<VSN><<<พระเครื่องเมืองเหนือ สิงห์รุ่นแรก ครูบาออหน้า4 เชิญชมได้เลยครับ>>><NSV>

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย momotaro67, 21 กันยายน 2013.

  1. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    มีพระเครื่องเมืองเหนือ น่าบูชาหลายรายการครับท่าน เชิญชมได้เลยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2014
  2. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [FONT=&quot]ติดต่อ[/FONT][FONT=&quot]ได้ที่ โม พลังจิต [/FONT][FONT=&quot]มือถือ [FONT=&quot]081-801-9095[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนพัฒนาการฯ บัญชี สะสมทรัพย์[/FONT]
    [FONT=&quot][FONT=&quot] เลขที่บัญชี [/FONT][FONT=&quot]578-0-32-8182[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]หลังโอนเงินแล้ว รบกวนโทรแจ้งให้ทราบด้วยเพื่อจะได้จัดส่งวัตถุมงคลได้ถูกต้อง[FONT=&quot]หรือเมล์แจ้งได้ที่[/FONT][FONT=&quot] email : momotaro67@hotmail.com[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]ทุกรายการค่าจัดส่งรายการละ 60บ.ทั่วประเทศ โดยจัดส่งแบบEMS ครับผม

    ทักกันใน Facebook Mo Palungjit ด้วยนะครับ
    [/FONT]​
     
  3. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]

    พระเทพวิสุทธิญานหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล เป็นพระเถระที่มีปฏิปทาเป็นพระกรรมฐานในสายพระอาจารย์ใหญ่ มั่น ภูริทัตโต เป็นที่เคารพเลื่อมในของพุทธศาสนิกชนทั่วไป


    ท่านมีความเคร่งครัดต่อการฝึกฝนวิปัสนากรรมฐาน ด้วยกิตติศัพท์ แห่งคุณงามความดีที่ท่านได้ฟื้นฟูสภาพจากสำนักสงฆ์วิปัสนาที่ไม่มีอะไรเลย จนกลายเป็นวัดที่โดดเด่น คือ วัดอนาลโยทิพยาราม จนเป็นที่นับถือเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

    แม้ทุกวันนี้ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ท่านจะดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการชั้นผู้ใหญ่ แต่วัตรปฏิบัติของท่านยังคงเรียบง่ายดุจเดิม ท่านยังคงให้การอบรมสั่งสอนธรรมมะให้แก่สาธุชนที่เข้าไปทำบุญฟังธรรมและเน้นให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนตามแนวทางของพระพุทธศาสนา การประพฤติตนให้อยู่ในศีลในธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานในการดำรงชีวิตในสังคมให้เป็นปกติสุข ถึงแม้ว่าสังขารเริ่มร่วงโรยไปตามกาลเวลา แต่จิตใจของหลวงพ่อท่านยังเข้มแข็ง เป็นบุคคลต้นแบบในการดำเนินชีวิตที่ดีงามอย่างแท้จริง

    วัดอนาลโย ดอยบุษราคัม หรือดอยมังกรในอดีตชาวบ้านเรียกว่าดอยม่อนแก้วเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีวิญญาณผู้คุ้มครองที่แห่งนี้หวงแหน

    ตอนกลางคืนถ้าตรงกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จะมีดวงแก้วส่องแสงสว่างลอยอยู่ในบริเวณดังกล่าวจนชาวบ้านไม่กล้าเขาไปบริเวณน้นเนื่องจาร่ำลือกันว่ามีผีดุ

    หลังจากที่หลวงพ่อได้ตั้งสำนักสงฆ์ และได้เริ่มก่อสร้างวัด ได้มีซินแส จากเมืองจีนท่านหนึ่งได้มาเยือนเขาแห่งนี้และได้บอกกับหลวงพ่อว่า ลักษณะของภูเขาลูกนี้ตามตำราจีนเรียกว่า เขามังกร แต่เขามังกรลูกนี้ค่อนข้างแปลก เพราะมังกรตัวนี้หันหัวลงไปทางกว๊านพะเยาซึ่งเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ มังกรตัวนี้ปกติจะเล่นน้ำอยู่ในทะเลสาบใหญ่แห่งนี้พอเล่นน้ำเสร็จเรียบร้อยพอใจแล้วก็จะชูคอขึ้นสูงยาวไปถึงกรุงเทพ ไปคาบเงินมาเป็นฟ่อนๆโยนมาบนเขาลูกนี้ .....

    ซึ่งในกาลต่อมาคำบอกเล่าของซินแสกลับกลายเป็นเรื่องจริงอย่างน่าอัศจรรย์ใจตรงตามคำพยากรณ์ทุกประการ เพราะในขณะที่หลวงพ่อกำลังสร้างวัดอนาลโยฯ อย่นั้น ท่านได้มีนิมิตบอกเหตุว่าควรสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้นบนพื้นที่ว่างบนบริวณยอดเขา แต่ก็ติดขัดเรื่องของปัจจัยในการก่อสร้างที่หนักหนาสาหัสเอาการอยู่ แต่ในเวลาต่อมาก็ได้มีท่านผู้ใจบุญ ท่านหนึ่งร่วมถวายปัจจัยจำนวนหลายล้านบาทเป็นค่าก่อสร้างพระเจดีย์องค์นี้จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี...


    เหรียญนกยูงทอง หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ดอยบุษราคัม พะเยา

    เหรียญนกยูงทอง หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโย จ.พะเยา จัดสร้างโดยอาศัยพุทธชาดกในตอนที่พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพญายูงทอง พุทธคุณเน้นไปทางเมตตา มหานิยม คุ้มครองป้องกันภัย

    คาถานกยูงทอง(ป้องกันภัย)
    โมระปะริตตัง
    อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
    ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
    เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
    เต เม นะโต เต จะ มัง ปาละยันตุ
    นะมัาตถุ พุทธานัง นะมัตถ โพธิยา
    อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนาฯ
    อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
    ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
    เย พราะหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
    เต เม นะโม เต จะมัง ปาละยันตุ
    นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
    อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติฯ

    [​IMG][​IMG]



    ให้บูชา 450บ.ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • pb3.jpg
      pb3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      73 KB
      เปิดดู:
      5,610
    • pb2.jpg
      pb2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      76.9 KB
      เปิดดู:
      6,159
    • paiboon.jpg
      paiboon.jpg
      ขนาดไฟล์:
      123.5 KB
      เปิดดู:
      5,909
  4. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]

    ครูบาออ รูปนี้ แม้วัยชรา ก็มีวิชาดี มีบารมีมาก ท่านแบกกลดธุดงค์จากฝั่งไทยใหญ่ พม่า มาจนดอยจอมแวะ เพียงรูปเดียว ค่ำไหนนอนนั่น ถ้ำลึกลับ ป่าช้ารก เป็นที่อาศัล ผจญภูตผีปีศาจ เจ้าป่าเจ้าเขา ผ่านมาได้หมด เจ้าฟ้าแสงเชียง เจ้าแผ่นดินรัฐฉาน ไทยใหญ่ เป็นผู้สักสังวาลเพชร บนศีรษะท่านเมื่ออายุ 20 ปี เพราะโปรดที่ครูบาออ ตอนนั้นเป็นทหารกล้า นำพากองทัพไทยใหญ่รบชนะข้าศึกโดยไม่เสียกำลังพลแม้แต่คนเดียว

    ในด้านความเข้มขลังในวิทยาและอาคมของหลวงปู่ครูบาออ กล่าวได้ว่าสุดยอดเลยทีเดียวหลวงปู่ครูบาออได้ร่ำเรียนจากตำราบ้างครูบาอาจารย์ของท่านจำนวน ๙ รูป ปัจจุบันยังคงเหลืออยู่ ๑รูปอยู่ที่ประเทศพม่ารัฐฉานไทยใหญ่เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาอาคมและการปฏิบัติตนในแบบฉบับวิปัสสะนากรรมฐานสันโดดตอนที่เป็นทหารนั้นท่านก็ยังเป็นหมอรักษาผู้ป่วยด้วยวิชาอาคมจนหายนับไม่ถ้วนจนเป็นที่เล่าขานมาทุกวันนี้

    รูปหล่อรุ่นแรก"รุ่นแรก" ครูบาออ สำนักสงฆ์พระธาตุดอยจอมแวะ

    ประสบการณ์
    - ขณะพยาบาลจะฉีดยาให้หลวงปู่ขณะนอนหลับ ปรากฏว่าเข็มแทงไม่เข้า
    - ผู้ห้อยวัตถุมงคลของหลวงปู่ถูกจ่อยิง แต่กระสุนปืนไม่ระคายผิว
    - ตชด.ถูกขบวนการค้ายาเสพติดตามแนวชายแดนล้อมยิง แต่กระสุนปืนไม่ลั่นแม้แต่นัดเดียว

    จำนวนจัดสร้าง

    - กะหลั่ยทอง 50 องค์ (3 โค๊ด)
    - กะหลั่ยเงิน 50 องค์ (3 โค๊ด)
    - รมดำ 700 องค์ (1 โค๊ด)

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]



    *ปิดรายการนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • aa1.jpg
      aa1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.6 KB
      เปิดดู:
      7,769
    • aa2.jpg
      aa2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.1 KB
      เปิดดู:
      7,957
    • aa3.jpg
      aa3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      20.3 KB
      เปิดดู:
      7,640
    • art_42049908.jpg
      art_42049908.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.2 KB
      เปิดดู:
      11,569
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2014
  5. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    เหรียญพระดับภัย วัดดับภัย จ.เชียงใหม่ ปี 2518 รุ่นแรก พิมพ์ที่1 เนื้อทองแดง

    เหรียญพระพุทธชื่อดังของจังหวัดเชียงใหม่ สร้างปี 2518 เกจิอาจารย์ดังมาร่วมพิธีคับคั่ง พิธีดี ชื่อเหรียญดี

    เหรียญพระดับภัย รุ่นแรก ซึ่งแท้จริงแล้วมีอยู่ 2 พิมพ์ การแยกพิมพ์ของเหรียญพระดับภัย สามารถทำได้ไม่ยาก โดยให้สังเกตที่ชายจีวรด้านซ้ายมือองค์พระที่พาดจากแขนลงมาที่หน้าตัก

    พิมพ์ที่ 1 จะมีชายผ้าพาดผ่านแขนซ้ายลงมายังต้นขา
    พิมพ์ที่ 2 ไม่มีชายผ้าพาดที่แขน มีเพียงขอบชายผ้าพาดจากต้นขาไปถึงหัวเข่าเท่านั้น

    เหรียญแท้ สภาพสวย หายากมาก เหรียญเนื้อทองแดงเป็นเหรียญที่มีประสพการณ์ ราคาเช่าบูชาแพงกว่าเหรียญเนื้อ นะวะครับ พุทธคณแคล้วคลาดปลอดภัยเป็นเลิศสุดฯครับ นานฯจะเจอสักเหรียญ ผู้คนในจังหวัดเชียงใหม่และทางภาคเหนือแสวงหากันมากครับ
    (ข้อมูลจากเชียงใหม่นิวส์)

    [​IMG][​IMG]



    ให้บูชา 1,250บ.ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • dp1.jpg
      dp1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      58.5 KB
      เปิดดู:
      7,589
    • dp2.jpg
      dp2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      65.8 KB
      เปิดดู:
      7,420
  6. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]

    ประวัติพอสังเขป
    พระมงคลวิสุต (หลวงปู่ครูบาดวงดี)

    ๑. ตำแหน่ง
    ชื่อ พระครูสุภัทรสีลคุณ ฉายา สุภท ? โท อายุ ๑๐๒ ปี พรรษา ๘๒
    วิทยฐานะ น.ธ.เอก
    วัด ท่าจำปี ตำบล ทุ่งสะโตก อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่
    ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดท่าจำปี อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

    ๒. สถานะเดิม
    ชื่อ ดวงดี นามสกุล สุทธิเลิศ เกิดวัน ๓ ฯ ๒ ๖ ค่ำ ปี มะเมีย
    วันที่ ๒๔ เดือน เมษายน พุทธศักราช ๒๔๔๙
    บิดา นายอูบ สุทธิเลิศ มารดา นางจันทร์ สุทธิเลิศ
    เลขที่ ๒๔ หมู่ ๘ ตำบล ทุ่งสะโตก อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่

