>>> อวดรู้ (รู้แล้วได้อะไร) <<<

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 19 กรกฎาคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ๙. สัจจบารมี หมายถึง ความจริง หรือความซื่อตรง พูดไว้อย่างไรก็ยอมรับตามนั้น ตั้งใจไว้อย่างไรก็ทำตามนั้น มุ่งแสวงหาความจริงหรือความถูกต้องเที่ยงธรรม และรักษาความเที่ยงธรรมไว้ ลักษณะแห่งสัจจบารมีทางกาย ได้แก่ การตั้งสัจจะกับตนไว้ว่า จะไม่ทำสิ่งชั่วร้าย จะไม่พูดสิ่งชั่วร้าย และจะไม่คิดสิ่งชั่วร้ายโดยประการต่างๆ จะทำแต่สิ่งที่ดีงาม จะพูดแต่คำจริง คำอ่อนโยน คำที่ทำให้เกิดความสามัคคีก่อให้ประโยชน์ จะไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่อิจฉาตาร้อน เมื่อตั้งสัจจะไว้อย่างนี้แล้ว ก็ตั้งหน้าตั้งตารักษาสัจจะด้วยความซื่อสัตย์ต่อความตั้งใจของตน

    สัจจบารมีในเบื้องต้น ได้แก่ ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ซื่อสัตย์ต่อการงาน ซื่อสัตย์ต่อบุคคล และซื่อสัตย์ต่อความเที่ยงธรรม สูงสุดได้แก่การรักษาสัจจะยอมสละได้แม่ชีวิต เมื่อครั้งพระพุทธเจ้า ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้บำเพ็ญสัจจบารมีอย่างแรงกล้า ไม่ยอมทิ้งสัจจะที่ได้พูดไว้ แม้จะต้องสละชีวิต ๓ ขั้น คือ

    (๑) สัจจบารมี ได้แก่ สัจจะที่บำเพ็ญด้วยความหนักแน่นแน่นอน รักพระโพธิญาณยิ่งกว่าคนที่รักและทรัพย์สิน แม้จะสูญเสียคนรักและทรัพย์สมบัติ ก็จะไม่ละทิ้งสัจจะ

    (๒) สัจจอุปบารมี ได้แก่ สัจจะที่บำเพ็ญด้วยความหนักแน่นแน่นอน รักพระโพธิญาณยิ่งกว่าอวัยวะร่างกายของตน แม้จะสูญเสียคนอวัยวะร่างกาย ก็จะไม่ละทิ้งสัจจะ

    (๓) สัจจปรมัตถบารมี ได้แก่ สัจจะที่บำเพ็ญด้วยความหนักแน่นแน่นอน รักพระโพธิญาณยิ่งกว่าชีวิตของตน แม้จะมีอันตรายเกิดขึ้นแก่ชีวิต ก็จะไม่ละทิ้งสัจจะ
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ๑๐. ทานบารมี หมายถึง การให้เพื่อสงเคราะห์ผู้ที่ขาดแคลน เพื่อสงเคราะห์ผู้ที่ควรสงเคราะห์ เป็นการผูกมิตรภาพไมตรีจิต หรือเพื่อบูชาผู้ที่ควรบูชา เป็นการบูชาคุณหรือตอบแทนคุณ หรือเป็นการบำเพ็ญบุญในบุญเขต ในเบื้องต้นได้แก่การสงเคราะห์ผู้อื่นและสัตว์อื่นด้วยวัตถุสิ่งของ เรียกว่า "อามิสทาน" นับตั้งแต่ญาติพี่น้อง พวกพ้อง สมณะพราหมณ์ผู้ทรงศีล และสัตว์เดรัจฉาน ตามโอกาส และเหมาะสมแก่ฐานะของคนนั้นๆ

    สูงขึ้นไป ได้แก่ การให้ธรรมะเป็นทาน ตลอดจนการแนะนำ สั่งสอนให้ผู้อื่นคิดดีทำดี ให้เขาสามารถครองชีวิตอยู่ได้ด้วยความดีงาม เป็นการสงเคราะห์โดยธรรม เป็นการให้ปัญญาแก่เขาได้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องและมีคุณค่า เรียกว่า "ธรรมทาน"

    พระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาพุทธภูมิโพธิญาณ ได้ทรงบำเพ็ญทาน ทรงสั่งสมเป็นทานบารมีมาช้านาน ทานบารมีของพระองค์ ได้เต็มยิ่งขึ้นตามลำดับ ๓ ขั้น ดังนี้

    (๑) ทานบารมี ได้แก่ ทานที่บำเพ็ญด้วยการสละทรัพย์ โดยมีพระโพธิญาณเป็นเป้าหมาย หวงแหนพระโพธิญาณยิ่งกว่าหวงแหนคนรักและทรัพย์สมบัติ เพื่อพระโพธิญาณจึงยอมให้ทานได้แม้กระทั่งคนรักและทรัพย์สมบัติ

