อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,031
    ค่าพลัง:
    +53,093
    [​IMG]
     
  2. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,031
    ค่าพลัง:
    +53,093
    [​IMG]
     
  3. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,031
    ค่าพลัง:
    +53,093
    [​IMG]
     
  4. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,031
    ค่าพลัง:
    +53,093
    [​IMG]
     
  5. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,031
    ค่าพลัง:
    +53,093
    [​IMG]
     
  6. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,031
    ค่าพลัง:
    +53,093
    [​IMG]
     
  7. nitikoon kongkhaw

    nitikoon kongkhaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +53,508
    [​IMG]
     
  8. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,031
    ค่าพลัง:
    +53,093
    [​IMG]
     
  9. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    [​IMG]
     
  10. nitikoon kongkhaw

    nitikoon kongkhaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +53,508
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  11. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,124
    ขอบคุณข้อมูลครับน้องเอ๋....
     
  12. nitikoon kongkhaw

    nitikoon kongkhaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +53,508
    [​IMG]
     
  13. nitikoon kongkhaw

    nitikoon kongkhaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +53,508
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  14. nitikoon kongkhaw

    nitikoon kongkhaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +53,508
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  15. nitikoon kongkhaw

    nitikoon kongkhaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +53,508
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  16. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    [​IMG]

    เหรียญพระพุทธเจ้าปางตรัสรู้ หลังวชิรมกุฎ จัดสร้างปี พ.ศ. 2519 เนื้อทองแดง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 ซ.ม.
    ปลุกเสกพิธีเดียวกับพระสมเด็จนางพญา สก. และพระสมเด็จนางพญาอุณาโลม ทรงจิตรลดา

    [​IMG]

    โดยครั้งนั้นได้จัดให้มีการประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร ถึง 7 วัน 7 คืน
    ระหว่างวันที่ 5-12 กรกฎาคม พ.ศ.2519 มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกหลายรูป
    โดยเฉพาะ "หลวงปู่โต๊ะ" ได้มาร่วมปลุกเสกถึง 5 วันด้วยกัน ประกอบด้วย

    1. พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
    2. พระเทพวราลังการ วัดป่าสุทธาวาส จ.เลย
    3. พระญาณสิทธาจารย์ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา
    4. พระอาจารย์อ่อน วัดโพธาราม จ.อุดรธานี
    5. พระสุทธสารโสภณ วัดศรีโพนแท่น จ.เลย
    6. พระอาจารย์เปลื่อง วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    7. พระสังวรวิมลเถร (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    8. พระโพธิสังวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิต กรุงเทพฯ
    9. พระครูสารธรรมนิเทศ (มา) วัดวิเวกอาศรม จ.ร้อยเอ็ด
    10. พระอาจารย์สี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม
    11. พระราชธรรมานุวัตร (อ่อน) วัดประชานิคม จ.กาฬสินธุ์
    12. พระครูศีลขันธสังวร (อ่อนสี) วัดพระงาม จ.หนองคาย
    13. พระครูทัศนปรีชา (ขม) วัดป่าบ้านบัวค่อม
    14. พระอาจารย์สาม อกิญจโน วัดไตรวิเวการาม จ.สุรินทร์
    15. พระครูญาณปรีชา (เหรียญ) วัดป่าอรัญญบรรพต จ.หนองคาย
    16. หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี
    17. พระอาจารย์หัวพา วัดป่าพระพนิต จ.หนองคาย
    18. พระชินวงศาจารย์ (พุธ) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
    19. พระครูวิบูลย์ธรรมภาณ (โชติ) วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี
    20. พระครูวินิตวัฒนคุณ วัดบ้านนาเจริญ จ.อุบลราชธานี
    21. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร
    22. พระอาจารย์สมชาย วัดราษฎร์บุรณคุณาคาม (เขาสุกิม) จ.จันทบุรี
    23. พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์ฯ จ.สุพรรณบุรี
    24. พระศีลขันธโสภณ (สนิท) วัดศีลขันธาราม
    25. พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
    26. พระญาณจักษุ (ผ่อง) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
    27. พระครูโสภณกัลยาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
    28. พระราชธรรมวิจารณ์ (ธูป) วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแคนางเลิ้ง) กรุงเทพฯ
    29. พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (สา) วัดราชนัดดาราม กรุงเทพฯ
    30. หลวงพ่อซ่วน วัดพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
    31. หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมมงคลคีรีเขต จ.ขอนแก่น
    32. พระอาจารย์ไสว สุวโร วัดป่าสิริสาลวัน จ.อุดรธานี
    33. หลวงปู่จันทร์ วัดป่ามะขาม


    [​IMG]
     
  17. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,124
    ขอบคุณครับ....
     