    ๓. บรรพชา
    วัน ๗ ฯ ๑๕ ๖ ค่ำ ปี ชวด วันที่ ๑๗ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖
    วัด ท่าจำปี ตำบล ทุ่งสะโตก อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่
    พระอุปัชฌาย์ พระโสภา วัด ทุ่งเกี๋ยง ตำบล ทุ่งสะโตก
    อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่

    ๔. อุปสมบท
    วัน ๓ ฯ ๑๔ ๖ ค่ำ ปี มะโรง วันที่ ๑๗ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖
    วัด ท่าจำปี ตำบล ทุ่งสะโตก อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่
    พระอุปัชฌาย์ พระโสภา วัด ทุ่งเกี๋ยง ตำบล ทุ่งสะโตก
    อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่

    ๕. วิทยฐานะ
    (๑) พ.ศ.๒๔๕๘ บิดาได้พาไปฝากเรียนหนังสือกับพระที่วัดท่าจำปี ตำบลทุ่งสะโตก
    อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จพออ่านออกเขียนได้ หนังสือไทยและหนังสืออักษรล้านนา
    (๒) การศึกษาพิเศษ - ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
    - อ่านเขียนภาษาล้านนาได้คล่อง
    (๓) ความชำนาญการ - ด้านนวกรรมการกำกับการก่อสร้าง
    - ด้านอักขระภาษาล้านนา
    - ด้านการแสดงธรรมเทศนาแบบพื้นเมือง (ธรรมวัตร)
    - ด้านการแสดงพระธรรมเทศนา แบบพื้นเมืองล้านนา เนื้อหา
    มหาชาติ กัณฑ์, กุมารบรรพ์, ฉกษัตริย์
    - ด้านการเทศนาธรรม, ปาฐกถาธรรม, บรรยายธรรม
    - ด้านประเพณีพิธีกรรมต่างๆ การอบรมสมโภช

    ๖. การปกครอง
    (1) พ.ศ.๒๔๘๐ เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดท่าจำปี
    พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าจำปี
    พ.ศ.๒๔๙๒-๒๔๙๖ เป็นเจ้าคณะตำบลทุ่งสะโตก
    (๒) พ.ศ.๒๕๔๖ มีพระภิกษุจำพรรษา ๔ รูป
    สามเณร ๕ รูป
    ศิษย์วัด ๔ คน
    พ.ศ.๒๕๔๗ มีพระภิกษุจำพรรษา ๕ รูป
    สามเณร ๖ รูป
    ศิษย์วัด ๔ คน
    พ.ศ.๒๕๔๘ มีพระภิกษุจำพรรษา ๖ รูป
    สามเณร ๕ รูป
    ศิษย์วัด ๖ คน
    พ.ศ.๒๕๔๙ มีพระภิกษุจำพรรษา ๗ รูป
    สามเณร ๕ รูป
    ศิษย์วัด ๖ คน
    (๓) มีการทำวัตรสวดมนต์ เช้า-เย็น ทุกวัน
    (๔) มีการทำอุโบสถกรรม สวดพระปาติโมกข์ทุกครึ่งเดือน มีพระภิกษุสวดพระปาติโมกข์
    ได้จำนวน ๑ รูป
    (๕) มีระเบียบการปกครองวัดคือ
    ๑. พระภิกษุ-สามเณรต้องทำวัตร เช้า-เย็น ทุกวัน
    ๒. ทุกวันโกนสามเณรต้องรับไตรสรณคมน์และสมาทานสิกขาบทและรับฟังโอวาท
    เจ้าอาวาสหรือพระเถระที่ได้รับมอบหมาย
    ๓. พระภิกษุต้องลงอุโบสถเพื่อรับฟังพระปาฏิโมกข์ทุกปักษ์ทั้งข้างขึ้นข้างแรม
    ๔. พระภิกษุ-สามเณรทุกรูปต้องศึกษาพระปริยัติ
    ๕. เมื่อมีความประสงค์จะออกไปนอกวัดถ้าค้างคืนต้องบอกลาเจ้าอาวาสหรือพระเถระที่
    เจ้าอาวาสมอบหมาย
    (๖) มีกติกาของวัดดังนี้
    ๑. ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตามกติการะเบียบข้อบังคับของวัดอย่างเคร่งครัด
    ๒. ข้าพเจ้าจะไม่โยกย้ายเสนาสนะในกุกฏิออก ก่อนได้รับอนุญาต
    ๓. ข้าพเจ้าจะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย
    ๔. ข้าพเจ้าจะศึกษาวิชาเฉพาะที่ทางวัดอนุญาต
    (๗) ในระยะ ๓ ปี ที่ผ่านมาไม่มีอธิกรณ์เกิดขึ้นในวัด

    ๗. งานเผยแพร่
    (๑) มีการทำพิธีมาฆบูชา คือ ทำบุญตักบาตร เทศนา ปฏิบัติวิปัสสนา เวียนเทียน มีผู้มาร่วม
    ประชุมทำพิธีเป็นพระภิกษุสามเณร ๑๒ รูป ประชาชน ๙๐ คน
    (๒) มีการทำพิธีวิสาขบูชา ทำบุญตักบาตร เทศนา ปฏิบัติวิปัสสนา เวียนเทียน มีผู้มาร่วม
    ประชุมทำพิธีเป็นพระภิกษุสามเณร ๑๒ รูป ประชาชน ๑๒๐ คน
    (๓) มีการทำพิธีอัฏฐมีบูชา ทำบุญตักบาตร เทศนา ปฏิบัติวิปัสสนา เวียนเทียน มีผู้มาร่วม
    ประชุมทำพิธีเป็นพระภิกษุสามเณร ๑๒ รูป ประชาชน ๓๐ คน
    (๔) มีการทำพิธีอาสาฬหบูชา ทำบุญตักบาตร เทศนา ปฏิบัติวิปัสสนา เวียนเทียน มีผู้มาร่วม
    ประชุมทำพิธีเป็นพระภิกษุสามเณร ๑๒ รูป ประชาชน ๑๒๐ คน
    (๕) มีการอบรมพระภิกษุดังนี้ ทุกวันโกน วันพระ ตลอดปี
    (๖) มีการอบรมศีลธรรมแก่นักเรียนนักศึกษา ประชาชน ตลอดปี
    (๗) มีผู้มารักษาศีลฟังธรรมที่วัดตลอดปีจำนวน ๑๒๐ คน
    (๘) มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแพร่คือ มีการเปิดพิพิธภัณฑ์ เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาชาวบ้าน
    ให้แก่นักเรียนนักศึกษาผู้สนใจ
    (๙) มีความร่วมมือกับทางคณะสงฆ์เกี่ยวกับการเผยแพร่คือ มีการจัดงานดำหัวปี เพื่ออนุรักษ์
    วัฒนธรรมล้านนา
    (๑๐) มีผู้มาทำบุญที่วัดประจำ จำนวน ๔๐ คน

    ๘. สมณศักดิ์
    (๑) พ.ศ.๒๕๑๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูประทวนสมณศักดิ์
    (๒) พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาส
    วัดราษฎร์ ชั้น โท ในราชทินนามที่ พระครูสุภัทรสีลคุณ (จร.ชท.)
    (๓) พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาส
    วัดราษฎร์ ชั้นเอก ในราชทินนาม (จร.ชอ.)
    (๔) พ.ศ.2550 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ใน
    ราชทินนาม ที่ พระมงคลวิสุต (สย.)

    ๙. ขอรับรองว่า ได้ทำประวัติถูกต้องตามความเป็นจริงในรายการทุกประการ

    บุญผู้เจริญรอยตามครูบาเจ้าศรีวิชัย ผู้เป็นพระอาจารย์

    หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภทโท ถือกำเนิดที่บ้านท่าจำปี ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นคนพื้นเพบ้านท่าจำปีมาแต่กำเนิด บิดามารดา เป็นชาวไร่ชาวนา โยมบิดาชื่อ พ่ออูบ โยมมารดาชื่อ แม่จั๋นติ๊บ (สมัยนั้นยังไม่มีการใช้นามสกุล) หลวงปู่ถือกำเนิดในแผ่นดินรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ตรงกับสมัยพ่อเจ้าอินทวิชยานนท์(เจ้ามหาชีวิต) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๖ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๔๙ หลวงปู่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๘ คน เป็นชาย ๔ คน เป็นหญิง ๔ คน หลวงปู่เป็นลำดับที่ ๗ และมีน้องสุดท้องชื่อแม่นิน

    เริ่มต้นชีวิตในผ้ากาสาวพัตร

    เมื่อหลวงปู่อายุได้ ๑๑ ปี ได้ติดตามพ่อแม่ไปทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแด่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งขณะนั้นท่านครูบาถูกทางการจังหวัดลำพูน นำตัวมากักขังบริเวณที่วัดพระธาตุเจ้าหริภุญชัย (วัดหลวงลำพูน) ในข้อหาเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อนไม่มีหนังสืออนุญาตบวชพระ เมื่อท่านครูบาเจ้าฯได้เห็นเด็กชายดวงดี ท่านก็มีเมตตาอย่างสูงเรียกเข้าไปหาพร้อมกับบอกพ่อแม่ว่า "กลับไปให้เอาไปเข้าวัดเข้าวา ต่อไปภายหน้าจะได้พึ่งพาไหว้สามัน" นับเป็นพรอันประเสริฐ ยิ่งในการที่ท่านครูบาเจ้าฯได้พยากรณ์พร้อมกับประสาทพรให้หลวงปู่ตั้งแต่ยังเด็ก
    หลังจากที่เดินทางกลับถึงบ้าน ไม่กี่วันต่อมา บิดาก็นำขันข้าวตอกดอกไม้ พร้อมกับนำตัวเด็กชายดวงดีไปถวายฝากตัวเป็นศิษย์(ขะโยม)ในท่านครูบาโปธิมา ซึ่งเป็นอธิการวัดท่าจำปี ใกล้ๆบ้านนั่นเอง ครูบาโปธิมาก็ได้พร่ำสอนหนังสือของทางการบ้านเมืองสมัยนั้น หลังจากสั่งสอนเด็กชายดวงดีจนพออ่านออกเขียนได้ ท่านครูบาโปธิมาก็ย้ายจากวัดท่าจำปีไปเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง ห่างจากวัดท่าจำปีไปเล็กน้อย ท่าครูบาสิงหะ เจ้าอาวาสท่านต่อมาได้ให้เด็กชายดวงดีศึกษาเป็นขะโยม(เด็กในวัด) อยู่กับคณูบาสิงหะได้ไม่นาน ครูบาสิงหะก็มรณภาพ คงเหลือสามเณรสิงห์แก้วดูวัดท่าจำปีแทนและทำหน้าที่สั่งสอนลูกศิษย์ไปด้วย หลังจากทำบุญประชุมเพลิงครูบาสิงหะแล้วสามเณรสิงห์แก้วก็ลาสิกขาจึงทำให้วัดท่าจำปีร้างรกไม่มีเจ้าอาวาสติดต่อกันถึง ๓ ปี ในขณะที่วัดร้างรานั้น หลวงปู่หรือเด็กชายดวงดีขณะนั้นก็ทำหน้าที่ดูแลวัดอย่างที่เคยปฏิบัติมา เช่น ปัดกวาดกุฏิวิหาร จัดขันดอกไม้บูชาพระ ตักน้ำคนโท(น้ำต้น)ถวายพระพุทธรูปตลอดเวลา

    ต่อมาคณะศรัทธาวัดท่าจำปี ได้อาราธนานิมนต์ท่านครูบาโสภามาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าจำปี เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่จึงได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลทุ่งสะโตกอีกตำแหน่งด้วย ทำให้วัดท่าจำปีเกิดความสำคัญขึ้นมาอย่างยิ่ง เพราะนอกจากท่านครูบาโสภณจะเป็นเจ้าคณะตำบลแล้ว ท่านยังเป็นพระสหธรรมมิกที่มีอายุพรรษารุ่นราวคราวเดียวกันกับม่านคณุบาศีลธรรมศรีวิชัย มีผู้คนเคารพนับถือมากมายถึงกับขนานนามท่านว่า "ตุ๊เจ้าตนบุญตนวิเศษแห่งล้านนา" จริงๆ เพราะท่านมีบุญญาอภินิหารปรากฏแก่สายตาคนทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ร่ำลือถึงเหตุการณ์ต่างๆอย่างไม่ลดละตราบจนทุกวันนี้

