>>> อวดรู้ (รู้แล้วได้อะไร) <<<

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 19 กรกฎาคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สังโยชน์ ๑๐

    สำหรับนักปฏิบัติธรรมทุกท่าน เพื่อเอาไว้เทียบเคียงผลการปฏิบัติของตนว่าธรรมใดที่ละได้แล้ว และยังมีธรรมใดที่พึงต้องละต่อไป

    สังโยชน์ ๑๐

    สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฎฎะ มี 10 อย่าง

    สักกายทิฏฐิ เห็นว่า ร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา (คำว่าร่างกายนี้หมายถึง ขันธ์ 5)
    วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย
    สีลัพพตปรามาส รักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง
    กามฉันทะ มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์
    พยาบาท มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
    รูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน
    อรูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน คิดว่าเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฎฎะ
    มานะ มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี
    อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล
    อวิชชา มีความคิดเห็นว่า โลกามิสเป็นสมบัติที่ทรงสภาพ

    นักปฏิบัติที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอา สังโยชน์ เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบจิตกับ สังโยชน์ ว่า เราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติอารมณ์ที่ละนั้นเอง

    สังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ ถ้าพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครอบ ๑๐ อย่าง โดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่า ท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผล

    สักกายทิฏฐิ ท่านแปลว่า ให้รู้สึกในอารมณ์ของเราว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายนี้ไม่มีในเรา หรือตามศัพท์ที่เรียกว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้มันไม่ใช่ของเรา เราไม่่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา อารมณ์ขั้นต้นของพระโสดาบัน กับสกิทาคามี ท่านมีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ต้องตาย เราต้องคิดว่า ร่างกายนี้ต้องตายแน่ ร่างกายนี้น่าเกลียดโสโครก ต้องเกลียดจริง ๆ เราไม่ต้องการทั้งร่างกายเรา และร่างกายของคนอื่น หรือวัตถุธาตุใด อย่างนี้เป็นกำลังใจของพระอนาคามี และถ้ามีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา อย่างนี้เป็นกำลังใจของพระอรหันต์
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ถ้าจะปฏิบัติกันตามลำดับแล้ว ต้องใช้อารมณ์ตามลำดับ คือ

    อารมณ์ขั้นต้น ใช้อารมณ์แบบเบา ๆ คือมีความรู้สึกตามธรรมดาว่า ชีวิตนี้ต้องตาย ไม่มีใครเลยในโลกนี้ที่จะทรงชีวิตได้ตลอดกาล ในที่สุดก็ต้องตายเหมือนกันหมด ใช้อารมณ์ให้สั้นเข้า คือมีความรู้สึกไว้เสมอว่า เราอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ จะได้ไม่ประมาทในชีวิต

    อารมณ์ขั้นกลาง ท่านให้ทำความรู้สึกเป็นปกติว่า ร่างกายของคนและสัตว์ ตลอดจนวัตถุทุกชนิดเป็นของสกปรกทั้งหมด มีทั้ง อุจจาระ ปัสสวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เป็นต้น พยายามทำอารมณ์ให้ทรงจนเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายทั้งหมด

    อารมณ์สูงสุด มีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย และร่างกายไม่มีในเรา มีอาการวางเฉยในร่างกายทุกประเภท เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์

    วิจิกิจฉา แปลว่า สงสัย คือสงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า สงสัยในความดีของพระธรรมคำสั่งสอน สังสัยในความดีของพระอริยสงฆ์ สงสัยว่า พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ เมื่อสงสัยเข้าก็ไม่เชื่อ ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้ ต้องลงอบายภูมิ

    เพราะฉะนั้นจงอย่ามีในใจ ใช้ปัญญาพิจารณานิดเดียว ก็จะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าพูดถูก พูดจริง ยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระองค์

    สีลัพพตปรามาส คือ ลูบคลำศีล รักษาศีลไม่จริงจัง อย่างนี้จงอย่ามีในเรา จงปฏิบัติให้ครบถ้วนด้วย 3 ประการ

    มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันจะต้องตาย
    ไม่สงสัยในคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมยอมรับปฏิบัติตาม
    รักษาศีลครบถ้วนโดยเคร่งครัด


    ทำอย่างนี้ได้ ท่านผู้นั้นเป็นพระโสดาบัน และพระสกิทาคามี

    กามฉันทะ คือมีความพอใจในกามคุณ คือ รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ เราต้องกำจัดในสิ่งเหล่านี้ ให้รู้ว่าสกปรก โสโครก เราไม่ต้องการ และกำจัด