  18. nitikoon kongkhaw

    nitikoon kongkhaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +53,508
    (good)(good)(good)(good)
     
  19. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    [​IMG]


    เหรียญยุทธหัตถีปี 2513 'หลวงพ่อถิร'วัดป่าเลไลยก์ (1)

    มุมพระเก่า
    อภิญญา

    เหรียญยุทธหัตถี

    เคยมีข่าวขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ ประเด็นป้ายชื่อ "นางพิม" ที่เขียนผิดเป็น "นางพิมพ์" ของวัดป่าเลไลยก์ ทำให้นึกถึงอดีตพระเกจิ อาจารย์ชื่อดังของวัดแห่งนี้ นาม "หลวง พ่อถิร" อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

    ท่านเป็นชาวบ้านพลูหลวงโดยกำเนิด อุปสมบทที่วัดหน่อพุทธางกูร มี พระครูโพธา ภิรัต เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นได้ย้ายมาอยู่ที่วัดป่าเลไลยก์ เมื่อปี 2494 เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ ก่อนได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ "พระรักขิต วันมุนี" วาระสุดท้ายท่านมรณภาพเมื่อปี 2527 สิริอายุ 83 พรรษา 63 สมัยที่ท่านยังดำรงขันธ์อยู่ ถือว่าเป็นพระเกจิอาจารย์เมืองสุพรรณบุรีที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก มักได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีปลุกเสกพระเครื่องใหญ่ๆ แทบทุกงาน

    พระเครื่องที่ "หลวงพ่อถิร" สร้างไว้มีหลายอย่าง โดยเฉพาะเหรียญรูปเหมือนได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย นอกจากนี้ ยังมีเหรียญยอดนิยมของวงการพระเครื่องที่หลวงพ่อถิรได้สร้างไว้คือ "เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังยุทธหัตถี" หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า "เหรียญยุทธหัตถี ปี 13" โดยจัดสร้างตามสถานที่สมเด็จพระนเรศวรทรงศึกยุทธหัตถี ณ ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปีพุทธศักราช 2513 โดยมี "พระอาจารย์ไสว สุมโน" พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดราชนัดดาฯ กรุงเทพฯ เป็นเจ้าพิธี

    เหรียญรุ่นนี้เป็นที่นิยมมากในวงการนักสะสมพระเครื่องประเภทเหรียญ เพราะออกแบบได้งดงามลงตัว แถมยังเข้มขลังด้วยพุทธคุณเนื่องจากจัดพิธีมหาพุทธาภิเษกใหญ่โดยพระเกจิคณาจารย์เรืองเวทวิทยาคมในยุคนั้นมากถึง 108 รูป เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2513 ตรงกับวันกองทัพไทย ภายในอุโบสถวัดป่าเลไลยก์ มีสมเด็จ พระสังฆราช วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานจุดเทียนชัย

    หลวงพ่อถิร

    พระเกจิอาจารย์ดังแห่งยุคและพระเกจิอาจารย์ดังเมืองสุพรรณบุรีในยุคนั้นที่ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกล้วนสุดยอดทั้งสิ้น อาทิ 1.พระราช สุพรรณาภรณ์ (เปลื้อง) วัดสุวรรณภูมิ สุพรรณบุรี 2.พระราชธรรมาภรณ์ (เงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม 3.พระราชปัญญาโสภณ (สุข) วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร 4.พระราชพุทธิรังษี (เจียม) วัดโสธรวราราม ฉะเชิงเทรา 5.พระโพธิวรคุณ (ฑูรย์) วัดโพธินิมิตร ธนบุรี 6.พระเมธีธรรมสาร (ไสว) วัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี 7.พระพุทธมนต์วราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศน์ กรุงเทพ มหานคร 8.พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สุพรรณบุรี 9.พระครูสุตาธิการี (ทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร 10.พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง พระนครศรีอยุธยา 11.พระครูศีลพรหมโสภิต (แพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี

    12.พระครูภาวนากิตติคุณ (น้อย) วัดธรรมศาลา นครปฐม 13.พระครูสถาพรพุทธมนต์ (สำเนียง) วัดเวฬุวนาราม นครปฐม 14.พระครูวิริย กิตติ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี 15.พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (สา) วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร 16.พระครูโสภนกัลยาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี 17.พระครูพินิจสมาจารย์ (โด่) วัดนามะตูม ชลบุรี 18.พระครูปัญญาโชติวัตร (เจริญ) วัดทองนพคุณ เพชรบุรี 19.พระครูประสาทพุทธิคุณ วัดคุ้งวารี สุโขทัย 20.พระครูอเนกคุณากร (แขก) วัดหัวเขา สุพรรณบุรี เป็นต้น

    [​IMG]

    เหรียญยุทธหัตถีปี 2513 'หลวงพ่อถิร?วัดป่าเลไลยก์(จบ)

    มุมพระเก่า
    อภิญญา

    เหรียญยุทธหัตถี

    พระเกจิอาจารย์ดังแห่งยุคและพระเกจิอาจารย์ดังเมืองสุพรรณบุรี ในยุคนั้นที่ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก "เหรียญยุทธหัตถี ปี 2513" มากถึง 108 รูป ณ มณฑลพิธีดอน เจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ล้วนสุดยอดทั้งสิ้น อาทิ พระครู สุวรรณวรคุณ (คำ) วัดหน่อพุทธางกูร สุพรรณบุรี, พระครูสุนทรานุกิจ (กริ่ง) วัดสามชุก สุพรรณบุรี, พระครูสุวรรณวิสุทธิ (เจริญ) วัดธัญญวารี สุพรรณบุรี, พระครูสุวรรณโพธิวัฒน์ (เพรียว) วัดโพธิทองเจริญ สุพรรณบุรี, พระครูนนทกิจวิมล (ชื่น) วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี, พระครูพินิจวิหารการ (เทียม) วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา, พระครูศรีรัตนาภิรักษ์ (โพธิ์) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี, พระครูใบฎีกาเติม วัดไร่ขิง นครปฐม, พระครูประภัศร์ธรรมาภรณ์ (แต้ม) วัดพระลอย สุพรรณบุรี

    พระครูวิจิตรวิหารการ (เจิม) วัดกุฎีทอง สุพรรณบุรี, พระครูสุนทรธรรมจารี (อ๊อด) วัดพระธาตุ สุพรรณบุรี, พระครูอโศกสันติคุณ (สงัด) วัดดอนหอคอย สุพรรณบุรี, พระครูอุภัยภาดาทร (ขอม) วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี, พระครูวิมลสังวร (สังวร) วัดแค สุพรรณบุรี, พระครูสังฆรักษ์สัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี, หลวงพ่อมิ วัดสิงห์ ธนบุรี, พระครูปลัดสงัด วัดพระเชตุพนวิมังคลาราม กรุงเทพมหานคร, พระอาจารย์ไสว วัดราชนัดดา กรุงเทพมหานคร, พระอาจารย์สมคิด วัดเลา ธนบุรี, พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิ กรุงเทพมหานคร

    หลวงพ่อกก วัดดอนขมิ้น กาญจนบุรี, หลวงพ่อเณร วัดพรพระร่วง กรุงเทพมหานคร, หลวงพ่อหอม วัดซากหมาก ระยอง, หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี, พระครูฉาย วัดชนะสงคราม กรุงเทพ มหานคร, พระอาจารย์สร้อย วัดเลียบราษฎร์บำรุง กรุงเทพมหานคร, พระอธิการคำ วัดพระรูป สุพรรณบุรี, พระอาจารย์เผื่อน วัดพระรูป สุพรรณบุรี, พระธรรมธรทองดี วัดพระรูป สุพรรณบุรี, พระอาจารย์พล วัดนิเวศน์ธรรมาราม สุพรรณบุรี, พระอธิการทอง วัดประตูสาร สุพรรณบุรี

