏฐาน โดยยกเอาธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ขึ้นมาตั้งเป็นหลัก โดยท่านแนะนำให้กำหนดรู้ว่า ธาตุแท้ที่มีอยู่ในโลกนี้มีอยู่ ๔ ธาตุด้วยกัน คือ

    ปฐวี - ธาตุดิน อาโป-ธาตุน้ำ เตโช- ธาตุไฟ วาโย-ธาตุลม

    ทีนี้ การพิจารณาธาตุทั้งสี่ ก็ยกเอากายของเราเป็นหลัก คือ พิจารณาตั้งแต่ผม คือ เกสา ผม โลมา ขน นขา เล็บ ทนฺตา ฟัน ตโจ หนัง มํสํ เนื้อ นหารู เอ็น อฏฺฐิ กระดูก อฏฐิมิญฺชํ เยื่อในกระดูก วกฺกํ ม้าม หทยํ หัวใจ ยกนํ ตับ กิโลมกํ พังผืด ปิหกํ ไต ปปฺผาสํ ปอด อนฺตํ ไส้ใหญ่ อนฺตคุณํ ไส้น้อย อุทฺริยํ อาหารใหม่ กรีสํ อาหารเก่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้นึกว่าเป็น ธาตุดิน เพราะมีลักษณะแข้นและแข็ง สามารถมองเห็นด้วยตา จับต้องได้ด้วยมือ โดย

    พิจารณาว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ สักแต่ว่าเป็นธาตุดิน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นแต่เพียงธาตุดินเท่านั้น เพราะเหตุว่าในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เนื้อหนังมังสังก็ปรากฏในความรู้สึกว่า เป็นเนื้อ เป็นหนัง เป็นกระดูก ตามสมมติบัญญัติขึ้นที่ชาวโลกเขาเรียกกัน แต่ในเมื่อสิ่งเหล่านี้สลายตัวลงไป ในที่สุดจะต้องกลายไปเป็นดินตามธรรมชาติ เพราะเหตุว่าสิ่งเหล่านี้ก็ได้มาจากดิน เพราะฉะนั้นธาตุเหล่านี้จึงเป็นดิน แล้วก็พยายามน้อมจิตพินิจพิจารณากลับไป กลับมาจนกระทั่งจิตใจเชื่อลงไปว่าร่างกายทั้งสิ้นนี้เป็นธาตุดิน
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ทีนี้ เมื่อพิจารณากลับไปกลับมาจนจิตใจเชื่อมั่นลงไปว่าธาตุดินจริง โดยไม่มีการสงสัยน้อมนึก แล้วก็หยุดพิจารณาเสีย โดยกำหนดจิตบริกรรมภาวนาว่า ปฐวี ปฐวี หรือจะบริกรรมภาวนาว่า ดินๆๆ จนกระทั่งทำจิตให้สงบตั้งมั่นลงไปเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ โดยลำดับ ถ้าหากว่าภูมิจิตของท่านนักปฏิบัติมีกำลังเพียงพอ ก็จะมองเห็นภาพนิมิตปรากฏขึ้นคล้ายกับว่าจิตได้ออกจากร่างกาย ปรากฏตัวอยู่เอกเทศส่วนหนึ่ง แล้วก็ส่งแสงลงมาดูร่างกายที่นอนเหยียดยาวอยู่ หรือในท่านั่งอยู่ก็ตาม แล้วแต่นิมิตและอุปนิสัยของท่านผู้ใดจะเกิดขึ้น ในเมื่อปรากฏนิมิตขึ้นมาอย่างนี้ จิตก็จะจ้องมองดูร่างกายเฉยอยู่ ทีนี้ ทางฝ่ายร่างกาย ก็จะแสดงปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงไปเป็นลำดับๆ เป็นขั้นเป็นตอน ในระยะแรกเนื้อหนังมังสังที่มองเห็นอยู่นั้นจะค่อยหลุดลงไปทีละชิ้น สองชิ้น

    ในที่สุดก็จะยังเหลืออยู่แต่โครงกระดูก สุดท้ายที่สุด แม้แต่โครงกระดูกก็จะถูกทำลายย่อยยับลงไปเป็นผง บางทีอาจมองเห็นคล้ายๆ ขี้เถ้าหรือฝุ่นโปรยอยู่บนพื้นแผ่นดิน แล้วในที่สุดก็จะหายเข้าไปในพื้นแผ่นดิน มองไม่เห็นส่วนที่จะเป็นผงที่ปรากฏนั้น จะมองเห็นแต่ดินโดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นธาตุแท้ และพึงสังเกตจิตของตนเองในขณะนั้น ถ้าหากว่าจิตสามารถมองเห็นนิมิตขึ้นเป็นรูปเป็นร่าง จนกระทั่งร่างกายมีการแสดงอาการเน่าเปื่อยผุพังลงไป ย่อยยับลงไปเป็นขั้นเป็นตอน จนกระทั่งถึงยังเหลืออยู่แต่โครงกระดูก แล้วก็กลายเป็นผง จนกระทั่งหายเข้าไปในพื้นแผ่นดิน ยังเหลือแต่พื้นดินธรรมดา มองหาอะไรไม่เห็น

    ในขณะนั้นจิตจะมีความรู้สึกคล้ายๆ กับว่าไม่ได้นึกไม่ได้คิด และสิ่งที่ปรากฏอยู่ก็คือจิตที่เป็นธรรมชาติ ของผู้รู้ปรากฏอยู่เด่นชัด ส่วนร่างกายซึ่งมีการแสดงปฏิกิริยาให้จิตรู้ และจิตเป็นขั้นเป็นตอนนั้นก็จะแสดงให้ปรากฏอยู่ และในขณะนั้นจะไม่มีภาษาสมมติบัญญัติเรียกว่าอะไรเป็นอะไร เป็นแต่เพียงสิ่งที่รู้มีอยู่ สิ่งที่ให้รู้ก็มีอยู่ อันนี้คือปรากฏการณ์โดยธรรมชาติ ซึ่งจิตอยู่ในสภาพเป็นผู้รู้จริงเห็นจริงซึ่งเรียกว่า "สัจธรรมปรากฏขึ้นภายในจิต" คือ ปรากฏขึ้นมาว่าร่างกายทั้งปวงนี้มีแต่ดินเท่านั้น

    ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา แต่ในขณะนั้นความนึกคิดอย่างนี้จะไม่มีเลย และไม่มีความคิดใดทั้งนั้น มีแต่สภาพจิตที่รู้ปรากฏเด่นชัดอยู่ สิ่งให้รู้ให้เห็นก็แสดงปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว อันนี้คือลักษณะที่จิตรู้จริงเห็นจริงเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง สภาวธรรมคือร่างกายของเรานี้ ในเมื่อมันสลายลงไปแล้ว สิ่งรองรับในขั้นแรกก็คือ ปฐวี ธาตุดิน เพราะส่วนที่แข็งในร่างกายทั้งสิ้นเป็นธาตุดิน