    ปฏิฆะ คือ การกระทบกระทั่งความไม่พอใจออกจากจิต มีความเมตตา กรุณา เข้ามาแทน จิตมีความเบื่อหน่ายในร่างกายเป็นที่สุด ท่านตรัสว่า เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี

    รูปราคะ และ อรูปราคะ เป็นการหลงในรูปฌาน และอรูปฌาน เราต้องไม่หลงติด ไม่มัวเมาใน รูปฌาน และอรูปฌาน แต่จะรักษาไว้เพื่อประโยชน์แก่จิตใจ แล้วใช้่ปัญญาพิจารณาขันธ์ 5 ว่ามีแต่ความทุกข์ มีการสลายตัวไปในที่สุด เมื่อขันธ์ 5 ไม่ทรงตัวแบบนี้แล้ว

    มานะ การถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าเขา วางอารมณ์แห่งการถือตัวถือตนเสีย มีเมตตาบารมีเป็นที่ตั้ง

    ตัดอุทธัจจะ คืออารมณ์ฟุ้งซ่าน
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    การถือตัวถือตน เป็นปัจจัยของความทุกข์ เราควรวางใจแต่เพียงว่า ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมะสัส อุปยาส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ ทุกข์มาจากไหน ทุกข์มาจากการเกิด แล้วเกิดนี่มาจากไหน การเกิดมาจาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม เราควรวางใจเป็นกลาง การถือตัวถือตนเป็นปัจจัยของความทุกข์ จิตใจเราพร้อมในการเมตตาปรานี ไม่ถือตน เขาจะมีฐานะเช่นใดก็ช่าง ถือว่า เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันหมด ถ้ากำหนดอารมณ์อย่างนี้ได้ เราก็สามารถจะกำจัดตัวมานะของตนได้

    อวิชชา หมายถึง อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น ไม่รู้ตามความเป็นจริง อุปาทานนี้มีคำจัดกัดอยู่ 2 คำ คือ ฉันทะ และราคะ

    อุปาทาน ได้แก่ ฉันทะ คือความหลงใหลใฝ่ฝันในโลกามิสทั้งหมด มีความพอใจในสมบัติของโลก โดยไม่ได้คิดว่ามันจะต้องสลายไปในที่สุด

    ราคะ มีความยินดีในสมบัติของโลกด้วยอารมณ์ใคร่ในกิเลส

    ฉะนั้นการกำจัด อวิชชา ก็พิจารณาเห็นว่า สมบัติของโลกไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เราไม่มีในสมบัติของโลก ไม่มีในเรา จนมีอารมณ์ไม่ยึดถืออะไร มีอยู่ก็เป็นเสมือนไม่มี จิตไม่ผูกพันเกินพอดี เมื่อมีอันเป็นไปก็ไม่เดือดร้อน มีจิตชุ่มชื่นต่ออารมณ์พระนิพพาน

    ฉันทะ กับ ราคะ ทั้งสองนี้เป็นอารมณ์ของ อวิชชา ถือว่าเป็นความโง่ ยังไม่เห็นทุกข์ละเอียด ความจริงอารมณ์ตอนนี้ก็เข้มแข็งพอ คนที่เป็นอนาคามีแล้ว เป็นผู้มีจิตสะอาด มีอารมณ์ขุ่นมัวบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ อารมณ์ใจยังเนื่องอยู่ในอวิชชา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ยังไม่เข้าถึงสุขที่สุด ที่เรียกว่า เอกันตบรมสุข ก็ควรจะใช้บารมี 10 นำมาประหัตประหารเสีย

    อวิชชานี้ ที่ว่า มีฉันทะ กับราคะ นั้น ท่านก็ตรัสว่า ฉันทะ คือมีความพใจในการเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม ราคะ เห็นว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลกก็ดี ยังเป็นกิเลสเบา ๆ คือไม่สามารถจะพ้นทุกข์

    ฉะนั้น ถ้าจะตัดอวิชชา ให้ตัดฉันทะ กับราคะ ในอารมณ์ใจ คิดว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ทั้ง 3 ภพนี้ ไม่เป็นที่หมายของเรา คือยังเป็นแดนของความทุกข์ เทวโลก พรหมโลกเป็นแดนของความสุขชั่วคราว เราไม่ต้องการ ต้องการจิตเดียวคือ พระนิพพาน ในใจของท่านต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นเอกัคตารมณ์ ในอุปสามานุสสติกรรมฐาน

    ที่มา �ѧ�ª��
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ช่วงนี้อาจจะเงียบๆ ไปบ้าง ไม่ได้หายไปไหนนะคะ ยังอยู่พลังจิต แต่ว่าเบื่ออ่าน เบื่อเม้นท์ เบื่อโพสท์ อย่างนี้เรียกว่า อิ่มตัว หรือเปล่าหนอ

    เห็นวังวนมานานแล้ว ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง แต่บางอย่างที่นี่ก็ยังเหมือนเดิม ซ้ำไปซ้ำมา หาทางออกไม่เจอ

    หรือเป็นเพราะเราที่เปลี่ยนไป.....
     