    (๒) ทานอุปบารมี ได้แก่ ทานที่บำเพ็ญด้วยการสละอวัยวะ หวงแหนพระโพธิญาณยิ่งกว่าหวงแหนอวัยวะร่างกาย เพื่อพระโพธิญาณจึงยอมให้ทานได้แม้กระทั่งอวัยวะร่างกาย

    (๓) ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ ทานที่บำเพ็ญด้วยการสละชีวิต หวงแหนพระโพธิญาณยิ่งกว่าหวงแหนชีวิต เพื่อพระโพธิญาณจึงยอมให้ทานได้แม้กระทั่งชีวิต

    ที่มา....ทศบารมี การบำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุพระโพธิญาณ
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    พระจุณฑิมหาโพธิสัตว์

    วันนี้ขอนำเสนอเรื่องของพระโพธิสัตว์ นะคะ

    พระจุณฑิมหาโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ที่สำคัญมากที่สุด องค์หนึ่งในพุทธศาสนาอุตตรนิกาย และยังถือเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีคนรู้จักมากที่สุดองค์หนึ่งด้วย หลายคนไม่เข้าใจ เมื่อเห็นภาพของพระจุณฑิมหาโพธิสัตว์ สำคัญผิดคิดว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ การที่บางแห่งกล่าวว่าพระจุณฑิมหาโพธิสัตว์ทรงเป็นนิรมาณกายหนึ่งของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ทั้งนี้เพราะนี่เป็นความเชื่อพระพุทธศาสนามหายานนิกายฌาน (นิกายเซน) ขณะที่นิกายอื่นถือว่าพระจุณฑิมหาโพธิสัตว์ และพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ไม่ใช่องค์เดียวกัน

    พระจุณฑิมหาโพธิสัตว์ ทรงมีพระนามเต็มว่า “จุณฑิสัปตโกฏิพุทธภควตี” ทรงเป็นพุทธมารดาแห่งพระพุทธเจ้าในตรีกาล (กาลทั้ง ๓ คือ อดีต, ปัจจุบัน และอนาคต) พระองค์ทรงมีบุญมีบารมีพ้นประมาณ อิทธิฤทธิ์สูงส่ง สามารถยังให้สรรพชีวิตสมปรารถนาได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านโลกียะหรือโลกุตตระ

    ในการสร้างรูปเคารพของพระจุณฑิมหาโพธิสัตว์นั้น มีตั้งแต่ปางที่มี ๒, ๔, .... จนกระทั่งถึง ๘๔ พระกร รวมทั้งสิ้น ๙ ปาง แต่โดยทั่วไปแล้วจะพบปางที่มี ๓ พระเนตร ๑๘ พระกรมากที่สุด ในคัมภีร์ “สัปตโกฏิจุณฑิมหาประภาธารณีสูตร” ได้พรรณนาวิธีการวาดภาพ พระจุณฑิมหาโพธิสัตว์ปาง ๑๘ กรไว้ ความว่า “ก่อนจะทำการวาด ให้ชำระร่างกายให้สะอาด จากนั้นสมาทานอุโบสถศีล ...” และยังได้อธิบายลักษณะของพระกรทั้ง ๑๘ ไว้ดังนี้

    [​IMG]
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    “ ทรงมีพระฉวีมีสีขาวเหลือง มี ๓ พระเนตร ฉลองพระองค์ภูษาสีขาวลายกงล้อพระธรรมจักร รอบพระวรกายเปล่งประกายพระรัศมี ทรงมี ๑๘ พระกรโดยที่ ๒ พระหัตถ์ตรงกลางกระทำจุณฑิมุทรา โดยที่พระหัตถ์ขวาที่เหลือทั้ง ๘ กระทำประทานพรมุทรา, ทรงพระขรรค์, ประคำ, ผลไม้, ขวาน, คชกุศ, วัชระ และมงกุฏ ส่วนพระหัตถ์ด้านซ้ายทรงฉัตร, ดอกบัว, คนโท, ปาศะ (บ่วงบาศ), ธรรมจักร, สังข์, แจกัน และคัมภีร์มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร …”

    “ทรงประทับอยู่เหนือปัทมอาสน์ ท่ามกลางมหาสมุทร โดยมีพญามังกร รองรับปัทมอาสน์นั้นอยู่ หน้าพระพักตร์ประดิษฐานกระถางสุคันธบูชา ...”