    หลังจากเด็กชายดวงดีศึกษาภาษาพื้นเมืองได้คล่องแคล่ว อายุได้ ๑๓ ปีพอดีท่านครูบาโสภาจึงนำเด็กชายดวงดีไปปรึกษากับท่านครูบาศรีวิชัย ซึ่งขณะนั้นท่านได้ขึ้นมาบูรณะปฏิสังขรณ์ทางเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๖๒ ท่านครูบาศรีวิชัยมีความพอใจเด็กชายดวงดีมาก ท่านครูบาโสภาก็เล่าเรื่องการบวชเณรให้ท่านครูบาศรีวิชัยฟัง ท่านก็บอกกับครูบาโสภณว่า "ถ้าบวชพระแล้วก็หื้อขึ้นมาจำพรรษาอยู่วัดพระสิงห์นี่แหละ จะได้เป็นเพื่อนกับนายสิงห์ดำ" (ซึ่งเป็นหลานแท้ๆของท่านครูบาศรีวิชัย)ซึ่งมีหน้าที่ปลงเกศาให้กับท่านครูบาศรีวิชัย

    ครั้นหลวงปู่ดวงดีบรรพชาเป็นสามเณรแล้วโดยมีท่านครูบาโสภาเป็นพระอุปัชฌายะบรรพชา ได้ไม่กี่วันก็ส่งตัวเข้ามาในเมืองเชียงใหม่ อยู่จำพรรษาและช่วยเหลือท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย คอยปฏิบัติพัดวีตามอาจาริยวัตรที่ครูบาอาจารย์ในยุคสมัยนั้นสั่งสอน ไหว้พระสวดมนต์ นั่งกรรมฐาน บูชาขันดอกไม้ และช่วยเหลืองานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งในขณะนั้นท่านครูบาเจ้าศริวิชัยต้องเดินทางไปทุกหนทุกแห่ง เพื่อสร้างสรรค์บูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ วัดวาอารามต่างๆทุกจังหวัดในภาคเหนือ เมื่อหลวงปู่ดวงดีอายุครบ ๒๑ ปี จึงได้กลับไปนมัสการพระอาจารย์ท่านครูบาโสภาที่วัดท่าจำปีเพื่อปรึกษาเรื่องอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จากนั้นท่านครูบาโสภาจึงได้เดินทางไปขออนุญาตกับครูบาเจ้าศรีวิชัย เรื่องส่งมาจำพรรษาอยู่กับท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเหมือนเดิม

    ลุ วันอาทิตย์ เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีเมืองเหม้า(ปีเถาะ) ตรงกับวันที่ ๑๒ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๗๐ สามเณรดวงดีจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ โดยมีท่านครูบาโสภาเป็นพระอุปัชฌายะ ท่านครูบาธัมมะเสน วัดดอนบินเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระครูปัญญา วัดมะกับตองหลวง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ณ พระอุโบสถวัดสารภี ตำบลทุ่งรวงทอง กิ่งอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้นามฉายาว่า "สุภทโท" หลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงปู่ดวงดีก็เดินทางไปอยู่จำพรรษากับท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเช่นเดิม โดยเป็นกำลังสำคัญในการปฏิบัติอุปฐากบำรุง
    ช่วงของการปฏิสังขรณ์วัดท่าจำปีในเวลาของหลวงปู่

    ในขณะที่หลวงปู่อยู่จำพรรษากับท่าครูบาเจ้าศรีวิชัยนับตั้งแต่เป็นสามเณรใหม่ๆนั้นและเดินทางปฏิบัติเล่าเรียนอยู่กับท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยนั้น ท่านอายุได ๒๘ ปี เป็นช่วงที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ข้องกล่าวหาต่างๆนาๆ เช่นการบุกรุกป่าสงวน ซ่องสุมผู้คน ตั้งตนเป็นผีบุญ จนถึงกับถูกจับส่งตัวไปตัดสินความที่กรุงเทพฯ เนื่องจากถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งเรื่องนี้ทำให้เกิดเหตุการณ์ใหญ่โต เมื่อคณะสงฆ์ในเขตปกครองแขวงบ้านแมง (อ.สันป่าตอง)ขอลาออกจากการปกครองเมืองเชียงใหม่ถึง ๖๐ วัด ท่านครูบาโสภาวัดท่าจำปี ท่านครูบาปัญญา วัดท่ากิ่งแลหลวง ก็ถูกไต่สวนจนต้องนำคณะศิษย์หนีหนีไปแสวงบุญก่องสร้างวิหานพระพุทธบาทฮังฮุ้ง ในเขตประเทศพม่าจนไม่ยอมกลับมาอีกเลย บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านครูบาศรีวิชัยต้องแยกย้ายกันไปแสวงบุญคนละทิศละทาง คงค้างแต่ท่านครูบาขาวปีทำหน้าที่ดูแลวัดสิงห็ และเป็นหัวแรงในการก่อสร้างวัดวาอารามที่ค้างไว้

    ลุ พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ ท่านครูบาศรีวิชัยถูกชำระความพ้นผิดเดินทางกลับเมืองลำพูนอยู่ได้ไม่นาน ก็ถึงแก่มรณภาพที่วัดจามเทวี เมื่ออายุได้ ๖๑ ปี ๕ เดือน กับ ๒๑ วัน ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่ดวงดีอายุได้ ๓๒ ปี หลวงปู่ได้เดินทางไปก่อสร้างวัดวาอารามเจริญรอยตามท่านครูบาศรีวิชัยผู้เป็นพระอาจารย์ หลังจากนั้นก็ติดตามครูบาเจ้าอภิชัยผ้าขาวปีมาสร้างวิหารวัดท่าจำปี
    ลุ พ.ศ.๒๔๘๔ ขณะพลวงปู่อายุได้ ๓๕ปี หลังจากถวายพระเพลิงปลงศพท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเสร็จแล้วนั้น ท่านครูบาเจ้าอภิชัยผ้าขาวได้เชิญอัฐิธาตุของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยส่วนที่เป็นกระโหลกเท่าหัวแม่มือส่วนหนึ่งหลวงปู่นำมาเก็บรักษาสักการะบูชาจนถึงทุกวันนี้ หลวงปู่ได้อยู่ช่วยครูบาอภิชัยผ้าขาว สร้างอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิธาติของท่าครูบาเจ้าศรีวิชัยทั้งที่วัดสวนดอกและวัดหมื่นสารแล้ว ก็รับขันดอกนิมนต์จากคณะศรัทธาป่าเมี้ยงป๋างมะกล้วย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ไปสร้างวัดป่าเมี้ยงป๋างมะกล้วย เนื่องจากอารามอยู่ในป่าดง เหมาะที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานซึ่งถูกกับจริตวิสัยของหลวงปู่เป็นอย่างยิ่ง หลวงปู่อยู่ปฏิบัติกรรมฐานที่วัดนี้นานถึง ๗ ปี ท่านครูบาโสภาก็ขอให้หลวงปู่ลงมาก่อสร้างวัดท่าจำปีต่อจากท่าน เนื่องจากวัดท่าจำปีมีศรัทธาญาติโยมน้อยเพียง ๒๐ หลังคาเรือนเท่านั้น

    หลวงปู่เดินทางกลับมาก่อสร้างวัดท่าจำปี ขณะนั้นอายุได้ ๔๒ ปีได้รับตำแหน่งเจ้าคณะตำบลทุ่งสะโตกจากท่านครูบาโสภาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ว่าหลวงปู่จะมีตำแหน่งหน้าที่ทางการคณะสงฆ์ก็ตาม ท่านก็มิได้ละเลยข้อวัตรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งท่านมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว ในระหว่างที่มาดำรงค์ตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อจากท่านครูบาโสภา หลวงปู่ก็มิได้สร้างแต่เฉพาะวัดท่าจำปีเท่านั้น ทุกวัดในละแวกเดียวกันหลวงปู่ก็ช่วยเหลือเป็นแรงสำคัญไม่ว่าถนนหนทาง อุโบสถ วิหาร เจดีย์ สะพาน หรือแม้แต่โรงเรียน โรงพยาบาล หลวงปู่ก็ให้ความอุปถัมภ์บำรุง แม้กระทั่งวัดในเขตอำเภอสันป่าตอง หรือต่างอำเภอ หรือต่างจังหวัด จนไม่สามารถนำมาบรรยายได้ทั้งหมด


    หน้าที่การคณะสงฆ์และสมณศักดิ์

    หลวงปู่ครูบาดวงดีสุภัทฺโท ปฏิบัติหน้าที่เจ้าคณะตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๙๒
    วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับสถาปนาประทวนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวนเจ้าคณะตำบล
    วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่ "พระสุภัทรสีลคุณ" ณ พุทธมณฑล จังหวัด นครปฐม

    ปัจจุบันหลวงปู่เจริญอายุครบ ๑๐๔ ปี(๘๓ พรรษา)

    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จส่วนพระองค์
    ปิดหีบหลวงปู่ครูบาดวงดี สุภทโท วันที 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.00 น.

    ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และซาบซึ้งในพระเมตตา ที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี
    พระวรราชาทินัดดามาตุ สเด็จส่วนพระองค์ฯ "ขอพระองค์ทรงพระเจริญ"
    ข้าราชการ พ่อค้า ประชาขน คลื่นมหาชนจำนวนหมื่นร่วมรับเสด็จ และ ใว้อาลัยพระเกจิย์ล้านนา สายครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่นสุดท้าย

    รูปเหมือนกริ่ง รุ่นแรก ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี พร้อมกล่อง เนื้อนวะ ตอกโค๊ต สวยมากครับ

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]



    ให้บูชา 650บ.ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • kbdd1.jpeg
      kbdd1.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      60.9 KB
      เปิดดู:
      6,153
    • kbdd2.jpeg
      kbdd2.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      42.3 KB
      เปิดดู:
      6,344
    • kbdd3.jpeg
      kbdd3.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      30.6 KB
      เปิดดู:
      5,556
    • kbdd4.jpeg
      kbdd4.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      70.3 KB
      เปิดดู:
      6,113
  7. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    รูปหล่อ ครูบาอินสม วัดทุ่งน้อย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

    รูปหล่อเนื้อตะกั่ว ครูบาอินสม วัดทุ่งน้อย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ.2506 ก้นอุดเทียนชัย และเกศา ครูบาอินสมท่านเป็นปรมาจารย์ทางเหนือตัวจริง วัตถุมงคลของท่านมีอิทธิคุณทางด้านคุ้มครอง ป้องกันอันตราย มากด้วยประสบการณ์ เหรียญรุ่นแรกของท่านสวยๆแชมป์ๆก็ทะลุสองหมื่นไปแล้ว สำหรับองค์ในภาพ มีทั้งเทียนชัย และเกศา ราคาเช่าบูชาเยาว์กว่า แต่อิทธิคุณเปี่ยมล้น

    [​IMG]


    ให้บูชา 950บ.ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • fgd1-tile.jpg
      fgd1-tile.jpg
      ขนาดไฟล์:
      779.3 KB
      เปิดดู:
      5,090
  8. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]
    อัตโนประวัติของหลวงปู่ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ วัดห้วยไซ พระอาจารย์ของครูบากฤษดา วัดสันพระเจ้าแดง