  5. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    ธรรมดา เบื่อ เฉย เบื่อ

    ธรรมดา เบื่อ เฉย เบื่อ

    ธรรมดา เบื่อ เฉย เบื่อ

    ธรรมดา เบื่อ เฉย ธรรมดา (ไม่มีอะไรให้เบื่อแล้ว)


    เป็นแบบนี้หรือปล่าวนะ ไม่รู้เหมือนกัน 555
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2013
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เป็นเช่นนั้นแหละหนอ มันคืออะไรคะ ?
     
  7. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    555 ทำงานอยู่ พิมพ์โดยไม่คิด ผิดเลย 555

    เอาใหม่

    ธรรมดา เบื่อ เฉย เบื่อ

    ธรรมดา เบื่อ เฉย เบื่อ

    ธรรมดา เข้าใจชีวิต เฉย เข้าใจธรรมชาติ

    ธรรมดา อุเบกขา วางมานะ ต่อจากนี้ยังไม่รู้ ยังหาไม่เจอ 555
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ๕๕๕ ธรรมดา เบื่อ เฉย เบื่อ
    เข้าใจธรรมชาติ เบื่อ เฉย ว่าง
    เหมือนที่คุณฮัสตินว่านั่นแหละค่ะ แต่ว่าปล่อยวางไป
    เพราะรู้ว่าไม่มีอะไร ไม่เอาตัวเองเข้าไปยุ่งเกี่ยว
    ให้เกิดวงจรของภพชาติ มอง ดู เข้าใจ แล้วละด้วยอุเบกขา
    ความเฉยมันมีมากกว่า ที่เฉยนั้นก็เพราะรู้นั่นเอง รู้ธรรมชาติ รู้ธรรมดา
    เห็นว่าเรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ และทั้งจริงและเท็จนั้น สุดท้ายปลายทางก็ไม่มีอะไร นอกจากความหมุนเวียน
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]
     
  10. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]
     
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    คุณธรรมสำหรับผู้เห็นภัยในวัฏฏะ

    [​IMG]

    คนเราเกิดมาไม่เห็นมีอะไรดี มีดีอยู่อย่างเดียว คือ สวดมนต์ ไหว้พระปฏิบัติภาวนา
    คือ มองทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นของชั่วคราว มีแต่ปัญหามีแต่ทุกข์แล้วก็เสื่อม พังสลายไปในที่สุด

    ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร(การเวียนว่ายตายเกิด) ทั้งหลาย ถ้าท่านต้องการพ้นภัยจากการเกิดแก่เจ็บตาย
    ท่านควรมีคุณธรรม 6 ประการนี้ไว้เป็นประจําจิตประจําใจ ทุกท่านย่อมจะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน
    ถึงความสุขใจอย่างยอดเยี่ยม

    คุณ 6 ประการนั้นคือ

    1. ข่มจิตในเวลาที่ควรข่ม
    2. ประคับประคองจิตในยามที่ควรประคับประคอง
    3. ทําจิตให้ร่าเริงในยามที่ควรร่าเริง
    4. ทําจิตวางเฉยในยามที่ควรวางเฉย
    5. มีจิตน้อมไปในอริยมรรค อริยผลอันประณีตสูงสุด
    6. มีจิตตั้งมั่นในพระนิพพานเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิตผู้ปฏิบัติที่มีความสามารถฉลาด

    อ่านเพิ่มเติม คุณธรรมสำหรับผู้เห็นภัยในวัฏฏะ (หลวงปู่ดู่)
     
  12. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ทศบารมี การบำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุพระโพธิญาณ

    ในคืนวันตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พญามารได้ยกพลเสนามารมาผจญ พระองค์ต้องต่อสู้ด้วยพระบารมี ๑๐ ทัศ กล่าวในแง่ธรรมาธิษฐาน คือ ทรงต่อสู้กับกิเลสภายในใจจนทรงเอาชนะได้ด้วยพระบารมี คือ ความลำบากในการบำเพ็ญความดีทั้งปวง อันทรงได้สั่งสมมาตลอดแต่ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงต่อสู้จนพญามารพ่ายแพ้ไปตอนพระอาทิตย์จะตกแล้ว พระองค์จึงทรงเริ่มเจริญสมถภาวนา ทำจิตใจให้เป็นสมาธิ จนบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ตามลำดับบทความตอนนี้จะเล่าขยายความเรื่องบารมี ๑๐ ทัศ เป็นเบื้องต้น

