>>> อวดรู้ (รู้แล้วได้อะไร) <<<

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 19 กรกฎาคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    การพิจารณาอวิชชาเพื่อถอนรากถอนโคนจริง ๆ จึงอยู่ที่ตรงนี้ คือ ขุดค้นลงที่ใจอันเป็นเรือนรังของอวิชชาฝังจมอยู่นั่นแล จึงเห็นตัวอวิชชาแตกกระจายสลายตัวลงในขณะที่มหาสติมหาปัญญาเข้าถึงตัว นี้คือการพิจารณาอวิชชาแท้ และคือวิธีการถอดถอนอวิชชาออกจากใจตามทางมรรคทางผลที่พระศาสดาทรงสั่งสอนไว้แท้ ไม่เพียงไปอ่านแต่แบบแผนตำรับตำราแล้วก็มาถกเถียงกันจนตาดำตาแดงหาที่สิ้นสุดยุติมิได้ พอให้อวิชชารำคาญและหัวเราะเปล่า ๆ โดยไม่มีกิเลสแม้ตัวเดียวที่ถูกกระทบกระเทือนจากการถกเถียงกันพอผิวถลอกปอกเปิกไปบ้างเลย เราเป็นชาวพุทธที่มีศาสดาองค์เอกเป็นครูสั่งสอน จึงควรมีเหตุมีผลเป็นเครื่องตามเสด็จบ้าง อย่ามีแต่ทิฐิมานะความรู้ความเห็นดิ่งลงไปถ่ายเดียว ทำนองกิเลสบาปธรรมทั้งหลายอยู่ในตำรา แล้วก็มาถกเถียงกันแทนการแก้กิเลส สิ่งที่ได้รับจึงมักมีแต่ลมปากไม่มีเนื้อมีหนังติดมือมาบ้างเลย ถ้าเป็นทำนองนี้เรียนมากเท่าไรรู้มากเท่าไร ขึ้นเวทีโต้เถียงจัดเจนเพียงไร ก็ยิ่งเหลวไปเพียงนั้น ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายของปราชญ์ตามทางศาสดาและศาสนธรรมเลย

    อวิชชาตัณหาจริง ๆ มันอยู่ที่ใจ สร้างโครงร่างขึ้นที่ใจคนใจสัตว์ และทำการระงับดับลงที่ใจเรานี่เท่านั้น ไม่มีที่อื่นเป็นที่เกิดและสร้างโครงร่างตลอดความดับของอวิชชาตัณหาทั้งมวล ขณะอวิชชาดับลงอย่างราบคาบแล้วนั่นแล จึงเห็นความโง่ความหลงงมงายของตัวของมนุษย์และของสัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ใต้อำนาจแห่งความบังคับทรมานของมัน ว่าแสนโง่แสนลำบากตลอดกาล แม้จะมีความสุขบ้างก็ชั่วขณะราวฟ้าแลบเท่านั้น แต่สัตว์โลกก็หลงพอใจกันและอยู่กันอย่างเพลิดเพลิน ไม่คิดถึงภัยว่าจะมีแก่ตัวหนักเบามากน้อยเพียงไร

    คน ๆ เดียวกัน จิตดวงเดียวกัน เมื่อถูกขัดเกลาด้วยดีจนเต็มภูมิแล้ว ย่อมผิดกันอยู่มากยิ่งกว่าฟ้ากับดิน จิตที่พ้นจากอำนาจอวิชชานั้นเป็นจิตที่ไม่อยู่ในขอบเขตแห่งข้อบังคับของสิ่งใดในโลกสมมุติ เป็นจิตที่ทรงอิสระสุดส่วน เกินความคาดหมายที่จะด้นเดาได้ถูก นั่นแลที่ท่านเรียกว่าแดนแห่งความเกษมสำราญ เป็นภูมิของท่านผู้ทรงอำนาจเหนือสมมุติทรงไว้และเสวยกัน ถ้าอยากรู้อยากเห็นก็อย่าพากันขี้เกียจอันเป็นเหยื่อล่อของกิเลสตัณหาอวิชชาทั้งมวล เราเป็นภิกษุบริษัทที่พร้อมแล้วทุกอย่าง จงพากันตื่นตัว อย่ามัวเอากิเลสออกอวดกัน ด้วยอากัปกิริยาที่ขัดต่อธรรมเครื่องนำออกจากกองทุกข์ จะเสียชาติที่เกิดซึ่งเป็นภาชนะที่เหมาะแก่ศาสนธรรมอยู่แล้ว ในชาติและเพศที่เป็นอยู่ขณะนี้

    คัดลอกจากปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    ที่มา...วิธีการถอดถอนอวิชชาออกจากใจ « สมาธิเป็นเหตุเกิดปัญญา
     
  2. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    สังเกตว่าผู้ที่มี มานะ มากมักจะไม่ค่อยผ่าน แปลกดีนะ ทั้งๆที่เป็นสังโยชน์ลำดับท้ายๆ

    แต่คนที่มีเกินพอดี กลับแทบไม่ผ่านเข้าโซนเลย ผู้ที่ผ่านมักเป็นผู้ที่ไม่ค่อยถือตัวถือตน

    ไม่ได้คิดว่าตัวเองเรียนมามาก มาน้อย นอบน้อมในตัวเอง ยอมรับฟังผู้อื่น พิจารณาธรรมไปเรื่อยๆ
     