    คัมภีร์ “เศวตมณีมุขบท” ได้ให้อรรถาธิบายลักษณะของพระจุณฑิมหาโพธิสัตว์ไว้ความว่า

    “ ๓ พระเนตร หมายถึง พุทธจักษุ, ธรรมจักษุ และปัญญาจักษุ ทั้งยังหมายถึง พระวินัย, พระสูตร และพระอภิธรรม

    พระฉวีขาวเหลือง สีเหลืองคือแผ่นดิน อันหมายถึงสมาธิอันมั่นคงไม่หวั่นไหวดุจพื้นปฐพี สีขาวหมายถึงท้องน้ำ อันหมายถึงพระปัญญาคุณที่ไร้ประมาณดุจมหาสมุทร

    [​IMG]
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]

    ฉลองพระองค์ภูษาสีขาวลายกงล้อพระธรรมจักร สีขาวหมายถึง ความบริสุทธิ์ ลายกงล้อพระธรรมจักรหมายถึง การหมุนไปแห่งกงล้อพระธรรมจักร เพื่อแปรเปลี่ยนกิเลสให้เป็นพระโพธิญาณ

    พระวรกายทอแสงพระรัศมีส่องสว่างไปทุกทิศ หมายถึง การยังแสงแห่งปัญญาให้ส่องสว่างไปยังทศทิศ กำจัดเสียซึ่งความมืดมิดแห่งอวิชชา

    พระหัตถ์ทรงถือหอยสังข์สีขาว สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์แห่งพระมหากรุณาธิคุณ เสียงจาก (การเป่า) หอยสังข์ หมายถึงเสียงแห่งการประกาศธรรมอันยิ่งใหญ่ เพื่อประโยชน์แห่งสรรพชีวิต ...”
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ในคัมภีร์ “ปรัชญาปารมิตาศาสตรา” ซึ่งนิพนธ์โดย “พระนาคารชุนมหาโพธิสัตว์” อธิบายความหมายองค์ธรรม ๑๘ ประการแห่ง พระกรทั้ง ๑๘ ของพระจุณฑิมหาโพธิสัตว์ ไว้ดังนี้

    ๑. การไร้แล้วซึ่งอกุศลกรรมทางกาย

    ๒. การไร้แล้วซึ่งอกุศลกรรมทางวาจา

    ๓. การไร้แล้วซึ่งอกุศลกรรมทางใจ

    ๔. การไร้แล้วซึ่งมานะ

    ๕. การไร้แล้วซึ่งความไม่สงบแห่งจิต

    ๖. การเป็นอนาคาริก (ผู้ไม่ครองเรือน)

    ๗. ความเป็นผู้มีฉันทะมิรู้สิ้น

    ๘. ความเป็นผู้มีวิริยะมิรู้สิ้น

    ๙. ความเป็นผู้มีการภาวนามิรู้สิ้น

    ๑๐. ความเป็นผู้มีปัญญามิรู้สิ้น

    ๑๑. ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความหลุดพ้น (วิมุตติ) มิรู้สิ้น

    ๑๒. ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัศนะมิรู้สิ้น

    ๑๓. ความเป็นผู้มีกายกรรมทั้งปวงอันเกิดแต่ปัญญา

    ๑๔. ความเป็นผู้มีวจีกรรมทั้งปวงอันเกิดแต่ปัญญา

    ๑๕. ความเป็นผู้มีมโนกรรมทั้งปวงอันเกิดแต่ปัญญา

    ๑๖. ความเป็นผู้มีปัญญาอันไร้เครื่องกีดขวางในอดีตชาติ

    ๑๗. ความเป็นผู้มีปัญญาอันไร้เครื่องกีดขวางในอนาคตชาติ และ

    ๑๘. ความเป็นผู้มีปัญญาอันไร้เครื่องกีดขวางในปัจจุบันชาติ
     
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ในคัมภีร์ “จุณฑิธารณีสูตร” แสดงไว้ว่า พระพุทธองค์ทรงรำลึกอนาคตกาลว่า สืบไปภาคหน้าสรรพชีวิตจักหนาแน่นไปด้วยอกุศล อันจะนำมาซึ่งภัยและความทุกข์ยากเป็นอันมาก ด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อมวลสรรพชีวิต จึงทรงเข้าสมาธิอันมีนามว่า “จุณฑิสมาธิ” จากนั้นจึงทรงแสดง คาถาที่พระพุทธองค์ในอดีตอันมีจำนวนถึง ๗ โกฏิได้เคยแสดงไว้

    นั่นก็คือคาถาอันมีนามว่า “จุณฑิธารณี” ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤตดังนี้

    “นะมะฮ์ สัปตะนัม สัมมาสัมพุทธายะ โกฏินัม ตะทะยะธา อม จเล จุเล จุณเฑ สวาหา”

    โดยถ้าออกเสียงตามสำเนียงจีนกลางจะได้ว่า

    “นำมอ สะตอนัน ซำเมียวซำพุทธอ จฺวีจือนัน เตยยาทา อม เจอลี จุลี จุณที ซอพอเฮอ”