    อันนี้ ในเมื่อนักปฏิบัติได้มาหมั่นพินิจพิจารณาอย่างนี้ เมื่อจิตมีความสงบและมีความก้าวไปเป็นขั้นเป็นตอนในการพิจารณาธาตุววัฏฐาน จะปรากฏความรู้แจ้งเห็นจริงขึ้นดังที่กล่าวมานี้
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ทีนี้ มีปัญหาที่น่าสงสัยอยู่ว่า เมื่อในขณะที่จิตรู้เห็นตามเป็นจริงอยู่นั้นภาษาสมมุติเรียกบัญญัติในสิ่งนั้นไม่มีปรากฏในความรู้สึก ถ้าเช่นนั้นนักปราชญ์ผู้ให้การอบรมสั่งสอน มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ท่านเอาภาษาสมมติเรียกขานสิ่งเหล่านั้นมาจากไหน

    ข้อนี้พึงทำความเข้าใจว่า ในขณะที่รู้เห็นตามเป็นจริง ภาษาไม่มีอยู่ก็จริง แต่เมื่อจิตถอนออกจากสภาพความเป็นเช่นนั้นแล้วมาสู่สภาพปกติธรรม คือ ในขณะที่จิตยังไม่สงบ ลักษณะความทรงจำในตำรับตำรา หรือได้ยินได้ฟังมาตามครูบาอาจารย์อบรมสั่งสอน สิ่งที่เป็นขึ้นมีขึ้นภายใจจิตนั้นจะวิ่งออกมารับสมมติ ซึ่งเรามีอยู่เต็มโลก ปฐวี ธาตุดิน เขาก็เรียกกันมาตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้าเกิด กระดูกเขาก็เรียกกันมาตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้าเกิด เนื้อหนังมังสังเขาก็เรียกมาแต่ก่อนพระพุทธเจ้าเกิด

    เมื่อจิตออกมาจากสภาพความรู้จริงเห็นจริงซึ่งไม่มีสมมติบัญญัติแล้ว จิตก็มารับเอาสมมติบัญญัติของโลก พระพุทธเจ้ารู้ธรรมที่จริงแล้วก็มาบัญญัติคำสอนตามภาษาของชาวโลก แต่ภาษาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้นมิได้เหมือนภาษาของชาวโลกทั้งปวง เฉพาะภาษาของพระพุทธเจ้าอย่างเดียว พระองค์ก็รู้แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แต่เมื่อจะสอนเวไนยสัตว์ จึงเอาธรรมที่ตรัสรู้แล้วนั้นมาบัญญัติเป็นภาษาของมนุษย์ เพราะพระองค์จะเทศน์ให้มนุษย์ฟัง ก็ต้องเอาภาษามนุษย์มาบัญญัติเรียกชื่อธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว อันนี้เป็นแผนเกี่ยวกับการพิจารณาร่างกายด้วยความเป็นธาตุดินโดยย่อ

    ทีนี้ ในเมื่อเรามาพิจารณาธาตุดิน จนกระทั่งจิตมีความสงบรู้แจ้งเห็นจริง เชื่อมั่นลงไปว่าร่างกายทั้งสิ้นเป็นธาตุดิน ในอันดับต่อไป เราก็มาหัดพิจารณาดูธาตุน้ำคืออาโปบ้าง เราจับเค้าพิจารณาตั้งแต่ ปิตฺตํ น้ำดี เสมฺหํ น้ำเสลด ปุพฺโพ น้ำเหลือง โลหิตํ น้ำเลือด เสโท น้ำเหงื่อ เมโท น้ำมันข้น อสฺสุ น้ำตา วสา น้ำมันเหลว เขโฬ น้ำลาย สิงฺฆาณิกา น้ำมูก ลสิกา น้ำไขข้อ มุตตํ น้ำมูตร โดยสิ่งเหล่านี้ มีลักษณะไหล ซึมซาบขังอยู่ภายในร่างกาย เราสมมติพิจารณาว่าเป็น ธาตุน้ำ ที่พิจารณาว่าเป็นธาตุน้ำเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของเหลว เมื่อมันลงไปผสมกับน้ำ มันก็กลายเป็นน้ำไป สิ่งใดที่มันเป็นธาตุแท้อันเดียวกัน ในเมื่อมันผสมกันเข้าแล้วมันก็เข้ากันได้ อย่างเลือดหรือปุพโพโลหิตต่างๆ ที่มีอยู่ภายในร่างกาย ในเมื่อตกลงไปในน้ำหรือหยดลงไปในน้ำ มันก็สลายตัวปนไปเป็นน้ำทั้งหมด เรามิได้มองเห็นว่าอันนี้เป็นเหงื่อ เป็นไคล เป็นอะไรทั้งนั้นแล้ว มันจะกลายเป็นน้ำเราพยายามน้อมนึกในใจ

    น้อมความเชื่อลงไปว่า ภายในร่างกายนี้มีแต่ธาตุน้ำ เป็นน้ำจริง เป็นอื่นไปไม่ได้พอเสร็จแล้ว ในเมื่อจิตมีความเชื่อมั่นลงไปเป็นจริงเป็นจังว่า มีธาตุน้ำอยู่ในร่างกาย เราก็มากำหนดจิตบริกรรมภาวนาว่า อาโปๆๆๆ จนกว่าจิตนั้นตั้งมั่นลงเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ โดยลำดับ ในเมื่อจิตสงบลงไปแล้ว ถ้าหากว่ากำลังจิตกำลังสมาธิกับสติปัญญาของท่านผู้ปฏิบัติพร้อมแล้ว ก็จะปรากฏเป็นนิมิตขึ้นมาให้เห็นภายในจิตอย่างแจ่มแจ้งว่า ภายในร่างกายนี้มีน้ำเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่ง แล้วก็ปรากฏเป็นนิมิตเห็นเด่นชัดภายในดวงจิต

    แต่ในขณะที่รู้เห็นอยู่นั้นก็มีลักษณะอย่างเดียวกันกับในขณะที่จิตเห็นกายว่าเป็นธาตุดิน คือผู้รู้ก็ปรากฏมีอยู่ และสิ่งที่ให้รู้ให้เห็นก็ปรากฏอยู่ แต่ภาษาเรียกว่านี้คือจิต นี้คือน้ำ จะไม่มีความรู้ในขณะนั้น ภาษาสมมติว่าจิต ว่าน้ำ มันจะมีขึ้นต่อเมื่อจิตถอนออกมาจากสภาพความเป็นจริงนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นปกติ คือในขณะที่เรายังไม่ได้ภาวนา แล้วความรู้สึกสมมติบัญญัติในภาษาจะเกิดขึ้นมารับสิ่งที่เรารู้เห็นภายในจิตทันที แล้วจึงจะเป็นภาษาพูดขึ้นว่า อันนั้นคือน้ำ อันนั้นคือดิน ในทำนองนี้
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ในเมื่อเราหัดพิจารณา ดิน น้ำ จนชำนิชำนาญคล่องแคล่ว สามารถรู้จริงเห็นจริงแล้ว อันดับต่อไปก็พิจารณาดูไฟ ซึ่งมีอยู่ในร่างกาย ความร้อนที่มีอยู่ในร่างกายทั้งหมดนั้นจัดเป็นธาตุไฟ เช่น ความร้อนที่ลมหายใจออก ความอุ่นที่หนัง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เรียกว่า ธาตุไฟ แล้วก็น้อมจิตเชื่อมั่นลงไป เพ่งเล็งลงไปให้เห็นนิมิตว่า ในร่างกายนี้มีไฟเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่ง ซึ่งปรากฏเด่นชัดตามที่กล่าวมาแล้วในการพิจารณาดินและน้ำ

