////// ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้น ///////

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย xeforce, 1 มกราคม 2014.

  1. xeforce

    xeforce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2011
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +413
    ระหว่างไม่กี่วันนี้ ผมลอง ปฏิบัติตามคำแนะนำที่สมาชิกหลายท่าน
    ได้แนะนำมา คือ มีสติเข้าไปรู้ตาม สภาวะที่เกิดขึ้นจริง ลองปฏิบัติไป
    ก็เห็นสติเข้าไปรู้เข้าไปดูบ่อยขึ้น เร็วขึ้น จนสติรู้เกือบทุกขณะที่
    อารมณ์เกิดขึ้นมาในจิต


    แต่ก็มาเอ๊ะใจ กับ การที่มันเห็น แค่ ขันธ์เพียง 4 ขันธ์ คือ รูป เวทนา
    สัญญา สังขาร แต่วิญญาณตัวที่เข้าไปรู้นั้น ก็ไม่เห็นตัวมัน
    วิญญาณที่เข้าไปตั้งอยู่ ในขันธ์ทั้ง 4 เมื่อมันยังไปยึดในอุปาทาน
    แล้วจะพ้นจากอุปาทานขันธ์ได้อย่างไร

    ซึ่งวิธีการเอาสติเข้าไปรู้ นี้ สามารถทำบรรลุธรรมขั้นต้นได้จริง เพราะสติที่
    ตั้งมั่น เข้าไปเห็นการเกิด-ดับ ของขันธ์ได้ แต่ในลำดับขั้นต่อไป ในการวาง
    อุปาทานนั้น จะแก้ยาก เพราะสติที่แข็งแรงมากอาจปิดกั้นสภาวะธรรมได้

    สมมุติยกตัวอย่างนะครับ
    เมื่อเกิดความโกรธขัดเคืองขึ้น มีสติเข้าไปรู้อยู่ ที่ความโกรธขัดเคืองนั้น
    วิญญาณก็เข้าไปตั้งอยู่ในนั้น ก็จะเจริญขึ้นด้วยราคะที่อยากจะดูต่อไป
    แล้วก็เกิดความเพลินไป ทำให้เกิด ภพ ชาติ ฯลฯ ต่อไปอีก
    วงจรปฏิจจสมุปบาทก็หมุนต่อ วิญญาณก็ยิ่งแข็งแรง ซึ่งอาจจะขัดกับคำ
    ของพระพุทธองค์


    ดังนี้
    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ เรากล่าวว่า
    เธอย่อมยุบ – ย่อมไม่ก่อ
    ย่อมขว้างทิ้ง – ย่อมไม่ถือเอา
    ย่อมทำให้กระจัดกระจาย – ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง
    ย่อมทำให้มอด – ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง
    อริยสาวกนั้น ย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งอะไร ?
    เธอย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ
    อริยสาวกนั้น ย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งอะไร ?
    เธอย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ
    อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งอะไร ?
    เธอย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา…ซึ่งวิญญาณ
    อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งอะไร ?
    เธอย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา…ซึ่งวิญญาณ
    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ


    ...................................................


    เมื่อลองปฏิบัติดูก็ได้รู้ได้เข้าใจพระสูตรนี้ ว่าทำไมผู้เข้าไปหาย่อมไม่หลุดพ้น


    ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น


    ภิกษุ ท.! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหา เป็นผู้
    หลุดพ้น.
    ภิกษุ ท.! วิญ ญ าณ ซึ่ง เข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็น
    วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถือ
    ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้; ภิกษุ ท.! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาเวทนา
    ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้. เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย
    มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้; ภิกษุ ท.!
    วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็น
    อารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ
    งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ; ภิกษุ ท.! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้ง
    อยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิ
    เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้.
    ภิกษุ ท.! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า "เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา
    การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ ของ
    วิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นสังขาร"
    ดังนี้นั้น, นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.
    ภิกษุ ท.! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญ ญาธาตุ ใน
    สังขารธาตุ ในวิญ ญ าณ ธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว; เพราะละราคะได้
    อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี. วิญญาณอันไม่มี
    ที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง ; เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น
    เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง; เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว; เมื่อไม่
    หวั่นไหวก็ปรินิพพานเฉพาะตน; ย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
    จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก" ดังนี้.

    - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๖/๑๐๕

    .....................................................


    สภาวะธรรม
    สภาวะธรรมที่ผมลองปฏิบัติเป็นอย่างนี้ครับในช่วง อาทิตย์ที่แล้ว
    เมื่อมีความโกรธเกิดมีสติเข้าไปตามรู้เข้าไปตามดู จะทำให้วิญญาณมีเชื้อต่อ
    เกิดราคะ ตัณหา ทำให้ภพเกิด วงจรปฏิจจสมุปบาทหมุนต่อ วิญญาณจะตั้งแช่
    วิญญาณก็อดไม่ได้ที่จะเป็นตัวตนเอง แต่การปฏิบัติอย่างนี้ ทำให้พ้นนรกได้
    บรรลุธรรมขั้นต้นได้ แต่ในขั้นวางอุปาทาน ทำให้วางได้ยากมาก

    ย้อนกลับไปสภาวะธรรมที่ผมเคยปฏิบัติมา
    เมื่อมีความโกรธเกิด มีสติมาระลึกได้ ให้ละความโกรธนั้น(ละอกุศล) แล้วไปอยู่
    กับวิหารธรรมที่แต่ละคนใช้อยู่ (เจริญกุศล) ตัดวงจรปฏิจจสมุปบาทขาด
    ไม่ไปสร้างตัวตนใน "รู้"ขึ้นมา เพราะวิญญาณจะไม่ไปตั้งแช่


    (ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นสภาวะที่ผมมาพิจารณาหลังจากปฏิบัติ ไม่ได้พิจารณาระหว่างปฏิบัติครับ)


    .....................................................


    ผมมาโพสนี่ดูแล้วอาจจะโดนต่อต้าน หรือโดนด่า จะอะไรก็ช่างมันเถอะ แต่ผมเห็น
    ประโยชน์ที่ท่านจะได้ย้อนกลับไปคิด หรือเทียบเคียงกับการปฏิบัติ ได้บ้าง ก็ดีกว่า
    เงียบเสียเลย......... หากคิดเห็นอย่างไร แลกเปลี่ยนธรรมะได้ครับ แต่ขอให้อ่านให้
    ละเอียดในทุกกระทู้ ที่ผมเคยโพส ทำใจให้เป็นกลางจะเห็นเจตนาของผมเอง ว่าทำ
    เพื่อโอ้อวดหรือไม่ ในชีวิตจริงก็ไม่เคยบอกใคร แม้แต่คนที่ปฏิบัติธรรมมาด้วยกันก็
    ไม่บอก เพราะบอกไปไม่เกิดประโยชน์อะไร แต่หากใครบอกจะมุ่งตรงให้ถึงนิพพาน
    ในชาตินี้ก็แนะนำกันได้ แต่มรรควิธี ก็เป็นของพระพุทธเจ้า จะแนะนำได้ก็แค่การวางจิต
    เท่านั้น.... และในทุกกระทู้ที่ผมโพส ก็มีเจตนา ว่า คนธรรมดาๆ อย่างเราท่านนี้
    ก็บรรลุธรรมได้ อย่าเพิ่งมองเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ เท่าที่ได้อ่าน
    บางกระทู้ บางโพส บางความเห็น เกิดท้อในการปฏิบัติ บอกตัวเองว่า "ไม่มีทางได้หรอก
    นิพพานชาตินี้" ก็เลยจะช่วยแนะนำและยืนยันว่า ทำได้ในชาตินี้ เราไม่มีทางรู้หรอกว่า
    เราเคยสะสมมามากแค่ไหน บารมีธรรมอาจใกล้เต็มแล้วก็ได้ แต่เจอคนมาบอกว่ายาก
    เป็นไปไม่ได้ ก็พากันท้อ พากันเลิกปฏิบัติไป ....
    ถ้าผมทำไม่ดี หรือผิดพลาด กระทบกับท่านใดก็ขออโหสิกรรมกับท่านด้วย เพื่อไม่เป็นโทษ
    ต่อกันไป