  3. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    เป็นผู้ดู อย่าเป็นผู้แสดง

    แบบนี้ทำอยู่เหมือนกัน

    คิดก่อนที่จะพูด ก่อนที่จะทำ โดยเอาไปเทียบเคียงกับศีล กรรมบท10

    และพิจารณาว่า สิ่งที่จะพูด ที่จะทำ มีประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือปล่าว มีโทษต่อผู้อื่นหรือปล่าว

    เช่น เราพิมพ์ข้อความลงไป จะคิดไปว่า ในระยะยาว ระยะสั้น ข้อความนี้เกิดโทษหรือไม่

    ถึงมันจะเป็นความจริง แต่ถ้าอาจเกิดโทษ ก็จะเว้น เพราะเป็นจุดที่ต้องระวัง กรรมทาง วาจา กับ ความคิดแล้ว

    ส่วนสิ่งที่มากระทบ ก็ ดู รู้ วาง ไม่เอาจิตไปจับ ทำไปตามหน้าที่ แต่บางครั้งก็เพิ่มความสนุกนิดหน่อย โดย ดู รู้ แล้วก็คอยดูว่าจิตจะเกิดความรู้สึกแบบใด แล้วค่อยใช้กรรมฐานแ้ก้
    ก่อนที่จะวาง
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ถูกค่ะ เราก็ปฏิบัติของเราไปเรื่อยๆ เหมือนกันหนอ ไม่เคยตั้งเป้าอะไร แค่ปฏิบัติไม่ให้ใจเราเป็นทุกข์และเก็บกักทุกข์ไว้นาน รู้แค่เพียงว่าสิ่งใดทำแล้วใจเบิกบานเราก็ทำ สิ่งใดทำไปแล้วใจเป็นทุกข์เราก็ไม่ทำ ไม่คิด ไม่เป็น ถอยออกมาจากสิ่งนั้น

    เพราะว่าเรายังโง่อยู่...๕๕๕
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ถ้าคุณ hastin เห็นเหตุแห่งทุกข์ชัดเจน เห็นธรรมชาติและธรรมดาชัดเจนแล้ว ก็จะหยุดกรรมนั้นๆ ได้เอง ทั้งกรรมชั่วและกรรมดี เพราะว่ามันไม่มีอะไร ว่างเปล่าเหมือนเดิม นอกจากว่าจิตผู้นี้มีกรรมสัมพันธ์กับเรา และเป็นหน้าที่ๆ เราต้องช่วยเหลือ มองเห็นอดีตและอนาคตของผู้นั้น

    จะเห็นได้ว่า ระยะหลังๆ มานี้ เราจะไม่ค่อยไปยุ่งกับจริยาของผู้อื่น เพราะได้มองเห็นแล้วว่าสิ่งนั้นมันเป็นวงจรของภพชาติ แต่ก็ยังมีบ้างเล็กๆ เท่านั้น ไม่ต่อความยาว หันมาดูภายในมากขึ้น รักษาอารมณ์ภายในอย่างเดียว

    เราก็ยังเหลือปฏิฆะกับมานะเหมือนกันหนอ แต่เราทันมันขึ้น และมองเห็นว่ายังมีหลงเหลืออยู่ พยายามลดละให้ได้
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ทั้งหมดทั้งมวลก็มาอยู่ที่กายกับใจนี่แหละ
    กาย..... เปรียบเหมือนตู้พระไตรปิฎก
    ใจ....... คือผู้ศึกษาค้นคว้าเข้าไปรู้
    และผู้ที่รู้ก็คือ "ใจ" นั่นเอง
     
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ยุ่งกับคนอื่นเท่าที่จำเป็น เรียนรู้กายใจตัวเองให้มาก

    หลวงพ่อปราโมทย์​ : ตัวนึงก็คือเรื่องไม่คลุกคลี ไม่คลุกคลีก็เรื่องสำคัญถ้าเราจะภาวนาให้พ้นทุกข์จริงๆ วันๆ ยุ่งกับคนอื่นทั้งวัน ใจไม่สงบ หลวงพ่อตอนเป็นฆราวาสเลิกงานแล้วก็กลับบ้าน กินข้าวอาบน้ำอะไรเรียบร้อย เวลาที่เหลือมีเวลาภาวนา ถ้าวันไหนเหนื่อยมากก็พักผ่อนนิดหน่อยอ่านหนังสือการ์ตูนอะไรเนี้ย ดูข่าวนิดหน่อยไม่ดูเยอะ หลังข่าวไม่ดูมีแต่นิยาย ดูแล้วจิตเสีย กิเลสที่ยังไม่เกิดก็เกิด กิเลสที่เกิดแล้วก็แรงขึ้น กุศลที่มีก็หายไป กุศลที่ยังไม่เกิดก็ไม่ยอมเกิดเลยมัวแต่ดูนิยาย ใจฟุ้งซ่าน

    เนี่ยรักษาตัวมาด้วยเรื่องนี้นะ ไม่ยุ่งกับใคร เวลาทำงานต้องยุ่งกับคนก็ยุ่งไปตามหน้าที่ ติดนิสัยมาจนถึงวันนี้นะ ใครบอกได้ว่าเป็นคนสนิทหลวงพ่อพูดออกมั้ย พูดไม่ออก ไม่มีลูกศิษย์เอกลูกศิษย์โท เท่าๆกันน่ะ ถึงมาเรียนถึงเวลาก็ออกไป หลวงพ่อไม่คลุกคลีกับโยมหรอกนะ อย่าว่าแต่โยมเลยกับพระถึงเวลาวัดหลวงพ่อมีระเบียบนะ พระห้ามเดินไปตามกุฏิซึ่งกันและกันนะ ยิ่งยามวิกาลเนี่ย ถ้าเดินไปนั่งคุยกันนิมนต์ไปคุยที่นอกวัดเลย