    (การออกเสียงบางแห่งอาจต่างไปจากนี้ ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะสาระสำคัญไม่ใช่การออกเสียง หากแต่อยู่ที่ใจของผู้ที่สวดเป็นสำคัญ)

    คาถา “จุณฑิธารณี” นี้ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ

    ท่อนแรกคือบทนมัสการ พระพุทธเจ้าทั้ง ๗ โกฏิ คือ นะมะฮ์ สัปตะนัม สัมมาสัมพุทธายะ โกฏินัม (นำมอ สะตอนัน ซำเมียวซำพุทธอ จฺวีจือนัน) และ

    ท่อนหลังคือ ตัวคาถา หรือที่เรียกว่า “หฤทัยคาถา” คือ ตะทะยะธา อม จเล จุเล จุณเฑ สวาหา (เตยยาทา อม เจอลี เจอลี จุณที ซอพอเฮอ) หรือ อม จเล จุเล จุณเฑ สวาหา ( อม เจอลี เจอลี จุณที ซอพอเฮอ)

    คาถา “จุณฑิธารณี” นี้ ต่างจากคาถาอื่นๆ กล่าวคือผู้สวดไม่ต้องเตรียมตัว หรือเตรียมการใดๆก่อนสวด สวดได้ทุกที่ทุกสถานการณ์ ผู้ใดหมั่นสวดสาธยาย สติปัญญาเพิ่มพูน ทรัพย์สินบริบูรณ์ พ้นจากภยันตรายทั้งปวง อายุยืนนานร่างกายแข็งแรง เป็นที่เคารพยำเกรงต่อมนุษย์, อมนุษย์, เทพยดาทั้งหลาย ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ มนุษย์, อมนุษย์, ภูตผี, เทพ, อาวุธ, ยาพิษ, โจร, สัตว์ร้าย, ขุนนาง ฯลฯ ไม่อาจทำอันตราย สวดครบ ๔ แสน ๖ หมื่นจบ จักได้พบพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ในความฝัน สวดครบ ๑ ล้านจบ เมื่อสิ้นอายุขัย จักสามารถท่องเที่ยวไปยังพุทธเกษตรทั้งทศทิศ
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    คาถา “จุณฑิธารณี” นี้ มีอุปเท่ห์มากมาย พรรณนาได้มิรู้สิ้น บัดนี้จักสาธกเล็กน้อยพอเป็นแนวทาง มาตรว่าเพาะปลูกได้ผลผลิตไม่ดี ใช้คาถานี้เสกน้ำรด พืชพรรณงอกงาม แม้ต้นไม้ที่ยืนต้นตายก็สามารถฟื้นคืน มาตรว่ามีคนป่วย หรือรู้สึกว่ามีวิญญาณร้ายคอยรบกวน ให้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระจุณฑิมหาโพธิสัตว์ แล้วนำเมล็ดผักกาดขาวมามาเล็กน้อย เสกด้วยคาถานี้แล้วจุดไฟ จากนั้นนำไปวางไว้ใกล้คนป่วยหรือที่ๆคิดว่ามีผีอยู่ จักช่วยสลายโรคร้าย ขับไล่สิ่งอวมงคล มาตรว่าเกิดภัยธรรมชาติหรือโรคระบาด ให้นำข้าวสารมาเสกด้วยคาถานี้ แล้วสาดไปรอบๆบริเวณ มาตรว่าปวดท้อง ให้นำน้ำสุกอุ่นผสมเกลือเล็กน้อย เสกด้วยคาถานี้ ๒๑ จบ แล้วนำมาดื่ม มาตรว่าพบสัตว์กำลังถูกฆ่าหรือทำร้าย ถ้าไม่มีทางช่วย ให้ภาวนาคาถานี้จักช่วยให้สัตว์เหล่านั้นเจ็บปวดลดน้อยลงได้ แม้ว่าสัตว์นั้นต้องตายลง ก็จะไปบังเกิดในสุคติภูมิ มาตรว่าเห็นคนกำลังจะทำบาปภาวนาคาถานี้จะช่วยให้เขาเหล่านั้นกระทำการไม่สำเร็จ ฯลฯ

    [​IMG]
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    หลายคนอาจสงสัยว่าคาถา “จุณฑิธารณี” ได้ผลจริงหรือไม่ ?