    ..................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มกราคม 2014
  2. ปราบผี

    ปราบผี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +365
    อนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ ซีฟอส

    เท่าที่อ่านพอจะแนะนำคร่าวๆได้ดังนี้

    สิ่งที่คุณกล่าวมานั้นวิญญาณ หรือจิตผู้รู้ แม้ว่าเราจะละเลยมัน เพราะเราไปรู้รูป เวทนาสัญญา สังขาร เสียส่วนใหญ่ แต่มันก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์เช่นกัน

    ซึ่งการปฏิบัติขั้นต้นนั้น ไม่เป็นปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นการปฏิบัติในขั้นแตกหักกับอวิชชา บรรลุอรหันต์ ถ้านักปฏิบัติยังยึดจิตผู้รู้ อยู่ก็เพราะอวิชชาบังตาให้เห็นจิตผู้รู้ว่าเป็นของดีของวิเศษ ก็ไม่สามารถข้ามด่านสุดท้ายไปได้ อุปมาเหมือน พายเรือถึงฝั่งแล้วแต่ยังชอบเรือ หลงไหลในตัวเรือว่า เป็นของดีที่พาเราข้ามฟากมาได้
    และไม่ยอมลงจากเรือเสียที แบบนี้ก็ไม่สามารถขึ้นฝั่งไปได้

    หลวงพ่อปราโมทย์ท่านเล่าให้ฟังว่า หลวงปู่ดูลย์สอนท่านก่อนหลวงปู่มรณภาพว่า พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง
    และหลวงปู่กล่าวต่อไปอีกว่า ผู้มีชื่อเสียงนั้นส่วนใหญ่ตายไปเป็นผีใหญ่ ซึ่งก็คือพระพรหมอนาคามี ไม่สามารถที่จะบรรลุอรหันต์ได้ก็เพราะไม่ปล่อยจิตผู้รู้นี่เอง
    หลวงพ่อพุธ ขยายความเพิ่มเติมให้ฟังว่า ทำลายผู้รู้นั้นคือ ไม่ยึดถือแม้กระทั่งผู้รู้

    ซึ่งสิ่งที่บรรดาพระปฏิบัติเหล่านี้ ไม่ว่าหลวงปู่ดูลย์ หลวงพ่อพุธ หลวงพ่อปราโมทย์ เทศน์สอนล้วนสอดคล้องตรงกับพระพุทธพจน์ในพระสูตรที่ยกมาทั้งสิ้น

    ที่คุณซีฟอสกล่าวมานั้น เป็นการปฏิบัติในขั้นสูงขึ้น ที่จะต้องทำลายตัวผู้รู้
    คือไม่ยึดมั่นถือมั่นในสภาวะรู้ ซึ่งวิธีการนั้นก็คือ ให้ทำต่อไปตามที่ทำมา เพียงแต่ว่า เมื่อรู้ว่าติดในผู้รู้นั้น ก็ให้มีสติรู้ทันซ้อนไปอีกทีว่ากำลังหลงยึดตัวผู้รู้อยู่ แล้วตัวผู้รู้จะแสดงไตรลักษณ์ให้ดู เมื่อเห็นมากเข้าก็จะเบืื่อหน่ายและคลายกำหนัดในตัวผู้รู้ได้

    บางท่านเห็นในมุม อนิจจัง คือ จิตผู้รู้ไม่เที่ยง เดี๋ยวก็รู้บ้างเผลอบ้าง เดี๋ยวก็รู้ลมหายใจ เดี๋ยวก็รู้ความคิด ฯลฯ

    บางท่านก็เห็นในมุมทุกขัง คือเป็นทุกข์ล้วนๆ ถูกบีบคั้น อย่างหนัก พวกที่ทรงฌานมักจะเข้ามุมนี้

    บางท่านเห็นในมุมอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน ไม่สามารถบังคับได้ มีเหตุก็เกิดหมดเหตุก็ดับบังคับไม่ได้ ก็ทำให้ปล่อยวาง

    หลวงพ่อปราโมทย์ท่านเคยเล่าให้ฟังถึงความเป็นทุกขังของจิตว่า จิตผู้รู้แม้จะเด่นดวงอยู่แต่ บางวันมันก็หมองๆได้เหมือนกัน บางทีก็เหมือนมีต่อมมีจุดมีดวง ตรงกับที่หลวงตามหาบัวเจอตอนปี 2493 ที่จิตท่านสอนว่า ไอ้จุดๆต่อมๆดวงๆ นั้นคือตัวภพ ในปฏิจสมุปบาทนั่นเอง

    นอกจากนี้ท่านยังเล่าถึงการแสดงทุกขังแห่งจิตของหลวงปู่มั่นว่า ถูกบีบคั้นยิ่งกว่าภูเขาบดขยี้ จนทำให้หลวงปู่มั่นสลบไปสามรอบเมื่อจิตดำเนินมาถึงจุดนี้ แต่สุดท้ายที่ผ่านมาได้เพราะยอมรับความจริง โดยไม่ต่อต้าน และยอมตายแบบว่าตายก็ช่าง สามารถสละชีวิตเพื่อธรรมะได้ เมื่อเห็นจิตแสดงความเป็นทุกขังอย่างที่สุดแล้ว จะสลัดคืนจิตให้โลกธาตุไป ไม่ยึดถือ เหมือนหยิบเส้นๆอะไรบนพื้นขึ้นมาทีแรกนึกว่า สร้อยข้อมือ แต่พอดูดีๆพบว่าเป็นตะขาบหรือกิ้งกือ ก็จะสบัดทิ้งออกไปเอง เรียกทางปริยัติว่า ปฏินิสัคคะ หรือการสลัดคืน ตรงจุดนี้บารมี 10 ทัศ (เช่น ทาน ศีล ฯลฯ) ที่บำเพ็ญมา จะเข้ามาเกื้อหนุนให้เห็นความจริงและสลัดคืน
    ถ้าบารมีตัวใดตัวหนึ่งไม่เต็มพอถึงจุดแตกหัก จิตจะถอยออกมาทันที นี่เป็นสาเหตุที่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวว่า นิพพานอยู่ฟากตาย ต้องยอมตายถวายชีวิตเพื่อธรรมได้ จึงได้ธรรมแท้มาครองนั่นเอง

    แม้เรายังไม่ถึงจุดนั้นก็จงสั่งสมบารมีให้พร้อมเถิด ไม่ว่าบุญขั้นไหนล้วนเป็นบันไดต่อยอดให้ถึงนิพพานทั้งสิ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2014
  3. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    ไม่ต้องดูความโกรธ ดูความกลัวเอาก็ได้ เห็นความกลัวภายในตัวเองไหม พอจะเข้าใจไหม เห็นอาการของมันไหม อยากเห็นทุกข์จริง ๆ ฝึกดูตรงนี้บ้างก็ได้..
     
