การปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน ๔ ปฏิสัมภิทามรรค ว่าด้วยการถึงพร้อมด้วย วาจา ใจ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ekkapon.ch, 23 เมษายน 2014.

  1. ekkapon.ch

    ekkapon.ch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +257
    คำนำการปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน ๔
    อันดับแรกเราต้องทราบเบื้องต้นก่อนเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นในการปฏิบัติ ว่า ตัวของเราประกอบไปด้วย ใจ (คือ คนขับรถ) ร่างกาย (คือ รถ) เราเกิดมาหลายภพหลายชาติแล้ว ตัวในเรา(ใจ=คนขับรถ) มีรถ (Body=ร่างกาย)ขับมาหลายคันแล้วแตกต่างกันไป(สวย ไม่ สวย หล่อ ไม่ หล่อ รวมทั้งสัตวด้วย) และ เราเคยทำบุญมาก็หลายภพ หลายชาติเหมือนกัน(ชาตินี้ก็ทำ) เพราะฉะนั้นเราจะเบิกเอาบุญของเราที่เคยทำไว้มาใช้กัน และเท่ากับว่าเราไม่ได้โลภมันเป็นเงินของเราเอง ท่านยก ต.ย ว่า เรา ฝากเงินไว้ในธนาคาร แต่ เราลืมรหัสatm ลืมลายเซ็น เราก็เบิกเอาเงินของเรามาใช้ไม่ได้ ก็คือ ชาติที่แล้วเราฝากไว้ที่ไหนบ้าง(ทำบุญ ไว้ที่ไหนบ้าง)เราจำไม่ได้ ทีนี้เมื่อเราปฏิบัติ เราก็จะจำรหัสได้ โดยเราเองหรือเทวดาจัดให้ก็แล้วแต่ เราก็จะถอนออกมาใช้ได้และมันจะมาเรื่อยๆ เราเกิดมาหลายพันปีเวียนว่ายตายเกิดกันอยุ่ตลอด บุญที่เราทำต้องเยอะมาก เราถึงเกิดมาเป็นคน(มีรถขับ) ท่านบอกว่าถ้าเราปฏิบัติได้แล้วท่านท้าให้ ขอ100ล้านเลย มีบางคนได้มาแบบปลดหนี้เลยเปน100ล้านพันล้านเลยนะ ขอให้เราตั้งใจปฏิบัติเท่านั้นแหละ เทวดาจะจัดให้เราเองว่าจะได้อะไรก่อนหลัง เค้าจะไม่ให้เราทุกข์ถ้าเราทุกข์แล้วเรา จะไม่อยากปฏิบัติ เค้าก็จะไม่ได้บุญจากเรา
    สิ่งเดียวที่สำคัญที่สุดของศาสนาพุทธคือ สัจจะ เคยสงสัยไม๊ว่าทำไมบางที เรานึกอย่างกินอะไรแล้ว ได้กิน อยากได้อะไรของอะไรอยู่ ดันมีคนเอามาให้ อะไรประมาณนี้ นี่แหละที่ท่านบอกว่าเรามีวิชานี้ติดตัวกันมาทุกคนใครก็ทำได้ถ้ารู้วิธี(ยกเว้นคนไม่ดีจะทำไม่ได้เพราะเทวดาไม่ช่วยคนไม่ดี)
    สัจจะ คือ อะไร เช่นว่าเราอยากกินปลา เราอยากได้และต้องการจริงๆ(ไม่โลเลว่าอยากกินปลาแล้วเปลี่ยนเป็นอยากกินกุ้งดีกว่านั่นคือ ไม่มีสัจจะต่อตัวเอง) เมื่อใจเราต้องการมากมาก เลยจดจ่อและเกิดสมาธิกับมันแล้วแอบนึกภาพมันโดยเราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำเพราะเราเป็นมาแล้ว วิชานี้ในอดีตชาติมันติดตัวมามันฝังอยู่ใน DNA ของชนชาวพุทธ เพียงแต่เราไม่ได้ฝึกมันเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นเมื่อเวลาขอก็ต้องมีสัจจะว่าต้องการมันจริงๆและไม่เปลี่ยนใจไปมา
    เมื่อเราปฏิบัติและฝึกทำจนชำนาญแล้วอีกหน่อยแค่นึกในใจก็ได้ เราลองทำมา ตั้งแต่ก่อนเรียนอีกนะ ตั้งแต่ท่านสอนเมื่อ4-5ปี ที่แล้ว แค่นึกในใจแต่เป็นสมาธินะนึกภาพด้วยมันก็ได้ตามที่ขอร้อยละ90 ก็ถามท่านว่าทำไมไม่ออกเสียงก็ได้หละ ท่านก็บอกว่า จริงๆแล้วมันต้องออกเสียงนะ พูดแค่เนี้ยะจบ เราก็งง งง มาตลอด จนท่านสอนอีกขั้นนึง ปรากฏว่า ขั้นนี้ไม่ต้องออกเสียง นั่นไง เราข้ามขั้นมาแล้ว แต่ท่านไม่บอก ให้เราเริ่มฝึก Basicก่อนนี่เอง ที่ว่าให้ลองหายใจสั้นยาวดู แต่ควร ลอง Basicก่อนก็ดีนะ คือยัง ไม่ต้องสนลมหายใจ เอาแค่ ว่าทำยังไงให้กาย วาจา ใจ เป็นหนึ่งให้ได้ก่อน