    คาถาและธารณีทั้งปวงในพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่มีจริงและสัมผัสได้จริง แต่ต้องอาศัยองค์ประกอบคือศรัทธา ,มหากรุณา และปัญญา ศรัทธาคือความเชื่อ กล่าวคือเชื่อมั่นว่าได้ผลจริง มหากรุณาคือ ความปรารถนาเพื่อให้สรรพชีวิตพ้นจากความทุกข์ กล่าวคือพ้นจากอบาย, ความอดอยาก, ทุกข์ยาก, โรคภัย ฯลฯ ว่าถ้าสวดด้วยความเห็นแก่ตัว ความโลภ เพื่อให้ตนครอบครัวของตนหรือพวกพ้องของตน ร่ำรวย, อายุยืน ก็จะได้ผลช้า และได้ผลน้อย ในด้านของการเจริญภาวนา การสวดคาถาธารณี ถือเป็นการเจริญภาวนาอย่างหนึ่ง โดยเมื่อจะเจริญภาวนา ควรจะอยู่ในที่สงัด จินตภาพถึงพระจุณฑิมหาโพธิสัตว์ในลักษณะดังที่กล่าวมาข้างต้น กระทำ "จุณฑิมุทรา" แล้วทำการสาธยายคาถา “จุณฑิธารณี” เมื่อนานวันเข้ามีความชำนาญภาพจะแจ่มชัดขึ้น จากพระโพธิสัตว์ที่เป็นเพียงภาพวาดหรือรูปเคารพ เราจะสามารถสัมผัสพระโพธิสัตว์ได้จริงๆ โดยไม่ใช่แค่การจินตนาการหรือมโนภาพในความฝัน

    อนึ่ง “จุณฑิธารณี” ได้ชื่อว่า “ราชันย์แห่งมนตรา” ด้วยพระมหาปณิธานแห่งพระจุณฑิมหาโพธิสัตว์ “จุณฑิธารณี” นี้จักครอบคลุมสรรพมนตร์ทั้งปวง บรรดามนตร์ที่มีในสรรพโลกธาตุ “จุณฑิธารณี” นี้เป็นเอก ไม่มีมนตร์อื่นใดยิ่งกว่า มาตรว่าชนใดจักสาธยายมนตร์ใดๆก็ตาม หากไม่สามารถจดจำได้หมด หรือไม่อาจสาธยายด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม พึงรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระจุณฑิมหาโพธิสัตว์ แล้วสาธยาย “จุณฑิธารณี” นี้ ด้วยพระมหาปณิธานจะยังให้ “จุณฑิธารณี” แปรเปลี่ยนเป็นมนตร์ต่างๆดังประสงค์ และมีผลานิสงส์ดังปรารถนาทุกประการ “จุณฑิธารณี” นี้ ได้นามว่า “มโนรสมนตรา” ด้วยเหตุที่ว่าจะสามารถยังให้สรรพชีวิตทั้งปวงสมปรารถนาทั้งทางโลกและทางธรรม โดยไร้แล้วซึ่งเครื่องกีดขวางทั้งปวง
     
  10. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    พระรัศมีของพระจุณฑิมหาโพธิสัตว์ เป็นรัศมีสีดั่งท้องฟ้า เมื่อเสกคาถาไปที่น้ำ, ข้าวสาร หรือเมล็ดมัสตาร์ดขาว ให้จินตภาพว่ารัศมีแห่งพระจุณฑิมหาโพธิสัตว์ ได้แทรกซึมลงไปในวัตถุดังกล่าว และพัฒนาไปเป็นลำดับจนกระทั่งจินตภาพว่าพระรัศมีอันเรืองโรจน์แผ่ไพศาลไปทั่วทั้งอนันตมหาจักรวาล ยังให้สรรพชีวิตทุกภพภูมิหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร

    "เพื่อผู้อื่นหรือเพื่อสรรพชีวิต" นี่คือหัวใจแห่งพระพุทธศาสนา และพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบรมศาสดา พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย คุณทำได้ ทุกคนทำได้ ไม่มีเหตุที่จะทำไม่ได้ เว้นแต่จะไม่ทำ คนมีความสามารถและคนทำกุศลในโลกนี้มีไม่น้อย แต่ที่จะทำเพื่อคนอื่น เพื่อสรรพชีวิต ... นับวันยิ่งจะเหลือน้อยลงทุกที ...

    [​IMG]

    “ก้มกราบสุสิทธิเป็นสรณะ น้อมเศียรบังคมสัปตโกฏิ

    บัดนี้ข้าฯ สรรเสริญมหาจุณฑิ พระปณิธานเมตตาคอยคุ้มครอง”

    คัดลอกมาจาก...http://www.saimahayana.com/Default.aspx?tabid=500&language=th-TH
     
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    มีมากมายหลายคนที่เข้ามา ณ ที่นี้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป แต่นั่นไม่ใช่สิ่งสำคัญที่เราจะมายึดติดไว้กับความคิดของตน

    ทุกคนล้วนแสวงหาทางหลุดพ้นออกจากกองทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น

    ความผิดพลาดทั้งบัณฑิตและปุถุชนล้วนเกิดขึ้นได้เหมือนๆ กัน นั่นคือหนทางที่ทุกคนต้องก้าวผ่านมันไปอย่างองอาจและกล้าหาญ