  4. ปราบผี

    ปราบผี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +365
    หลวงพ่อปราโมทย์ท่านสอนเรื่องจิตไม่เที่ยงนี่สำคัญมาก ถ้ายังเข้าใจผิดยังไงก็ไม่บรรลุอรหันต์แน่นอน

    แต่ถ้าได้ยินพระรูปใด กล่าวว่าจิตเที่ยงก็อย่าพึ่งไปปรามาสท่าน
    เพราะท่านอาจจะเป็นพระเสขะก็ได้ (บรรลุโสดา สกทา อนาคา)
    หรือท่่านอาจจะเป็นพระอรหันต์ก็ได้ แต่พูดโดยโวหาร ที่ไม่ตรงกับบัญญัติในพระไตรปิฎก แต่จิตท่านจริงๆไม่ได้ยึดถือ

    หลวงพ่อปราโมทย์ท่านเทศน์ดังนี้
    ถ้าบอกว่าจิตเที่ยงนะ จิตเที่ยงท่านเล็งมาที่จิตผู้รู้ ถ้ารักษาตัวผู้รู้ไว้ตลอดนะพวกนี้ส่วนใหญ่ก็ปุถุชนนะ แต่สูงสุดที่เดินปัญญามันไปได้นะ ไปได้ถึงพระอนาคาฯ เพราะพระอนาคาฯเนี่ยตัวผู้รู้จะเด่นดวงอยู่ แต่ปล่อยตัวผู้รู้ไม่เป็น ยังรักษาตัวผู้รู้อยู่อย่างนั้นน่ะ ห่วงตัวผู้รู้นะ อันนี้ดูง่าย ถ้าเรามีหูมีตาเนี่ยเราจะเห็นเลย จิตท่านจะเคลื่อนไปเคลื่อนมาได้นะ จิตท่านจะเคลื่อนไปเคลื่อนมา เวลานั่งสมาธิจิตก็เคลื่อนเข้าไปในฌานนะ เพราะงั้นตายไปเมื่อไหร่เนี่ยจิตท่านจะเคลื่อนไปพรหมโลกเมื่อนั้นเลยนะ งั้นไม่ใช่จิตเที่ยง จิตเที่ยง สูงสุดก็ไปพรหมโลกนะ 
    http://palungjit.org/threads/จิตไม่เที่ยง-เพราะเกิดขึ้นแล้วดับไป.509061/
     
  5. ปราบผี

    ปราบผี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +365
    แต่ทั้งนี้แม้หลวงพ่อปราโมทย์ตอนสมัยเป็นฆราวาส
    เมื่อท่านถึงธรรมระดับต้นๆแล้ว
    ท่านเน้นเจริญวิปัสสนาเป็นส่วนมากทำให้กำลังสมถะ ไม่พอ ต่อให้ตั้งใจเจริญวิปัสสนา ก็ใช่ว่าจะได้ผล หลวงพ่อท่านกล่าวเรียกสภาวะเช่นนี้ว่าจิตไม่ถึงฐาน
    ต้องแก้ไขโดยการทำสมถะ เช่น เพ่งลมหายใจก็ได้ บริกรรมพุทโธก็ได้

    เรื่องสมถะวิปัสสนา นี่หลวงพ่อปราโมทย์ท่านทราบมาก่อนจะบวชหลายปีแล้ว
    ท่านไม่ได้สอนให้ทำแต่วิปัสสนา ดังที่พวกกลุ่มต่อต้านการหลุดพ้น กล่าวหาท่าน
    แต่สำหรับบางคนนั้น หลวงพ่อสอนให้ทำวิปัสสนาไปเลย เพราะบุคคลาเหล่านั้น ทำสมถะมามากพอแล้ว และติดสมถะแบบถอนตัวได้ยากทำให้ขัดขวางการเจริญปัญญา วิปัสสนา เพราะเอาแต่เพ่ง หรือเรียกว่าตั้งแช่ ไม่ใช่ตั้งมั่นรู้อย่างเป็นกลาง
    พอคนที่ไม่รู้เรื่องเบื้องหลังฟังแล้วก็เลยดูเหมือนหลวงพ่อสอนทุกคนไม่ให้ทำสมาธิซึ่งเป็นการเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง

    ลองอ่านประสบการณ์ธรรมะของท่านเรื่อง บันทึกไม่ลับอุบาสกนิรนามได้ที่
    http://www.bangkokmap.com/pm/index.php?option=com_content&task=view&id=25&Itemid=36

    และอ่านเพิ่มเติมเรื่องสมถะวิปัสสนาที่ว่า ท่านทำวิปัสสนาจนละเลยสมถะ ทำให้ไม่ก้าวหน้าได้ที่
    http://www.dhammada.net/2013/02/04/19803/
     
  6. GipBall

    GipBall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +182
    แต่วิญญาณตัวที่เข้าไปรู้นั้น ก็ไม่เห็นตัวมัน
    วิญญาณที่เข้าไปตั้งอยู่ คำเนี้ยต้องเป็นอนาคามีแล้ว คือความคิดไม่มีแล้ว หมดแล้ว เหลือแต่ตัวรู้ล้วนๆๆ คุณไม่ต้องคิดตรงนี้หรอก รู้แผนที่เดินเฉยๆๆเก็บไว้ในหัวเท่านั้น รอวันเป็นอนาคามี แล้วถึงเอาความรู้นี้ออกมาใช้เพื่อจะเป็นอรหันต์

    วิญญาณที่เข้าไปตั้งอยู่ ในขันธ์ทั้ง 4 เมื่อมันยังไปยึดในอุปาทาน
    แล้วจะพ้นจากอุปาทานขันธ์ได้อย่างไร คนที่พูดอย่างนี้ วิเคราะห์ได้ว่า เขายังไม่เห็นว่าสิ่งที่วิญญาณเข้าไปรู้นั้น มันกำลังค่อยๆๆเบาลง เบาลง แล้วก็ดับไป เหมือนกับเราถูกตีมือแล้วความเจ็บที่มือมันค่อยๆๆเบาเจ็บลง เบาเจ็บลง แล้วก็หายเจ็บ คุณยังไม่เห็นมันไง การปฎิบัติของคุณยังเพิ่มเริ่มปฎิบัติ ถ้าคุณใช้คำพูดนี้นะ

    คุณดูแค่นี้แหล่ะดูว่าวิญญาณเข้าไปรู้ความโกรธ ความเบื่อ ความเซง ความลำคาญ ราคะ อยากพูด อยากไปเที่ยว อยากเสพกาม อยากชักว่าว อยากดูหนังโป้ อยากจับนมผู้หญิง อยากกินพิชซ่า กินก๋วยเตี๋ยว อยากมีลูก อยากไปทะเล ดูอาการของจิตที่มันแสดง แล้วมันก็ดับไปแค่นี้ เดี๋ยววงจรการดับมันจะสั้นเข้ามา สั้นเข้ามาเอง ไม่รู้ว่ากี่ปีนี้ ของผม11ปี คุณถึงจะเห็นว่าสิ่งที่ไปรู้เข้ามันจะดับซัก 10วินาทีเองเห็นเอง ขนาด11ปีเวลาเห็นว่าอาการของจิต หรืออารมณ์ของจิต ที่มันวืดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆดับไปนั้นบางทีก็ชัด บางทีก็ไม่ชัด

    นี่แค่อารมณ์เองนะ ยังต้อง11ปีเลย ยังไม่ถึงขั้นความคิดนะ หรือบางคนเรียกว่าสังขารหรือแปลว่าความคิดยังไม่ดับนะ

    ซึ่งวิธีการเอาสติเข้าไปรู้ นี้ สามารถทำบรรลุธรรมขั้นต้นได้จริง เพราะสติที่
    ตั้งมั่น วิญญาณเข้าไปรู้อาการของจิตนั้น แต่ยังไม่เห็นอาการของจิตนั้นดับไปต่อหน้าต่อตานั้น อย่าใช้คำว่าสติตั้งมั้น คำว่าสติตั้งมั้นนั้น มันถึงขั้นเห็นความคิด เกิด-ดับ ทันทีเลย ไม่เกี่ยวกับอาการของจิตแล้วนะ ของผม11ปี สติยังไม่ตั้งมั่นเลย ยังเห็นแค่อาการของจิตเกิด-ดับเอง แต่ความคิดยังไม่ดับ

    แต่ในลำดับขั้นต่อไป ในการวาง
    อุปาทานนั้น อุปทานเขาจะวางของเขาเอง เรารู้อย่างเดียว เขาจะวางของเขาเองอัตโนมัติ