    ในเมื่อจิตเห็นชัดลงไปเช่นนั้น ในขั้นต่อไปก็พิจารณาเรื่องเกี่ยวกับ ลม ลม ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องล่าง ลมในท้อง ลมในไส้ จนกระทั่งลมหายใจเข้าออก ให้นึกว่าภายในส่วนประกอบของความเป็นร่างกายนี้ มีลมอยู่อีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนประกอบ จะขาดเสียไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราก็กำหนดรู้ดูลมซึ่งมีอยู่ภายในร่างกาย จนกระทั่งเกิดนิมิตมองเห็นลมได้เด่นชัด แล้วจิตก็จะมีความสงบเพ่งลงไปเป็นระยะๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ในเมื่อจิตสงบนิ่งลงไปแล้ว ถ้าหากว่าภูมิจิตของผู้ปฏิบัตินั้นมีกำลังพอสมควรที่สามารถรู้แจ้งเห็นจริงได้ ลมก็จะปรากฏเป็นนิมิตให้จิตรู้โดยประการต่างๆ บางทีก็จะปรากฏคล้ายกับว่ามีสิ่งที่ลอยเลื่อนไป มีลักษณะเหมือนก้อนเมฆ หรือเหมือนสำลี ประกอบด้วยความสว่างไสว ซึ่งเป็นไปโดยอัตโนมัติทั้งนั้น

    จิตผู้รู้ก็ปรากฏอยู่ สิ่งที่ให้รู้โดยอาการเปลี่ยนไปของลม หรือความมีลมที่ปรากฏอยู่ก็จะมีปรากฏอยู่โดยอัตโนมัติ โดยปราศจากสัญญาเจตนาใดๆ ทั้งสิ้น แล้วจะไม่มีคำพูดที่ว่า นี้คือ จิต นี้คือลม ต่อเมื่อจิตถอนออกมาจากสภาพรู้จริงเห็นจริงในลักษณะดังกล่าว มาสู่สภาพปกติสามัญธรรมดา เหมือนกับในขณะที่เรายังไม่ภาวนา ภาษาที่สมมติ ว่าลม ว่าจิต ก็จะเกิดขึ้นมารับกับความรู้ที่เราได้รู้นั้น

    อันนี้เป็นวิถีทางการพิจารณาธาตุววัฏฐาน คือ การพิจารณาร่างกายให้เห็นว่าเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ คนสัตว์เป็นแค่เพียงสมมติบัญญัติ เรียกเอาเท่านั้น ในเมื่อร่างกายทั้งหมดนี้สลายลงไปแล้วก็จะกลายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ เข้าไปสู่ธาตุแท้ ซึ่งมีอยู่ดั้งเดิม คือ ปฐวี ธาตุดิน อาโป ธาตุน้ำ เตโช ธาตุไฟ วาโย ธาตุลม ในเมื่อสิ่งเหล่านี้มันยังประชุมพร้อมกันอยู่ตราบใด ยังไม่แตกสลายตราบใด ปฏิสนธิวิญญาณเข้ามายึดครองซึ่งเราเรียกว่าจิตมายึดมั่นถือมั่นเป็นตนเป็นของตน เป็นเราเป็นเขา ยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน เราก็ยังรู้สึกว่าเรามีตัวมีตน เป็นคนเป็นสัตว์ แต่ที่แท้ก็เป็นแต่เพียงสมมติบัญญัติ

    สิ่งที่เป็นคนเป็นสัตว์ก็เป็นไปชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น อย่างดีก็ไม่เกินร้อยปี ในเมื่อร่างกายทั้งสิ้นได้แตกสลายลงไปแล้ว มันก็จะกลับกลายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ ตามเดิม เพราะสิ่งเหล่านี้เราได้มาจากธาตุดิน จากน้ำ จากลม จากไฟ โดยธรรมชาติ เช่นอย่างอาหารทั้งหลายที่เราบริโภคและดื่มลงไปมันก็ได้มาจากดิน ธาตุน้ำ ข้าวก็เป็นดิน น้ำก็เป็นน้ำ ผักหญ้าอะไรต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของอาหารนั้น มันก็เป็นธาตุดินทั้งนั้น นี้โดยธรรมชาติ มันเป็นอยู่อย่างนี้
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ทีนี้ ในขณะที่เราน้อมนึกพิจารณาเห็น บางทีจิตมันจะสงบลงไป ในขณะที่จิตพิจารณาในอาการใดอาการหนึ่ง ถ้ามีปรากฏการณ์ อะไรปรากฏขึ้น ก็ให้จิตมันสงบนิ่งลงไปตามธรรมชาติ อย่านึกถึงสิ่งที่ปรากฏนั้น ในขณะที่จิตพิจารณาธาตุอยู่นั้น ถ้าหากปรากฏนิมิตเป็นรูปคน รูปสัตว์ อะไรปรากฏในความรู้สึก ก็ให้ยึดเอาสิ่งนั้นมาเป็นหลักพิจารณาแยกออกเป็นส่วนๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ถ้าหากว่าท่านผู้ใดไม่อาจจดจำอาการ ๓๒ ได้ครบถ้วนตามที่กล่าวมาแล้ว ก็ให้พิจารณาโดยรวมกัน

    คือพิจารณานึกว่าร่างกายนี้มันก็ไม่มีอะไรหรอก มีแต่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ดิน น้ำ ลม ไฟ มันประชุมกันอยู่กลายเป็นกลุ่มเป็นก้อน แล้วก็มีวิญญาณเข้าสิงสถิตอยู่อาศัยอยู่ อาศัยกิเลส ตัณหา อุปาทาน กรรม อุปถัมภ์ชุบเลี้ยง ให้เป็นไป เรานึกพิจารณาเอารวมๆ อย่างนี้ก็ได้

    แต่ในขณะที่พิจารณาอยู่นั้น บางครั้งจิตมันก็สงบ บางครั้งจิตมันก็ไม่สงบ ถึงจิตมันจะไม่สงบเราก็พยายามน้อมนึกพิจารณาเป็นกิจวัตรประจำวันอยู่เรื่อยๆ จนกว่าจิตมันจะเกิดสงบขึ้นมาจริงๆ ถ้าหากมันไม่สงบในขณะนั้น หรือมันไม่รู้ไม่เห็นในขณะนั้น มันอาจจะเกิดเพราะเราอยากให้มันสงบ เราอยากรู้อยากเห็น ความอยากมันเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เมื่อเราทำอะไรด้วยความอยาก เราจะไม่รู้ เราจะไม่เห็น เช่น เราภาวนาด้วยความอยากให้จิตสงบ จิตของเราจะไม่สงบ ในเมื่อเราพิจารณาธรรมด้วยความอยากรู้อยากเห็น เราจะไม่รู้ไม่เห็น ต่อเมื่อเราไม่อยากรู้อยากเห็นนั้นแหละเราจึงจะรู้จะเห็นขึ้นมา