    แต่ว่าเจ็บไข้ได้ป่วยต้องดูแลกันนะคนละเรื่อง ของเราถ้าวันๆยุ่งกับคนมากภาวนาไม่ขึ้นหรอก ยุ่งเท่าที่จำเป็น ทำธุรกิจทำอะไรก็จำเป็น ไปเลี้ยงลูกค้าถือว่าคลุกคลีมั้ย ไม่ใช่ มีธุรกิจต้องไปเลี้ยงกับลูกค้ากินเลี้ยง นั่นคืองานไม่ใช่เรื่องคลุกคลี คลุกคลี(คือ)ไม่จำเป็นไม่มีธุระอะไรก็ยังไปยุ่งกับคนอื่นเค้า พวกเราหลายคนภาวนาแล้วชอบยุ่งคนอื่น ภาวนาไม่ขึ้นหรอก งั้นเอาเวลามาเรียนรู้กายเรียนรู้ใจตัวเองให้มาก

    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    แสดงธรรม ณ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
    อ. ศรีราชา จ.ชลบุรี
    แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔

    มาจาก...ยุ่งกับคนอื่นเท่าที่จำเป็น เรียนรู้กายใจตัวเองให้มาก | Dhammada.net หลวงพ่อปราโมทย์ : ธรรมะ คือ ธร
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    วิธีฝึก การละสักกายทิฏฐิ(ทิฏฐิสังโยชน์)

    พระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร?

    ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป
    เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ
    เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
    ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?
    ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
    ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า
    พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
    ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?
    ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
    ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
    กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

    หมายเหตุ:

    คำสอนนี้ เป็นสภาวะ โยนิโสมนสิการ อาศัย การคิดพิจรณาเป็นตัวช่วย ในการกดข่มใจ ไม่ให้สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เหตุจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย

    การหยุดสร้างเหตุนอกตัว เป็นเหตุให้ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

    กิเลสสังโยชน์ต่างๆ ถูกทำให้เบาบางลง ตามเหตุปัจจัย จนกระทั่ง ดับหายไปหมดสิ้น(เชื้อ) ตามเหตุปัจจัย

    คัดลอกจาก วิธีฝึก การละสักกายทิฏฐิ(ทิฏฐิสังโยชน์) | Walailoo's Blog
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    นิทเทศแห่งมัคคอริยสัจ

    นิทเทศ ๑๙ ว่าด้วย สัมมาวายามะ
    (๒๖ เรื่อง)
    หมวด ค. ว่าด้วย อุปกรณ์-เหตุปัจจัย ของสัมมาวายามะ
    บุพพภาคแห่งการทำความเพียรเพื่อความสิ้นอาสวะ

    (อีกนัยหนึ่ง)

    ภิกษุ ท ! ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่นไซร้, เมื่อเป็น เช่นนั้น เธอพึงทำความสำเหนียกว่า "เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตน" ดังนี้เถิด.

    ภิกษุ ท ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท เปรียบเหมือนชายหนุ่มหญิงสาว ที่ชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนที่แว่นส่องหน้า หรือที่ภาชนะน้ำอันบริสุทธิ์หมดจดใสสะอาด ถ้าเห็นธุลีหรือต่อมที่หน้า ก็พยายามนำธุลีหรือต่อมนั้นออกเสีย ถ้าไม่เห็นธุลีหรือต่อม ก็ยินดีพอใจว่า เป็นลาภหนอ
    _____________________

    ๑. โยคกรรม คือ การกระทำความเพียรอย่างมีระบบอย่างแข็งขันเต็มที่ ในรูปแบบหนึ่งๆ เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตามความมุ่งหมาย เรียกกันง่ายๆว่า โยคะ ; เป็นคำกลางใช้กันได้ในระหว่างศาสนาทุกศาสนา.

    บริสุทธิ์ดีแล้วหนอ, ข้อนี้ฉันใด ; ภิกษุ ท ! การพิจารณาของภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือจะมีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายในเมื่อเธอพิจารณาว่า :-

    "เราเป็นผู้ได้เจโตสมถะในภายใน@๑ หรือหนอ; หรือว่า ไม่ได้เจโตสมถะในภายใน. เราเป็นผู้ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา@๒ หรือหนอ; หรือว่า ไม่ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา." ดังนี้.

    ภิกษุ ท ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า "เราเป็นผู้ได้เจโตสมถะใน ภายใน แต่ยังไม่ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา" ดังนี้แล้ว. ภิกษุนั้น พึงตั้งอยู่ในเจโตสมถะในภายในแล้วประกอบโยคกรรมเพื่อการได้อธิปัญญาธัมวิปัสสนา.ภิกษุนั้น ครั้นสมัยอื่น ก็เป็นผู้ได้เจโตสมถะในภายในด้วย ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาด้วย.