    พระครูวิบูลย์คุณวัตร (หล่อ) วัดน้อย อ่างทอง, พระอาจารย์เกลื่อน วัดรางฉนวน อ่างทอง, พระครูศีลโสภิต วัดทองพุ่มพวง สุพรรณบุรี, พระสรพจนสุนทร วัดกุศลสมาคร กรุงเทพมหานคร, พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (มุ่ย) วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี, พระครูปรีชาวุฒิคุณ (ฮวด) วัดดอนโพธิ์ทอง สุพรรณบุรี, พระครูประสาทวรคุณ (พริ้ง) วัดโบสถ์ ลพบุรี, พระสมุห์จำลอง วัดท่าสว่างศรีไพฑูรย์ อุดรธานี, พระครูวิเศษมงคลกิจ (มิ่ง) วัดกก กรุงเทพมหานคร, พระมหาต่วน วัดมเหยงคณ์ สุพรรณบุรี

    หลวงพ่อถิร

    พระครูสุนทรวิริยานุวัตร วัดกุฎีทอง สุพรรณบุรี, พระครูศรีปทุมรักษ์ วัดศรีบัวบาน สุพรรณบุรี, พระครูอาทรศาสนกิจ วัดวังพระนอน สุพรรณบุรี, พระครูมงคลนิวิฐ วัดนิเวศน์ธรรมาราม สุพรรณบุรี, พระอาจารย์นุรัตน์ วัดนางพญา พิษณุโลก, พระครูปลัดพวน วัดท่าพระยาจักร์ สุพรรณบุรี, พระอาจารย์ธีระ วัดท่าพระยาจักร์ สุพรรณบุรี, พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ วัดพันอ้น เชียงใหม่, พระครูศาสนกิจจาภิรมย์ วัดไผ่เดี่ยว สุพรรณบุรี, พระครูวาทีธรรมคุณ วัดลานคา สุพรรณบุรี

    พระครูพินิตสุวรรณภูมิ วัดยุ้งทลาย สุพรรณบุรี, พระใบฎีกาทวน วัดอุทุมพราราม สุพรรณบุรี, พระมหาบุญ วัดพันตำลึง สุพรรณบุรี, พระใบฎีกาบุญชู วัดไตรรัตนาราม สุพรรณบุรี, พระครูสุนทร ศีลคุณ วัดนางในธรรมิการาม อ่างทอง, พระครูวิเศษสุตกิจ วัดสำโรง อ่างทอง, พระครูถาวรธรรมนิเทศ วัดหลวง อ่างทอง, พระครูธรรมธรศรีรัตน์ วัดวิเศษ อ่างทอง, พระครูวรพรตศีลขันธ์ วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี เป็นต้น

    "เหรียญยุทธหัตถี" รุ่นนี้มีทั้งแบบบล็อกธรรมดา และบล็อกคอซี จุดสังเกตคือ ด้านหน้าตรงบริเวณปกเสื้อของพระนเรศวรจะมีเส้นโค้งงอคล้ายตัว C หากเป็นบล็อกนิยมที่หายากก็คือ พิมพ์คอซี สี่ดาบ มีจุดสังเกตคือด้านหลังเหรียญบริเวณกูบช้างจะมีปลายดาบยื่นออกมา 4 ด้าม ซึ่งบล็อกธรรมดาจะมีเพียง 3 ด้ามเท่านั้น เนื้อที่สร้างมีเนื้อทองแดงรมดำ เนื้อทองแดง และเนื้อนวโลหะ

    สำหรับผู้ที่ชื่นชอบวัตถุมงคลประเภทเหรียญ ที่เคารพรักศรัทธาในพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ "องค์ดำ" ควรจะสะสมเหรียญนี้ไว้ในทำเนียบอีกสักรุ่น เพราะกล่าวขวัญกันว่า มีพุทธคุณสูงทางด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ป้องกันภัยภยันตราย

    [​IMG]

    ปัจจุบันสนนราคาเล่นหาไม่สูงเกินไขว่คว้า และมีค่านิยมตลอดกาล
    เห็นแค่เพียงรายชื่อพระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสก ก็มั่นใจได้ว่า
    เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ไม่ธรรมดาแน่นอน
     
  20. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    [​IMG]