    ท่านเกิดเมื่อวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ปี มะเส็ง(งูเล็ก) ตรงกับ วันเสาร์ ที่ ๖ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ ณ บ้านห้วยไซ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน มีนามเดิมว่า อินตา นามสกุล ปาลี เป็นบุตรของ นายก๋อง นางก๋ำ นามสกุล ปาลี เป็นคนที่มีเชื้อสายยอง มารดาของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเด็กไม่รู้ความ ท่านจึงได้รับการเลี้ยงดูจากบิดาจนอายุท่านได้ ๙ ขวบ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์วัด(ขะโยม)ที่วัดห้วยไซเพื่อจะได้รับการศึกษาเล่าเรียน ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนเช่นปัจจุบัน เด็กชายอินตา จึงได้เรียนภาษาพื้นเมืองตามแบบสมัยนิยม และได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรขณะอายุได้ ๑๓ ปี พ.ศ.๒๔๖๑ ณ วัดห้วยไซ โดยมีพระภิกษุพุธเป็นผู้บวชให้ หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้วจึงได้ไปศึกษาภาษาไทยกลางเพิ่มเติมที่สำนักวัดสันก้างปลา(วัดทรายมูลในปัจจุบัน) อำเภอสันกำแพง โดยมีพระครูอินทนนท์ เจ้าอาวาส เป็นอาจารย์ผู้สอนให้ ด้วยความเป็นผู้ไผ่เรียนท่านยังมีความสนใจเรื่องของภาษาอื่นๆด้วยเช่น อักษรขอมโบราณ ภาษาอังกฤษ และจีนเพิ่มเติม ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากในสมัยนั้น เมื่อพออายุครบบวชจึงได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดห้วยไซ พ.ศ.๒๔๖๙ โดยมีครูบาอินทจักร วัดป่าลาน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการชื่น สันกอแงะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “อินฺทปัญฺโญภิกขุ”

    หลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วจึงได้ตั้งใจที่จะศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชาตามจริตวิสัยที่ชอบศึกษาหาความรู้อันเป็นทุนเดิมของท่าน ทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับนับถือในเรื่องของวิชาอาคมแขนงต่างๆ ระหว่างปีพ.ศ.๒๔๗๑ ครูบาศรีวิชัยท่านได้มาเป็นประธานในการบูรณะพระธาตุดอยห้างบาตร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดห้วยไซมากนัก หลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้ไปร่วมในการบุญครั้งนั้นด้วยและได้พบกับครูบาศรีวิชัยและถือโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ หลังจากนั้นขณะที่ครูบาศรีวิชัยท่านเป็นประธานในการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพหลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้มีโอกาสไปร่วมในการสร้างทางด้วยเช่นกัน เมื่อครูบาศรีวิชัยมรณภาพไปหลังเสร็จสิ้นงานพระราชทานเพลิงศพ ผ้าขาวดวงต๋า ได้นำอัฐิธาตุของครูบาศรีวิชัยมาบรรจุและสร้างกู่อัฐิขึ้นที่บนดอยง้ม เขตติดต่อระหว่างอำเภอสันกำแพงกับอำเภอบ้านธิ หลวงปู่ครูบาอินตาท่านก็ถือว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการนำสร้างด้วย ที่วัดห้วยไซเองท่านถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนร่วมกับอดีตเจ้าอาวาสของวัดห้วยไซองค์ก่อนๆในการนำสร้างถาวรวัตถุต่างๆภายในวัด โดยเฉพาะสมัยของพระครูดวงดี จนกระทั้งครูบาดวงดีท่านมรณภาพไป หลวงปู่ครูบาอินตาท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยไซ เมื่อพ.ศ.๒๕๑๙ และได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็น พระครูถาวรวัยวุฒิ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๖ ระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นได้ได้ฝากผลงานทางด้านพระพุทธศาสนาและสาธารณประโยชน์มากมาย อาทิ พัฒนาถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้างต่างๆของวัดห้วยไซจนเป็นที่เจริญรุ่งเรือง สาธารณะประโยชน์เช่นโรงเรียน สถานีอนามัย โรงพยาบาล ห้องสมุด ที่อ่านหนังสือพิมพ์ ตลอดจนฌาปนกิจสถานประจำหมูบ้าน นอกจากนั้นท่านยังทำนุบำรุงพระศาสนาไปยังวัดวาอารามต่างๆที่มาของความเมตตาอนุเคราะห์จากท่าน เช่น ถาวรวัตถุต่างที่วัดเปาสามขา วัดวังธาน อำเภอแม่ออน วัดโป่งช้างคต อำสันเภอกำแพง วัดเวียงแห่ง อำเภอเวียงแห่ง จังหวัดเชียงใหม่ วัดศรีชัยชุม บ้านห้วยไซเหนือ

    พระพุทธรูปยืนวัดศรีดอนชัย อำเภอบ้านธิ ประธานสร้างตึกสงฆ์อาพาสโรงพยาบาลบ้านธิ และผลงานชิ้นสุดท้ายที่ทิ้งไว้ให้ศิษย์ได้สารงานต่อคือพระวิหารของวัดห้วยไซก่อนที่ท่านจะมรณภาพด้วยชราภาพ เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๕ สิริรวมอายุได้ ๙๘ ปี ๗๗ พรรษา พระเถระที่หลวงปู่ครูบาอินตาท่านสนิทสนมไปมาหาสู่กันเป็นประจำก็มี ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง) ครูบาชุ่ม วัดวังมุย ครูบาหล้าตาทิพย์ วัดป่าตึง ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ครูบาดวงจันทร์ วัดป่าเส้า ครูบาน้อย วัดบ้านปง ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม ครูบาอินตา วัดวังทอง สำหรับพิธีพระราชทานเพลิงศพ หลังจากศิษยานุศิษย์ได้เก็บรักษาสรีระของหลวงปู่ครูบาอินตาไว้เป็นเวลาหลายปีแต่รางของท่านก็มิได้มีการเน่าเปื่อยแต่อย่างใด เมื่อก่อสร้างวิหารแล้วเสร็จจึงได้ของไฟพระราชทานและประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๔ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ขึ้น

    สำหรับวัตถุมงคลของหลวงปู่ครูบาอินตา ท่านได้สร้างขึ้นในยุคแรกๆก็จะมีเพียงยันต์และตระกุดเพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาไว้ใช้ป้องกันตัวอิทธิวัตถุมงคลต่างๆก็มีประสิทธิผลจนเป็นที่ลำลือเป็นที่ต้องการกันมากทำให้ทำแจกแทบไม่ทัน ยุคต่อๆมาเมื่อท่านชราภาพก็ให้ลูกศิษย์ที่พอมีความรู้เป็นผู้ทำให้โดยใช้ตำราของท่านแล้วให้หลวงปู่ครูบาอินตาเสกเป่าอีกครั้ง ลักษณะของตระกุดจะมีดอกเดียวที่เรียกกันว่าตระกุโทนโดยใช้ตะกั่วทำ ตะกั่วนั้นได้จากหลังกระจกสีที่ใช้ติดตามห้าบรรณวิหารและตามเจดีย์ในสมัยก่อนเมื่อชำรุดตกหล่นลงมาท่านจึงได้นำมาทำเป็นตระกุด ต่อมาศิษย์จึงได้ขอนุญาติจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๓ และอีกหลายๆรุ่นในเวลาต่อมา ทั้งเหรียญ รูปหล่อลอยองค์ รูปเหมือนบูชาขนาดต่างๆ ล็อกเก็ต พระผง วัตถุมงคลรุ่นต่างๆที่ท่านได้อธิฐานจิตปุกเสกเอาไว้ก็มีอิทธิปาฏิหาริย์จนเป็นที่ลำลือเช่นกันและได้รับความนิยมมาก เหรียญใบโพธิ์ รุ่นสมปรารถนา แซยิด ๙๑ พ.ศ.๒๕๓๘ หนึ่งในเหรียญประสบการณ์ที่โดดเด่นทางด้านแคล้วคลาดคงกระพัน มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่ามีเด็กวัยรุ่นถูกคู่อริไล่ยิงและถูกยิงจนเสื้อที่สวมนั้นขาดเป็นรอยลูกกระสูนรูพรุน แต่ลูกกระสูนไม่ได้ผ่านเข้าผิวแค่เป็นรอยจุดแดงซ้ำเป็นยางบอนเจ็บๆแสบๆเท่านั้น ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์ที่เข้าไปช่วยเหลือขอดูของดีที่วัยรุ่นคนนั้นพกติดตัว ที่คอของเขามีเพียงเหรียญใบโพธิ์ของครูบาอินตาเพียงเหรียญเดียว ทำให้เหรียญรุ่นดังกล่าวเป็นที่แสวงหากันมาก นี้เป็นเพียงแค่หนึ่งในประสบการณ์ของวัตถุมงคลของหลวงปู่ครูบาอินตาที่มีอยู่มากมายหลายต่อหลายครั้ง

    สุดยอดแห่งตะกรุดเก้ากุ่ม (ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไซ) พระอาจารย์ของครูบากฤษดา วัดสันพระเจ้าแดง ยุดต้น เนื้ออลูมิเนียม หายากมาก สมบูรณ์เดิมๆ ราคาเบาๆครับ

    ตะกรุดประเภทหนึ่งของล้านนา ที่ไม่เหมือนกับที่อื่น ได้แก่ "ยันต์เก้ากลุ่ม"(ล้านนาเรียก ตะกรุดว่ายันต์) มีลักษณะเป็นตะกรุด ๘ดอก ถักด้วยด้ายล้อมรอบดอกที่เก้า ซึ่งอยู่ตรงกลาง ด้านบนถักเป็นกระจุก ด้านล่างปล่อยด้ายออกเป็นพู่พองาม

    ยันต์เก้ากลุ่ม เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่ามีอานุภาพทางป้องกันภูติผีปีศาจ โดยเฉพาะภูติผีที่ชอบเบียดเบียนเด็กและสตรี แต่พบว่ามียันต์เก้ากลุ่มที่ทรงคุณทางเมตตามหานิยม การทำมาค้าขายตลอดจนแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวงอีกด้วย ซึ่งความแตกต่างจะอยู่ที่อักขระที่ใช้จารลงในตะกรุด และเพื่อให้เห็นความแตกต่างจะนำเอาตัวอย่างที่เขียนด้วยลายมือของท่านพระครูมาให้ชมดังนี้

    นอกจากนี้ยังปรากฏยันต์เก้ากลุ่มที่เพิ่มรายละเอียดขั้นอีก โดยเพิ่มตะกรุดเล็ก ที่ลงอักขระพุทธคุณทีละตัวในสายสำหรับคล้องคอตั้งแต่ อิ ติ ปิ โส ภะ คะ วา จนถึง ภะ คะ วา ติ เป็นจำนวน ๕๔ ตัวอักขระ จากนั้นลงอักขระถอยหลังตั้งแต่ ติ วา คะ ภะ จนถึง โส ปิ ติ อิ อีก ๕๔ ตัว รวม เป็น ๑๐๘ ตัวอักขระ อักขระดังกล่าวต้องจารด้วยอักษรธรรมล้านนา และเรียกชื่อตะกรุดนี้ว่า "ยันต์เก้ากลุ่มสังวาลย์เป๊ก (สังวาลย์เพชร)"

    ปัจจุบันยันต์เก้ากลุ่มปรากฏให้เห็นน้อยมาก อาจเป็นเพราะผู้คนหันไปนิยมพระเครื่องเป็นส่วนใหญ่ หรืออาจเป็นเพราะขาดผู้รู้และผู้ชำนาญในการสร้าง อย่างไรก็ตาม ถ้ากล่าวถึงคุณค่า ถือได้ว่าเป็นสมบัติทางปัญญาที่เป็นมรดกของล้านนาอย่างแท้จริง

    [​IMG][​IMG]

    *ปิดรายการนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • หหหห.jpg
      หหหห.jpg
      ขนาดไฟล์:
      42.9 KB
      เปิดดู:
      55
    • kkk1.jpg
      kkk1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      72.2 KB
      เปิดดู:
      41
    • kkk2.jpg
      kkk2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      65.2 KB
      เปิดดู:
      41
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มีนาคม 2014
  9. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]

    ประวัติของหลวงปู่ขันแก้ว พระอาจารย์ของครูบากฤษดา วัดสันพระเจ้าแดง

    หลวงปู่ขันแก้ว หรือพระครูอุดมขันติธรรม เกิดเมื่อวันอังคารที่ 14 พย 2442 ตรงกับวันขึ้น12ค่ำ เดือน12 ปีกุน ณ ตำบลห้วยยาบ อำเภอเมือง ลำพูน หลวงปู่ขันแก้ว มีนามเดิมว่า ขันแก้ว นามสกุลเดิม อิกำเนิด มีพี่น้อง 5 คน