    ก่อนที่พระโพธิสัตว์อันสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดุสิต จะได้ทรงตรัสรู้บรรลุธรรมเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อโปรดชาวโลกนั้น พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ อันได้แก่

    ๑. พระเตมีย์ ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือ การถือบวชสูงสุด
    ๒. พระมหาชนก ทรงบำเพ็ญวิริยะบารมี คือ ความพากเพียรสูงสุด
    ๓. พระสุวรรณสาม ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี คือ ความเมตตาสูงสุด
    ๔. พระเนมิราช ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี คือ ความมีจิตที่แน่วแน่สมบูรณ์
    ๕. พระมโหสถ ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี คือ ความมีปัญญาสูงสุด
    ๖. พระภูริทัต ทรงบำเพ็ญศีลบารมี คือ ความมีศีลที่สมบูรณ์สูงสุด
    ๗. พระจันทกุมาร ทรงบำเพ็ญขันติบารมี คือ ความอดกลั้นสูงสุด
    ๘. พระนารทพรหม ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี คือ การมีอุเบกขาสูงสุด
    ๙. พระวิธูรบัณฑิต ทรงบำเพ็ญสัจจะบารมี คือ ความมีสัจจะสูงสุด
    ๑๐. พระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญทานบารมี คือ การรู้จักการให้ทานสูงสุด

    บารมี ๑๐ หรือ ทศบารมี (ปฏิปทาอันยวดยิ่ง, คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น ความเป็นพระพุทธเจ้า และความเป็นมหาสาวก เป็นต้น ได้แก่ ทานบารมี, ศีลบารมี, เนกขัมมบารมี, ปัญญา บารมี, วิริยบารมี, ขันติบารมี, สัจจบารมี, อธิษฐานบารมี, เมตตาบารมี, อุเบกขาบารมี เป็นบารมีที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญมาอย่างยิ่งยวด จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเป็น ๓ ขั้น ตั้งแต่อย่างธรรมดา เรียกว่า "บารมี" อย่างกลาง เรียกว่า "อุปบารมี" จนถึงอย่างละเอียด เรียกว่า "ปรมัตถบารมี"

    ในระดับ "บารมี" ทรงบำเพ็ญเพื่อพระโพธิญาณ โดยไม่คำนึงถึงทรัพย์สมบัติ ยศฐาบรรดาศักดิ์ และคนที่พระองค์รัก ทรงหวงแหนพระโพธิญาณยิ่งกว่าหวงแหนคนรักและทรัพย์สมบัติ จึงสละได้แม้กระทั่งคนรักและทรัพย์สมบัติ

    ในระดับ "อุปบารมี" ทรงบำเพ็ญบารมีเพื่อพระโพธิญาณ โดยไม่คำนึงถึงอวัยวะร่างกาย ทรงหวงแหนพระโพธิญาณยิ่งกว่าหวงแหนอวัยวะร่างกาย จึงสละได้แม้กระทั่งอวัยวะร่างกาย

    ในระดับ "ปรมัตถบารมี" ทรงบำเพ็ญบารมีเพื่อพระโพธิญาณ โดยไม่คำนึงถึงชีวิต ทรงหวงแหนพระโพธิญาณยิ่งกว่าหวงแหนชีวิต จึงสละได้แม้กระทั่งชีวิต
     
  13. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ทศบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ทรงบำเพ็ญละเอียดขึ้นไปตามลำดับ ตั้งแต่บารมีอย่างธรรมดา อย่างกลาง ไปจนถึงอย่างละเอียดที่สุด รวมเป็น ๓๐ บารมี ดังนี้

    ๑. เนกขัมมบารมี หมายถึง การพรากกายและจิตออกจากเครื่องผูกรัดอันเป็นอุปสรรคต่อการขัดขวางการทำความดี ด้วยการบังคับกายไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งยั่วยุทางกาย ในเบื้องต้นแม้จะยังไม่ถึงกับออกบวช ก็เป็นการพรากกายออกไปจากความวุ่นวายสับสนของเหตุการณ์และของโลกในขณะนั้น เป็นกายวิเวก และการตั้งจิตให้อยู่ในความสงบ เป็นจิตวิเวก อย่างสูงสุดหมายถึงออกจากกิเลสทั้งปวง โดยมีความดับทุกข์เป็นเป้าหมาย

    พระพุทธเจ้าเมื่อยังมิได้ตรัสรู้ ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ทรงปฏิบัติในเนกขัมมบารมีมาโดยลำดับ ตั้งแต่อย่างหยาบ อย่างกลาง จนถึงอย่างละเอียด บางพระชาติก็ออกบวช บางพระชาติแม้มิได้ออกบวช แต่ก็ทรงดำรงตนอย่างมีสติน้อมใจให้ออกจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองต่างๆ บางพระชาติออกบวชขณะยังหนุ่มแน่น บางพระชาติออกบวชเมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีอย่างแรงกล้าตามลำดับ ดังนี้