    เริ่มจาก. ลองสังเกตนะเวลาเราพูดปกติเสียงมันจะออกจากปากหรือจากคอหอยเราเอง มันจะสั่นๆตรงลูกกระเดือก แต่ถ้าเราหายใจออกมาจากใจคือให้เสียงออกมาจากในท้องหรืออก(ที่ว่าหายใจสั้นก็รู้ยาวก็รู้)นั่นคือถ้าเราหายใจสั้นมันอาจจะอยู่แถวอก ก็ พยายามเปล่งเสียงออกมาจากอกขณะที่พูดก็หายใจออกด้วยพร้อมกัน ทีนี้เราจะสังเกตได้ว่าตรงอกจะสั่นๆแทนที่จะเป็นตรงลูกกระเดือก ท่านบอกว่า ถ้าไม่ชักลูกประคำเราสามารถปฏิบัติได้ตลอดเวลา เช่นร้องเพลง อ่านหนังสือ ให้ออกเสียง อย่างเวลาครู สอนร้องเพลงเค้าจะสอนให้ร้องออกมาจากท้องหนะเสียงจะมี power ลักษณะเดียวกันเลย ถ้าร้องออกจากปากหรือคอ เสียงก็จะไม่เพราะไม่มีพลัง ขั้นแรกก็ลองทำแบบช้าๆ ก่อน ก่อนจะเปล่งคำออกมา ก็รอมันพร้อมกัน(กาย วาจา ใจ)แล้วค่อยเปล่งออกมา ลองไปเรื่อยๆจะเห็นความแตกต่างเองแหละ ค่อยๆฝึกนะ ใจเย็นๆ อย่าเร่งนะ เพราะเราเคยเร่งมาแล้วมันไม่เป็นสมาธิ ทำครั้งนึงให้ครบ10รอบลูกประคำ น่าจะประมาณ10-15นาที แล้วแต่ว่าท่องช้าหรือเร็ว บางทีขี้เกียจก็ท่องเร็วหน่อยไม่ค่อยออกจากใจเท่าไหร่บางคำออกดีมาก บางคำจะรู้เลยว่าเฮ้ยออกมาจากคอเอง พอรู้ตัวว่าคำๆนี้เราไม่มีสมาธิก็จะดึงสมาธิกลับมาเองโดยอัตโนมัติ พอคำต่อไปมันจะมีสมาธิเอง บ่อยครั้งที่ถามท่านว่าถ้าขี้เกียจทำ จะทำไงดี ท่านก็บอกว่าก็ร้องเพลงเอาสิหรืออ่านหนังสือก็ได้แต่ต้องออกเสียง ท่านก็จะบอกอย่างนี้ทุกครั้ง ขอให้กาย วาจา ใจ เป็นหนึ่งเท่านี้ก็เท่ากับได้ทำบุญแล้ว (ท่านว่า) แล้วเราก็ถามว่าบางคนได้มากน้อย ไม่เหมือนกันหละ (เงิน) ท่านบอกว่าถ้าเราทุกข์เราจะได้เร็ว ถ้าเราไม่มีเรื่องทุกข์(ท่านบอกอย่างเราเนี่ยแหละไม่ทุกข์อะไรเลย)จะได้ช้าหน่อยเพราะไม่ตั้งใจขอ ก็จริงนะ เราไม่ค่อยได้ขออะไรที่เป็นเรื่องเป็นราวจริงๆซักที มีแต่ลองเรื่องที่ร้านวันนั้นวันเดียวแหละลูกค้าตรึม บางทีก็รู้สึกว่าตัวเองไร้สาระไปหน่อย ไม่ค่อยตั้งใจทำเท่าไหร่ มันขยันเป็นพักๆอะ แต่ที่ขอเป็นเรื่องเป็นเราที่มีสาระของเราคือเราขอความสุข ขอให้ไม่ทุกข์ แค่นี้แหละที่เราต้องการในชีวิต จริงๆ
    ถ้าเราอธิษฐานขออะไรก็ช่าง ถ้าสิ่งนั้นได้มาครบสมบูรณ์100%คือไม่ต้องเอาไปซ่อมก่อน สมมติว่าเป็นคอมพิวเตอร์นะ คุณขอให้ได้คอมซักตัวอาจจะมีใครเอามาให้เป็น เครื่องใหม่แกะกล่องเลยไม่ต้องซ่อมใช้ได้เลย นั่นคือเทวดาได้รับบุญจากที่เราทำสมาธิให้เค้า เค้าก็จะจัดสรรหามาให้จากทางใดทางนึงอาจจะคนเอาให้เราหรือเราอาจจะได้เงินมาจากไหนไม่รู้ซักทาง แล้วเอาเงินไปซื้อมันแทน แต่ถ้ามีคนเอามาให้อาจจะต้องซ่อมก่อนนิดนึงแล้วถึงเอามาใช้ได้ นั่นคือสัมพะเวสีหามาให้
    อีกเรื่องนึง ท่านบอกว่าทำบุญกับพระต้องเลือกว่าพระนั้นดีไม๊ถ้าไม่ดีทำไปเปล่า ประโยชน์ พระพุทธเจ้าไม่เคยเทศนาให้ขอทานฟังเลย (ดูได้ในพระไตรปิฎก) ทีนี้จะรู้ได้ยังไงว่าเค้าดีไม่ดี ท่านบอกว่าถ้าเราเริ่มปฏิบัติแล้วจะมีแต่คนดีๆเข้ามาหาเราเพราะจะมีประมาณสิ่งคุ้มกันมาครอบเราเสมือนเกราะป้องกันเราไว้คนชั่วจะเข้ามาหาเราไม่ถึงแบบประชิดตัว อาจจะแค่ผ่านๆ มาให้เห็นแต่จะทำอะไรเราไม่ได้ ส่วนคนไม่ดีไม่จำเป็นต้องไหว้ คนที่เคยไหว้เพราะยังไม่รุ้ว่าเป็นคนยังไงเราก็ไหว้ไว้ก่อน แต่เมื่อไหร่ที่รู้ว่าเค้าแย่ เลว ทำตัวไม่น่าเคารพไม่น่า