    เมื่อวันที่12 กค 2454 โยมพ่อโยมแม่ของหลวงปู่ได้นิมนต์พระอธิการแก้ว (หลวงปู่ครูบาอินทรจักโก วัดป่าลาน ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่ครูบาฝายหินวัดฝายหินเชียงใหม่) มาเป็นอุปัชฌาย์บวชสามเณร ที่วัดสันพระเจ้าแดง พระอุปัชฌาย์มีความรักและเมตตาต่อหลวงปู่ขันแก้ว ได้ถ่ายทอดธรรมะและเคล็ดวิชาอรูปกรรมฐานและวิปัสนากรรมฐานให้หลวงปู่ขันแก้ว

    หลวงปู่ขันแก้วมักจะกล่าวเตือนกับผู้ที่มาปฎิบัติธรรมและลูกศิษย์อยู่เสมอว่า ก่อนจะปฎิบัติสมาธิให้ใช้ปัญญาหาวิธีทำสมาธิให้ถูกต้องตามแนวคำสอนของพระพุทธเจ้าเสียก่อน เช่น อานาปานสติ หรือมหาสติปัฎฐาน4 มีการกำหนดสมาธิอย่างไรมีการบอกอานิสงส์ผลของการประพฤติอย่างไรและที่สำคัญว่าพระพุทธเจ้าใช้พระสูตรอะไรในการปฎิบัติจนเกิดปัญญาในการตรัสรู้อริยสัจ 4
    หลวงปู่ขันแก้วได้เทศนาให้กับผู้ปฎิบัติธรรมเกี่ยวกับทางสายกลางคือมัชฌาปฎิปทาที่ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้ามีหลักฐานที่พระพุทธเจ้าได้บอกไว้ในพระสูตรที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกว่าพระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้พระองค์ใช้พระสูตรใดปฎิบัติธรรมหลักฐานที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกก็คืออานาปานสติกรรมฐาน อานาปานสติกรรมฐานเป็นกรรมฐานที่ประกอบไปด้วยสมาธิ ฌาน อรูปฌานและวิปัสนาฌาน เอาแค่นี้ก่อนนะครับ
    ปลายเดือนมกราคมปี2519 คุณพ่อสมสุขและศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกได้ขึ้นมาเยี่ยมอาการป่วยของหลวงปู่ครูบาบุญชุ่ม โพธิโกที่โรงพยาบาลวัดสวนดอก ในวันนั้นได้มีภิกษุรูปหนึ่งครองจีวรสีกรัก รูปร่างสันทัด ค่อนข้างผอม ผิวเนื้อดำแดง ท่านก้าวเข้ามาในห้องที่หลวงปู่ชุ่มนอนรักษาตัวอยู่ ท่านเข้าไปสวมกอดหลวงปู่ชุ่มและนั่งบนเตียงแล้วพูดภาษาเหนือกันอย่างสนินสนม จนทุกคนที่มาเยี่ยมไข้ต่างแปลกใจ
    หลวงปู่ครูบาบุญชุ่มคุณพ่อเล่าว่าภิกษุรูปนี้ผิวพรรณดำกร้านเหมือนพระอยู่ป่าอยู่ดง พอมาถึงก็เข้าไปนั่งที่เตียง กอดเอว พูดคุยแบบชนิดตีรุ่นเท่ากับหลวงปู่ชุ่ม เมื่อดูนัยน์ตาไม่เห็นวงแหวนสีฟ้าและสีครีมสองชั้นเลย ก็คิดในใจในทางไม่ดีคิดเห็นแล้วไม่มีอินทรีย์ที่ผ่องใสอย่างหลวงปู่ชุ่ม ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่ชุ่มมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ต่างให้ความเคารพนับถือในบารมีธรรมอันสูงส่งจากการเข้านิโรสมาบัติ ไม่ต่ำกว่า15ครั้ง พระสงฆ์ที่ได้ผ่านการเข้านิโรธสมาบัติ นั้นได้รับยกย่องว่าเป็นพระอริยเจ้าอย่างแท้จริง ขนาดพระชั้นผู้ใหญ่ที่มาเยี่ยมไข้ยังต้องคารวะและนั่งคุยอย่างสำรวม
    ขณะที่คุณพ่อคิดตำหนิพระป่าอยู่ในใจ หลวงปู่ครูบาชุ่มก็ได้ล่วงรู้ความคิดในใจคุณพ่อด้วยอภิญญาจิต เจโตปริญาณ ว่าคุณพ่อกำลังล่วงเกินและลบหลู่ด้วยมโนกรรม หรืออกุศลกรรมที่เกิดจากความคิดติเตียนต่อพระป่ารูปนั้น ซึ่งเป็นพระอริยสงฆ์รุ่นเดียวกับท่านอยู่ หลวงปู่ครูบาชุ่มจึงเรียกคุณพ่อและพูดว่า มานี่โยมหมอ มารู้จักเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกับหลวงพ่อ ด้วยคำพูดประโยคเดียวนี้ ทำให้คุณพ่อรู้สึกตัวและช่วยให้พ้นจากการตกนรก จากการตำหนิติเตียนพระป่ารูปนั้นทันที ด้วยสามัญสำนึกและปัญญาที่ได้รับการอบรมทาง ปฎิบัติธรรมจาก หลวงปู่พรหม ถาวโร วัดช่องแค ว่า พระป่ารูปนี้คงไม่ใช่พระภิกษุธรรมดาเสียแล้ว จึงเข้าไปกราบขอขมาโทษ

    หลวงปู่ครูบาชุ่มได้บอกกับคุณพ่อว่าพระภิกษุองค์นี้ ชื่อ ครูบาขันแก้ว อยู่ที่ วัดสันพระเจ้าแดง ตำบลห้วยยาบ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน หลวงปู่ขันแก้วก็ถามคุณพ่อว่าชื่ออะไรอยู่ที่ไหน ทำอาชีพอะไร คุณพ่อก็ตอบไปและบอกว่ามีอาชีพหมอแผนโบราณ หลังจากนั้นคุณพ่อไม่ได้พบครูบาขันแก้วอีกเลยจนกระทั่งในงานทำบุญพระศพหลวงปู่ครูบาชุ่มเมื่อเดือนกันยายนปีเดียวกัน

    ต่อมาในปี2520เดือนกุมภาพันธ์ มีการเตรียมการพุทธาภิเษก เบิกพระเนตรรูปหล่อขนาดเท่าองค์จริงของหลวงปุ่ครูบาชุ่ม 2 องค์ คณะศิษย์รัศมีพรหมตลอด จนญาติมิตรทางกรุงเทพฯ และวัดวังมุ่ย เป็นผู้รวบรวมเงินทุนในการสร้างและเป็นเจ้าพิธี คณะกรรมการวัดได้นิมนต์เกจิอาจารย์ในเชียงใหม่และลำพูน แต่ไม่มีชื่อหลวงปู่ขันแก้ว โดยกรรมการวัดอ้างว่าไม่เคยทราบหรือเห็น หลวงปู่ขันแก้วได้ร่วมพิธีปลุกเสกพระในที่ใดมาก่อน อีกทั้งยังไม่เคยสร้างวัตถุมงคลอะไรเลยและวัดอยู่ห่างไกล จึงไม่ได้นิมนต์มา คุณพ่อจึงได้บอกกับกรรมการวัดที่เป็นหลานๆๆหลวงปู่ว่า ในฐานะที่หลวงปู่ขันแก้วเป็นเพื่อนรักของหลวงปู่ครูบาชุ่มและก็ได้มาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการบำเพ็ญกุศลช่วยงานศพอยู่ทุกคืนน่าจะนิมนต์มาท่านมาร่วมด้วย จะเคยปลุกเสกหรือไม่เคยปลุกเสกไม่สำคัญ คณะกรรมการวัดก็เลยนิมนต์หลวงปู่ครูบาขันแก้วมาร่วมพิธีด้วย

    แสดงความมหัศจรรย์นั่งเคี้ยวเมี่ยงในงานพุทธาภิเษก
    พิธีปลุกเสกได้เริ่มในตอนกลางคืนวันที่ 18 ก.พ. 2520 เวลา19.50น หลวงปู่ขันแก้วได้นั่งอยู่ในตำแหน่งที่หันหน้าเข้าหาพระประธาน หลวงปู่อีก3 องค์คือ หลวงปู่อินทรจักร วัดน้ำบ่อหลวง ท่านเจ้าคุณญาณ วัดมหาวัน หลวงปู่ท่านเจ้าคุณพระธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญไชย นั่งหลับตาแผ่อำนาจจิตปลุกเสก แต่หลวงปู่ขันแก้วกับนั่งลืมตาเคี้ยวเมี่ยงอยู่เบิกตากว้างมองดูเฉยๆๆ ชาวบ้านวัดวังมุ่ยเริ่มมีปฎิกริยาพึมพำพูดกันว่าใครหนอนิมนต์ตุ๊เจ้าที่ปลุกเสกไม่เป็นมาร่วมพีธี ทำเอาเจ้าคณะตำบลประตูป่าเข้ามาพูดกับคุณพ่อสมสุขว่า โยมหมอใครไปนิมนต์ตุ๊ลุงองค์นี้มา พวกที่ชมและชาวบ้านในพีธีบ่นว่าไปเอาพระที่ไหนมา ดูซินั่งลืมตาเคี้ยวเมี่ยงไม่เห็นปลุกเสกอะไรเลย คุณพ่อบอกว่าผมนิมนต์มาเองขอให้รอดูประเดี๋ยว
    คุณพ่อยังนึกอยู่ว่านั่งเบิกตาอย่างนี้เคยเห็นที่ไหน หลวงปู่ขันแก้วนั่งลืมตาอยู่เกือบ15 นาที่ ประกายตากร้าวแข็ง ส่วนองค์อื่นท่านนั่งหลับตาตามความถนัดของท่าน ส่งกระแสจิตออกมาปลุกเสก หลวงปู่ขันแก้วปลุกเสกด้วย เมตตาเจโตวิมุติ หลวงปู่เริ่มเปลี่ยนอิริยาบถ โดยนั่งห้อยเท้า ตาของท่านเริ่มเป็นประกายกล้า ขณะนั้นช่างภาพก็ถ่ายรูปในอิริยาบถนั้น ทันที่ที่แสงไฟแฟลชสว่างจ้านัยน์ตาของหลวงปู่ขันแก้วก็มิได้กระพริบ ช่างภาพอีกหลายคนก็เข้าไปถ่ายแสงไฟสว่างจ้าแต่นัยต์ตาของหลวงปู่ก็อยู่อย่างปกติคือลืมตาอย่างนั้นไม่กระพริบเลย หลังจากนั้นช่างภาพหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นก็เข้าไปถ่ายซึ่งไฟแฟล็ชแรงกว่ามากก็เข้าไปถ่ายผลปรากฎ ตาของหลวงปู่ขันแก้วก็ไม่กระพริบเป็นเวลานาน คนธรรมดาไม่สามารถทำได้อย่างแน่ เปิดภูมิปัญญาโลกุตระด้วยมหากริยาจิต

    คุณพ่อเข้าใจทันที ที่นึกว่าเคยเห็นที่ไหนก็นึกออกว่าเคยเห็นหลวงปู่พรหม ถาวโร แห่งวัดช่องแค ท่านปลุกเสกพระแสงแฟล็ช ถ่ายรูปไม่ทำให้ นัยน์ตา ท่านกระพริบและท่านก็นั่งลืมตาปลุกเสกความจริงแล้วหลวงปู่ขันแก้วไม่ได้มีเจตนาจะแสดงอภินิหารหรืออวดเป็นเพียงการนั่งปลุกเสกของผู้สำเร็จอานาปานสติกรรมฐาน คือสมาธิแบบลืมตาและนั่งหายใจออก หายใจเข้าจนได้ดวงตาเห็นธรรมและใจหมดอาสวะกิเลสเป็นแบบสมาธิที่ถูกต้องของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลักฐานแสดงในอานาปาสติสูตรจากหนังสืองานพระศพของหลวงปู่ขันแก้วที่คุณพ่อสมสุขเขียนเอาไว้


    เหรียญเสมารุ่นพิเศษครูบาขันแก้วหลังยันต์สิบ วัดป่ายาง จ.ลำพูน เหรียญดีมีประสบการครับ