    (๑) เนกขัมมบารมี ได้แก่ ออกไปด้วยความรักในพระโพธิญาณยิ่งกว่าคนที่รัก และทรัพย์สมบัติ จึงตัดความห่วงใย ปลีกตนออกไปบำเพ็ญกายวิเวก คือ ความสงัดทางกาย สงัดจากกามและอกุศลกรรมทั้งหลาย เนกขัมมะในระดับนี้ แม้คนรักและทรัพย์สมบัติจะสูญสิ้นไป ก็ไม่ทำลายปณิธาน ไม่ยอมให้กายไปเกี่ยวข้องกับกาม พยาบาท อวิหิงสา ตลอดจนอกุศลกรรมทั้งหลาย เพราะมีเป้าหมายอยู่ที่พระโพธิญาณ

    (๒) เนกขัมมอุปบารมี ได้แก่ ออกด้วยความรักในพระโพธิญาณยิ่งกว่าอวัยวะ ร่างกาย จึงตัดความห่วงใย ปลีกตนออกบำเพ็ญจิตวิเวก คือ ความสงัดทางจิต จากกามและอกุศลทั้งหลาย ด้วยฌานและสมาธิ เนกขัมมบารมีระดับนี้ แม้อวัยวะร่างกายจะแตกทำลายไปก็ไม่ทำลายปณิธาน เป็นขั้นฝึกบังคับใจไม่ให้เกี่ยวข้องในกาม พยาบาท อวิหิงสา ตลอดจนอกุศลกรรมทั้งหลาย ด้วยฌานและสมาธิ เพราะมีเป้าหมายอยู่ที่พระโพธิญาณ

    (๓) เนกขัมมปรมัตถบารมี ได้แก่ ออกด้วยความรักในพระโพธิญาณยิ่งกว่าชีวิต จึงตัดความห่วงใย ไม่อาลัยในชีวิต ปลีกตนออกบำเพ็ญอุปธิวิเวก คือ ความสงัดจากกิเลส รวมทั้งกามและอกุศลทั้งสิ้น ด้วยอริยมรรคญาณ แม้ชีวิตจะแตกทำลายไปก็จะไม่ทำลายปณิธาน เนกขัมมบารมีในระดับนี้ เป็นขั้นสงัดจากกาม พยาบาท อวิหิงสา ตลอดจนกิเลสทั้งหลายทั้งปวง ด้วยอริยมรรคญาณ
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ๒. วิริยบารมี หมายถึง ความเพียรพยายามอยู่ร่ำไปไม่ท้อถอย จนกว่าจะประสบผลสำเร็จ เพียรพยายามในการไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศล และในการที่จะทำกุศลให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นความเพียรที่จะไม่ทำความชั่ว เพียรทำดี และเพียรชำระจิตของตนให้ผ่องแผ่ว

    ความเพียรมีหลายด้าน ตั้งแต่ความเพียรพยายามอย่างธรรมดาไปจนถึงความเพียรพยายามอย่างสูงสุด แต่ความเพียรพยายามในทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญ อันจะเป็นเหตุแห่งวิริยบารมี มุ่งหมายเอาความเพียรพยายามที่จะพ้นทุกข์ และความเพียรที่จะต้องตั้งไว้เป็นเป้าหมายสูงสุด คือ สังวรปธาน เพียรละวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ภาวนาปธาน เพียรทำความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น อนุรักขนาปธาน เพียรทำความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งอยู่

    พระพุทธเจ้าเมื่อยังมิได้ตรัสรู้ ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ทรงปฏิบัติในวิริยบารมีอย่างแรงกล้า มุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเป้าหมายสูงสุด ๓ ขั้น ดังนี้

    (๑) วิริยบารมี ได้แก่ ความเพียรที่บำเพ็ญด้วยความมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเป้าหมาย รักเพียรเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าคนที่รักและทรัพย์สิน จึงเพียรพยายามที่จะตัดใจสละคนที่รักและทรัพย์สินเพื่อมุ่งหวังโพธิญาณ

    (๒) วิริยอุปบารมี ได้แก่ ความเพียรที่บำเพ็ญด้วยความมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเป้าหมาย มีความเพียรพยายามเพื่อบรรลุพระโพธิญาณยิ่งกว่าอวัยวะร่างกายของตน ไม่คำนึงถึงอวัยวะร่างกาย จึงกล้าสละได้แม้กระทั่งอวัยวะร่างกาย