    จะแก้ยาก เพราะสติที่แข็งแรงมากอาจปิดกั้นสภาวะธรรมได้ คำพูดนี้ใช้ตอนที่เข้าสมาธิ กำลังทำสมาธิ นั่งสมาธิ ไม่ได้มาดูในระหว่างชีวิตประจำวัน เมื่อไหร่ที่ทำสมาธิ สติจะแข็งขึ้นมา มันจะไม่ไปดูสภาวะหรอกสำหรับคนที่สามารถทำฌานได้นะ มันจะเข้าสู่โหมดสงบขึ้นเรื่อยๆๆ แล้วก็นิ่งไปเลย อย่างเมียผมเขาสามารถทำสมาธิได้ที3ชั่วโมง 4ชั่วโมง แต่ผมทำไม่ได้ ดับแบบเขาไม่ได้ แต่นั่งสมาธิได้นะ แต่ดูความคิดตอนนั่งสมาธิ เข้าสมาธิลึกๆๆไม่ได้ แต่เมียผม นั่งปับ มันดับไปเลยนิ่งกือไปเลย ไม่เห็นความคิด เขาต้องออกมาดูความคิดตอนทำงาน ขายของมั่ง ก็ดูความคิดไป อย่างนี้

    สมมุติยกตัวอย่างนะครับ
    เมื่อเกิดความโกรธขัดเคืองขึ้น มีสติเข้าไปรู้อยู่ ที่ความโกรธขัดเคืองนั้น
    วิญญาณก็เข้าไปตั้งอยู่ในนั้น ก็จะเจริญขึ้นด้วยราคะที่อยากจะดูต่อไป
    แล้วก็เกิดความเพลินไป ทำให้เกิด ภพ ชาติ ฯลฯ ต่อไปอีก
    วงจรปฏิจจสมุปบาทก็หมุนต่อ วิญญาณก็ยิ่งแข็งแรง ซึ่งอาจจะขัดกับคำ
    ของพระพุทธองค์
    คำๆๆนี้ใช้สำหรับมือใหม่หัดขับ มันไม่เป็นอย่างนั้นหรอก ความโกรธมันจะค่อยๆๆดับไป แต่คุณไม่อดทนพอที่จะรอมันดับไปเท่านั้น คุณเอาความคิดคุณเข้าไปคิดแทนมันว่ามันไม่ดับ เพราะมือใหม่หัดขับนั้นกว่าความโกรธจะดับไปนั้น บางทีตั้งแต่8.00น-15.00น มันถึงจะดับ ตอนที่ผมมือใหม่หัดขับ 10วันครับว่า โครตพ่อ-โคตรตแม่งจะดับ ไอ้สาดๆๆๆๆๆๆๆๆๆทรมานชิบหายแล้วต่อมา 8.00-01.00ไอ้แม่เย็ก กว่ามันจะดับ ไอ้สาดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


    ต้องอดทนครับ อดทนทั้งน้ำตาครับ ถ้าอยากเป็นพ้นทุกข์ เป็นพระโสดาบัน
    ขอเป็นกำลังใจให้ แค่นี้ก็รู้ทางเดินที่จะไปเป็นพระโสดาบันแล้ว เก่งมากแล้ว 1ใน ล้านคนจะรู้ต้นทาง

    ขอให้ตั้งใจ อย่าท้อ อดทนมากๆๆ ทั้งน้ำตาก็ต้องยอม ร้องไห้ไปก็ดูไปอย่าท้อถอยนะ ซักวันจะเห็นมันว่า มันดีจริงๆๆ ขนาดผมยังไม่เป็นพระโสดาบัน ก็ยังมีความสุขขนาดนี้เลย แล้วถ้าเป็นพระโสดาบันจะมีความสุขขนาดไหน

    ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆๆคนนะ
     
  7. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    อย่าเอาบัญญัติ เอาความคิด ไปปนในการปฏิบัติ
    เมื่อถึงเวลาปฏิบัติจริง ตำราเอาใส่ตู้ไว้ก่อน อย่าไปเรียกความคิด ขุดสัญญาของตำรา ขึ้นมาค้างไว้บนจิต

    เมื่อกำลังปฏิบัติ สิ่งที่เราเรียนรู้ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ในปัจจุบัน ไม่ใช่ดึงึวามรู้จากสัญญามาใช้

    ธรรมะของพระพุทธองค์ สุดท้ายแล้วที่สำคัญที่สุด มีแค่ "ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น"

    ส่วนที่เหลือนอกจากนั้น เป็นเรื่องของการอธิบายสภาวะ เป็นการทบทวน ของผู้ที่เห็นแล้ว

    หากผู้ที่ยังไม่เห็น ไปยึดเอาสัญญาตัวนั้นมาไว้ในจิต ระหว่างปฏิบัติ มันจะบังสภาวะแห่งความเป็นจริงหมด จนกระทั่งไปต่อไม่ได้
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เอ้ย ถ้า บรรยายมาแบบนี้ แปลว่า การรู้ ที่เข้าไปทำท่ารู้

    มันจะไม่ใช่ การรู้ของคนที่เป็นคนเฝ้าดู ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย

    การดู ที่ดูแล้วเกิดความรู้ หรือ รู้สึกว่าตัวเองกำลังรู้ธรรม อันนั้น มันเป็น " การสู่รู้ "

    " การสู่รู้ " ก็จะมี อาการหน้าเด๋อๆ ด๋าๆ หน้ายื่นเหมือนหมา เอา ลิ้นยื่นเข้าไปชิม
    ไปแตะ แล้ว ก็ รู้รส โดยมี ความันส์ที่ได้ คิด นึก ปรุงวิธีปฏิบัติ ขึ้นมา

    ทีนี้

    การรู้แบบสู่รู้ รู้แบบยื่นหน้ายื่นตา ประเจ๋อ ประแจ๋ นั้น หากมี ปฏิภาณไหว
    พริบตามจริตของ นักสู่รู้ ก็อาจจะยังเอามา ภาวนาได้ โดยดูการ กระโจน
    เข้าไปรู้ ซึ่งจะมี อาการโดนย้อมด้วยความรู้

    กล่าวคือ เวลาภาวนาหาก กลับออกมา หรือ หยุดการภาวนา มันมีอาการ
    รู้สึกว่า กูแน่ กูหนึ่ง กูรู้มาก กูรู้ถูก ไอ้สัตว์เฮียฮาคนอื่นแม่งโคตรรู้อย่างผิดๆ แน่
    อะไรแบบนี้ คือ อาการโดน ความรู้ย้อมติดจิต

    การรู้ ที่ไม่ให้ความรู้เรื่องอะไรเลย ไม่เกิดความรู้สึกว่า รู้อะไรมา มันมี
    แต่เห็น สิ่งที่เกิดดับไปตาม อนัตตาธรรม อนิจจธรรม ทุกขังของสภาพ
    ธรรมล้วนๆ รู้แล้วมันจะจบลงที่รู้ ไม่เกิดความรู้ใดๆ นอกจาก สภาพจิต
    ที่เป็น " ญาณสัมปยุต "

    จิตที่เป็น ญาณสัมปยุต เป็น จิตที่ รู้ เหมือนเข็มสละด้าย(ไม่ติด ไม่คา) รู้เหมือนช้าง
    รอดรู้เข็ม คือ กว่าจะรู้ได้ยากกกกกส์มาก แต่พอ รู้ได้ ก็หลุด และ หาย
    ไปทันควัน ไม่จำเป็นต้อง จดจำอะไรที่รู้

    อาการที่ ไม่ต้องจดจำอะไรที่รู้ ก็คือ สติมันบริสุทธิ มีแต่การ ระลึก ( สติ ไม่มี กิจอื่น )

    ระลึกที่สัมปยุตกับ ไตรลักษญ์ญาณ .....มันจึงเป็น สัมปชัญญะที่
    รู้เนื้อรู้ตัวตลอด แต่ ไม่ได้ไปเอาคะแนน หรือ ความรู้ฮาเฮวอะไร
    จากการรู้ มีแต่ สติบริสุทธิ แท้ๆ เท่านั้นที่เกิดขึ้น และ !!! ดับไป

    เมื่อ สติ ก็เป็นตัวดับไป

    การที่จะไปรู้สึก หรือ ละเมอ พูดว่า สติมันสะสม มันกล้า มันแกร่ง
    มันแล่นไปสู่รู้ ปักแน่น สติยิ่งกล้ายิ่งรู้เฮียๆฮาๆ มาก อันนั้น มัน สตรึก ไม่ใช่ สติ

    ถ้าเห็น สติ ตัวจริงๆ จะต้องเห็น สติ ก็เป็นของเกิดดับ ดังนั้น สติ สะสมไม่ได้เด็ดขาด

    แต่มันมี กริยารู้ ธาตุ ที่ละเอียดขึ้น

    การทีรู้ ธาตุ ละเอียดขึ้น คนอาจจะสมมติว่า ไวขึ้น แกร่งขึ้น แต่ อันที่จริง สติ ไวแค่
    ไหนก็ไม่มีวันเรียกว่า ไว

    สติ ที่ไวมากๆ แบบ สาวก อย่าง พระสารีบุตร ก็มี อุปมาว่า สามารถนับฝนที่ตก
    ในตลอดเวลา 1 กัปป ว่า ตกมากี่ เมล็ด !!!