    เข้าไปศึกษาได้ตามลิงค์เลยครับ

    https://www.facebook.com/groups/1432817120290100/
     
  2. ekkapon.ch

    ekkapon.ch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +257
    คำนำ
    จากวันเวลาที่ผ่านไป ได้พิสูจน์ผลเชิงประจักษ์ถึงพลังแห่งพุทธานุภาพ ที่สามารถเป็นที่พึ่ง ที่กำจัดทุกข์ ภัยได้จริง โดยไม่จำกัดกาลเวลา และสถานที่ เพียงแต่ว่าวิถีทางแห่งการปฏิบัติของแต่ละท่าน ยังไม่อาจที่จะเป็นหนึ่งเดียวกัน ผลที่ได้จึงรับจึงปรากฏเร็วช้าแตกต่างกันไป

    ด้วยเหตุดังกล่าวนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำบทบรรยายวิธีการปฏิบัติ ประกอบภาพ(Slide) เพื่อให้สาธุชนผู้ใฝ่ในกุศลทุกท่าน สามารถนำไปค้นคว้า อ้างอิง หรือ ใช้เป็นแม่แบบบรรยายอย่างไม่ผิดเพี้ยน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการอบรม นำไปปฏิบัติได้ผลเต็มที่ สมจริงดังปรากฏในสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ทุกประการ