    บางทีนั่งพิจารณาอยู่ตั้งแต่หัวค่ำ จนกระทั่งค่อนคืน จวนๆ จะสว่าง มันก็ไม่มีความสงบ ไม่มีความรู้เกิดขึ้น แต่บางทีรู้สึกเหน็ดเหนื่อย เมื่อเหนื่อยแล้วก็ทอดธุระ หมดอาลัยตายอยากในหน้าที่ที่พึ่งพิจารณา เกิดความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาว่า พิจารณาทั้งคืนมันก็ไม่ได้ผล นอนดีกว่า นอนให้สบายดีกว่า แต่เมื่อนอนลงไปแล้ว เราตั้งใจว่าจะนอนให้มันสบาย ความอยากรู้อยากเห็นอยากมีอยากเป็นในสิ่งเหล่านั้นมันก็หายขาดไป โดยปกตินักภาวนาหรือนักปฏิบัติทั้งหลาย เวลานอนเขาไม่ได้นอนเปล่า นอนกำหนดจิตเรื่อยไป จนกว่าจะนอนหลับ ทีนี้ เมื่อกำหนดจิตเรื่อยไปจนกว่าจะนอนหลับ หลับแล้วจิตอาจจะตื่นกลายเป็นสมาธิก็ได้ เมื่อกลายเป็นสมาธิขึ้นมาแล้ว


    สิ่งที่เราพิจารณาไว้ตั้งแต่เบื้องต้น พิจารณาด้วยความไม่รู้และพิจารณาด้วยความที่จิตไม่สงบนั้นแหละ มันจะไปสงบขึ้นในขณะที่เรานอนแล้วก็จะรู้เห็นตามความเป็นจริงตามแนวที่เราพิจารณานั้นในขณะที่เรานอน ในขั้นต้นเราตั้งใจจะนอนให้หลับ

    เพราะอาศัยผลแห่งการปฏิบัติไม่ขาดสาย เมื่อหลับลงไปแล้ว มันหลับสนิทจริงๆ แต่จิตมันกลับตื่นขึ้นเป็นสมาธิขณะนอนอยู่ แล้วสามารถที่จะรู้ธรรมเห็นธรรมตามความเป็นจริงขึ้นมาแต่ในขณะที่นอนโดยไม่ได้ตั้งใจก็เป็นได้

    อันนี้ผู้ที่ปฏิบัติไปนานค่อยใช้ความสังเกตและพิจารณาไปเรื่อยๆ ประสบกราณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นแก่ท่านผู้เป็นนักปฏิบัติด้วยความตั้งใจจริงทุกๆ ท่าน อย่างบางทีเราคอยกันอยู่ ความสงบมันก็เกิดขึ้น แล้วความรู้มันก็เกิดขึ้น
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ตัวอย่างก็เคยมีอยู่แล้ว ในวันที่จะเริ่มปฐมสังคายนา พระพุทธเจ้าเคยทรงพยากรณ์พระอานนท์ว่า ท่านจะบรรลุพระอรหันต์ในวันทำสังคายนา ท่านก็เชื่อในพระโอวาทของพระพุทธเจ้า ท่านพยายามเดินจงกรมนั่งสมาธิอยู่ตลอดคืนยั่นรุ่ง นัยว่าเดินจงกรมจนเท้าแตกก็ไม่สามารถจะบรรลุพระอรหันต์ได้ พอท่านเหน็ดเหนื่อยเต็มที่แล้วจนทนไม่ไหว

    ท่านก็มาคำนึงในใจว่า เรายังไม่สำเร็จพระอรหันต์เราจะพักผ่อนให้สบายก่อน ทีนี้ เมื่อจะตั้งใจพักผ่อนให้สบาย พอเอนกายลง มันวางหมดทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ความอยากเป็นพระอรหันต์ในขณะนั้นก็ไม่มี มีแต่ตั้งใจว่าเราจะนอน ในเมื่อเอนกายลงไประหว่างครึ่งนั่งครึ่งนอน จิตก็รวมพรึ่บเป็นสมาธิขึ้นมา ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในขณะนั้น นี้คือตัวอย่าง

    เพราะฉะนั้น ในขณะที่เราบริกรรมภาวนาพิจารณาธรรมอันใดอันหนึ่งก็ตาม ในขณะที่เราบริกรรมหรือพิจารณาอยู่ จิตของเราอาจจะไม่สงบ และอาจจะไม่มีความรู้ใดๆ เกิดขึ้น ก็ขอได้โปรดอย่าท้อถอย ให้ใช้ขันติ ความอดทน พยายามปฏิบัติไป วันหนึ่งก็จะต้องเห็นผลอย่างแน่นอน ขอให้เราตั้งใจทำจริง ปฏิบัติจริงเท่านั้นเป็นพอ โดยยึดหลักโพชฌงค์ว่า ภาวิตา - อบรมให้มากๆ พหุลีกตา กระทำให้มากๆ คือ ทำทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน เว้น แต่เวลาหลับการทำสมาธิมิได้หมายความว่าเราจะมากำหนดจิตบริกรรมภาวนาหรือมาพิจารณาเฉพาะในขณะนั่งหลับตาเท่านั้น แม้เวลาอื่นนอกจากการปฏิบัติ คือนอกจาการเดินจงกรมและจากการนั่งสมาธิ เราจะทำอะไร จะพูด จะคิด จะดื่ม จะฉัน จะรับประทานอะไรก็ตาม ให้มีสติสัมปชัญญะคอยกำกับ และเอาตัวรู้สะกดตามไปด้วย คือ ให้มีผู้รู้

    ในเมื่อเรามีสติสัมปชัญญะกำกับรู้กิริยาอาการ ความเคลื่อนไหวของเราอยู่ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คอด เราก็มีสติสังวรอยู่ การที่มีสติสังวรอยู่ สํวโร คือ การสำรวม การสำรวม ก็คือ ศีล ความตั้งมั่นจดจ้องต่อการสังวรระวัง อันนั้นก็คือ สมาธิ ความมีสติสัมปชัญญะ รู้รอบคอบอยู่ทุกอิริยาบถนั้น คือตัว ปัญญา ขอให้ท่านนักปฏิบัติทั้งหลายพึงเข้าใจตามนัยที่กล่าวมานี้

    การกล่าวให้โอวาทตักเตือนในการปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาธาตุววัฏฐาน คือ การพิจารณาแยกธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมลงสู่ธาตุแท้ คือ ปฐวี ธาตุดิน อาโป ธาตุน้ำ วาโย ธาตุลม เตโช ธาตุไฟ ให้เห็นว่าร่างกายเป็นแต่สักว่าธาตุ ๔ ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวิต ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ก็เห็นว่าพอสมควรแก่กาลเวลา ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้...