    เมื่อพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติและปัญญาที่สั่งสมมา จะเห็นได้ว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีเหตุมาจากการที่ผู้ขัดแย้งนั้นๆ ขาดซึ่ง อริยมรรค หรือพร่องในอริยมรรค

    ทุกคนล้วนเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น มีเมตตาต่อกัน ไม่แสวงหาลาภยศสรรเสริญจากความด้อยของเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย

    พิจารณาตน ตำหนิตน เพื่อความก้าวหน้าในทางธรรมของตน จะมีประโยชน์ต่อมวลหมู่สัตว์มากกว่าที่จะมาข้องกับความผิดพลาดของหมู่สัตว์

    บัณฑิตจึงไม่พึงเบียดเบียนกันและกัน ควรจะเกื้อกูลกันให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เจริญพรหมวิหารสี่ให้มากๆ จิตจะได้แจ่มใส อำนาจบารมีก็ไม่เที่ยง ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งใดที่มุ่งกระทำโดยมีรากเหง้ามาจากตัณหา ล้วนไม่ใช่สิ่งที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริงย่อมตกอยู่ในกฏแห่งไตรลักษณ์ทั้งสิ้น และผู้ที่ได้รับทุกข์นั้นๆ ก็คือผู้กระทำนั่นเอง มิใช่ผู้ใดเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  12. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สัมมาวาจา

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ วจีสุจริต4 (เว้นจาก วจีทุจริต4)
    การงดเว้นจากการพูดเท็จ
    งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
    งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
    งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
    เป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด


    หลักธรรมเกี่ยวกับสัมมาวาจา

    ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก

    ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้น แล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน

    ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษเพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ

    ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำ ที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐานมีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร

    รู้จักมิจฉาวาจา ว่ามิจฉาวาจา รู้จักสัมมาวาจาว่าสัมมาวาจา ความรู้นั้น เป็น สัมมาทิฐิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  13. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สัมมาวาจา ๒ อย่าง

    สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ

    สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค คือ ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้น จากวจีทุจริตทั้ง ๔ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่

    วาจาสุภาษิต

    วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน คือ

    วาจานั้นย่อมเป็นวาจาที่กล่าวถูกกาล
    เป็นวาจาที่กล่าวเป็นสัจ
    เป็นวาจาที่กล่าวอ่อนหวาน
    เป็นวาจาที่กล่าวประกอบด้วยประโยชน์
    เป็นวาจาที่กล่าวด้วยเมตตาจิต

    อีกนัยหนึ่ง
    วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๔ เป็น วาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และวิญญูชนไม่พึงติเตียน ย่อมกล่าวแต่คำที่เป็นสุภาษิต ไม่กล่าวคำที่เป็นทุพภาษิต ย่อมกล่าวคำที่เป็นธรรม ไม่กล่าวคำที่ไม่เป็นธรรม ย่อมกล่าวแต่คำอันเป็นที่รัก ไม่กล่าวคำอันไม่เป็นที่รัก ย่อมกล่าวแต่คำสัตย์ ไม่กล่าวคำเหลาะแหละ
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ธรรมะที่เกี่ยวข้อง

    จาก อภัยราชกุมารสูตร (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓)

    ตถาคต... ย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น

    อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น

    อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง วาจาที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น

    ตถาคตย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น

    ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น

    อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]
     
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    พุทธวจน..9 อาการในการเมื่อได้ฟังธรรมเพื่อการหลุดพ้น..

    [๔๕๔] ธรรม ๙ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๙ อย่างควรให้เจริญ ธรรม๙ อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม ๙ อย่างควรละ ธรรม ๙ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อมธรรม ๙ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเจริญ ธรรม ๙ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๙ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม๙ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๙ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ

    [๔๕๕] ธรรม ๙ อย่างที่มีอุปการะมาก เป็นไฉน ได้แก่ธรรมอันมีมูลมา แต่โยนิโสมนสิการ ๙ คือ เมื่อกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ปราโมทย์ย่อมเกิดปีติย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์ กายของผู้มีใจกอปรด้วยปิติย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง ผู้รู้เห็นตามเป็นจริง ตนเองย่อมหน่าย เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก ฯ


    นี่คือธรรม 9 ประการเพื่อการหลุดพ้น สรุปได้ดังนี้
    1.เมื่อฟังธรรมและเข้าใจ เกิดปราโมทย์ (แช่มชื่นยินดี)
    2.เกิดปิติ (อิ่มเอมใจ)
    3.มีความสงบ
    4.เกิดสุข
    5.จิตตั้งมั่น
    6.เห็นตามซึ่งความจริง
    7.เกิดความเบื่อหน่าย
    8.ถอนความยึดมั่น
    9.จิตหลุดพ้น