    ภิกษุ ท ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า "เราเป็นผู้ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาในภายใน แต่ยังไม่ได้เจโตสมถะในภายใน" ดังนี้แล้ว. ภิกษุนั้น พึงตั้งอยู่ในอธิปัญญา ธัมมวิปัสสนาแล้วประกอบโยคกรรมเพื่อการได้เจโตสมถะในภายใน.ภิกษุนั้น ครั้นสมัยอื่น ก็เป็นผู้ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ได้เจโตสมถะในภายในด้วย
     
  10. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ๑. คำนี้ หมายถึงความสงบแห่งจิตด้วยอำนาจของสมาธิ ที่เป็นไปถึงที่สุดแห่งขั้นตอนที่อาจใช้เป็นรากฐานแห่งวิปัสสนาได้ เพราะเป็นเรื่องของจิตจึงเรียกว่า เป็นไปในภายใน.
    ๒. การเห็นแจ้งในธรรมด้วยอำนาจปัญญาอันยิ่ง ถึงขนาดเห็นความจริงในขั้นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แห่งสิ่งนั้นๆ.


    ภิกษุ ท ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า "เรายังไม่ได้เจโตสมถะในภายใน ยังไม่ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา" ดังนี้แล้ว. ภิกษุนั้น พึงกระทำซึ่งฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬหี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อได้เฉพาะซึ่งกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้น นั่นเทียว เช่นเดียวกับบุคคลผู้มีเสื้อผ้าหรือศีรษะอันไฟลุกโพลงแล้ว จะพึงกระทำฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬหี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ อันแรงกล้า เพื่อจะดับไฟที่เสื้อผ้าหรือที่ศรีษะนั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น,ภิกษุนั้น ครั้นสมัยอื่นอีก ก็เป็นผู้ได้เจโตสมถะในภายในด้วย ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาด้วย.

    ภิกษุ ท ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า "เราเป็นผู้ได้เจโตสมถะใน ภายใน ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา" ดังนี้แล้ว, ภิกษุนั้น พึงตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ แล้วประกอบโยคกรรมเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป.


    -ทสก.อํ. ๒๔/๑๐๔/๕๔.

    ที่มา...อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย
     
  11. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    คุณนุคช่างเป็นผู้รอบรู้มากนะคะ
    มาอ่านทีไรได้ความรู้ใหม่ๆทุกทีเลยค่ะ
    ขอบพระคุณมากๆนะคะ
     
  12. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ขอบคุณค่ะ คุณติงติง ให้เกียรติเกินไปค่ะ
    เราไม่ได้รู้อะไรมากมายหรอก
    แต่เป็นคนที่ชอบหาวิชชาและสนใจให้เรื่องเหล่านี้
    พอเจออะไรดีๆ ก็นำมาแบ่งปันกันค่ะ
     
  13. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    เป็นธรรมทานที่มีคุณค่ามากค่ะ
    เพราะคนมาอ่านจำนวนมาก
    และหากมีใครนำไปปฏิบัติจนเกิดผลดีกับตนเองและกับคนรอบข้าง
    ก็จะเป็นกุศลมหาศาลค่ะคุณนุค
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    มงคลที่ 30 สนทนาธรรมตามกาล

    ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย
    เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล
    เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล
    ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร


    ทำไมจึงต้องสนทนาธรรมตามกาล ?

    “ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของคน” นี่คือ พุทธวจนะที่แสดงให้เห็นคุณค่าของปัญญา เพราะขีวิตคนนั้นมีปัญหามาก ปัญหาเหล่านั้นล้วนต้องแก้ด้วยปัญญา ใครมีปัญญามากก็เหมือนมีแก้วสารพัดนึกไว้ในตัว ย่อมสามารถฝ่าฟันอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ได้โดยง่าย

    ปัญญาเกิดได้จาก 2 เหตุใหญ่ คือ

    1.จากการฟังธรรมของกัลยาณมิตร ผู้มีปัญญารู้จริง

    2.จากการพิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคาย

    วิธีลัดที่จะทำให้เกิดปัญญาอย่างรวดเร็ว คือ การสนทนาธรรมตามกาล ซึ่งเป็นการบังคับให้ตนเองต้องทั้งฟังทั้งพูด ต้องเป็นนักฟังที่ดี ฟังผู้อื่นพูดด้วยความตั้งใจ ฟังแล้วก็ต้องพิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคายตามไปทันที สงสัยอะไรก็สามารถซักถามได้ นอกจากนั้นถ้าตนเองมีความรู้ในธรรมะเรื่องใดก็นำมาพูดเล่าให้ผู้อื่นฟังได้ด้วย แต่ทั้งหมดนี้จะต้องทำอย่างระมัดระวัง มิฉะนั้นจะเกิดโทษมากกว่าคุณ

    สนทนาธรรมตามกาลคืออะไร ?