    โดยในแต่ละตอน หมายถึงคำบรรยายภาพ(Slide) แต่ละแผ่นเรียงกันไป นับแต่เริ่มต้นปฏิบัติขั้นต้น จนถึงขั้นสูง อย่างต่อเนื่อง

    จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะยังให้เกิดประโยชน์แก่สาธุชน และผู้ใฝ่ในกุศลปฏิบัติทุกท่าน อันเป็นแนวทางสืบต่อพระธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา ให้คงอยู่สถาพรสืบไป
     
  3. ekkapon.ch

    ekkapon.ch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +257
    ในหนึ่งช่วงของเวลาแห่งชีวิต ที่ได้กำเนิดเกิดมาร่วมอยู่บนพื้นพิภพนี้ เปรียบประดุจดั่งหยดน้ำค้าง ที่หล่นจากปลายใบไม้ลงสู่พื้น ระยะเวลาที่ละอองน้ำอันสะสมเป็นหยดน้ำ คือการก่อตัวเป็นรูปร่าง เร่ิมมีรูป แสง สี ต่าง ๆ ที่เคลื่อนไหวไปมาอยู่ภายนอกหยดน้ำนั้น.

    ความเป็นจริงแล้ว รูป แสง สีที่ปรากฏบนผิวแห่งหยดน้ำนั้น ไม่ได้มีอยู่จริง เป็นเพียงภาพลวงตา ที่ปรากฏบนพื้นผิวของหยดน้ำ มิได้แทรกซึมเข้าสู่ผิวในหยดน้ำแม้เพียงน้อยนิด ซึ่งไม่ผิดอะไรกับสิ่งที่อยู่ภายนอกกาย ล้วนแล้วแต่เป็นเพียงภาพอันไม่มีอยู่จริง

    ระยะเวลาการดำรงอยู่แห่งภาพบนพื้นผิว ขึ้นอยู่กับการทรงสภาพแห่งหยดน้ำนั้น และเมื่อหยดน้ำได้ไหลหยดหมดเวลา ก็หยดลงสู่พื้นพร้อมกับภาพบนพื้นผิว แตกทำลาย สลายไป ไม่เหลือไว้ให้เห็น... นี้เป็นหยดหนึ่ง แห่งกาลเวลา...หยดหนึ่ง หมายถึงระยะเวลาหนึ่งของ "ชีวิต" ที่ได้ถูกลิขิต ให้ปรากฏขึ้นบนพื้นพิภพนี้ กฏแห่งการเริ่มต้น การดำรงอยู่ และการแตกสลาย ย่อมปรากฏเป็นปกติ กับมวลสิ่งมีชีวิตทั้งหลายก็ย่อมเป็น เช่นนี้ เช่นนี้ ซ้ำเช่นนี้ ชั่วอนันตกาล
     
  4. ekkapon.ch

    ekkapon.ch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +257
    ชีวิตมนุษย์เกิดจากมหาภูตรูป๔ คือ ดิน ไฟ ลม น้ำ รวมกันเป็นเอกสมังคี(เอก แปลว่า หนึ่ง ... สมังคี แปลว่า หลอมรวม ..มีลักษณะคล้ายกับการหลอมละลายโลหะ๔ชนิด..นึกภาพการหล่อพระ เมื่อหลอมรวมกันแล้วไม่อาจแยกออกจากกันอีกได้....)

    เมื่อมหาภูตรูป๔ หลอมรวมกันนั้น เป็นไปด้วยอำนาจแห่งกรรมที่ได้สร้างไว้ในภพชาติก่อน(เหมือนฝากธนาคาร หรือ เป็นหนี้ธนาคาร) ผู้ที่สร้างบุญไว้กุศลก็จะส่งให้มีรูปร่างสวยงาม ผิวพรรณดี(ผลจากบุญนิธิ คือมีเงินทุนเก่ามาใช้) สำหรับผู้ที่สร้างอกุศลกรรม(ทำบาป=ติดหนี้ธนาคาร=ก็ต้องใช้หนี้เรียกว่าหนี้กรรม) ก็จะมีรูปร่างอัปลักษณ์ สิ่งมีชีวิตที่เกิดมานี้ เรียกว่า " กมฺมชฺชรูป" หรือ รูปอันเกิดโดยกรรม