    ***เมื่อท่านได้สดับในธรรมแล้ว เกิด 9 อาการนี้หรือไม่ ถ้าเกิดนั่นหมายถึงท่านกำลังโน้มเอียง ลาดเอียงไปสู่ นิพพาน

    คัดลอกมาจาก...http://www.oknation.net/blog/buddha2600/2012/08/01/entry-2
     
  17. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    เห็นข้อที่ 7 ชัดมากกว่าข้ออื่นๆ ^_^
     
  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เมื่อเห็นไตรลักษณ์ที่หมุนเวียนอยู่อย่างนั้นบ่อยๆ มันก็เบื่อ เมื่อเบื่อซ้ำๆ จนใจยอมรับความเบื่อ (ถามตัวเองก่อนนะว่ามันเบื่ออย่างเดียว หรือว่ายังมีเบื่อบ้าง อยากบ้าง) จิตคลายกำหนัด จิตจะเริ่มมองหาอริยสัจสี่แล้ว หันมาสนใจ เหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลสและตัณหา นั่นเอง (ราคะ โทสะ โมหะ อุปาทาน) เมื่อเห็นเหตุแห่งทุกข์ที่มันวนเวียนอยู่ในจิตแล้ว (ปฏิจจสมุปบาท)

    เหตุแห่งทุกข์ ตัวหลักก็คือ ตัณหา ๓ ก็ระวังรักษาจิตไม่เข้าไปข้องเกี่ยวกับเหตุแห่งทุกข์นั้นๆ

    จิตหันมาเดินตามอริยมรรค อันเป็นหนทางพ้นทุกข์ กำกับด้วยกรรมบท ๑๐ เดินมรรคไปเรื่อยๆ ระหว่างนี้เทียบเคียงผลการปฏิบัติของตนด้วยสังโยชน์ ๑๐
     
  19. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เป็นผู้ดู อย่าเป็นผู้แสดง

    ระหว่างนี้มันยังคลายๆ ยึดๆ อยู่ ยังไม่เบ็ดเสร็จไปซะทีเดียว เผลอสติไม่ได้

    สิ่งสำคัญคือการเจริญมหาสติให้รู้เท่าทันตัณหา ๓ เมื่อเจริญมากเข้าจนกลายเป็นปกติ ก็จะเห็นธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสรรพสิ่ง เมื่อใจยอมรับกฏแห่งธรรมชาติแล้ว ก็จะเห็นธรรมดา

    เมื่อเห็นธรรมชาติและธรรมดาแล้ว ก็จะเห็นธรรมดาของทุกสรรพสิ่งที่เป็นไป (อิทัปปัจยตา) เห็นปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้มี ทำให้เป็น ชัดเจนเข้าไปในใจ จนจิตปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในอัตตา หยุดการตำหนิกรรม หยุดต่อกรรม หยุดก่อเวร หยุดต่อภพชาติ เพราะว่าละสมุทัยได้แล้ว

    ต่อมาก็หันมาละกิเลสละเอียดภายในที่ยังหลงเหลืออยู่

    เราเห็นแค่นี้แหละ ปฏิบัติเอง รู้เอง เห็นเอง หลุดเอง แต่ละขั้นตอนก็จะมีอุบายธรรมหลายๆ วิธี เลือกใช้กันได้ตามถนัด ได้แก่ พระกรรมฐาน ๔๐ กอง แบ่งเป็น ๗ หมวดคือ

    ๑. กสิณกรรมฐาน ๑๐ อย่าง
    ๒. อสุภกรรมฐาน ๑๐ อย่าง
    ๓. อนุสสติกรรมฐาน ๑๐ อย่าง
    ๔. พรหมวิหารกรรมฐาน ๔ อย่าง
    ๕. อรูปกรรมฐาน ๔ อย่าง
    ๖. อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ อย่าง
    ๗. จตุธาตุววัฏฐาน ๑ อย่าง
    รวมทั้ง ๗ หมวดเป็น ๔๐ อย่างพอดี

    หลักการนั้นใช้หลักการเดียวกันในการพิจารณาสภาวะธรรม แต่สภาวะธรรมนั้นเป็นของใครของมัน ไม่เหมือนกัน การเห็นธรรมและเข้าถึงธรรมของแต่ละบุคคลจึงต่างกัน เพราะเหตุปัจจัยที่ต่างกันนั่นเอง

    หากถามว่าธรรมอยู่ที่ไหน ขอบอกว่าอยู่ที่กายสังขารนั่นแหละ อยู่ที่ขันธ์ ๕ ที่แต่ละจิตครอบครองไว้นั่นแหละหนอ
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    วิธีการถอดถอนอวิชชาออกจากใจ