    การสนทนาธรรมตามกาล คือ การพูดคุยซักถามธรรมะซึ่งกันและกัน ระหว่างคน 2 คนขึ้นไป มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดปัญญาโดยรู้จักเลือกและแบ่งเวลาให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ได้รับความเบิกบานใจ มีความสุขความเจริญและบุญกุศลไปในตัวด้วย

    ในพระพุทธศาสนา คำว่า “ธรรม” มีความหมายกว้าง อยู่ 2 ประการ คือ

    1.ธรรมหมายถึงความจริงตามธรรมชาติ เช่น คนเราต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย นี่เป็นธรรมะ คือความเป็นจริงตามธรรมชาติ

    2.ธรรมหมายถึงความดีความถูกต้อง เช่น การให้ทานเป็นความดี การรักษาศีล มีเมตตา กรุณา เป็นความดี ความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่เป็นความดี ใครปฏิบัติตามสิ่งเหล่านี้เรียกว่าปฏิบัติธรรม

    การสนทนาธรรมที่ถูกต้อง จึงหมายถึง การสนทนาให้รู้ว่าสิ่งใดเป็นอกุศลธรรมความชั่ว จะได้ละเว้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลธรรมความดีจะได้ตั้งใจทำให้มาก และสิ่งใดเป็นอัพยากตธรรม คือ ความจริงตามธรรมชาติไม่ดีไม่ชั่ว ก็รู้เท่าทันทุกประการ จะได้ไม่หลงเข้าใจผิดให้เกิดทุกข์
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ความยากในการสนทนาธรรม

    การสนทนาธรรม หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “คุยธรรมะ” นั้นดูเผินๆ ก็ไม่น่ายาก ก็เหมือนคนมาคุยกันตามธรรมดานั้นแหละ เราก็คุยกันออกบ่อยไปเพียงแต่เรื่องที่คุยเป็นเรื่องธรรมะเท่านั้น แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่ดูเบาในการสนทนาธรรม พูดคุยธรรมะกันได้ไม่นานก็มักมีเรื่องวงแตก กันอยู่บ่อยๆ พ่อลูกนั่งดื่มเหล้าคุยธรรมะกันพ่อบอกกินยาถ่ายพยาธิไม่บาป เพราะไม่เจตนาฆ่า ลูกบอกบาปเพราะรู้ว่ามันจะต้องตายก็ยังไปกินยาถ่าย เถียงกันไปเถียงกันมาไม่กี่คำ พ่อคว้าปืนลูกซองไล่ยิงเสียรอบบ้าน อย่างนี้ก็มี นี่ก็เพราะดูเบาในการสนทนาธรรม

    ความยากในการสนทนาธรรมนั้นเป็นเพราะ

    1.คู่สนทนาต้องพูดธรรมะเป็น คือ เมื่อเข้าใจอย่างไรแล้ว ก็สามารถถ่ายทอดเป็นคำพูดให้เขาเข้าใจตามนั้นได้ด้วย โดยยึดหลักการพูดในมงคลที่ 10 มีวาจาสุภาษิตเป็นบรรทัดฐาน จะได้ไม่เกิดการแตกร้าวเข้าใจผิดแก่ผู้ฟัง คือ

    1.1 เรื่องที่พูดต้องเป็นเรื่องจริง
    1.2 เรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องมีประโยชน์
    1.3 ต้องพูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ
    1.4 ต้องพูดถูกกาลเทศะ
    1.5 ต้องพูดด้วยจิตเมตตา

    การพูดธรรมะนั้นจะต้องยึดเอาความถูกต้องเป็นหลัก ไม่ใช่พูดเอาความถูกใจ คนส่วนมากในโลกนี้ชอบให้เขาชม แต่ว่าสนทนาธรรมกันแล้วมัวไปนั่งชมอยู่อย่างเดียว “คุณก็เก่ง ฉันก็เก่ง” เดี๋ยวก็ได้บ้ากันทั้งคู่ แต่ก็ไม่ใช่มานั่งติอย่างเดียว “คุณนิสัยอันโน้นก็ไม่ดี อันนี้ก็ไม่ดี” คนเรายังไม่หมดกิเลส เดี๋ยวก็ทนกันไม่ได้ ยิ่งถ้าแถมมีการยกตนข่มท่านเข้าไปอีก หรือไม่ก็ยกสำนักมาอวดกัน “ถึงฉันไม่เก่ง อาจารย์ฉันก็เก่งนะ” อะไรทำนองนี้ เดี๋ยวก็ผูกใจเจ็บกัน สนทนาธรรมไปได้ 2-3 คำ จะกลายเป็นสนทนากรรมไป จะต้องมีความพอเหมาะพอดี รู้จักใช้วาจาสุภาษิต

    2.คู่สนทนาต้องฟังธรรมเป็น การฟังธรรมนี่ดูเผินๆ เหมือนจะง่าย ถึงเวลาก็แค่ไปนั่งฟังๆไม่เห็นจะมีอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วการฟังธรรมะที่ถูกต้องคือ ฟังด้วยความพิจารณา แต่การรู้จักควบคุมใจให้พิจารณาตามธรรม หยิบยกเอาประโยชน์จากการฟังนั้นยาก ยากกว่าการพูดธรรมะใหคนอื่นฟังหลายเท่า ที่ว่ายากนั้นก็เป็นเพราะ
    2.1 ยากที่จะควบคุมใจให้อยากฟังธรรม เพราะการฟังธรรมนั้นไม่สนุกเหมือนการไปฟังละคร ฟังเพลง ถ้าไม่รู้จักควบคุมตนเองฟังไปได้สักนิด หนังตาก็เริ่มหนัก พาลจะหลับเอา หรือไม่อย่างนั้นก็นั่งใจลอย คิดไปถึงเรื่องอื่น มีผู้เปรียบว่า การควบคุมใจให้อยากฟังธรรมะนั้น ยังยากกว่าคุมลิงให้นั่งนิ่งๆ เสียอีก
    2.2 ยากที่จะยอมรับธรรมะที่ได้ยินนั้นเข้าไปสู่ใจ ทั้งนี้ก็เพราะกิเลสต่างๆ ในตัวเรา เช่น ความหัวดื้อ ความถือตัว ความเห็นผิด ฯลฯ มันคอยต่อต้านธรรมะไว้ พอเรื่องธรรมะที่ได้ฟังขัดกับ ความเคยชินประจำตัว เช่น ฟังว่าต้องมีวินัยให้ข้ามถนนตรงทางม้าลาย ฟังแล้วก็เริ่มขัดใจ เพราะมันขัดกันกับความเคยชินของตัวเอง ขัดกับกิเลสในตัวเลยไม่ค่อยจะยอมรับ มันนึกค้านในใจ