    (๓) วิริยปรมัตถบารมี ได้แก่ ความเพียรที่บำเพ็ญด้วยความมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเป้าหมาย รักความเพียรพยายามเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าชีวิตตน ไม่คำนึงถึงชีวิต เพื่อที่จะได้บรรลุพระโพธิญาณ จึงกล้าสละได้แม้กระทั่งชีวิต
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ๓. เมตตาบารมี หมายถึง ไมตรีจิต ความรัก ความปรารถนาดีความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจดีต่อกัน ต้องการสร้างเสริมประโยชน์สุขให้แก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เมตตาจัดเป็นธรรมพื้นฐานของใจขั้นแรก ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลซึ่งทำให้มองกันในแง่ดี หวังดีต่อกัน พร้อมที่จะรับฟัง และเจรจากันด้วยความเข้าใจ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่มีอคติ คือ ความโกรธ ความเกลียด เป็นที่ตั้ง เป็นหลักธรรมพื้นฐานสำหรับสร้างความสามัคคีและเอกภาพของหมู่ชน ประกอบด้วยเมตตากายกรรม การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เมตตาวจีกรรม การพูดจากันด้วยถ้อยคำสุภาพอ่อนโยน ว่ากล่าวตักเตือนด้วยความหวังดีและจริงใจ เมตตามโนกรรม การมองกันในแง่ดี มีความปรารถนาดี มีความหวังดี มีความสงสาร มีความเห็นใจ อยากช่วยเหลือให้พ้นทุกข์ คิดทำแต่สิ่งที่จะอำนวยประโยชน์สุขให้แก่กันและกัน

    ความเมตตาอย่างสูงสุดมุ่งที่จะเห็นผู้อื่นพ้นทุกข์ในสังสารวัฏ จึงยอมสละได้แม้กระทั่งทรัพย์สิน คนรัก อวัยวะร่างกาย หรือแม้กระทั่งชีวิต เห็นการเกิดแก่เจ็บตายของสรรพสัตว์เป็นสิ่งที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าเมื่อยังมิได้ตรัสรู้ ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ทรงปฏิบัติในเมตตาบารมีอย่างแรงกล้ามาโดยลำดับ ๓ ขั้น ดังนี้

    (๑) เมตตาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมีมาโดยลำดับ ทรงรักษาปฏิบัติในเมตตาบารมีเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่ารักษาคนที่รักและทรัพย์สิน

    (๒) เมตตาอุปบารมี พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมียิ่งขึ้นโดยลำดับ ทรงรักษาเมตตาบารมียิ่งกว่าอวัยวะร่างกาย คือ ทรงรักษาปฏิบัติในเมตตาบารมีเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าอวัยวะร่างกาย

    (๓) เมตตาปรมัตถบารมี พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมีอย่างสูงสุด ด้วยการรักษาเมตตาบารมียิ่งกว่าชีวิต คือ ทรงรักษาปฏิบัติในเมตตาบารมีเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าชีวิต
     
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ๔. อธิษฐานบารมี หมายถึง อธิษฐานใจให้ชีวิตมีเป้าหมาย มุ่งมั่นเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ หรือเพื่อบรรลุผลในสิ่งที่พึงประสงค์ การอธิษฐานที่จะเป็นเหตุให้ได้บรรลุผลที่พึงประสงค์นั้น ต้องมีวิริยะ คือ ความเพียรพยายามอยู่ร่ำไปไม่ท้อถอย มีขันติ คือ ความอดทน มีสัจจะ คือ ความจริงใจ และรักษาความตั้งใจไว้อย่างมุ่งมั่นไม่หวั่นไหว ผู้ที่ต้องการก้าวไปสู่ความสำเร็จในชีวิตต้องอาศัยแรงอธิษฐาน คือ กำหนดเป้าหมายไว้แล้วก้าวเดินไปอย่างมุ่งมั่น

    ลักษณะแห่งการอธิษฐานธรรมนั้น ต้องประกอบด้วยปัญญา สิ่งนั้นต้องเป็นจริงและมีความจริงใจซื่อตรงต่อสิ่งที่อธิษฐาน สละได้แม้กระทั่งทรัพย์สิน คนรัก อวัยวะร่างกาย หรือแม้กระทั่งชีวิตที่จะทำให้เป้าหมายที่อธิษฐานไว้เปลี่ยนไป ตลอดจนแสวงหาความสงบส่งเสริมให้จิตมีความมั่นคงต่อสิ่งที่อธิษฐาน

    สิ่งที่จะต้องอธิษฐานไว้สูงสุด คือ อธิษฐานให้สามารถดับทุกข์ได้เป็นเป้าหมายสูงสุด พระพุทธเจ้าเมื่อยังมิได้ตรัสรู้ ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ทรงปฏิบัติในอธิษฐานบารมีอย่างแรงกล้า โดยมีพระโพธิญาณเป็นเป้าหมาย ๓ ขั้น ดังนี้