    และด้วย "กรรม" ที่ได้สร้างไว้ ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรม(บุญ) หรือ อกุศลกรรม(บาป) สิ่งมีชีวิตที่เกิดมานั้นก็จะมีเส้นทางที่ได้ถูกกำหนดไว้เฉพาะเป็นเอกเทศของแต่ละชีวิต ดังพุทธพจน์แสดงไว้ว่า "กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้แตกต่างกัน" ดังนี้

    สัตว์ที่เกิดมาบนโลกนี้ โดยปกติสามัญย่อมไม่อาจหลีกพ้น "กรรม" ที่ได้กระทำไว้ได้ ย่อมมีเส้นทางของแต่ละชีวิตชนิดไม่ซ้ำกัน เรียกว่า "กรรมวิถี" หรือ "กฏแห่งกรรม" พระพุทธองค์ทรงตรัสยืนยันไว้ชัดเจนในเรื่องนี้ ปรากฏในพระไตรปิฏกบาลีว่า " กมฺมุนา วตตี โลโก สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปตามกรรม"

    โดยปกติทั่วไป สัตว์ทั้งหลายไม่อาจหลีกหนีพ้นกรรมได้ แต่นับว่าเราท่านทั้งหลายได้สร้างมหากุศล จึงได้พบแนวทางปฏิบัติของพระบรมศาสดา ที่ทรงชี้นำให้ปฏิบัติในแนวทางสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ให้เราท่านสามารถ "ชนะกรรม" และ "เลือกเส้นทาง เฉพาะแต่กุศลกรรมได้(คือเลือกรับเฉพาะที่เป็นความสุขได้)

    นี้แหละเรียกว่า "พุทธวิถี แห่งพระพุทธศาสนา" อันเป็นหนึ่งเดียวไม่มีสอง ซึ่งไม่ปรากฏในคำสอนแห่งศาสนาใด ๆ ที่จะมีวิธีให้ศาสนิกของตน เลือกรับแต่เฉพาะสุขได้ทั้งสิ้น
     
  5. ekkapon.ch

    ekkapon.ch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +257
    ในสภาวะแห่งความเป็นจริงของชีวิตทุกรูปนาม ที่ได้ถือกำเนิดเกิดขึ้นบนพื้นพิภพนี้ ปกติจะมีสภาพความเป็นไปด้วยความเหมือนที่แตกต่าง คือ เหมือนกันด้วยการผสมผสานปรากฏการณ์ของสุขและทุกข์ที่เจือคละเคล้ากันไป นี้คือความเหมือน ส่วนความแตกต่างคือสภาพแห่งสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น ได้เกิดขึ้นในสภาวะและสถานะที่แตกต่างกันไป แล้วแต่จะได้สร้างกุศลกรรม(สิ่งอันเป็นประโยชน์สุข) กับ อกุศล(สิ่งอันทำให้เกิดความทุกข์โศกโทมนัส) นี้คือความแตกต่าง

    ก็โดยความแตกต่างแห่งกรรม จึงทำให้สัตว์แตกต่างกันไปด้วยผลแห่งกรรมนั้น หากจะเปรียบถึงการแสดงผลของกรรมทั้งสองอันเป็นสมบัติติดตัว ก็จะเปรียบได้ประดุจดั่งตาชั่ง ข้างซ้ายนั้นวางไว้ด้วยความทุกข์(อกุศลกรรม) ส่วนข้างขวานั้นใส่ไว้ด้วยความสุข(กุศลกรรม) ชีวิตก็คือพื้น