    ผู้ที่จะฟังธรรมเป็นนั้น จะต้องหมั่นฟังธรรมบ่อยๆ จนเคยชินฝึกเป็นคนมีความเคารพ มองคนอื่นในแง่ดี มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือตัว มีความสันโดษ ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม รู้จักพอ รู้จักประมาณ และมีความกตัญญูรู้อุปการคุณที่ท่านทำแล้วแก่ตน จะทำให้มีอัธยาศัยใฝ่ธรรม ฟังธรรมเป็น สามารถรองรับธรรมะที่ได้ยินได้ฟังนั้นได้
     
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    3.คู่สนทนาต้องสนทนาธรรมเป็น คือ ต้องทั้งฟังด้วย และพูดด้วยในเวลาเดียวกัน เขาพูดเราฟัง เราพูดเขาฟัง บางอย่างเราไม่อยากจะฟัง แต่เมื่อเขาพูดเราก็จำต้องฟัง บางอย่างเราอยากจะพูด แต่ไม่มีจังหวะที่จะพูดก็จำต้องระงับใจไว้ไม่พูด เมื่อตอนสอนคนอื่นเขาไม่มีใครค้านสักคำ นิ่งฟังยอมเราหมด แต่ตอนสนทนาธรรม เราจะต้องลดตัวลงมาอยู่ในฐานะเป็นทั้งคนพูดทั้งคนฟัง ถ้าพูดถูกเขาก็ชม พูดผิดเขาก็ค้าน อาจถูกติ ถูกขัด ถูกแขวะ ถูกชม ถูกค้าน ได้ตลอดเวลา ซึ่งตรงนี้แหละที่ยั่วกิเลสนักหนา ถ้าไม่ควบคุมใจให้ดีกิเลสมันก็คอยจะออกมาจุ้นจ้านให้ได้ ขึ้นต้นคนกับคนคุยธรรมะกัน ไปได้ไม่กี่น้ำ กิเลสกับกิเลสมันออกมาโต้กันให้ยุ่งไปหมด

    ผู้ที่จะสนทนาธรรมได้ จึงต้องฝึกขันติจนมีความอดทนต่อการถูกติเป็นเลิศ ทนคำพูดที่ไม่ชอบใจได้ทั้งจากคนที่สูงกว่า และต่ำกว่า มีความว่าง่ายสอนง่ายในตัว และต้องเลือกคู่สนทนาเป็นคือ ต้องเป็นคนประเภทสมณะ ใฝ่สงบด้วยกัน

    ข้อควรปฏิบัติในการสนทนาธรรม

    1.ต้องชำระศีลให้บริสุทธิ์ก่อน ถ้าเป็นฆราวาสก็ต้องรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ หรือถ้ารักษาศีล 8 มาล่วงหน้าสัก 7 วัน ก่อนสนทนาได้ยิ่งดี ไม่ใช่เพิ่งสร่างเมาแล้วมาคุยธรรมะกันหรือว่ากินเหล้าไปคุยธรรมะไปอย่างนั้นใช้ไม่ได้

    2.ต้องหมั่นเจริญสมาธิภาวนาเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนสนทนาธรรมถ้าได้ทำสมาธิก่อนจะดีมาก เพราะใจจะผ่องใสดีทำสมาธิเหมือนอย่างกับว่าทั้งเนื้อทั้งตัวของเราเป็นก้อนธรรมทั้งก้อน ให้ตัวเป็นธรรมใจเป็นธรรมเสียก่อนแล้วจึงมาสนทนาธรรมกัน

    3.แต่งกายสุภาพ ทีแรกเราชำระศีลให้บริสุทธิ์เน้นกายกับวาจาเป็นธรรมแล้ว พอเราทำสมาธิบ่อยๆ เข้า ใจของเราก็เป็นธรรมด้วยถึงเวลาจะสนทนา ก็ต้องแต่งกายให้สุภาพ ให้เครื่องประกอบกายของเราก็เป็นธรรมด้วย ไม่ใช่เสื้อผ้าสีบาดตา แบบก็สุภาพ สะอาด ถ้าเป็นชุดขาวได้จะดีมาก

    4.กิริยาสุภาพ จะยืน จะเดิน จะนั่ง ให้เรียบร้อย หนักแน่น สงบเสงี่ยม สำรวม มีกิริยาเป็นธรรม ไม่ให้กิริยาของเราทำให้ผู้อื่นขุ่นใจ เข่น เดินลงส้นเท้ามาปังๆ