    (๑) อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีมาโดยลำดับ ทรงรักษาอธิษฐานเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่ารักษาคนที่รักและทรัพย์สิน แม้จะสูญเสียคนรักและทรัพย์สินไปก็จะไม่ละทิ้งเป้าหมายที่อธิษฐานไว้

    (๒) อธิษฐานอุปบารมี พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมียิ่งขึ้นโดยลำดับ ทรงรักษาอธิษฐานยิ่งกว่าอวัยวะร่างกาย คือ ทรงรักษาอธิษฐานเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าอวัยวะร่างกาย แม้จะสูญเสียอวัยวะร่างกายไปก็จะไม่ละทิ้งเป้าหมายที่อธิษฐานไว้

    (๓) อธิษฐานปรมัตถบารมี พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีอย่างสูงสุด ด้วยการรักษาอธิษฐานยิ่งกว่าชีวิต คือ ทรงรักษาอธิษฐานเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าชีวิต แม้จะสูญเสียชีวิตก็จะไม่ละทิ้งเป้าหมายที่อธิษฐานไว้
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ๕. ปัญญาบารมี หมายถึง ความรอบรู้ เป็นพื้นฐานที่ใช้เป็นเครื่องพิจารณาไตร่ตรอง รู้จริงตามเหตุและผล ช่วยในการวินิจฉัยเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาให้รู้ว่า ผิด ถูก ชั่ว ดีอย่างไร อะไรจริง อะไรเท็จและ อะไรเป็นสัจธรรม เลือกยึดถือเอาแต่สิ่งที่ถูกต้อง ละทิ้งสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

    ปัญญามีหลายระดับ และที่จะเป็นปัญญาบารมี ต้องเป็นปัญญาที่มุ่งให้เกิดความพ้นทุกข์ โดยอบรมศีลให้เจริญ ศีลอบรมสมาธิ และสมาธิอบรมปัญญาจนเกิดความรู้ในอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ทำให้เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงจนสามารถตัดกิเลสได้ อย่างสิ้นเชิง พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญปัญญาบารมีโดยประการต่างๆ ดังนี้

    (๑) ปัญญาบารมี ได้แก่ ปัญญาที่บำเพ็ญด้วยมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้า รักปัญญาเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าคนรักและทรัพย์สิน แม้จะสูญเสียคนรักและทรัพย์สินไปก็จะไม่ละทิ้งสิ่งที่จะทำให้เกิดปัญญา

    (๒) ปัญญาอุปบารมี ได้แก่ ปัญญาที่บำเพ็ญด้วยมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้า รักปัญญาเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าอวัยวะร่างกายของตน แม้จะสูญเสียอวัยวะร่างกายไปก็จะไม่ละทิ้งสิ่งที่จะทำให้เกิดปัญญา

    (๓) ปัญญาปรมัตถบารมี ได้แก่ ปัญญาที่บำเพ็ญด้วยมุ่งพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้า รักปัญญาเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าชีวิตของตน แม้จะสูญเสียชีวิตไปก็จะไม่ละทิ้งสิ่งที่จะทำให้เกิดปัญญา
     
  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ๖. ศีลบารมี หมายถึง การระวังกายไม่ให้ทำร้ายผู้ใด หรือสัตว์ใดจนเกิดความลำบากเดือดร้อน การระวังวาจาไม่ให้กระทบกระทั่งผู้ใดหรือสัตว์ใด จนเกิดความลำบากเดือดร้อน การระวังใจไม่ให้คิดที่จะทำร้ายผู้ใดหรือสัตว์ใด ไม่ให้มีความต้องการที่จะเห็นผู้ใดหรือสัตว์ใด ได้รับความพินาศย่อยยับ การรักษาศีลจึงเป็นการประคับประคองจิตไม่ให้ คิดร้าย ประคับประคองวาจาไม่ให้พูดร้าย ประคับประคองกายไม่ให้ทำร้ายใครๆ อันเป็นเหตุให้เขาเกิดความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน เกิดความโศกเศร้าเสียใจนั่นเอง สูงสุดเพื่อจะรักษาศีลจึงยอมสละได้แม้กระทั่งชีวิต

    พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญศีล สั่งสมเป็นศีลบารมีมาตลอดเวลาช้านาน ทั้งรักษาจิตมิให้โกรธรักษาศีลไว้โดยไม่อาลัยแก่ชีวิตเลือดเนื้อ ดังนั้