    ที่มา: http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_poot/lp-poot_42.htm
     
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    การพิจารณากายแบบฉบับของเราเอง (อย่างหยาบ)

    ร่างกายของเราเป็นเพียงที่อาศัยของจิตในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่ร่างกายก็มีความสำคัญไม่ใช่น้อยสำหรับการงาน ดังนั้น จึงต้องบำรุงรักษาให้เหมาะแก่การงาน เริ่มตั้งแต่

    ศีรษะ เส้นผม ต้องสระผมเพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นหมักหมมและเป็นที่อาศัยของเชื้อโรค เชื้อรา แบคทีเรียต่างๆ

    ร่างกายส่วนที่เป็นเนื้อหนังมังสา ก็ต้องชำระล้างฝุ่นละออง คราบไคลที่เกิดจากเหงื่อที่ผสมกับมวลสารทางอากาศ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดการหมักหมมของสิ่งปฏิกูลเช่นกัน

    ดวงตา จมูก ใบหู ก็ต้องชำระล้างให้สะอาด เพื่อความชัดเจนในการสัมผัส ภาพ กลิ่น และเสียง

    การเกิดดับของเนื้อหนังมังสานั้น มีเกิดดับตลอดเวลา เรียกง่ายๆ ว่าตายเกิด หนังมีการเสื่อมสภาพตามเวลาและอายุของมันเพียงระยะสั้นๆ ในวันหนึ่งๆ หลายรอบด้วยกัน เมื่อหนังเก่าตายไป ลอกออก หนังใหม่ก็เกิดขึ้นมาแทนที่ เป็นอย่างนี้เรื่อยไปตั้งแต่คลอดออกมาจากท้องแม่ และแม้กระทั่งอยู่ในครรภ์ เนื้อภายในแต่ละชั้นใต้ผิวหนังมีการเจริญเติบโต หยุดการเจริญเติบโต และเสื่อมลงตามวัย อายุของผู้ถือร่างกายนั้น

    เส้นผมก็มีเกิดดับ มีการตายเกิดตามอายุสั้นๆ เช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่าแม้ว่าจะบำรุงรักษาอย่างไร ก็จะพบว่าเส้นผมมีการหลุดร่วงทุกวัน นั่นคือ มันได้ตายลง และงอกขึ้นใหม่ การงอกขึ้นใหม่ก็คือการเกิดนั่นเอง

    จมูกที่ใช้สูดดมและหายใจ ลมหายใจที่สูดเข้ามานั้่นมีทั้งฝุ่นละอองเล็กๆ ปนเปื้อนมาด้วยทุกครั้ง ดังนั้น จมูกจึงต้องมีขนอ่อนๆ อยู่ภายในและน้ำเมือกเพื่อดักฝุ่นละอองนี้ เมื่อฝุ่นละอองปลิวเข้ามาติดที่ขนอ่อนผสมกับน้ำเมือกนี้ สะสมมากเข้าก็กลายเป็นขี้มูก จำเป็นต้องทำความสะอาด เช็ดให้เกลี้ยงเกลา

    ใบหู ใช้สำหรับการได้ยินเสียงต่างๆ เพื่อแปลงเป็นสารในการรับรู้ ในใบหูก็มีขนอ่อนๆ และน้ำเมือกเฉกเช่นเดียวกันกับจมูก เมื่อมีการสั่งสมก็กลายเป็นขี้หู อุดตันในรูหู ทำให้ได้ยินเสียงต่างๆ ไม่ชัดเจน

    ลูกตามีความสำคัญจำเป็นสำหรับการเห็นภาพ หากเลนซ์แก้วตามีปัญหา การรับภาพต่างๆ ก็ไม่ชัดเจน เลือนลาง ก็ต้องดูแลรักษาด้วยการไม่ให้สิ่งสกปรกสั่งสมจนกลายเป็นแบคทีเรียหรือเชื้อโรค ทำลายเลนซ์แก้วตาให้เสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด

    เล็บ
    เล็บมือ เป็นส่วนเสริมปลายนิ้ว เพื่อใช้บังคับจับสิ่งของได้อย่างมั่นคง การดูแลก็เหมือนอวัยวะอื่นๆ คือ ป้องกันการสะสมของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรค ด้วยวิธีการล้างให้สะอาดอยู่เสมอ จะเห็นได้ว่า เล็บมีการงอกขึ้นในทุกวัน เราจึงจำเป็นต้องตัดเล็บให้มีความยาวเหมาะสมสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน

    เล็บเท้า เป็นส่วนเสริมปลายนิ้วเช่นเดียวกันกับเล็บมือ มีหน้าที่สร้างสมดุลให้กับเท้า เวลาก้าวเดิน มีความสำคัญจำเป็นต้องทำความสะอาด เหตุผลเดียวกันกับเล็บมือ
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ทีนี้ มาดูเรื่องอาหารการกิน ร่างกายต้องการอาหารและน้ำ นี่คือธรรมชาติของร่างกาย ต้องการอาหารเพื่อแปรเป็นแร่ธาตุต่างๆ ที่ร่างกายต้องการนำเข้าสู่กระบวนการสร้างเสริมเนื้อเยื่อทั้งภายนอกและภายในที่มันเสื่อมและตายลงในแต่ละวัน สร้างเม็ดเลือดที่หล่อเลี้ยงร่างกายนี้ ร่างกายต้องการสารอาหารที่จำเป็นและเหมาะสมเพียงเท่านั้น ไม่ได้ต้องการสิ่งที่เกินจำเป็น

    อากาศที่หายใจเข้าไป มีความสำคัญในการผลิตเม็ดเลือดใหม่ ทางเดินของเลือดคือหลอดเลือด อาหารที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละวัน จะถูกกระบวนการย่อยอาหารและไปรวมกับเลือดเพื่อไหลไปทั่วร่างกายเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายและสร้างเสริมเนื้อเยื่อที่เกิดใหม่

    น้ำเหลืองมีหน้าที่ดักจับเชื้อโรคที่แปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย เชื้อโรคต่างๆ รวมถึงแบตทีเรีย ทำให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ หากน้ำเหลืองเสีย จากอาหารที่ไม่มีประโยชน์ที่ร่างกายรับเข้าไป ก็จะทำให้กลายเป็นน้ำหนองสีเหลืองๆ มีกลิ่นเหม็นเน่า

    ฟันและช่องปาก ฟันมีหน้าที่ขบเคี้ยวอาหารเพื่อส่งต่อไปยังลำไส้และกระเพาะสู่กระบวนการย่อยอาหารอีกครั้ง เพื่อแยกปรมาณูในสารอาหารต่างๆ เหล่านั้น ส่งต่อไปยังอวัยวะภายในที่มีความต้องการสารอาหาร แร่ธาตุที่แตกต่างกันในการซ่อมแซมและสร้างเสริม ดังนั้น ฟันจึงต้องมีการทำความสะอาดคราบอาหารและน้ำลายในแต่ละวัน ไม่ให้เกิดสิ่งหมักหมมของเชื้อแบคทีเรียต่างๆ อันนำมาซึ่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ และทำให้อายุการใช้งานของฟันสั้นลงเร็วกว่าปกติ นั่นคือฟันผุและต้องถอนทิ้งไป