    โดยการทำงานของตาชั่งจะทำงานด้วยน้ำหนัก ว่าข้างใดหนักกว่ากัน หากส่วนของกุศลกรรมมากกว่า ก็จะลงมาสัมผัสกับชีวิต ทำให้ได้รับความสุขสมหวัง สมปรารถนา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าอกุศลกรรมหรือความทุกข์นั้นจะหายไป เมื่อดูจากภาพจะเห็นได้ว่าทุกข์นั้นยังคงอยู่ แต่น้ำหนักน้อยสู้กุศลกรรม(บุญ) ไม่ได้ จึงลอยพ้นจากชีวิตของผู้นั้น และรอจนกว่าเมื่อใดที่บุญมีน้ำหนักน้อยลง คือ เจ้าของชีวิตนั้นเสพแต่บุญเก่า ไม่ได้ทำบุญเพิ่มลงไป แน่นอนที่สุด อกุศล(บาป) ที่รอคอยอยู่อีกข้างหนึ่งก็จะแสดงผลกระทบต่อชีวิตของผู้นั้นทันที

    ชีวิตโดยปกติของสัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นเช่นนี้ หมุนสลับสับเปลี่ยนสุขทุกข์ ผสมผสานอย่างมิอาจปฏิเสธ หลีกหนี สมดั่งพุทธพจน์ว่า กมฺมุนา วตตี โลโก สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม ฉะนี้ ฯ
     
  6. ekkapon.ch

    ekkapon.ch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +257
    หากจะถามว่าชีวิตนั้นเกิดมาเพื่ออะไร ? คำตอบที่ตรงที่สุดคือ " ชีวิตเกิดมาเพื่อเสวย(รับ)อารมณ์.." (นี้เป็นคำอธิบายจากในอภิธรรมปิฏก) ซึ่งหากเราท่านพิจารณาสักนิดจะเห็นว่า โดยความเป็นจริงของชีวิตที่ต่างแสวงหาอยู่นี้ ก็คือการแสวงหาสิ่งที่เรา "ชอบ" หรือ สิ่งที่ทำให้เกิดความสุข(โสมนัส) เราก็เรียกว่า "ดีใจ ถูกใจ" นั่นแหละ และในทางตรงกันข้าม ก็จะมีอารมณ์ที่เราไม่ชอบ หรือ อารมณ์ที่ทำให้เราเสียใจ(โทมนัส) เกิดขึ้นในชีวิตเราด้วยเสมอ

    อารมณ์ หรือ การรับรู้เหล่านี้เกิดจากการกระทบโดย 5 ทิศทางด้วยกาัน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (ปัญจทวารวิถี) ซึ่งเราจะแสวงหาสิ่งสนองให้เรามีความรู้สึกว่า "เราชอบ เรารัก เรายินดี" เท่านั้น ไม่ว่าจะโดยการมองเห็น การได้ยินเสียง การรับรู้ทางกลิ่น และการลิ้มรส รวมทั้งสัมผัส ซึ่งจะมีลักษณะที่เฉพาะของแต่ละชีวิตว่าจะเลือกว่า สิ่งไหน หรือ แบบไหน ที่จะสนองอารมณ์ที่ตนปรารถนา เมื่อรู้สึกว่าขาดสิ่งนั้น ก็ต้องออกไปแสวงหามาเสริมอารมณ์ และความตัองการ นี้แหละคือต้นกำเนิดแห่งคำว่า กิเลส และ ตัณหา ย่อมเกิดมาจาก การแสวงหาอารมณ์

    และแน่นอนที่สุด การแสวงหาอารมณ์ที่ปรารถนานั้น ก็มิใช่จะพบแต่อารมณ์ที่ต้องการเสมอไป ย่อมจะต้องพบกับอารมณ์อันไม่พึงปรารถนา ที่เจือปนมาด้วยเสมอ ที่เรามักเรียกกันว่า "อารมณ์เสีย" นั่นแหละ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราไม่ได้สร้างขึ้น แต่เราก็ต้องรับ นี้เป็นปกติธรรมชาติ ที่ย่อมต้องเกิดขึ้น
     
  7. ekkapon.ch

    ekkapon.ch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +257
    ไม่ว่าชีวิตของผู้นั้นจะเป็นใคร จะยากดีมีจน สิ่งที่ต้องการเหมือนกันหมดก็คือ "ต้องการสิ่งที่ปราถนา และให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ปรารถนา" แม้ว่าจะผู้นั้นจะมานะพยายามกระทำแต่ "ความดี" แต่บางครั้งบางที "ความดีที่ได้ทำนั้น ก็มิใช่หมายความว่าเป็นที่ปรารถนาของผู้อื่น" จริงไม๊ล่ะ ?