    ท่านว่าปัจจยาการมีแยกเป็นสองนัย คือที่แสดงไว้ในตำรานั้น ท่านแสดงเป็นความเกี่ยวโยงแห่งความเจริญของอวิชชา หนึ่ง แสดงความดับไปโดยลำดับแห่งอวิชชาจนไม่เหลือหลอ หนึ่ง ถ้าเทียบก็เหมือนแบบแปลนแผนผังของบ้านเรือนที่ผู้จะปลูกบ้านสร้างอาคารใด ๆ จำต้องทำตามแปลนที่นายช่างทำเป็นแบบไว้แล้ว จนสำเร็จรูปเป็นบ้านเรือนขึ้นมา แม้การรื้อถอนบ้านเรือนจะไม่มีแปลนบอกไว้เหมือนวิธีการดับอวิชชาก็ตาม แต่ผู้รื้อถอนก็ย่อมคำนึงถึงวิธีการรื้อถอนด้วยสติปัญญาอันเป็นธรรมคู่ควรแก่เหตุผลด้วยดีก่อนทำการ

    อวิชชาในตำราเป็นเพียงความบอกเล่าว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ จนถึง สมฺภวนฺติ เป็นฝ่ายสมุทัยล้วน ๆ และการดับอวิชชาเพียงอันเดียว สังขาร วิญญาณ นามรูป ฯ ย่อมดับไปตาม ๆ กัน ไม่มีกิเลสตัวใดเหลืออยู่พอจะเป็นเชื้อแห่งภพชาติต่อไป อันเป็นฝ่ายนิโรธ ดังบทสุดท้ายแห่งอวิชชาว่า นิรุชฺฌนฺติ ทั้งฝ่ายส่งเสริมอวิชชาให้ติดต่อก่อแขนงกลายเป็นภพชาติ เป็นสัตว์เป็นบุคคล จนถึงความชราคร่ำคร่าและสลายไปในที่สุด ทั้งฝ่ายบำราบปราบปรามอวิชชาให้สิ้นไปจากใจ หมดการต่อภพต่อชาติ ดังท่านที่ทำพระนิพพานให้แจ้งด้วยการดับอวิชชามีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

    ทั้งสองนัยนี้ท่านแสดงเรื่องหรือโครงร่างความเป็นไปของอวิชชา และการดับอวิชชาไว้เท่านั้น มิได้แสดงวิธีส่งเสริมอวิชชาว่าทำอย่างไร อวิชชาจึงมีกำลังกำเริบถึงกับพาสัตว์ให้เกิดตายไม่มีที่สิ้นสุดไว้ และมิได้แสดงวิธีการระงับดับอวิชชาว่าทำอย่างไร อวิชชาจึงถูกตัดกำลังลงโดยลำดับ จนดับไปจากใจโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถทำใจที่อวิชชาไปปราศแล้วให้เกิดตายต่อไปอีกได้ ในปัจจยาการที่แสดงไว้ก็มีเพียงเท่านี้ท่านว่า

    ผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดอวิชชาให้สิ้นไป จำต้องยึดอริยสัจสี่หรือสติปัฏฐานสี่อันเป็นที่รวมแห่งอวิชชาเป็นทางดำเนิน ท่านเองว่าเมื่อจิตก้าวขึ้นสู่ความว่างเปล่าจากรูปธรรมทั้งหลายแล้ว ก็มีแต่ตามติดสังขารความปรุงของใจกับวิญญาณที่สัมผัสรับรู้จากสิ่งต่าง ๆ และเวทนาจิตที่แสดงผลให้ปรากฏจากการปรุงการรับรู้ทางวิญญาณ ด้วยสติกับปัญญาที่มีอยู่ในที่แห่งเดียวกันเท่านั้น เพราะสังขารก็ปรุงจากจิต วิญญาณก็รับทราบจากจิต ต่างก็ดับลงที่จิต เมื่อสติตามทันปัญญาค้นพบสาเหตุและวิพากษ์คลี่คลายทันกับเหตุการณ์ สิ่งเหล่านั้นย่อมกำเริบรุนแรงไปไม่ได้ การตามรู้สังขารวิญญาณว่าปรุงเรื่องอะไร รับทราบเรื่องอะไร เพียงเท่านั้นยังไม่สากับใจที่มีสติปัญญาอัตโนมัติเป็นพี่เลี้ยงอยู่ตลอดเวลาไม่เผลอตัว ยังสามารถขุดค้นลงถึงต้นตอที่เกิดแห่งสังขารและวิญญาณอีกว่าเกิดมาจากที่ไหน อะไรเป็นเครื่องผลักดันให้เกิดอยู่ไม่หยุดไม่ถอย ตัวที่ผลักดันนี้คือตัวอวิชชาแท้
     

แชร์หน้านี้

Loading...