    ดังนั้น หากไปเห็น สติ ไม่ใช่ของเกิดดับ แล้ว ยังเห็นสติ เป็นเรื่อง สะสม ก็
    จะรู้สึกว่า บ้าไปแล้ว พระสารีบุตร จะไป นับทำไมกับ เม็ดฝน เหล่านั้น
    อย่างที่ พวกสมถะยานิก ที่เจริญสติ ไม่เป็น มักจะพูด และ งง

    จริงๆ สติ ที่ไวแบบพระสารีบุตร ก็ยัง ช้าไปด้วยซ้ำ ยังรู้ ธาตุไม่ได้ละเอียดอะไรเลย

    สรุป

    สติ ไวเท่าไหร่ก็ไม่มีคำว่า พอ

    สติ ที่พอเพียง แค่ พอเพียง ก็พอสำหรับ การเป็น สัพพัญญู ซึ่งก็มีระดับหนึ่งๆ

    สติ ของพระสัพพัญญูเอง ก็ไม่เหมือนกัน ต่างกัน ( อิงจาก พระพุทธเจ้าก็มีหลายประเภท )

    แต่ ความไวของสติ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ การแจ้งอริยสัจจ เพราะ เอาแค่ สติ
    แบบ สาวก ทั่วไป ก็เพียงพอแล้ว กับการแจ้งอริยสัจจ

    สรุปอีกที

    หากเมื่อไหร่ก็ตาม ยังโง่ปรารภเรื่อง ความไวของสติ ความแกร่งของสติ
    ให้ทราบไปอย่างเดียว ณ ขณะนั้นเลยว่า กำลังโดย ความคิดย้อมติดจิต

    รู้ทันลงเป็นปัจจุบัน เผลอแล้วรู้ เผลอแล้วรู้ เอา สติ นั่นแหละมาระลึก

    สตรึกก็รู้ ไม่ว่ากัน รู้สตรึกทันไวๆ สำเร็จเร็วกว่า พวกฝึกสติ งุดโงๆ หรือ มโนงุงิ อีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2014
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ทีนี้ หากแผนหนึ่ง คือ เอา อาสวะตัวเอ้ ที่เป็น พระเอก มาภาวนาไม่ได้

    มันอาย ไม่กล้า กระฉากหน้ากากนักภาวนาออกมา ไม่กล้าดู สตรึกไปตรงๆ

    ยังอาลัยอาวรณ์ ขอ สงวนรักษาเอาไว้ ไม่อยาก ยกดูการเกิดดับ เพราะ ยัง
    มีรสชาติว่า นันคือ เรา ความสามรถของเรา มีเราไปสอดรับ สมสู่ กับ จิตสู่รู้

    ก็ไม่ว่ากัน

    ถ้า สนใจจะทำ สมถะยานิก ก็ให้ ใส่ใจคำว่า " ล่วงรูปสัญญา "

    มันมี อีกวิธีหนึ่ง ที่จะทำให้ วิญญาณขันธ์แสดงตัวเป็นของเกิด ดับ ให้เห็น

    คือ ต้องพิจารณา สติที่แล่นไปอย่างไวว่อง ยกอาการนั้นเป็น อาการที่เรียกว่า
    " ไม่ล่วงรูปสัญญา "

    จิตที่ไม่ล่วงรูปสัญญา จิตก็จะ รู้แต่ว่า มีผัสสะมากระทบ รู้แล้วมัน จ้าๆ คล้ายๆจี้ๆ
    เหมือน อาการรู้ตัวทั่วพร้อม หากสังเกตกายเก่ง จะเห็นการ ชะโงก ชะโงน ชะเงน
    เอียงซ้าย เอียงขวา แทงหน้า แทงหลัง สาระพัดอาการ ของการ ไม่ล่วงรูปสัญญา

    รู้สภาวะ รูปสัญญา หรือ ผัสสะ เข้ามา สักพัก จนเกิดเห็น อนิจจาลักษณะ ก็อาจจะ
    ยกขึ้นวิปัสสนาต่อได้ ถ้ายกไม่ได้ ก็จะจม รูปฌาณ ปักอยู่กับการรู้นั่น เห็นนี้ เห็น
    จัรกวาล เห็นสัตว์ เห็นอินทร พรหม ยมยักษ นั่งยิ้ม รับแขกบน ตั่งกระจก ยิ้มไหม ? ..ยิ้ม !!

    ถ้ายก รูปสัญญา สิ่งที่เป็น อะไรก็ตาม ที่ปรากฏ เป็นรูปสัญญา จนเห็น อนิจจาลักษณะ
    คือ จะหน้าอนทร์ หน้าพรหม หน้าพระ องค์ต้น องค์ปลาย เฮียฮา อะไร ก็ล้วนแต่เป็น
    อนิจจาลักษณะเท่านั้น เป็น รูปสัญญาเท่านั้น นิมิตจะดับพรึบ !!!!

    นิมิตสัตว์หน้าขน จะไม่เกิดขึ้นอีก ถึงเกิดขึ้น ก็เอาตีนยันเหยียบไว้ได้ ไม่เกิดการ
    ชะโงก ชะโงน ชะเงน เคลื่อนไปหา

    พอพ้น รูปสัญญา คราวนี้จะเกิดการ ยื้อกันระหว่าง นามธรรม คุณธรรม ฮาเฮว อีกสัก
    ระยะ กลายเป็นเสียงบ้าง แสงบ้าง รสบ้าง กลิ่นบ้าง มาเย้ายวลให้ กำเริบกรับไปรับ
    ความเป็น สัตว์หน้าขน เหมือนกับที่พวกมาปรากฏ

    ตรงนี้ให้ ยกการระลึกเห็นเป็น นานัตสัญญา ขึ้นมาอีกที จะได้ ลหุสัญญา

    คือ มีความรู้สึกว่า จิต ไปรู้ ฮาเฮว อะไรก็ได้ แต่ มันไม่ย้อมติดจิต จิตโปร่ง
    เบา ไม่ถูกกดถ่วงด้วย ขันธ์5 โลกของสัตว์อีกต่อไป

    มาตรงนี้ ก็จะได้ " กสิณวิญญาณ " หรือ เจอจิต หรือ เจอใจ หรือ เจอฐีติจิต
    ฐีติวิญญาณ ต้นตอก่อนจะ ลงไป ผสมกับผัสสะ จนเกิด อุปทาน กลายเป็น
    สัตว์หน้าขนชนิดต่างๆ ที่นั่งยิ้มเหล่านั้น
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เอ้อ

    เตือนก่อนนะ หากยังไม่อยากเป็น พระศรีอารย์เบอร์5 ก่อนวัยอันควร

    อย่าดันทุรัง เอา สตรึก มาเจริญ การเห็น ธาตุ ฐีติจิต เพราะ " การสำคัญผิด "

    ไปเจริญมันมากๆ ธาตุ-การสำคัญผิด มันทำงานขึ้นมา คนบ้ายัง งง นะ
    ว่า ทำไม คนนี้มันยิ่งบ้ากว่ากู กินยาก็ไม่หาย

    กลายเป็น พระพุทธเจ้าชื่อนั้นชื่อนี้ในอนาคต ขึ้นมาเป็น แถว เต็มบ้านเต็มเมือง ไปหมด
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    การเสวนาธรรม การเอา ธรรมที่ตนพิจารณา มากางออก

    แน่นอน ร้อยละร้อย ยังไงก็ต้อง โดนด่า โดนต้าน

    ดังนั้น การทำใจยอมรับตรงนี้ อย่า ทำใจขึ้นมาเป็น ภพ เพื่อ หาที่ หลบ หรือ ขุดรู เพื่ออยู่

    ให้ยกเห็นว่า ยังไงก็ต้องโดนด่า โดนต้าน อันนี้เรื่องปรกติ

    ต่อให้ สิ่งที่คุณพูด ถูกต้อง ตรงกับ พระพุทธองค์ 100000000000%

    ก็ คำพูดของพระพุทธองค์ ยังโดน ต้าน เลยคร้าบ ท่าน !!