    สารอาหารที่ดีมีประโยชน์ ทำให้เนื้อหนังมังสา เส้นผม เล็บ ฟัน มีสุขภาพอนามัยดี มีสีสรรที่ชวนมองโดยธรรมชาติ

    กลไกของร่างกายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ไว้ดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องเอากิเลส ตัณหา อุปาทาน เติมแต่งลงไปเพิ่มเลย เราจะสามารถใช้ร่างกายในการทำการงานได้อย่างยาวนานกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จนหมดอายุขัยของมันไปเอง นี่คือธรรมชาติ

    แต่ถีงแม้ว่าจะบำรุงรักษาอย่างไร ร่างกายนี้ก็มีเสื่อมและแตกดับลงไป ร่างกายจึงเป็นเพียงแค่สิ่งที่จิตมาอาศัยเพียงชั่วคราวเท่านั้น จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา บำรุงบำเรอด้วยกามตัณหา โดยหลงคิดว่านี่คือเราและเป็นของเรา
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    พอเราแยกพิจารณาออกมาทีละส่วนตามที่กล่าวไว้ด้านบนแล้ว ก็จะเห็นส่วนที่เป็นธาตุต่างๆ
    อันได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลมและธาตุไฟ ได้ชัดเจนขึ้นค่ะ ปฏิบัติเองรู้เองเห็นเองหนอ

    ขอให้เจริญในธรรมค่ะ
     
  10. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    ตัวช่วยคือ กุศล

    ทำให้จิตเบาสบายขึ้นเรื่อยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

    กุศลจิตใดที่ท่านปราถนา ขอให้ท่านได้สมปราถนา
     
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]
     
  12. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    ยินดีด้วยครับ
    พยายามมีสติครับผม ข้อสอบจะยากขึ้นเรื่อยๆ

    กฎแห่งกรรม กฎธรรมชาติ ธรรมดา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2018
  13. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    จริงๆ หรือคะ ขออนุโมทนาด้วยค่ะสาธุ
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์

    [๙๓๓] ตัณหา ๓ เป็นไฉน
    กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

    บรรดาตัณหา ๓ นั้น ภวตัณหา เป็นไฉน
    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันสหรคตด้วยภวทิฏฐิ นี้เรียกว่า ภวตัณหา

    วิภวตัณหา เป็นไฉน
    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า วิภวตัณหา ตัณหาที่เหลือนอกนั้น เรียกว่า กามตัณหา

    บรรดาตัณหา ๓ นั้น กามตัณหา เป็นไฉน
    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยกามธาตุ นี้เรียกว่า กามตัณหา

    ความกำหนัด ความกำหนัดนักแห่งจิต ฯลฯ อันประกอบด้วยรูปธาตุและอรูปธาตุ เรียกว่า ภวตัณหา

    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า วิภวตัณหา
    เหล่านี้เรียกว่า ตัณหา ๓

    [๙๓๔] ตัณหา ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
    กามตัณหา รูปตัณหา อรูปตัณหา

    บรรดาตัณหา ๓ นั้น กามตัณหา เป็นไฉน
    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยกามธาตุ นี้เรียกว่า กามตัณหา

    รูปตัณหา เป็นไฉน
    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยรูปธาตุ นี้เรียกว่า รูปตัณหา

    อรูปตัณหา เป็นไฉน
    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยอรูปธาตุ นี้เรียกว่า อรูปตัณหา
    เหล่านี้เรียกว่า ตัณหา ๓

    [๙๓๕] ตัณหา ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
    รูปตัณหา อรูปตัณหา นิโรธตัณหา

    บรรดาตัณหา ๓ นั้น รูปตัณหา เป็นไฉน
    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยรูปธาตุ นี้เรียกว่า รูปตัณหา

    อรูปตัณหา เป็นไฉน
    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยอรูปธาตุ นี้เรียกว่า อรูปตัณหา

    นิโรธตัณหา เป็นไฉน
    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า นิโรธตัณหา
    เหล่านี้เรียกว่า ตัณหา ๓
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ธรรมะบางตอน ที่สมเด็จองค์ปฐมตรัสสอนไว้

    สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ๑. เหนื่อยมากก็ให้พิจารณาว่า เหนื่อยครั้งนี้ขอทนเป็นครั้งสุดท้าย ตายเมื่อไหร่ก็ไม่ต้องกลับมาเหนื่อยอย่างนี้อีก (ทรงให้ใช้มรณาและอุปสมานุสสติอยู่เสมอ)

    ๒. มองร่างกายให้เป็นคุณบ้าง เพราะการมีร่างกายทำให้รู้ทุกข์อันเกิดจากร่างกาย ได้เห็นความโลภ-โกรธ-หลงจากจิตเกาะร่างกายนี้ หากมองในมุมที่เป็นโทษอย่างเดียว จะเห็นจิตตกเป็นทาสรับใช้กาย เช่นหิว-หนาว-ร้อน-หาปัจจัย ๔ ให้เพื่อร่างกายทุกอย่าง คิดแบบนี้บางขณะก็เกิดนิพพิทาญาณจิตเบื่อหน่ายเศร้าหมองได้ จึงต้องพิจารณาลงให้เห็นธรรมดาของกายมันเป็นอย่างนี้ จนจิตยอมรับตามความจริงให้ได้ จุดนั้นแหละจิตจักไม่เบื่อ มีแต่ปล่อยวางร่างกาย จิตเป็นสุขไม่ทุกข์ไปกับสภาวะที่แท้จริงของร่างกาย หรืออันใดในโลกอีกเลย

    ๓. การเห็นทุกข์ พิจารณาทุกข์ หาหนทางพ้นทุกข์ด้วยการปล่อยวางที่จิตตน นั่นแหละเป็นหนทางพ้นทุกข์ หากเห็นทุกข์แล้วพิจารณาไม่ถึงที่สุดด้วยปัญญา ก็ตัดไม่ได้ แต่กลับติดอยู่ในทุกข์ จึงไม่มีทางพ้นทุกข์ จักพ้นทุกข์ได้ บารมีต้องเต็มและพร้อมอยู่ในปัจจุบันเสมอ โดยรักษาศีล-สมาธิ-ปัญญา ให้พร้อมเป็นหนึ่งเดียว จึงจักเป็นมรรคปฏิปทาตามความเป็นจริงของหนทางดับทุกข์

    ๔. ให้มุ่งดูกิเลสของจิตตนเป็นสำคัญ อย่าไปมุ่งดูคนอื่น วัดดูตัวตัดความโกรธ-โลภ-หลงที่ตนทุกวัน อย่าไปวัดของคนอื่น