    5.วาจาสุภาพ คือ มีวาจาสุภาษิตดังได้กล่าวมาแล้ว ไม่พูดเสีงดัง ไม่สรวลเสเฮฮา ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่รู้บอกว่าไม่รู้ ควรชมก็ชม ควรติก็ติแต่ไม่ด่า

    6.ไม่กล่าวค้านพุทธพจน์ หรือปฏิเสธอรรถกถาฎีกา โดยเด็ดขาด เพราะพุทธพจน์คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น โดยเนื้อแท้แล้วย่อมถูกต้อง100 เปอร์เซนต์ อรรถกถาหรือฎีกาเกือบทั้งหมดก็ถูกต้อง ขึ้นอยู่กับว่า สติปัญญาของเรามีพอจะไตร่ตรองตามท่านหรือไม่ถ้าเราไปกล่าวค้านหรือปฏิเสธโดยเด็ดขาดไว้แล้ว ประการแรก ก็ไม่รู้จะใช้อะไรเป็นมาตรฐาน ประการที่ 2 หากคู่สนทนาอธิบายหรือชี้แจงถึงเหตุผลให้เราฟัง แม้เราจะเข้าใจก็อาจไม่ยอมรับเพราะกลัวเสียหน้ามีทิฐิ ทำให้เกิดการวิวาทบาดหมางใจกันได้ ดังนั้น สำหรับอรรถกถาหรือฎีกา เมื่อไม่เห็นด้วยก็ควรแสดงเพียงแต่ว่ารู้สึกสงสัย หรือแสดงความเห็นของตนว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้มากกว่า พร้อมกับขอความเห็นจากคู่สนทนา
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    7.ไม่พูดวาจาที่ทำให้เกิดความแตกร้าว ไม่ใช้คำพูดก้าวร้าวรุนแรงแต่ใช้วาจาที่ก่อให้เกิดความสามัคคี ประสานน้ำใจ

    8.ไม่แสดงอาการโกรธเมื่อถูกขัดแย้ง เราพูดอะไรไปถ้าเขาเย้ามาอย่าเพิ่งโกรธ ให้พิจารณาไตร่ตรองดูโดยแยบคาย เพราะบางทีเราอาจมองข้ามอะไรบางอย่างไป เรื่องบางเรื่องอาจถูกในที่หนึ่ง แต่ผิดในอีกที่หนึ่ง ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ ถ้าเราด่วนโกรธเสียก่อนความคิดที่จะไตร่ตรองตามก็ไม่มี ปัญญาของเราจะถูกความโกรธปิดบังหมด

    9.ไม่ปรารถนาลามก คิดที่จะให้ตนมีชื่อเสียง อยากเด่นอยากดังตังใจจะฉีกหน้าผู้อื่นเพื่อให้ตนดัง ถ้าวันไหนจะไปสนทนาธรรม แล้วเกิดมีความรู้สึกอยากจะไปฉีกหน้าใคร วันนั้นนอนอยู่บ้านดีกว่า มันไม่เป็นธรรมตั้งแต่ต้นแล้ว อย่าไปแกว่งปากหานรกเลย

    10.ตั้งจิตไว้ว่าจะสนทนาธรรมเพื่อให้เกิดปัญญา จะเอาความรู้เราไปต่อเอาความรู้คนอื่นเขามา ไม่ใช่ไปเพื่ออวดรู้ แต่จะไปแลกเปลี่ยนความรู้กัน

    11.ไม่พูดออกนอกเรื่องที่ตั้งประเด็นไว้ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นอวดดี หรือนินทาคนอื่นไป เช่นพูดเรื่องบาป พูดไปพูดมา กลายเป็นว่า“ฉันน่ะไปทำทานไว้ที่นั่นที่นี่” กลายเป็นอวดว่าฉันใจบุญนะ หรือพูดเรื่องทาน พูดไปพูดมากลายเป็นว่า “อุ๊ย แม่คนนั้นน่ะขี้เหนียว อีตาเศรษฐีนั้นก็ขี้เหนียว”ถามว่าใครดี “ฉัน ฉัน” อย่างนี้ใช้ไม่ได้

    12.ไม่พูดนานไปจนน่าเบื่อ รู้จักกาลเทศะ

    อานิสงส์การสนทนาธรรมตามกาล
    1.ทำให้จิตเป็นกุศล
    2.ทำให้มีไหวพริบปฏิภาณดี
    3.ทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
    4.ทำให้ได้ยินได้ฟังธรรมะที่ตนยังไม่ได้ฟัง
    5.ธรรมที่ฟังแล้วยังไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจชัดขึ้น
    6.ทำให้บรรเทาความสงสัยเสียได้
    7.เป็นการทำความเห็นของตนให้ตรง
    8.เป็นการฝึกฝนอบรมจิตให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
    9.เป็นการรักษาประเพณีอันดีงามของพระอริยเจ้าไว้
    10.ชื่อว่าได้ดำเนินตามปฏิปทาอันเป็นวงศ์ของนักปราชญ์

    คัดลอกจาก...http://www.thaigoodview.com/node/45681
     
  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=j8oBTWvSS70]สมุทัยให้ละละอย่างไร? - YouTube[/ame]
     
  19. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=rqLhXoSdSZU]จุดสุดท้ายของการปฏิบัติ เเจ้งนิโรธ - YouTube[/ame]
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ดวงจิตจริงมันดวงเดียว (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    หลวงพ่อพระราชพรหมยานตอบปัญหา

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เอกะจะรัง จิตตัง…จิตดวงเดียวเที่ยวไป” ไอ้ที่บอกเป็นหลายดวง คืออารมณ์เข้ามาสิงจิตอยู่ใช่ไหม.. อย่างจิตมีความโกรธ จิตมีความโลภ จิตมีความหลง ใช่ไหม.. จิตมีความรัก อารมณ์ของจิตก็ต่างกันไป นั่นมันเป็นอารมณ์ไม่ใช่ดวงจิต ดวงจิตจริงมันดวงเดียว.