    เหรียญนี้เป็นเหรียญมหาชนกพิมพ์เล็ก(รุ่นสอง) เนื้อเงิน

    ประวัติการสร้างเหรียญมหาชนก
    เหรียญพระมหาชนก รุ่นแรก 2539

    พระมหาชนก คือ พระโพธิสัตว์ หนึ่งในพระชาติ 10 ชาติสุดท้ายก่อนจะทรงอุบัติขึ้นเป็น พระสิทธัตถะ คือพระชาติที่ทรงเป็น สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
    สำหรับเรื่องราวของพระมหาชนกนั้นเป็นวรรณคดีในพุทธศาสนา เรื่องการบำเพียรพระบารมีในส่วนของ “พระวิริยะบารมี” ซึ่งเป็นหนึ่งในทศชาติชาดก
    โดยเรื่องราวกล่าวถึง พระมหาชนกทรงบำเพ็ญพระวิริยะบารมีอย่างยิ่งยวด (ขั้นอุกฤษณ์)
    ซึ่งในทางพุทธศาสนา เรียกว่า “วิริยะปรมัตถบารมี” อันมีความหมายว่า “พระมหาชนกทรงบำเพ็ญวิริยะบารมีอย่างสูงสุดจนเกิดประโยชน์อันยิ่งใหญ่ไพศาล
    คือการตรัสรู้ธรรมในพระชาติสุดท้าย คือพระพุทธเจ้า ก่อนจะถึงพร้อมด้วยพระนิพพาน ก็คือการหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด อันเป็นอุดมธรรมอันสูงสุดในทางพุทธศาสนา”


    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระราชศรัทธาปสาทะในพระราชจริยวัตรของพระมหาชนก
    ในทางการบำเพ็ญพระวิริยะบารมีและทรงยึดถือพระจริยวัตรเป็นแบบอย่างในการทรงประพฤติ
    ปฏับัติของพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็น “สมเด็จพระบรมธรรมิกราช แห่งแผ่นดินไทย”
    ซึ่งพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ที่ทรงบำเพ็ญแก่ประเทศชาติและประชาชนไทย เป็นเอนกอนันต์ในระยะเวลาที่ทรงครองราชย์
    เป็นสิ่งที่ยืนยันในพระวิริยะอุตสาหะของพระองค์ ที่ทรงเจริญตามรอยพระวิริยะบารมีแห่งพระมหาชนกโดยแท้จริง


    เหรียญพระมหาชนกได้จัดทำคู่กับหนังสือพระมหาชนก ฉบับพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

    ด้านหนึ่งของเหรียญเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระอริยบถทรงงานมีพระเสโท(เหงื่อ)



    แสดงให้เห็นว่าแม้พระองค์จะทรงเหน็ดเหนื่อยเพียงใด ก็ถึงพร้อมด้วยความเพียรมิได้ทรงย่อท้อต่อการทรงงาน โดยเฉพาะโครงการพระราชดำริต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร
    เป็นแม่แบบในการทำมาหากินของพสกนิกรของพระองค์ ภายใต้พระบรมสาทิสลักษณ์มีอักษร 3 ภาษา ความว่า “วิริยะ” (ภาษาไทย) ภาษาฮินดู-อักษรเทวนาครี
    และ “Preserverance” อันมีความหมายเดียวกันว่า “ความเพียร” หรือ “วิริยบารมี” ที่พระมหาชนกทรงบำเพ็ญตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์

    [​IMG]



    อีกด้านของเหรียญเป็นภาพนูนต่ำของ พระมหาชนกทรงบำเพ็ญวิริยบารมีด้วยการว่ายน้ำในมหาสมุทร ภายหลังจากเรือสำเภาพระราชพาหนะแตกและล่มอับปางลงในมหาสมุทร

    [​IMG]

    และทรงสนทนาธรรม พร้อมกับทรงว่ายน้ำ กับนางมณีเมขลา โดยศิลปินได้ปั้นจำลองจากแบบร่างฝีพระหัตถ์ของ “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์”
    สมเด็จครูนายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม ซึ่งทรงวาดร่างไว้ขณะยังทรงพระชนม์ชีพอยู่

    [​IMG]