    ๕. การพิจารณาให้เข้าสู่อริยสัจอยู่เสมอ เห็นทุกสิ่งในโลกไม่เที่ยงเป็นอนิจจัง ยึดเมื่อไหร่ทุกข์เมื่อนั้น การพิจารณาต้องเอาจริง-ต้องขยัน-ต้องเพียรต่อเนื่อง จึงจักตัดความเกาะติดได้ ยิ่งขี้เกียจกิเลสยิ่งหนาขึ้นทุกวัน เพราะไม่รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เวลาปฏิบัติธรรมเป็นอกาลิโก เป็นเวลาภายในของจิต

    ๖. จิตของเราจักต้องรักษาศีล-สมาธิ-ปัญญาให้ได้ด้วยชีวิตในทุกขณะจิตที่ระลึกได้ หากต้องการความเจริญของจิต ให้หมั่นสำรวจความบกพร่องของศีล-สมาธิ-ปัญญาของตนเองอยู่เสมอ ไม่ต้องดูความดี ให้ดูแต่ความชั่ว ละความชั่วได้หมดก็ถึงซึ่งความดีได้เอง

    ๗. การพิจารณาอย่าลืมตั้งอารมณ์ให้ถึงที่สุดของความดีในพุทธศาสนา คือพระนิพพานเสมอ ให้จิตชิน-เร็วและไวที่สุด

    ๘. ทุกอย่างที่กระทบอายตนะ ให้พยายามลงคำว่าสักแต่ว่าเท่านั้น ให้มีสติระลึกเสมอว่า ทุกสิ่งในโลกไม่ใช่ตัวตน-บุคคล-เรา-เขา เป็นเพียงแค่สภาวะธรรมหรือกรรม เขาแสดงธรรมอยู่อย่างนั้นเอง ให้มองทุกสิ่งเป็นธรรมดาให้มากที่สุด แล้วจิตจักวางลงได้ในคำว่า สักแต่ว่า

    ๙. พิจารณาความไม่เที่ยงเข้าไว้เสมอๆ จักได้คลายความยึดลงได้ด้วยประการทั้งปวง แม้จักละได้ยังไม่สนิท ก็บรรเทาสักกายทิฏฐิลงได้ไม่มากก็น้อย

    ๑๐. สักกายทิฏฐิมีเป็นขั้นๆ หยาบ-กลาง-ละเอียด ตั้งแต่ปุถุชนถึงอรหันต์ ล้วนมีระดับทั้งสิ้น ดังนั้นการพิจารณาเข้าหาสัทธรรม ๕ ล้วนเป็นทุกข์ เพื่อให้เห็นทุกข์จากความไม่เที่ยงของร่างกาย เพื่อเข้าสู่อริยสัจ ตามระดับจิตนั้นๆ เห็น

    ๑๑. ทุกอย่างละที่จิตอย่างเดียวเท่านั้น เท่ากับเดินมรรคด้วยจิต ทำให้ถูกทางแล้ว จักเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ง่าย

    ๑๒. ให้เห็นทุกข์ของการมีชีวิตอยู่ในโลกที่เร่าร้อนจากภัยนานาประการ ซึ่งเป็นธรรมดามิใช่ของแปลก เพราะทุกข์-ภัยเหล่านี้มีอยู่คู่กับโลกตลอดมาทุกพุทธันดร อย่าไปหวังแก้โลก อย่าไปหลงปรุงแต่งตามโลก ให้เห็นตัณหา ๓ ที่ครอบงำโลกให้วุ่นวายอยู่ทุกวัน

    ๑๓. มองทุกอย่างตามความเป็นจริง แล้วปล่อยวางเสีย ด้วยเห็นทุกข์ เห็นความไม่เที่ยง น่าเบื่อหน่าย ไม่น่ายินดี-ยินร้ายด้วยแม้แต่น้อย

    ๑๔. อย่าสนใจจริยาผู้อื่น ให้มองจิตตนไว้เป็นสำคัญ คอยโจทจิตตนเองไว้เสมอ ฝึกจิตให้ปล่อยวางทุกสิ่งในโลก เพราะการไปพระนิพพาน จิตติดอะไรแม้อย่างเดียวในโลกนี้ หรือไตรภพก็ไปไม่ถึง

    ๑๕. ขันธ์ ๕ ยังอยู่ ยังต้องพิจารณาปัจจัย ๔ ซึ่งจำเป็นในการยังอัตภาพให้เป็นไป สักแต่ว่าเป็นเครื่องอยู่ สักแต่ว่าเป็นเครื่องอาศัย ทุกสิ่งอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ จึงมีอนัตตาไปในที่สุด จิตคลายความเกาะติดก็เป็นสุขสงบ ทำให้ชินเมื่อวาระกายจักพังมาถึง การตัด-วางร่างกายก็ไม่ยาก เพราะรู้แจ้งตามความเป็นจริงแล้ว จงอย่าประมาทในความตายก็แล้วกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2013
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ๑๖. พิจารณากายและเวทนากลับไป กลับมา ไม่มีกายก็ไม่มีเวทนา ไม่มีเวทนาก็ไม่มีกาย แล้วให้เห็นปกติธรรมของรูป และนามซึ่งอาศัยกันและกัน จุดนี้พิจารณาให้ลึกลงไป จักเห็นความไม่มีในเรา ในรูป-นามได้ชัดเจน

    ๑๗. เราคือจิตที่ถูกกิเลสห่อหุ้มให้หลงติดอยู่ในรูป-ในนามมานับอสงไขยกัป หากไม่พิจารณาให้เห็นชัดในจุดนี้ ก็จักตัดความติดอยู่ในรูป-ในนามไม่ได้

    ๑๘. ให้เห็นกายนี้มีปกติธรรมอยู่ คือเกิดขึ้น-ตั้งอยู่ในความเสื่อมแล้วก็ดับไป หาสาระแก่นสารอันใดไม่ได้ การอยู่ก็เพียงเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปอย่างมัชฌิมาปฏิปทา หมายถึงดำริว่าจักไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นด้วย

    ๑๙. มองกายนี้ให้เป็นสุสานฝังศพ ฝังเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักพอ เพราะเกิดเท่าไหร่ ก็ตายหมดเท่านั้น เกิดกับตายเป็นเรื่องธรรมดาของกาย

    ๒๐. หากจิตติดอยู่กับธาตุ-อายตนะขันธ์ ก็ยังต้องเกิด ต้องตายอยู่กับร่างกายนี้อีกนับชาติไม่ถ้วน ดังนั้นหากยังอาลัยในชีวิตอยู่ ก็ยังไม่เข็ดกับการเกิดจริง เรื่องการปล่อยวางการเกาะกายจึงขึ้นอยู่กับจิตที่จักพิจารณาด้วยปัญญา และขึ้นอยู่กับสติ-สัมปชัญญะกำหนดรู้อยู่เสมอว่า ธาตุ-อายตนะขันธ์นี้ไม่มีในเรา-ไม่ใช่เรา