    ท่าน จะ เจาะรู ขุดรู้ เพื่อ อยู่ ณ ที่จับเจ่านั้นทำไม

    ยกเห็น เป็น ธรรมดาธรรม แล้ว อาจหาญ ร่าเริง ที่ได้ คว่ำ ได้ หงาย
    ไปตามเรื่อง ก็พอ
     
  12. GipBall

    GipBall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +182
    พี่nosono อธิบายอย่างนี้เขาไม่เข้าใจพี่หรอก ผมอ่านยังงงเลย
     
  13. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ก่อนอื่น ขอแสดงความยินดีกับคุณ xeforce ด้วย ที่สามารถปฏิบัติมาได้ไกลมากทีเดียว ผมจะพยายามตอบแทรกลงไปในการโพสท์ของคุณ นะครับ

    ระหว่างไม่กี่วันนี้ ผมลอง ปฏิบัติตามคำแนะนำที่สมาชิกหลายท่าน ได้แนะนำมา คือ มีสติเข้าไปรู้ตาม สภาวะที่เกิดขึ้นจริง ลองปฏิบัติไป ก็เห็นสติเข้าไปรู้เข้าไปดูบ่อยขึ้น เร็วขึ้น จนสติรู้เกือบทุกขณะที่ อารมณ์เกิดขึ้นมาในจิต

    +++ ณ อาการนี้ ขอแนะนำให้ "รู้ อาการ ดู" อาการดูนั้นมี "ความเป็น ตน" แฝงอยู่ด้วยกัน
    +++ การที่คุณใช้คำศัพท์ว่า "สติเข้าไปรู้เข้าไปดู" นั้น คำว่า "สติ" ของคุณในขณะนี้ คือ "ตัวดู" นั่นเอง

    แต่ก็มาเอ๊ะใจ กับ การที่มันเห็น แค่ ขันธ์เพียง 4 ขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร แต่วิญญาณตัวที่เข้าไปรู้นั้น ก็ไม่เห็นตัวมัน วิญญาณที่เข้าไปตั้งอยู่ ในขันธ์ทั้ง 4 เมื่อมันยังไปยึดในอุปาทาน แล้วจะพ้นจากอุปาทานขันธ์ได้อย่างไร

    +++ "ตัวดู" นั่นเองคือ "วิญญาณขันธ์" ในภาษาของหมวด ขันธ์ 5 และ วิญญาณขันธ์นี้ มีความเป็น "ตน" แฝงอยู่ อาจใช้อีกภาษาหนึ่งได้ว่า "อัตตาจิต"
    +++ ส่วนอาการ "ยึด" คือ อาการที่ "อัตตาจิต ส่งออก" (จิตส่งออก ของหลวงปู่ดูลย์) แล้วไป "นำเข้า" สภาวะอื่นมาเป็น ตน ตรงนี้คือ "อุปาทานขันธ์"

    ซึ่งวิธีการเอาสติเข้าไปรู้ นี้ สามารถทำบรรลุธรรมขั้นต้นได้จริง เพราะสติที่ ตั้งมั่น เข้าไปเห็นการเกิด-ดับ ของขันธ์ได้ แต่ในลำดับขั้นต่อไป ในการวาง อุปาทานนั้น จะแก้ยาก เพราะสติที่แข็งแรงมากอาจปิดกั้นสภาวะธรรมได้

    +++ ให้ "รู้ตัวดู" ก็จะฝ่าด่านนี้ไปได้เอง

    สมมุติยกตัวอย่างนะครับ เมื่อเกิดความโกรธขัดเคืองขึ้น มีสติเข้าไปรู้อยู่ ที่ความโกรธขัดเคืองนั้น วิญญาณก็เข้าไปตั้งอยู่ในนั้น ก็จะเจริญขึ้นด้วยราคะที่อยากจะดูต่อไป
    แล้วก็เกิดความเพลินไป ทำให้เกิด ภพ ชาติ ฯลฯ ต่อไปอีก วงจรปฏิจจสมุปบาทก็หมุนต่อ วิญญาณก็ยิ่งแข็งแรง ซึ่งอาจจะขัดกับคำ ของพระพุทธองค์

    +++ นั่นคืออาการที่ "ตัวดู ย้าย เข้าไป อยู่" ในอารมณ์ต่าง ๆ หากยามใดที่ "ตัวดู ถูกรู้" ก็จะ "เห็นกระบวนการ ย้าย-อยู่" ที่เรียกว่า "ยึดอุปาทาน" ได้ชัดเจนเอง

    ============================================================================
    ดังนี้
    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ เรากล่าวว่า
    เธอย่อมยุบ – ย่อมไม่ก่อ
    ย่อมขว้างทิ้ง – ย่อมไม่ถือเอา
    ย่อมทำให้กระจัดกระจาย – ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง
    ย่อมทำให้มอด – ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง
    อริยสาวกนั้น ย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งอะไร ?

    เธอย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ
    อริยสาวกนั้น ย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งอะไร ?

    เธอย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ
    อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งอะไร ?

    เธอย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา…ซึ่งวิญญาณ
    อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งอะไร ?

    เธอย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา…ซึ่งวิญญาณ
    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ

    ...................................................


    เมื่อลองปฏิบัติดูก็ได้รู้ได้เข้าใจพระสูตรนี้ ว่าทำไมผู้เข้าไปหาย่อมไม่หลุดพ้น

    +++ การเข้าไปหาคือ "จิตส่งออก" ของหลวงปู่ดูลย์ นั่นเอง

    ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น


    ภิกษุ ท.! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหา เป็นผู้หลุดพ้น.
    ภิกษุ ท.! วิญ ญ าณ ซึ่ง เข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถือ ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้;
    ภิกษุ ท.! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้. เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้;
    ภิกษุ ท.! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็น อารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ
    งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;
    ภิกษุ ท.! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้.
    ภิกษุ ท.! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า "เราจักบัญญัติ ซึ่งการมาการไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นสังขาร" ดังนี้นั้น, นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.
    ภิกษุ ท.! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญ ญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญ ญ าณ ธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว; เพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี. วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง ; เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่นเพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง; เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว; เมื่อไม่หวั่นไหวก็ปรินิพพานเฉพาะตน; ย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก" ดังนี้.

    - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๖/๑๐๕
    .....................................................