    สำหรับศิลปินผู้ออกแบบปั้นเหรียญพระมหาชนก ตือ “ศาสตราจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผลิน”อาจารย์ประจำแห่ง คณะจิตรกรรมประติมากรรม ภาพพิมพ์และภาพไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยาเขตวังท่าพระ)
    จัดสร้างด้วยเนื้อโลหะอันทรงคุณค่า 3 ชนิด คือ
    เนื้อทองคำ มีความบริสุทธิ์ ร้อยละ 99.99 น้ำหนัก 34 กรัม
    เนื้อนาก อันมีส่วยผสมของทองคำ ร้อยละ 40 น้ำหนัก 24 กรัม และ
    เนื้อเงิน มีความบริสุทธิ์ ร้อยละ 99.99 น้ำหนัก 23 กรัม โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 29 มิลลิเมตร
    ด้านบนเหรียญประดับพระปรมาภิไธยย่อ “ภ.ป.ร.” พร้อมรัศมีเป็นเรือนยอด มีการตกแต่งผิวแบบด้าน ลักษณะงดงามอลังการแฝงไว้ด้วยความมีชีวิตชีวา
    มีพลังแห่งความเพียรเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตและการฟันฝ่าอุปสรรค สมดั่งพุทธภาษิตที่มีมาในพระธรรมบทว่า
    “วิริเยนทุกขมจติ”อันมีความหมายว่า “บุคคลย่อมล่วงพ้นจากความทุกข์ได้ด้วยความเพียร”

    เหรียญพระมหาชนกเป็นเหรียญที่จัดสร้างขึ้นควคู่กับหนังสือ “พระมหาชนกฉบับพระราชนิพนธ์ฯ”เมื่อแรกเปิดให้ผู้สนใจสั่งจอง 2 แบบ 2 ราคา คือ
    1. ชนิดราคา 50,000 บาท ประกอบด้วย หนังสือพระมหาชนกฉบับพระราชนิพนธ์ฯ เล่มสีน้ำเงิน จำนวน 1 เล่ม
    พร้อมเหรียญพระมหาชนก 3 กษัตริย์ คือ เหรียญพระมหาชนก เนื้อทองคำ 1 เหรียญ เนื้อนาก 1 เหรียญ และเนื้อเงิน 1 เหรียญ บรรจุอยู่ในกล่องเดียวกัน

    2.ชนิดราคา 5,000 บาท ประกอบด้วย หนังสือพระมหาชนกฉบับพระราชนิพนธ์ฯ เล่มสีแดง จำนวน 1 เล่ม พร้อมเหรียญพระมหาชนกเนื้อเงิน 1 เหรียญ



    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯเป็นองค์ประธานในการประกอบพระราชพิธีชัยมังคลาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2539
    โดยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์และประทับอธิฐานจิตเจริญภาวนาชัยมงคลภิเษก
    ร่วมกับพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ จำนวน 9 รูป และระหว่างพิธีมีสายฝนโปรยปรายตลอดเวลาเสมือนหนึ่ง เป็นน้ำเทพมนต์จากฟากฟ้าร่วมอนุโมทนาในพิธีเป็นมหามงคล
    ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯประทับเป็นองค์ประธาน ทรงจุดเทียนชัยในพิธีชัยมังคลาภิเษก
    ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมและทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้ นับเป็นมหาสิริมงคลอันยิ่งใหญ่ เป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งนัก
    ยังผลให้เหรียญพระมหาชนกและหนังสือพระราชนิพนธ์ ถึงพร้อมด้วยพระมหากษัตริยาธิคุณ อันยิ่งใหญ่แห่งองค์สมเด็จพระบรมธรรมิกราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    นอกจากนี้เหรียญพระมหาชนก มีความพิเศษกว่าเหรียญที่ระลึกโดยทั่วๆไป คือเป็นเหรียญพลังแห่งความเพียร
    ด้วยเหตุนี้ เมื่อถึงวันปิดจองแล้วผู้ที่ไม่ได้จองต่างเสียดายตามๆกัน เพราะจัดสร้างตามจำนวนสั่งจอง
    จึงแสดงความจำนงไปยังคณะกรรมการจัดสร้างที่ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้างเพิ่มเติม
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตแต่ให้ลดขนาดเหรียญและขนาดหนังสือ เล็กลงกว่าการสร้างครั้งแรกและ
    ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เสด็จฯทรงประกอบพิธีชัยมังคลาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
    โดยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ ปัจจุบันเหรียญพระมหาชนกทั้งสองขนาด ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก


    ที่มา : หนังสือมหามงคลแห่งแผ่นดิน โดย นายอดุลย์นันท์ทัต กิจไชยพร พฤศจิกายน 2551
    เหรียญพระมหาชนก


     

แชร์หน้านี้

Loading...