    [​IMG]
    [​IMG]



    ให้บูชา 950บ.ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]
    ครูบาบุญปั๋น ธัมมปัญโญ' อดีตเจ้าอาวาสวัดร้องขุ้ม ต.บ้านแม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เป็นพระเกจิผู้สร้างพระกริ่งเศรษฐีล้มลุก และวิชาทำเทียนมงคลที่มีชื่อเสียงของเชียงใหม่

    ครูบาบุญปั๋น พระมหาเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีข้อวัตรปฏิบัติปฏิปทาที่งด งามยิ่งในดินแดนล้านนา

    ละสังขาร เมื่อวันพุธที่ 16 มกราคม 2545 เวลา 18.09 น. สิริอายุ 95 ปี

    ล่าสุด คณะกรรมการวัดร้องขุ้ม พร้อมด้วยคณะศิษยา นุศิษย์ ได้ทำบุญวันกตัญญูครบ 9 ปีการมรณภาพของครูบาบุญปั๋น ในวันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม 2554

    พระอาจารย์สิทธิ สิทธิปัญโญ ศิษย์ครูบาบุญปั๋น และเจ้าอาวาสวัดร้องขุ้มรูปปัจจุบัน ได้ดำริในการจัดสร้างองค์พระกริ่งเศรษฐีล้มลุกรุ่นพิเศษขึ้น มีเจตนาเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีขององค์หลวงปู่

    อีกทั้ง ปัจจุบันพระกริ่งเศรษฐีล้มลุกรุ่นแรกของครูบาบุญปั๋นที่ได้จัดสร้างขึ้นเมื่อปี 2553 นั้น เริ่มหายากเต็มที ทำให้มีเสียงเรียกร้องให้วัดได้จัดสร้างขึ้นอีกครั้ง

    ในการนี้ ได้ประกอบพิธีเททองแบบโบราณ วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม 2554 เวลา 16.39 น. ณ มณฑลพิธีหน้าพระประธานใหญ่วัดร้องขุ้ม และหน้ารูปเหมือนครูบาบุญปั๋น

    โดยพระเกจิคณาจารย์ที่มีพรรษายุกาลมากจำนวน 8 รูป นั่งปรก 8 ทิศ และพระเถรานุเถระจำนวน 56 รูป สวดเจริญพระพุทธมนต์และเจริญชัยมงคลคาถา โดยจะตีระฆังและกลองสัตตะเภรี (กลอง 7 อย่างของล้านนา) ตีประโคมสมโภชรอบมณฑลพิธี

    การสร้างพระกริ่งเศรษฐีล้มลุกรุ่นพิเศษในครั้งนี้ ยึดรูปแบบรุ่นแรก แต่ต่างจากที่ก้นพระด้วยพระกริ่งรุ่นแรกนั้นอุดก้นแบบฝาปิด แต่พระกริ่งรุ่นพิเศษนี้ปิดอุดก้นด้วยวิธีเข้าไม้แบบโบราณ ซึ่งปัจจุบันหาช่างทำได้น้อยมาก

    การสร้างพระกริ่งเศรษฐีล้มลุกรุ่นพิเศษในครั้งนี้ ได้จัดสร้างตามรายการ อาทิ
    ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว สร้างตามจำนวนสั่งจอง
    ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว สร้างตามจำนวนสั่งจอง
    เนื้อเงิน เทในพิธี จำนวน 333 องค์ ตอกเลข 1-333
    เนื้อนวโลหะ เทในพิธี จำนวน 333 องค์ ตอกเลข 1-333
    เนื้อทองทิพย์ เทในพิธี จำนวน 333 องค์ ตอกเลข 1-333
    เนื้อทองทิพย์ หล่อเหวี่ยงโรงงาน จำนวน 5,555 องค์ ตอกเลข 334 ขึ้นไปจนครบทุกองค์

    ทั้งนี้ พระที่เททองเสร็จ ช่างจะนำกลับไปตกแต่ง ก่อนที่วัดจะนำมาตอกโค้ด ตอกเลข แล้วนำไปขอเมตตาบารมีจากพระเกจิคณาจารย์ได้อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวแต่ละองค์ทั่วประเทศประจุพลังพุทธคุณ

    วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2554 (เดือนเก้าเป็ง) วัดร้องขุ้มจัดพิธีสมโภชมหาพุทธาภิเษกองค์พระกริ่งล้มลุก ตลอดทั้งวันและทั้งคืน จนถึงรุ่งสางเช้าวันที่ 17 มิถุนายน 2554

    รายนามพระมหาเถระเกจิคณาจารย์ที่เมตตานั่งปรกอธิฐานจิต พระกริ่งเศรษฐีล้มลุก รุ่นพิเศษ ในวันที่ 16 มิถุนายน 2554 มีดังต่อไปนี้

    พระเดชพระคุณหลวงปู่พระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ทอง) วัดพราตุศรีจอมทองวรวิหาร
    พระเดชพระคุณหลวงปู่พระญาณวิสาลเถร (หลวงปู่หา)(หลวงปู่ไดโนเสาร์) วัดป่าสักวัน จ.กาฬสินธุ์
    พระเดชพระคุณหลวงปู่พระมงคลสุทธิคุณ (หลวงปู่ฟู) วัดบางสมัคร จ. ฉะเชิงเทรา
    หลวงปู่พระครูไพบูลย์สิกขการ (พ่อท่านหวาน) วัดสะบ้าย้อย จ.สงขลา
    หลวงปู่พระครูประโชติธรรมวิจิตร (หลวงพ่อเพิ่ม) วัดป้อมแก้ว จ.พระนครศรีอยุธยา
    หลวงปู่พระครูอนุศาสน์ กิจจาทร (พ่อท่านเขียว) วัดห้วยเงาะ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
    หลวงปู่พระครูพิมลธรรมรัต (หลวงปู่ครูบาบุญตัน) วัดย่าพาย อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่พระครูประภากรพิสุทธิ์ (หลวงปู่ครูบาบุญปั๋น) วัดป่าแดด อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่พระครูโสภณสารคุณ (หลวงปู่ครูบามา) วัดศรีชัยนิมิต อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อพระครูสิริสีลสังวร (ครูบาน้อย) วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่พระครูมงคลรัตน์ (หลวงปู่ครูบาสิทธิ) วัดปางต้นเดื่อ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่พระครูวรปัญญาโสภิต (หลวงปู่ครูบาจำรัส) วัดดอยหน้อย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่พระครูถาวรมงคลวัตร วัดยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชปริยัติโยดม (หลวงพ่อโอภาส) วัดจองคำ จ.ลำปาง
    หลวงปู่พระครูมงคลบุญญาคม (หลวงปู่ครูบาบุญมา) วัดบ้านสามัคคีธรรม จ.ลำปาง
    หลวงปู่ครูบาเลิศ จตฺตภาโล วัดทุ่งม่านใต้ จ,ลำปาง
    หลวงตาวรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า) วัดพุทธพรหมปัญโญ จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่พระครูพินิจสารธรรม (หลวงปู่ครูบาพรรณ) วัดพระบาทห้วยต้ม จ,ลำพูน
    หลวงพ่อพระครูไพศาลพัฒนโกวิท (ครูบาเจ้าเทือง) วัดบ้านเด่น จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่พระครูบวรสุขบท (หลวงปู่ครูบาสุข) วัดป่าซางน้อย จ,ลำพูน
    หลวงปู่ครูบาก๋องแก้ว กลยาโณ วัดป่าซางน้อย จ,ลำพูน
    หลวงปู่ครูบาธรรมสร สิริจนฺโท วัดตึ๊ดใหม่ จ.น่าน
    หลวงปู่พระครูสันติธรรมาภิรม (หลวงปู่ครูบาอ่อน) วัดสันต้นหวีด จ,พะเยา
    หลวงปู่ครูบาครอง ขตฺติโย วัดท่ามะเกว๋น จ.ลำปาง
    หลวงปู่ครูบาคำแบน ฉนฺทธมฺโม วัดวังจำปา จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่ครูบาคำปัน ญาณวโร วัดพระธาตุดอยม่อนเปี๊ยะ จ.เชียงใหม่
    พระเดชพระคุณหลวงปู่พระราชเจติยาจารย์ (หลวงปู่ชูเกียรติ) วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่พระครูวรวรรณาภรณ์ (หลวงปู่ครูบาอินทร์คำ) วัดไชยสถาน จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่พระครูอุปถัมภ์ศาสนคุณ (ครูบาผดุง) วัดป่าแพ่ง จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ (ครูบาอินทร) วัดสันยางหลวง จ,ลำพูน
    หลวงปู่ครูบาสม สุทฺธจิตฺโต วัดป๋างน้ำฮ้าย จ.เชียงราย
    พระครูบาเหนือชัย โฆสิโต สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง จ.เชียงราย
    หลวงปู่ครูบาส่วยจิ่ง ถาวโร วัดท่าโป่งแดง จ.แม่ฮ่องสอน
    ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย
    พระอาจารย์บุญรอด ทีฆายุโก วัดป่าเมืองปาย จ.แม่ฮ่องสอน
    ครูบาสุบิน สุเมธโส วัดทองสะอาด จ.ปธุมธานี
    หลวงปู่ครูบากวง โกสโล วัดป่านาบุญ จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่ชม ฐานคุตฺโต วัดป่าท่าสุด จ.ชียงใหม่
    หลวงปู่พระครูธรรมาภิรม วัดน้ำบ่อหลวง จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่พระครูพนาตปาภิรักษ์ (หลวงปู่ครูบาคำมูล) วัดกู่คำ จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อพระครูสุทธิญาณรังสี (ครูบาเมืองใจ๋) วัดรังสีสุทธาราม จ.เชียงใหม่
    ท่านครูบาญาณลังก๋า สิริญาโณ วัดดอยโพธิญาณ จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อพระครุคัมภีรธรรม (ครูบาบุญเป็ง) วัดทุ่งปูน จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่พระครูพิพิธปุญญาภิรัต (หลวงปู่ครูบาตา) วัดศาลา จ,เชียงใหม่
    หลวงพ่อพระครูพุทธบทเจติยารักษ์ (ครูบาพรชัย) วัดพระพุทธบาทสี่รอย จ.เชียงใหม่
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระโสภณธรรมสาร วัดป่าดาราภิรมย์ จ.เชียงราย
    หลวงพ่อพระครูโสภณธรรมานุวัตร (หลวงพ่อบุญมี) วัดใจ จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อพระครูวิทิตพัฒนาภรณ์ (หลวงพ่อครูบามนตรี) วัดพระธาตุสุโทน จ.แพร่
    หลวงปู่พระครูสุรัตนคุณ (หลวงพ่อสุแก้ว) วัดป่าเจดีย์เหลี่ยม จ.เชียงใหม่
    พระอาจารย์พรสิทธิ์ ธมฺมธโร วัดสว่างอารมณ์ จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อพระครูพิพิธธรรมประกาศ วัดจอมแจ้ง จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อพระครูไพบูลย์พัฒนาภิรักษ์ (หลวงพ่อถวัลย์) วัดพระธาตุเจดีย์ จ.เชียงราย
    หลวงปู่พระครูถาวรธรรมวัตร (หลวงปู่ครูบาบุญยืน) วัดสบล้อง จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่พระครูโพธิโสภณ (หลวงปู่ครูบาศรีวัย) วัดหนองเงือก จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่พระครูวรวัฒน์วิจิตร (หลวงปู่ครูบาลือ) วัดห้วยแก้ว จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่พระครูอรรถกิจจาทร (หลวงปู่ครูบาอุ่น) วัดโรงวัว จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่พระครูประจักษ์ธรรมวิจารย์ (หลวงปู่ครูบาข่าย) วัดหมูเปิ้ง จ.ลำพูน
    หลวงปู่พระครูสัทธาโสภณ (หลวงปู่ครูบาอ้าย) วัดเวฬุวัน จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อพระครูประภัศร์ธรรมรังสี (ครูบาเจ้าจันทรังษี) วัดกู่เต้า จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่พ่อหวุนเจ้าต๋าแสง วัดทุ่งสะแล จ.แม่ฮ่องสอน
    หลวงพ่อประเสริฐ ปุญฺญกาโม วัดพระพุทธบาทเวียงเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน
    หลวงพ่อพระครูวิสุทธิสีลสังวร (หลวงพ่อครูบาสาย) วัดร้องขุด จ.เชียงใหม่