    ดวงจิตจริงมันดวงเดียว
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

    ผู้ถาม:- “ล่อจิตตั้ง ๑๒๗ ดวง ๘๒ ดวง”

    หลวงพ่อ:- “ใช่…ฉันก็เคยเล่นมาก่อนเหมือนกัน”

    ผู้ถาม:- “หลวงพ่อน่ะหรือครับ”

    หลวงพ่อ:- “อ้าว…ถ้าไม่โง่เสียก่อนจะรู้เรื่องได้ยังไง”

    ผู้ถาม:- “นึกว่าแจ่มแจ๋ว…ตั้งแต่เล็กจนโต”

    หลวงพ่อ:- “แจ๋วมาก! ตอนนั้นแจ๋วมากจำได้ทุกดวง… (หัวเราะ) แต่ว่าพอไปเทศน์เข้าจริง ๆ เหลือ ดวงเดียว”

    ผู้ถาม:- “ตอนนี้พระที่เทศน์ด้วยกัน ไม่ค้านหูดับตับไหม้เลยหรือครับ ?”

    หลวงพ่อ:- “ใครจะค้านใคร เขาก็ค้าน แค่ ๓ ธรรมาสน์นี่น่ะ ทีแรก ๒ องค์ก็ล่อจิตกี่ดวง ตอบ ๘๐ ดวงบ้าง ๑๒๐ ดวงบ้างน่ะ ล่อกันอีรุงตุงนัง ฉันก็ล่อกินหมาก บุหรี่ไม่สูบเป่ายานัตถุ์บ้าง อะไรใช่ไหม.. นั่งหลับตาเสียบ้าง เดี๋ยวเขาหันมาว่า ไงธรรมาสน์โน้น ถามอะไร แกเทศน์อะไรกันนี่ ถามทำไม บอกข้ากินหมากบ้าง เป่ายานัตถุ์บ้าง…เพลินไป

    เขาถามว่า จิตมีกี่ดวง บอก เอ๊ะ! ของข้ามันมีดวงเดียวนี่นะ พ่อให้มาดวงเดียว เขาบอกผิดตำรา ถามตำราของแกมีกี่ดวง เขาบอกอย่างย่อมัน ๘๐ อย่างพิสดารมี ๑๒๐ กว่าใช่ไหม…ถามมันติดตรงไหนบ้างล่ะ ติดตั้งแต่ฝ่าส้นตีนขึ้นไปถึงหัวแกใช่ไหม ยังไม่หมดเลย…” (หัวเราะ)

    “พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เอกะจะรัง จิตตัง…จิตดวงเดียวเที่ยวไป” ไอ้ที่บอกเป็นหลายดวง คืออารมณ์เข้ามาสิงจิตอยู่ใช่ไหม.. อย่างจิตมีความโกรธ จิตมีความโลภ จิตมีความหลง ใช่ไหม.. จิตมีความรัก อารมณ์ของจิตก็ต่างกันไป นั่นมันเป็นอารมณ์ไม่ใช่ดวงจิต ดวงจิตจริงมันดวงเดียว”

    ผู้ถาม:- “ไอ้ที่มาเกิดก็มาดวงเดียว ตายแล้วก็ไปดวงเดียว”

    หลวงพ่อ:- “ใช่…ไอ้พวกนั้นมันหลายดวง มันต้องเกิดหลายอย่าง เกิดเป็นคนบ้าง เกิดเป็นหมาบ้าง เกิดเป็นนกบ้าง อะไรบ้าง ความจริงพระฎีกาจารย์น่ะ ท่านอธิบายไว้เพื่อความเข้าใจง่าย ทีนี้ไอ้คนเบื้องหลังไม่เข้าใจตามท่าน

    ความจริงจิตน่ะ มันดวงเดียว เหมือนน้ำใส ๆ ใส่แก้วใช่ไหม.. ถ้าสีแดงใส่เข้าไป ไอ้น้ำนั่นน่ะออกเป็นสีแดง ถ้าสีเขียวใส่ไปน้ำก็เป็นสีเขียว ไอ้นั่นน้ำเปลี่ยนสีไปเพราะใส่สีเข้าไป จริง ๆ แล้ว น้ำมันใส แก้วมันใส

    และที่เราทำเวลานี้ เราทำเพื่อให้จิตใสตามเดิม ถ้าจิตใสตามเดิมก็ไปนิพพานได้

    เมื่อก่อนนี้มันใสเหมือนกัน แต่มันใสไม่มีประกายพรึก จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดใช่ไหม…กระทั่งใสด้วยเป็นประกายพรึกด้วย อย่างดวงจิตคนนี่นะ อะไร….เจโตปริยญาณ ญาณตัวนี้ดูง่าย คนกี่พันคนก็ตามดูแป๊บเดียวจะรู้ทันที”
     

แชร์หน้านี้

Loading...