    ๒๑. การปฏิบัติจักต้องเอาจริง แต่อย่าเครียด อย่าหนักใจ เพราะอารมณ์นั้นมิใช่ของจริง ของจริงจักต้องสบายๆ ใจ และเข้าใจในบทพระธรรมคำสั่งสอนเพียงพอและปฏิบัติได้ตามนั้นด้วย

    ๒๒. พระกับคนสูงอายุ จงอย่าคิดหรือพูดตักเตือน เพราะมีสักกายทิฏฐิสูง มีความถือตัว ถือตนสูงเป็นธรรมดา ให้พิจารณาตรงๆ ว่ามิใช่ธุระอันใด หากจิตเกิดมีอารมณ์อยากกล่าวในลักษณะนี้ ก็ให้รีบระงับด้วยปัญญาว่า ไม่มีประโยชน์-มีแต่โทษให้ปล่อยวางธรรมภายนอกนั้นๆ เสีย หันมาแก้ธรรมภายในคืออารมณ์จิตของตนเองดีกว่า

    ๒๓. หวังดีกับผู้อื่น สู้หวังดีกับกาย-วาจา-ใจของตนเองไม่ได้ ทั้งนี้ มิใช่สอนให้เห็นแก่ตัว แต่เพียงให้รู้จักใช้ปัญญา พิจารณาธรรมทั้งหมดย้อนไป-ย้อนมา เพื่อสอนใจตนเองดีกว่าสอนใจผู้อื่น

    ๒๔. ให้ดูทุกคนต่างมีลีลาชีวิตต่างๆ กันไปตามกฎของกรรม ทุกอย่างเป็นธรรมดาที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป อย่าถืออะไรมาเป็นสาระที่จริงจังของชีวิต ยามมีชีวิตก็เกื้อหนุนกันไปตามพรหมวิหาร ๔ แต่จงอย่าเบียดเบียนตนเองให้มากเกินไป ทุกอย่างให้อยู่ในมัชฌิมาปฎิปทา

    ๒๕. อย่าไปขวางทางบุญ-บาปของใคร เพราะพื้นฐานของจิต และอารมณ์ที่จักเป็นบุญ และบาปในแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ดังนั้นจิตที่จักวางจริยาของผู้อื่นได้จริง จักต้องใช้ปัญญา พิจารณาจุดนี้ให้มากๆ แล้วลงตัวธรรมดาให้ได้ จึงจักปล่อยวางกรรมของผู้อื่นลงได้สนิท ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมเลว

    ๒๖. เกิดตายเป็นของคู่กัน เกิดเท่าไหร่ ตายหมดเท่านั้นเป็นธรรมดา แม้พวกเจ้าทั้งๆ ที่ระลึกถึงความตายก็ยังมีความประมาทแฝงอยู่มาก ให้คิดดู ๒๔ ชั่วโมง นึกถึงความตายอย่างยอมรับความจริงสักกี่ครั้ง การนึกถึงอย่างนกแก้ว นกขุนทอง หาได้เคารพนับถือจริงจังไม่ จึงได้ประโยชน์น้อย

    ๒๗. จำไว้มรณานุสสติ เป็นฐานใหญ่ทำให้จิตตนไม่ประมาทเห็นคุณค่าของชีวิตที่เหลืออยู่ ชีวิตจริงๆ ดังเช่นเปลวเทียนวูบๆ วาบๆ แล้วก็ดับหายไป เกิดใหม่ก็ดับอีก หากไม่เร่งรัดให้ปัญญาเกิด

    ๒๘. กายที่เห็นอยู่นี้มิใช่ของจริง ตัวจริงคือจิต ให้พิจารณาการทรงอยู่ของกายทุกลมหายใจเข้า-ออก ล้วนเป็นทุกข์จากความไม่เที่ยง ขณะนี้โลกภายนอกก็วุ่นวายสับสน-ไม่เที่ยงเหมือนกับขันธโลก มองทุกอย่างให้เป็นธรรมดาตามกฎของกรรม

    ๒๙. พระอรหันต์ท่านไม่มีอารมณ์ฝืน ย่อมไม่กำกรรมเพื่อใคร กรรมใครก็กรรมมันจริงๆ ส่วนพวกเจ้าวิริยะบารมียังอ่อน ยังขี้เกียจอยู่มาก ให้พยายามโจทจิตตนเอง และคอยแก้ไขจิตตนเองไว้ อย่าไปยุ่งกับจริยาของผู้อื่น ประคองจิตตนให้พ้นเป็นสำคัญ การสงเคราะห์ผู้อื่นเป็นหน้าที่ แต่อย่าเอาจิตเกาะกรรมของเขา มองให้เห็นธรรมดา แก้โลกไม่มีสิ้นสุด แก้ใจตนเองเป็นสิ้นสุดได้ ให้เคารพกฎของกรรม จิตจึงจักเป็นสุขได้ ดวงเมืองกำลังร้อน เรื่องบ้านเมือง เรื่องของผู้อื่นให้วางเฉย ทุกอย่างเป็นไปตามกฎของกรรม จิตอย่าไหวตาม เห็นทุกอย่างเป็นธรรมดาเข้าไว้

    ๓๐. รักษาอะไรไม่สำคัญเท่ารักษาจิตตนเอง ระวังอย่าให้จิตเศร้าหมอง เอาจิตเกาะกุศลดีกว่า เกาะอกุศล

    ๓๑. ทำบุญ-ทำทานทุกอย่างมุ่งพระนิพพานจุดเดียว โดยไม่หวังผลตอบแทน จัดเป็นจาคานุสสติ และอุปสมานุสสติ

    ที่มา http://www.tangnipparn.com/page14_b00k16.html
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    หมด...ไม่มีอะไรต้องเรียนรู้ต่อไปแล้ว
     
  18. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    เรียนรู้วิธีการเพิ่มกำลังจิตครับ
     
  19. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สาธุ ขอบคุณค่ะ รักษาอารมณ์กับลดละในสภาวะธรรมที่ยังมีอยู่หนอ
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สลายธาตุ ~ สลายธรรม

    [​IMG]

    สมดุลย์ธาตุชาติปั้นกำหนดรูป
    มีลมสูบสืบอาหารธาตุทั้งสี่
    อริยาบถเคลื่อนไหวสำราญดี
    มิหมายมีขัดขวางสักอย่างเดียวฯ

    เมื่อธาตุปรวนแปรเปลี่ยนสะเทือนธาตุ
    ยาตรเท้าย่างยืนนั่งนอนเจ็บแปล๊บเสียว
    ดินกระด้างไฟกระพือร้อนจริงเทียว
    ลมแรงโลดขับเคี่ยว...เจียนสิ้นลมฯ

    สะท้อนธรรมธรรมธาตุจนปราชญ์เปรื่อง
    ธาตุธรรมเครื่องอาศัยธรรมสั่งสม
    สลายธาตุสลายธรรมดั่งปรารมภ์
    อุดมสันติ์สุญญตวิหารธรรมฯ


    [​IMG]

    ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=552072
     

แชร์หน้านี้

Loading...