    สภาวะธรรม
    สภาวะธรรมที่ผมลองปฏิบัติเป็นอย่างนี้ครับในช่วง อาทิตย์ที่แล้ว เมื่อมีความโกรธเกิดมีสติเข้าไปตามรู้เข้าไปตามดู จะทำให้วิญญาณมีเชื้อต่อ เกิดราคะ ตัณหา ทำให้ภพเกิด วงจรปฏิจจสมุปบาทหมุนต่อ วิญญาณจะตั้งแช่ วิญญาณก็อดไม่ได้ที่จะเป็นตัวตนเอง แต่การปฏิบัติอย่างนี้ ทำให้พ้นนรกได้ บรรลุธรรมขั้นต้นได้ แต่ในขั้นวางอุปาทาน ทำให้วางได้ยากมาก

    +++ คำศัพท์ "สติเข้าไปตามรู้เข้าไปตามดู" นั้นคือ อาการของ "ตัวดู" ซึ่งยังไม่ใช่ "สภาวะรู้ที่เป็น อสังขตะธรรม" ที่แท้จริง

    ย้อนกลับไปสภาวะธรรมที่ผมเคยปฏิบัติมา เมื่อมีความโกรธเกิด มีสติมาระลึกได้ ให้ละความโกรธนั้น(ละอกุศล) แล้วไปอยู่ กับวิหารธรรมที่แต่ละคนใช้อยู่ (เจริญกุศล) ตัดวงจรปฏิจจสมุปบาทขาด ไม่ไปสร้างตัวตนใน "รู้"ขึ้นมา เพราะวิญญาณจะไม่ไปตั้งแช่

    +++ วิญญานขันธ์ ที่เข้าไปตั้งแช่ คือ "ตัวดู" ลองเข้าถึง "อาการดู" แล้วทำให้ "อาการดู ถูกรู้" ก็จะชัดเจนตรงนี้ได้เอง นะครับ
    .....................................................


    ผมมาโพสนี่ดูแล้วอาจจะโดนต่อต้าน หรือโดนด่า จะอะไรก็ช่างมันเถอะ แต่ผมเห็นประโยชน์ที่ท่านจะได้ย้อนกลับไปคิด หรือเทียบเคียงกับการปฏิบัติ ได้บ้าง ก็ดีกว่า
    เงียบเสียเลย.........

    +++ การด่าหรือปรามาส เป็น "วงจรกรรม" ที่อยู่ในจิตผู้อื่น ซึ่งเป็นเรื่อง "ใครทำก็ใครรับ" ไปตาม "กฏแห่งกรรม" นั้น ๆ
    +++ เจตนาในการโพสท์นี้ "เป็นกรรมดี" และ "อยู่ในวงจรจิต" ของคุณเอง ดังนั้น "ให้แยกแยะ วงจรกรรม ออกจากกัน" เพราะมันเป็น "ส่วนใครส่วนมัน" นะครับ

    หากคิดเห็นอย่างไร แลกเปลี่ยนธรรมะได้ครับ แต่ขอให้อ่านให้ละเอียดในทุกกระทู้ ที่ผมเคยโพส ทำใจให้เป็นกลางจะเห็นเจตนาของผมเอง ว่าทำเพื่อโอ้อวดหรือไม่ ในชีวิตจริงก็ไม่เคยบอกใคร แม้แต่คนที่ปฏิบัติธรรมมาด้วยกันก็ไม่บอก เพราะบอกไปไม่เกิดประโยชน์อะไร แต่หากใครบอกจะมุ่งตรงให้ถึงนิพพานในชาตินี้ก็แนะนำกันได้

    แต่มรรควิธี ก็เป็นของพระพุทธเจ้า จะแนะนำได้ก็แค่การวางจิตเท่านั้น.... และในทุกกระทู้ที่ผมโพส ก็มีเจตนา ว่า คนธรรมดาๆ อย่างเราท่านนี้ก็บรรลุธรรมได้ อย่าเพิ่งมองเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ เท่าที่ได้อ่านบางกระทู้ บางโพส บางความเห็น เกิดท้อในการปฏิบัติ บอกตัวเองว่า "ไม่มีทางได้หรอกนิพพานชาตินี้" ก็เลยจะช่วยแนะนำและยืนยันว่า ทำได้ในชาตินี้ เราไม่มีทางรู้หรอกว่า เราเคยสะสมมามากแค่ไหน บารมีธรรมอาจใกล้เต็มแล้วก็ได้ แต่เจอคนมาบอกว่ายาก เป็นไปไม่ได้ ก็พากันท้อ พากันเลิกปฏิบัติไป ....ถ้าผมทำไม่ดี หรือผิดพลาด กระทบกับท่านใดก็ขออโหสิกรรมกับท่านด้วย เพื่อไม่เป็นโทษต่อกันไป

    +++ ฝึกปฏิบัติ กรรม-ฐาน จนรู้แจ้งในกระบวนการข้างในของ จิตตน ในแนวทางปฏิบัติของพระพุทธเจ้า ก็ทราบได้เองทุกคน (โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัปโป วิญญูฮีติ)
     
  14. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    [​IMG]
     
  15. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    :cool::cool::cool::cool::cool::cool:
     
  16. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090

    ขอแสดงความเห็นของผมบ้างนะครับ
    ผมคิดว่า
    วิญญาณขันธ์ ไม่ใช่สิ่งที่น่าไปสนใจ หรือน่าไปตามรู้แน่แท้
    เพราะวิญญาณไม่ใช่ต้นเหตุของอุปาทาน
    วิญญาณเกิดขึ้นเป็นธรรมชาติ เกิดเป็นปรกติของมัน
    วิญญาณเป็นธาตุรู้ เป็นสื่อกลางตัวรับสัมผัสต่างๆ
    วิญญาณเปรียบเหมือนดวงตา
    การมองเห็น เราต้องมีดวงตา
    และมีแสงกระทบวัตถุมาผ่านตา เราจึงเห็น
    ถ้าไม่มีดวงตาก็ไม่เห็น
    การดับวิญญาณทำได้ด้วยการเข้าฌาน
    หากใช้ชีวิตปรกติแล้วไทร้ วิญญาณมีอยู่เสมอ
    แต่ที่เรารับรู้กันอยู่ เป็นผลลัพจากความมีวิญญาณ
    เช่น การมองเห็น ได้ยิน รู้รส ได้กลิ่น สัมผัสทางกาย สัมผัสทางจิต

    แม้พระอรหันต์ท่านก็รู้ว่าตนมีวิญญาณ
    แต่ก็ไม่เคยเห็นวิญญาณขันธ์ของตน
    รู้เพียงเหตุของการเกิด เหตุแห่งการดับ ของวิญญาณ รวมถึงขันธ์อื่นๆ
    ถึงจะรู้ แต่ก็ไม่ได้ไปควบคุม เพราะควบคุมไม่ได้
    ปล่อยวางจากความยึดมั่น
    ต่อ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    เมื่อมันเกิด รู้ รู้ว่ามันจะดับไปอยู่ดี
    จึงไม่ได้อึดอัดอะไร เพราะไม่สนใจมัน
    เมื่อมันดับ รู้
    รู้ว่ามันดับไป
    ก็ไม่ได้เสียดายอะไร เพราะไม่สนใจมัน
    เมื่อไม่สนใจมัน ก็ไม่เกิดตัณหา ไม่มีอุปาทาน
    ทั้งๆที่ ขันธ์ทั้ง ๕ มันก็เกิดดับอยู่อย่างนั้น
    พระอรหันต์ก็ยังเจ็บ ยังคงมีเวทนาอยู่
    แต่เพราะไม่สนใจ
    เวทนามา ก็ไม่สนใจ
    เมื่อไม่สนใจ ความปรุงแต่งก็ไม่มี
    สังขารซึ่งเป็นตัวสำคัญ ก็เลยไม่ได้เอามาใช้
    จึงเหลือแต่รูป เวทนา สัญญา และวิญญาณ
    เมื่อมันไม่ครบองค์ มันขาดสังขารไป
    สังขารคือตัวสำคัญที่เป็นหน่อของอวิชชา
    เมื่อขาดสังขาร ตัณหามันก็เลยไม่เกิด
    พอไม่เกิดตัณหาตัวเหตุแห่งอุปาทาน
    อุปาทาน(ความยึดมั่น)ไม่เกิด
    ถึงจะมีเวทนา แต่ก็ไม่ทุกข์