    และแน่นอนที่สุด สิ่งที่คิดว่าทำดีที่สุด อาจจะกลายเป็น "สิ่งที่เลวที่สุดในสายตาคนอื่น หรือ ในสังคมอื่น" ก็ได้ และสิ่งที่เป็นผลตอบสนองกลับมา ก็คือ "สิ่งที่ตรงกันข้าม" คือ แทนที่จะกลายเป็น "คนดี คนที่สะอาดบริสุทธิฺ ดุจที่เป็น" กลับกลายเป็น "คนเลว ที่สังคมชี้ว่าคุณต้องเป็น" ทั้ง ๆ ที่คุณไม่ได้เป็น

    นี่คือ ชีวิต ....ชีวิตจริง ที่คุณ เรา ท่าน ไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือก ไม่มีสิทธิ์ที่จะกำหนด และไม่มีทางที่จะกำหนดได้โดยสภาวะปกติ... เรา ท่าน ทั้งหลาย กลายเป็นส่วนประกอบของสังคม "ที่จะชี้ให้เป็น ให้ดี ให้เลว" โดยที่คุณไม่มีสิทธิ์เลือก

    แม้ว่าคุณจะเป็น "คนดี" แต่หากว่า "สังคมนั้น ๆ บอกว่าคุณเป็นคนเลว" คุณก็กลายเป็น "ส่วนเกินของสังคม" สิ่งแปดเปื้อนสารพัด ที่คุณไม่ต้องการ ถูกสังคมกำหนดให้เป็น เพียงแค่ความหมายของคำว่า "กฏแห่งสังคม" นั่นไม่ใช่หมายถึงสิ่งอันประเสริฐ แต่อาจเป็นสิ่งที่เลวร้าย ...

    แต่จะทำอย่างไรได้ ในเมื่อเรา ท่าน ได้เกิดมามีชีวิตอยู่ร่วมในสังคม อันเต็มไปด้วยการแสวงหาอารมณ์ ของแต่ละชีวิตที่ไม่ละม้ายเหมือน ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ ยอมรับหรือเปล่า ....คุณก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือก คุณต้องทนรับสภาพต่อไป หากต้องการจะอยู่ในสังคมชีวิตของ "คน" ทั่วไป ที่เขาอยู่กันอย่างนี้

    .... ใช่ ...เขาอยู่กันอย่างนี้ และอยู่มาอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ และเป็นต่อไป ....แล้วคุณล่ะ มีทางเลือกอื่นไหม คุณไม่พอใจ หรือ ไม่ยอมรับ ? ... นี่คือ คำถาม และเป็นอมตะแห่งคำถาม ที่ได้ถูกถามมาตลอดนับพัน ๆ ปี นับแต่เริ่มปรากฏสิ่งมีชีวิตอันเรียกว่า "คน" เกิดขึ้นบนพื้นโลก
     
  8. ekkapon.ch

    ekkapon.ch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +257
  9. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    การปฏิบัติสติปัฏฐาน มีแก่นหลักคือ ระลึกรู้ ตามสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ในปัจจุบัน

    การปฏิบัติใดนอกเหนือจากนี้ เป็นการปฏิบัติธรรมแบบอื่น ไม่ใช่สติปัฏฐาน

    สติปัฏฐาน ไม่ใช่การปฏิบัติเพื่อสร้างบุญ ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อขอพร ขอสิ่งใดให้สมปรารถนา
    สิ่งเหล่านั้น อาจจะได้เป็นผลพลอยได้จากการปฏิบัติ แต่ไม่ใช่จุดประสงค์หลัก

    หากเข้าใจผิดเพี้ยนไป ไปเอาเรื่องรอง มาเป็นเป้าหมายหลัก ก็จะไปไม่ถึงเป้าหมายหลักที่แท้จริง
     
  10. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    https://www.facebook.com/groups/1432817120290100/permalink/1433704473534698/

    นี่หรือ คือสติปัฏฐาน?