    พระกริ่งเศรษฐีล้มลุก รุ่นพิเศษ ครูบาเจ้าบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม ปี54 เนื้อนวะ หมายเลข ๘๔ สร้างน้อยหายากครับ

    พระกริ่ง เศรษฐีล้มลุก รุ่นพิเศษ ด้วยทางวัดร้องขุ้ม ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการสร้างพระกริ่งเศรษฐีล้มลุก รุ่นพิเศษของหลวงปู่ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธมฺมปญฺโญ ขึ้น ในครั้งนี้ เนื่องด้วยจากวาระครบรอบการมรณภาพของหลวงปู่ครบ 9 ปี และปัจจุบันพระกริ่งเศรษฐีล้มลุกรุ่นแรกของหลวงปู่ที่ได้จัดสร้างขึ้นเมื่อปี 2543 นั้น ก็เริ่มหายากเต็มที ทำให้มีศรัทธาสาธุชนเรียกร้องให้ทางวัดได้จัดสร้างขึ้นมาอีกครั้ง ดังนั้นทางวัดมีท่านพระอาจารย์ สิทธิ สิทฺธิปญฺโญ ศิษย์ในองค์หลวงปู่และเจ้าอาวาสวัดร้องขุ้มรูปปัจจุบัน พร้อมคณะกรรมการวัดร้องขุ้ม ได้มีดำริในการจัดสร้างองค์พระกริ่งเศรษฐีล้มลุกรุ่นพิเศษขึ้น โดยมีเจตนาเพื่อรำลึกถึงคุณความดีบารมีธรรมขององค์หลวงปู่ และเพื่อสืบสานวิชาเศรษฐีล้มลุกอันเป็นวิชาที่องค์หลวงปู่ท่านสำเร็จ ซึ่งแต่เดิมเป็นวิชาทำเทียนเศรษฐีล้มลุกเพื่อกลับดวงหนุนดวง กลับร้ายกลายเป็นดี

    [​IMG][​IMG]
    [​IMG]



    *ปิดรายการนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3_1277234140.jpg
      3_1277234140.jpg
      ขนาดไฟล์:
      79.2 KB
      เปิดดู:
      11,351
    • pn1.jpg
      pn1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      137.4 KB
      เปิดดู:
      8,743
    • pn2.jpg
      pn2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      144.3 KB
      เปิดดู:
      8,582
    • pn3.jpg
      pn3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      147.4 KB
      เปิดดู:
      8,584
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2013
  11. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดสวนดอก รุ่นแรก ปี 2497 เนื้อตะกั่ว ผิวปรอทเดิมๆ สุดสวย ระดับล่าโล่ห์รางวัลงานประกวด เนื้อตะกั่วหายากยิ่งกว่าเนื้อทองแดงมากมายนัก

    พระรุ่นนี้มี 2เนื้อ คือเนื้อทองแดง จะเป็นลักษณะเหรียญปั๊ม ส่วนอีกเนื้อคือเนื้อตะกั่ว จะใช้แบบประกบหล่อ ปลุกเสกด้วยศิษย์สายตรงครูบาเจ้าศรีวิไชย เป็นเหรียญรุ่น1 วัดสวนดอก ปี2497 เนื้อทองแดงรมดำ มีทั้งหมด 2บล๊อคครับ บล๊อคหูติ่ง(นิยม) กับบล๊อคแว่นตา สมัยก่อนมีการเล่นหาว่าทั้ง 2บล๊อคคือรุ่นแรกปี97 หมด หลังๆ ได้มาได้มีการแยกว่าบล๊อคแว่นตานั้นเป็นรุ่นสองปี 2500

    [​IMG][​IMG]



    ให้บูชา 1,250บ.ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • kb1.jpg
      kb1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      68.5 KB
      เปิดดู:
      4,717
    • kb2.jpg
      kb2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.1 KB
      เปิดดู:
      4,673
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  12. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]
    ตะกรุดรุ่นแรก พิเศษ เกศา จีวร หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ จ.เชียงใหม่

    ตะกรุดโทนหลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ แม่แตง เชียงใหม่ เป็นตะกรุดรุ่นแรกของหลวงพ่อ จัดสร้างโดยพระลูกวัดซึ่งได้ขออนุญาติหลวงพ่อจัดสร้างขึ้น ประมาณปี2549 เพื่อนำไว้ใช้ติดตัว จำนวนการสร้างน้อยมาก หายาก ส่วนใหญ่อยู่กับศิษย์ใกล้ชิดหมด พุทธคุณครอบจักรวาล มี 5 ดอกครับ มี2ขนาด 2 1/2" กับ 2" ครับ คัดสภาพสวยเดิม
    น่าบูชามากครับ
    [​IMG]





    มี5ดอก พิเศษให้บูชาดอกละ 999บ.ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _4_229.jpg
      _4_229.jpg
      ขนาดไฟล์:
      137.3 KB
      เปิดดู:
      51
    • SAM_0639.JPG
      SAM_0639.JPG
      ขนาดไฟล์:
      277.7 KB
      เปิดดู:
      33
  13. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]

    [​IMG]
    องค์นี้ภาพแทนครับ​


    หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ พระผง 6 รอบติดจีวรด้านหน้า 28 พ.ย. 2526

    มาพร้อมเหรียญหนูเล็กๆในกล่องครับ มวลสารในการสร้างสุดยอดมากๆ สร้างและปลุกเสกพร้อมกับวัตถุมงคลชุด 6รอบอื่นๆ เป็นพระผงยอดนิยมรุ่นหนึ่งของหลวงพ่อเกษมอีกด้วยครับ ปัจจุบันได้ถูกบรรจุในรายการประกวดทุกงานแล้วครับ พระไม่ได้ใช้อยู่ในกล่องเดิมๆพร้อมเหรียญหนูและเศษจีวรของหลวงพ่อติดเต็มๆองค์พระ ดูเข้มขลังมากๆเลยครับผม นับว่ากระแสมาแรงน่าติดตาม น่าเก็บมากๆครับ

    [​IMG]
    [​IMG]



    มีมาให้บูชา 5องค์ *ปิดรายการนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Monk_Image_Brass16_pict.jpg
      Monk_Image_Brass16_pict.jpg
      ขนาดไฟล์:
      215 KB
      เปิดดู:
      30
    • 20p63.jpg
      20p63.jpg
      ขนาดไฟล์:
      346.4 KB
      เปิดดู:
      13,671
    • DSC01541.jpg
      DSC01541.jpg
      ขนาดไฟล์:
      283.8 KB
      เปิดดู:
      11,745
    • DSC01542.jpg
      DSC01542.jpg
      ขนาดไฟล์:
      308.8 KB
      เปิดดู:
      12,299
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2013
  14. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]
    สุดยอดเหรียญมหายันต์บรมครู รุ่น1 เนื้อเงินบริสุทธิ์ รุ่นแรกพระอาจารย์พรสิทธิ์ ธมฺมธโร วัดสว่างอารมณ์ จ.เชียงใหม่

    เหรียญมหายันต์บรมครู รุ่น1 เนื้อเงินบริสุทธิ์ อธิฐานจิต ด้วยพระอาจารย์พรสิทธิ์ ธมฺมธโร เองทุกเหรียญค่ะ สุดยอดอักขระยันต์ ถือได้ว่าท่านเป็นเกจิแห่งล้านนา ชั่วโมงนี้ก็ว่าได้ค่ะ สร้างงานกฐินเมื่อปีที่แล้ว หลังยันต์ ๕๐เหรียญ และหลังเรียบจารมือ ๔๐เหรียญเท่านั้น พิสูจน์แล้วด้วยกระแสเต็มเลย...กับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ด้วยเครื่องออร่า กับผลลัพธ์ที่สุดยอด มั่นใจได้เลย...

    เหรียญรุ่นนี้ถือว่าเป็นการจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกของพระอาจารย์ จึงได้ทำเป็นเหรียญพระพิฆเนศร์เพื่อเป็นการบูชาครูทั้งหมดแห่งสายวิชาที่ ท่านได้เรียนมา ประทับอยู่บนเสือหัวขาดหางกุด เหยียบดาบ ฆ่าไม่ตาย เป็นวิชาเอกทางสายภาคอีสาน คนเฒ่าคนแก่รู้วิชานี้ดี แกะพิมพ์ด้วยช่างฝีมือปราณีต งดงาม ใครจับแล้วต้องวางไม่ลงกันเลยทีเดียว หาที่ติไม่ได้ จัดสร้างน้อย เพื่อให้ศิษย์ได้มีโอกาสใช้ของดีกัน

    เป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน ลูกศิษท์ลูกหาท่านต่างรู้กันดี พระพิคเณศ ที่ท่านสร้างศักดิ์สิทธิ์แค่ไหน ขอได้ ดังใจหวัง สำเร็จ สมประสงค์ทุกประการ การวางยันต์ที่ลงตัวครบพุทธคุณ ล่างพระพิคเณศ ยอดยันต์มหาคงกระพัน ใครเห็นไม่รู้มองไม่ออกว่าเป็นอะไรนั้นแหละครับ ยันต์เสือหัวกุดหางด้วน กระโจน ฆ่าไม่ตาย จุดอ่อนไม่มี(หางด้วน) พิเศษหลังจารยันต์ไม่เหมือนกันซักเหรียญเดียวครับ สำหรับเหรียญนี้หลังจารยันต์พระพุทธเจ้าครับ ของจริงแรงจริงพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์ชัด ไม่เชื่อทดลองได้ ของจริงของแท้ หากันมานานเจ้าของสมญา "พระภิกษุผู้แก่กล้าวิชา ที่ซ้อนเร้นอยู่ในป่าสันป่าตอง พระอาจารย์ พรสิทธิ์ วัดสว่างอารมณ์"

    เหรียญบรมครูเนื้อเงิน หลังเรียบจารยันต์พระพุทธเจ้า หมายเลข 31 จัดสร้างทั้งหมดจำนวน 40เหรียญ พระอาจารย์พรสิทธิ์ วัดสว่างอารมณ์
    ขอยกให้เป็นสุดยอดเหรียญแห่งปีเลยครับ งดงามมากครับ การวางอักขระเลขยันต์ที่ลงตัวทั้งศาตร์และศิลป์ งดงามมากครับเหนือคำบรรยายจริงๆครับ
    [​IMG]



    ให้บูชา 12,500บ.ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 216732-467dd.JPG
      216732-467dd.JPG
      ขนาดไฟล์:
      58.2 KB
      เปิดดู:
      5,993
    • silv1-horz.jpg
      silv1-horz.jpg
      ขนาดไฟล์:
      618.9 KB
      เปิดดู:
      5,266
  15. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    สุดยอดเหรียญเนื้อเงิน รุ่นแรกพระอาจารย์พรสิทธิ์ ธมฺมธโร วัดสว่างอารมณ์ จ.เชียงใหม่

    เป็นเหรียญรูปเหมือนขนาดใหญ่รุ่นแรกของท่านครับรูปแบบแกะได้อย่างอลังการงาน สร้างมากทั้งพุทธศิลป์และพุทธคุณสุดยอดมากครับโดยได้นําชนวนเหรียญเงินของ เกจิอาจารย์ดังๆหลายรูปด้วยกันมาหล่อหลอมเป็นเหรียญชุดนี้โดยไม่ได้ใช้เม็ด เงินบริสุทธิ์แต่อย่างใดด้านหลังเป็นยันต์ที่ท่านออกแบบเองเดินอักขระเอง เพราะว่าวิชาเสือคู่เป็นวิชาเอกของสํานักของท่านครับปลุกเสกพิธีเสาร์๕ และ ไหว้ครูที่ผ่านมาด้วยจํานวนการสร้างก็น้อยมากๆครับแค่ ๘๖เหรียญเท่านั้นเอง ลูกศิษท์พระอาจารย์ไม่ควรพลาดครับที่สําคัญองค์นี้เลขเบิ้ล ครับ หมายเลข๗๗

    [​IMG][​IMG]