    (๑) ศีลบารมี ได้แก่ ศีลทีบำเพ็ญด้วยรักษายิ่งกว่าคนที่รักษาทรัพย์สิน เพื่อพระโพธิญาณแม้จะสูญเสียคนรักและทรัพย์ แต่จะไม่ยอมทำลายศีล

    (๒) ศีลอุปบารมี ได้แก่ ศีลที่บำเพ็ญด้วยรักศีลยิ่งกว่าอวัยวะร่างกายของตน เพื่อพระโพธิญาณแม้จะสูญเสียอวัยวะร่างกาย แต่จะไม่ยอมทำลายศีล

    (๓) ศีลปรมัตถบารมี ได้แก่ ศีลที่บำเพ็ญด้วยรักษาศีลกว่าชีวิตของตน เพื่อรักษาศีลยอมสละได้แม้กระทั้งชีวิต ซึ่งเป็นการรักษาศีลอย่างสูงสุด โดยมีพระโพธิญาณเป็นเป้าหมาย ดังพระพุทธเจ้าตรัสไว้เมื่อครั้งเกิดเป็นภูริทัตว่า "ใครต้องการ หนัง เอ็น กระดูก หรือเลือดเนื้อของเรา"
     
  19. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ๗. ขันติบารมี หมายถึง ความอดทน อดกลั้นต่อความทุกข์ทั้งทางกายและทางใจ ในเบื้องต้นเป็นความอดทนต่อความตรากตรำทั้งหนาวร้อน หิวกระหาย ทนต่อทุกขเวทนาในเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย สูงสุดสามารถทนต่อความเจ็บปวดใจ ต่อถ้อยคำที่คนอื่นดูถูกเหยียบหยาม เมื่อครั้งพระพุทธเจ้า ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้บำเพ็ญขันติบารมี ๓ ขั้น คือ

    (๑) ขันติบารมี ได้แก่ ขันติที่บำเพ็ญด้วยมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้า รักขันติเพื่อพระโพธิญาณ ยิ่งกว่าคนที่รักและทรัพย์สิน แม้จะสูญเสียคนรักและทรัพย์สมบัติ ก็จะไม่ละทิ้งขันติ

    (๒) ขันติอุปบารมี ได้แก่ ขันติที่บำเพ็ญด้วยมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้ารักขันติ เพื่อพระโพธิญาณ ยิ่งกว่าอวัยวะร่างกายของตน แม้จะสูญเสียอวัยวะร่างกาย ก็จะไม่ละทิ้งขันติ

    (๓) ขันติปรมัตถบารมี ได้แก่ ขันติที่บำเพ็ญด้วยมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้ารักขันติ เพื่อพระโพธิญาณ ยิ่งกว่าชีวิตของตน แม้จะสูญเสียชีวิตก็จะไม่ละทิ้งขันติ
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ๘. อุเบกขาบารมี หมายถึง การวางใจให้เป็นกลาง แม้จะมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความลำบากยุ่งยากใจ ก็มีใจเป็นกลางไม่โกรธเกลียด มองทุกสิ่งและยอมรับตามความเป็นจริง อุเบกขาในเบื้องต้น เป็นการยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่ให้อคติมามีอิทธิพลทำให้เอนเอียงไปด้านในด้านหนึ่ง ด้วยอำนาจของความรักชัง อุเบกขาอย่างสูง ได้แก่ อุเบกขาในฌาน อันเป็นผลมาจากกำลังสมาธิที่เกิดจากความสงบระงับอย่างสูง

    เมื่อครั้งพระพุทธเจ้า ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้บำเพ็ญอุเบกขาสูงสูดด้วยการเกิดเป็นพรหม ดำรงอยู่ในอุเบกขาอันเป็นสุขอย่างสูงสุด เพราะไม่มีความทุกข์สุขอันเป็นผลมาจากรักชัง แม้เช่นนั้นก็ทรงปรารถนาพระโพธิญาณ อุเบกขามี ๓ ขั้น คือ

    (๑) อุเบกขาบารมี คือ อุเบกขาของผู้บำเพ็ญเพื่อประโยชน์แห่งพระโพธิญาณ รักษาอุเบกขายิ่งกว่ารักษาคนและทรัพย์สิน

    (๒) อุเบกขาอุปบารมี คือ อุเบกขาของผู้บำเพ็ญเพื่อประโยชน์แห่งพระโพธิญาณ รักษาอุเบกขายิ่งกว่ารักษาอวัยวะของตนเอง

    (๓) อุเบกขาปรมัตถบารมี คือ อุเบกขาของผู้บำเพ็ญเพื่อประโยชน์แห่งพระโพธิญาณ รักษาอุเบกขายิ่งกว่ารักษาชีวิตของตน
     

แชร์หน้านี้

Loading...