    อย่าทำลายหัวใจของพุทธศาสนา ด้วยการหวังดีแต่ขาดความเข้าใจอย่างถูกต้อง แปลความสติปัฏฐานให้ผิดแนวทางไปจากที่พระพุทธองค์สอน
     
  11. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    การปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน 4 ปฏิสัมภิทามรรค ว่าด้วยการถึงพร้อมด้วย กาย สติ

    +++ คำนำการปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน 4

    +++ อันดับแรกเราต้องทราบเบื้องต้นก่อนเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นในการปฏิบัติ ว่า ตัวของเราประกอบไปด้วย

    +++ 1. "กาย" ในความหมายคือ "สิ่งที่จิตอาศัยอยู่ และยึดเอาเป็น ตน" และ

    +++ 2. "จิต" คือ "ตัวอัตตา หรือ ผู้อยู่อาศัย"

    +++ "กาย" มีอยู่หลัก ๆ เพียงแค่ 4 หมวดเท่านั้น คือ "กายเนื้อ (กาย) กายแห่งความรู้สึก (เวทนา) กายแห่งความนึกคิดปรุงแต่ง (จิต) และ กายแห่งอารมณ์ (ธรรมารมณ์)"

    ============================================================================================

    +++ การปฏิบัติ "มหาสติปัฏฐานทั้ง 4" คือ อาการ "รู้" (สติ) ที่รู้ "ครอบคลุมทั้ง 4 หมวด ณ เวลาเดียวกัน ในปัจจุบันขณะ"
    ============================================================================================

    +++ ส่วน "ปฏิสัมภิทามรรค" คือ การบังคับใช้ "วจีจิตตะสังขารขันธ์" ด้วยการ "กำหนดทีละ วาระจิต" ให้เข้า "สู่อาการที่จะแสดงธรรม" แล้วถอนจิตออกมา

    +++ ในขณะที่ "ถอนจิตออกมานั้น" ตัว วจีจิตตะสังขารขันธ์ จะทำการแปล "อาการที่เข้าไปถึง" ให้ออกมาเป็น "ภาษาพูด" ที่เป็น "จตุปฏิสัมภิทาญาณ" อันได้แก่

    1. ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ คือ สามารถกำหนดหัวข้อธรรม หรือหลักธรรม หรือ รู้เหตุและปัจจัย ของผู้ถามได้อย่าง ตรงประเด็น
    2. อัตถปฏิสัมภิทาญาณ คือ กำหนดเนื้อความ หรือลักษณะอธิบายคำพูด ให้เกิดประโยชน์ ตรงกับความ จำเป็น ของผู้ถาม
    3. นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ คือ กำหนดใช้ภาษา ได้ถูกต้องตรงกับอาการของจิต โดยใช้ภาษาให้เหมาะสมกับ กาละ เทศะ ปุคคละ
    4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ คือ แตกฉานในการกล่าวถึงสภาวะธรรม สามารถ สรุป หรือ ขยาย เพื่อให้ผู้ฟัง เข้าใจได้ตรงประเด็น (ไม่ใช่เรื่องของ การเถียงเก่ง)
    ============================================================================================

    +++ ให้สังเกตุให้ดี ๆ ว่า จตุปฏิสัมภิทาญาณ นั้นเป็นเรื่องของ "การใช้ภาษา ในระดับ เจโตปริยะญาณ" หรือพูดง่าย ๆ ได้ว่า "เป็นการใช้ วจีจิตตะสังขารขันธ์ ให้ออกมาแปล สภาวะธรรมต่าง ๆ ที่มีความละเอียดในระดับ วาระจิต รวมถึง การล่วงรู้ถึง วาระของจิตอื่นด้วย"

    +++ และตรงนี้ คือ ต้นเหตุของ "อนุสาสนีปาฏิหาริย์" ที่เรียกว่า "สามารถแสดงธรรม แล้ว ธรรมปรากฏขึ้น จนเห็นได้ในขณะนั้น ๆ" (ด้วยการเดินจิตที่ถูกต้อง) และตรงนี้เป็น "ปาฏิหาริย์" เดียวที่ พระพุทธเจ้า ทรงสรรเสริญ (ส่วน อิทธิปาฏิหาริย์ หรือ อภิญญา 6 และ อาเทศนาปาฏิหาริย์ หรือ วิชชา 3 นั้น พระพุทธองค์ ไม่สรรเสริญ)

    เข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมตามลิงค์ ได้เลยครับ

    http://palungjit.org/threads/ฝึก-กรรม-ฐาน-ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย.512443/
     

แชร์หน้านี้

Loading...