    ให้บูชา 7,500บ.ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ps111.jpg
      ps111.jpg
      ขนาดไฟล์:
      144.3 KB
      เปิดดู:
      4,766
    • ps112.jpg
      ps112.jpg
      ขนาดไฟล์:
      142.9 KB
      เปิดดู:
      4,861
    • ps113.jpg
      ps113.jpg
      ขนาดไฟล์:
      178.8 KB
      เปิดดู:
      33
    • ps114.jpg
      ps114.jpg
      ขนาดไฟล์:
      179.7 KB
      เปิดดู:
      35
    • ps115.jpg
      ps115.jpg
      ขนาดไฟล์:
      205.5 KB
      เปิดดู:
      38
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2013
  16. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    1[​IMG]

    2[​IMG]



    พระขุนแผนจันทร์ซ้อนจันทร์ พระอาจารย์พรสิทธิ์ ธมฺมธโร วัดสว่างอารมณ์ จ.เชียงใหม่ รุ่นนี้ท่านทดลองพิมพ์ ออกมาเป็นรุ่นพิเศษ ที่มีมวลสารผสมในเนื้อมากมาย โดยเฉพาะรุ่นนี้ ที่มีผงโหงพรายผสมอยู่ด้วย ส่วนด้านหลังมีโรยพลอย เม็ดมะเขือบ้า ปลุกเสกในฤกษ์จันทร์ซ้อนจันทร์(เป็นฤกษ์ที่เป็นเมตตามหานิยมที่สุดนานๆหลายปีจะมีสักทีเป็นวันจันทร์ซ้อนจันทร์)


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2013
  17. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    กุมารดูดรก พระอาจารย์พรสิทธิ์ วัดสว่างอารมณ์

    "กุมารดูดรก" ที่สุดแห่งความขลัง พระอาจารย์ท่านบรรจงจัดสร้างให้ตามตำราที่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนมา "ทำกุมารทอง ถ้าจะทำให้เฮี้ยนและขลังที่สุด ต้องกุมารดูดรกเท่านั้น" ในอดีตพระอาจารย์ท่านเคยจัดสร้างมาแล้วแต่ไม่มากนัก ท่านปั้นขึ้นด้วยมือจำนวนสร้างก็ไม่มากทำด้วยผงพุทธคุณ และผงอาถรรพณ์หลายชนิดด้วยกัน ไม่สวย แต่ศิษย์ที่ได้ไปต่างหวงแหนยิ่งนักหลายท่านที่ได้ไปต่างบอกเป็นเสียงเดียว กัน..สุดยอด.. ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเมตตา มหานิยม ค้าขาย เสี่ยงโชค ทำธุรกิจต่าง ๆ ร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีกันมาแล้วหลายราย
    เหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้เสก ลูกศิษย์ใกล้ชิดพระอาจารย์ โทร. บอกช่างปั้น ให้ปั้นกุมารดูดรกขนาดหัวนิ้วโป้ง บอกให้ปั้นตามใจช่างเลย ผ่านไปประมาณ 2 อาทิตย์ ช่างปั้นนำแบบมาให้พระอาจารย์ดูพระอาจารย์อมยิ้ม บรรดาลูกศิษย์ต่างถูกอกถูกใจ ช่างปั้นกุมารได้น่ารักมาก ปั้นได้ตามนิมิตของพระอาจารย์เลย ดูเข้มขลัง และน่ารักน่าเอ็นดูมาก
    จากนั้น..พระอาจารย์ได้รวบรวมมวลสารต่าง ๆ อาทิ ผงพุทธคุณ ผงจากครูบาอาจารย์ดังหลายแห่งด้วยกัน ผงอาถรรพณ์ต่างๆ ผงพรายกุมารจากอาจารย์หลายสำนักที่ศิษย์นำมาถวาย ผงดิน 7 ป่าช้า ว่านกุมารทองว่านเมตตา ว่านทางโชคลาภ มากมายหลายชนิดด้วยกัน นำมาบดผสมและกดขึ้นด้วยพิมพ์มือตามแบบฉบับโบราณกาล(เรียกว่าใส่กันแบบไม่ ยั้งเลย) อุดก้นด้วยตะกรุดเงิน 1 ดอก และมัดด้วยสายสิญจน์อาถรรพณ์ ตะกรุดสุดยอดหัวใจกุมารทอง 1 ดอก แล้วชุบด้วยน้ำมันอาถรรพณ์
    เสร็จเรียบร้อยจึงนำมาปลุกเสกเดินธาตุ-บรรตุธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ และใส่อาการ 32 เรียกจิต เรียกวิญญาณ พระอาจารย์ท่านนั่งอธิฐานจิตปลุกเสกจนเกิดเป็นกุมารทองในร่างเด็กน้อยตัวขาว น่ารัก ท่านปลุกเสกจนขึ้นในนิมิตจึงถือว่าใช้ได้ วันที่ปลุกเสกลูกศิษย์ที่วัดบอกเห็นเด็กน้อยวิ่งเล่นเต็มวัดเลย ใครได้ชูชากุมารทองรุ่นนี้ไปถือว่าโชคดีที่สุด พระอาจารย์ท่านให้พร "ขอให้ร่ำรวยๆ เป็นเศรษฐีกันทุก ๆ คนนะ"

    [​IMG]



    กุมารทองดูดรก พิมพ์จัมโบ้องค์ครู อาจารย์กดพิมพ์เอง อุดผงเอง เข้มขลัง น่าบูชามากครับมี 4องค์ ให้บูชาองค์ละ 750บ.ครับ

    กุมารทองดูดรก เนื้อผงปัดทอง มี 1องค์ ให้บูชาองค์ละ 550บ.ครับ

    กุมารทองดูดรก เนื้อผงอาบน้ำมัน(สีแดง) มี 2องค์ ให้บูชาองค์ละ 500บ.ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01512.jpg
      DSC01512.jpg
      ขนาดไฟล์:
      187.8 KB
      เปิดดู:
      37
  18. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]
    พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญญฺมากฺโร วัดป่าหมู่ใหม่ ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ลูกศิษย์สายกรรมฐานท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ว่ากันว่าท่านกระดูกหักแล้วไปเอกซ์เรย์ปรากฎว่ามองไม่เห็นรอยหักเพราะกระดูก ใสเป็นแก้วแล้ว ท่านอาจารย์ประสิทธิ์ท่านดูแลและอุปถัมถ์วัดในจ.เชียงใหม่ 30-40 วัดได้ บารมีท่านมีมากๆ ครับ ท่านพระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญญฺม กโร เป็นคนจังหวัดอุดรธานี ที่หมู่ หนองบัวบาน ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ ซึ่งบ้านใกล้กับวัดนิโครธาราม สมัยนั้นมี หลวงปู่ อ่อน ญาณสิริ เป็นเจ้าอาวาส และตัวท่านได้เข้าวัดตั้งแต่ เด็กเมื่ออายุครบ 18 ปี ก็บวชเป็น สามเณร และบวชเป็นพระเมื่ออายุครบ 20ปี คอย ปฎิบัติรับใช้ หลวงปู่่อ่อน ญาณสิริอยู่ตลอดเรื่อยมา เมื่อหลวงปุ่อ่อน ญาณสิริ ได้มรณภาพลง ท่านก็ได้ไปปฎิบัติ และอยู่กับ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย

    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"><tbody><tr><td align="left"><table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td valign="top">
    </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="left">
    </td> </tr> <tr> <td align="left">
    <table align="Center" bgcolor="#000000" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="50%"><tbody> <tr> <td> [​IMG] </td> <td> [​IMG] </td> <td> [​IMG] </td> </tr> <tr> <td> [​IMG] </td> <td> [​IMG] </td> <td> [​IMG] </td> </tr> </tbody> </table>
    วัดศรีมุงเมือง ขอเชิญสาธุชนผู้มีจิตเป็นกุศล ร่วมเป็นเจ้าภาพสร้าง
    “มหาวิหารไทลื้อ ปุญฺญมากโร” (มหาวิหารอันเป็นก่อเกิดแห่งบุญ)
    มหาวิหารไทลื้อหลังแรก และหลังเดียวในจังหวัดเชียงใหม่
    โดยร่วมเป็นเจ้าภาพ “กฐินมหากุศล” กองละ ๑๐,๐๐๐ บาท
    (เจ้าภาพประธานกฐินได้อุ้มผ้าไตรกฐินทุกกอง)
    เพื่อร่วมสร้าง “มหาวิหารไทลื้อ ปุญฺญมากโร” และร่วมหล่อช่อฟ้า พญาลวง (มังกร, พญานาค) เพื่อความสูงส่งของชีวิตและจิตวิญญาณ
    ทอดถวาย ณ วัดศรีมุงเมือง ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
    ในวันศุกร์ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ เวลา ๑๐.๐๙ น.

    <table align="Center" bgcolor="#000000" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="50%"><tbody> <tr> <td> [​IMG] </td> <td> [​IMG] </td> <td> [​IMG] </td> </tr> <tr> <td> [​IMG] </td> <td style="text-align: center;"> [​IMG] </td> <td> [​IMG] </td> </tr> </tbody> </table>

    หรือร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างโฮงหลวงไทลื้อ ญาณวโร

    ฉลอง ๔๘ ปี พระโสภณธรรมสาร เจ้าอาวาสวัดป่าดาราภิรมย์

    <table align="Center" bgcolor="#993300" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="50%"><tbody> <tr> <td> [​IMG] </td> <td> [​IMG] </td> </tr> </tbody> </table>
    ติดต่อรับเป็นเจ้าภาพได้ทุกวันที่ พระครูปลัดอรรถสิทธิ์ ชินวํโส (เจ้าอาวาส)
    หรือ โทร. ๐๕๓-๘๖๕๕๕๒, ๐๘๖-๑๑๕-๕๒๘๗ หรือโอนเข้าบัญชี ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยสามแยกสันทราย ชื่อบัญชี วัดศรีมุงเมือง เลขที่ ๔๐๖-๒-๓๑๖๐๑๒๔
    หรือโอนเข้าบัญชี ธนาคารกรุงเทพ สาขาดอยสะเก็ด ชื่อบัญชี วัดศรีมุงเมือง เลขที่ ๔๘๖-๐๓๗๒๗๐-๗


    <table style="width: 412px; height: 658px;" align="Center" bgcolor="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody> <tr> <td> [​IMG] </td> <td> [​IMG] </td> </tr> <tr> <td> [​IMG] </td> <td> [​IMG] </td> </tr> <tr> <td> [​IMG] </td> <td> [​IMG] </td> </tr> </tbody> </table>
    ผู้ร่วมเป็นเจ้าภาพ ๑ กอง รับของที่ระลึก รูปหล่อองค์หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร


    [​IMG]

    <table align="Center" bgcolor="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="40%"><tbody> <tr> <td> [​IMG] </td> <td> [​IMG] </td> <td> [​IMG] </td> <td> [​IMG] </td> </tr> <tr> <td> [​IMG] </td> <td> [​IMG] </td> <td> [​IMG] </td> <td> [​IMG] </td> </tr> </tbody> </table> </td></tr></tbody></table>

    รูปหล่อ หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุณญมากโร เนื้อนวะโลหะ รุ่นนี้ ทำขึ้นเพื่อจัดสร้าง มหาวิหารไทลื้อ ปุณญมากโร ให้ร่วมบุญชุดละ 10,000บ. ออกที่วัดศรีมุงเมือง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เมื่อปี2552
    ชุดนี้หมายเลข 4992 พร้อมกล่องเดิม นำมาให้บูชาในราคาพิเศษที่นี้ที่เดียว มีชุดเดียวหมดแล้วหมดเลยครับ



    [FONT=&quot]ให้บูชาชุดละ 6,500[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]บาทครับ[/FONT][/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • lpps1.jpg
      lpps1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62.2 KB
      เปิดดู:
      55
    • lpps2.jpg
      lpps2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.1 KB
      เปิดดู:
      31
    • lpps3.jpg
      lpps3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.1 KB
      เปิดดู:
      35
    • lpps5.jpg
      lpps5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      54.7 KB
      เปิดดู:
      50
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2013
  19. มีนัม

    มีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2011
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +5,750
    แวะมาเยี่ยมชม หุหุ
     
  20. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457

    หวัดดีครับท่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...