    ดังนั้น ถ้าจะบรรลุธรรมขั้นใดๆ
    ตัวรูป ตัวเวทนา ตัววิญญาณ
    ไปดับมันไม่ได้ มันเป็นธรรมชาติ
    ส่วนตัวสัญญา มันก็เกิดไปตามเรื่องตามราว
    สมองมันจด มันจำ ห้ามไม่ได้ ควบคุมไม่ได้
    อยากจำมันก็กลับลืม บางทีอยากลืมมันก็กลับจำ
    (อรูปฌาน ๔ ก็ยังมีสัญญา แต่ทำเป็นลืมไป)
    ขันธ์ทั้ง ๔ เป็นธรรมชาติแท้ๆ
    แต่ตัวสังขาร มันไม่ใช่ธรรมชาติ
    แต่ละบุคคล ปรุงแต่งได้มากน้อยต่างกัน
    มันเกิดจากความหลงในรูปบ้าง
    เกิดจากหลงในเวทนาบ้าง
    สามารถดับมันได้
    ดับสังขารคือความปรุงแต่งได้ ก็บรรลุธรรมได้
    ไม่ต้องไปสนใจวิญญาณ ไม่ต้องไปดูเวทนา

    เหมือนกับว่า เราได้ยินเสียงคนทะเลาะกัน
    เราก็อารมณ์เสีย เพราะรำคาญ
    ก็ด้วยความปรุงแต่ง ความคิดที่ว่า
    ไม่สมควรมาด่ากันข้างๆบ้านให้เราต้องหนวกหู
    แต่หากเปลี่ยนจากคนทะเลาะกัน
    เป็นเสียงเพลงไพเราะของบทเพลงที่เราชอบ
    เราก็ไม่ยักจะรำคาญ กลับพึงพอใจเสียอีก
    ทั้งๆที่ก็เป็นเสียงเหมือนกัน
    เพราะความปรุงแต่งทำให้เป็นไป
    สังขารคือเหตุทำให้เกิดอุปาทาน
    ทั้งความพอใจและไม่พอใจ

    ในสมาธิ ถ้าเราปวดขา แล้วก็ไปเพ็งความปวดนั้น ปวดหนอ ปวดหนอๆๆ มันก็ปวดอยู่อย่างนั้น
    มันได้เห็นความปวด ได้เห็นความทุกข์ ไม่ได้อะไรอื่น
    ที่ควรทำ ไม่ใช่ไปเพ่งความปวด แต่ควรจะทำความเข้าใจ
    ความเจ็บปวด ไม่สำคัญ ไม่ใช่สาระ ไม่ต้องไปสนใจ ไม่ต้องไปยึดมั่น
    ไม่ควรไปยึดเอาเวทนา ไม่ควรไปยึดเอาตัณหา ไม่ควรไปยึดเอาอุปาทาน
    ต้องวาง ต้องอุเบกขา ต่อขันธ์ทั้ง ๕ จึงจะบรรลุได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2014
  17. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    นิวรณ์ นี่มันเป็นตัวขัดขวางเขาไปทั่วสมชื่อมันจริงๆ
    จะแย้งใครนี่ก็ดีแต่พูดมั่วๆหาสาระอะไรไม่ได้ เล้ยยยยยย
    สร้างความลำบากให้หมู่คณะผู้ปฏิบัติธรรมไปทั่ว
     
  18. xeforce

    xeforce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2011
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +413
    อันนี้คำถามเอาไว้เป็นความรู้ครับ
    สมมุติว่ามีความโกรธ มีแล้วสติการเข้าไปรู้ความโกรธนั้น


    1."การรู้" ในที่นี้ วิญญาณที่เข้าไปรู้ ตั้งอยู่ที่ไหนครับ

    2.ระหว่างที่ความโกรธยังไม่ดับ (ซึ่งความจริงเกิด-ดับตลอด)
    จิตที่ยังรู้อยู่ที่ โกรธนั้น (วิญญาณแช่อยู่) ตัณหา ราคะ นันทิ
    ภพ ชาติ ฯลฯ ยังเกิดต่อไปไหมครับ



    ...............................................

    ข้อนี้ถามท่าน นิวรณ์ นะครับ ขอขยายความ ฐีติจิต ฐีติวิญาณ
    เอาไว้เป็นความรู้เพิ่มด้วยครับ


    ขอถามท่าน ธรรม-ชาติ นะครับ "รู้ตัวดู" จะปฏิบัติอย่างไร เผื่อเป็น
    แนวทางในปฏิบัติสำหรับท่านอื่น ที่กำลังติดจุดนี้ครับ

    .............................................
     
  19. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ข้อ 1. วิญญาณตั้งอยู่ที่รู้นั้นแหละครับ แต่ไม่ต้องไปสนใจก็ได้ว่า วิญญาณตั้งอยู่ที่ไหน สนใจว่า รู้อย่างไรจึงเกิดทุกข์ รู้อย่างไรไม่เกิดทุกข์ จะเป็นประโยชน์กว่า

    ข้อ 2. อยู่ที่กำลังสติปัญญาจะพิจารณาเห็นความจริงได้มากน้อยแค่ไหน เคยได้ยินคำนี้ไหม "มีแต่ไม่เอา"

    ทีนี้ขอถามบ้างว่า ที่บอกว่า "ความจริงเกิด-ดับอยู่ตลอด" ทราบได้อย่างไรครับว่าเกิดดับอยู่ตลอด..
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เพื่อน สหธรรมิก บางท่านก็แนะนำไปแล้วว่า ไม่ต้องไป ดูที่ตั้ง ที่เกิด ที่ดับก็ได้

    ฐานของจิต ฐีติจิต ฐีติวิญญาณ ไม่มีจุด ไม่มีดวง ไม่มีสัณฐาน ไม่มีรส ไม่เป็นชาติ แต่ สัปรดนะ ตาเยอะแยะ

    เอาไป อีก มุขหนึ่งละกัน

    ส่วนใหญ่ เวลาคนถามหา จิต แล้วมันตั้งที่ไหน แล้ว พยายาม จะ หา จ้อง เพ่ง

    เขาเรียกว่า " สันตติมันไม่ขาด " ขาด หรือ ไม่ขาด นี้คืออะไร ไม่ใช่ สาระที่
    จะให้คุณไป ธรรมวิจัยยะ

    ธรรมวิจัยยะ จะด้วย อ่าน ทำความเข้าใจ หรือ เข้าไปเห็นด้วยธรรม คือ คำว่า สันตติ

    สันตติ จะเห็นไม่ได้ เห็นว่ามันไม่ขาด ไม่ห่าง ยังเห็นเป็นเรา ไปเสียหมด
    หากคุณ ยังแยก ธาตุ แยก ขันธ์ ไม่เป็น


    ( อย่าสำคัญว่า สันตติ ทำให้ขาดได้ ด้วยกำลัง สมถะ นะ หาก เข้าใจแบบนั้น
    จะเข้าใจ นัยปฏิบัติผิด จะไปโน้น ทำฌาณ 1-8 เพื่อตัด สันตติ ....ซึ่ง
    ขาดไม่จริง ขาดแบบไม่มีปัญญาสัมปยุติ ใช้ไม่ได้หรอก เว้นแต่ จะยกขึ้น ดูความโง่ ชัดๆ )

    การชะโงก ชะเง้อ ชะแง้ เพ่ง จ้อง ควานหา ฐานจิต จะกินรวมปฏิบัติของเรา
    ได้เสมอ หากยังแยกธาตุ แยกขันธ์ ไม่เป็น

    แล้ว แยกธาตุ แยกขันธ์ ทำไง

    พูดยาก แต่ ตอบง่ายๆ อย่าสนใจมันสิคร้าบ ว่า มันอยู่ไส หน้าตาเป็นอย่างไร
    ตั้งที่ไหน ....ภาษาพระจะใช้คำว่า อย่าเอา "เรา" ไปสอดรับ

    ภาษาพระพุทธองค์ บอกว่า สุญญตาสมาธิ ละ ราคะบ่อยๆ ก็ พอใช้ ( ปฐมฌาณ พอ และ )

    [ สังเกตนะ มันก็ ใกล้ๆ กับคำว่า " มี แต่ ไม่เอา " ....ดังนั้น สังเกต
    ไปด้วยว่า ธรรมบางอย่าง พูดได้ หลากหลาย แต่ อรรถเดียวกัน ต่าง
    กันตรง สมมติ ......เห็น ความต่างของสมมติบ่อยๆ จนมันปล่อย เดี๋ยว จะเอ๋ เอง ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มกราคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...